คำสอนหลวงพ่อภาวนา หรือหลวงพ่อวีระ หรือพระราชพรหมเถร.วิแห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 27 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึง " ธรรมกาย" เเล้ว
    จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึงที่สุด (บรรลุ มรรคผลนิพพาน) แล้วหรือ ?

    โดย : พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ...
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึง "ธรรมกาย" เเล้ว
    ตราบใดที่ยังไม่สามารถละ "สัญโญชน์"
    (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก)
    เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการ
    คือ สักกายะทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลพตปรามาส ... ได้โดยเด็ดขาด

    ตราบนั้นก็ยังมิได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็น "พระอริยบุคคล"
    จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้(บรรลุ)ถึงที่สุดเเล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    ผู้สอนภาวนาตามเเนว วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึง "ธรรมกาย"
    เเต่ยังไม่สามารถละ "สัญโญชน์"
    เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการได้ ดังกล่าวเเล้วว่า

    ... ยังจัดเป็นเเต่เพียง "โคตรภูบุคคล"

    ซึ่งท่านอุปมาว่า เสมือนหนึ่งว่าผู้ปฏิบัติธรรมนั้น
    ได้ก้าวขาข้างหนึ่ง ขึ้นไปอยู่บน "พระนิพพาน"
    ส่วนขาอีกข้างหนึ่ง ยังยืนอยู่ใน "ภพสาม"

    กล่าวคือหากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึง "ธรรมกาย" เเล้วนั้น
    ก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีก
    จนสามารถละ "สัญโญชน์" เบื้องต่ำ
    อย่างน้อย ๓ ประการนั้น ได้โดยเด็ดขาด
    ก็ได้ บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็น "พระอริยบุคคล"
    ... ตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    เเต่หากว่าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึง "ธรรมกาย" เเล้ว
    ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของ
    ... การก้าวถอยหลัง กลับคืนมาสู่โลก(ภพสาม)
    ด้วยอำนาจของ "กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน"
    เป็นเหตุนำเหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจ

    เเละ "ธรรมกาย" ... ดับลงเมื่อใด

    บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็น "ปุถุชน" ธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส
    เเละมีสิทธิ์ถึงทุคติได้เมื่อนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    นั่งสมาธิแล้วเห็น “นิมิตแปลกๆ ที่น่ากลัว” ?

    โดย : พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ... ผู้ที่มักเห็น นิมิตแปลกๆ ที่น่ากลัว นั้น
    เกิดกับผู้ปฏิบัติภาวนา ที่ไม่มีพื้นฐานในการปฏิบัติ “สมถกรรมฐาน” ดีพอ
    แล้วเจริญ “วิปัสสนากรรมฐาน” เลยทีเดียว
    จึงเกิด “วิปัสสนูปกิเลส” (ข้อ อุปัฏฐานัง) คือ การมีสติปรากฏยิ่งเกินไป หรืออีกนัยหนึ่ง มีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป

    แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริง ... เจริญไม่ทัน
    มีแต่ปัญญาที่จำได้หมายรู้ ... จากตำราเสียโดยมาก

    ใจจึงปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนา ที่เคยมีสติพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้
    “นิมิตลวง” ... จึงปรากฏขึ้นที่ใจให้เห็น โดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้เห็น

    “นิมิตลวง” เหล่านี้เองที่เรียกว่า “วิปัสสนูปกิเลส” (ข้อ อุปัฏฐานัง)
    ซึ่งมักปรากฏขึ้นกับ ... ผู้ที่เจริญวิปัสสนาด้วยตนเอง
    โดยศึกษาจากตำรา หรือจากการได้รับคำแนะนำ
    จากผู้แนะนำที่ไม่มีพื้นฐานทาง “สมถวิปัสสนากรรมฐาน” ดีพอ
    นี้เป็นสาเหตุข้อที่หนึ่ง

    สาเหตุข้อที่สอง
    ในขณะที่เจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นขณะพิจารณาสภาวธรรม เพื่อให้เกิดปัญญา
    ที่เรียกว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" ก็ดี
    หรือในขณะเจริญสมาธิ ที่เรียกว่า "สมถกรรมฐาน" ก็ดี
    ผู้เจริญภาวนามิได้ตั้งใจไว้ให้ถูกที่ คือ
    ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งถาวรของใจ

