จิตกับวิญญาณขันธ์แตกต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Paravatee, 13 กันยายน 2012.

  1. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,978
    คือสงสัยว่า วิญญาณขันธ์ก็คือตัวรู้ แล้วจิตก็คือตัวรู้ แตกต่างกันอย่างไรเหรอครับ เพราะอาจารย์บางท่านกล่าวว่า จิตไม่ใช่ขันธ์ จิตเป็นผู้สร้างขันธ์ และช่วยอธิบายคำว่าขันธ์ห้าสไตล์ภาษาปัจจุบันด้วยได้มั้ยครับ รวมถึงคำว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน นี่มีความหมายปัจจุบันเช่นไร
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธิ์ พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธิ์ เวทนาขันธิ์ สัญญาขันธิ์ สังขารขันธิ์ และ วิญญานขันธิ์ เล่าพระเจ้าข้า-----ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป สี่อย่างเป็นเหตุเป้นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์---ภิกษุ ผัสสะ(การประจวบแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาน) เป้นเหตุเป้นปัจจัยเพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธิ์---ภิกษุผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธิื----ภิกษุ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติสังขารขันธิิ์---ภิกษุ นามรูปแล เป็นเหตุเป้นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญานขันธิ์---(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ อุปาทานสี่...พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าใหนเล่า สี่อย่างคือ 1 กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม2ทิฎฐุปาทาน ความถือมั่นใน ทิฎฐิ 3ทสิลัพพตุปาทาน ความถือมั่นใน ศิลพรต4 อัตวาทุปาทาน ความถือมั่นในวาทะ ว่าตน ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง----มหาวาร.สํ.19/88/337.:cool:
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อุปาทาน และที่ตั้งแห่งอุปาทาน พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น---ภิกษุทั้งหลาย สิ่งวึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรและตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า--ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นสิ่งซึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น คือ ตัวอุปาทานในรูปนั้น---ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป้นสิ่งวึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใดเข้าไปมีอยู่ ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น----ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป้นสิ่งวึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใดเข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น คือตัวอุปาทานในสัญญานั้น---ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ใน สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทะราคะนั้นคือตัวอุปาทานในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น---ภิกษุทั้งหลาย วิญญาน เป็นสิ่งซึ่งเป้นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่นวิญญานนั้น ฉันทะราคะนั้น คือตัวอุปาทาน ในวิญญานนั้น----ภิกษุทั้งหลาย ขันธิ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งวึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะนี่เรียกว่า ตัวอุปาทานแล----(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ในความเข้าใจของผม..ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อปัจจัยพร้อมย่อมเกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัยย่อมดับ...ทีนี้ ทุกข์ เป้นสิ่งที่พระศาสนา มุ่งเน้น ถ้ามี ราคะ โทสะ โมหะในสิ่งใด ย่อมมีทุกข์...อย่างขันธิ์ห้าคือสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย อุปาทานขันธิ์ห้าคือการมีฉันทราคะในขันธิ์ทั้งห้า ทำให้เกิดทุกข์..โดยตัวมันเองขันธิ์ห้า เกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุย่อมเกิด เมื่อเหตุดับย่อมดับ...ฉันทราคะอุปาทาน ที่เข้าไปอยู่ในขันธิ์ห้า ยกตัวอย่าง ถ้ามีอัตตวาทุปาทาน(มีวาทะว่าตน)ในขันธิ์ ห้าย่อมนำทุกข์มาให้...ทีนี้ ผู้รู้ อริยสัจสี่ คือผู้ไม่มีอวิชชา คือรู้ใน ทุกขื สมุทัย นิโรธ มรรค...โดยเฉพาะมรรค นี่เองคือทางที่ทำให้พ้นทุกข์ อันเริ่มจากสัมมาทิฎฐิ ที่มีปริยายมากมาย ความเข้าใจอันลึกซึ้งเป้นลำดับไป...อันนี้เป้นความเห็นส่วนตัว ผิด ถุก อย่างไร ต้องขออภัยตามประสา คนสนทนากันนะครับ:cool:
     
  6. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ภาษาปัจจุบัน เอาัแบบเข้าใจง่ายๆนะครับ

    จิต เจตสิก รูป นิพพาน คือความจริง สิ่งที่มีอยู่จริง เรียกกันว่าปรมัตถ์ ที่เหลือเป็นของสมมุติที่เรียกกันว่าสมมมุติบัญญัติ

