คำสอนหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 7 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]หลวงปู่สอนว่า
    พระธรรมเทศนาของ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    [/FONT]

    <t> </t><table bordercolordark="#000000" bordercolorlight="#000000" border="1" bordercolor="#000000" width="74%"> <tbody><tr> <td width="100%"> <center style="margin-top: 6px; margin-bottom: 0px;">[FONT=Times New Roman, Times, serif]เกิดมาภพใดชาติใดก็ ทุกข์แย่เต็มประดา
    ทุกข์ตั้งแต่วันเกิดถึงวันแก่ ทุกข์จากวันแก่ถึงวันแตกดับวันตาย
    ทุกถ้วนหน้าไม่มีใครข้ามมันไปได้
    จึง ให้เรามาสนใจในการรวมจิตใจของเรา มาให้สงบระงับ ตั้งมั่น เที่ยงตรง
    อยู่ ภายในดวงใจให้ได้ทุกลมหายใจเข้า ทุกลมหายใจออก
    จนกระทั่งจิตใจสงบตั้ง มั่นเป็นสมาธิภาวนาให้ได้
    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    [/FONT]
    </center></td></tr></tbody></table>​

    อันความตายนั้น จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งมั่นอย่างได้หวั่นไหว เจ็บจะเจ็บไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่ดีสบายอยู่ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้วไม่ตายไม่ได้ เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใดจะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ ต้องภาวนาให้พ้นจากความตาย ความตายนั้นมีทางพ้นไปได้ อยู่ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น

