[คู่มือมนุษย์] : การทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีธรรมชาติ (พุทธทาสภิกขุ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย wisarn, 16 พฤษภาคม 2010.

  1. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    <center>[​IMG]

    คู่มือมนุษย์

    เรื่อง การทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีธรรมชาติ


    </center> ในบทนี้ จะบอกให้ทราบต่อไปว่า สมาธิอาจจะมีได้โดยทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง และจากการปฏิบัติตามหลักวิชา โดยเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง มีผลอย่างเดียวกันคือเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็นำไปเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา).

    แต่มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่งว่า
    สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น มันมักจะพอเหมาะพอสมแก่กำลังของปัญญาที่จะใช้ทำการพิจารณา ส่วนสมาธิที่เกิดจากการฝึกตามหลักวิชาการนั้น มันมักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป

    หรือเหลือใช้และยังเป็นเหตุให้คนหลงผิดพอใจเพียงแค่สมาธินั้นก็ได้ เพราะว่าในขณะที่จิตเป็นสมาธิเต็มที่นั้น ย่อมเป็นความสุข ความสบายชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความพอใจจนถึงกับหลงติดหรือหลงคิดว่าเป็นมรรคเป็นผล. โดยเหตุนี้ สมาธิที่เป็นไปตามทางธรรมชาติที่พอเหมาะพอสมกับการใช้พิจารณานั้นจึงไม่เสียหลายไม่เสียเปรียบสมาธิตามแบบที่ฝึกตามแนววิธีเทคนิคนัก. ขอแต่เพียงให้รู้จักประคับประคองทำให้สมาธิเกิด และให้เป็นไปด้วยดีก็แล้วกัน.


    ข้อความต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก ก็มีเล่าถึงแต่เรื่องการบรรลุมรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือต่อหน้าท่านที่สั่งสอนคนอื่น ๆ โดยไมได้ไปสู่ป่านั่งทำความเพียรอย่างมีพิธีรีตองกำหนดเพ่งอะไรต่าง ๆ ตามอย่างในคัมภีร์ที่แต่งกันใหม่ในชั้นหลัง ๆ โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตตผลของภิกษุปัญจวัคคีย์ หรือฤๅษี ๑๐๐๐ รูป ด้วยการนั่งฟังอนัตตลักขณสูตร และอทิตตปริยายสูตรด้วยแล้วจะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามหลักวิชาใด ๆ เลย แต่เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ ๆ.

    นี่เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดีว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้น ย่อมเกิดขึ้นเอง ในระหว่างที่ทำความพยายามเพื่อจะเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้ง และต้องมีอยู่มากในขณะที่มีความเห็นอันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัวอย่างไม่แยกจากกันได้. ทั้งยังเป็นไปได้ตามธรรมชาติ ในทำนองเดียวกันกับตัวอย่างที่ว่า พอเราตั้งใจคิดเลขลงไปเท่านั้น จิตก็เป็นสมาธิขึ้นมาเอง พอเราจะยิงปืน จิตก็เป็นสมาธิบังคับให้แน่วแน่ขึ้นมาเองในเวลาเล็ง


    นี่แหละเป็นลักษณะของสมาธิ ที่เป็นไปเองตามธรรมชาติสั่งตามปกติถูกมองข้ามไปเสีย เพราะมีลักษณะดูมันไม่ค่อยจะขลังจะศักดิ์สิทธิ์ ไม่ค่อยจะเป็นปาฏิหาริย์เป็นที่น่าอัศจรรย์.
    แต่โดยที่แท้แล้ว คนเรารอดตัวมาได้เป็นส่วนใหญ่ ก็โดยอำนาจของสมาธิ ตามธรรมชาตินี้เอง. แม้การบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์ ก็อาศัยสมาธิตามธรรมชาติ ทำนองนี้เป็นส่วนมาก

    ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย อย่าได้มองข้ามเรื่องของสมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติ.
    มันเป็นเรื่องที่เราอาจทำได้ก่อน หรือทำได้อยู่แล้วเป็นส่วนมาก. ควรจะประคับประคองมันให้ถูกวิธีให้มันเป็นไปด้วยดีถึงที่สุด ก็จะมีผลเท่ากัน. เหมือนกับผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไปแล้วเป็นส่วนมาก ซึ่งไม่เคยรู้จักนั่งทำสมาธิแบบใหม่ ๆ อย่างที่กำลังตื่น ๆ กันอยู่ในขณะนี้เลย.

