งานช่วยท่านพระอาจารย์มั่น (หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 12 มกราคม 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ..นั่นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผันเลิศพบสงบนิ่ง
    เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับยิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ
    ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย
    เรื่องพัวพันขันธ์ห้าชาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง...


    บทประพันธ์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    ไพเราะไหมครับ ? เป็นกลอนที่องค์หลวงปู่มั่นได้ประพันธ์ไว้ขณะที่มาจำพรรษา
    ณ วัดสระปทุม(วัดปทุมวนาราม) ปทุมวัน นี่เองครับ

    [​IMG]

    [​IMG] งานช่วยท่านพระอาจารย์มั่น [​IMG]

    ในการกลับมากราบเยี่ยมท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ครั้งนี้ท่านพระอาจารย์มั่นก็มีอายุมากแล้ว แต่ได้มีพระเณรอยู่รับการอบรมจากท่านเป็นจำนวนมาก คงจะเป็นภาระอย่างมากแก่ท่าน หลวงปู่จึงคิดจะอยู่รับใช้ตอบแทนพระคุณท่านระยะหนึ่ง ก่อนกลับไปเยี่ยมบ้าน และก็ราวท่านพระอาจารย์จะล่วงรู้ความมีน้ำใจของหลวงปู่ (หลวงปู่ว่า แน่นอน ท่านต้องรู้แน่อย่างไม่มีปัญหา !) ท่านก็มอบหน้าที่ให้หลวงปู่หลายประการ เช่น... ให้ท่านช่วยรับแขกบ้าง ให้ช่วยท่านดูแลพระบ้าง

    ฟังดูก็เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเป็นภาระหน้าที่ธรรมดา ๆ เช่นนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นคงจะไม่มอบหน้าที่ให้หลวงปู่แน่...!

    เพราะ...”ให้ท่านช่วยรับแขก” ... หมายความว่า ในเวลากลางดึก ซึ่งเป็นเวลาที่ปกติมนุษย์ควรจะพักผ่อนกายนั้น ปรากฏว่า ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะมีแขกมาเยี่ยมมาขอฟังธรรมกันเสมอ บางคืนมากันมากมายหลายคณะ แขกคณะนี้กลับไป แขกคณะอื่นก็มาต่อ ทำให้ท่านเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่ง ท่านจึงต้องขอให้หลวงปู่ช่วยท่านรับแขกด้วย

    ถูกแล้ว..ไม่ใช่เป็นแขกมนุษย์ แต่เป็นแขกเทพ และความจริง การมอบให้ท่านช่วยรับแขกเทพนี้ ท่านก็มิได้ปริปากบอกเลย ! เพียงแต่..เมื่อหลวงปู่อยู่ในสมาธิ ก็จะมีเทพมากราบขอฟังธรรม เรียนท่านว่า ได้ไปกราบหลวงปู่มั่นแล้ว แต่ท่านเหน็ดเหนื่อย ด้วยคืนนี้รับแขกมามากคณะแล้ว ขอให้มาฟังธรรมจากหลวงปู่แทน หลวงปู่เทศน์ แสดงธรรมไปเสร็จแล้ว ตอนเช้า ก็ขอโอกาสกราบเรียนเรื่องให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟัง พร้อมทั้งเรียนถามท่านว่า ท่านพระอาจารย์มั่นได้สั่งให้เทวดามาขอฟังธรรมจากท่านใช่หรือไม่ หรือว่า เทวดาคณะนั้น...คณะนั้นสมอ้างชื่อท่านพระอาจารย์มั่นเอาเอง ท่านพระอาจารย์มั่นก็รับว่า ท่านได้บอกเทวดาเช่นนั้นจริง ๆ เพราะท่านเหนื่อยในการรับแขกอย่างยิ่ง ด้วยมากันมากมายหลายคณะ และข้อธรรมที่จะแสดงก็ต้องกำหนดแตกต่างกันไปตามภูมิชั้นจริตนิสัยที่ควรแก่การรับการอบรมอันไม่เหมือนกัน

