จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 30 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป,นิพพานฯ ตอนที่ ๑๔
    ในตอนที่ ๑๔ ยังคงอยู่ในขั้นตอนแรกของการเรียนรู้เกี่ยวกับนิพพาน เป็นขั้นตอนเตรียมตัว เตรียมความรู้ กระตุ้นสมองสติปัญญา หรือเป็นเพียงขั้นทฤษฎี หรือขั้นสร้างความคิด สร้างข้อคิด หรือถ้าเป็นในหลักการบริหารก็เรียกว่าขั้น นโยบาย หรือขั้นวางแผน ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ต้องการเรียนรู้ หรือศึกษาในเรื่องของนิพพาน หากจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ในขั้นตอนนี้เป็นเพียงขั้นปูพื้นฐาน ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงคุณลักษณะ หรือวิธีการของบุคคลที่จะดำเนินการปฏิบัติใน มรรค ๔ ,ผล ๔ เพื่อสร้างพื้นฐาน ความคิด พื้นฐานของจิตใจ พื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก เพื่อเตรียมตัวศึกษา หรือปฏิบัติในขั้นที่ต่อจากขั้นตอนนี้ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้.-
    โสดาปัตติมรรค คือ คุณลักษณะ หรือการเตรียมการขั้นต้นให้กับตนเอง หรือเป็นหนทางในการเตรียมความพร้อมของสภาพจิตใจ,ความคิดฯ เพื่อฝึกตนเป็นพื้นฐานบุคคลนั้นๆต้อง “มีความรู้คือญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา ปฏิบัติตามความรู้คือญาณ จนสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ความยึดมั่น ถือมั่น ถือดี ในตนเอง ในความรู้สึก ในความจำ ความจำ ซึ่งทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ กลายเป็นผลคือความเห็นที่ไม่เป็นกลางทางธรรมชาติ คือไม่เห็นเป็นธรรมดาของธรรมชาติทั้งหลาย อันเกิดจากความรู้ หรือเกิดจากการยึดถือข้อปฏิบัติในศาสนาอื่นๆ ว่าสามารถทำให้เกิดความสำเร็จได้ จนทำให้เกิดความลังเลสงสัย คิดไปต่างๆนานาเกี่ยวกับต้นตอของธรรม หรือความเกี่ยวเนื่องกันของธรรม เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่ชัดเจนในความเข้าใจนั้นๆ ไม่สามารถรับเอาพระธรรมตามหลักพุทธศาสนาได้” ซึ่งตามหลักพระอภิธรรมปิฎก หมายถึง “ญาณคือความรู้ เป็นเหตุให้ละสังโยชน์(สัญโยชน์) ได้(กิเลสที่มีอยู่ในใจของมนุษย์โดยธรรมชาติ) ๓ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ,สีลัพพตปรามาส,วิจิกิจฉา และทั้ง ๓ อย่าง ๓ ข้อที่ได้กล่าวไป ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิด หรือเป็นสิ่งที่นำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า นิวรณ์ อันหมายถึง “ธรรมที่กั้นจิตมนุษย์ไม่ให้ถึงความดี หรือ สิ่งที่ขัดขวางจิตใจของมนุษย์ไม่ให้บรรลุถึงซึ่งคุณธรรม ๕ อย่าง คือ ๑.กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    โสดาปัตติผล หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากการละ หรือขจัด หรือกำจัด สังโยชน์(สัญโยชน์)๓ หรือหมายถึง การเข้าถึงกระแสพระนิพพานในชั้นต้น ซึ่งในทางปฏิบัติที่แท้จริงนั้น บุคคลนั้นๆจะบรรลุมรรคผล คือมีความเข้าใจในเหตุที่เกิด ปัจจัยที่ต่อเนื่องกันของธรรมทั้งหลาย ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น

    สกทาคามีมรรค คือ คุณลักษณะ ต่อเนื่องจาก โสดาปัตติมรรค นั้นก็หมายความว่า บุคคลนั้นๆต้อง “มีญาณคือความรู้ อันนับเข้าใจวิปัสสนา ปฏิบัติตามความรู้คือญาณ จนสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ความยึดมั่น ถือหมั่น ถือดี ในตนเอง ในความรู้สึก ในความจำ ซึ่งทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ กลายเป็นผลคือความเห็นที่ไม่เป็นกลางทางธรรมชาติ คือไม่เห็นเป็นธรรมดาของธรรมชาติทั้งหลาย อันเกิดจากความรู้ หรือเกิดจากการยึดถือข้อปฏิบัติในศาสนาอื่นๆ ว่าสามารถทำให้เกิดความสำเร็จได้ จนทำให้เกิดความลังเลสงสัย คิดไปต่างๆนานาเกี่ยวกับต้นตอของธรรม หรือความเกี่ยวเนื่องกันของธรรม เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่ชัดเจนในความเข้าใจนั้นๆ” ไม่สามารถรับเอาพระธรรมตามหลักพุทธศาสนาได้ ซึ่งตามหลักพระอภิธรรมปิฎกเรียกว่า สังโยชน์(สัญโยชน์)๓, รวมไปถึงญาณคือความรู้ อันนับเข้าในวิปัสสนา ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความเบาบาง แห่งกามราคะและพยาบาท อันเกิดจากความหลง เมื่อกามราคะ ความพยาบาท อันเกิดจากความหลง เบาบางลง บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า สกทาคามี
    สกทาคามีผล คือ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากการละ หรือขจัด หรือกำจัด สังโยชน์(สัญโยชน์)๓ ,รวมไปถึง ความสามารถที่ทำให้ กามราคะ และพยาบาท อันเกิดจากความหลง เบาบางลง หรือหมายถึง การเข้าถึงกระแสพระนิพพานในชั้นที่๒ บุคคลนั้นๆย่อมมีความเข้าใจในธรรมในมรรคผลที่ลึกซึ้งกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2009
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เนื่องจากมีข้อความตกหล่น ขาดหาย จึงได้เพิ่มเติม เพื่อความรู้ความเข้าใจที่กระจ่างชัด
     

แชร์หน้านี้

Loading...