    ทีนี้ เราก็มาถึง
    ความลับของธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับลำดับแห่ง ความรู้สึกต่าง ๆ ภายในใจ จนกระทั่งเกิดการเห็นแจ่มแจ้ง ตามที่เป็นจริงต่อโลกหรือต่อขันธ์ห้า. ลำดับแรกได้แก่ ปีติและปราโมทย์หมายถึงความชุ่มชื่นใจหรือความอิ่มเอมใจในทางธรรม. การที่เราทำความดีอย่างใดออย่างหนึ่งแม้การให้ทาน ซึ่งถือกันว่าเป็นบุญชั้นต้น ๆ ก็เป็นการทำให้เกิคปีติปราโมทย์ได้. ถ้าเป็นถึงขั้นศีล คือมีความประพฤติทางกายวาจา ไม่ด่างพร้อยจนถึงกับเคารพนับถือตัวเองได้ ปีติปราโมทย์ก็มากขึ้น. ถ้าหากไปถึงขั้นสมาธิจะเห็นได้ว่าในองค์ของสมาธิ อันดับแรกที่เรียกว่าปฐมฌานนั้น ก็มีปีติอยู่องค์หนึ่งด้วยโดยไม่ต้องสงสัย.

    ปีติปราโมทย์
    นี้ มีอำนาจอยู่ในตัวมันเองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิคความรำงับ (ปัสสัทธิ) ตามปกติจิตของคนเราไม่ค่อยจะรำงับ เพราะว่าจิตตกเป็นทาสของความคิดความนึกจากสิ่งยั่วยวนภายนอก หรือจากความรู้สึกในอะไรต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเป็นความฟุ่งอยู่ภายในไม่เป็นความสงบ แต่ถ้าหากมีปีติปราโมทย์ในทางธรรมมาประจำใจอยู่และมากพอสมควรแล้ว ความสงบระงับนั้นจะต้องมีขึ้น จะมีมากหรือน้อย ตามอำนาจของปีติปราโมทย์ที่มีมากหรือน้อย.

    เมื่อมีความรำงับแล้ว ก็ย่อมเกิดอาการที่เรียกว่า
    "สมาธิ" คือ ใจสงบนิ่งและอยู่ในสภาพที่คล่องสะดวกเบาสบายพร้อมที่จะไหวไปตามความต้องการ โดยเฉพาะก็เพื่อตัดกิเลส. ไม่ใช่ทำจิตใจให้นิ่งเงียบ ตัวแข็งทื่อเป็นก้อนหิน "กมมนีโย" คือพร้อมที่จะรู้ นี่คือลักษณะของสมาธิที่เราต้องการ ไม่ใช่อยู่ในฌานสมาบัติตัวแข็งทื่อ เหมือนตุ๊กตาหินไม่รู้สึกตัวเลย. อะไรทำนองนี้ก็หาไม่ ร่างกายจะต้องให้มีความรู้สึกอยู่อย่างปกติ แต่ว่าจิตสงบเป็นพิเศษเหมาะสมที่จะใช้นึกคิดพิจารณา มีความผ่องใสที่สุดเยือกเย็นที่สุด สงบระงับที่สุด เรียกว่า

    การอยู่ในฌานทำนองนั้น จะพิจารณาอะไรไม่ได้เลย. จิตที่ติดฌานจะพิจารณาธรรมไม่ได้ มีแต่จะตกลงสู่ภวังค์เสียเรื่อยไป ไม่สามารถนำมาใช้ในการพิจารณา จัดว่าเป็นอุปสรรคของการทำวิปัสสนาโดยตรงทีเดียว ผู้จะพิจารณาธรรมได้จะต้องออกจากฌานแล้วจึงพิจารณาโดยใช้อำนาจของการที่จิต มีสมาธิ ขนาดได้ฌานมาแล้วนั่นเองเป็นเครื่องมือ.

    ในการทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาตินี้
    เราไม่ต้องเข้าฌานชนิดที่ทำตัวเองให้แข็งทึ่อ แต่ว่าต้องการจิตที่สงบ เป็นสมาธิ ที่มีคุณสมบัติ "กม มนีโย" ครบถ้วนพร้อมที่จะรู้แจ้งจนเกิคความรู้ตามที่เป็นจริงต่อโลกทั้งหมด (ยถาภูตญาณทัสสนะ) โดยอาการตามธรรมชาติ ทำนองเดียวกันกับผู้รู้แจ้งขณะที่นั่งฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงธรรม หรือนำไปคิดพิจารณา ในที่เหหาะสมจนรู้แจ้ง ไม่มีพิธีรีตองหรือปาฏิหาริย์อันเป็นเรื่องความเห็นผิดเป็นชอบ หรือหลงใหลต่าง ๆ แต่อย่างใด.

    แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเกิดการเห็นแจ้งอย่างถูกต้องรวดเร็ว เป็นพระอรหันต์ทันทีก็หามิได้ ในบางกรณีอาจจะเกิคความรู้ขั้นต้น ๆ ก็ได้ แล้วแต่กำลังของสมาธิอีกเหมือนกัน ในบางกรณีอาจจะไม่เกิดเป็นความรู้ความเห็นตรงตามที่เป็นจริงก็ได้ เพราะว่าตนได้ศึกษามาอย่างผิด ๆ หรือถูกแวดล้อมอยู่ด้วยความเห็นที่ผิด ๆ มากเกินไป. แต่ออย่างไรก็ตาม ความรู้ความแจ่มแจ้งที่เกิดนั้นจะต้องพิเศษกว่าธรรมดา เช่นว่าใสแจ๋วลึกซึ่ง. หากความรู้นั้น เป็นไปถูกต้องตามความเป็นจริง คือเป็นไปตามทางของธรรมะแล้ว ก็ย่อมจะก้าวหน้าไปจนกระทั่งเป็นความรู้ ความเห็นในสังขารทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริง. ถ้าเกิดขึ้นเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เป็นอริยบุคคลชั้นต้นได้ หรือถ้าน้อยลงไปอีกก็เพียงแต่เป็นกัลยาณชน คือคนธรรมดาที่เป็นชั้นดีคนหนึ่ง .


    ถ้าหากว่ามีสิ่งแวคล้อมเหมาะสมและมีความดีต่าง ๆ ที่ได้เคยสร้างสมมาเต็มที่ อาจเป็นพระอรหันต์เลยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่เหตุการณ์. แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในขณะที่จิตเป็นสมาธิตามธรรมชาติ สิ่งที่เรียกว่า
    "ญาณทัสนะ" จะต้องเกิดและจะต้องตรงตามที่เป็นจริงไม่มากก็น้อย เพราะเหตุว่าพุทธบริษัทเรา ย่อมเคยได้ยินได้ฟัง ได้เคยศึกษาเรื่อง โลกขันธ์ สังขารทั้งหลายด้วยความอยากจะเข้าใจตามที่เป็นจริงมาแล้ว เพราะฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตสงบเป็นสมาธินั้น จึงไม่มีทางเสียหลายเลย ย่อมจะได้ประโยชน์เสมอโดยแน่นอน.

    คำว่า
    "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ในที่นี้ หมายถึงการรู้การเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ; เห็นว่า "ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น" ไม่ว่าอะไร ๆ ไม่ควรเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน ว่าของตัวของตน ว่าดี ว่าชั่ว น่ารักหรือน่าชังอย่างนี้เป็นต้น. ถ้ามีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในทางพอใจก็ตาม ไม่พอใจก็ตามมีเพียงแต่รู้สึกนึกคิดหรือระลึกถึงเท่านั้น ก็ยังถือว่าเป็นความยึดถือในที่นี้. ที่ว่าไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ก็มาจากหลักที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่ายึดถือนั่นเอง.

    ตัวอย่างในเรื่อง
    "เอา" ก็คือการปักใจในทรัพย์สมบัติเงินทอง สัตว์สิ่งของ อันเป็นที่พอใจต่าง ๆ การ "เป็น" ก็คือการถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นสามีภรรยา เป็นคนมั่งมี คนเข็ญใจ เป็นคนแพ้ คนชนะ กระทั่งเป็นมนุษย์ หรือเป็นตัวเอง. ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ่ง แม้ความเป็นคนนี้ไม่น่าสนุก น่าเอือมระอา เพราะเป็นที่ตั้งของความทุกข์.

    ถ้าไม่ยึดถือว่าเป็นคนเสียได้ ก็จะไม่เป็นทุกข์.นี้เรียกว่าเป็นความไม่น่าเป็น ซึ่งมีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ต้องมีความทุกข์ ตามแบบของความเป็นชนิดนั้น ๆ เพราะว่าความเป็นอะไร ๆ นี้ มันต้องทนเป็น ทนดำรงอยู่ ต้องมีการต่อสู้เพื่อให้ได้เป็นหรือเป็นอยู่ต่อไป อย่างน้อยที่สุดก็คือการต่อสู้ทางใจ ในการที่จะยึดถือเอาความเป็นอะไร ๆ ของตนไว้ให้ ได้ .

    เมื่อมีตน ก็จะต้องมีอะไรเป็นของ ๆ ตน
    ภายนอกตนออกไปอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้น จึงมีลูกของตน เมียของตน อะไร ๆ ของตนอีกหลายอย่าง กระทั่งมีหน้าที่แห่งความเป็นผัวเป็นเมีย ความเป็นนายเป็นบ่าว ความเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ของตนขึ้นมา ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นความจริงในข้อที่ว่า ไม่มีความเป็นชนิดไหน ที่จะไม่ต้องอาศัยความดิ้นรนต่อสู้เพื่อดำรงความเป็นนั้น ๆ ไว้ ความลำบากดิ้นรนต่อสู้นั้น ก็คือผลของการหลงใหลยึดถือสิ่งต่าง ๆ ด้วยความไม่รู้นั่นเอง.

