จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่ไม่ทำให้บรรลุธรรมจริงหรือไม่?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 12 พฤศจิกายน 2009.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ต่อไปนี้เป็นเรื่องของ จินตามยปัญญา ที่ได้รวบรวมหลักฐานตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่อธิบายโดยอรรถกถาจารย์ อ่านแล้วโปรดตรองดู เผื่อว่าจะได้เข้าใจถูก หากเข้าใจผิดไป และเข้าใจใหม่กับสิ่งที่เคยเข้าใจว่าถูก โดยเฉพาะในเรื่องของความหมายของภาวนามยปัญญาว่าแท้จริงแล้วมีหลายอย่าง และความหมายดั่งเดิมเป็นอย่างไร กว้างเพียงไร...

    เรื่องนี้เก็บงำมานานแสนนาน คลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลา แต่หลักฐานยังปรากฏอยู่ โปรดใช้วิจารณญาณและโยนิโสมนสิการกันก่อนนะครับ

    ********************************************************
    จินตามยปัญญา คือ ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
    ********************************************************
    ๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
    ๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
    ๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม]

    ที่มา : �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �


    *********************************************************
    จินตามยปัญญาทำให้สำเร็จญาณเหล่านี้ได้ จากอภิธรรม
    ********************************************************
    [๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน

    ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
    น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
    ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ* ว่ารูปไม่
    เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
    ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
    ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
    อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา

    สุตมยปัญญา เป็นไฉน
    ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
    น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
    ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
    ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
    ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
    ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
    ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา

    ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

    ที่มา : �����ûԮ�������� �� - �����Ը����Ԯ�������� �

    - - - - - - - - - - -
    * สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
    ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
    อนุโลมญาณ ก็เรียก
    (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
    *สมาบัติ = ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
    สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
    สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
    ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙


    *******************************************************************
    อรรถกถาอธิบายจินตามยปัญญา ทำให้เกิดกัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณ
    * หรืออนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ มุนี เปกขะ ธัมมนิชเานขันติ ***
    *******************************************************************
    ในปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นต้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้
    ที่ว่าบรรดาปัญญาเหล่านั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นไฉน
    ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา หรือในบ่อเกิดของศิลปะที่น้อมนำไปด้วยปัญญา หรือในสถานที่ของวิชาที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา บุคคลไม่ได้ฟังมาแต่ผู้อื่น กลับได้กัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ มุนี เปกขะ ธัมมนิชเานขันติ เห็นปานนี้ อันใดว่ารูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง นี้เรียกว่าจินตามยปัญญา.
    ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยการฟังเป็นไฉน
    ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา ได้ฟังจากผู้อื่นเท่านั้น จึงกลับได้ ฯลฯ ธัมมนิชฌานขันติ นี้เรียกว่าสุตมยปัญญา.
    ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนาเป็นไฉน
    ปัญญาแม้ทั้งหมดของผู้เข้าสมาบัติ ชื่อว่าภาวนามยปัญญา.๑๘-

    ที่มา : ��ö��� �զ�ԡ�� �үԡ��ä �ѧ�յ��ٵ� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �[๒๒๘]


    ********************************************************
    ความหมายของจินตามยปัญญาจากหนังสือพุทธธรรม
    ********************************************************
    [93] ปัญญา 3 (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง — knowledge; understanding)
    1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)
    2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)
    3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)

    ที่มา : �鹾��ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���


    ***********************************************************************
    จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ที่ยังไม่ได้มรรคและผลจัดเป็นโลกียะปัญญา
    ***********************************************************************
    ก็สมาธิ และปัญญา มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑ เป็นโลกุตระ ๑ เหมือนศีล. ใน ๒ อย่างนั้น โลกิยสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร โลกุตรสมาธิ ได้แก่ สมาธิที่นับเนื่องในมรรค.
    ฝ่ายปัญญาที่เป็นโลกิยะ ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ส่วนโลกุตรปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล.

    ที่มา : ��ö��� �ط���ԡ�� �طҹ ⾸���ä��� � �����ٵ� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �


    *****************************************************
    จินตามยปัญญา เกิดจาก วิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรม
    ภาวนาปัญญา มีความหมายกว้าง ครอบโลกียอภิญญา ๕
    *****************************************************
    พึงทราบการจำแนกลักษณะของพาหุสัจจะดังต่อไปนี้ :-

    ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สติปัฏฐาน ๔ และประเภทธรรมมีกุศลเป็นต้น. วิทยาการอันไม่โทษในโลก การพยากรณ์วิเศษอันประกอบด้วยวิธีนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. พึงให้เกิดสุตมยปัญญาด้วยการหยั่งลงสู่สุตวิสัยทุกอย่างทุกประการด้วยปัญญาอันเป็นความฉลาดในอุบายเป็นเบื้องต้น ด้วยสติ ด้วยวิริยะ ด้วยการเรียนการฟัง การทรงจำ การสะสม การสอบถามด้วยดี แล้วให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในปัญญานั้นด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง ปัญญาอันเป็นปฏิภาณที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงจุดหมายในสิ่งที่ควรทำ และเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ความเสื่อมและอุบาย พึงให้เป็นไปตามสมควรในปัญญานั้นๆ อาศัยความเป็นผู้แสวงหาประโยชน์.

