จิตเที่ยง นิพพานเที่ยง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รามเมืองลพ, 26 ธันวาคม 2014.

  1. รามเมืองลพ

    รามเมืองลพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +99
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

    จิตเที่ยง นิพพานเที่ยง

    วันนี้วันที่เท่าไร (๒ ตุลาเจ้าค่ะ) ที่ ๒ กุมภา (ตุลาค่ะ) ตุลาเหรอ นึกว่ากุมภา มันเป็นอย่างนั้นละ เฒ่าแก่มาแล้วมันเป็นอย่างนั้น ไปตามทางวันนี้จะไปที่นั่นพอเดินไปตามทางถึงกลางทาง เอ๊นี่เราจะไปไหนกันนี่ เป็นอย่างแล้วนะเดี๋ยวนี้นะ วันนี้เราจะไปไหนกันนะ คือเราเองเป็นคนสั่งว่าวันนี้จะไปธุระที่นั่น พอไปถึงครึ่งทาง เอ๊นี่เราจะไปที่ไหนกันนะวันนี้ เป็นแล้ว
    นี่กิริยาคืออาการของจิต อาการของจิตมันวิบแว็บๆ พลิกแพลงเปลี่ยนแปลง ที่ว่าหลงหน้าหลงหลังคืออาการข้างนอกมันหลง ส่วนภายในเป็นอีกอย่างหนึ่ง ภายในที่เป็นจิตแท้มันเป็นอย่างนี้ อาการของจิตมีหลงลืม ตัวจิตแท้ไม่มีกิริยาอันนี้ไม่มี ฝึกให้เต็มที่แล้วไม่มีอะไรจะเลิศเลอยิ่งกว่าจิตที่ฝึกเรียบร้อยแล้ว ไม่มีเรื่องวิตกวิจารณ์ว่าจะเป็นอะไรต่ออะไรไปอีก คงเส้นคงวาหนาแน่น นั่นละจิตที่ว่าธรรมชาติของจิตแท้ธรรมแท้เข้าเป็นอันเดียวกัน คือจิตกับธรรมเข้าเป็นอันเดียวกัน
    วันนี้เป็นวันอะไร (วันพฤหัสเจ้าค่ะ) อังคาร พุธ พฤหัส อ๋อ วันพฤหัสวันที่เท่าไร (วันที่ ๒ เจ้าค่ะ) หลงหน้าหลงหลังเดี๋ยวนี้นะ แต่ก่อนวัยหนุ่มวัยอะไรธรรมดาก็ไม่เห็นมีหลงหน้าหลงหลัง เดี๋ยวนี้หลงหน้าหลงหลังนะ คิดดูอย่างว่าเราจะไปที่นั่นพอไปถึงครึ่งทาง อ้าวนี่เราจะไปไหนกันนี่ ไม่รู้ทิศทางไป เป็นอย่างนั้นละ หลงหน้าหลงหลัง อาการของจิตเป็นอย่างนั้น จิตที่ได้ฝึกเต็มที่แล้วสง่างามไม่มีอะไรเสมอ
    จะว่าจิตก็ได้ จะว่าธรรมก็ได้ จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกัน นั่นละธรรมแท้ จิตแท้ อาการนี้ไม่แท้ เป็นกิ่งก้าน เหมือนอย่างต้นไม้ ใบนั้นล่วงใบนี้งอกขึ้นมา ใบนั้นแก่ใบนี้ล่วงลงไป เป็นอาการของต้นไม้ นี่อาการของจิตก็เหมือนกัน ฝึกให้เต็มที่พอเข้าถึงขั้นคงเส้นคงวาแล้วทีนี้ไม่มีวิตกวิจารณ์อะไรเข้ามารบกวน เสมอเลย จิตที่ฝึกเรียบร้อยแล้วเป็นอย่างนั้นละ คือเราอยากจะทราบเรื่องจิตของเรา นักภาวนาเอาให้ถึงขีดแล้วต้องพิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง อาการของเราเป็นอย่างไร ระยะนั้นๆจิตเป็นอย่างไร ระยะนั้นๆจิตเป็นอย่างไร การฝึกอบรมอยู่ไม่หยุดไม่ถอย อาการของจิตจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นตายตัวแล้วไม่มีอาการเปลี่ยนแปลง
    จิตแท้ ธรรมแท้ พูดได้ทั้งสองอย่าง อย่างจิตพระพุทธเจ้า-จิตพระอรหันต์ไม่มีอะไรจะเข้าไปทำลายหรือเปลี่ยนแปลงได้ คงเส้นคงวา ที่ท่านว่านิพพานเที่ยงคือจิตดวงนี้เที่ยงแล้ว หมดอาการอะไรๆ จะเข้ามารบกวน หมด จึงว่าจิตเที่ยง นิพพานเที่ยง จิตกับนิพพานก็เป็นไวพจน์ของกันและกัน เมื่อถึงขั้นนั้นแล้วจะว่านิพพานก็ได้ จะว่าจิตบริสุทธิ์ก็ได้ เป็นไวพจน์ใช้แทนกันได้
    พยายามฝึกจิตมานี้ตั้งแต่พรรษา ๗ นะ หยุดจากเรียนพรรษา ๗ หยุดจากเรียนหยุดหมดละ ทีนี้จะตั้งหน้าปฏิบัติโดยถ่ายเดียว การเรียนเอาแค่นี้ก็ได้แค่นั้นแล้วหยุดเลย ทีนี้เข้าทางด้านปฏิบัติตั้งแต่บัดนั้นละตั้งแต่พรรษา ๗ เข้าด้านปฏิบัติ เข้าด้านปฏิบัตินี้อาศัยในป่าในเขา ตามถ้ำเงื้อมผาเป็นที่สะดวกสบายในการดูความเคลื่อนไหวของจิต จิตมันจะเคลื่อนไหวเป็นอาการอยู่เรื่อยๆ สติคอยจับๆ ชำระซักฟอกกันไป ค่อยสงบ สงบแล้วก็ผ่องใส ผ่องใสแล้วก็สง่างามเรื่อยๆ จนเข้าถึงเต็มที่เต็มภูมิของจิตแล้วจ้าไปหมดเลย นั่นละจิตสว่าง พระอาทิตย์สิบดวงสู้ไม่ได้ ความสว่างของจิต
    อันนั้นไม่ได้ให้ความสุขความสบายแก่เรา..พระอาทิตย์ แต่จิตที่สว่างไสวนี้ให้เป็นความสุขความสบายเป็นความอัศจรรย์ได้โดยไม่ต้องสงสัยละ นี่ผู้ฝึกจิต จิตเป็นของฝึกได้นะ ฝึกถึงขั้นตายตัวแล้วท่านบอกว่านิพพานเที่ยง จิตฝึกตัวให้เรียบร้อยแล้วเที่ยงตรงนั้นละ ผู้ฝึกที่เป็นครูเอกของเราก็คือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านฝึกพระองค์มาก่อน..๖ ปีได้ตรัสรู้ธรรม จากนั้นมาก็สาวกเรื่อยๆ ฝึกจิตเข้าถึงขั้นคงเส้นคงวา ทีนี้หนาแน่นละ
    วันนี้ก็สายไปหน่อย ฟ้าหญิงท่านก็มา เป็นไหมละเรื่องอรรถเรื่องธรรมถูกกับหัวใจของทุกดวงนั่นแหละ มีแต่กิเลสหนาแน่นมันขี้เกียจขี้คร้านภาวนาอบรมจิตใจ ถ้าจิตมีความรักใคร่ใกล้ชิด ต่อธรรมแล้วมันจะหมุนเข้าหาธรรมเรื่อยๆ จิตก็สว่างไสวออกไปเรื่อย จิตเป็นของฝึกได้ ฝึกจนกระทั่งถึงวันนิพพานเที่ยง นั้นละจิตที่ฝึกได้เต็มตัวแล้วจิตเที่ยงนิพพานเที่ยงอันเดียวกัน ไม่ผิดกันละ ฝึกให้เต็มตัว เป็นของฝึกได้
    พระพุทธเจ้าแต่ก่อนก็ยังไม่เรียกว่าพระพุทธเจ้า พอตรัสรู้ผางขึ้นมาแล้วฝึกได้เต็มภูมิของศาสดาเอกแล้ว สอนโลกได้จนกระทั่งทุกวันนี้ เรายังได้ยึดแนวทางที่ท่านพาดำเนินเพื่อความพ้นทุกข์มาตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะอย่างนั้นจึงต้องให้ใกล้ชิดกับอรรถกับธรรม อย่ามาสุมแต่โลกสงสาร พวกมูตรพวกคูถ กำลงไปทีไรก็มีแต่มูตรแต่คูถเต็มไม้เต็มมือ ไม่ได้มีอรรถมีธรรมเข้าสู่หัวใจเลยใช้ไม่ได้นะ วันนี้เอาเท่านั้นละนะ จะให้พรแล้ว
    วันนี้เจ้าฟ้าหญิงท่านก็มาก็ดีและ ไม่ได้เทศน์มากนะละ ให้อบรมจิตให้ดีนะ ให้จิตมีความสงบ จิตมีความสงบแล้วสบายๆ สงบเท่าไรผ่องใสเท่าไรยิ่งสบายเท่านั้น จิตถึงขั้นเต็มภูมิแล้วก็สบายตลอด ท่านว่านิพพานเที่ยงคือจิตเที่ยง นั่นละสุดท้ายของการฝึกจิต ถึงจิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว เรียกว่าจิตเที่ยง นิพพานเที่ยง เอาตรงนี้ละนะ ให้พรนะ
    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=5140
     
