จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารวัดโพธิ์มรดกศิวิไลซ์แห่งศิลปะไทย

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 8 มกราคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    'จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารวัดโพธิ์'มรดกศิวิไลซ์แห่งศิลปะไทย

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารวัดโพธิ์"มรดกศิวิไลซ์แห่งศิลปะไทย</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] จิตรกรรมไทย คือวิจิตรศิลป์งดงามที่ไม่เป็นรองใคร ภาพเขียนซึ่งสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต ยังเสมือนกระจกส่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตบรรพบุรุษไทยที่ผูกพันอยู่กับศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ที่แนบแน่นลึกซึ้งในแต่ละยุคสมัยได้อย่างแจ่มแจ้ง


    พระอารามหลวงชั้นเอกคือสถานที่บันทึกภาพเขียนชั้นยอด ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) มีจิตรกรรมฝาผนังอายุเกือบ 200 ปี สะท้อนวิถีชีวิตชาวสยามยุคซึ่งเปี่ยมความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น แต่ละภาพฉายชัดถึงอารยธรรมที่ผสานศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์จิตรกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวไทยเราแล้ว ถ้าได้ไปชมพระพุทธไสยาสน์งดงามที่สุดในประเทศไทย หรือพระนอนวัดโพธิ์กันแล้ว ก็ไม่ควรมองผ่านเลยจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารที่มีความงดงามไม่แพ้กัน
    ด้วยเหตุผลด้านกาลเวลามากกว่า 200 ปี จิตรกรรมล้ำค่าได้ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก มูลนิธิสิริวัฒนภักดี จึงเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งแต่ปี 2543 และขณะนี้การบูรณะซ่อมแซมดังกล่าวก็สำเร็จลุล่วงแล้ว ซึ่งเป็นการซ่อมแซมเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่ช่างศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บรรจงวาดไว้งดงาม
    จิตรกรผู้บูรณะจิตรกรรมฝาผนังคือ สมยศ ทัศนียกุล กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้รับงานบูรณะสมบัติของชาติชิ้นที่เยี่ยมที่สุด ใช้ทีมงาน 20 คน โดยการเขียนใช้เทคนิคสีฝุ่นแบบโบราณที่เคยใช้กันมาแล้ว แม้ว่าสีที่เขียนใหม่จะใช้สีที่สดขึ้นกว่าเดิม เพื่อความคงทนนาน แต่ก็พยายามให้เหมือนสีเก่าและของเดิมมากที่สุด
    ด้าน ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการมูลนิธิ กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับวัด และ นิติกร กรัยวิเชียร ช่างภาพชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นผู้บันทึกภาพการบูรณะจิตรกรรมในครั้งนี้ และจะนำไปจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ลูกหลานไทยได้ซาบซึ้งกับมรดกศิลป์ชิ้นยิ่งใหญ่นี้กันต่อไป ซึ่งความยากของการถ่ายภาพที่อยู่ด้านบนของพระวิหารนิติกร บอกว่า "ภาพมองด้วยสายตาได้ไม่ชัดเจน จึงต้องปีนขึ้นไปถ่ายภาพทุกภาพ เพื่อเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด อุปสรรคคือพระวิหารแคบและสูงมากๆ"
    ท่านเจ้าคุณพระราชเวที เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ กล่าวถึงความเป็นมาของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ว่ารัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรวาดภาพ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของพระพุทธศาสนา จิตรกรรมแบ่งออกเป็นเรื่องๆ คือ ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่าน และอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่านด้วย ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และมหาวงศ์พงศาวดารลังกาทวีป ส่วนบนคานเหนือเสา เป็นเรื่องราวของ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    ท่านเจ้าคุณพระราชเวที อธิบายเพิ่มเติมว่า ภาพเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพงศาวดารลังกา สาเหตุด้วย ร.3 ทรงต้องการสื่อถึงเรื่องราวของพุทธศาสนาที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์มาตลอด โดยไทยรับพุทธศาสนามาจากราชวงศ์ศรีลังกานั่นเอง
    "เรื่องราวในจิตรกรรมฝาผนังนอกจากจะบอกถึงพุทธประวัติ ยังสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สภาพบ้านเรือน สถาปัตยกรรมต่างๆ อีกทั้งยังสะท้อนเจตคติที่ดี เพื่อให้คนดูรูปเอาเป็นแบบอย่าง เหมือนเป็นการสอนพระพุทธศาสนาโดยใช้ภาพเป็นสื่อ" ท่านเจ้าคุณพระราชเวที กล่าวสำหรับนิทรรศการภาพถ่ายฝาผนังพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ จะนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปเจ้าฟ้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ชมความงามของภาพถ่ายจิตรกรรมอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันที่ 10-31 มกราคม 2550 นอกจากนี้มูลนิธิสิริวัฒนภักดียังฝากมาด้วยว่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มูลนิธิได้จัดพิมพ์หนังสือ "วิหารพระนอนวัดโพธิ์" นำเสนอประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของพระพุทธไสยาสน์และวิหารดังกล่าวอีกด้วย