    อนึ่ง ผู้ที่ยังสัตว์ทั้งหลายให้ทนต่อความเพ่ง ด้วยการวิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น พึงให้เกิดจินตามยปัญญา.

    อนึ่ง อันผู้ที่ยังโลกิยปัญญาให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการกำหนดลักษณะของตนและสามัญญลักษณะของขันธ์เป็นต้น พึงให้สมบูรณ์ด้วยภาวนามยปัญญา อันเป็นส่วนเบื้องต้น.

    จริงอยู่ นี้เป็นเพียงนามรูปย่อมเกิดขึ้นและดับไปด้วยปัจจัยทั้งหลายตามสมควร. ในเรื่องนี้ไม่มีใครทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ เป็นความไม่เที่ยงเพราะเป็นแล้วไม่เป็น เป็นทุกข์เพราะเกิดเสื่อมและบีบคั้น เป็นอนัตตาเพราะไม่อยู่ในอำนาจตน. ด้วยเหตุนั้น มหาบุรุษกำหนดรู้ธรรมภายในและธรรมภายนอกไม่ให้เหลือ ละความข้องในธรรมนั้น และให้ผู้อื่นละความข้องในธรรมนั้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาอย่างเดียวเท่านั้น. พระพุทธคุณยังไม่มาถึงฝ่ามือเพียงใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในญาณ ๓ ด้วยการหยั่งลงและการทำให้เจริญ ยังฌานวิโมกข์สมาธิและสมาบัติ อภิญญาอันเป็นโลกิยะให้ถึงความชำนาญ ย่อมบรรลุถึงที่สุดแห่งปัญญา. ในโลกิยอภิญญานั้น ภาวนาปัญญาคือโลกิยอภิญญา ๕ พร้อมด้วยบริภัณฑ์ของญาณ ได้แก่กลุ่มคืออิทธิวิธญาณ ทิพพโสตธาตุญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ.


    ที่มา : ��ö��� �ط���ԡ�� ����һԮ� ����ҹ��� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �









    ___________________________________________

    เทพนิมิตปรากฏแก่ข้าพเจ้า...ข้าพเจ้ากำลังลากช้างเผือกเชือกหนึ่งข้ามฝั่งแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ช้างนั้นมีตัวใหญ่โต ข้างหลังของช้างมีแถวของผู้คนจำนวนมากจับเชือกที่คล้องกับช้างนั้นเอาไว้ยาวสุดลูกตา...

    ข้าพเจ้าพยายามลากช้าง และนำผู้คนที่เดินทางมาเหล่านั้น เพื่อจะข้ามฝั่งแม่น้ำ แต่ก็ไม่มีสะพานให้ข้ามไป จึงได้พยายามหาทางไปอีกด้านหนึ่ง ที่อยู่หลังเนินเขา พอข้ามเนินไป ปรากฏว่าทางข้างหน้ากลับเป็นทะเลสาปอันกว้างใหญ่ ข้าพเจ้า ช้างเผือก และผู้คนจำนวนนั้น จึงได้แต่หยุดอยู่ตรงนั้น และทอดหายใจ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  2. sa_bye_dee

    sa_bye_dee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +34
    จะยุคไหนๆก็เหมือนกันแหละครับ
    อยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า
    หากวันนี้เราศึกษา ปฏิบัติ ทดลอง เรียนรู้
    ผลก็จะเกิดกับเราเองนั้นแหละ
    หากใฝ่นิพพานผลจากการเรียนรู้ ทดลอง ก็จะเกิดกับเรา
    หากใฝ่อรหัน ผลจากการ ปฏิบัติ อดทน ก็จะเกิดกับเรา
    เพียงแต่เรายึดหลักธรรมชาติเป็นที่ตั้งของเหตุและผล
    ไม่ยึดอารมณ์ความรู้สึกภายในใจเป็นที่ตั้งของเหตุและผล
    เราก็จะรู้แจ้งเห็นจริงในทุกสิ่งเพราะคำตอบของเหตุและผลที่แท้จริง
    ก็มีอยู่แล้วในธรรมชาตินั้นแหละครับ
    หากยึดอารมณ์ความรู้สึกภายในใจของใครคนใดคนหนึงก็จะไม่ได้คำตอบที่
    แท้จริงไม่ตรงกันเกิดความขัดแย้งต่างๆนาๆ

    สุขสุดนิพพานอยู่ไม่ไกล สุขเหนือใจคือสุขสุดนิพพาน

    สูญญากาศ ในอากาศ
     
  3. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
    ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

    ที่มา : <!-- m -->
     
  4. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

    ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
     

แชร์หน้านี้

Loading...