จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรมปิฎก ตอนที่ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 14 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๘
    ในตอนที่ ๗ ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไว้ว่า
    รูป (ขันธ์)(มนุษย์) หมายถึง รูปภายนอก รูปภายใน อันย่อมหมายถึง รูปแห่งอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน มีรูปร่างทรวดทรง แตกต่างกันไป ตามลักษณะการใช้งาน หรือตามลักษณะความจำเป็นหรือความคล่องแคล่ว เหมาะสมในการทำงานของอวัยวะนั้นๆ
    คำอธิบายข้างต้นนี้ เป็นการอธิบายโดยรวม ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น รูป(ขันธ์) ระหว่างรูปภายนอก กับรูปภายในมีความหมายแตกต่างกันดังนี้
    รูปภายใน หมายถึง รูปร่างทรวดทรงแห่งอวัยวะต่างๆของร่างกายเรา และยังหมายรวมไปถึง ความคิด ความจำ ความรู้สึก อารมณ์ หรือสภาพสภาวะจิตใจ อันได้รับการสัมผัสจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะภายใน หรือจะเรียกว่า "อินทรีย์ ๖" ก็ได้เช่นกัน) ทำเกิดความรู้ความจำ ในรูปต่างๆเหล่านั้นเมื่ออดีต ปัจจุบัน หรืออาจนึกคิดไปถึงอนาคต ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
    รูปภายนอก หมายถึง รูปทั้งหลาย รูปทั้งหมด ทั้งที่เป็นรูปแห่ง ไฟ ลม ดิน น้ำ หรือ รูปที่ต้องอาศัย หรือมีการเกิดสืบเนื่องจาก ไฟ ลม ดิน น้ำ รูปภายนอกที่ได้กล่าวไป ล้วนก่อให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี โผฏฐัพพะ (อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือจะเรียกว่า อายตนะภายนอก ก็ได้) ธรรมารมณ์ หรือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ หรือสิ่งที่ใจรู้ได้(ซึ่งย่อมเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ จิต และ เจตสิก)
    ทั้งรูปภายใน(อายตนะภายใน) และรูปภายนอก(อายตนะภายนอก) ย่อมเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยรูปภายในนั้น คือตัวการสำคัญในอันที่จะสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด การปรุงแต่ง หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ รูปภายในหรือ อายตนะภายใน ย่อมก่อให้เกิด สัญญา เวทนา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งรูปภายในจะมีการดำเนินกระบวนการในการสร้างหรือการเกิด ความจำ ความรู้สึก ความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความคิด และการปรุงแต่ง ขึ้นได้ ย่อมต้องได้กับการสัมผัส หรือกระทบ หรือได้รับปัจจัยมาจาก รูปภายนอก หรือ อายตนะภายนอก นั่นเอง
    เมื่อท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจแล้วว่า เมื่อมีรูป(ขันธ์)ภายในแล้ว ย่อมก่อให้เกิด สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ อันเป็นไปตาม ระบบการทำงานตามธรรมชาติของสรีระร่างกายมนุษย์ หรือ จะเรียกว่า เป็นไปตาม ภวัง แห่งรูปภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และต้องอาศัยรูปภายนอก เป็นปัจจัยในการทำให้ระบบการทำงานของร่างกายดำเนินไปตามกระบวนการ แลท่านทั้งหลายก็ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า สัญญา เวทนา สังชาร วิญญาณ นั้น อันไหนจะเกิดก่อน อันไหนจะเกิดหลัง หรือเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ก็เป็นเรื่องของระบบการทำงานแห่งสรีระร่างกายมนุษย์ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายในรายละเอียดให้มากนัก จะอธิบายเพียงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดความรู้ในการนำไปใช้ในการปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านทั้งหลายก็ต้องมี สัญญา
    สัญญา หมายถึง การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ หรือจำได้ เพราะสมองและใจ ได้เก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เนื่องจากความสนใจ พอใจ อันมีเครื่องมือในการทำให้เกิดสัญญานั้นก็คือ " สมาธิ" อย่างนี้เป็นต้น สัญญา หรือ การกำหนดหมาย หรือความจำได้ หมายรู้ หรือความจำนั้น ย่อมหมายถึงการ จำได้หมายรู้ ใน รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี สิ่งที่มากระทบกาย(โผฏฐัพพะ) ,และอารมณ์ที่เกิดในใจ หรือสิ่งที่ใจรู้(ธรรมารมณ์) อีกทั้งยังจำได้หมายรู้ หรือมีความจำ ในความรู้ หลักวิชาการต่างๆ หลักธรรมทางศาสนา การปฏิบัติ พฤติกรรม การกระทำ ท่าทาง กิริยา ฯลฯ ต่างๆ ทั้งของตนเองและผู้อื่น และความจำ หรือความจำได้หมายรู้นั้นย่อมอาจเป็นความจำได้หมายรู้ที่ได้ผ่านไปแล้ว ปัจจุบัน หรืออาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
    สัญญา หรือความจำได้หมายรู้ หรือ การกำหนดหมาย หรือหมายรู้ไว้ หรือความจำนี้ ยังหมายถึง ความจำได้แห่งระบบการทำงานของสรีระร่างกาย หมายความว่า อวัยวะต่างๆล้วนมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป อวัยวะต่างๆเหล่านั้น ก็ล้วนมีความจำในการทำงานของมัน คือทำงานหรือดำเนินกระบวนการของมันไปตามระบบการทำงาน นับตั้งแต่ระดับเซลล์เป็นต้นมา

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๔ ก.ย. ๒๕๕๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...