คุณวิเศษเบื้องต้น ไม่ได้เกิดจากการอ้อนวอน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tokyoo2, 5 พฤษภาคม 2013.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถ
    บิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
    โดยยากในโลก
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุขะ ๑ ยศ ๑ สวรรค์
    ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ฯ

    ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก เรามิได้
    กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา ถ้าธรรม ๕
    ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก จักได้เพราะเหตุแห่งความ
    อ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร?

    ดูกรคฤหบดี
    อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุ
    อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไป
    เพื่ออายุ ที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุที่
    เป็นของทิพย์ หรือ เป็นของมนุษย์

    อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ
    อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไป
    เพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

    อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข !
    อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์หรือของมนุษย์

    อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือแม้เพราะเหตุแห่งยศ !
    อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศอริยสาวกนั้น ย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์

    อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้เพราะเหตุแห่ง
    สวรรค์อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทาอัน
    เป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้น
    ย่อมได้สวรรค์ ฯ

    ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
    และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย
    ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว
    ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์
    ในสัมปรายภพ(ภพหน้า) ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุถึงประโยชน์
    ทั้งสองนั้น ฯ
    จบสูตรที่ ๓
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แม้ใน ท่ามกลาง ก็ไม่เกิดจากการอ้อนวอน

    อันตาหิ อัตโนนาโถ

    อัตตาทีปะ อัตตะสรณา
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    (เรื่องเล่าของตถาคต ภาคย่อ) ตั

    ทฬิททสูตรที่ ๔
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
    เขตพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย!
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครราชคฤห์นี้แล
    ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็นมนุษย์ขัดสนเป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ ยากไร้ เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะปัญญา(สัมปทา5) ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วครั้นเขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ได้อุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วย รัศมี(วรรณะ)และยศ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากัน
    ยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นักดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์
    กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เมื่อแตกกายตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็น
    สหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้นแลท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่าน
    ทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แลเมื่อยังเป็น
    มนุษย์อยู่ในกาลก่อน ยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
    ทรงประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะจาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
    ประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลงจึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทวดา
    ชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ฯ
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    (ภาคเต็ม)



    ๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร
    [๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้
    พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็นโรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ
    เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่
    ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้
    มีความดำริว่าหมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้
    ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือควรบริโภคในหมู่มหาชนนี้เป็น
    แน่ ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคแวดล้อม
    ด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่ง
    ของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะโคดมนี้ทรงแสดงธรรมอยู่ใน
    บริษัท ถ้ากระไร แม้เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัทนั้นเอง ด้วย
    คิดว่าแม้เราก็จักฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดใจของบริษัททุกหมู่เหล่าใด
    ด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรจะรู้แจ้งธรรม
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นสุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้นครั้นแล้วได้ทรงพระดำริว่า ในบริษัท
    นี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถา
    ศีลกถา สัคคกถาโทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ
    เมื่อใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์เฟื่องฟู ผ่องใส
    เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์
    เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่
    สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้นแลว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมี
    ความดับเป็นธรรมดาเหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ
    [๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรม
    อันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากความเคลือบแคลง
    บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ
    ทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศโดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนหงาย
    ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มี
    จักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรม
    และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
    สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
    ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้งให้สมาทาน
    อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไปครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิ
    ผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
    ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
    อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็น
    อย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็น
    บัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรมเป็นเหตุ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความ
    ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ
    [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สุปปพุทธกุฏฐิเป็นมนุษย์ขัดสน
    กำพร้า ยากไร้ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปปพุทธ
    กุฏฐิเป็นเศรษฐีบุตรอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่เล่นในสวน ได้เห็น
    พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขีกำลังเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนคร ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่
    เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขาถ่มน้ำลายแล้วหลีกไปข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นปีเป็น
    อันมาก สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะผลแห่งกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึง
    ได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคต
    ประกาศแล้ว สมาทานศรัทธาศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคต
    ประกาศแล้วสมาทานศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    เป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดาเหล่าอื่นในชั้น
    ดาวดึงส์นั้นด้วยวรรณะและด้วยยศ ฯ


    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    """"บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ
    เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น
    """"""""""
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    สรกานิวรรคที่ ๓
    มหานามสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม
    [๑๕๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้น
    สักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทรงกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก
    แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลาย
    ผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับ ช้าง ม้า
    รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ สมัยนั้นหม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม
    พระสงฆ์ หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะเป็นอย่างไร
    อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร?

