จิตต่างกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 7 กันยายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    จิต ต่างกัน โดยประเภทของ สังขาร

    คือ

    เป็น อสังขาริก หรือ สสังขาริก.


    .


    คำว่า
    "สังขาร"

    ในพระไตรปิฎก มีความหมายหลายนัย

    คือ

    สังขารธรรม ๑.

    สังขารขันธ์ ๑.

    อภิสังขาร ๑.

    อสังขารริก และ สสังขาริก ๑.


    .


    สังขารธรรม.

    คือ

    สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะ ปัจจัยปรุงแต่ง

    เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดับไป

    สังขารธรรมทั้งหลาย ไม่เที่ยง

    เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยที่สุด

    แล้วก็ดับไปหมดสิ้น.!


    .


    สังขารธรรม.

    ได้แก่ จิต เจตสิก รูป.


    ปรมัตถธรรม มี ๔.

    คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน.


    แต่

    ปรมัตถธรรม ๓.

    คือ จิต เจตสิก รูป
    ......
    เป็น สังขารธรรม.

    ซึ่ง เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น

    และตั้งอยู่เพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยที่สุด แล้วดับไปหมด.


    .


    ส่วน นิพพาน.

    เป็นสภาพธรรม ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

    นิพพาน จึงเป็นสภาพธรรมที่ ไม่เกิด ไม่ดับ

    นิพพาน เป็น วิสังขารธรรม.


    .


    สังขารธรรม ๓.

    คือ จิต เจตสิก รูป

    ซึ่ง จำแนกโดยนัยของ "ขันธ์ ๕"


    ได้แก่


    ๑. รูปทุกรูป เป็น รูปขันธ์.

    ๒. เวทนาเจตสิก เป็น เวทนาขันธ์.

    ๓. สัญญาเจตสิก เป็น สัญญาขันธ์.

    ๔. เจตสิก ๕๐ ประเภท เป็น สังขารขันธ์.

    ๕. จิตทุกประเภท เป็น วิญญาณขันธ์.


    .


    ฉะนั้น

    สังขารขันธ์

    คือ เจตสิก ๕๐ ประเภท

    เว้น เวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก.


    .


    ส่วน สังขารธรรม

    คือ

    จิตทั้งหมด

    ซึ่งมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท.


    เจตสิกทั้งหมด

    ซึ่งมี ๕๒ ประเภท.


    รูปทั้งหมด

    ซึ่งมี ๒๘ ประเภท.


    .


    ความหมายของ สังขารธรรม กว้างขวางกว่า สังขารขันธ์

    เพราะว่า

    จิต เจตสิก รูป เป็น สังขารธรรม.


    แต่

    มี เฉพาะ เจตสิก ๕๐ ประเภท เท่านั้น ที่เป็น สังขารขันธ์.


    และ

    เจตนาเจตสิก เท่านั้น ที่เป็น "อภิสังขาร"


    .


    โดยนัยของ ปฏิจจสมุปปบาท

    กล่าวว่า


    "อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

    สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ฯ"


    คำว่า "สังขาร"

    โดยนัยของ ปฏิจจสมุปปาท

    หมายถึง

    "เจตนาเจตสิก"

    ซึ่งเป็น "อภิสังขาร"

    คือ สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง.!


    .


    "อภิสังขาร"

    คือ

    กุศลกรรม และ อกุศลกรรม
    (เหตุ)

    ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิด "ผล"

    คือ วิบากจิต และ วิบากเจตสิก.


    .


    แม้ว่า เจตสิก ประเภทอื่น ๆ

    ก็เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดขึ้น

    เช่น ผัสสเจตสิก.


    ถ้าไม่มี ผัสสเจตสิก ซึ่งเป็น สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์

    จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

    จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย และ จิตคิดนึกต่าง ๆ

    ก็มีไม่ได้.!


    แต่

    ผัสสเจตสิก ไม่ใช่ อภิสังขาร

    เพราะว่า

    ผัสสเจตสิก เพียงกระทบอารมณ์
    ...แล้วก็ดับหมดสิ้นไป.


    .


    ฉะนั้น

    สังขารขันธ์
    (เจตสิก) ๕๐ ประเภท นั้น

    เฉพาะ "เจตนาเจตสิก" เท่านั้น

    ที่เป็น "อภิสังขาร"

    ซึ่งเป็น

    "สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง"

    .

