คุณและโทษของกาม - หลวงพ่อถาวร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 3 มิถุนายน 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    ธรรมกถา พระพิสาลพัฒนาทร ( ถาวร จิตฺตถาวโร )<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#0000FF--><!--/coloro-->๙๙๙ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ถนนพระราม ๑
    แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐<!--colorc-->
    <!--/colorc-->


    คุณและโทษของกาม
    <!--coloro:#8B0000--><!--/coloro-->

    โก จ ภิกฺขเว กามานํ อสฺสาโทฯ
    ภิกษุทั้งหลาย อะไรคือความพอใจของกามทั้งหลาย<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF00FF--><!--/coloro-->กาม แปลว่า ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่<!--colorc--><!--/colorc-->

    กาม ได้แก่
    ๑) วัตถุกาม คือกามคุณ ๕

    ๒) กิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุใคร่ เช่น ฉันทะความพอใจ ราคะความกำหนัดยินดี และ

    ๓) กามภพ คือความมีความเป็นที่เนื่องด้วยกาม,
    ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกามหรือโลกเป็นที่อยู่อาศัยของผุ้เสพกาม ได้แก่

    อบายภูมิ ๔ มนุษยโลกและสวรรค์ ๖ ชั้น
    ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกาถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตีรวม ๑๑ ชั้น

    คุณ คือ ความดีที่ประจำอยู่ในสิ่งนั้นๆ หรือความเกื้อกูล

    <!--coloro:#9932CC--><!--/coloro-->โทษ คือความชั่ว, ความไม่ดี, ความผิด, ความประทุษร้าย, บาป, ผลร้าย<!--colorc--><!--/colorc-->

    จะได้กล่าวถึงคุณของกามว่ามีอะไร อย่างใดบ้างต่อไป
    ในมหาทุกขักขันธสูตร สีหนาทวรรค มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย คือ กามคุณ ๕ ประการนี้

    กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ๑. รูป ที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

    ๒. เสียง ที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

    ๓. กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

    ๔. รส ที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

    ๕. โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

    กามคุณมี ๕ ประการนี้แล

    <!--coloro:#A0522D--><!--/coloro-->การที่มีความสุขและความโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้
    ชื่อว่าเป็นคุณแห่งกามคุณทั้งหลาย (กามคุณ) (ม.มู.๑๒/๑๙๗/๑๖๘)<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    อธิบายความว่า กามทั้งหลายหมายถึง
    กาม ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

    <!--coloro:#FF00FF--><!--/coloro-->กามคุณ ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดสุขและโสมนัสได้
    จึงเรียกว่ากามคุณ ๕ หรือคุณของกาม ๕ อย่าง<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF8C00--><!--/coloro-->“ดูก่อนอานนท์! กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
    กามคุณ ๕ คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้เกิดความกำหนัด; เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องสัมผัสได้) ที่พึงได้รู้ทางหู, จมูก, ลิ้น, และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF8C00--><!--/coloro-->ดูก่อนอานนท์! นี้แลคือกามคุณ ๕
    ดูก่อนอานนท์! ความสุขทางกาย สุขทางใจ อันใดที่พึงเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
    ความสุขกาย สุขใจนี้นั้นเรียกว่า กามสุข (ความสุขที่เกิดจากกาม)” <!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#A0522D--><!--/coloro-->(สํ. ฉฬา.๑๘/๔๑๓/๒๗๘)<!--colorc--><!--/colorc-->

    - ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแห่งรูปทั้งหลาย เป็นคุณแห่งรูป
    - เสียงดี ไพเราะ สุภาพ ไม่กระด้าง และกักขฬะ เสียงมีกังวาล เป็นคุณของเสียง
    - กลิ่น ที่แต่ละคนชอบและพอใจ เป็นคุณของกลิ่น
    - รส คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้นโดยเฉพาะเช่น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม รสชาติ รสตัณหา
    รสนิยม รสสวาท รสสัญญา (ความหมายรู้รส) เป็นคุณของรส
    - โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มาถูกต้องกาย ได้แก่สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยกาย สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย
    แล้วเกิดความรู้สึกเย็น ร้อน อบอุ่น หรือเฉยๆ เป็นคุณของโผฏฐัพพะ