    <hr color="#0000ff" width="50%"> กิเลสกองไหนที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่มมัว ให้รีบตัด รีบละออกไปเลิกไม่ได้ ละไม่ได้ก็ให้นึกถึงความตาย ใครจะดุร้าย ป้ายสี ก็ให้นึกว่าเขาจะต้องตาย เราคือกายกับจิตก็ต้องตายจากกันไป จะมาโกรธ มาโลภ มาหลง มายึดหน้าถือตา ยึดอะไรต่อมิอะไรไปทำไม จงปล่อยวางให้มันหมดสิ้นไป
    <hr color="#0000ff" width="50%"> โลกธรรม 8 ประการ มีความสบายกายสบายใจ ก็มีความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือมีสุข มีทุกข์อยู่อย่างนี้ มีสรรเสริญ ก็ต้องมีติเตียนนินทาเป็นธรรมดาของโลกอย่างนี้ มีลาภเสื่อมลาภได้ เป็นธรรมดาอย่างนี้ มียศเสื่อมยศมันมีเป็นธรรมดาอย่างนี้ จิตผู้รู้ผู้ ภาวนาไปอยู่ที่ไหน ทำไม่ไม่เร่งภาวนาให้มันหลุดพ้นไปเสียที
    <hr color="#0000ff" width="50%"> เกิดแล้วต้องตายไม่ตายวันนี้วันหน้าก็ ตาย ไม่ตายเดือนนี้เดือนหน้าก็ตาย ไม่ตายปีนี้ปีต่อ ๆ ไปก็ตายได้ ให้รู้ไว้ ให้เข้าใจไว้ แล้วจิตใจอย่าได้มัวเมา หลงไหลไปกับกิเลสกาม วัตถุกาม มาหลงร้องไห้ หัวเราะอยู่นี้ไม่มีที่สิ้นสุด ก้อนทุกข์ กองทุกข์เต็มตัวทุกคน จงภาวนาดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญา ไม่ใช่คนอื่นจะมาทำให้ ปฏิบัติให้ ไม่มีตัวเองนั่นแหละปฏิบัติตัวเอง
    หมาย เหตุ - กิเลสกาม คือกิเลสที่ทำให้เกิดความอยาก ได้แก่ ราคา โลภะ อิจฉา เป็นต้น
    - วัตถุกาม ได้แก่ กามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าปรารถนา
    <hr color="#0000ff" width="50%"> อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ตนทำบาปตนก็ได้รับทุกข์เอง ตนทำบุญบุญก็ให้ความสุขแก่บุคคลผู้นั้น บุญ-บาป เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ใครทำบาป บาปย่อมให้ผล ใครทำบุญกุศล บุญกุศลย่อมตามให้ผล แต่ว่าบางอย่าง บางประการนั้น ไม่ทันกับใจกิเลสมนุษย์ ก็เลยเข้าใจว่าทำบุญก็ไม่เห็นผล แต่ว่าบาปนั้นไม่ทำก็เห็นผล
    <hr color="#0000ff" width="50%"> อบรมจิตใจด้วยการบริกรรมภาวนา ด้วยการนึกถึงความทุกข์ความเดือดร้อนในโลกนี้ นึกถึงความแก่ความชรา ความเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อมันมาถึงแล้ว มันมีความเจ็บปวด ทุกขเวทนา ต้องฝึนฝนอบรมจิตใจของเราในทางสมาธิภาวนา ทำใจให้สงบระงับด้วยการนึกน้อม เอาพุทธคุณคือ คุณพระพุทธเจ้ามาเป็นอารมณ์ แม้เราจะนึกพุทโธ พุทโธอยู่ก็ตาม ก็ให้ถือว่า ธัมโมก็อยู่ที่นั่น สังโฆก็อยู่ด้วยกัน
    <hr color="#0000ff" width="50%"> กิเลสมาร หมายถึงจิตใจที่เรายังเลิกละ ปลดปล่อย กิเลส ราคะ ตัณหาไม่ได้ ราคะ ตัณหานั่นแหละคือตัวมาร ที่คอยหลอกลวงอยู่ในใจนั้น ถ้าผู้ใดใจไม่มั่นคง ก็หลงใหลไปตามการหลอกลวงของมารกิเลส ไม่ยอมละ ไม่ยอมเลิก ไม่ยอมปล่อยวาง กิเลสก็ติดอยู่ในตัว ติดอยู่ในกาย ในวาจา ในจิตในใจ คือ ใจเราไปติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจของเรา จิตใจของเราไม่ภาวนาละกิเลส แต่ภาวนาเอากิเลส กิเลสก็มาอยู่ในกาย ในวาจา ในจิตในใจของเราเต็มไปหมด
    <hr color="#0000ff" width="50%"> ไฟ คือราคะ ไฟ คือโทสะ ไฟ คือความหลง เมื่อมีไฟ 3 กองนี้อยู่ในใจ มันก็ร้อนเป็นไฟ นั่งที่ไหน นอนที่ไหนก็ร้อนระอุด้วยไฟ เพราะไฟนั้นเป็นของเร่าร้อน ผูกมัดรัดรึงจิตใจคนเราให้หลงให้ติดข้องอยู่ เวลาภาวนาท่านจึงให้ละออกไป ปล่อยออกไป ให้หลุดไป สิ้นไป เอาให้หลุด ให้พ้น ให้สงบระงับ แม้ยังไม่หลุดพ้นก็ให้ภาวนาทุกคน ให้ใจสงบระงับตั้งมั่นทุก ๆ คืนไป จนมีกำลังความสามารถอาจหาญ ก็จะตัดละได้ด้วยตนเอง
    <hr color="#0000ff" width="50%"> ธรรมดากิเลสเป็นมาร เป็นภัยอันตราย คำว่ามารก็คือว่าเป็นผู้ฆ่าผู้ทำลาย ใครไปหลงกลมารยาของมารแล้วก็เสียทุกครั้งไป ฉะนั้นเราทุกคนจงอย่าได้ ปล่อยจิตใจให้คิดนึกไปภายนอก จงนึกเตือนใจของตนอยู่ทุกเวลาว่า พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ธัมโม สังโฆ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา คือให้ใจมาสงบตั้งมั่นอยู่ภายใน ไม่ให้ไปตามอาการภายนอก
