จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ฯ ตอนที่ ๑๐ ในตอนที่แล้ว ข้าพเจ้าได้อธิบายเกี่ยวกับ เวทนาขันธ์ ไว้ว่า “เป็นผลจากการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย อันผสมผสานด้วย ความจำได้หมายรู้ ในธรรม ในความรู้ด้านต่างๆ” อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถพิสูจน์ หรือคิดพิจารณาจนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวท่านเอง เมื่อท่านทั้งหลาย ได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเวทนาซึ่ง เป็นผลจากการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ผสมผสานด้วย ความจำได้หมายรู้ ในธรรม ในความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายมนุษย์นั้น ย่อมมีการปรุงแต่งตั้งแต่ระดับเซลล์ ของอวัยวะต่างๆเป็นต้นมา การปรุงแต่งของอวัยวะต่างๆนั้น บางหลักวิชา เรียกว่า “ปฏิกิริยาทางเคมี” แต่ในทางพระอภิธรรมปิฎก แห่งพุทธศาสนาเรียกว่า “สังขาร” สังขาร หรือ การปรุงแต่ง นั้นหมายถึง การได้รับการสัมผัสหรือกระทบ หรือรับเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแปรเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นให้เกิดเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีสิ่งที่ได้รับมานั้น ผสมรวมอยู่ด้วย การได้รับการสัมผัสหรือกระทบ หรือรับเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่นี้ หมายถึง การที่สรีระร่างกายของบุคคลใดใดได้รับการสัมผัส หรือกระทบ หรือรับเอา ดิน,น้ำ ,ลม,ไฟ หรือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสงสี(รูปชนิดหนึ่ง),โผฏฐัพพะ(สิ่งที่มาถูกต้องกาย เช่น ร้อน เย็น อ่อนแข็ง ฯลฯ), ธรรมารมณ์ แล้วแปรเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รับมานั้น ผนวกหรือรวมกับความรู้ ความเข้าใจ หรือธรรม ที่มีอยู่ เกิดเป็น สิ่งใหม่ขึ้นมา อนึ่ง คำว่า “ธรรมารมณ์” นั้นในหลักทางพุทธศาสนาถือว่า เป็นอายตนะภายนอก เพราะ อารมณ์ที่เกิดในใจ หรือการที่คิด หรือการที่นึกรู้ในใจ นั้น อาจเกิดขึ้นแม้ไม่ได้รับการสัมผัสหรือกระทบในขณะนั้น อาจเป็นการได้รับการสัมผัสมาก่อนหน้านั้น หรือจะกล่าวเป็นศัพท์ภาษาทั่วๆไปว่า “จำเอาไปคิด” “จำเอาไปทำ” “เก็บเอาไปคิด” สังขาร หรือ การปรุงแต่ง นั้นย่อมนับรวมไปถึง ระบบการทำงานของร่างกาย ที่มีการปรุงแต่งอยู่เป็นนิจ คือมีการนำเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาแปรเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ร่างกายมีความต้องการ เช่น อากาศ, อาหาร, น้ำ, แสงแดด, อีกทั้งยังมีการปรุงแต่งทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย คือ เกิด, แก่, เจ็บ,ตาย อีกทั้งยังมีการปรุงแต่ง ทางวาจา,ทางใจ, ทางความคิด ซึ่งการปรุงแต่งทางความคิด และการปรุงแต่งทางใจนั้น อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลนั้นๆ ทั้งในทางที่ดี หรือในทางที่ไม่ดี หรือจะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดี ก็ไม่ใช่ คือเป็นกลางๆ สังขาร หรือการปรุงแต่ง ทั้งหลายได้กล่าวไป ล้วนย่อมเป็นตัวการในอันที่จะก่อให้เกิด ความทุกข์ หรือ ความสุข หรือ เฉยๆก็ได้เช่นกัน และสังขารหรือการปรุงแต่งในแต่ละบุคคลจะเกิดมีได้ ก็ล้วนต้องอาศัยการเกิดสืบเนื่องจาก จิต, เจตสิก, รูป อันหมายรวม ถึง ขันธ์ ๕ ซึ่งได้แต่ รูป(ขันธ์),สัญญา(ขันธ์),เวทนาขันธ์, ฯ อีกด้วย สังขารหรือการปรุงแต่ง จะเกิดขึ้นได้ก็ย่อมต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จดจำเอาไว้ในสมอง จากการเรียนรู้ จากที่ได้พบประสบมา ฯลฯ เมื่อได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี(รูปชนิดหนึ่ง) โผฏฐัพพะ(สิ่งที่มาถูกต้องกาย เช่น ร้อน เย็น อ่อนแข็ง ฯลฯ) ,ธรรมารมณ์ สังขารหรือการปรุงแต่งทางสรีระร่างกายได้เริ่มขึ้น อาจเกิดอารมณ์ ความรู้สึกคือ เวทนา(ขันธ์) และ ความรู้สึกคือเวทนา(ขันธ์) ก็ย่อมต้องอาศัย ความจำได้หมายรู้ คือ สัญญา(ขันธ์) ซึ่งล้วนย่อมสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน จิต,เจตสิก,รูป อันเป็นหนทาง หรือเครื่องมือ สำหรับบุคคลที่ต้องการจะเดินทางไปสู่นิพพาน สังขารหรือการปรุงแต่ง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติธรรม เพราะบุคคลย่อมมีการปรุงแต่งอยู่เป็นนิจ หากไม่รู้จักควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การปรุงแต่งหรือสังขาร ย่อมสับสน หรือจะเรียกว่า มีความฟุ้งซ่าน เมื่อได้รับสัมผัสหรือกระทบสิ่งใด ก็จะเกิดสังขารหรือการปรุงแต่งไปหมด การปรุงแต่งหรือสังขารนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ดี เพราะถ้ามนุษย์ไม่รู้จักการปรุงแต่ง ก็ย่อมไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิดการเรียนการสอน ไม่เกิดนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ ต่างๆ ดังที่ท่านทั้งหลายได้มีได้ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ สังขาร หรือการปรุงแต่ง เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) และเป็นสาเหตุตามธรรมชาติ อันก่อให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ ในทางที่ดีก็ได้ ในทางที่ไม่ดีก็ได้ ความทุกข์ก็ได้ ความสุขก็ได้ ความเป็นกลาง คือไม่สุข ไม่ทุกข์ จะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ หลักธรรมทางพุทธศาสนาจึงมีสอนไว้ในเรื่องของสังขารหรือการปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เมื่อเกิดความรู้ ความเข้าใจแล้ว ก็ย่อมสามารถควบคุม ขจัดสภาพสภาวะจิตใจที่เป็นอาสวะต่างๆ ทั้งด้านจิตใจ ด้านความคิด ด้านวาจา ด้านร่างกาย และเมื่อท่านทั้งหลายได้ศึกษาได้เรียนรู้ และเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็ยังหมายรวมถึง การรักษาสุขภาพร่างกาย เพื่อให้สรีระร่างกายได้รับ หรือรู้จักเลือกรับ หรือรู้จักเสาะหา แสวงหา สิ่งที่มีประโยชน์ในการปรุงแต่งหรือสังขาร เพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ ได้ในระดับหนึ่ง จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๒
อนุโมทนาครับ ------------------------------ "ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ห้า) ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้เรียกว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้" "ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? (ความกำหนดรู้เพื่อ) ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความกำหนดรู้ (จึงควรกำหนดรู้ยิ่งในขันธฺทั้งห้า เพื่อความสิ้นไปดังกล่าว" "ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อน ภิษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้เรียกว่าบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว" ขันธ์ห้าจึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเป็นอย่างยิ่ง ดังจักแสดงขันธ์ห้าตลอดทั้งกระบวนธรรมคือความเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้งห้าอย่างละเอียดเป็นลำดับขั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเนื่องสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้งห้าอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อยังประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการในขันธ์ห้า ปฏิจจสมุปปบาทธรรม พระำำไตรลักษณ์ ฯ ที่มา: ปริญเญยยสูตร
ในหลักพระอภิธรรมปิฎก ได้แจกแจง หรืออธิบายหลักธรรมต่างๆ เป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆไป ดังนั้นในแต่ละเรื่องย่อมสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว ในตอนที่ ๑๐ นี้ เป็นเพียงอธิบายในสำนวนภาษาไทย ในเรื่องของ "สังขาร" ยังมีต่ออีกขอรับ ยังไม่จบ