    -->
    [​IMG]




    จิตรกรรมไทย คือวิจิตรศิลป์งดงามที่ไม่เป็นรองใคร ภาพเขียนซึ่งสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต ยังเสมือนกระจกส่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตบรรพบุรุษไทยที่ผูกพันอยู่กับศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ที่แนบแน่นลึกซึ้งในแต่ละยุคสมัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
    พระอารามหลวงชั้นเอกคือสถานที่บันทึกภาพเขียนชั้นยอด ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) มีจิตรกรรมฝาผนังอายุเกือบ 200 ปี สะท้อนวิถีชีวิตชาวสยามยุคซึ่งเปี่ยมความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น แต่ละภาพฉายชัดถึงอารยธรรมที่ผสานศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์จิตรกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวไทยเราแล้ว ถ้าได้ไปชมพระพุทธไสยาสน์งดงามที่สุดในประเทศไทย หรือพระนอนวัดโพธิ์กันแล้ว ก็ไม่ควรมองผ่านเลยจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารที่มีความงดงามไม่แพ้กัน

    ด้วยเหตุผลด้านกาลเวลามากกว่า 200 ปี จิตรกรรมล้ำค่าได้ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก มูลนิธิสิริวัฒนภักดี จึงเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งแต่ปี 2543 และขณะนี้การบูรณะซ่อมแซมดังกล่าวก็สำเร็จลุล่วงแล้ว ซึ่งเป็นการซ่อมแซมเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่ช่างศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บรรจงวาดไว้งดงาม

    จิตรกรผู้บูรณะจิตรกรรมฝาผนังคือ สมยศ ทัศนียกุล กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้รับงานบูรณะสมบัติของชาติชิ้นที่เยี่ยมที่สุด ใช้ทีมงาน 20 คน โดยการเขียนใช้เทคนิคสีฝุ่นแบบโบราณที่เคยใช้กันมาแล้ว แม้ว่าสีที่เขียนใหม่จะใช้สีที่สดขึ้นกว่าเดิม เพื่อความคงทนนาน แต่ก็พยายามให้เหมือนสีเก่าและของเดิมมากที่สุด

    ด้าน ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการมูลนิธิ กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับวัด และ นิติกร กรัยวิเชียร ช่างภาพชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นผู้บันทึกภาพการบูรณะจิตรกรรมในครั้งนี้ และจะนำไปจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ลูกหลานไทยได้ซาบซึ้งกับมรดกศิลป์ชิ้นยิ่งใหญ่นี้กันต่อไป ซึ่งความยากของการถ่ายภาพที่อยู่ด้านบนของพระวิหารนิติกร บอกว่า "ภาพมองด้วยสายตาได้ไม่ชัดเจน จึงต้องปีนขึ้นไปถ่ายภาพทุกภาพ เพื่อเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด อุปสรรคคือพระวิหารแคบและสูงมากๆ"

    ท่านเจ้าคุณพระราชเวที เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ กล่าวถึงความเป็นมาของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ว่ารัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรวาดภาพ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของพระพุทธศาสนา จิตรกรรมแบ่งออกเป็นเรื่องๆ คือ ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่าน และอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่านด้วย ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และมหาวงศ์พงศาวดารลังกาทวีป ส่วนบนคานเหนือเสา เป็นเรื่องราวของ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ท่านเจ้าคุณพระราชเวที อธิบายเพิ่มเติมว่า ภาพเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพงศาวดารลังกา สาเหตุด้วย ร.3 ทรงต้องการสื่อถึงเรื่องราวของพุทธศาสนาที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์มาตลอด โดยไทยรับพุทธศาสนามาจากราชวงศ์ศรีลังกานั่นเอง "

    เรื่องราวในจิตรกรรมฝาผนังนอกจากจะบอกถึงพุทธประวัติ ยังสอดแทรกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สภาพบ้านเรือน สถาปัตยกรรมต่างๆ อีกทั้งยังสะท้อนเจตคติที่ดี เพื่อให้คนดูรูปเอาเป็นแบบอย่าง เหมือนเป็นการสอนพระพุทธศาสนาโดยใช้ภาพเป็นสื่อ" ท่านเจ้าคุณพระราชเวที กล่าว สำหรับนิทรรศการภาพถ่ายฝาผนังพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ จะนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปเจ้าฟ้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ชมความงามของภาพถ่ายจิตรกรรมอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันที่ 10-31 มกราคม 2550

    นอกจากนี้มูลนิธิสิริวัฒนภักดียังฝากมาด้วยว่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มูลนิธิได้จัดพิมพ์หนังสือ "วิหารพระนอนวัดโพธิ์" นำเสนอประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของพระพุทธไสยาสน์และวิหารดังกล่าวอีกด้วย

    -----------------------
    ที่มา: คมชัดลึก





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...