---> งานเสนอขอทุนวิจัยเพื่อศึกษาพุทธวิสั อจิณไตย เพื่อพัฒนาการคัดเลือกคนเข้างาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 2 มกราคม 2007.

  1. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    การบริหารทรพยากรบุคคลสมัยใหม่
    โดยพิจารณาจากพุทธวิสัย

    คำว่า "วิสัย" ในบทความนี้ขอยืมเพียงสมมุติบัญญัติมาใช้ และให้คำจำกัดความโดยแคบเฉพาะในบทความนี้เท่านั้น ใช้อ้างอิงเป็นสากลมิได้ เนื่องจากเป็นการ "ศึกษาและทดลองโดยการสังเกตุตามหลักวิทยาศาสตร์" (Trial and error testing and observation with comparative analysis technique) เพื่อศึกษาเรื่องอจิณไตยอย่างหนึ่ง คือ "พุทธวิสัย" ว่าหมายถึง "ลักษณะนิสัยเดิมจากจิตแท้อันประภัสสรหรือจากธรรมธาตุที่มีลักษณะชัดเจนมั่นคงอยู่จนสามารถจำแนกแบบได้ แห่งพระพุทธะคือพระผู้สร้างความดีทั้งหลาย อันได้แก่ พระพุทธเจ้า, พระโพธิสัตว์, พระอรหันต์, และเทพต่างๆ" โดยการจำแนกวิสัยแห่งพระอรหันต์นี้ จะปรากฏชัดเจนเมื่อท่านอรหันต์แล้วเท่านั้น ก่อนหน้านี้ "วิสัย" จะยังไม่ชัด ยังสังเกตุเห็ฯมิได้ มีเพียง "นิสัย" ที่ปนเปื้อนด้วยอวิชชา จึงไม่ใช่วิสัยแท้จากจิตเดิมอันประภัสสร หรือไม่ใช่วิสัยจากธรรมธาตุบริสุทธิ์ภายในของแต่ละท่าน ซึ่งวิสัยแต่ละวิสัยใช่ว่าจะเป็นหนึ่งต่อหนึ่ง พระอรหันต์ท่านหนึ่งสามารถมีหลายวิสัยปนกันได้ สามารถจำแนกวิสัยแห่งพระอรหันต์ได้

    การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อไปอย่างมากในอนาคตทั้งในประเทศและสากล (International or globalization study) ทั้งทางด้านการคัดเลือกบุคลากร (Recruiting and selection) การพิจารณาเงินเดือนเลื่อนขั้น (Career path) ในทุกลักษณะการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ, องค์กรธุรกิจ หรือ สถาบันการปกครอง เป็นต้น ดังนี้จะทำให้สามารถเลือกคนดีมีความสามารถได้ไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีปัญหาขาดแคลนคนดีมีความสามารถ ทั้งๆ ที่ประชากรโลกมีมากมาย ตามทฤษฎีแล้วไม่น่าเป็นไปได้ สาาเหตุที่แท้จริงจึงน่าจะเกิดจากกระบวนการคัดเลือกนี่เอง ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์โดยผู้ขาดความรู้ทางจิตวิทยาเชิงลึกและจิตวิทยาภาคปฏิบัติในองค์กรธุรกิจ หรือแม้แต่ระบบการเลือกตั้งโดยปล่อยให้นายทุนครอบครองการเลือกตั้ง แทนที่จะเปิดโอกาสให้คนดีมีความสามารถให้เข้าถึงได้อย่างเสรี ทั้งนี้ได้พิจารณาจาก "พุทธวิสัยภายใน" ที่พ้นเปลือกนอกออกไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่สูงกว่าระบบการบริการทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน


    <DIR><DIR>เมตตาธรรมวิสัย

    </DIR></DIR>
    การแสดงออกภายนอก คือ การเทศนาสอนธรรมด้วยความเมตตาจะช่วยเข็ญสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เช่น หลวงปู่พุทธอิสระ (คิดเอาเองว่าท่านน่าจะลาพุทธภูมิแล้วเงียบๆ หากผิดก็ขออภัย), หลวงพ่อจรัล, หลวงปู่มั่น ฯลฯ และพระอรหันต์สายนักเทศน์นักเขียนต่างๆ เมตตาธรรมวิสัยนี้เป็นวิสัยสูงสุดแห่งพระอรหันต์ ขับดันให้แต่ละท่านเทศนาโปรดสัตว์เพื่อให้หลุดพ้นทุกข์สู่พระนิพพาน ทั้งนี้มีข้อสัณณิฐานว่า เมตตาธรรมวิสัย น่าจะมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับการบำเพ็ญเพียรในกลุ่ม "ปัญญาธิกะ" หรือการบำเพ็ญ "ปัญญาบารมี" และ "เมตตาบารมี" ในช่วงที่เคยตั้งปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ไว้ ด้วย แต่ทั้งนี้ มิได้ศึกษาถึงตัวแปรต้นและตาม ตามหลักอิทัปจยตา (Factor analysis) จึงมิได้กล่าวว่าสิ่งใดเป็นเหตุหรือผล ซึ่งอาจจะเป็นเพียงเหตุร่วมหรือผลร่วม ที่เรียกว่า "สเหตุ" (Cofactor) ก็ได้ อย่างไรก็ตามยังมีความยากในทางปฏิบัติที่จะแยกแยะระหว่างคนที่มีเมตตาธรรม และคนที่มีความรู้มาก ออกจากกัน หากดูคนแต่ใบปริญญาและความรู้ทางโลกหรือทางธรรมที่ไม่ประกอบด้วยการใช้ไปเพื่อช่วยคน ก็จะได้คนผิดประเภทมา ได้แก่ คนที่มีอัตตาสูง (Ego) เพราะถือตนถือตัวว่าเก่งและมีความรู้เหนือใคร


    <DIR><DIR>พุทธศรัทธาวิสัย

    </DIR></DIR>
    การแสดงออกภายนอก คือ จะให้เครื่องมืออุปกรณ์เสริมสร้างศรัทธาแก่คน เช่น พระเครื่องต่างๆ พุทธศรัทธาวิสัยนี้ เน้นความศรัทธาในพระรัตนไตรให้แก่คนจำนวนมาก เป็นหลัก (Buddhist mass communication) อาทิเช่น หลวงปู่ฤษีลิงดำ, หลวงพ่อคูณ, หลวงปู่ทวด เป็นต้น โดยมากมักพบว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับพระอรหันต์ที่มีอภิญญาสูงๆ ในขณะที่หน้าที่ ของพระอรหันต์ในกลุ่มเมตตาธรรมวิสัย จะเน้นไปที่คนจำนวนน้อย แต่มีคุณภาพมากพอจะพัฒนาตนได้ถึงพระนิพพาน ลักษณะของพุทธศรัทธาวิสัยนี้ เสี่ยงต่อการคัดเลือกคนผิด ประเภท "มิจฉาฑิฐิ" อย่างมาก กล่าวคือ ลักษณะของคนที่หลงตัวเอง (อัตตอวิชชา), หลงความสามารถพิเศษของตนเอง (อภิญญอวิชชา) ไม่ใช่ผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง พุทธศรัทธาวิสัยนี้ อาจอยู่ภายในเฉพาะตน เช่น การนับถือศรัทธาคุณงามความดี อันเห็นได้จากตัวบุคคลหรือสถาบัน เช่น ศรัทธาในพระรัตนไตร, ศรัทธาในพระเยซู, ศรัทธาในพระอัลเลาะห์ และเป็นผู้มีศาสนาประจำใจต่างๆ เป็นต้น คนดีมีศาสนานั้น แท้แล้วฉลาดและมีการบริหารอารมณ์และมีสำนึกในการทำดีเพื่อองค์กร (EQ, IQ and MQ) สูงกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้นับถือศาสนาหรือคุณงามความดีใดๆ เลย เพียงแต่เขาเหล่านั้น ไม่ได้ฉกฉวยโอกาสเพื่อแสดงตน แย่งตำแหน่งและเงินทองจากคนอื่น เขาจึงดูเงียบเฉย และรอโอกาสหลังจากให้โอกาสคนอื่นเท่านั้น ส่วนคนเลวที่โง่ มักเก่งและใช้โอกาสในการฉกฉวยและปิดบังความสามารถของคนดีและฉลาดเหล่านี้ จนองค์กรนึกว่าพวกเขาไร้ประสิทธิภาพ ในที่สุดการบริหารที่ผิดพลาด ทำให้พวกเขาหมดศรัทธาต่อองค์กร ทำงานลดลงในที่สุด