    ถ้าไม่ให้เอาไม่ให้เป็นกันแล้ว จะอยู่กันได้อย่างไร ?
    นี่คงจะเป็นที่สงสัยอย่างใหญ่หลวง ของผู้ที่ไม่เคยคิดไม่เคยนึกในเรื่องนี้คำว่า "เอา" คำว่า "เป็น" ในที่นี้หมายถึงการเอาหรือการเป็นด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทาน ด้วยความยึดมั่นว่าน่าเอาน่าเป็น และใจก็เอาจริงเอาจังเป็นจริงเป็นจัง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องหนักใจ ร้อนใจ เจ็บใจ ช้ำใจ หรืออย่างน้อยก็เป็นภาวะหนักทางใจ นับตั้งแต่แรกไปและตลอดเวลาทีเดียว. เมื่อเรารู้ความจริงข้อนี้แล้ว ก็จะมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิต ไม่ให้ตกไปเป็นทาสของความมีความเป็น ด้วยอำนาจความยึดติด มีสติปัญูญาอยู่เหนือสิ่งต่าง ๆ.

    เมื่อเรารู้สึกอยู่ว่าโดยที่แท้มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเอาน่าเป็น หากแต่เรายังไม่สามารถถอนตัว ออกไปเสียจากความมีความเป็นนั้นได้ เราก็จำต้องมีสติรู้ตัวให้พอเหมาะสม ถ้าจะต้องเข้าไปเอาไปเป็น เราก็จะไม่เดือดร้อนเหมือนคนที่หลับหูหลับตาเข้าไปเอาหรือเข้าไปเป็น อย่างโง่เขลางมงาย ซึ่งผลสุดท้ายก็ตกหลุมตกบ่อ ความโง่-เขลาและอุปาทานของตัวเอง จนถึงกับต้องฆ่าตัวตาย. สมมติตัวอย่างว่า เสือหรืองูร้ายเป็นสิ่งที่ขายได้แพง ในเมื่อเราไม่มีทางอื่นจะประกอบอาชีพ เราจะต้องเข้าไปจับเสือมาขายอย่างนี้ มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่เราจะต้องเข้าไปจับเสือให้ถูกวิธี เราจึงจะได้เสือมาขายและได้เงินมาเลี้ยงชีวิต ถ้าผิดวิธีเราก็จะต้องตายเพราะเสือ


    โลกหรือสิ่งทั้งปวงมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่เป็นตัวตนของใคร. มันจะเล่นงานบุคคลผู้ที่เข้าไปยึดถือด้วยตัณหาอุปาทานนับแต่วาระแรก คือตั้งแต่เมื่ออยากได้อยากเป็น กำลังได้กำลังเป็นและได้แล้วเป็นแล้ว ตลอดเวลาแห่งกาลทั้งสาม. ใครเข้าไปยึดถืออย่างหลับหูหลับตาแล้วก็จะมีความทุกข์อย่างเต็มที่ เหมือนอย่างที่เราเห็นปุถุชนคนเขลาทั้งหลาย เป็น ๆ กันอยู่โดยทั่วไปในโลก .


    แม้ที่สุด
    "ความดี" ที่ใคร ๆ บูชากัน ถ้าหากว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับความดีในอาการที่ผิดทาง และยึดถือมากเกินไป ก็จะได้รับความทุกข์จากความดีนั้น ๆ เช่นเดียวกัน. เว้นไว้แต่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน โดยรู้ว่าธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้นเอง.

    อาจจะมีผู้สงสัย
    ต่อไปว่า "ถ้าไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นแล้วก็จะไม่มีใครประกอบการงานอะไร ๆ หรือไม่สามารถรักษาทรัพย์-สมบัติสิ่งของที่ตนมีอยู่ได้" ข้อนี้ถ้ามีความเข้าใจแล้ว ก็จะรู้ว่าเราควรมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงทำสิ่งต่าง ๆ ดีกว่าที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความมักมากอยากใหญ่ โง่เขลางมงายไม่เข้าใจอะไรเลย ใจความสั้น ๆ ก็คือ ให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ด้วยสติปัญญา อย่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน มันจะมีผลมันเป็นคนละอย่าง.

    พระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานไม่มีกิเลสตัณหาอุปาทานเลย ท่านก็ยังทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชนได้มากกว่าพวกเราเสียอีก. ดูจากพุทธประวัติว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงทำอะไรบ้าง ก็จะพบว่าท่านมีเวลานอนพักผ่อนเพียง ๔ ชั่วโมง นอกนั้นทำงานตลอดหมด. พวกเรานั่งพักเล่นเสียก็มากกว่า ๔ ชั่วโมงแล้ว. นี่ท่านทรงทำไปเพราะอำนาจของอะไร ในเมื่อกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้อยากเป็น อยากเอาสิ่งต่าง ๆ ก็หมดไปแล้วนั่นท่านทำไปด้วยอำนาจของสติปัญญาบวกกับเมตตา.