    ต่อไปจะได้กล่าวถึงโทษของกาม (กามาทีนพ)

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    <!--coloro:#FF8C00--><!--/coloro--> “ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย” <!--colorc--><!--/colorc-->

    คือ พระพุทธองค์ทรงแสดงการต้องประกอบอาชีพต่างๆ เช่น
    การพานิชยกรรม การกสิกรรม การรับราชการ ต้องลำบากตรากตรำ
    อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย เป็นต้น

    การที่เพียรพยายาม แต่เมื่อไม่ได้ผลต้องโศกเศร้า เสียใจ
    เมื่อได้ผลแล้วก็ต้องทุกข์กาย ทุกข์ใจ เนื่องด้วยการอารักขาสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นเพื่อมิให้เป็นอันตราย

    เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นก็โศกเศร้าเสียใจ ทะเลาะวิวาทกับคนทั้งหลาย
    แล้วทำร้ายร่างกายกัน ใช้อาวุธทำสงครามฆ่าฟันกัน ก่อสร้างป้อม ถูกลงโทษทรมานต่างๆ
    เพราะทำความผิด เช่น ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม เป็นต้น

    <!--coloro:#8B0000--><!--/coloro-->ที่มีกามเป็นเหตุว่าแต่ละอย่างเหล่านี้เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ที่เห็นทันตา
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ผู้ได้รับผลก็เป็นทุกข์ เนื่องจากเหตุแห่งการรักษาคุ้มครอง
    ผู้ทำงานแต่ไม่ได้รับผลก็เป็นทุกข์ กลัวภัยต่างๆ จะเกิด เช่น
    โจรภัย ราชภัย อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น

    นอกจากนี้ กามทั้งหลายยังเป็นเหตุให้เกิดโทษต่างๆ เช่น
    เกิดการยื้อแย่งแข่งกันในการต้องการคนที่มีรูปสวย นักร้องเสียงดี
    เกิดการทะเลาะวิวาทถึงกับฆ่ากันก็มี

    <!--coloro:#0000FF--><!--/coloro-->ผู้ดีทะเลาะกับผู้ดี นักปกครองทะเลาะกับนักปกครอง
    พราหมณ์ทะเลาะกับพราหมณ์ พ่อค้าทะเลาะกับพ่อค้า
    แย่งความเป็นเจ้าของในคนงาม คนสวย เห็นกันอยู่ในสังคมทั่วๆ ไป <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ตลอด จนการทะเลาะกันภายในครอบครัว สามีไปมีเมียน้อย ภรรยาเล่นชู้ เป็นเหตุให้ประหัตประหารฆ่าฟันกัน ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและถึงแก่ชีวิตก็มี ทั้งหมดนี้ก็เพราะกามเป็นเหตุ

    <!--coloro:#0000FF--><!--/coloro-->ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็เพราะกามเป็นเหตุ
    เห็นผิดเป็นถูก ครั้นประพฤติทุจริตต่างๆ ดังกล่าวแล้ว
    หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    นี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ <!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#A0522D--><!--/coloro-->(ม.มู.๑๒/๑๖๙)<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF00FF--><!--/coloro-->คุณของกามหรือกามคุณเป็นสิ่งดีสำหรับปุถุชน <!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#FF8C00--><!--/coloro-->แต่เป็นโทษสำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล <!--colorc--><!--/colorc-->

    เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงกำจัดฉันทราคะในกามคุณทั้งหลายเสีย

    ---------------------------------------------------------------
    ขอขอบคุณ
    http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=8490
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    กราบอนุโมทนา สาธุ
    ในการเผยแพร่พระธรรมด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...