    <hr color="#0000ff" width="50%"> อย่าไปคิดว่าเวลาเราแก่ หรือเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย หรือใกล้ ๆ จะแตก จะตาย แล้วจึงภาวนา ถ้าคิดอย่างนั้นก็เป็นอันว่าคิดผิดเพราะ เวลาอยู่ดีสบายนี้แหละเป็นเวลา ที่เราจะต้องริเริ่มภาวนาให้ได้ให้ถึง กิเลสอะไรที่ยังไม่ออกจากจิตใจเรา ก็จะได้ละกิเลสนั้นเสีย
    <hr color="#0000ff" width="50%"> ให้พากันตั้งใจภาวนากันจริง ๆ เอาจิตใจดวงผู้รู้ภายในมาจี้จุดหลงของใจเรา ความหลงของใจไม่ใช่อื่นไกลที่ไหน หลงในรูป หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ บ้านเรือน เคหะสถานอันใดก็ตาม ถ้าจิตไปหลงก็จะไปข้องอยู่กับที่นั่นถ้า จิตไม่หลงก็วางเฉยได้ จิตใจก็เย็นสบายเป็นสุข ไม่ทุกข์ร้อนประการใด เราทุกคนควรปฏิบัติบูชาภาวนาอย่างนี้ให้ได้ทุก ๆ คืน ไม่มีใครจะช่วยเราได้เท่ากับตัวเราเอง
    <hr color="#0000ff" width="50%"> การภาวนาอย่าเข้าใจว่ามันเป็นของยาก ไม่ว่ากิจกรรมการงานอะไร อย่างหยาบ ๆ ก็ดี ถ้าเราไม่ทำไม่ประกอบก็ยิ่ง เป็นอุปสรรค แต่ถ้าเราตั้งใจทำจริง ๆ แล้ว มันมีทางออก ภาวนาไปรวมจิตใจลงไป จนกระทั่งจิตใจเชื่อตามความเป็นจริง เชื่อต่อคุณพระพุทธเจ้าจริง ๆ เชื่อต่อพระธรรมจริง ๆ เชื่อต่อคุณพระอริยสงฆ์สาวกจริง ๆ แล้ว บุคคลผู้นั้นก็มีทางที่จะได้บรรลุมรรคผล เห็นแจ้งในธรรม ในปัจจุบันชาตินี้
    <hr color="#0000ff" width="50%"> อะไร ๆ ทุกอย่าง ถ้าคนเราลงทำลงแล้ว มันต้องได้ไม่มากก็น้อย ถ้าไม่ทำ เลิกล้มความเพียร ชอบสบายอยู่เฉย ๆ แต่เราอย่าเข้าใจว่าเราจะอยู่เฉยได้ ในเมื่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ปัจจุบันกระทันหันขึ้นมา จะเฉยอยู่ไม่ได้เป็นอันขาด เมื่อความเจ็บมา อุบายธรรมไม่ทัน เราก็หลงยึดไปถือไปวุ่นวายไป ถ้าเรารู้เท่ารู้ทัน ปล่อย วางได้ทุกลมหายใจเข้าออก จิตใจก็เย็นสบายเป็นสุขไม่ทุกข์ร้อนประการใด
    <hr color="#0000ff" width="50%"> อุบายธรรมต่าง ๆ ที่กำหนดจดจำไปประพฤติปฏิบัติ ได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุญบารมีเก่าเราทำมามากหรือไม่ บุญบารมีใหม่ ใจปัจจุบันของเราตั้งมั่นหรือไม่ ใจปัจจุบันเป็นหลักสำคัญที่เราทุกคน ทุกดวงใจจะประมาทไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระองค์เตือนว่า ผู้ไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ผู้ประมาทมัวเมาเป็นไปเพื่อความเสื่อม
    <hr color="#0000ff" width="50%"> วันคืนเดือนปี หมดไป สิ้นไป แต่อย่าเข้าใจว่าวันคืนนั้นหมดไป วันคืนไม่หมด ชีวิตของแต่ละบุคคลหมดไป สิ้นไปมันหมดไปทุกลมหายใจเข้าออก ฉะนั้นให้ภาวนาดูว่าวันคืนล่วงไป เราทำอะไรอยู่ ทำบุญหรือทำบาป เราละกิเลสได้หรือยัง เราภาวนาใจสงบหรือยัง
    <hr color="#0000ff" width="50%"> เรามัวเพลิดเพลินอะไรอยู่ไปมัวเสีย อกเสียใจอย่างไรอยู่ ทำไมไม่ภาวนา ทำไมไม่ละกิเลส ภาวนาให้มันหมดสิ้นไป เวลาความแก่มาถึงเข้า หรือเวลาความเจ็บไข้มาถึงเข้า จิตก็ว้าวุ่น ยิ่ง ความตายจะมาถึง เราละกิเลสไว้ก่อนหรือยัง ก็ตอบได้ด้วยตนเองว่ายังไม่หมด เมื่อยังไม่หมดเรามัวไปทำอะไรอยู่ ชีวิตของคนเราหมดไป เหมือนจุดเทียนขึ้นมาแล้ว ไฟมันก็ไหม้ไส้เทียนจนหมด เราทำอะไรอยู่ ไม่พินิจพิจารณา ต้องเตือนใจของตนเองว่าเราภาวนาแล้วหรือยังอย่าประมาทคือภาวนาทุกลมหายใจ เข้าออก
    <hr color="#0000ff" width="50%"> เราทุกคนก็ต้องโอปนยิกธรรม น้อมเข้ามา รวมเข้ามา สอนตัวเองเข้ามาให้ได้อยู่ทุกวันเวลาแล้ว มรรคผล นิพพาน ก็ไม่ต้องไปหาที่อื่น มันอยู่ที่ความเพียร ความหมั่น ความขยัน ในการภาวนาไม่ให้ขาด นั่งก็ภาวนา นอนก็ภาวนา หลับแล้วก็แล้วไป ตื่นขึ้นก็ภาวนาต่อให้เป็นวงจรอยู่ตลอดเวลา จิตใจย่อมมีกำลัง มีความสามารถอาจหาญไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ

    หมายเหตุ- โอปนยิกธรรม หมายถึง พระธรรมที่ควรน้อมนำเข้ามาไว้ในใจ
    <hr color="#0000ff" width="50%">
    บทความส่วนหนึ่งจาก หนังสือ "หลวงปู่สอนว่า..." หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มรณกรรมฐาน

    [​IMG]

    มรณกรรมฐาน

    พระธรรมเทศนาของ พระญาณสิทธาจารย์
    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)


    ณ บัดนี้เป็นต้นไป ได้เวลาถึงเวลานั่งสมาธิภาวนาปฏิบัติบูชา ทำความเพียร เพื่อละกิเลส ราคะ ละกิเลสโทสะ ละกิเลสโมหะให้หมดสิ้นไปในจิตใจของเราทั้งหลายทุก ๆ คน ฉะนั้น การนั่งสมาธิภาวนา จึงเป็นบุญเป็นกุศล นำความสุขความเจริญมาให้แก่ผู้ปฏิบัตินั้น ๆ

    การที่เรามีชีวิตมาถึงวันเวลา ที่เรานั่งภาวนาฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่นี้ ท่านว่าเป็นบุญ เป็นกุศล เพราะว่าบางคนนั้นตายไปก่อนเวลาที่มาปฏิบัติอย่างนี้ก็เยอะแยะ เพราะชีวิต ของคนเรานั้น จะกำหนดแน่นอนเอาเองไม่ได้ ถ้าบุญบารมีเก่าหมดไปเมื่อไร บารมีใหม่ หมดเมื่อใด ชีวิตของคนเราก็ตายไป เราจะมาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ฟังเทศน์ฟังธรรม นั่งอย่างนี้ไม่ได้ เพราะชีวิตมันดับไปหมดไป ตอนชีวิตยังมีอยู่ คือยังมีลมหายใจอยู่ ยังฟังเทศน์ฟังธรรมได้ยินเสียงอยู่ นั่นแหละคือว่าเป็นบุญเป็นกุศล ที่เราฟังเสียงธรรมได้ยินอยู่ หรือเรานึกภาวนาพุทโธ ๆ ได้ยินเสียงพุทโธอยู่ในใจ หรือนึกว่า "มรณัง เม ภวิสสติ" เราต้องตาย ความตายของคนเรา ยุคนี้สมัยนี้นั้นไม่เกิน 100 ปี ยังไม่ถึง 100 ปีก็ลำบาก ที่ตัวเราคนเรายังเหลือชีวิตได้มาปฏิบัตินั้น จึงชื่อว่าเป็นมหากุศลอันหนึ่ง ที่ควรประกอบกระทำ และควรทำความปีติยินดี เพราะว่าเมื่อกล่าวส่วนรวมแล้ว "มรณัง เม ภวิสสติ" ตัวเราต้องมี ความตายเป็นผลที่สุด คนอื่นสัตว์อื่น ตลอดไปจนถึงสัตว์สิ่งเดรัจฉาน สัตว์บก สัตว์น้ำ หรือว่า คนเราอย่างนี้แหละ ความตายนั้น ถ้าจัดในส่วนรวมมนุษย์คนเรา มีเรามานั่งภาวนา ไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ได้นอนอยู่ในเสื่อในหมอน ไม่ได้หยอดน้ำอาหารการกิน ไม่ได้เอาช้อน ตักอาหาร เอาอากาศเข้าปาก นับว่าเป็นผู้ที่ยังมีบุญอยู่ เพราะว่าโรคภัยไข้เจ็บมันยังไม่ลุกลาม ยังไม่รุนแรง ยังยืนคนเดียวได้ นั่งคนเดียวได้ นอนคนเดียวได้ ทำอะไร ๆ ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าโรคภัยเจ็บไข้บังเกิดขึ้น จะแก่หรือจะเด็กจะหนุ่มก็ตาม ร่างกายสังขารนี้ จะทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ได้ทั้งนั้น การที่เรายังภาวนาพุทโธได้อยู่ ยืน เดิน นั่ง นอน ไปมาได้ด้วยตนเอง อันนี้ท่านว่าเป็นบุญเป็นกุศล คนอื่นผู้อื่นเขาตายไป เรายังไม่ตายยังรอไปบิณฑบาตบ้านถ้ำอยู่ ยังหวังว่าจะได้กินอย่างนั้นจะได้ฉันอย่างนี้ อาหารเอร็ดอร่อยไม่เอร็ดอร่อยยังจะมีความรู้ต่อไป ท่านว่ายังมีบุญอยู่ยังไม่ตาย