    ว่ากันว่า เวลาฟังธรรมท่านพระอาจารย์ในสนทนากับหลวงปู่เรื่องกายทิพย์ เรื่องแขกภายนอก เรื่องเทวดา ภูตผีทั้งหลายที่มาขอพึ่งบารมี ฟังธรรมและถามปัญหาธรรม ผู้มีโอกาสได้ฟังด้วยจะรู้สึกเพลิดเพลิน ตื่นตาตื่นใจ ไม่อยากให้จบลงเลย ท่านพูดสอดคล้องกัน และเป็นไปในแนวเดียวกันราวกับได้อยู่ด้วยกัน เห็นด้วยกัน ฟังด้วยกันฉะนั้น

    [​IMG] เมตตาธรรมที่สืบทอดจากครูบาอาจารย์ไปสู่ศิษย์ [​IMG]

    ท่านอธิบายว่า นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยด้วยประการทั้งปวง ท่านเล่าให้ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและมุ่งมั่นต่อการหลุดพ้นฟังว่า นี้แหละเป็นคำสอนจากท่านพระอาจารย์มั่น และความจริงเป็นธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นเมตตามาแสดงโปรดท่านทางนิมิตภาวนา

    ท่านเล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นมากด้วยความเมตตาต่อศิษย์ โดยเฉพาะสำหรับหลวงปู่แล้ว เวลาท่านติดขัดในการภาวนา ท่านพระอาจารย์จะเมตตามาแสดงธรรมสอนท่านทางสมาธิภาวนาเสมอ ไม่เลือกสถานที่ว่า จะเป็นเวลาที่ท่านอยู่ในถ้ำ หรืออยู่กลางป่า หรืออยู่บนเขา และไม่เลือกว่าจะเป็นเมืองใด ประเทศใด ...ไทยหรือลาว หรือพม่า

    บางทีท่านพระอาจารย์มั่นก็จะเหาะลอยมาทางอากาศ แต่บางทีก็จะเดินมาอย่างธรรมดา หรือปรากฏร่างขึ้นในทันที เมื่อท่านเมตตาสั่งสอนจบลง หลวงปู่ก็จะก้มกราบด้วยความเคารพอย่างสูงสุด และเต็มตื้นด้วยความรู้สึกถึงพระคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่มีอย่างล้นฟ้าล้นดิน ไม่เคยทอดทิ้งศิษย์ ดูแลห่วงใยคอยสอดส่องให้ความรู้แก่ศิษย์ตลอดเวลา

    ...แม้แต่เมื่อท่านนิพพานไปแล้ว ท่านก็ยังคงเป็น “พ่อ” เป็น “แม่” เป็น “ครูบาอาจารย์ “ ที่สูงด้วยเมตตาต่อศิษย์อย่างไม่เสื่อมคลาย

    ท่านเล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นมาเยี่ยมและเมตตาสั่งสอนท่านเสมอ และขณะเมื่อผู้เขียนบันทึกมาถึงตอนนี้ ได้ขอโอกาสกราบเรียนถามถึง แม้ในเวลานี้ (ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อเรียนถามครั้งสุดท้าย) ...หลวงปู่ก็รับว่า ท่านพระอาจารย์มั่นยังมาเยี่ยมอยู่เช่นเดิม <!--MsgFile=2-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    [​IMG] ภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา [​IMG]

    หลวงปู่เตือนเสมอถึงภัย ๔ อย่างของพระกรรมฐาน ท่านได้สอนศิษย์ของท่านควรระวัง... ระวังเหมือนถ้าเฮาจะลงไปในฮ้วงน้ำข้ามโอฆสงสาร ก็ต้องระวังภัย ๔ อย่างคือ คลื่น หนึ่ง จระเข้ หนึ่ง วังน้ำวน หนึ่ง...และ ปลาร้าย อีกหนึ่ง

    ท่านบอกให้ศิษย์ระวัง ทั้งคลื่น ทั้งจระเข้ ทั้งวังน้ำวน และปลาร้าย

    - ความดื้อดึง ไม่อดทนเชื่อฟังต่อโอวาทที่ครูบาอาจารย์พร่ำสอนและนำเปรียบด้วยภัย คือ คลื่น
    - ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแก่หลับแก่นอน ไม่บำเพ็ญเพียร เปรียบด้วยกับ จระเข้
    - กามคุณ ๕ อย่าง ...รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เปรียบด้วย ภัย คือ วังน้ำวน ใครหลงติดกามคุณทั้ง ๕ นี้ก็จะ “ติด” เหมือน ลิงติดตัง อยู่ในวังน้ำวน และมีแต่จะถูกกระแสน้ำดูดจมลงอย่างไม่ต้องสงสัย
    - มาตุคาม ที่พระพุทธเจ้าสอนพระอานนท์ไว้ก่อนจะเสด็จปรินิพพานว่า ...ควรหลีกเลี่ยงไม่พบปะด้วย ...หากจำต้องพบปะก็ไม่ควรพูดด้วย ...หากจำต้องพูดด้วย ก็ต้องพูดด้วยความสำรวมมีสติ... ท่านเปรียบด้วยภัย คือ ปลาร้าย...!