    [๑๕๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อย่ากลัวเลยๆ การ
    สวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูกร
    มหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน
    กายนี้ของผู้นั้น มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุก
    และขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี นวดฟั้น และมีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็น
    ธรรมดา พวกกา แร้ง นกตะกรุม สุนัข สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์ต่างชนิด ย่อมกัดกินกายนี้
    แหละ ""ส่วนจิตของผู้นั้นอันศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา อบรมแล้วตลอดกาลนาน ย่อม
    เป็นคุณชาติไปในเบื้องบนถึงคุณวิเศษ.""
    [๑๕๐๙] ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษลงไปยังห้วงน้ำลึกแล้ว พึงทุบหม้อเนย
    ใสหรือหม้อน้ำมัน สิ่งใดที่มีอยู่ในหม้อนั้นจะเป็นก้อนกรวดหรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลง
    สิ่งใดเป็นเนยใสหรือน้ำมัน สิ่งนั้นจะลอยขึ้นถึงความวิเศษ ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งอันที่อบรม
    แล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ... ส่วนจิตของผู้นั้นซึ่งอบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาล
    นาน ย่อมเป็นคุณชาติไปในเบื้องบน ถึงคุณวิเศษ ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร มหาบพิตร
    อย่ากลัวเลยๆ การสวรรคตอันไม่ลามกจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่ลามกจักมีแก่มหาบพิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2013
  6. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ว่าด้วย มรรค เเละ ปฏิปทา
    เมื่อจิตที่อบรมเเล้วด้วย สัมปทาทั้ง5
    สามารถเลือกสถานที่ให้จิตไปได้ ทุกชั้นภูมิ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
    ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข
    เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา
    เถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
    อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

    ^
    (จะเหมือนเป็นการอ้อนวอน เเต่ว่าพระองค์เรียกว่าเป็น ปฏิปทา ไม่ได้อ้อนวอน ต้องสร้างเหตุให้ถูกต้อง)
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทำอะไรอยู่ คัฟฟ คุณ ขนมโตเกียว

    หา อรรถสาระของคำว่า " คุณวิเศษ " อยู่เหรอ

    หามาตั้งหลายอันแล้ว อันตัวข้าพเจ้านี้ก็หาได้เห็นว่า มีอรรถกถา หรือ
    พระสูตรใด ใช้คำ คุณวิเศษ ไปในทาง บรรลุความเป็นอริยเจ้าเลย

    อย่างเรื่อง คนธรรพ์ อะไรนั่น ก็ไป เกิดเป็น พรหมปุโรหิต ซึ่งก็เป็น
    พรหมที่ต่ำกว่า " สุธทาวาส " บางกระทู้ในเน็ท อาจจะเขียน
    ระบุว่า คนธรรพ์ทั้งสองได้อนาคามีผล เพราะ ไปสังเกตุเอาคำว่า
    ตัดสังโยชน์(คำบาลีไม่ได้ใช้คำว่า ปหาน ใช้แค่ นิ เพื่อเป็นการบอก
    ว่าไม่มี ไม่กำเริบ) ก็เลยแปลความไปว่า ได้อนาคามีผล

    แต่.....อนาคามีผล ต้องได้ สุธทาวาส แต่ นี่ไป ปุโรหิต ต๊อกต๋อยเกิด
    กว่าจะเป็นเคสของ อนาคามี .......

    ดังนั้น ยังไม่ควรไปสรุปว่า คุณวิเศษที่คนธรรพ์ได้ คือ อริยะผลอะไร


    ************

    " การเคารพธรรม " " การแนบแน่นในธรรม "

    มันไม่ใช่เรื่อง เอาสมองไปซับคำพูดคำทำแล้วกลืนกินเอาไว้หน่า

    การเคารพ ต้องเป็น กริยาอาการ เป็นเรื่องของ การปฏิบัติ มีพฤติกรรม

    การเคารพคำสอน เนี่ยะ ในเชิง พฤติกรรม ก็คือ น้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดผล

    ต้องเกิดผลด้วยนะ ไม่ใช่ น้อมนำไปปฏิบัติเพื่อ เล่นละคร ไปวันๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...