จารึกบันทึกประวัติการสร้างเจดีย์บรมพุทโธ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย นาธิยะ, 13 พฤษภาคม 2012.

  1. นาธิยะ

    นาธิยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +56
    การเฉลิมฉลองพุทธศาสนาของพระเจ้าวิษณุ (ประมุขราชวงศ์ไศเลนทร) มีการสร้างปราสาทอิฐ ๘ ปราสาท เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระเกียรติคุณนี้เลื่องลือขจรกระจาย ไปทั่วทะเลใต้และประเทศต่างๆ กิตติศัพท์ของพระองค์ทรงทราบถึงพระอาจารย์นาม “พระกรุณาอาจารย์” จากเคาทเทศ (แคว้นเบงกอล) ประเทศอินเดีย ตำนานปรัมปราปุสตกะเล่าความว่า พระกรุณาอาจารย์ได้ยินกิตติคุณความดีของพระเจ้าวิษณุ ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาในนครโพธิ จึงเดินทางมาเฝ้าพระเจ้าวิษณุ เสนอความเห็นว่า "การสร้างบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ จะต้องไปสร้าง พุทธสถานศิลาขนาดใหญ่เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พุทธศาสนา มีภูเขาหินลูกหนึ่ง เป็นสถานที่อันเหมาะสมแวดล้อมด้วยมหาสมุทร อยู่ในใจกลางเกาะชวา เมื่อสร้างเสร็จแล้วเจดีย์นั้น จะดูเหมือนดอกบัว อันเป็นเครื่องหมายแห่งพุทธศาสนากำลังเบิกบานลอยอยู่เหนือทะเลสาบ"
    ‘’’’’’’’’จากการค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ ปรากฏว่าภูเขาหินที่สร้างเจดีย์บรมพุทธโธ มีแม่น้ำโบรโกไหลท่วม จนดูคล้ายทะเลสาบ ด้วยเหตุนี้ภาพที่เคยเห็นสมัยโบราณ ย่อมดูเหมือนดอกบัวลอยอยู่เหนือน้ำ
    [​IMG]
    [​IMG]
    เจดีย์บรมพุทโธ ชวากลาง (ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินโดนิเซีย)
    [​IMG]
    สถาปัตยากรรมศิลปของบรมพุทโธ เป็นลักษณะมันดารา(Mundala) ตามศาสตร์ของมหายาน

    ฮอลล์ เขียนไว้หน้า ๖๓ ว่า ราชวงศ์สัญชัยในชวากลางตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าวิษณุ
    ‘’’’’’’’’ที่ชวากลาง พระเจ้าวิษณุกับพระกรุณาอาจารย์ทรงวางโครงสร้างแผนผัง และวางรากฐานเจดีย์บรมพุทโธ พระองค์ทรงใช้เวลาสร้างเจดีย์ ๒ ปี ทรงทราบข่าวศึกมาล้อมประชิดกรุงตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) พระองค์จึงเสด็จมาวางแผนสู้ศึก แล้วพระองค์ทรงสวรรคตที่กรุงตามพรลิงค์ เมื่อ พ.ศ. ๑๓๒๕
    [​IMG]
    ‘’’’’’’’’เจดีย์บรมพุทโธ สร้างต่ออีก ๒ รัชกาล คือ พระเจ้าอินทรา หรือพระเจ้าธรณินทราชา และพระเจ้าสมรโรตุงค์ ราชโอรส เมื่อเจดีย์บรมพุทโธสร้างเสร็จบริบูรณ์ มีพระพุทธรูปตั้งเรียงรายอยู่ในซุ้มคูหาเรือนแก้ว ดังนี้
    ชั้นที่ 1 ด้านละ 26 องค์ ทั้ง 4 ด้านมี 104 องค์
    ชั้นที่ 2 ด้านละ 24 องค์ ทั้ง 4 ด้านมี 96 องค์
    ชั้นที่ 3 ด้านละ 22 องค์ ทั้ง 4 ด้านมี 88 องค์
    ชั้นที่ 4 ด้านละ 18 องค์ ทั้ง 4 ด้านมี 72 องค์
    ชั้นที่ 5 ด้านละ 18 องค์ ทั้ง 4 ด้านมี 72 องค์
    ชั้นที่ 6 พระเจดีย์ครอบพระ วงรอบมี 32 องค์
    ชั้นที่ 7 พระเจดีย์ครองพระ วงรอบมี 24 องค์
    ชั้นที่ 8 พระเจดีย์ครองพระ วงรอบมี 16 องค์

