คำสอนหลวงพ่อสด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สุริยันจันทรา, 3 กันยายน 2007.

  1. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    [​IMG]

    หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี<O:p</O:p

    (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)<O:p</O:p



    <O:p</O:p
    จิตของตัวที่เดิมอาบในลูกที่เกิดในอกของตนนั่นแหละ จำได้รสชาติใจนั้นแน่ เอาใจดวงนั้นแหละ เอาไปรักใคร่เข้าในบุคคลอื่นทุกคน เหมือนกับลูกของตน ให้มีรสมีชาติอย่างนั้น ถ้ามีรสมีชาติอย่างนั้นละ เมตตาพรหมวิหารของตนเองป็นแล้ว เมื่อเมตตาพรหมวิหรเป็นขึ้นเช่นนี้ แล้วอัศจรรย์นัก ไม่ใช่พอดีพอร้ายให้ใช้อย่างนี้ ใช้จิตของตนให้เอิบอาบ ถ้าว่าทำจิตไม่เป็น ก็แผ่ได้ยาก ไม่ใช่แผ่ได้ง่าย แต่ลูกของตนแผ่ได้ ลูกออกใหม่ ๆ น่ะ เอิบอาบ ซึมซาบ รักใคร่ ถนอมกล่อมเกลี้ยงบุตรของตนกระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นเพียงใด ให้เอาจิตดวงนั้นแหละมาใช้เรียกว่า เมตตาพรหมวิหาร เอาไปใช้ในคนอื่นเข้าก็รักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตรารักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างบุตรน่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุคคลที่เข้าถึงแล้ว ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงพระพุทธเจ้า ก็ถึงตัวธรรมกาย ถึงตัวธรรมกายก็เหมือนถึงพระพุทธเจ้า ถึงธรรมกายได้ธรรมกาย ไปกับธรรมกายได้ ไปนรก สวรรค์ ไปนิพพานได้ ผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์ ถึงพุทธรัตนเช่นนี้ละ ก็จะรู้จักคุณพุทธรัตนว่า ให้ความสุขแก่ตัวแค่ไหน บุคคลใดเข้าถึงแล้วก็ปราบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็ม สบายอกสบายใจ เพราะพุทธรัตนบันดาลสุขให้แล้ว ส่งความสุขให้แล้ว ถึงว่าจะให้ความสุขเท่าไร มากน้อยเท่าไร ตามความปรารถนา สุขกายสบายใจ เรามีอายุยืนเจริญหนักเข้า มีอายุยืน ทำหนักเข้า ทำชำนาญหนักเข้า ในพุทธรัตนมีคุณเอนก เวลาเจ็บก็ไม่อาดูรไปตามกาย เวลาจะตาย ก็นั่งยิ้มสบายอกสบายใจ เห็นแล้วว่าละจากกายนี้ มันจะไปอยู่โน้น เห็นที่อยู่ มีความปรารถนา นี่คุณของพุทธรัตนพรรณาไม่ไหวนี้เรียกคุณพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราตั้งใจแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า ท่านตั้งอย่างไร ท่านทำอย่างไร ท่านสอนอย่างไร ท่านก็สอนว่า ท่านสอนพวกเราให้อดใจ ให้อดทนคืออดใจ อดใจเวลาโลภหรืออภิชฌาเกิดขึ้น หยุดนิ่งเสีย รู้นี่รสชาติอภิชฌา อยากจะได้สมบัติของคนอื่นเป็นของ ๆ ตน อยากกว้างขวาง ใหญ่โตไปข้างหน้า ต้องหยุดเสีย อดทนหรืออดใจเสีย ประเดี๋ยวก็ดับไป ดับไปด้วยอะไร ด้วยความอดทน คืออดใจนั่นแหละ ความโกรธประทุษร้ายเกิดขึ้น นิ่งเสีย อดเสีย ไม่ให้คนได้ยิน ไม่ให้คนอื่นรู้กิริยาท่าทางทีเดียว ไม่แสดงกิริยามารยาทให้ทะเลิกทะลัก แปลกประหลาดอย่างผีเข้าทีเดียว ไม่รู้ทีเดียว นิ่งเสีย ประเดี๋ยวหนึ่ง ความโกรธประทุษร้ายหายไป ดับไป พยาบาทนั้นหายไป มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐินั้นแปลว่าเห็นผิดละ รู้อะไรไม่จริงสักอย่าง เลอะ ๆ เทอะ ๆ เกิดขึ้น หยุดเสีย ไม่ช้าประเดี๋ยวดับไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นั่นแหละความโลภเกิดขึ้น อภิชฌาให้ดับไปได้ อภิชฌาเกิดขึ้นชั่วขณะ อดเสียให้ดับไปได้ ฆ่าอภิชฌาตายครั้งหนึ่ง นั่นเป็นนิพพานปัจจัยเชียว จะถึงพระนิพพานโดยตรงทีเดียว ความพยาบาทเกิดขึ้นให้ดับลงไปเสียได้ ไม่ให้ออก ไม่ให้ทะลุทะลวงออกมาทางกาย ทางวาจาให้ดับไปเสียทางใจนั่นดับไปได้คราวใด คราวนั้นได้ชื่อว่าเป็นนิพพานปัจจัยเชียวหนา สูงนัก กุศลนี้สูง จะบำเพ็ญกุศลอื่นสู้ไม่ได้ทีเดียว หยุดนิ่งเสีย ไม่ช้าเท่าไร ประเดี๋ยวเท่านั้น ความเห็นผิดดับไป นั่นเป็นนิพพานปัจจัยทีเดียว นี่ติดอยู่กับขอบนิพพานเชียวหนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าให้ทาน ให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ของชอบไม่ให้ เก็บเสียซ่อนเสีย ของไม่ดีที่ไม่เสมอใจให้เสีย ให้อย่างนี้มันเลือกได้ ให้ของไม่ดีเป็นทาน เป็นทาสทาน จัดว่ายังเข้าไม่ถึงสหายทาน