    แต่ความตายนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ว่าให้นึกบ่อย ๆ นึกจนมันเห็น แล้วก็นึก จนมันเข้าใจลึกซึ้ง จนเกิดความสลดสังเวช ในมรณะความตายของเรา และของสัตว์ทั้งหลาย ของคนทั้งหลาย ถ้าผู้ใดภาวนามรณกรรมฐานจนเกิดขึ้น จิตใจสงบระงับตั้งมั่น เป็นสมาธิภาวนา ก็ดี หรือมีความสลดสังเวชในมรณภัย คือความตายนี้ จิตใจจะเปลี่ยนแปลงไป ความโกรธ ก็จะเบาบาง เลิกได้ละได้ ความโลภความอยากได้ในใจ ก็จะได้เลิกได้ละได้ ความหลง ในจิต ในใจ ตัวเราก็จะเลิกได้ละได้ เพราะว่ามรณภัย คือความตายนั้น เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใด ผู้นั้น จำเป็นต้องตาย จะมาอ้างว่าข้าพเจ้ายังเด็กอยู่ อย่าเพิ่งให้ข้าพเจ้าตายเลย ให้อยู่ไปดูโลก ต่อไปก่อน ธรรมดาพระยามัจจุราช คือความตายมันไม่ได้ยกเว้น เมื่อได้วาระของผู้ใด ผู้นั้นก็จำเป็นจำไปต้องตาย

    พระพุทธเจ้าท่านจึงให้นึกถึง มรณภัย คือความตายนี้ ทุกลมหายใจเข้า ทุกลมหายใจออก "มรณัง เม ภวิสสติ" "มรณะ" "มรณัง" ก็แปลว่าความตาย หรือคือจะต้องตายด้วยกันทั้งหมดสิ้น "เม" ก็หมายถึงเรา เราทุกคนต้องตาย ต้องมองให้เห็นนึกให้ได้ ถ้านึกไม่ได้แล้ว จิตมันจะเป็นไป ตามอารมณ์ต่าง ๆ ไม่สงบลงได้ ถ้ามองเห็นแจ้งในจิตในใจว่า อย่างไรเสียต้องตาย รอวันตาย อยู่ทุกลมหายใจ ถ้ามาถึงเวลาหายใจเข้าไป บุคคลผู้นั้นก็ตายเวลาหายใจเข้า หรือถึงเวลา หายใจออก บุคคลนั้นก็ตายเวลาหายใจออก มรณภัยคือความตายนี้ ใกล้ที่สุด แค่ลมหายใจ นี่เอง อายุของคนเรานี้ ไม่ใช่ตามที่เรานึกว่า เท่านั้นปี เท่านี้ปี 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี 50 ปี 60 ปี 70 ปี 80 ปี 90 ปี อันนี้นับเอาเอง แต่ความจริงมันไม่ถึง ไม่ถึงที่เรานับ ความตายมันมาถึงเสียก่อน