    ‘’’’’’’’’รวมทั้งสิ้นมีพระพุทธรูป 505 องค์ และมีทรวดทรงสัณฐานลักษณะพระแบ่งเป็น 5 ปาง คือ
    1.ปางพระหัตถ์ป้องกัน 2 ข้าง
    2.ปางมารวิชัย
    3.ปางเหมือนมารวิชัย แต่หงายพระหัตถ์
    4.แบบไทย
    5.ปางยกพระหัตถ์แบบคันธารราฐ

    [​IMG]
    ‘’’’’’’’’เจดีย์บรมพุทโธเป็นศาสนสถาน ที่แสดงออกถึงความเป็นอัจฉริยะอย่างสูงสุด ทางศิลปะของราชวงศ์ไศเลนทร และไม่เหมือนศาสนสถานแห่งใดในชวา หรือรวมถึงในโลก บรมพุทโธนี้ มิได้เป็นแบบวิหาร หรือเจดีย์ชนิดที่มีมุขหรือซุ้มคูหาเข้าในห้องโถงแบบวิหาร หรือเจดีย์ที่มีห้องโถงอยู่ภายในแต่เป็นสถูปอันใหญ่โตมโหฬารในรูประเบียงหินซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ ครอบส่วนบนของเนินเขาธรรมชาติ

    ‘’’’’’’’’บนยอดซึ่งเป็นลานตัดราบนั้นสร้างสถูปอยู่ตรงกลางสูง 150 ฟุต หรือประมาณ 46 เมตร ทางเดินตามระเบียงทั้งหมดจนถึงยอดมีความยาวกว่า 3 ไมล์ หรือประมาณ 5 กิโลเมตร ผนังระเบียงรอบ ๆ นั้นประดับประดาด้วยแผ่นหินเป็นภาพสลักนูนต่ำ เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีพระสูตรเกี่ยวกับมหายานนับเป็นพัน ๆ ภาพ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปประดับ 400 องค์ ส่วนที่เป็นฐานของสถูปมีภาพสลักเกี่ยวกับผลของการกระทำความดีความชั่ว ในชีวิตประจำวัน อันทำให้เกิดกรรม

    ‘’’’’’’’’แต่ส่วนของฐานนี้ได้ปกปิดอยู่ เมื่อทหารญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดนีเชีย ญี่ปุ่นสนใจ เกี่ยวกับศาสนสถานแห่งนี้มาก จึงรื้อหินที่ปิดอยู่ที่ฐานออก และขุดดูที่ฐานเดิมของสถูป ทำให้เห็นภาพสลักนูนที่ปกปิดไว้และทหารญี่ปุ่นก็ไม่ได้ปิดหินไว้ดังเดิม จึงสามารถดูภาพสลักได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันนี้

    ‘’’’’’’’’เจดีย์บรมพุทโธ ก็คือ 9 ฐานอันมหึมานั่นเอง ประกอบด้วยฐาน 5 ชั้น วงเป็นระเบียง 4 ชั้น และมีเขื่อนกั้นดินวงอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ระเบียงแต่ละวงมีภาพสลัก ซึ่งผู้มาบำเพ็ญกุศลอาจดูรู้เรื่องได้ ในขณะกระทำประทักษิณ คือเดินเวียนขวาไปโดยรอบศาสนสถานนั้น ความยาวของภาพสลักเหล่านี้ทั้งหมดเกือบ 5 กิโลเมตร