    แม้สิ่งที่เป็นไปตามความต้องการของร่างกายตามธรรมชาติเช่นท่านจะต้องไป บิณฑบาต อาหารฉันเหล่านี้ท่านก็ยังคงทำไปด้วยอำนาจของปัญญา ไม่มีกิเลสไม่มีตัณหาว่าจะมีชีวิตอยู่ เพื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อเอาอย่างนี้แต่มีปัญญาความรู้จักผิดชอบชั่วดีเป็นกำลังส่งร่างกายให้ออกไป แสวงหาอาหาร หาได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร .


    ในกรณีเจ็บไข้ ก็มีปัญญารู้ว่า ควรจะแก้ไขอย่างไรท่านก็ แก้ไขเท่าที่ปัญหามี. ถ้าเป็นมากเกินไป ก็จำต้องตายเป็นธรรมดา เพราะว่าท่านมีความขวนขวายน้อย ความอยู่หรือความตายไม่มีความหมายสำหรับท่านเลย หรือมันมีค่าเท่ากัน. นับว่าเป็นความคิดเห็นอันถูกต้องที่สุด สำหรับจะไม่ให้มีความทุกข์เลย ไม่ต้องมีตัวตนเป็นเจ้าของ มีแต่สติปัญญา นำร่างกายให้เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ.


    นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงอำนาจของปัญญาบริสุทธิ์เมตตาบริสุทธิ์เท่านั้น ก็ทำให้พระอรหันต์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่ในโลกได้และทำประโยชน์ให้แก่ผูอื่น อย่างบริสุทธิ์ได้มากกว่าคนที่ยังมีกิเลสตัณหาเสียอีก. คนที่มีกิเลส ย่อมทำแต่สิ่งที่จะได้อะไรแก่ตัว เพราะความเห็นแก่ตัว ส่วนท่านทำไปด้วยความไม่เห็นแก่ตัวเลย ฉะนั้นจึงมีผลมากกว่ากัน บริสุทธิ์กว่ากันทำนองนี้


    ความอยากเอา อยากเป็นนี้ เป็นความโง่อย่างยิ่งชนิดหนึ่ง เป็นความหลงผิด ไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า อะไรเป็นอะไรจนกระทั่งไปคว้าเอากงจักรมาเป็นดอกบัว เพราะฉะนั้นขอให้เราทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยสติปัญญา ที่รู้ตัวอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นหรือน่าหลงใหลยึดถือดังกล่าว แล้วจงทำไปให้พอเหมาะพอสมกับที่รู้ว่า สิ่งเหล่านั้น มีความไม่น่าเอาหรือไม่น่าเป็นอยู่ตามธรรมชาติ เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องให้ถูกวิธีและให้พอเหมาะพอสมในเมื่อเรายังต้องเกี่ยวข้องอยู่ ข้อนี้เป็นการทำใจของเราให้สะอาด สว่างไสวแจ่มแจ้ง สงบเย็นอยู่เสมอ แล้วเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลก หรือสิ่งทั้งปวงด้วยอาการที่จะไม่เป็นพิษเป็นโทษแก่เรา.


    ความไม่น่าเอาไม่น่าเป็นนี้ ชาวโลกธรรมดาฟังดูแล้วชวนให้ไม่น่าเชื่อไม่น่าเลื่อมใส แต่ถ้าใครเข้าใจความหมายที่แท้จริงของมันแล้ว กลับจะทำให้เกิดความกล้าหาญร่าเริง คือมีจิตเป็นนายเป็นอิสระต่อสิ่งทั้งปวง ทำให้สามารถเข้าไปหาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความมั่นใจว่า จะไม่ตกเป็นทาสมัน คือไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอำนาจของกิเลสตัณหาหน้ามืดจนกลายเป็นทาสของมัน.


    คนเรากำลังเอาอะไรอยู่ก็ตาม กำลังเป็นอะไรอยู่ก็ตามขอให้รู้จักตัวอยู่เสมอว่า เรากำลังเอาหรือเป็นในสิ่งซึ่งที่แท้แล้วเอาไม่ได้ เป็นไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรที่เอาได้จริงเป็นได้จริง ตามต้องการของเรา เพราะมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเราของเราอยู่ตลอดเวลา.
    เราเองเข้าไปยึดมั่นด้วยกิเลสตัณหาบ้า ๆ บอ ๆ ของเราเองต่างหาก ฉะนั้นเราจึงทำกับสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกตรงกับที่มันเป็นจริง. นี่เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ตามที่เป็นจริงนั่นเองจึงต้องเกิด ความทกข์ยุ่งยากขึ้นทุกอย่างทุกประการ.