    จึงเป็นเหตุให้
    ความเห็นนิมิตด้วยใจ
    ความจำได้หมายรู้
    ความคิดและความรู้ ... “เล่ห์”
    คือ ผิดไปจากนิมิตจริง

    เพราะ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และ ดวงรู้
    มิได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน อย่างแท้จริง
    การย่อหรือการขยายความรู้เห็น ... จึงเบี้ยว มิได้เป็นไปในมิติเดิม จึงทำให้เห็นนิมิตแปลกๆ มีลักษณะที่น่ากลัวต่างๆ

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)
    ผู้ค้นพบ “วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า”
    ได้รู้ ... เคล็ดลับของการเจริญภาวนา
    ให้ได้ผลดีทั้งในส่วนสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
    โดยไม่ต้องผ่าน “วิปัสสนูปกิเลส”

    จึงไม่ปรากฏว่า
    ผู้เจริญภาวนาที่ถูกต้องตรงตามแนว "วิชชาธรรมกาย" ได้เห็นนิมิตลวงแปลกๆ โดยมิได้ตั้งใจ ... แต่ประการใดเลย

    ทั้งนี้เพราะการเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" มีลักษณะที่เป็น
    "สมถะ" และ "วิปัสสนากรรมฐาน" ... คู่กัน
    สติสัมปชัญญะ และปัญญา ... จึงเจริญขึ้นเสมอกัน และเป็นอุปการะแก่กัน จนธรรมสองอย่าง คือ
    "สมถะ" และ "วิปัสสนา" กลมกลืนคู่กันได้อย่างสนิท
    สมตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ ไปสู่ความสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ตามแนวทางพุทธศานาอย่างแท้จริง

    “วิปัสสนูปกิเลส” ดังกล่าว
    จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ที่ถูกต้องตรงตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้แต่ประการใด

    เพื่อความเข้าใจอันแจ่มแจ้ง
    อาตมาจะยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่ายๆ ว่า ...
    การเจริญภาวนาตามแนวนี้ มีอุบายวิธีให้ใจหยุดใจนิ่ง เป็นสมาธิอยู่เสมอ
    ด้วยการรวม “ใจ” อันประกอบด้วย
    ความเห็น ความจำ ความคิด และ ความรู้
    หยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗"
    ผ่าน กายในกาย เวทนาเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ไปในตัวเสร็จ

    ซึ่งช่วยให้เกิดผลดีหลายประการ คือ
    ทำให้จิตใจสงบระงับจากนิวรณ์ธรรม อันเป็นผลดีทางด้าน “สมถกรรมฐาน”
    นี้ประการหนึ่ง

    ทำให้เกิด “อภิญญา” คือ ความสามารถพิเศษที่แน่นอน เช่น ทิพยจักษุ ทิพยโสต อันช่วยให้รู้เห็น “สภาวธรรม”
    ... ทั้งหยาบ และ ละเอียด
    ... ทั้งใกล้ และ ไกล
    ... ทั้งภายใน และ ภายนอก
    ได้ชัดแจ้ง กว้างขวาง
    โดยเจตนาที่จะพิจารณาเห็น มิใช่เห็นโดยการบังเอิญ นี้ประการหนึ่ง

    และการรู้เห็น ... ก็ไม่ “เล่ห์”
    เพราะ ... ตั้งใจไว้ถูกที่
    นี้อีกประการหนึ่ง

    สมตาม พระพุทธภาษิต ที่ว่า
    "สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ"
    แปลความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามจริง"

    แม้จะพิจารณาเห็น
    กายในกาย
    เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต
    และ ธรรมในธรรม
    ทั้งภายในและภายนอกใดๆ ก็ตาม
    ไม่ว่าจะพิจารณา สิ่งปฏิกูลน่าเกลียด ที่เรียกว่า "อสุภกรรมฐาน" หรือ "มรณัสสติ" หรือ การเห็นนรก เห็นสวรรค์ ฯลฯ ก็ตาม

    เมื่อพิจารณาให้เกิด “ปัญญา” รู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติ ... ตามที่เป็นจริงแล้ว ก็รวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด
    ลงไป ณ ที่ "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗" นั้นอีกต่อไป

    ผู้ถึง “ธรรมกาย” ก็จะพิสดารกายไปจนสุดละเอียดอยู่เสมอ
    ใจก็จะละอารมณ์ที่พิจารณาไปเอง โดยอัตโนมัติ

    “วิปัสสนูปกิเลส” ต่างๆ
    จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้เจริญภาวนา ที่ถูกต้องตรงตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้

    จิตใจก็มีแต่ความสงบสุข
    ปราศจาก อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน
    วางเฉยเป็นอุเบกขาด้วย “ปัญญาอันเห็นชอบ” เท่านั้นเอง

    สมตาม พระพุทธภาษิต ที่ว่า
    “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ”
    แปลว่า "สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบกาย วาจา และใจ เป็นไม่มี"

    และก็จะไม่มีการเห็นนิมิตที่แปลกๆ หรือน่าเกลียดน่ากลัว โดยที่มิได้ตั้งใจที่จะรู้เห็น ... แต่ประการใด

    นี้เองคือ "เคล็ดลับสำคัญ" ของการเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย"
    ที่ให้ผลดีแต่ส่วนเดียว ... ไม่มีโทษ


    .....................................................................................................................................................




    * ที่มา : หนังสือทางมรรค ผล นิพพาน
    (ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


    https://www.facebook.com/groups/274567012748204/permalink/363680993836805/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    "จุดเด่น"ของการเจริญภาวนา ตามแนววิชชาธรรมกาย

    โดย : พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    การเจริญภาวนาตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้
    เบื้องต้น (ในขั้นสมถกรรมฐาน) ก็มีอุบายผูกใจไว้กับ ...
    “บริกรรมนิมิต" และ "บริกรรมภาวนา” คู่กัน
    เพื่อช่วยประคอง “ใจ” อันประกอบด้วย
    เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    หรือ ความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้
    ให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ที่เรียกว่า “เอกัคคตารมณ์” มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ง่าย

    ซึ่งการให้ผู้เจริญภาวนา กำหนดใจให้ไปรวม “หยุด” อยู่ ณ ที่ "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗" (เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ) นั้น

    ก็เพราะว่า ...
    การรวมใจหยุดอยู่ที่ "ศูนย์กลางกาย" นั้น
    ช่วยให้การ “รู้ เห็น” เป็นไปอย่างแม่นยำ และกว้างขวาง
    ดีกว่าการเอาใจไปจรด ... อยู่ที่อื่น

    ทั้งนี้ก็เพราะว่า ... การรู้เห็น
    โดยวิธีรวม “ใจ” อันประกอบด้วย
    ความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้
    ไว้ ณ ที่ "ศูนย์กลางกาย"
    และที่ "ศูนย์กลางนิมิต" นั้น

    ย่อมสามารถรู้เห็นนิมิต ... ในมิติที่สมบูรณ์ทั่ว และชัดเจนกว่าการรวมใจไปไว้ที่อื่นของกาย
    หรือไปจรด ณ ที่ตำแหน่งอื่นของนิมิต

    เมื่อขยายการรู้เห็น ... ออกไปกว้างขวางเพียงใด
    หรือย่อความรู้เห็นนั้น ...
    ให้เล็กลงสักพียงไหนก็ตาม
    ย่อมขยาย หรือ ย่อการรู้เห็นนั้น ... ในมิติเดิมอยู่เสมอ

    เพราะการเพ่งอยู่
    ณ "ศูนย์กลางกายและนิมิต" นั้น
    เมื่อขยาย หรือ ย่อการรู้เห็น
    ก็ย่อมขยายออกไป หรือ ย่อเข้ามา
    ... ในอัตราส่วน หรือ มิติเดิมอยู่เสมอ
    การรู้เห็นนิมิต ... จึงถูกต้องตรงตามที่เป็นจริงเสมอไป
    ไม่เบี้ยว ไม่หลอก

