จิตตุปาทกัณฑ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 23 สิงหาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ใน อัฏฐสาลินี จิตตุปาทกัณฑ์.

    มีข้อความ ว่า



    จริงอยู่
    ..........

    เมื่อ รูปธรรม และ อรูปธรรม เกิดร่วมกัน

    รูป ย่อม เกิดร่วมกับ อรูป

    แต่

    ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน.



    อรูป ก็เหมือนกัน

    คือ

    เกิดร่วมกับรูป

    แต่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน.



    และ

    รูป ก็เกิดร่วมกับ รูป

    แต่ ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน.



    ส่วน อรูป โดยนิยมทีเดียว
    ....เกิดร่วมกับ อรูป

    เกี่ยวข้อง และ สัมปยุตต์กัน ทีเดียว.!


    .


    ที่ทรงแสดง "ลักษณะของสัมปยุตตธรรม" ไว้ โดยละเอียด.

    ก็เพื่อให้ประจักษ์ชัดจริง ๆ ว่า

    นามธรรม ไม่ใช่ รูปธรรม นั่นเอง.!


    .


    ขณะที่ศึกษา และ ฟัง พระธรรม นั้น

    เป็น "สังขารขันธ์" ที่ค่อย ๆ ปรุงแต่ง "สติ-ปัญญา"


    จนกว่า " สติปัฏฐาน" จะเกิด

    ระลึก ตรง ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


    และ " ปัญญา"

    พิจารณา รู้ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม

    แต่ละ "ลักษณะ"


    จนกว่า

    "ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรม

    จะปรากฏ

    โดยเป็น "สภาพที่แยกขาดจากกัน"

    ไม่สัมปยุตต์กัน

    แม้ว่าจะเกิดร่วมกัน.!


    .


    ฉะนั้น

    "สัมปยุตตธรรม"

    จึงเป็น "ลักษณะของนามธรรม"

    คือ

    จิต และ เจตสิก

    ซึ่ง เกิด-ดับ ร่วมกัน และ รู้อารมณ์เดียวกัน.


    .


    นี่คือ ความต่างกัน ของนามธรรม และ รูปธรรม.


    เพราะว่า

    รูปธรรม เกิดพร้อมกัน และ ดับพร้อมกัน ก็จริง.

    แต่

    รูปธรรม ไม่ใช่สภาพรู้

    รูปธรรม ไม่รู้อารมณ์ใด ๆ เลย.


    ดังนั้น

    รูป ทุกรูป ที่เกิดร่วมกัน
    ...จึงไม่เป็น "สัมปยุตตธรรม"


    .


    เพราะว่า

    สภาพธรรม ที่เป็น "สัมปยุตตธรรม" นั้น

    ต้องเป็น สภาพธรรม ที่เกิดร่วมกันสนิท

    โดยเป็น "นามธรรม"

    ซึ่งเป็น ธาตุรู้ ที่เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน

    และ เกิด-ดับ ที่เดียวกัน.

    ลักษณะของจิต ประการที่ ๔

    คือ

    จิต แม้ทุกประเภท ชื่อว่า "จิต"

    เพราะ เป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร

    โดยอำนาจแห่ง สัมปยุตตธรรม.


    .


    เจตสิก ทั้งหมด มี ๕๒ ประเภท.


    จึงทำให้ จิต ต่าง ๆ กันไป ตาม เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย.

    ซึ่ง มาก-น้อย-ต่างกัน

    ตามจำนวน และ ประเภทของจิตเหล่านั้น.


    .


    จิต ๘๙ ประเภท.


    ซึ่ง ต่าง ๆ กัน นั้น

    จำแนกออกเป็นประเภท โดย "ชาติ" คือ สภาพของจิตที่เกิดขึ้น.


    จิต ๘๙ ประเภท.

    ต่างกัน เป็น ๔ ชาติ.


    คือ

    เป็น กุศลจิต ๑.

    เป็น อกุศลจิต ๑.

    เป็น วิบากจิต ๑.

    เป็น กิริยาจิต ๑.


    .


    ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

    มีขณะที่เป็น กุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง

    วิบากจิตบ้าง และ กิริยาจิตบ้าง.

    (ตามเหตุ ตามปัจจัย)




    .


    จิต

    ซึ่ง จำแนกเป็นชาติต่าง ๆ นั้น

    เป็นไป ตามสภาพของจิต.


    ซึ่ง ไม่ได้หมายความว่า

    เป็นชาติต่าง ๆ เช่น ชาติไทย ชาติจีน ฯลฯ

    และ ไม่ใช่ ชนชั้น วรรณะ.

    แต่

    เป็นสภาพของจิต.


    เช่น

    กุศลจิต.

    ไม่ว่าเกิดกับใคร ที่ไหน หรือ ขณะใด.!

    จิต ขณะนั้น ต้องเป็น กุศลจิต.

    (จิตชาติกุศล)


    และ

    อกุศลจิต.

    ก็ต้องเป็น อกุศลจิต.

    (จิตชาติอกุศล)

    ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหน ขณะไหน ชนชาติใด ฯลฯ


    .


    กุศล ต้องเป็น กุศล

    อกุศล ต้องเป็น อกุศล

    เปลี่ยนสภาพ ไม่ได้.!


    .


    นี่ คือ สภาพของ "ปรมัตถธรรม"


    .


    ฉะนั้น

    เมื่อจิต ประกอบด้วย สัมปยุตตธรรม

    ซึ่งเป็น เจตสิกที่เป็นอกุศล

    จิต จึงเป็น อกุศลจิต.

    แต่

    จิตที่ประกอบด้วย สัมปยุตตธรรม

    ซึ่งเป็น เจตสิกที่เป็นกุศล ได้แก่ "โสภณเจตสิก"

    จิต จึงเป็น กุศลจิต.


    .


    จิต เป็นอกุศลจิต หรือ เป็นอกุศลวิบากจิต

    ตามชาติของจิต.


    จิต เป็นกุศลจิต หรือ เป็นกุศลวิบากจิต

    หรือเป็น โสภณกิริยาจิต

    ตามชาติของจิต.
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD>ชีวิตเป็นของน้อย การฟังธรรมเป็นกำไรชีวิต ที่หากำไรอย่างอื่นมาทดแทนไม่ได้ และ

    ถึงจะฟังเท่าไรเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้จิตเกิดการคิดที่ถูก

    ต้องนั้น เป็นเรื่องยากมาก การปรุงแต่งของจิตดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามโลภะ โทสะ

    และโมหะเกือบตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ฟัง ๆ ๆ ยากจริง ๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระธรรมเป็นของยาก ละเอียด และลึกซึ้งมาก มิเช่นนั้นพระพุทธองค์คงไม่ต้องใช้

    เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ เพราะฉะนั้นไม่ควรรีบ

    ร้อนที่จะบรรลุเร็ว ๆ หรือจะให้สติปัฎฐานเกิดเร็ว ๆ บางท่านยังไม่เข้าใจถึงลักษณสภาพ

    ธรรมที่กำลังปรากฎที่มีอยู่จริง ๆ ไม่ว่าทางตา ทางหู...และทางใจ ว่ารูปธรรม นามธรรม

    มีลักษณะอย่างไร ก็บอกว่าได้ประจักษ์การเกิดดับแล้ว..ไม่ควรประมาทว่าพระธรรมง่าย
    สามารถบรรลุเร็ว ควรศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่เช่นนั้นก็จะเดินทางผิดต้อง
    วนเวียนอยู่ในวัฎฎะต่อไป การฟังพระธรรมควรตั้งใจฟังและพิจารณาให้ตรงให้ถูกใน

    สิ่งที่กำลังฟัง ไม่ควรจดหรือเขียนขณะฟังพระธรรม เพราะว่าขณะที่จดนั้นก็ไม่ได้ฟัง

    หรือไตร่ตรองพระธรรม
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เห็นเองคือเห็นด้วยการพิจารณาแล้วเกิดปัญญานั้นกับเห็นจากการ ฟังหรือการอ่าน มันต่างกันจริงๆครับ ผมว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...