    โดยเป็น

    กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม

    ซึ่งเป็น "กัมมปัจจัย" ที่ทำให้เกิด "ผล"

    คือ วิบากจิต และ วิบากเจตสิก.


    สังขาร ใน ปฏิจจสมุปปาท

    มี ๓ คือ


    ปุญญาภิสังขาร ๑.

    อปุญญาภิสังขาร ๑.

    อาเนญชาภิสังขาร ๑.


    .


    ปุญญาภิสังขาร.

    ได้แก่

    เจตนาเจตสิก

    ที่เกิดร่วมกับ กามมาวจรกุศลจิต และ รูปาวจรกุศลจิต.


    .


    อปุญญาภิสังขาร.

    ได้แก่

    เจตนาเจตสิก

    ที่เกิดร่วมกับ อกุศลจิต.


    .


    อาเนญชาภิสังขาร.

    ได้แก่

    เจตนาเจตสิก

    ที่เกิดร่วมกับ อรูปฌานกุศลจิต

    ซึ่งเป็น กุศลที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว.


    .


    กามาวจรกุศลจิต.

    เกิดขึ้นชั่วขณะเล็ก ๆ น้อย ๆ

    และ หวั่นไหวง่าย.!

    เพราะว่า

    กามาวจรกุศลจิต ที่เกิดขึ้นในวาระหนึ่ง ๆ

    มีเพียงชั่ว ๗ ขณะเท่านั้น.!

    เช่น

    การให้ทาน การวิรัติทุจริต และ การเจริญกุศลอื่น ๆ

    ย่อมเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว.


    นอกจากนั้น

    มีปัจจัยให้ "อกุศลจิต" ก็เกิดขึ้น

    มากมาย หลายวาระ ทีเดียว.!


    .


    รูปาวจรกุศลจิต.

    เป็น กุศลญาณสัมปยุตต์ คือ เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก.


    รูปวจรกุศลจิต.

    เป็นจิตที่สงบ ถึงขั้น อัปปนาสมาธิ ซึ่งมี รูป เป็น อารมณ์.


    รูปาวจรกุศลจิต.

    เป็น มหัคคตกุศลจิต ที่ใกล้เคียงกับ กามาวจรกุศลจิต

    เพราะว่า ยังมี รูป เป็น อารมณ์.


    .


    อาเนญชาภิสังขาร เป็น อรูปฌานกุศลจิต.

    คือ เป็น ปัญจมฌาน ที่ไม่มีรูป เป็น อารมณ์.


    อรูปฌานกุศลจิต.

    มั่นคง ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีรูป เป็น อารมณ์

    จึงให้ผลอย่างไพบูลย์.

    คือ

    อรูปฌานกุศลจิต.

    เป็นปัจจัยให้ อรูปฌานกุศลวิบากจิต เกิดในอรูปพรหมภูมิ

    ซึ่งเป็นภูมิที่มีอายุยืนยาวมาก

    ตามกำลังของอรูปฌานกุศลจิต.


    .


    สำหรับ การเกิดในภูมิสวรรค์ (เป็นผลของกามาจรกุศลจิต) นั้น เป็นสุข

    เพราะ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

    ไม่ทุกข์ยากลำบากกาย เหมือนในภูมิมนุษย์ และ อบายภูมิ.


    แต่ ภูมิสวรรค์ นั้น

    มีอายุไม่ยืนยาว เท่ากับ รูปพรหมภูมิ.


    และ
    การเกิดในรูปพรหมภูมิ (เป็นผลของกามาวจรกุศลจิต) นั้น

    มีอายุไม่ยืนยาวเท่ากับ อรูปพรหมภูมิ.


    เพราะว่า

    การเกดในอรูปพรหมภูมิ เป็นผลของ อรูปฌานกุศลจิต

    ซึ่งเป็น
    อาเนญชาภิสังขาร.


    .


    สังขารธรรม.

    ได้แก่

    จิตทั้งหมด เจตสิกทั้งหมด รูปทั้งหมด.


    .


    สังขารขันธ์.

    ได้แก่

    เจตสิก ๕๐ ประเภท.

    (ยกเว้น เวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก)


    .


    อภิสังขาร.

    ได้แก่

    เจตนาเจตสิก.

    (ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ ๑ ในจำนวน สังขารขันธ์ทั้งหมด ๕๐ ประเภท)


     

แชร์หน้านี้

Loading...