  2. รามเมืองลพ

    รามเมืองลพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +99
    สิ้นสมมุติแล้วนิพพานเที่ยง

    ลูกศิษย์ : หลวงตาคะ คำว่า นิพพานเที่ยง ถูกหรือผิดคะ

    หลวงตา : ถูกหรือผิดมันมีความหมายอย่างไรบ้าง มันมีแง่อยู่นั่นน่ะ

    ลูกศิษย์ : คือมันถูกหรือไม่ล่ะคะ นิพพานเที่ยง

    หลวงตา : ถ้าผิดพระพุทธเจ้าก็ผิดไปนานแล้ว ถ้าถูกก็องค์ศาสดาถูกไปก่อนพวกเราแล้ว ไปเถียงกันเป็นบ้าหาอะไร อย่างนั้นซีปุ๊บปั๊บเอาแล้ว

    ลูกศิษย์ : แสดงว่าถูกนะคะ

    หลวงตา : ไม่เอา ไม่ตอบ ตอบหาอะไร สิ่งที่ไม่น่าตอบ ตอบจะเป็นปัญหาขึ้นมาทันที เพราะอันนี้สิ้นปัญหาโดยสิ้นเชิงแล้ว สมบูรณ์แบบแล้วอยู่กับว่านิพพานเที่ยง หมดปัญหา ไม่มีพระอรหันต์องค์ใดจะเป็นข้อสงสัย นอกจากพวกที่หันไปหาเสื่อหันไปหาหมอนมันสงสัยวันยังค่ำพวกนี้ เข้าใจไหม ไม่ตอบแหละนิพพานเที่ยง ไม่ตอบ พอเข้าใจกันหมดแล้วนี่นะ คำว่าเที่ยงก็เทศน์ให้ฟังแทบทุกวัน ๆ จิตสิ้นกิเลสเท่านั้นปั๊บเลย ไม่ต้องถามหานิพพานเที่ยงไม่เที่ยง ท่านไม่ถามใคร ปึ๋งขึ้นในจิตของท่าน จะว่านิพพานหรืออะไรก็แล้วแต่ท่านไม่สงสัย แต่พวกเรานี้หางมนั้นงมนี้ไป โลกไม่อยากไป โลกไม่สนใจสิ่งที่เที่ยง สิ่งที่หมุนกันอยู่เหมือนฟุตบอลนี้โลกชอบมาก

    เข้าใจหรือเปล่าล่ะ นิพพานเที่ยง ท่านก็เขียนไว้แล้วในตำราเต็มไปหมด แล้วต้นเหตุที่เป็นนิพพานเที่ยงมาจากไหน ก็มาจากจิตที่บริสุทธิ์ เพราะจิตดวงนี้ตามธรรมชาติแล้วจะไม่เคยฉิบหาย ไม่เคยตาย อย่างร่างกายตาย คนนั้นเกิดคนนี้ตาย มีแต่ร่างเท่านั้นเปลี่ยนสภาพแปรสภาพ หมดสภาพแล้วก็แปรลงไป เขาเรียกว่าสัตว์ตาย คนตาย ทีนี้จิตดวงที่อยู่ข้างในมันออกแล้ว ตัวนี้ไม่ตาย ไปตามกรรมของตัวเอง กรรมดีไปทางดี กรรมชั่วไปทางชั่ว ที่จะให้ฉิบหายไม่มี แม้แต่ไปจมในนรกกี่กับกี่กัลป์ ก็ต้องทนทุกข์ทรมานตามอำนาจแห่งกรรมหนักเบาของตน จะทุกข์ขนาดไหนก็ยอมรับว่าทุกข์แต่ไม่ยอมฉิบหายคือจิตดวงนี้