    ถ้าเราไม่เชื่อโอวาท ไม่เชื่อกรรมดีกรรมชั่ว จิตใจก็หวั่นไหวเป็นลูกคลื่นมากระทบจิตใจ สู้คลื่นแรงที่ซัดโถมมาไม่ไหวก็อาจจะจมน้ำตาย

    ผ่านคลื่นมาได้ หากมาติดการเห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่ปรารภความเพียร ถูกจระเข้ร้ายฟาดฟัน งับลงสู่ไต้ท้องน้ำ หรือกลายเป็นจระเข้ไปเสียเอง ดังนิมิตเกิดขึ้นฟ้องหลวงปู่ก็ได้

    ผ่านคลื่น ผ่านจระเข้ ก็อาจมาติดวังน้ำวน มัวรัก มัวชอบ มัวหวง มัวห่วง มัวอาลัย ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกิดความยึดถือมั่นหมายว่า เป็นของเรา เดี๋ยวเจ็บ เดี๋ยวป่วย กลัวเป็นหนัก กลัวล้มตาย กลัวแก่ กลัวตาย ไม่แต่ร่างกายของเรา แม้ที่อยู่ ที่อาศัยก็ห่วงก็หวง กลัวชำรุดทรุดโทรม ร่างกายของคนอื่น ก็ห่วง ก็หวง ก็อาลัยไปด้วย จิตใจก็หวั่นไหว แหวกว่ายอยู่กลางวังน้ำวน หลงยึด หลงติด ก็ถูกกระแสน้ำดูดลงสู่วังน้ำวน เป็นวัฏฎะวนตลอดไป

    หลบคลื่น หลบจระเข้ หลบวังน้ำวน เผลอ ๆ อาจจะถูกปลาร้ายจับกินเป็นภักษาหาร ศิษย์ของท่านเองต้องสึกหาลาเพศออกไปนักต่อนักแล้ว

    ท่านจึงเตือนศิษย์เสมอ ถึงภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา

    [​IMG] การระลึกชาติ [​IMG]

    สำหรับญาณการระลึกรู้อดีตชาตินี้ ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ผู้ใฝ่ในการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ได้เคยขอโอกาสกราบเรียนถาม หลวงปู่ก็ยอมเล่าให้ฟังบ้าง ท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้ระลึกชาติได้มากมายอะไร ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงระลึกได้อเนกชาติหาประมาณมิได้นั้น เพราะท่านทรงมหาสติ มหาปัญญา มหาบารมี สำหรับท่านนี้ เท่าที่ระลึกได้ ท่านไม่เคยเป็นกษัตริย์ มักจะเป็นแต่คนทุกข์ยากเสียมากกว่า

    เคยเกิดเป็นพ่อค้าขายผ้าชาติลาว ออกเดินทางมากับพ่อเชียงหมุน (อุปัฏฐากคนหนึ่งในชาตินี้) ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งนี้ มาทานผ้าขาวหนึ่งวา และเงินเป็นมูลค่าประมาณเท่ากับ ๕๐ สตางค์ ในปัจจุบันนี้ บูชาถวายพระธาตุพนม พร้อมทั้งอธิษฐานขอให้ได้บวช ได้พ้นทุกข์ ท่านเล่าว่า ท่านเคยมาสร้างพระธาตุพนมด้วย สมัยพระมหากัสสปเถรเจ้า พระธาตุพนมนี้สร้างก่อนพระปฐมเจดีย์