    จิตกับวิญญาณ คืออันเดียวกัน คือมีการรับรู้อย่างเดียว มีชื่อเรียกหลายชื่อ มโนบ้าง จิตบ้าง วิญญาณบ้าง

    เจตสิก เอาง่ายๆคืออารมณ์ที่ประกอบกับจิต จะดีใจ เสียใจ บุญ กูศล อกุศล ก็อยู่ที่เจตสิก

    สรุปคือ ลำพังจิตจะไม่มีพิษมีัภัย ที่ทำให้เกิดความต่างคือเจตสิก และจิตกับเจตสิกจะเกิดพร้อมกันและมีอารมณ์อย่างเดียวกัน ท่านได้เปรียบเทียบไว้ว่า จิตเหมือนน้ำใส เจตสิกเหมือนสีที่เติมลงไป น้ำจึงมีสีต่างๆกันตามสีเหล่านั้น

    รูป คือ สิ่งที่แตกสลายด้วยความเย็นและความร้อน ยกตัวอย่างเช่น ดิน น้ำ ลมไฟ สี กลิ่น รส เสียง ประมาณนี้

    นิพพาน เอ่อ หลายนัยยะด้วยกัน ความพ้นจากกิเลสบ้าง ความดับไม่เหลือบ้าง เอาสักอย่างตามที่ท่านเข้าใจแล้วกัน

    มีอีกเยอะครับ แค่สี่อย่างนี้เรียน๓๐ปีไม่จบเหมือนที่ลุงหมานว่า เพราะฉะนั้นแค่นี้ก่อนแล้วกัน
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เรื่องนี้ ไม่จบง่ายๆ

    แต่ก่อนผมเข้าเวปนี้มาเมื่อ3ปีที่แล้ว ก็ ถกกันจนหน้าขาวไปเลย

    อ้างจากครู อาจารย์ บางท่านก็ให้มุมมอง
    อ้างตำรา ก็ไม่รู้ว่าจะเอาตำราเล่มไหนเป็นที่ตั้ง

    ทางที่ดี จำวิธีเจริญสติปัฏฐานให้ได้ แล้วลงมือทำ ท่าจะเร็วกว่า
    ก็ลองดูนะ
     
  8. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    จิต, มโน (ใจ), วิญญาณคืออันเดียวกัน

    มหาวรรคที่ ๗
    ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญ
    ก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
    ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกาย
    นั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
    วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็น
    ต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้
    ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้
    ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น
    ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอัน
    เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดย
    ความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
    เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง
    ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง
    ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
    วิญญาณบ้าง
    จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๙๓/๒๘๘
    ข้อที่ ๒๓๐ - ๒๓๑
     
  9. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,978
    ผมเข้าใจว่าเพราะ รูปเกิดเป็นที่อาศัของนาม จึงมีขันธ์ทั้งห้า ซึ่งมีในสรรพชีวิตบนโลกหรือเปล่าครับ สาธุ
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ........ครับ ไม่อยากให้หลงประเด็น... ทีนี้พระศาสนาสอนเรื่องความพ้นทุกข์..เกิด แก่ เจ็บ ตาย..พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา..หรือ สิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นย่อมมีดับเป้นธรรมดา....เอ่อ จะพูดยังไงดี ละครับ...ลองนึกถึง คำว่า ขันธิ์ห้า อุปาทานขันธิ์ห้า(ฉันทราคะในขันธิ์ห้า) ความทุกข์...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...และคำว่ามรรคทางให้ถึงความพ้นทุกข์ ดู นะครับ:cool:
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    หรือนึกถึง อริยสัจสี่ ดูนะครับ(รายละเอียดไปศึกษาเอานะครับ)..ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...ผมมาสังเกตุตัวเองแล้วลองแยกกลุ่มดู...เกือบทุกสิ่งที่คนสนทนากัน จะลงได้ใน อริยสัจใดอริยสัจหนึ่งเสมอ...เช่น ถ้าสนทนาเรื่อง ขันธิ์ ก็เป็นเรื่อง ทุกข์------ ถ้าสนทนาเรื่อง กิเลสตัณหา ก็เป็นเรื่อง สมุทัย-----ถ้าคุยเรื่องความว่าง นิพพาน ก็เป็นนิโรธ----ถ้าสนทนาเรื่อง สติ สมาธิ ปัญญา สัมมาทิฎฐิ เป็นต้น ก้เป็นเรื่องของมรรค,,,,(อันนี้ เป้นความคิดของผม เฉยเฉย..ไม่เกี่ยวกับธรรม)..ลองดูก็ได้นะครับ :cool:
     