    เหล่านี้เป็นแดนสมมุตินะที่ว่านรกอเวจี สวรรค์ชั้นพรหม เหล่านี้เป็นแดนสมมุติทั้งนั้น พอพ้นจากนี้ปึ๊บแล้วนั้นเรียกว่าแดนแห่งนิพพาน นั่นละนิพพานเที่ยง คือจิตที่บริสุทธิ์พอพ้นจากสิ่งสมมุติทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ด้วยการชำระซักฟอก หรือสร้างบารมีคุณงามความดีนั้นแหละพูดง่าย ๆ ว่าชำระซักฟอก บริสุทธิ์เต็มที่แล้วก็ดีดผึงเลย อันนี้เองที่ไปเสวยบรมสุข เสวยแบบนิพพาน เสวยแบบนอกสมมุติ ไม่ใช่เสวยในสมมุติ เข้าใจไหม แต่เมื่อโลกมีสมมุติท่านก็ต้องแยกออกมาว่าเสวยบรมสุข หรือเสวยวิมุตติ แยกมาตามสมมุติ หลักธรรมชาตินั้นท่านรู้ท่านเองท่านไม่ไปถามใคร นี่เรียกว่าจิตเที่ยง เที่ยงนี้จะไม่เอนเอียงเลย สมมุติไม่เข้าไปถึงแล้ว นี่เรียกว่าแดนนิพพาน

    ความไม่สูญไม่สิ้นคือจิตใจ นอกนั้นมีแปรสภาพทั้งหมด แปรเป็นโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จิตนี้เวลามีสมมุติอยู่ก็เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เหมือนกัน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ไม่ยอมฉิบหายเท่านั้นเอง พอชำระซักฟอกบริสุทธิ์แล้วก็ดีดผึงเลย นี่ถึงที่ว่านิพพานเที่ยง คือจิตพระอรหันต์นั้นแหละผู้ทรงนิพพานเที่ยง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์ทุกองค์ ทรงธรรมที่ว่านิพพานเที่ยงทั้งนั้น ท่านไม่ต้องไปถามใคร นี่เรียกว่านิพพานเที่ยง เข้าใจหรือยัง

    ลูกศิษย์ : เข้าใจแล้วค่ะ

    หลวงตา : เราเทศนาว่าการมาได้กำลัง ๕ ปีนี้ สอนบรรดาพี่น้องทั้งหลาย คือมันหากเป็นอยู่ในจิต พูดให้ตรงอย่างนี้เลย เทศน์สอนไปดูไป ๆ ควรจะเพิ่มกำลังมันก็เป็นในจิต ควรจะลดกำลังลงก็เป็นในจิตในการสอนโลกนะ มันเป็นอยู่ในจิต มันหากทดสอบโดยหลักธรรมชาติ ผลได้ผลเสียมีมากมีน้อยประการใดบ้างมันจะทบทวน เป็นหลักธรรมชาติ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาเหมือนโลกทั่ว ๆ ไปนะ หากเป็นในจิตเอง นี่เราก็สอนมา ๔ ปี ๕ ปีนี้แล้ว ผลได้ก็มี แต่ควรจะเขยิบขึ้นไปกว่านี้ ให้สมกับพระพุทธเจ้าทรงสละพระชนม์ชีพมาตลอด ตั้งแต่วันตั้งความปรารถนาเป็นศาสดาเอกสอนโลก ด้วยการสร้างบารมี สมบุกสมบันกับความทุกข์ความลำบากลำบนที่สุด ไม่มีอะไรเกินพระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ ๆ นี้ทุกข์มากแสนสาหัส แล้วสำเร็จขึ้นมาเป็นธรรมสอนโลก ธรรมที่มาสอนโลกก็เป็นธรรมที่เลิศเลอจากพระพุทธเจ้า

    พอมาถึงโลกแล้ว เวลานี้ปัจจุบันนี้มันกลายเป็นมูตรเป็นคูถไปแล้วนะ กิเลสเป็นทองคำทั้งแท่งขึ้นเหยียบอรรถเหยียบธรรมพระพุทธเจ้า การฟังอรรถฟังธรรมไม่ค่อยจะสนใจเท่าที่ควร แต่เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งจดจ่อตลอดเวลาไม่มีคำว่าอ่อนข้อ นี่เห็นไหมกิเลสมันกดมันถ่วงมันผลักมันดันให้ดิ้นตลอดเวลา ไม่มีวัยชรา อ่อนข้อไม่มีกิเลส เหนียวแน่นมั่นคงที่สุด เวลาธรรมมาสอนถึงขนาดที่ว่าธรรมเทียบกับทองคำทั้งแท่ง กิเลสมันยังเหยียบให้เป็นมูตรเป็นคูถไปได้ เห็นไหมอำนาจของกิเลส

    แล้วสัตว์โลกเห็นตามกิเลสเสียมากต่อมาก เพราะฉะนั้นสัตว์โลกที่จะหลุดพ้นจากทุกข์จึงมีจำนวนน้อยมากทีเดียว ผู้ที่บืนลงไปในส้วมในถานเกิดแก่เจ็บตายแบกหามกองทุกข์นั้นไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ไม่มีต้นไม่มีปลาย หมุนกันไปหมุนกันมาอยู่อย่างนี้ สามแดนโลกธาตุนี้มีแต่วัฏจักรสำหรับหมุนสัตว์ทั้งหลายให้เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยอำนาจของกิเลสครอบเอาไว้กล่อมเอาไว้นั่นเองจะเป็นอะไร พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แต่ละพระองค์ดึงขึ้น ๆ ได้เพียงเล็กน้อย ไม่ได้มากนะ พระพุทธเจ้ามาอุบัติแต่ละครั้งนั่นละธรรมมาสอนโลก ผู้ที่ควรที่จะหลุดลอยไปได้ ท่านก็บอกไว้ ๔ ประเภทอีกด้วยนะ

    อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่รออยู่แล้วที่จะพ้นจากทุกข์ ปัจจุบันนี้ยกตัวอย่างเช่น เบญจวัคคีย์ทั้งห้า เอานี้เลย นี่ละเป็นอันดับหนึ่ง รออยู่แล้ว รอตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาเป็นสิทธัตถราชกุมาร ทางนี้ออกบวชคอยพระพุทธเจ้า พระอัญญาโกณฑัญญะนั้นเป็นนักทายที่เยี่ยมคนหนึ่งมาทายพระพุทธเจ้า บรรดาทั้งหลายที่มาทายนั้นว่าเป็นสองนัย ๑) ได้ตรัสรู้ ๒) เป็นพระมหาจักรพรรดิ มีสองแง่ ๆ แต่อัญญาโกณฑัญญะว่าแง่เดียวเท่านั้น ใส่ปึ๋งเลย จะได้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นเวลาได้โอกาสเหล่านี้ก็ไปบวชรอพระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้ เพราะเชื่อแน่ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยถ่ายเดียว ทางนี้ไปรออยู่แล้ว พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้ปึ๋ง เปิดปากคอกปั๊บนี้ก็พุ่งเลย ท่านเหล่านี้เป็นอุคฆฏิตัญญู

    วิปจิตัญญู หนุนหลังกันไป ทางนั้นออกแล้วทางนี้หนุนกันไป

    เนยยะ พวกนี้เรียกว่ายื้อแย่งแข่งดีกันกับกิเลสตัณหา ทางอรรถทางธรรมก็ดึงขึ้น ทางกิเลสก็ดึงลง เนยยะ แปลว่า ผู้ควรแนะนำสั่งสอนได้ แปลออกแล้วนะ ทีนี้มันต้องยื้อแย่งแข่งดีกันกับกิเลส ทั้งจะขึ้นทั้งจะลง อยู่กึ่งกลางอันนี้ ถ้าเข้มแข็งไปได้ ถ้าไม่เข้มแข็งกิเลสเอาลง อย่างนั้นละ

    ส่วน ปทปรมะ นั้นเหมือนคนตายทั้งเป็น ไม่มีความหมายอะไรเลย เทียบกับคนไข้ เขาไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บอยู่ตามโรงพยาบาลกับหมอ เขาหายโรคหายภัยมาจำนวนมากเท่าไร แต่คนประเภทปทปรมะนี้โดดเข้าไปแต่ห้อง ไอซียู ๆ ไม่ยอมไปหาหมอหาหยูกหายาเพื่อความหายโรคหายภัยนะ รอแต่ลมหายใจ จากนั้นก็ไปเลย พวกนี้ไม่เอาไหน หมอไม่มีความหมาย ยาไม่มีความหมาย เพราะคนนี้หมดความหมายแล้ว อะไรจะมีความหมายเท่าฟ้าเท่าแผ่นดิน ก็หมดความหมายไปตามธรรมชาติที่หมดความหมายไปแล้ว เช่นคนตายแล้วใครไปรักษาได้วะ หมอเคยรักษาโรคมาขนาดไหน มากมายขนาดไหน ที่ทำคนไข้ให้หายจากโรคจากภัย แต่มารักษาคนตาย หมอคนไหนรักษาคนตายให้ฟื้นมาได้มีไหม อย่างนี้ละเข้าใจไหม

    ธรรมพระพุทธเจ้าเลิศขนาดไหนก็ตาม รักษาปทปรมะนี้ เหมือนหมอรักษาคนไข้ประเภท ไอซียู เข้าใจหรือเปล่าล่ะ นี่เป็นอย่างนี้ มี ๔ ประเภท จิตนี้ไม่เคยตาย คือไม่เคยฉิบหาย เรื่องเกิดเรื่องตายมีแต่เรื่องของธาตุของขันธ์ ของสัตว์ของบุคคล จิตเข้าไปสิงอยู่นั้นเป็นเจ้าของ พอสภาพนี้หมดความหมายจิตก็ดีดออก คือดีดออกแล้วก็ไปตามอำนาจแห่งบุญแห่งกรรมของตัวเอง ไม่ได้ไปโดยอิสระเหมือนจิตพระอรหันต์

    จิตของสามัญชนทั่ว ๆ ไป เป็นจิตที่ต้องอาศัยกรรมดีกรรมชั่วเป็นผู้พาไป มันอยู่กับจิต อะไรมีอำนาจมากก็ดึงไปก่อน เช่น บาปมากก็ลง ถ้าบุญมากก็ขึ้น มี ๒ อย่าง ให้ตายไม่ตาย จิตดวงนี้ไม่มีคำว่าตาย มันทราบชัด ๆ ก็คือภาคภาวนา เราพูดจริง ๆ เราไม่ได้สงสัยเลย แต่ก่อนเราก็ไม่เคยรู้เคยเห็น จิตดวงนี้มันติดตามกันมาตั้งแต่เริ่มภาวนา ติดตามรอยของจิต รอยของจิตก็คือรอยเกิดรอยตาย สภาพต่าง ๆ ที่จิตเข้าไปอาศัยนั้นแหละ ที่ว่าเกิดว่าตาย เป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นเปรตเป็นผีเป็นอะไร นี่ก็ล้วนแล้วตั้งแต่จิตเข้าไปอาศัยๆ ด้วยอำนาจแห่งกรรมไสเข้าไปตรงนั้น ๆ ไม่ใช่ไปเฉย ๆ ควรจะไปกำเนิดใดกรรมก็ไสเข้าไปนั้นก็ไปเกิด เป็นเปรตเป็นผี นรกอเวจี เทวบุตรเทวดา ลงนรกจกเปรต นั่นไปอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งบุญกรรม ไม่เคยฉิบหายคือใจ นี่เวลาเราพิจารณาภาวนาเข้าไปนะ