    มรณภัย คือความตาย จงพากันเพียรเพ่งดูให้รู้แจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบ จิตใจมันจะถอน ละถอนออกได้หมด ที่คนเราคิดว่า อารมณ์อย่างนี้เลิกไม่ได้ละไม่ได้ ถ้ามองเห็นมรณภัย คือความตาย ละได้หมด ดูคนเขาที่ตายไป ถ้าคนไหนได้เฝ้า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ มิตร สหาย ลูกเต้า หลาน เหลน ของตน ใกล้จะตายเข้าไปนั่งดู เรียกว่าเฝ้าดูคนตาย มันสั้นเข้าไป ทุกอย่างทุกประการ หมดไปสิ้นไป เวลาคนจะตาย แต่ก็เกี่ยวกับโรคบางอย่างบางประการ โรคบางอย่างบางประการนั้น มันสั้นเข้าไปหมดเข้าไป ตั้งต้นแต่บริโภคอาหารได้ เวลามันตัดเข้าไป เคยบริโภคอาหาร ก็บริโภคไม่ได้ จะต้องได้อาหารน้ำ ๆ จึงจะไหลลงคอไปได้ ตัดเข้าไป อาหารอย่างหนักก็กินไม่ได้แล้ว หนักเข้าก็ดื่มน้ำอย่างเดียว
    อาหารประเภทแข็ง ประเภทเหลวก็ไม่ได้ แต่ดื่มนมผงได้ ชงนมผงได้ ชงน้ำนมได้ โกโก้ กาแฟ อะไรที่มันไหลลงไปได้ ท้องไส้ของคนใกล้จะตาย มันเป็นอย่างนี้แหละ นานเข้าไปตัดเข้าหมดไป ๆ จนกระทั่งว่า น้ำที่จะดื่ม มันก็ไม่ลงคอ แต่ก็พูดจายังมีชีวิตอยู่ มองดูมันก็หิวโหยโรยแรงที่สุด คือว่าน้ำก็อยากกิน แต่มันกินไม่ได้ กินไม่ลง แสดงออกมาทางปากให้เห็น ทีนี้คนที่ยังไม่ตาย ก็ช่วยเอาสำลีชุบน้ำเอาไปบีบใส่ปากให้ ปากก็แสดงถึงว่าหิวอยากดื่มน้ำ ริมฝีปาก ก็เผยอเอาน้ำนั่น มันตัดเข้าไป ตัดเข้าไป มรณะ มรณกรรมฐาน เราอย่าได้ประมาท ทุกคนจะต้องเป็นไป ตามกฎเกณฑ์ ของมรณกรรมฐาน ทีนี้ถ้ามันขยับเข้าไปอีก ไอ้ที่จะเผยอริมฝีปาก รับเอาน้ำมันไม่ไหว แต่ยังมีลมหายใจอยู่ หายใจยาว ๆ อยู่ หายใจยังได้สบายอยู่ หนักเข้าไปกว่านั้น หายใจไม่ไหวแล้ว เคยหายใจยาว ๆ ตามธรรมดา ก็หายใจสั้น นั่นแหละมรณกรรมฐานใกล้ที่สุด เอาเข้าไปอีก หายใจยาวไม่ได้ หายใจสั้น ๆ ในตัว ในจิตใจ ของผู้นั้นก็กระวนกระวายที่สุด ลมหายใจเคยหายใจ ปอดเคยทำงาน ปอดก็ทำงานไม่ไหวแล้ว นี่แหละมรณกรรมฐาน นึกให้ได้ พิจารณาให้เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ทีนี้เวลามันจะเอาให้หมดนั้น สะบั้นหมดร่างกาย สั่นสะเทือนกว่าดวงจิตจะออก แต่ก็เป็นไปตามโรคภัยไข้เจ็บของแต่ละคน เวลาดวงจิตดวงใจจะถอดออกจากร่างกาย หนีจากร่างกาย แสดงเส้นเอ็นทั้งร่างกายมันสะบั้น ลูกกะตานี้เขียวปื๋อเลย เขาให้ชื่อว่าตาผีตาย คนใจไม่แข็งก็กลัว กลัวผีมันมาหลอก แท้ที่จริงเขาดิ้นตายของเขาต่างหาก ตาไม่ใช่ตาคนธรรมดา เป็นตาผีไป หมดสะบั้นกระทั่งหมดร่างกายเส้นเอ็นแล้ว ทีนี้ก็จิตออกไปแล้ว ถอดไปแล้ว ก็เหลือแต่ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธรรมดา นี่แหละมรณกรรมฐาน ซึ่งมันมีอยู่ในตัวของคนเราทุกคน แต่ผู้ปฏิบัติไม่ค่อยมาปฏิบัติ เพียรเพ่งดูให้รู้แจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบ จึงได้เกิดกิเลสตัณหามานะทิฏฐิ วุ่นวายไม่จบไม่สิ้น จงภาวนาให้เห็นแจ้ง ด้วยสติปัญญาของตัวเอง แล้วจิตใจมันจะได้กระเตื้องดีขึ้น ไม่หมกมุ่นอยู่ตามอารมณ์ต่าง ๆ


    "มรณัง เม ภวิสสติ" ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย มันเป็นเรื่องใหญ่ มรณกรรมฐานไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่เขียนหนังสือ ไม่ใช่คาดคะเน เวลามรณภัยคือความตายมันจะมาถึง รุนแรงที่สุด พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ความตายเป็นทุกข์ ไม่ได้หมายว่าจิตถอดออกไป แล้วมันเป็นทุกข์ ตอนจิตใจกำลังรับทุกขเวทนาต่างหาก อันนั้นแหละมันทุกข์ ที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งแต่เกิดมา จนถึงวัยแก่วัยชรา เจ็บไข้ได้ป่วยหลายครั้งหลายคราก็ตาม ยังไม่ถึงขั้นที่ว่าความตายเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ มันทุกข์จนเหลือทน ทนไม่ได้ ทนไม่ไหว เมื่อทนไม่ไหว ก็รับเสวยทุกขเวทนา แสนสาหัส แล้วก็ตายไป นี่แหละทุกคนจะต้องตาย