    คนแต่ละคน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนให้บริสทธิ์ผุดผ่อง ก็เพราะว่าอยากเอาอะไร อยากเป็นอะไรเกินขอบเขตเพราะอำนาจของกิเลสตัณหาของตนเองเสียเรื่อย จึงไม่สามารถดำรงตน ให้อยู่ในสภาพที่เป็นความดี ความงาม ความถูกต้องและความยุติธรรม มูลเหตุ แห่งความหายนะของทุกคน มันอยู่ที่การตกเป็นทาสของตัณหา เพราะฉะนั้น การรู้จักสิ่งทั้งปวงให้ถูกต้องตามที่มันเป็นจริง(ยถาภูตญาณทัสสนะ) จึงเป็นใจความสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา. นี้เป็นทางให้เราเอาตัวรอดกันได้โดยมาก ไม่ว่าในเรื่อง ผลประโยชน์ทางโลก ๆ ซึ่งหวังผลเป็นทรัพย์สมบัติชื่อเสียง หรือว่าเพื่อหวังประโยชน์ในโลกหน้าเช่น สวรรค์ หรือเรื่องที่พ้นจากโลกขึ้นไป คือเรี่องมรรคผลนิพพานก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ต้องอาศัยความรู้ความเห็นอันถูกต้องทำนองนี้ทั้งนั้น.


    เราทุกคนจะรุ่งเรืองได้ด้วยปัญญา. พระพุทธเจ้าได้ตรัสอยู่บ่อย ๆ ว่า คนเราบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยอย่างอื่น. ทางรอดของเราอยู่ที่ปัญญา เห็นแจ่มแจ้งในสิ่งทั้งปวงว่า ไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ คือน่าเอาน่าเป็นด้วยการมอบกายถวายชีวิตเลย. ที่มีอยู่แล้วที่เป็นอยู่แล้ว ก็ขอให้เป็นไปตามสมมุติของทางโลก ๆ ที่สมมุติว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่กัน ก็เพื่อจะให้รู้จักชื่อรู้จักเสียงรู้จักแบ่งหน้าที่การงานกัน เพื่อความสะดวกในสังคม


    เราอย่าไปหลงยึดถือว่า ตัวเราเป็นนั่นเป็นนี่ไปตามที่เขาสมมุติให้เลย มันจะมีลักษณะเหมือนกับการถูกมอมดังสัตว์เล็ก ๆ เช่นจิ้งหรีดเป็นต้น ซึ่งเมื่อถูกมอมหน้า ถูกทำให้มึนงงแล้ว มันก็จะกัดกันเองจนตาย. คนเรานี่แหละถ้าถูกมอมหรือถูกหลอกมาก ๆ ก็จะมึนเมาจนทำสิ่งที่ตามปกติมนุษย์ธรรมดาสามัญทำไม่ได้ เช่น ฆ่ากัน เป็นต้น ฉะนั้น เราอย่าไปหลงติดสมมุติ แต่พึงรู้สึกตัวว่า นั่นเป็นเรื่องสมมุติ ซึ่งเป็นของต้องมีในสังคม เราจะต้องรู้สึกโดยแท้จริงว่า กายกับใจนี่คืออะไร ธรรมชาติที่แท้จริงของมันเป็นอย่างไร โดยเฉพาะก็คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง ส่วนเรานั้นจะต้องดำรงตนอยู่ในลักษณะที่เป็นอิสระอยู่เสมอ.


    สำหรับทรัพย์สมบัติหรืออะไร ๆ ที่เราจำเป็นจะต้องมี
    ก็ขอให้เห็นว่าเป็นของสมมุติอีกเหมือนกัน. จะปล่อยไว้ตามประเพณีที่มีอยู่ว่า นี่เป็นของคนนี้ นี่บ้านคนนี้ นี่นาคนนั้น เป็นต้น. กฏหมายคุ้มครองกรรมสิทธี์ไว้ให้ ไม่ใช่เพื่อมาเป็นนายอยู่เหนือใจเรา. เมื่อเรามีความรู้แจ้งออย่างนี้ สิ่งต่าง ๆ ก็จะลงไปอยู่เป็นบ่าวเป็นทาสเราและเราก็อยู่เหนือมัน.

    ถ้าเรารู้สึกไปในทางมีตัณหาอุปาทาน จะมีอะไรเป็นอะไรด้วยจิตใจที่ยึดถือเหนียวแน่นแล้ว มันจะขึ้นมาอยู่เหนือศีรษะเรา แล้วเราก็จะกลับลงไปเป็นบ่าวเป็นทาสอยู่ใต้มัน. มันกลับกันอยู่อย่างนี้จึงเป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวัง ให้เป็นไปในลักษณะที่เรายังคงเป็นอิสระ อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง. มิฉะนั้นแล้ว เราเองจะต้องตกอยู่ในสถานะที่น่าสงสารที่สุด เราควรสมเพชตัวของเราเองกันไว้บ้าง.


