จดหมายเหตุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน" พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร"
    ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508

    บรรพชน
    บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมืองสงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน
    1.นายน้อย คชวัตร
    2.นายวร คชวัตร
    3.นายบุญรอด คชวัตร
    นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้

    1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
    2.นายจำเนียร คชวัตร
    3.นายสมุทร คชวัตร


    โยมบิดา และโยมมารดา
    ...........นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ.2445จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่
    ...........จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง ) เมื่อปี พ.ศ.2458ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดามารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี


    การศึกษา
    ............สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน
    ...........ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้งเช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช
    ...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน

    บรรชาเป็นสามเณร
    ...........เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
    ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
    ............เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
    ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
    ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
    - พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
    - พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
    - พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
    เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ


    ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    ..........เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ...........เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้

    - พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
    - พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
    - พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
    - พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
    - พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค

    ...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรีีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9
    ............นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
    การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ

    ............ สมณศักดิ์
    - พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
    - พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
    - พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
    - พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
    - พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
    - พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
    - พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

    ...........นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย ขอให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน............

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ครั้งหนึ่ง มีพุทธศาสนิกชนชาวกรุงเทพมหานครได้เดินทางไปกราบ"พระป่า"สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระซึ่งได้ชื่อว่าเป็น"พระอริยสงฆ์"ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในหลายๆวัด
    โดยเมื่อคณะศรัทธาได้กราบพระเถระสายกรรมฐานอาวุโสสูงองค์หนึ่ง เมื่อสนทนาพอสมควรแล้ว พระอริยสงฆ์องค์นั้นจึงกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า
    "มาทำไมให้ไกลถึงที่นี่ หากอยากจะกราบพระสุปฏิปันโนแล้ว ก็ให้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหารซิ นั่นแหละ...พระสุปฏิปันโนของแท้ล่ะ..!!!!!" <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    แม้บุคคลทั้งหลายทั่วไป อาจจะรู้จักมักคุ้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็น"ประธานาธิบดีสงฆ์" (อีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในคราวรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช)ที่ทรงสมณศักดิ์สูงสุดแห่งพุทธจักรสยามในยุคปัจจุบันเท่านั้น

    แต่ความเป็นจริงแล้ว สมเด็จพระญาณสังวรฯ ท่านทรงพระคุณธรรมและพระคุณพิเศษยิ่งกว่าสามัญอีกมากมายนักหนา

    อาศัยที่ว่า "พุทธวงศ์"มีบุญ ได้เคยกราบสมเด็จฯท่านในที่ต่างๆมาตั้งแต่สมัยก่อนที่จะได้รับการสถาปนาฯเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปีพ.ศ. 2532 แม้มิได้ใกล้ชิดเฉกเช่นท่านผู้อื่น แต่กาลเวลาที่เนิ่นนานพอสมควรเห็นปานนั้น ก็ทำให้พอมีข้อมูลเบื้องลึกในพระอัจฉริยคุณแห่งพระองค์ท่านอยู่พอสมควร
    เห็นควรที่จะนำเสนอให้สาธารณชนทั้งหลายได้ล่วงรู้และอนุโมทนาสาธุการยิ่งๆขึ้นไปเป็นการพิเศษ เนื่องในวโรกาสที่
    ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2552 สืบต่อไปเลยทีเดียว..........

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ในวาระวันคล้ายวันประสูติในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศฯ ครบ 96 พรรษา ในวันที่ 3 ตุลาคม ศกนี้ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระอริยสงฆ์พระองค์นี้ ผู้ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ และเป็นประจักษ์พยานหลักฐานแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังมีตัวตนอยู่ในปัจจุบันนี้

    ในมงคลสมัยนี้ จักได้พรรณนาพระคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา และเพื่อน้อมนำรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐนั้นมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญในธรรม ของเพื่อนมนุษย์ทั้งผอง

    พระนามของสมเด็จพระสังฆราชในยุครัตนโกสินทร์นี้ จะใช้คำนำหน้าสี่ลักษณะคือ

    ลักษณะแรก ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระสังฆราช ดังเช่นพระนามสมเด็จพระสังฆราช (สี) วัดระฆังโฆสิตาราม ในยุคสมัยรัชกาลที่ 1