    จึงมั่นใจได้ว่า ... ถ้าเจริญภาวนาสมาธิ
    โดยรวมใจให้ "หยุดในหยุด"
    ลงไปที่ "กลาง" ของหยุดในหยุด
    หรือที่เรียกว่า ... เข้ากลางของกลาง ๆ ๆ ๆ
    ไปเรื่อยไม่ถอยหลังกลับ ได้อย่างนี้ละก็
    ไม่มีทางที่จะเห็น นิมิตหลอก หรือ นิมิตลวง
    ... ที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่ประการใดทั้งสิ้น

    แต่ถ้าปฏิบัติภาวนาโดยเอาใจไป จรดไว้ที่อื่นแล้วอาตมาไม่รับรอง

    เมื่อรวมใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน
    ตรง ... ศูนย์กลางกายมนุษย์
    ก็จะเห็น “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    เมื่อรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดเรื่อยไป
    ก็จะถึง “กายมนุษย์ละเอียด” หรือ “กายฝัน” ของตนเอง ซึ่งสวยละเอียดกว่ากายเนื้อ

    แล้วก็จะถึง ...
    กายทิพย์ , กายพรหม , กายอรูปพรหม
    ซึ่งมีแต่สวย ละเอียด ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

    จนถึงกายธรรม หรือที่เรียกว่า “ธรรมกาย”
    ซึ่งมีลักษณะเหมือน ...
    พระพุทธรูป "เกศดอกบัวตูม" ขาว ใส บริสุทธิ์
    มีรัศมีปรากฏ เย็นตาเย็นใจยิ่งนัก

    และเมื่อเจริญภาวนา มาถึงขั้นนี้แล้ว
    ประสงค์จะตรวจดูสัตว์โลก ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน “ภพสาม” นี้
    ก็สามารถจะ ... รู้เห็นได้ตามความเป็นจริง
    โดยจงใจจะเห็น ... จึงจะเห็น
    ไม่ใช่เป็นการรู้เห็นอย่างบังเอิญแต่อย่างใด

    เพราะฉะนั้น ปัญหาที่ว่าจะเห็นนิมิตลวง หรือนิมิตหลอก ที่น่าเกลียดน่ากลัวนั้น จึงไม่มีอยู่ในการปฏิบัติกรรมฐานตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น

    นอกจากนั้น ถ้าปฏิบัติได้ตามคำแนะนำนี้
    แม้แต่ “วิปัสสนูปกิเลส” ก็ไม่ต้องผ่านอีกด้วย

    สำหรับรายที่ชอบกลัวผี
    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ก็จงอย่ากลัวผีอีกต่อไป
    เพราะการปฏิบัติภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้ จะได้รู้เห็นแต่ของจริง ที่ละเอียด ประณีต เย็นตา เย็นใจ ... ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

    แต่ทว่าถ้าหากประสงค์จะดูสัตว์ในทุคติภพ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก หรือพวกสัมภเวสีต่าง ๆ ก็จะสามารถรู้เห็นได้ตามต้องการ
    และจะเห็นว่า ...
    เปรตมันก็เป็นเหมือนเปรต
    สัมภเวสีก็เป็นสัมภเวสี
    อสุรกายก็เป็นอสุรกาย
    สัตว์นรกก็เป็นสัตว์นรก
    ... ต่างคนต่างอยู่
    เหมือนกับเราเห็นมนุษย์ หรือสัตว์กายเนื้อ ที่มีลักษณะต่าง ๆ กันนั่นเอง

    อยากจะดู ... ให้รู้ให้เห็น
    ก็สามารถรู้เห็นได้โดยจงใจ
    ถ้าหากไม่อยากจะดู จะรู้ จะเห็น ... ก็ไม่ได้เห็น
    จึงไม่ต้องไปวิตกกังวล หรือหวาดกลัวผีสางอะไรทั้งสิ้น

    เมื่อรวมใจหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระ
    คือ “พระธรรมกาย”
    ใจก็จะยิ่งใกล้พระ หรือเป็นพระ ... เข้าไปทุกที
    ทีนี้ก็ไม่มีผีสางอะไรมาหลอกได้