  12. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ตายแล้วเหลืออะไรหน่อ อะไรหน่อที่ท่องเที่ยวไปมาในสงสารนี้ไม่จบสิ้น

    [​IMG]
     
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    วิญญาณไม่ได้เวียนว่าย
    [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก
    เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
    ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น.
    ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
    ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
    เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อม
    ท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
    เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.
    ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง
    สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่
    พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย
    ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
    เว้นจากปัจจัยมิได้มี.
    ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้
    ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้
    ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่
    อื่น ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมอาจมีความเห็นที่แตกต่างครับ วิญญาณ เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งที่เป็นการรับรู้ของจิต

    ฉนั้นจะเรียกว่าตัวเดียวกันก็ไม่แปลก จะเรียกว่าคนละตัวก็ไม่แปลก แต่หากไม่มีการรับรู้ของจิต

    วิญญาณจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ การรับรู้นั้นไม่มีรูปร่าง แต่วิญญาณมีรูปร่างจากความทรงจำของจิต

    ข้อแตกต่างอยู่ตรงนี้ครับ ทั้งที่ก็เป็น "นาม" เหมือนกัน ผู้ที่เห้นจิตอย่างชัดเจนก็จะเห้นไม่ต่างกันครับ

    สาธุครับ
     
  15. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    วิญญาณมีรูปร่างอย่างไรครับ
     
  16. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    รูปร่างจะเปลี่ยนไปตามความทรงจำของจิตครับ

    ฉนั้น จะให้ตอบว่ามีรูปร่างอย่างไร

    คงตอบไม่ได้ครับ

    สาธุครับ
     
  17. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    ยกตัวอย่างที่่ท่านเคยเห็นได้มั้ยครับ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตเป็นสภาพธรรมคือรู้อารมณ์
    จิตรู้อารมณ์ได้โดยอาศัยทวารต่างๆรู้มีด้วยกัน ๖ ทวาร
    จิตอาศัยทวารตารู้ ก็รู้ได้แค่ รูป
    จิตอาศัยทวารหูรู้ ก็รู้ได้แค่ เสียง
    จิตอาศัยทวารจมูกรู้ ก็รู้ได้แค่ กลิ่น
    จิตอาศัยทวารลิ้นรู้ ก็รู้ได้แค่ รส
    จิตอาศัยทวารกายรู้ ก็รู้ได้แค่ กระทบ เย็นร้อน อ่อนแข็ง
    จิตอาศัยทวารใจรู้ ก็รู้ได้แค่ นึกคิดเรื่องราวต่างๆ

    เมื่อว่าโดยขันธ์ จิตเป็นขันธ์ๆหนึ่งอยู่ในจำนวนขันธ์ ๕ เรียกว่าวิญญาณขันธ์
    เมื่อรวมความแล้วจิตกับวิญญาณก็คือสิ่งเดียวกัน
     
  19. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
     
  20. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    จิต (วิญญาณ) คือ ผู้รู้ ผู้คิด

    เมื่อ เกิดรู้ที่ตา เรียก จักษุวิญญาณ
    เกิด การรู้ที่หู เรียก โสตวิญญาณ
    เกิด การรู้ที่จมูก เรียก ฆานวิญญาณ...........ฯ

    การแตกต่างกันระหว่าง จิต กับ วิญญาณขันธ์ คือ การเข้าไปรับรู้ตรงอายตนะใด เมื่อเกิดการผัสสะ ระหว่าง อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับ อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์) จิตเข้าไปรับรู้การเกิด ที่ใด ก็เรียกชื่อ เพื่อให้รู้ว่า เกิดที่อายตนะใด ๆ

    ตัวที่รู้มันก็คือ จิต นั่นเอง เป็น ผู้รับรู้ จาก รูทั้ง 6 ไปสู่ที่ จิต ตัวเดียว...

    สงสัยประการใดก็พิสูจน์ได้ ด้วยตนเอง ลองใช้จิต ทางอายตนะ ต่าง ๆ ดูเองก็แล้วกัน .
     

แชร์หน้านี้

Loading...