จะทำอย่างไรดีเมื่อกำลังเผชิญหน้ากับ กรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย สุวรรณา รัตนกิจเกษม, 30 พฤศจิกายน 2005.

  1. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    จะทำอย่างไรดี ??? เมื่อกำลังเผชิญหน้ากับ กรรม
    อนึ่งการเผชิญภาวะต่างๆนั้นคือ " กรรมเก่า "

    การตัดสินใจเลือกการตอบสนองนั้นคือ" กรรมใหม่ "

    ตัวอย่างเช่น
    นายดำเคยประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ผิดแต่กาลก่อน มาในบัดนี้กรรมนั้นทำให้นายดำถูกประทุษร้ายโดยไม่ผิด เมื่ออยู่ในภาวะเผชิญเช่นนี้ นายดำสามารถเลือกตอบสนองได้ 3 วิธีคือ

    1. วางเฉย
    ก็เป็นอันว่าได้รับผลกรรมแล้ว กรรมนั้นก็สิ้นสุดลง

    2. ประทุษร้ายตอบ
    ก็เป็นอันว่ารับกรรมเก่าและก็สร้างกรรมดำใหม่ขึ้นอีก
    ในกาลต่อไปก็จักโดนประทุษร้ายอีกแน่นอน

    3. อภัยและเมตตา
    ก็เป็นอันว่ารับกรรมเก่าแล้ว ก็สร้างกรรมขาวใหม่ขึ้น
    ในกาลต่อไปศัตรูนั้นก็จักกลายมาเป็นมิตร


    พระพุทธองค์ตรัสว่า " หว่านพืชเช่นไร ก็ได้รับผลเช่นนั้น "

    เพราะฉะนั้นต่อไปภายภายหน้าหากเราเกิดโมโหเพราะมีคนดูถูกเรา ก็จงย้อนระลึกนึกถามตัวเองก่อนว่า

    " เราเคยดูถูกคนอื่นบ้างไหม? " และควรจะบอกกับตัวเองว่า " สิ่งที่เราได้รับอยู่นี้เป็นผลจากการกระทำที่ไม่ดีของเราในอดีต เราควรยอมรับเคราะห์กรรมนี้โดยไม่เคืองแค้นใครๆ เมื่อมันผ่านพ้นไปก็คือ เราได้ชดใช้หนี้กรรมของเราให้หมดไปครั้งหนึ่ง "

    แท้จริงแล้วการที่เราทำอย่างนี้ ไม่เพียงแต่ชดใช้หนี้กรรมเท่านั้น แต่เรายังได้พิจารณาอุปนิสัย
    มีความอดกลั้นแลฝึกหัดระงับอารมณ์ของเราด้วย ......



    ลืมเซฟที่มาอ่ะ...ขอโท๊ด
     
  2. อรพิน โกรธารพ

    อรพิน โกรธารพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +211
    ขอบคุณที่นำมา...เล่าสู่กันฟัง
     
  3. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    อ่านบ่อยๆจะได้เตือนใจ ขอบคุณครับ
     
  4. littlelucky

    littlelucky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +1,938
  5. vichian

    vichian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    8,164
    ค่าพลัง:
    +41,921
    การที่เราเผชิญหน้ากับกรรม ผมว่าทุกคนก็เผชิญอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
    เพราะคำว่า กรรม เป็นคำกลางๆ หมายถึงการกระทำ หรือผลของการกระทำ ที่เรียกว่า ผลกรรม จะเป็นกรรมดี หรือ กรรมชั่ว ก็เป็นเรื่องธรรมดาของกฏของกรรม ฉนั้นจงมีสติในการเผชิญหน้ากับกรรม โดยเฉพาะกรรมชั่วหรือบาปกรรม เพราะถ้าขาดสติ จะมีโอกาสสร้างกรรมชั่วเพิ่มขึ้นอีก ต้องใคร่ครวญให้ดี หรือหาผู้รู้ช่วยเป็นที่ปรึกษาหาทางบรรเทาผลของกรรมชั่วโดยสุจริต

    สวัสดีผู้มีกรรมทั้งหลาย
    เมื่อไหร่จะเต็มบาทน้อ..........
     
  6. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +1,444
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
     
  7. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=592 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>สังคหวัตถุ 4

    </TD></TR><TR><TD width=24> </TD><TD colSpan=4>
    สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
    2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
    ดังต่อไปนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=318 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>เว้นจากการพูดเท็จ
    เว้นจากการพูดส่อเสียด
    เว้นจากการพูดคำหยาบ
    เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ</TD></TR></TBODY></TABLE>3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย
    </TD></TR><TR><TD width=24> </TD><TD width=151> </TD><TD width=143> </TD><TD width=104> </TD><TD width=170> </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...