    แล้วพูดมันสาธุทันทีนะ ไม่ต้องว่าวัดรอยพระพุทธเจ้า ก็ของอันเดียวกัน วัดหรือไม่วัดมันก็รู้ด้วยกัน เข้าใจไหม นั่นละพูดอย่างนี้เลย ของอย่างเดียวกันวัดไม่วัดมันก็รู้ด้วยกัน ตาเด็กก็รู้ตาผู้ใหญ่ก็รู้ มองไปเห็นสิ่งที่ควรเห็นควรรู้ นี่อย่างนี้ มองดูกระโถน ผู้ใหญ่ก็เห็นเด็กก็เห็น เว้นแต่คนตาบอดเข้าใจไหม หลักธรรมชาตินี้มันก็เห็นด้วยกัน จิตไม่ตาย พอพิจารณาเข้าไปนี้ มันตามรอยนะนี่ ตามรอยจิตที่เกิดแก่เจ็บตายไปนั้นไปนี้ ตามรอยไป ๆ ด้วยจิตตภาวนา อันนี้เรียกว่ารวมสรุปความลงมา เดินทางลัดเข้าไป ๆ เลย เวลาภาวนาจิตว้าวุ่นขุ่นมัวยังไง ๆ มันก็เห็นตั้งแต่ต้น ชำระซักฟอกไปเรื่อย ๆ ก็ค่อยจางไปสิ่งที่มืดดำกำตาปิดหัวใจอยู่นั้นให้มืดบอดอยู่ตลอดเวลา ค่อยจางไป ๆ ความสว่างของจิตด้วยอำนาจแห่งธรรมเข้าแทรกถึงใจ ก็ค่อยสว่างออกมา ๆ ค่อยติดตามกันไป

    จิตกับกายที่ว่าเป็นอันเดียวกัน คือร่างกายของเรากับจิตนี่ โลกทั้งหลายต้องถือเป็นอันเดียวกันหมด ไม่มีจะว่าเป็นอย่างอื่น ถึงธรรมพระพุทธเจ้าสอนว่าเป็นคนละอย่าง ๆ หลักธรรมชาติของจิตที่อยู่ในภูมินี้ต้องแน่ใจว่าจิตเป็นเราเราเป็นจิต ร่างกายทั้งหมดเป็นจิต จิตเป็นร่างกายทั้งหมดไปหมด ทีนี้เวลาภาวนาเข้าไป ๆ จิตมีความสงบเข้าไป ๆ มันก็หดย่นเข้ามา ๆ เวลาเข้า ๆ เวลาออก ๆ มันก็ชัดเจน คือออกจากความกังวลวุ่นวายกับร่างกายทั้งหลายเข้าสู่ความสงบของใจ มีความรู้อยู่โดยเฉพาะ นั่น เริ่มจะรู้อยู่แล้วนะนั่น

    ทีนี้พอออกจากความสงบมันก็ซ่านออกไป ความยึดความถือธรรมดา แต่มีสติสตังเริ่มระลึกรู้ พอจิตซ่านออกมาแล้วมันก็มายึดตามเดิม ๆ แต่มันก็ได้ร่องรอยแล้วว่า ตอนมันไม่ยึดมีใช่ไหมล่ะ เพียงเท่านั้นก็เอาละ เป็นรูปเป็นเถาทีแรกนะ ครั้นทำไปหลายครั้งหลายหน จิตหดเข้ามาย่นเข้ามาผ่องใสเข้ามาๆ อันนั้นก็ยิ่งเป็นสิ่งที่หยาบขึ้น ๆ กับจิตนี้ละเอียดมาก แน่ะ อันนั้นหยาบ มันถอยเข้ามามันก็รู้ ครั้นต่อไปจิตเป็นสมาธิ เพียงขั้นเป็นสมาธิเริ่มรู้แล้วนะ คือความรู้ของจิตที่เป็นสมาธิจะมีความแน่นหนามั่นคง ความรู้เด่นอยู่กับ เอ้า พูดตรง ๆ เลยว่า อยู่ตรงกลางอก ความรู้นี้เด่นอยู่นี้ จะสว่างไสวก็เด่นอยู่นี้ จะเศร้าหมองผ่องใสประการใดเด่นอยู่ที่นี่ มันชัด ๆ

    พอจิตเข้าเป็นสมาธิเต็มภูมินี้เริ่มรู้แล้ว ร่างกายนี้เป็นอันหนึ่งต่างหากจากใจ แต่ยังไม่ได้ถอนโดยสิ้นเชิง หากทราบเงื่อนต้น พอจิตเข้าสู่ความสงบของตัวเองแล้ว ร่างกายนี้ก็หายไปหมด นี่เวลาจิตรวม ถึงจิตไม่รวมก็ตาม จิตเป็นสมาธิต้องมีฐานของตัวเองตลอด มันก็เห็นชัดเจนว่านี่ร่างกายส่วนร่างกาย นี้คือจิต กำหนดเข้ามาปั๊บ จิตจะรู้เด่นอยู่นี้ ร่างกายนี้เป็นกิ่งเป็นก้านไปมันก็รู้ จากนั้นก็ออกทางวิปัสสนา อันนี้แหละชัดมากทีเดียว แยกแยะออก ๆ สลัดออก ๆ ปัดออกเรื่อย ทีนี้ความรู้ของจิตยิ่งเด่นขึ้น สว่างไสวขึ้น มีความคล่องแคล่วว่องไวขึ้นๆ ทีนี้สิ่งเหล่านี้ค่อยกระจายออกจางออก มันปล่อยของมันเองนะ

    นี่ละตามร่องรอยของจิตตามไปอย่างนี้ ฟาดสภาพร่างกายนี้จนหายห่วงหมด มันปล่อยของมันเอง ร่างกายทั้งร่างนี้หมด ในความรู้สึกว่ายึดว่าถือว่าเป็นเราเป็นของเรานั้น ถอยเข้ามาอยู่ในใจนี้หมดแล้ว อันนี้เป็นอาการอันหนึ่งๆ แต่มันยังแก้ไม่ได้ก็รู้นะ รู้ว่ามันเป็นอาการอันหนึ่งต่างหาก แต่ยังแก้ไม่ได้ รู้ด้วยแก้ได้ด้วยมันต่างกันเข้าใจไหมล่ะ เมื่อพิจารณาช่ำชองเข้าไปโดยลำดับ ๆ ทีนี้แก้เข้าไปละเอียดเข้าไป ๆ ที่สุดที่จะเข้าใจในเรื่องร่างกายชัดเจนมากก็พวกสำเร็จพระอนาคามี สำเร็จพระอนาคามีคือผ่านชั้นกามกิเลส กามกิเลสคือร่างกายนี้เป็นเรือนรังของกามกิเลส จิตถอนนั้นออกแล้วมันก็รู้ชัด ว่าร่างกายเป็นอันหนึ่งจิตเป็นอันหนึ่ง เป็นอย่างนี้นะ