    มรณกรรมฐานนี้ต้องนึกต้อง เจริญไว้ให้ได้ในกายของตัวเอง ถ้าผู้ใดทำน้อย ปฏิบัติน้อย ยังถึงขั้นเลิกความหลงอะไรยังไม่ได้นั้น จะต้องกระวนกระวายที่สุด เพราะจิตอุปาทาน ความยึดในร่างกายสังขาร เป็นรูปขันธ์นั้นมันมาก เจ็บน้อยมันก็เป็นเจ็บมาก เจ็บมาก ก็ตาย ไปเลย เพราะจิตมันยึดมั่นถือมั่น ถ้าจิตนี้ปล่อยได้วางได้ เลิกได้ ละได้อะไร ๆ ก็ช่างมันเถอะ มันเกิดได้มันก็แก่ได้ มันเกิดมาได้ มันก็เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดาได้ มันเกิดมาแล้วมันก็ตายได้ เวลาตายกำหนดไม่ได้ ลมเข้าไปออกไม่ได้ก็ตาย หายใจออกไปสุดเข้ามาไม่ได้ก็ตาย กลางคืนก็ตายได้ ตอนเช้า ๆ อย่างเราอยู่นี้ก็ตายได้ กลางวันก็ตายได้ เดือนไหนก็ตายได้ วันไหนก็ตายได้ ไม่เลือกเวลา เมื่อจัดส่วนรวมแล้ว เดี๋ยวนี้ก็มีคนตาย เดี๋ยวนี้ก็มีคนเจ็บ หรือความเจ็บนี้ บางคนก็มันเกิดขึ้นแล้ว ติดขึ้นแล้วเหมือนไฟไหม้บ้าน ว่าถ้าจะดับไหว หรือเอาได้ หรือไม่ได้ ก็เหมือนกันที่เราว่า ไม่สบายอย่างนั้น ไม่สบายอย่างนี้ เปรียบเหมือน อย่างว่า ไหม้บ้าน ไหม้เรือน ไหม้กุฏิ ติดหลังคามา จะดับได้ดับไหวหรือไม่ไหว ก็แล้วแต่ตัวเอง บุญบาปนั้นมันมีอยู่ในตัวนี้ แล้วก็ไม่เลือกเวลาด้วย ไม่ยกเว้นด้วย คนโบราณ จึงตั้งชื่อความตายนี้ว่า เป็นพญาใหญ่ที่สุด ใครจะมารบราฆ่าฟัน กับพญามัจจุราชนั้น ไม่มีใครจะชนะได้ พ่ายแพ้ทุกรายไป

    พระพุทธองค์ท่านจึงให้กำหนด ความตายนี้ให้ได้ทุกลมหายใจ คือว่ามันใกล้เข้าไป หมดไปสิ้นไป ถ้าว่าถึงคนทั้งโลกแล้ว เดี๋ยวนี้ก็มีคนตาย ตายนับไม่ได้ก็มี ตายคนเดียวก็มี ตาย 2 คน 3 คนในขณะเดียวกัน หญิงก็ตายได้ ชายก็ตายได้ ไม่ใช่ตายแต่คนเฒ่าคนแก่ เด็ก ๆ ยังไม่รู้อะไร ก็ตายได้ นี่แหละมรณกรรมฐาน ผู้ภาวนานั้นไม่ต้องไปรู้อื่น ไม่ต้องไปเรียนนอก ให้เรียนใน เรียนใน คือเรียนในกายวาจาจิตของตัวเอง ดูพิจารณาอะไรมันตาย อะไรมันยัง อะไรจะตายก่อน อะไรมันตายนานแล้ว กำหนดให้รู้ดูให้มันเห็นจิตใจ กิเลสมันจึงจะอยู่ยั้ง ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็พาให้ดิ้นรน วุ่นวาย กระสับกระส่าย ภาวนาไม่ลง ภาวนาไม่สงบ มองไม่เห็น กำหนดไม่ได้ มืด 4 ด้าน 4 ทิศ มืด 10 ทิศ จะนึกภาวนาพุทโธก็ไม่ได้ นึกถึงความตาย ก็ไม่ได้ไม่เห็น

    จงเพียรเพ่งดูให้เห็นแจ้ง ด้วยสติปัญญาของตัวเอง อันผู้อื่นแนะนำสั่งสอน เป็นอีกคนหนึ่ง เป็นการเตือนใจให้สติ ความจริงแล้วให้จิตใจของตัวเอง จิตผู้รู้นั่นแหละ มองเห็นตลอด ทั้งภายในและภายนอก มองเห็นตัวเองว่าตาย เดี๋ยวนี้ก็ตายได้ คนทั้งหลาย ที่เราเห็นว่า เขายังไม่ตาย ผลที่สุดก็ตายหมด ไม่มีใครอยู่ เกิดแล้วต้องตาย