    ‘’’’’’บนยอดของระเบียงแต่ละชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ในซุ้มแสดงปางซึ่งมีความหมายเป็น พระธยานิพุทธเจ้า ประทับนั่ง 4 องค์ อยู่ 4 ชั้น คือ พระอักโษภยะปางมารวิชัย ทิศตะวันออก พระรัตนะสัมภวะปางประทานพร ทิศใต้ พระอมิตาภะปางสมาธิ ทิศตะวันตก และพระอโฆสิทธะปางประทานอภัย ทิศเหนือ ส่วนบนยอดฐานชั้นที่ 5 เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางวิตรรกะ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าอาจหมายถึง พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

    ‘’’’’’’’บนยอดสุดมีลานและสถูปหลายองค์เจาะเป็นรู มีพระพุทธรูปอยู่ภายในซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ พระพุทธรูปเหล่านั้นแสดงปางประทานปฐมเทศนา คือพระยาพุทธเจ้าไวโรจนะ ส่วนเจดีย์องค์กลางสุดนั้นเป็นเจดีย์ทึบ ซึ่งอาจหมายถึงพระอาทิพุทธเจ้าผู้สร้างโลกหรือพระวัชรสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้าก็ได้

    ‘’’’’’’’’บรมพุทโธคงหมายถึงดินแดนที่ลึกล้ำหลายชั้นที่มุ่งขึ้นไปสู่นิพพาน และคงสร้างขึ้นกลางพุทธศตวรรษที่ 14 ภาพสลักบนฐานและระเบียงนั้น มีผู้ให้ความหมายว่าหมายถึงกามธาตุได้แก่ขั้นมีมนุษย์ยังข้องเกี่ยวกับโลกีย์ ทรัพย์สมบัติส่วนนี้จะตรงที่ฐานของเจดีย์ที่ใช้หินปิดไว้ ชั้นกามธาตุมีเรื่องพระสุธนกับมโนราห์ เป็นต้น รูปธาตุ ส่วนนี้หมายถึงมนุษย์ที่สละกามคุณได้แล้ว แต่ยังผูกพันอยู่กับนามและรูป เป็นภาพที่สลักเรื่องราวในทศชาติ ภาพสลักเหล่านี้จะแทรกชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เช่น ภาพผู้คนบ้านเรือนและทิวทัศน์ต่าง ๆ และอรูปธาตุ (ลานชั้นยอด) ส่วนชั้นบนสุด เป็นชั้นที่มนุษย์หลุดพ้นจากความผูกพันทางโลกทั้งปวงตามลำดับ

    ‘’’’’’’’’ความสามารถของนายช่างจำหลักผู้มีฝีมือเฉียบเหล่านี้ สามารถสลักแผ่นหินกระด้าง ให้กลายเป็นภาพพระโพธิสัตว์ที่ดูอ่อนช้อยมีชีวิตชีวา บรรดาภาพเหล่านั้นแสดงอาการสงบเย็น ความรู้สึกที่แสดงออกดูบริสุทธิ์ ภาพสาวนางในที่อุ้มหม้อน้ำแลนำสิ่งของไปถวายพระโพธิสัตว์ เป็นไปด้วยความสงบสำรวม นางในเหล่านั้นมีท่าเดินเฉพาะตัว นายช่างบรรจงแกะสลักได้กลมกลืน มีต้นไม้หลายชนิดเป็นฉากหลัง ต้นไม้นั้นแม้จะสลักด้วยหินแต่ให้ความรู้สึกว่ามีชีวิต นายช่ายจำหลักสามารถทำหินเป็นใบไม้กระดิกได้ยามลมพัดไหว

    [​IMG]
    อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ ศรีวิชัย ถึงพุทธทาสภิกขุ ,ชำนาญ สัจจะโชติ เรียบเรียง, พิมพ์ครั้งที่ ๑

    ที่มา: ธรรมจักร ธรรมศาลา ~ จารึกบันทึกประวัติการสร้างเจดีย์บรมพุทโธ
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    กราบโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญ
    สร้างพระเจดีย์บรมพุทโธและปฏิสังขรณ์
    ตลอดจนทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...