    จากนั้นมันก็เอาร่างกายนี้แหละหมุนกัน ฝึกซ้อมกันตลอด ๆ จนกระทั่งร่างกายนี้หมดความหมายไปเลย ทั้งไม่ยึดด้วย ทั้งหมดความหมาย ร่างกาย เลยกลายเป็นเรื่องจิตว่างเปล่าไปหมด ร่างกายมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่ยึดไม่ถือไม่เป็นอารมณ์ นั่นเป็นขั้น ๆ ไปแล้วนะ จากนั้นจิตก็ขึ้นสู่นามธรรม จะพิจารณาพวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอารมณ์ของจิต ก้าวเดินไป ส่วนร่างกายปล่อยไปเอง เราจะพิจารณาคล่องแคล่วว่องไวขนาดไหนปล่อยหมด

    ความที่พอแล้วมันเลยอันนั้น เลยความคล่องแคล่วว่องไวในการพิจารณากาย มันปล่อยได้หมด เหลือตั้งแต่เรื่องนามธรรม นี้เรียกว่าตามจิต ตามเข้าไป ร่างกายก็หมดความหมาย เหมือนนี่เห็นไหม อันนี้ดูเอา นี่จิต นี่ร่างกายของเราอยู่ตรงกลาง มันก็รู้ว่านี้มือ อันนี้กล่องยา อันนี้จิต อันนี้ร่างกาย มันก็รู้อย่างนั้น มันอยู่ด้วยกันมันก็รู้ มันไม่ยึดไม่ถือ จากนั้นก็เกี่ยวกับเรื่องด้านนามธรรมล้วน ๆ ร่างกายนี้หมดความหมายไปแล้วมันก็ไปทางด้านนามธรรม ด้านนามธรรมนี้ติดพันกับจิตโดยเฉพาะ ร่างกายนี้ไม่มาเกี่ยวกันแล้ว ความปล่อยวางของร่างกายอันนี้ปล่อยไปแล้ว

    ยังเหลืออยู่สิ่งที่ละเอียดกว่านั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หมุนเข้าไป ๆ เข้าไปหาจิต ๆ ตามเข้าไปหาจิต ตามเข้าไปหลายครั้งหลายหน ละเอียดเข้าไป ปล่อยเข้าไป ๆ ฟาดนี้ อันนี้อาการทั้ง ๔ อย่าง หรือตั้งแต่รูปไป มันมาจากจิต พอปล่อยนี้เข้าไปหมดโดยสิ้นเชิง เข้าถึงตัวจิตปัดออกหมดไม่มีอะไรเหลือโดยสิ้นเชิง นั่นเรียกว่าตามรอยความเกิดตายของจิตถึงที่แล้ว อะไรก็ไม่มี ขาดสะบั้นลงไปแล้ว ไม่มีอะไรเป็นเงื่อนต่อเลย

    ท่านจึงบอกว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ ความรู้ความเห็นอันเลิศเลอได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราตถาคต ที่ท่านได้ประกาศแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อันนี้ท่านประกาศในองค์ของท่านเอง ผู้เป็นผู้ใดก็ประกาศขึ้นในตัวเองว่าความรู้ความเห็นอันเลิศเลอได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว อกุปฺปา เม วิมุตฺติ ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายนั้นไม่มีการกำเริบอีกแล้ว อยมนฺติมา ชาติ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ของผู้บำเพ็ญถึงขั้นนี้นั้นแหละ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป ความเกิดอีกจะไม่มีแล้ว นี่ละตัดสินลงตรงนั้น การตามร่องรอยความเกิดตายของเจ้าของไปยุติที่กิเลสสิ้นซากลงไป

    กิเลสนั้นแลเป็นเชื้อแห่งร่องรอยของวัฏจักร ชำระอันนี้ขาดสะบั้นลงไปแล้ว ร่องรอยของวัฏจักรขาดสะบั้นลงไปด้วยกัน ทุกข์จึงไม่มีแก่ท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นมาจากกิเลสเป็นผู้สร้างทุกข์ พอกิเลสพังแล้วทุกข์ก็พัง จิตของพระอรหันต์จึงไม่มีคำว่าทุกข์ มีแต่ในธาตุในขันธ์ ท่านก็รับทราบเป็นธรรมดาเท่านั้น แต่ท่านไม่ซึมซาบ จะบังคับให้ซึมก็ไม่ซึม เป็นคนละฝั่งละฝาไปเรียบร้อยแล้วโดยหลักธรรมชาติ อาศัยอยู่กันไปพาอยู่ พากิน พาหลับ พานอน พาขับพาถ่าย เป็นตามธรรมชาติของขันธ์

    ขันธ์นี้มีความเป็นยังไงของมัน มันจะไม่เปลี่ยนแปลงนะขันธ์ เคยอยู่เคยกิน เคยหลับเคยนอน อะไรดีก็ว่าดีธรรมดา ๆ เป็นเรื่องของขันธ์ เพราะไม่มีอวิชชาตัวการใหญ่มายึด มันจะดิ้นอยู่ในวงขันธ์ เช่นว่าอันนั้นไม่ชอบอันนี้ชอบ มันก็อยู่ในวงของขันธ์ จิตไม่ได้เข้ามายึด ถ้าอวิชชามีอยู่ภายในจิต พออันนี้ชอบมันจะถึงกับอวิชชา อวิชชาเป็นเจ้าของ ๆ ตลอดเลย พออันนั้นดับลงไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ชอบก็ชอบอยู่ในวงขันธ์ ไม่ชอบอยู่ในวงขันธ์ รักในวงขันธ์ ชังในวงขันธ์ แน่ะ มันมีเท่านั้น ไม่มากกว่านั้น อยู่ในวงขันธ์เท่านั้น พอขันธ์หมดสภาพแล้วธรรมก็ขาดสะบั้นลงไป เพราะเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งมวล จิตของพระอรหันต์ก็เรียกว่าขาดจากความรับผิดชอบในสมมุติโดยประการทั้งปวง ในขณะที่ขันธ์แตกดับลงเท่านั้น ขาดสะบั้นปึ๋ง จิตก็เป็น อนุปาทิเสสนิพพาน พากันเข้าใจ