    <DIR>

    <DIR>บุญบารมีวิสัย

    </DIR></DIR>
    ข้อนี้หมายรวมถึงท่านที่มีพุทธจิตแล้ว แม้นยังไม่นิพพานเข้าไปด้วย อาทิเช่น พระโพธิสัตว์ที่ระลึกปณิธานของตนได้ ก็จะบังเกิด "พุทธวิสัย" เป็นลักษณะของการสะสมบุญบารมี แทนการแสดงออกเหมือนอย่างอรหันตวิสัย เพราะโพธิญาณนั้น จะมีวิสัยที่ละทิ้งพระนิพพานเพื่อช่วยให้คนอื่นได้ก่อนเป็นด่านที่กั้นไม่ให้เข้าสู่กระแสนิพพาน ดังนี้ เหล่าพระโพธิสัตว์ เมื่อถึงจุดที่เกิด "พุทธวิสัย" ขึ้นมาแล้ว จึงออกสะสมบุญบารมีมากมาย ซึ่งตามหลักการแล้ว ควรได้สะสมทศบารมีให้เต็ม เป็นต้น ลักษณะของบุญบารมีวิสัยนี้ไม่ใช่พบแต่เพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้น กล่าวได้ว่าทุกท่านที่สะสมบุญบารมีเพื่อให้ได้ดั่งปณิธานปราถนาจะมีการสะสมบุญบารมี และปรากฏ "พุทธวิสัย" ที่จำแนกได้ว่าเป็น "บุญบารมีวิสัย" เช่น ผู้ทำบุญบนโลกเพื่อสะสมบุญไปเกิดเป็นพระพรหม ก็จะมีบุญบารมีวิสัย ที่เห็นได้ชัดคือ การเจริญ "พรหมวิหารสี่" เป็นต้นยกตัอย่างเช่น หลวงปู่ครูบาไชยวงศา ผู้สร้างวัดและพุทธบริษัทที่ดีมากมาย เพื่อสะสมบารมีไปเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของระศรีอาริยเมตไตรย์ เป็นต้น เราสามารถสังเกตุพุทธวิสัยประเภท บุญบารมีวิสัย ได้จาก คุณธรรมประจำใจ ที่เขาถือเป็นสิ่งนำชีวิต เช่น ความกตัญญูรู้คุณ, ความเสียสละ เป็นต้น บุคคลที่บำเพ็ญตนตามคุณธรรมความดีนี้ มีลักษณะเป็ฯเทพ ซึ่งจะมีภูมิความรู้ที่สูงกว่าคนทั่วไป เพียงแต่ไม่นิยมเอามาสนองลาภยศเงินทอง แย่งชิงกับผู้ใดเท่านั้น แท้แล้วพวกเขาคือ บุคลากรชั้นดีที่สูญหาย (Un-appear intelligent) อยู่ในองค์กรทุกองค์กร แต่ได้รับการละเลยและบริหารที่ผิดพลาด จนเราท้อแท้ว่าทำไม บุคลากรที่ดีจึงไม่มีเลย ดังนั้น การบริหารยุคใหม่ หาใช่ต้องทุ่มเงินซื้อตัวคนเก่งแย่งจากองค์กรอื่นให้เสียเงิน เสียต้นทุนมากมาย แถมยังได้บุคลากรที่ไร้ความชำนาญมาอีก เช่น อ..รักษ์ โ..ษโ..ธิ.. ที่บริหารผิดพลาดให้แ....มมี่ จนแ...มมี่ต้องจ้างออก ทั้งๆ ที่จ้างเข้ามาทำงานด้วยค่าตัวราคาแพง เราสามารถค้นหาบุคคกรชั้นดีที่สูญหายนี้ได้ในองค์กรของเรานี่เอง เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองการบริหารคนใหม่เท่านั้น ต้นทุนจึงไมท่เพิ่มขึ้น ทั้งยังได้คนดีที่มีความชำนาญตรง กลับมาไม่รั่วไหลออกนอกองค์กรอีกด้วย