    เมื่อเห็นจริงว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็นอย่างนี้แล้ว
    ความ เบื่อหน่าย (นิพพิทา) ก็เป็นดังที่จะเกิดขึ้นติดตามมา ตามส่วนสัดของการเห็นแจ้ง. นี่หมายความว่ามีการคลอนแคลนสั่นสะเทือนเกิคขึ้นแล้ว ในการเข้าไปหลงยึดถึอ. หรือเปรียบเหมือน เมื่อเราต้องตกเป็นทาสเขามานาน จนมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น ก็มีการเคลื่อนไหวไปในทางที่จะต้องเปลื้องตนออกจากความเป็นทาส. นี่เป็นลักษณะของนิพพิทา คือเบื่อหน่าย เกลียดความเป็นทาสขื้นมาแล้ว หน่ายต่อความที่ตนหลงเข้าไปยึดเอาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจว่า น่าเอา น่าเป็นนั่นเอง.

    ครั้งพอมีความเบื่อหน่ายแล้ว โดยอัตโนมัติตามธรรมชาตินั่นเอง ย่อมจะมีความจางหรือคลายออก (วิราคะ) เหมือนกับเชือกที่ผูกมัดไว้แน่น ถูกแก้ออกหรือเหมือนสีน้ำย้อมผ้าที่ติดแน่น เอาแช่น้ำยาบางอย่างทำให้มีมันหลุดออก ความยึดถือที่คลายออก จางออกจากโลกหรือจากสิ่งทั้งปวงที่เคยยึดถือนี้ ท่านเรียกว่า "วิราคะ" ระยะนี้ถือว่าสำคัญที่สุดแม้จะไม่ใช่ระยะสุดท้าย แต่ก็เป็นระยะที่สำคัญที่สุดของความหลุดพ้น เพราะว่าเมื่อมีการคลายออกจางออกดังนี้แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลย สิ่งที่เรียกว่าความหลุดออกจากทุกข์ (วิมุตติ) จะต้องมีโดยแน่นอน.

    เมื่อหลุดออกมาได้จากความเป็นทาส ไม่ต้องเป็นทาสของโลกอีกต่อไป ดูจะมี
    อาการบริสุทธิ์ (วิสุทธิ) . ในที่นี้หมายความว่าไม่เศร้าหมอง ก่อนนี้เศร้าหมองทุกทางเพราะการเข้าไปจมเป็นทาสของสิ่งทั้งหลาย เป็นความเศร้าหมองที่กายวาจาใจ หรือจะมองกันในแง่ไหน ๆ ก็เป็นเรื่องความเศร้าหมองทั้งนั้น ต่อเมื่อหลุดพ้นออกมาจากวามเป็นทาส ในรสอร่อย ๆ ของโลกแล้วจึงจะอยู่ในลักษณะที่บริสุทธิ์ คือไม่เศร้าหมองอีกต่อไป.

    เมื่อมี
    ความบริสุทธิ์แท้จริง อย่างนี้แล้ว ก็จะเกิดความสงบสันติอันแท้จริงสืบไป เป็นความสงบเย็นจากความวุ่นวาย จากการรบกวนหรือจากการต่อสู้ดิ้นรนทนทรมานต่าง ๆ. เมื่อปราศจากการเบียดเบียนวุ่นวายเหล่านี้แล้ว ท่านสรุปเรียกความเป็นอย่างนี้ว่า "สันติ" คือความสงบระงับดับเย็นของสิ่งทั้งปวง. มันแทบจะเรียกได้ว่าถึงขั้นสูงสุดหรือขั้นเดียวกันกับนิพพาน. แท้ที่จริงสันติกับนิพพานนั้น เกือบจะไม่ต้องแยกกัน. ที่แยกกันก็เพื่อจะให้เห็นว่าเมื่อสงบแล้ว ก็นิพพาน.

    นิพพาน แปลว่าไม่มีเครื่องทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่งแปลว่าความดับสนิทไม่มีเหลือ ฉะนั้น คำว่านิพพานจึงมีความหมายใหม่ ๆ เป็น ๒ ประการ คือดับไม่มีเชื้อเหลือสำหรับจะเกิดมาเป็นความทุกข์อีกต่อไป นี่อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปราศจากความทิ่มแทง ความเผาลนปราศจากความผูกพันร้อยรัดต่าง ๆ ทุกอย่างทุกประการรวมความแล้ว ก็แสดงถึงภาวะที่ปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง.

    นิพพานยังมีความหมายที่มุ่งใช้ต่าง ๆ กันอีกหลายอย่าง เช่นหมายถึง การดับของความทุกข์ก็มี หมายถึงการดับของกิเลสอย่างหมดสิ้นก็มี หมายถึงธรรมหรือเครื่องมือหรือเขตแดน หรือสภาพอันใดอันหนึ่งที่ทุกข์ทั้งปวง กิเลสทั้งปวงสังขารทั้งปวง ดับไปหมดสิ้นก็มี.