    นี่ละนิพพานเที่ยงหรือไม่เที่ยง ตรงนี้แหละ พากันเข้าใจ ตามให้มันถึงซิ เมื่อถึงแล้วไม่ทูลถามพระพุทธเจ้าถามทำไมอันเดียวกัน นั่น ไม่ทูลถาม ท่านสอนมาเพื่ออันนี้ สนฺทิฏฺฐิโก ๆ ให้รู้เองเห็นเอง ให้รู้อันนี้ ๆ ตั้งแต่ภาคปฏิบัติได้ขั้นใดภูมิใดรู้ไป ๆ จนกระทั่งถึงขั้นสุดยอดแห่งสนฺทิฏฺฐิโก ก็ผางขึ้นมาเลย ไม่ต้องทูลถาม ก็อย่างที่พระท่านไปทูลถามพระพุทธเจ้า ในปัญหาที่ละเอียดสุดยอดจวนจะถึงนิพพานแล้ว ครั้นพอไปถึงใต้ถุนพระกุฎีของพระพุทธเจ้า ฝนตกเลยขึ้นเฝ้าไม่ได้ ก็เลยยืนอยู่นั้น แต่นั้นเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ เป็นมหาสติมหาปัญญาแล้ว เป็นการฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา ท่านไม่ได้มีลดหย่อนผ่อนผันในการฟังธรรม ด้วยอัตโนมัติของจิตของธรรมของกิเลสมันฟัดกันอยู่ภายใน

    เวลาพิจารณาฝนตกหยดย้อยลงมาจากชายคา น้ำหยดย้อยลงมาตกมาถูกนี้ กระทบกันเป็นต่อมเป็นฟองขึ้นมา เกิดแล้วดับไป ๆ ท่านพิจารณานี้ทวนเข้ามาหาจิตของท่าน ที่พวกสังขาร วิญญาณ ในขันธ์ห้านี้มันเกิดแล้วดับ ๆ มาจากฐานไหนมาจากจิต อันนี้มาจากฐานไหน ฐานน้ำกระทบกันแล้วเกิดฟองขึ้นมา ท่านบรรลุธรรมปึ๋งเลยเชียว พอฝนตกหยุดท่านกลับไม่ไปทูลถามพระพุทธเจ้าเห็นไหมล่ะ ตั้งแต่ตั้งหน้าตั้งตาจะไปทูลถามพระพุทธเจ้า พอไปเจอ สนฺทิฏฺฐิโก ขั้นสุดยอดโดยการฟังธรรมของท่านเอง ท่านกลับเลยนั่นเห็นไหมล่ะ ขนาดที่จะไปทูลถามพระพุทธเจ้ายังไม่ไปทูล สนฺทิฏฺฐิโก ประกาศไว้แล้ว แล้วก็มาประกาศในหัวใจเราแล้วไปถามพระองค์หาอะไร นี่แหละธรรมอันนี้ ใครเจอเข้าไม่ต้องถามใครแหละ รู้เอง

    เข้าใจหรือยังนิพพานเที่ยง เมื่อสิ้นสมมุติแล้วเที่ยงนิพพาน นิพพานก็คือจิตดวงนี้แหละท่านให้ชื่อ เพราะโลกมีสมมุติ อันนั้นจึงต้องมีสมมุติพาดพิง ถึงจะไม่ตรงกันก็ตาม แต่เป็นกรุยหมายป้ายทางพอยึดพอเกาะ จึงยึดไป พอไปถึงที่แล้วก็ไม่จำเป็นหากรุยหมายป้ายทางที่ไหนอีก ก็ไปถึงตัวจริงแล้ว มาถึงบ้านแล้วจะว่ายังไง กรุยหมายป้ายทางมาถึงวัดป่าบ้านตาด มาที่ไหนแยกที่ไหนก็ดูมา ๆ พอมาถึงวัดป่าบ้านตาด กรุยหมายป้ายทางก็ล้มระนาวไปหมด มีแต่ความจริงที่ปรากฏกันอยู่ที่นั่น พากันเข้าใจหรือยังที่พูดนี้

    พวกที่ไม่ปฏิบัตินี้ เมื่อไม่รู้เองเห็นเองแล้ว มันมักจะเอากิเลสเข้าไปลบล้างธรรมได้นะ ทำให้เป็นความเห็นผิดแก่ผู้อื่นได้อีกด้วยนะ เพราะฉะนั้น การรู้ธรรมเห็นธรรม จึงไม่มีใครรอบคอบยิ่งกว่าพระอรหันต์ท่าน อันใดที่จะนำออกไปสู่โลก จะเป็นประโยชน์มากน้อยหรือไม่เป็นประโยชน์ท่านจะรู้เอง ๆ ถึงจะจริงเท่าฟ้าเท่าแผ่นดิน แต่เวลานำออกไปจะไม่เป็นประโยชน์ ท่านก็ไม่พูดเสีย ต่างคนต่างรู้อยู่ประจำตัวเองเท่านั้น นี่ละคำว่าสมมุติมันมีหลายขั้นนะ บางอย่างก็พูดได้อย่างถนัดชัดเจน บางอย่างพูดไม่ได้ รู้เฉพาะเอง แล้วปฏิบัติต่อธรรมอันนี้ให้ถูกต้อง ๆ เฉพาะตน ๆ เท่านั้น มันหลายขั้นนะเรื่องธรรม หลายขั้นหลายภูมิมากทีเดียว นี่พูดเรื่องอะไรเลยไปใหญ่ นิพพานเที่ยงนะ ไปนิพพานเที่ยงแล้วหยุดเสียก่อน

    ทีนี้เอาอันนี้ก่อน อันนี้มันยังไม่เที่ยง มันพึ่งได้ ๕,๐๐๐ กว่ากิโล มันยังไม่เที่ยง จะเอาให้ถึง ๑๐ ตัน ถ้าเที่ยงก็เที่ยงอยู่ที่นั่น ถ้ามีใครมาให้เพิ่มอีกก็ไม่เที่ยงอีก เอาอีกเข้าใจไหม สรุปทองคำและดอลลาร์ และกฐินวันที่ ๒ เมื่อวานนี้ทองคำได้ ๓ บาท ๒๖ สตางค์ ดอลลาร์ได้ ๕ ดอลล์ กฐินทองคำไม่มี เงินสดได้ ๗ กอง รวมเป็น ๗ กองของกฐินเงินสด รวมทองคำทั้งหมดได้ ๕,๒๖๓ กิโลครึ่ง