    ลักษณะที่สอง ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ดังเช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ องค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ลักษณะที่สาม ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ดังเช่นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดราชบพิธ

    ลักษณะที่สี่ ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ดังเช่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) วัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

    การใช้คำนำหน้าพระนามสมเด็จพระสังฆราชนั้น น่าจะมีการคำนึงถึงภูมิธรรมและพระคุณของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ จึงเป็นที่มาของการพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์

    ในยุครัตนโกสินทร์นี้ แม้ว่ามีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้วหลายพระองค์ แต่ที่ได้รับพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรว่า “ญาณสังวร” นั้นมีอยู่เพียง 2 พระองค์เท่านั้น

    พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐยิ่งในพระพุทธศาสนา ทรงอภิญญา และอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องชื่อลือชาแห่งยุครัตนโกสินทร์

    พระองค์ที่สองคือสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    และถ้าจะนับเนื่องในเรื่องทรงอภิญญา ทรงอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นที่ประจักษ์แล้ว ก็กล่าวได้ว่าในยุครัตนโกสินทร์นี้มีพระสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเพียง 3 รูปเท่านั้น

    นั่นคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) องค์ปัจจุบัน

    พระคุณของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้นเป็นที่รู้ประจักษ์โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก และในโอกาสนี้ย่อมสมควรกล่าวถึงพระคุณประการนี้ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันเป็นสำคัญ

    ที่มาของคำว่า “ญาณสังวร” นั้นมาจากความสำรวมหรือความสังวรใน 3 ระดับ ตามภูมิธรรมในพระพุทธศาสนา คือ ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร

    ศีลสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในศีล โดยศีลที่ว่านี้หมายถึงศีล 2 ชนิด คือ ศีลซึ่งมีลักษณะเป็นพระวินัย ตามพระปาติโมกข์ชนิดหนึ่ง และศีลจากพระโอษฐ์ ซึ่งเป็นศีลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเพื่อการศึกษาและปฏิบัติในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยแห่งพระบรมศาสดาโดยตรง ได้แก่ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล เมื่อศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์แล้ว ย่อมเป็นบาทฐานแห่งสมาธิและปัญญา เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นหรือนิพพานในที่สุด

    อินทรีย์สังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในอินทรีย์ทั้งปวงโดยเฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีความเป็นปกติ ไม่วอกแวกหวั่นไหว เมื่อกระทบกับอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่างๆ ถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา

    ญาณสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในญาณ ซึ่งครอบคลุมถึงรูปฌาน และอรูปฌาน ขึ้นไปจนถึงญาณทั้งสาม อันเป็นสุดยอดสามวิชชาในพระพุทธศาสนา คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตถญาณ และอาสวัคขยญาณ
    พระนามญาณสังวรของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งสองพระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีที่มาจากคำว่าญาณสังวรและความหมายของญาณสังวรอันเป็นภูมิธรรมขั้นสูงและสูงที่สุดในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร เมื่อบริบูรณ์แล้วพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรับรองว่าสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้นานาประการ

    อันสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบันนี้ ทรงอิทธิปาฏิหาริย์หลายประการ ทั้งอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ และอิทธิปาฏิหาริย์
    อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือปาฏิหาริย์ในการเทศนาอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้ ให้เข้าใจ และสามารถน้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมได้

    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันนี้ทรงพระคุณอันประเสริฐในด้านอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมาแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โปรดให้ทรงนิพนธ์คำสอนหลากหลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือการศึกษาและปฏิบัติของชาวพุทธ อันมีประจักษ์พยานหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน

    อิทธิปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือกว่าความสามารถของมนุษย์ธรรมดา ซึ่งในประการนี้คนจำนวนมากอาจไม่รู้หรือไม่ทราบ กระทั่งเข้าใจว่าทรงเป็นแค่พระสงฆ์ธรรมดา ที่ปฏิบัติธรรมวินัยไปตามปกติ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่