    แม้จะมีคำว่า "นิพพาน" ใช้กันอยู่ในลัทธิศาสนาหลาย ๆ ลัทธิก็ตาม (แต่ความหมายไม่เหมือนกันเลย เช่นลัทธิหนึ่งก็ถือเอาความสงบเย็น เพราะการที่ได้ฌาณ ได้สมาบัติว่าเป็นนิพพาน บางลัทธิถือความมัวเมาอยู่ในกามารมณ์กันอย่างเพียบพร้อมว่าเป็นนิพพาน. พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธนิพพานในความหมายเช่นนี้ทรงระบุความหมายของพระนิพพาน เพียงในลักษณะที่เป็นภาวะอันปราศจาก ความทิ่มแทงร้อยรัดแผดเผาของกิเลส และความทุกข์เพราะการได้เห็นสภาวะโลก เห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงจนหยุดความอยาก ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ เสียได้ ดังนี้.


    เพราะฉะนั้น เราจึงควรเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของการที่เห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามเป็นจริง และควรพยายามให้เกิดมีขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กล่าวคือทางที่จะเป็นไปเองตามธรรมชาติโดยการประคับประคองให้ดี ทำจิตใจให้มีปีติปราโมทย์ มีการเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออกทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เเสมอ จนกระทั่งเกิดคุณธรรมต่าง ๆ ตามลำดับที่กล่าวแล้วนี้วิธีหนึ่ง. ส่วนอีกวิธีหนึ่งนั้นเป็นการเร่งรัดด้วยอำนาจจิตบังคับ คือไปศึกษาและปฏิบัติตามหลักวิธีของการทำสมาธิ หรือการเจริญวิปัสสนาโดยเฉพาะ. สำหรับผู้ที่มีอุปนิสัยเหมาะสม ก็อาจก้าวหน้าไปได้เร็ว ในเมื่อทำถูกวิธีและถูกกับสิ่งแวดล้อม.


    แต่วิปัสสนาตามธรรมชาตินั้น เราทำได้ทุกโอกาสทุกขณะเพียงระวังให้การเป็นอยู่ประจำวันของเรา บริสุทธิ์ผุดผ่องจนเกิดความอิ่มใจในทางธรรมะ มีความสงบรำงับแห่งจิต มีความรู้ตามที่เป็นจริงต่อสิ่งทั้งหลาย เกิดความเบื่อหน่ายความคลายออกความหลุดออกมีความบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ความสงบเย็น ถึงภาวะที่ปราศจากความทุกข์อย่างชิมลองน้อย ๆ เรื่อย ๆ ไปตามธรรมชาติ ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ก็จะใกล้ชิดนิพพานอย่างแท้จริงได้มากขึ้น ๆ.


    สรุปความว่า สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ ที่ทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลนั้น ต้องอาศัยการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า "ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น" อยู่เป็นประจำวันทุกวัน. ผู้หวังจะได้ผลอันนี้ จะต้องพยายามทำตนให้เป็นคนสะอาดมีอะไรเป็นที่พอใจตัว จนยกมือไหว้ตัวเองได้ มีปีติปราโมทย์ตามทางธรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าในเวลาปฏิบัติหน้าที่หรือเวลาพักผ่อนปีติปราโมทย์นั่นเองจะทำให้เกิด ความแจ่มใส สดชื่น มีใจสงบรำงับ เป็นเหตุให้จิตมีสมรรถภาพ ในการคิดค้นตามธรรมชาติอยู่อย่างอัตโนมัติเกิดความเป็นจริงว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอ ขณะใดเป็นไปอย่างแรงกล้า จิตก็หน่ายคลายความอยากไปเอง ไม่มีความหลง อยากในสิ่งใดด้วยกิเลสตัณหาอีกต่อไป ความทุกข์ซึ่งไม่มีที่ตั้งอาศัยก็สิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงที่สุด แห่งการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว นับว่าเป็น
    ของขวัญที่ธรรมชาติมีไว้ให้ สำหรับคนทุกคนโดยแท้จริง.


    [​IMG]


    ที่มา mindcyber.com!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤษภาคม 2010
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  3. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    E-book คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    การทำให้รู้แจ้ง ด้วยวิธีธรรมชาติ ทำได้ยากในปัจจุบัน
    ยังไงก็ต้องทำสมาธิเพิ่ม เพื่อส่งเสริมแนวธรรมชาติ
    สมัยนี้ ไม่เหมือนสมัยพุทธกาล ในแง่ของพื้นฐานด้านจิตใจของคน...
     
  5. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
  6. Novice in con

    Novice in con สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความดีดีอย่างนี้ ทำให้ได้คามรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    :cool::cool::cool:<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...