    - ท่านเคยเกิดเป็นคนยางอยู่ในป่า เคยเกิดเป็นทหารพม่า มารบกับไทย ยังไม่ทันฆ่าคนไทย ก็ตายเสียก่อน เคยเกิดอยู่เมืองปัน พม่า ชาตินี้ท่านก็ได้กลับไปดูบ้านเกิดในชาติก่อนที่เมืองปันด้วย
    - เคยเป็นทหาร ไปหลบภัยที่ถ้ำกระ เชียงใหม่ และเคยตายเพราะอดข้าวที่นั่น
    - ท่านเคยเป็นพระภิกษุ รักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมหากัสสปะ
    - เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก
    - สำหรับการเกิดเป็นสัตว์นั้น ท่านเล่าว่า ท่านก็ผ่านมาอย่างทุกข์ยากแสนเข็ญเช่นกัน เช่น เคยเกิดเป็นผีเสื้อ ถูกค้างคาวไล่จับเอาไปกิน ที่ถ้ำผาดิน
    - เคยเกิดเป็นฟาน หรือ เก้ง ไปแอบกินมะกอก กินไม่ทันอิ่มสมอยาก ถูกมนุษย์ไล่ยิง เขายิงที่โคกมน ถูกที่ขา วิ่งหนีกระเซอะกระเซิงไปตายที่บ้านม่วง
    - เมื่อครั้งเกิดเป็นหมี ไปกินแตงช้าง (แตงร้าน) ของชาวบ้าน ถูกเจ้าของเขาเอามีดไล่ฟัน ถูกหัวและหู เคราะห์ดีไม่ถึงตาย แต่ก็บาดเจ็บมาก ต้องทุกข์ทรมานจนกระทั่งหายไปเอง
    - เคยเกิดเป็นไก่ มีความผูกพันรักชอบนางแม่ไก่สาว จึงอธิษฐานให้ได้พบกันอีก ทำให้กลับมาเกิดเป็นไก่ซ้ำถึง ๗ ชาติ
    - เคยเกิดเป็นปลาขาว อยู่ในสระ ณ บริเวณซึ่งปัจจุบันคือ ที่สวนบ้าน พล.อ.อ. โพยม เย็นสุดใจ

    พร้อมกับที่เล่าให้ศิษย์ฟังเรื่องการระลึกชาติ ท่านจะชี้ภัยของการท่องเที่ยว เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปในภพชาติต่าง ๆ ให้ฟังเสมอ ท่านเตือนย้ำว่า การกำหนดระลึกรู้ได้เหล่านี้ เป็นเพียง ผลพลอยได้ จากการบำเพ็ญเพียรภาวนาให้จิตสงบ หากเกิดขึ้นก็รับรู้ นำมาพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอริยสัจ ๔ ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเจ้าของฟาดฟันกิเลสให้ย่อยยับอัปราไปโดยเร็ว <!--MsgFile=4-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    [​IMG] สายน้ำผุดบนภูพาน [​IMG]

    ดังได้กล่าวแล้วว่า หลวงปู่และหลวงปู่ขาว เป็นสหธรรมิกที่ถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ต่างนับถือกันในในความเด็ดเดี่ยวอาจหาญไม่หวาดหวั่นภยันตราย ต่างยกย่องกันในด้านการภาวนากล้าสละตาย ต่างเคารพกัน ในเชิงภูมิจิต ภูมิธรรมของกันและกัน ครั้งที่ทำให้เกิดเรื่องเล่าขานกันต่อ ๆ มา จนฟังดูประหนึ่งเทพนิยาย ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในโลกมนุษย์ นี่ก็เป็นการเดินธุดงค์ของท่านครั้งหนึ่งที่ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเหมือนกัน

    ท่านเล่าว่า ท่านมีอายุ ๒๗ ปีเท่านั้น ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ชวนหลวงปู่ขาว ออกจากวัด วิเวกไปทางป่าลึกหลังเทือกเขาภูพาน การเดินธุดงค์ครั้งนั้น ผ่านเข้าไปในป่าลึกหลังเทือกเขาเป็นวัน ๆ แล้ว ยังไม่ได้พบหมู่บ้านคนเลย อาหารก็ไม่ได้ฉัน แต่นั่นยังพอทำเนา แต่สิ่งที่ธาตุขันธ์ของท่านทั้งสองต้องการอย่างยิ่งคือ น้ำ...!