    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันทรงอิทธิปาฏิหาริย์ตามภูมิธรรมอันประเสริฐสูงที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว และเคยมีผู้เห็นประจักษ์หลายครั้ง ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เมื่อครั้งที่ยังมีสงครามระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นิมนต์พระมหาเถระทางภาคอีสานหลายรูป ซึ่งเป็นพระป่า ไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง แต่มีภูมิธรรมขั้นสูง ด้วยการคมนาคมและการสื่อสารในสมัยนั้น ตลอดจนอุปสรรคในด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อนิมนต์พระมหาเถระเหล่านั้นได้

    พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ นายทหารราชองครักษ์ได้รับมอบหมายให้ไปทูลสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งขณะนั้นยังคงมีสมณศักดิ์ที่พระศาสนโสภณ ขอให้ช่วยนิมนต์แทน หลังจากรออยู่ครู่หนึ่งก็ได้รับคำตอบว่าได้นิมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้ทางสำนักพระราชวังจัดรถไปรับ ณ ที่นัดหมายตามวันเวลาที่กำหนด

    ปรากฏว่าการติดต่อนิมนต์ครั้งนั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย แต่เป็นการติดต่อนิมนต์ด้วยโทรจิต ซึ่งเป็นการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เมื่อร่วม 20 ปีที่ผ่านมา ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะที่ทรงภูมิธรรมขั้นสูงรวม 4 รูป ได้เข้าไปเฝ้าและเจริญสมาธิจิต กระทำสัตยาธิษฐานให้ทรงหายประชวร ก็ทรงหายประชวรโดยพลัน เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวร มีพระอาการหนักมาก มีข่าวลือทั่วไปว่าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว เป็นเหตุให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งกำลังเดินทางไปประชุมที่กัมพูชาต้องรีบเดินทางกลับ เมื่อถึงกรุงเทพฯแล้วจึงได้รู้ว่ากลุ่มคนปล่อยข่าวลือ เพราะพระอาการดีขึ้น
    และเมื่อทรงฟื้นจากประชวรครั้งนั้น ก็ทรงเล่าให้ฟังว่า
    ความจริงครั้งนั้นประชวรหนักมาก เตรียมใจที่จะละสังขารอยู่แล้ว ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อไปทรงเยี่ยม ณ ที่ประทับรักษาพระองค์

    คณะแพทย์ได้ถวายรายงานว่าทรงประชวรอาการมาก และสิ้นหวังแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปถึงเตียงที่บรรทม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระหัตถ์ทั้งสองจับพระพาหา (ต้นแขน) ของสมเด็จพระองค์ แล้วกราบทูลว่า พระอาจารย์ พระอาจารย์! พระอาจารย์ หม่อมฉันและสมเด็จพระราชินีมาเยี่ยม ทรงตรัสอย่างนี้อยู่ 2 - 3 ครั้ง สมเด็จพระสังฆราชก็ทรงฟื้นพระสติ และทรงพยักหน้า
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า คราวนี้ทรงประชวรหนัก คณะแพทย์บอกว่าเกินกำลังแล้ว หม่อมฉันเองก็ได้ใช้ความพยายามเต็มที่ หมอที่ไหนดีก็หามารักษา ยาอย่างไหนดีก็หามาถวาย แต่พระอาการไม่มีใครจะช่วยได้แล้ว พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้วนะ พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้วนะ

    สมเด็จพระสังฆราชทรงพยักหน้ารับคำอาราธนา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จกลับ โดยมิได้ตรัสประการใดอีก

    สมเด็จพระสังฆราชทรงประทานเล่าว่า เมื่อได้ยินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้ว ก็ทรงระลึกถึงคำสอนในพระบรมศาสดาเรื่องอิทธิบาท 4 ได้ว่า เป็นธรรมโอสถที่เมื่อเจริญแล้วสามารถดำรงพระชนม์ให้ยืนยาวได้ดังปรารถนาถึงกัลป์หรือเกินกว่ากัลป์

    เมื่อทรงระลึกได้ดังนี้จึงทรงเข้าสมาธิดำรงพระจิตอยู่ในวิหารธรรมที่มีชื่อว่าอิทธิบาทตามคำสอนของพระบรมศาสดา และในไม่ช้าพระอาการก็ทุเลาอย่างน่าอัศจรรย์ และทรงดำรงขันธ์เป็นมิ่งมงคลสูงสุดแก่ประเทศชาติและบวรพระพุทธศาสนามาตราบเท่าถึงปรัตยุบันวารนี้ฯ

    แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงมีภูมิธรรมขั้นสูงยิ่ง ที่สามารถเจริญอิทธิบาท 4 กำหนดอายุสังขารได้เสมอด้วยพระอริยเจ้าผู้ทรงวิสุทธาธิคุณอันประเสริฐสุดในอดีตกาลอย่างสิ้นสงสัย

    เหมือนกับเมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสรับอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าอย่าเพิ่งดับขันธ์ แล้วใช้อำนาจแห่งสมาธิจิตเป็นธรรมโอสถรักษาอาการป่วยเจ็บจนหายเป็นปกติ

    และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเจริญด้วยภูมิธรรมอันสูงในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นธรรมิกมหาราชา จึงทรงสามารถรู้ได้ว่าจะทรงใช้ธรรมโอสถใดในการรักษาเยียวยาพระอาการที่เข้าขั้นวิกฤตในคราวนั้นได้
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ทราบข้อมูลเบื้องลึกจากวงใน แจ้งมาให้ทราบเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เหตุการณ์ตอนที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงพระประชวรหนัก ใกล้จะสิ้นพระชนม์เมื่อตอนที่ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา(พ.ศ. 2546)นั้น ทั้งพระและโยมที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร่ำไห้อาลัยสมเด็จฯท่านกันไปตามๆกัน ไม่เว้นแม้แต่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ก็ไม่อาจห้ามน้ำตามิให้ไหลถึงเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านได้
    แต่ในคราวที่วิกฤติอย่างจวนเจียนที่สุดนั้นเอง พระอุปัฏฐากที่เฝ้าดูแลอยู่ได้
    แลเห็นแสงสว่างพุ่งจากพระวรกายของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเรืองรองไปหมด เหมือนกับเป็นสัญญาณบอกให้ได้ทราบโดยทั่วกันว่า สมเด็จฯเตรียมจะถอดพระจิตทิ้งสังขารแล้ว ความนี้ได้ทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทของล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ จึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงอาราธนาให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเจริญอิทธิบาท 4 ต่อพระชนมายุสังขารของพระองค์เองอย่างทันท่วงที อันนับเป็นบุญแก่บวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด หาที่เปรียบมิได้ดังที่ท่านทั้งหลายคงจะได้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาแก่ใจของมหาชนทั่วแผ่นดินอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดในปัจจุบันวารนี้แล้ว
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เมื่อประมาณปี 2519 ครั้งยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีผู้ศรัทธาแถวมีนบุรีท่านหนึ่งได้กราบอาราธนานิมนต์เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรไปทำบุญที่บ้านซึ่งอยู่แถวเขตมีนบุรี ซึ่งห่างไกลจากวัดบวรนิเวศวิหารหลายสิบกิโลเมตร
    ซึ่งตามปกติแล้ว หากรถไม่ติด ก็น่าจะใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 45 - 60 นาทีเป็นอย่างน้อย
    โดยผู้ศรัทธาท่านนั้น กราบอาราธนานิมนต์สมเด็จฯท่านไว้ที่ 11 นาฬิกาตรง
    พอถึงวัน สมเด็จพระญาณสังวรท่านติดภารกิจหลายประการ จนเวลาล่วงใกล้ 10 นาฬิกาแล้ว พระภาระก็ยังไม่เสร็จสิ้น จนผู้ที่ถวายงานและทราบหมายกำหนดการที่มีนบุรีดังกล่าวจึงกราบเรียนว่า
    เวลาจะไปไม่ทันที่นิมนต์แล้ว สมเด็จฯจะยังคงเสด็จไปอยู่อีกหรือไม่..??? ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรก็ทรงยืนยันว่า จะเสด็จไปตามนิมนต์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
