จากลำพูนสู่เชียงใหม่ตามรอยพระแก้วขาวแห่งล้านนา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 1 พฤษภาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    จากลำพูนสู่เชียงใหม่ตามรอย'พระแก้วขาว'แห่งล้านนา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จากลำพูนสู่เชียงใหม่ ตามรอย "พระแก้วขาว" แห่งล้านนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 เมษายน 2550 18:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กู่กุด หรือสุวรรณจังโกฏ ที่วัดจามเทวี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หากพูดถึงพระแก้ว หลายคนคงจะนึกถึงพระแก้วมรกต พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของเมืองไทย แต่ยังมีพระแก้วอีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำขึ้นจากแก้วสีขาว และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวล้านนามาเป็นเวลานานแล้ว นั่นก็คือ "พระเสตังคมณี" หรือ "พระแก้วขาว" พระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากหินสีขาวใส ซึ่งอาจยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปนัก แต่ประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้นั้น ถือว่าไม่ธรรมดา

    ตำนานและความเป็นมาของพระแก้วขาว เกี่ยวเนื่องกับหลายคนและหลายสถานที่ด้วยกัน โดยการกำเนิดของพระแก้วขาว มีตำนานเล่าว่า พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้า มีความประสงค์จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิษณุกรรมมาเนรมิตสำเร็จเป็นองค์พระพุทธปฏิมากร สุเทวฤๅษี ผู้สร้างนครหริภุญไชย และฤๅษีองค์อื่นๆ ก็ได้ประชุมช่วยในการสร้างองค์พระด้วย โดยได้บรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ ไว้ในพระโมลี (กระหม่อม) 1 พระนลาต (หน้าผาก) 1 พระอุระ (หน้าอก) 1 พระโอษฐ์ (ปาก) 1 รวม 4 แห่ง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระบรมราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> และหากจะกล่าวถึงพระแก้วขาว ก็ต้องกล่าวถึงพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริยาแห่งนครหริภุญไชย หรือนครลำพูนด้วยเช่นกัน เพราะพระแก้วขาวถือเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ โดยเมื่อพระนางจามเทวี พระราชธิดาของเจ้ากรุงละโว้ เสด็จมาครองเมืองหริภุญไชย ก็ได้อัญเชิญพระแก้วขาวจากเมืองละโว้มายังเมืองหริภุญไชย มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ด้วย พระแก้วขาวจึงได้มาประดิษฐานอยู่ในนครหริภุญไชยตั้งแต่บัดนั้น

    เส้นทางตามรอยพระแก้วขาว เริ่มต้นที่ "วัดจามเทวี" ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตามประวัติกล่าวไว้ว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระนางจามเทวี และเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 60 พรรษา ก็ได้ทรงสละราชสมบัติออกบวชชีบำเพ็ญบุญอยู่ที่วัดแห่งนี้ และเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 92 พรรษา ก็ได้เสด็จสวรรคต ดังนั้นพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสทั้งสองพระองค์จึงได้นำอัฐิของพระองค์มาบรรจุไว้ในเจดีย์สี่เหลี่ยมในวัดแห่งนี้

    เจดีย์สี่เหลี่ยมที่ว่านั้น รู้จักกันในชื่อ "กู่กุด" หรือ "เจดีย์สุวรรณจังโกฏ" ซึ่งเป็นเจดีย์ศิลาแลงทรงสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น แต่ละชั้นจะประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยรวมทั้งหมด 60 องค์ พระเจดีย์องค์นี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมต้นแบบให้แก่เจดีย์ต่างๆ ในภาคเหนือต่อมาอีกด้วย

    ไม่ไกลกันนักเป็นที่ตั้งของ "วัดพระธาตุหริภุญไชย วรมหาวิหาร" ในจังหวัดลำพูนเช่นกัน วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วขาวมาตลอดระยะเวลาของการตั้งเมืองหริภุญไชย โดยภายในวิหารหลวงของวัดพระธาตุหริภุญไชย นอกจากจะมีพระประธานก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์แล้ว ก็ยังมีบุษบกซึ่งภายในประดิษฐานพระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาวองค์จำลอง ซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระแก้วขาวเคยประดิษฐานอยู่ที่นี่เมื่อนครลำพูนยังรุ่งเรืองอยู่ แต่ปัจจุบันหอพระแก้วขาวในอดีตนั้น ถูกแทนที่ด้วยหอระฆังของวัดไปแล้ว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอพระแก้วขาวที่ปัจจุบันเป็นหอระฆังภายในวัดพระธาตุหริภุญไชย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภายหลังจากที่พระนางจามเทวีเสด็จสวรรคต นครหริภุญไชยยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมาถึง 47 พระองค์ด้วยกัน และทุกพระองค์ต่างก็นับถือพระแก้วขาวเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านเมือง จนกระทั่งถึงในสมัยของพระยายีบา กษัตริย์เมืองหริภุญไชยองค์ที่ 47 เมืองหริภุญไชยได้ถูกพญามังราย เจ้าครองนครเงินยวง (เชียงแสน) ยกกองทัพมาปราบ เมืองหริภุญไชยทั้งเมืองถูกเพลิงไหม้จนพ่ายแพ้ แต่หอพระแก้วขาวเป็นเพียงจุดเดียวที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ตามไปด้วย

    ด้วยความศรัทธาในปาฏิหาริย์นั้น พญามังรายจึงได้อัญเชิญพระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ และทรงเคารพสักการะพระแก้วขาวเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ตั้งแต่นั้น ส่วนพระแก้วขาวก็ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์แก่ผู้ที่เคารพสักการะด้วยเช่นกัน

    การเดินทางของพระแก้วขาวจากลำพูนสู่เมืองเชียงใหม่จึงเริ่มขึ้นตรงนี้ เมื่อพญามังรายมาสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช 1839 และได้อัญเชิญพระแก้วขาวมาด้วย โดยพระองค์ได้สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นเป็นที่ประทับชั่วคราวเพื่อควบคุมการสร้างเมืองเชียงใหม่ และหลังจากที่สร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงได้สร้างพระเจดีย์คร่อมทับหอนอนที่พระราชนิเวศน์ที่ประทับชั่วคราวนั้นเสีย เพราะทรงดำริว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...