    กฐินทองคำ ๘๔,๐๐๐ กองนั้น กฐินทองคำได้ ๕๓๒ กอง เท่ากับน้ำหนัก ๒ กิโล ๒ บาท นี่หมายถึง ที่สำเร็จมาเป็นกฐินทองคำล้วน ๆ ทีนี้กฐินเงินสดได้ ๒,๓๐๓ กอง เท่ากับเงินสด ๓,๖๘๔,๘๐๐ บาท คือเงินสดเราได้มาแล้ว เราจะต้องได้ไปซื้อทองคำมาเสียก่อน ส่วนทองคำได้มาแล้วเข้าหลอมเลย ส่วนเงินสดนี้ได้มาแล้วไปซื้อทองคำมาหลอมเข้าไปเลย มันมี ๒ อย่าง รวมกฐินทองคำและเงินสดได้ ๒,๘๓๕ กอง ยังขาดอยู่อีก ๘๑,๑๖๕ กอง

    อ่านธรรมะหลวงตาวันต่อวัน ได้ที่ http://www.luangta.com]Luangta.Com -
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    จิตไม่เที่ยง นิพพานเที่ยง

    นิพพาน ถ้าเหมือนการดับ ก็คือการดับของสิ่งทั้งหลาย เป็นความเที่ยง
    และเช่นกัน ความตายคือความเที่ยง ถ้าจิตดับจิตตาย ไม่ได้หมายความว่าจิตเที่ยง อย่าตีความเอาเองอย่างนั้น

    และเช่นกัน ถ้าจิตนิพพาน ไม่ได้แปลว่า จิตเที่ยงแต่อย่างใด
     
  4. รามเมืองลพ

    รามเมืองลพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +99
    ส่วน ปทปรมะ นั้นเหมือนคนตายทั้งเป็น ไม่มีความหมายอะไรเลย เทียบกับคนไข้ เขาไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บอยู่ตามโรงพยาบาลกับหมอ เขาหายโรคหายภัยมาจำนวนมากเท่าไร แต่คนประเภทปทปรมะนี้โดดเข้าไปแต่ห้อง ไอซียู ๆ ไม่ยอมไปหาหมอหาหยูกหายาเพื่อความหายโรคหายภัยนะ รอแต่ลมหายใจ จากนั้นก็ไปเลย พวกนี้ไม่เอาไหน หมอไม่มีความหมาย ยาไม่มีความหมาย เพราะคนนี้หมดความหมายแล้ว อะไรจะมีความหมายเท่าฟ้าเท่าแผ่นดิน ก็หมดความหมายไปตามธรรมชาติที่หมดความหมายไปแล้ว เช่นคนตายแล้วใครไปรักษาได้วะ หมอเคยรักษาโรคมาขนาดไหน มากมายขนาดไหน ที่ทำคนไข้ให้หายจากโรคจากภัย แต่มารักษาคนตาย หมอคนไหนรักษาคนตายให้ฟื้นมาได้มีไหม อย่างนี้ละเข้าใจไหม

    ( หลวงตามหาบัว)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2017
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    คำว่าคนที่ตายแล้ว ใครก็รักษาไม่ได้หรอก

    แต่คนที่ยังไม่ตายแต่เปรียบเหมือนคนตาย ย่อมรักษาได้สิ อยู่ที่ฝีมือหมอว่าเจ๋งพอเปล่า

    และส่วนมากคนที่เปรียบเหมือนคนตาย ล้วนแล้วแต่ทำตัวเองกันเองทั้งนั้น ไม่มีใครทำไห้
    ดังนั้นแล้ว เรื่องอะไรที่มีเหตุผูก ก็ย่อมแก้ที่เหตุ ฉันนั้น
     
  6. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    บางคน ความหมายของชีวิต เอาตนเองเป็นมาตรฐาน
    บางคน ความหมายของชีวิต เอาคนอื่นเป็นมาตรฐาน

    บางคน ตนเองมีความสุข ถือว่าเป็นมาตรฐาน
    บางคน เห็นคนอื่นมีความสุข ถือเป็นมาตรฐาน

    บางคนที่ไม่มีมาตรฐานอะไรเลย แบบนี้สิ ถึงเรียก ปทปรมะ(แปลว่าอะไรไม่ทราบ)
     
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เท่าที่เคยอ่านจากตำรามานะครับ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเปรียบสิ่งที่เที่ยง เอาไว้สองอย่าง

    อย่างแรก นิพพานเที่ยง
    อย่างที่สอง ความตายเที่ยง

    ดังนั้น ถ้าจิตนิพพาน จิตตาย ไม่ได้หมายความว่า จิตเที่ยง แต่อย่างใด
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    แล้ว ทีนี้ ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเที่ยง และมีอยู่อย่างเดียวคือตัวเราที่ไม่เที่ยง มันก็ไม่ได้อะไรที่เที่ยงมาไส่ในตัวเราที่ไม่เที่ยงได้เลย

    เช่นกัน ถ้าสุขทุกข์ เที่ยง แต่ตัวเราไม่เที่ยง ยังจะแบกอะไรได้อีกล่ะครับ
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    รูป จิต เจตสิก ไม่เที่ยง ถ้านิพพานเที่ยง แปลว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่ ย่อมมีความดับไปเป็นความเที่ยง แล้ว ถ้ารูปจิตเจตสิก มีเกิดแล้วย่อมมีดับไป เป็นความเที่ยงคือการดับไป

    แล้วเอาเหตุผลอันใด มาแปลว่า จิตนิพพาน คือ จิตเที่ยง
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    แปลง่ายๆอีก ก็คือ

    ถ้าจิตคือพระ นิพพานคือเที่ยง
    ถ้าพระนิพพาน ไม่ได้แปลว่า พระเที่ยง แต่อย่างใด
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  12. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    ไม่ได้เทศน์มากนะละ ให้อบรมจิตให้ดีนะ ให้จิตมีความสงบ จิตมีความสงบแล้วสบายๆ สงบเท่าไรผ่องใสเท่าไรยิ่งสบายเท่านั้น จิตถึงขั้นเต็มภูมิแล้วก็สบายตลอด ท่านว่านิพพานเที่ยงคือจิตเที่ยง นั่นละสุดท้ายของการฝึกจิต ถึงจิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว เรียกว่าจิตเที่ยง นิพพานเที่ยง เอาตรงนี้ละนะ ให้พรนะ


    อนุโมทนาธรรมกับ หลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...