    จนเมื่อภารกิจที่วัดบวรนิเวศวิหารทั้งปวงลุล่วง และทรงขึ้นรถยนต์ที่มีผู้ใหญ่แห่งวงการฟุตบอลท่านหนึ่งขับถวายออกจากวัด เวลาก็กว่า "10.30 น."แล้ว ซึ่งหากคำนวนตามเวลาเดินทางที่ต้องใช้เวลา 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็นับได้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะไปทันงานตามเวลาด้วยประการทั้งปวง
    และสิ่งที่น่าอัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้นในทันใดนั่นเอง
    หนึ่งในผู้ตามเสด็จในครั้งนั้นได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อรถได้เคลื่อนออกไปไม่เท่าไร ก็มีความรู้สึก
    "วูบๆๆๆ"ไปชั่วระยะหนึ่ง
    และมิพลันช้า พริบตาเดียว รถยนต์ที่ประทับก็ได้ไปถึงสถานที่นิมนต์ที่มีนบุรีโดยฉับพลันทันใดอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด.!?!?
    เข็มนาฬิกาบ่งบอกชัดเจนว่า เวลาที่รถยนต์ที่สมเด็จพระญาณสังวรทรงประทับไปถึงมีนบุรีนั้น เป็นเวลาประมาณ 10.50 น.
    ก่อนเวลา 11 นาฬิกาที่อาราธนาไว้ถึง 10 นาทีเต็มๆ
    ใช้เวลาเดินทางจากวัดบวรนิเวศวิหารถึงบ้านที่นิมนต์ที่มีนบุรีภายในเวลา "20 นาที"เท่านั้น..!!!!!!!
    ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลย สำหรับ"กรณีปกติ" หากมิได้ทรงใช้"อิทธิวิธี"ในการ"ย่นระยะทาง"ทั้งคนทั้งรถให้ไปถึงที่หมายก่อนเวลาเห็นปานนั้นได้
    ยอดเยี่ยมและประเสริฐเลิศในทุกๆทางอย่างที่สุดแล้ว สำหรับ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชแห่งสยามประเทศของพวกเราท่านทั้งหลายพระองค์นี้
    ขอถวายอนุโมทนาสาธุการ.............
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    คงจำได้ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2530 ต้นๆ ได้เกิดเหตุไฟไหม้ที่ชุมชนแออัดบางลำพู หลังวัดบวรนิเวศ ซึ่งตรงนั้นชาวบ้านอาศัยกันอยู่อย่างเนืองแน่น ไฟได้เริ่มลุกขึ้นโหมแดง เสียงรถน้ำของตำรวจหลายสิบคันมุ่งหน้ามาที่ซอยนี้ แต่ทว่ายังเข้าไม่ได้เพราะซอยเล็กมาก
    มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ไม่มีภารกิจเสด็จไปไหน เมื่อทรงทราบข่าวว่ามีไฟไหม้หลังวัด ทรงดำเนินลงจากพระตำหนักมาทอดพระเนตรไปยังจุดที่เกิดเหตุอย่างจิตใจที่ตั้งมั่น ไม่มีผู้ใดทราบได้ว่าพระองค์ทรงดำริอะไร แม้แต่พระผู้ที่ติดตามในวันนั้น นายตำรวจที่ติดตามในวันนั้นเองก็ไม่ทราบ
    แต่ความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมได้ปรากฏ เมื่อพระองค์ละสายตาจากการทอดพระเนตรที่เพ่งมองด้วยจิตตั้งมั่นแล้วไม่ช้าไม่นาน ไฟที่ลุกโชตินั้นค่อยๆ สงบลงอย่างช้าๆ ทีละน้อยทีละน้อย ทั้งที่รถน้ำยังไม่ได้ทำการฉีดน้ำสักหยดอย่างน่าตื่นตะลึงเป็นที่สุด..!!!!!
    ข่าวได้แพร่สะพัดไปอย่างกว้างขวางว่า
    ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรทรงอธิษฐานจิตดับไฟหลังวัดบวรนิเวศเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนหลังวัดบวรนิเวศวิหารให้พ้นจากวิบัติภัย นี่ก็นับได้ว่าเป็นความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏและมีได้ต่อผู้ที่มีศีลและธรรมอันบริสุทธิ์
    พระองค์เคยตรัสสอนเหล่าภิกษุนวกะบ้างพอสังเขปในเรื่องลักษณะเหตุแห่งธรรม ทรงตรัสว่า
    "หากเรามีศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิที่สงบ จิตตั้งมั่นดีแล้ว อะไรๆ ก็ปรากฏเกิดขึ้นได้ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นธรรมะชนิดหนึ่งเหมือนกัน..." <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-091001130943464
     

แชร์หน้านี้

Loading...