    แม้แต่ คนทรงเจ้าเข้าผี ก็เถอะ
    เพียงแต่มี “ผู้ถึงธรรมกาย” ไปยืนดูอยู่เท่านั้น
    ... ทรงไม่เข้าเสียแล้ว

    หรือแม้แต่ คนที่มีวิชาอาคมขลังคงกระพันชาตรี
    พอมี “ผู้ถึงธรรมกาย” อยู่ใกล้ ๆ
    ก็จะหมดสิ้นความคงกระพันนั้นไปทันที

    เพราะผี หรือ มารทั้งหลาย ... หลอกได้แต่คน
    หลอก พระธรรมกาย ไม่ได้

    นี่แหละคือ "จุดเด่น"
    ของการเจริญภาวนาตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้

    *

    ที่มา : หนังสือทางมรรค ผล นิพพาน
    (ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    หลังฉาก
    โดย
    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    บางครั้งเราจะพิจารณาตัวของเราเอง
    เมื่อจิตเป็น “กุศล” ... เราจะให้ทาน ศีล ภาวนา
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต


    บางครั้งจิตเป็น “อกุศล” ... จะมีราคะ โทสะ โมหะ
    โลภะ โทสะ โมหะ
    กามราคานุสัย อวิชานุสัย ปฏิคานุสัย


    บางครั้งจัดเป็นกลาง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
    พูดคุย ขับถ่าย เป็นต้น


    ทำอย่างไรเราจะได้ “รู้เห็น” เรื่องเหล่านี้
    เราจึงจำเป็นต้องฝึกสมาธิ
    ถ้าไม่ฝึกสมาธิ ... เราก็จะไม่รู้เรื่องละเอียด ๆ เหล่านี้ได้


    ถ้าท่านไม่ปฏิบัติ “วิชชาธรรมกาย”
    ท่านจะไม่รู้เห็นเรื่อง “หลังฉาก” นี้


    เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านจงพร้อมใจกันฝึก “วิชชาธรรมกาย”
    ท่านจึงจะได้รู้เรื่อง “หลังฉาก” เหล่านี้ได้
    ขอให้ท่าน ... เริ่มต้นฝึกตั้งแต่บัดนี้
    ท่านจึงจะได้ ... รู้แจ้งเรื่องเหล่านี้ได้
    และจะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศสืบต่อไป
    สันติสุข ... จึงจะเกิดขึ้นแก่โลก




    * ที่มา
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๗
    มกราคม – มีนาคม ๒๕๓๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-26.jpg
      1-26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.5 KB
      เปิดดู:
      216
    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      256
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    " ถ้าผู้ปฏิบัติได้รู้วิธีปฏิบัติแบบธรรมกายของเรานี่ คือรู้ว่ามีก้อนธรรมติดอยู่กลางตัวแล้ว ก็เอาจิตไปติดไว้กับดวงปฐมมรรค มันก็มีทางเข้าได้ต่อไปยังกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม โคตรภู โสดา สกิทาคา ต่อๆไป แต่ถ้าเอาจิตไปกำหนดไว้ข้างนอก มันจะเข้าไม่ได้ เพราะว่าไม่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เพราะทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์นี้ ท่านต้องเอาจิตไว้กับดวงปฐมมรรคตลอดเวลาถึงจะไปได้
    คือถ้าออกไปจากนี้ก็ไม่ใช่ทาง ไม่ถูกวิธี เพราะทำออกข้างนอก จะไปถูกวิชชาของมารเข้า ถ้าวิชชาของพระนิ่งอยู่ข้างใน
    เพราะฉะนั้นผู้ที่เขาเคยปฏิบัติธรรมะแล้ว เขาจะรู้ว่าการเข้าหาธรรมะนี่ต้องเอาใจเข้าข้างใน มิใช่เอาใจออกข้างนอก "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อัฐิธาตุของหลวงพ่อภาวนา กลายเป็นพระธาตุ ขนาดยังไม่ครบ100วัน ของการมรณะภาพของหลวงพ่อ
    วันนี้แม่ชี นงค์ ญาติของหลวงพ่อ
    ท่านแม่ชี ทำวิชชาได้เก่ง ได้บอกผมว่า หลวงพ่อ เป็นพระอรหันต์

    (ตามรูป)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...