    น้ำในกระติกของหลวงปู่ขาวและท่าน หมดไปตั้งแต่ตอนกลางคืน เดินทางมาคิดว่าจะพอพบบ่อน้ำลำธารให้ได้ดื่มกินก็ไม่มี หรือแม้แต่แอ่งน้ำในรอยเท้าเสือ รอยเท้าช้าง ที่พระธุดงค์เคยได้อาศัย ค่อย ๆ ตักกรอง ก็ไม่พบพานเลย ทั้งสององค์ทั้งเหนื่อย ทั้งหิว กระหาย อากาศก็เพิ่มความร้อนขึ้น จากเช้าเป็นสาย เป็นบ่าย ก็ยังไม่ได้พบน้ำ ร่างกายขาดอาหารได้เป็นวัน ๆ แต่ขาดน้ำในยามหน้าแล้ง ในป่าบนยอดเขานั้น เป็นภาวะที่ธาตุขันธ์ของท่านจะต้องอุทธรณ์ต่อเจ้าของมาก

    แต่ท่านก็ต่างมีความอดทน มิได้ปริปากบ่น สุดท้ายก็ชวนกันนั่งพักใต้ร่มไม้ ท่านนั่งพัก...ท่านก็เลยภาวนาไปด้วย ท่านเล่าว่า นั่งได้ไม่นาน ก็ได้ยินเวียงดังกรอบแกรบ ๆ ใกล้เข้ามา เสียงนั้น ดังใกล้เข้ามา...ดังมาก จนท่านต้องลืมตาดู เห็นน้ำไหลมาจากโคกข้างหน้า เป็นทางน้ำกว้างประมาณศอกหนึ่ง ไหลผ่านใบไม้ที่ร่วงทับถมกันอยู่ในราวป่า เป็นใบไม้สีเหลืองบ้าง แดงบ้าง น้ำตาลบ้าง ถมซับซ้อนกันด้วยเป็นเวลาฤดูใบไม้ร่วง เสียงที่ดังจนรบกวนสมาธิให้ท่านลืมตาขึ้นดูนั้น ก็เป็น เสียงน้ำที่ไหลผ่านใบไม้กรอบแห้งเหล่านั้นนั่นเอง...!!

    ท่านได้แหวกใบไม้ออก เห็นน้ำใสสะอาดไหลเอื่อยมา เหมือนเป็นลำธารเล็ก ๆ ได้กรองใส่กระติก ล้างหน้า ล้างตา ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กินจนอิ่มเสร็จเรียบร้อย สายน้ำนั้นก็แห้งลงเฉย ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก...!!! น้ำผุดขึ้นจากกลางโคก ไหลมาเพียงให้ท่านได้ดื่มกิน อาบน้ำ ล้างหน้าล้างตา ให้คลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า กรองใส่กระติกน้ำเสร็จเรียบร้อย ก็แห้งลงในดินทรายทันที...!

    เกิดขึ้นได้อย่างไร...! อย่างน้อยบุคคลหนึ่งในที่นั้นก็คิดเช่นนี้ ดังนั้นหลวงปู่ขาวจึงได้ซักสหายของท่าน “ท่านชอบละซี..! ท่านชอบอธิษฐานอย่างไร”

    หลวงปู่ปฏิเสธ “ผมไม่ได้อธิษฐานอะไร ผมเพียงแต่คิดเท่านี้ว่า เทวดาฟ้าดินจะไม่สงสารพระบ้างหรือ เทวดาจะปล่อยให้พระอดตายหรือ” ท่านว่า ท่านก็คิดเพียงเท่านั้นเอง....!

    เรื่องนี้แพร่หลายขึ้นมาก็เนื่องด้วยหลวงปู่ขาวนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังอยู่เสมอ ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้ฟังกระเส็นกระสายปลายเหตุด้วย ฟังครั้งแรกว่าท่านไปกันกับหมู่พวกกลุ่มใหญ่ แต่ภายหลังเมื่อจะบันทึกทำประวัติของท่านนี้ ได้โอกาสกราบเรียนถาม หลวงปู่ยืนยันว่า ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเพียง ๒ องค์เท่านั้น

    ข้อมูลจากหนังสือ ฐานสโมปูชา คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ผู้เขียนและเรียบเรียง

    ที่มาค่ะ..http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5040131/Y5040131.html

     

แชร์หน้านี้

Loading...