    <DIR><DIR>สมถวิสัย

    </DIR></DIR>
    กลุ่มลักษณะของ "สมถวิสัย" ได้แก่ ความถือสันโดษ คือ ไม่คลุกคลีมากไปไร้สาระ เพราะการเข้าสังคมพร่ำเพรื่อ จนพัวพันถูกลูกน้องควบคุม เลียแข้งเลียขา เกรงใจลูกน้อง กลัวการปะทะ จะทำให้ไม่อาจปกครองคนได้ในที่สุด ดังนี้การถือสันโดษจึงทำให้ลูกน้องเกรงใจ, ผู้ร่วมงานระดับเดียวกันเกรงขาม (จากอุเบกขาอาณิสงค์) และเจ้านายไว้วางใจมากกว่า (Higher power of credit) นอกจากนี้ "สมถวิสัย" ยังหมายรวมถึงการรักอิสระ อันแตกต่างจากการไร้ระเบียบ กล่าวคือ การรักอิสระของพระพุทธะจะมีความรับผิดชอบจากภายในเสมอ จึงไม่ระเมิดกฏระเบียบอันนำไปสู่ความเสียหาย แต่หากจำเป็นต้องทำแตกต่างไปจากระเบียบเพื่อรักษาผลประโยชน์โดยตนต้องรับโทษแทน ตนก็สามารถสละได้ (มีความรับผิดและรับชอบ) นอกจากนี้ยังมีลักษณะของความพอเพียง กินใช้แต่พอควร ยกตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดี "ลี กวน ยู" ของสิงคโปรค์ที่สร้างชาติสิงคโปรค์จนเจริญรุ่งเรือง หรือแม้นแต่ "มหาตมะ คานธี" ก็มีความพอเพียง และนำประเทศชาติรอดพ้นการตกเป็นทาสได้ พระพุทธะเหล่านี้ ล้วนบำเพ็ญความพอเพียงเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากเหล่าทรราช ซึ่งมักพบว่ามีความโลภในลาภยศเงินทอง ปนอยู่ด้วยเสมอ และต่อให้เก่งกาจเพียงใด สุดท้ายก็ทำให้ชาติหายนะล่มจมได้ในที่สุด ดังนี้ หากต้องการได้พระพุทธะมาปกครองให้องค์กรรุ่งเรือง จึงต้องเลือกบุคลากรที่มีความพอเพียง, ถือสันโดษ, และรักอิสระ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสัมภาษณ์เข้างาน หรือคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง

    องค์กรด้านการบริหารทุกระดับ ตั้งแต่องค์กรธุรกิจ, สถาบนัการเมืองการปกครอง, องค์กรอิสระ ฯลฯ จึงควรแสวงหาบุคลากรที่เป็น "พระพุทธะ" นี้เข้ามาดำรงตำแหน่งระดับสูง ซึ่งจะสามารถพัฒนาให้ประเทศหรือองค์กรนั้นๆ สำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างสมดุลพอเพียง ไม่ก้าวหน้าเร็วเกินไป ไม่ขาดแคลนเกินไป และประสบความสำเร็จด้านการบริหาร ทั้งทางด้านปัญญาองค์รวม (Organization intelligent), เป้าหมายทางเศรษฐกิจระยะยาว (Growth and stability balancing) และวัฒนธรรมองค์กร (Organization culture) คือ เป็นองค์กรที่ดี, เลี้ยงตัวได้รอดมีเสถียรภาพระยะยาว, ได้รับการยอมรับจากสังคมและประเทศชาติ และมีความสุข เป็นต้น ซึ่งจะแก้ไขปัญหาการเติบโตแบบไม่หยุดยั้งคิด โดยวิ่งหนีดอกเบี้ยเงินกู้จากการลงทุนธุรกิจอย่างไร้สติ จนในที่สุดก่อปัญหาองค์กรล่มสลายในที่สุด
     
  2. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    หากงานวิจัยนี้สำเร็จ พระพุทธศาสนาจะปกครองโลกเป็นสากล
    ทั้งยังกิดการพัฒนาบุคคลากรทุกระดับ ประเทศชาติจึงเจริญด้วยคนดี




    สงวนลิขสิทธิ์การเผยแพร่เฉพาะในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ห้ามก็อปปี้ไปโพส
    ที่อื่นใด เนื่องจากยังศึกษาไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดความสับสนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2007
  3. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    อ้าวของดีไม่มีใครมาอ่าน



    มาๆ ผมดันครับ
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,937
    สามารถนำไปพัฒนาได้จริง...หากเชื่อว่า...ทำได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...