เป็นทาสทานแท้ ๆ เพราะเลือกให้ หากว่ามีมะม่วงสักสามใบตั้งขึ้น ก็จะให้ใบเล็กเท่านั้นแหละ เอามะม่วงสามใบเท่า ๆ กัน ก็จะให้ใบที่ไม่ชอบใจนั่นแหละ เอามะม่วงสามใบเสมอกัน ก็จะเลือกเอาอีกแหละ ลูกที่ไม่ชอบใจจึงให้ ลูกที่ชอบไม่ให้ หรือมันใกล้จะสุกแล้วไม่ให้ ให้ที่อ่อนไปอย่างนี้ อย่างนี้เป็นทาสทานไม่ใช่สหายทาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าให้สหายทานจริงแล้ว ก็ตัวบริโภคใช้สอยอย่างไร อย่างนั้นเป็นสหายทาน ถ้าว่าสามีทานละก็ เลือกหัวกระเด็นให้ ถ้าเลือกหัวกระเด็นให้เช่นนี้ละก็เป็นสามีทาน ลักษณะโพธิสัตว์เจ้าให้ทานนะ ให้สามีทาน ให้สหายทานให้สามีทานทีเดียว ทาสทานไม่ให้ นี้เราสามัญสัตว์ ชอบให้แต่ของที่ไม่ประณีต ไม่เป็นของที่ชอบเนื้อเจริญใจละก็ให้มันเป็นทาสทานไป เสมอที่ตนใช้สอยมันก็เป็นสหายทานไป แต่ว่าพวกเราที่บัดนี้เป็นสามีทานอยู่ก็มี เช่นเลี้ยงพระสงฆ์องค์เจ้า ตบแต่งสูปพยัญชนะเกินกว่าบริโภคทุกวัน ๆ ที่เกินใช้สอย เช่นนี้เป็นสามีทานประณีตบรรจงแล้วจึงให้ อย่างนีเรียกว่าเป็นสามีทาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ว่าบารมีหนึ่ง ๆ กว่าจะได้เป็นบารมีนะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ทานบารมีเต็มดวงนะ ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทานได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โตเล็กเท่าไหร่ไม่ว่า สร้างไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่งเต็มเปี่ยมเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทีเดียว เอามากลั่นเป็นบารมีได้นิ้วเดียว เท่านั้นเองกลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้ทุกบารมีไปจนกว่าบารมีนั้นจะเต็มส่วน แล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมี เอาบารมีนั้นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วนเอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว แล้วเอาอุปบารมีนั้นแหละ คืบหนึ่งกลมรอบตัวเอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขั้นสมถะนี่ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพหรม กายรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌานเท่านั้น เลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขึ้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ทั้งห้าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ ๆ เห็นจริง ๆ จัง ๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัด ๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย เห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วยญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั้นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัดอย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียกวิปัสสนา เห็นเบญจขันธ์ห้าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดไปเรื่อย ๆ เกิดริบ ๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียง จุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจว่าไปดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟหม่เดินเรื่อยขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบนก็รู้ ร้อนวูบ ๆ ๆ ไป อ้อไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ก็เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไปไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟอย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิด เห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งโลก เห็นทีเดียวว่ามีแต่เกิดกับดับ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ มีเกิดกับดับสองอย่างเท่ากันหมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริง ๆ อย่างนี้ ทำเป็นวิปัสสนาเห็นจริงเห็นจังอย่างนี้ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (คัดย่อมาจาก หนังสืออมตวาทะ ของ พระมงคลเทพมุนี)<O:p</O:p
    <O:p(จากหนังสือรวมคำสอนพระสุปฏิปันโน เล่ม 1)</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...