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม นั้นต้องกำหนดอยู่ทุกเวลา ต้องเตือนจิตใจของตนให้ได้ทุกเวลา จิตใจจึงจะมีพละกำลังความสามารถอาจหาญในการปฏิบัติบูชาภาวนาเพื่อเลิกละความ โกรธ ความโลภ ความหลงให้หมดไปสิ้นไป ดังแสดงมาก็สมควรด้วยกาลเวลา เอวัง ก็มี ด้วยประการ ฉะนี้

    ...................................................................
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กระดูก ๓๐๐ ท่อน

    [​IMG]

    กระดูก ๓๐๐ ท่อน


    พระธรรมเทศนาของ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 004282 โดยคุณ : mayrin [ 11 ก.พ. 2545]
    ......................................


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


    เอ้า ตั้งใจภาวนา วันนี้ให้กำหนดอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ทำไมจิตมันหลง แค่เขาถ่ายเงาเท่านั้นก็หลง เพราะไม่ดูอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเองอันมีอยู่ในร่างกายตัวตนของเราตั้งแต่กระดูกเท้า กระดูกแข้งขา เต็มอยู่จนถึงกะโหลกศีรษะ เพราะไม่ดูอัฐิกับกระดูก ๓๐๐๐ ท่อนของตัวเอง จึงได้เกิดความลุ่มหลงมัวเมาไม่ดูของจริง เมื่อของปลอมมาถึงเข้า เกิดความลุ่มหลงมัวเมา จิตไม่สงบ หลงใหลไปตามรูปตามเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เมื่อมันหลงไปหมดทุกอย่างทุกประการ เมื่อรู้อย่างหนึ่งได้ มันก็รู้ได้ทุกอย่างทุกประการ เวลานี้อย่าให้ใจคิดไปที่อื่น พุทโธก็ไม่ต้องว่า ฟังที่ท่านอธิบายไป จิตใจก็เพ่งดูตามที่ท่านอธิบายนั้น

    เริ่มต้นแต่ กะโหลกศีรษะหรือว่ากระบอกตา ตัวคนเราทุกคนนี้ เรามองเห็นเป็นหนังหุ้มกระดูก แต่กระดูกอันมีอยู่ในตัวเราไม่ดู จึงได้หลงตา หลงหู หลงจมูก หลงลิ้น หลงกาย หลงใจ เพราะไม่พิจารณาดูกองกระดูกของตัวเอง

    อันนี้เป็น ความประมาท จิตใจคนเรามันประมาท กระดูกมันสวยงามที่ไหน ดูกองกระดูกมันงามที่ไหน ดูกระบอกตากระบอกตานี้ก็ให้เพ่งให้เห็นเป็นกระดูก อย่าไปเพ่งเห็นเป็นลูกตา ลูกตานี้ไม่ให้เห็นเนื้อหนังมังสาไม่ให้มี เวลานี้เปรียบอุปมาเหมือนอย่างว่าร่างกายของเราทุกคนนี้มันตายไปนานแล้ว ยังเหลือแต่กองกระดูกให้เพ่งใจจิตเตือนจิตนี้ว่าอย่าคิดไปที่อื่น มันตายแล้วยังเหลือแต่กระดูกอ่อนกระดูกแข็ง เพ่งดูกระบอกตาตัวเองให้ดูให้รู้ตานี้มันโหว่เข้าไป ไม่ให้จิตคิดไปอื่น เพ่งในกระบอกตานั่น มันโหว่เข้าไปเหมือนกับไข่ที่เอาไปทำอาหารทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ โหว่เข้าไปลึกเข้าไปเป็นกระดูกไม่ใช่เนื้อหนัง เพ่งดูจนเห็นว่ามันเป็นกระดูกจริง ๆ โหว่เข้าไปจริง ๆ

    ถ้าดูจนเห็น มันโหว่เข้าไปลึกเข้าไปมันก็เหมือนผีหลอกในกระบอกตานั่นมันเป็นผีหลอก คือไม่ต้องให้เห็นลูกกระตาคนยังไม่ตาย เพ่งให้เห็นว่ากระบอกตานี่มันผีหลอกที่ว่าผีหลอกโหว่เข้าไปนี่แหละ ดูเดี๋ยวนี้เวลาเพ่งเดี๋ยวนี้เวลานี้ ให้มันเห็นกระบอกตาของตัวเองเมื่อไม่เห็นกระบอกตาตัวเอง อย่าได้ไปดูตาคนอื่น ตาเราก็ไม่ดู ดูกระบอกตา ดูให้มันเห็น เพ่งให้มันเห็น ระมัดระวังไม่ให้จิตมันแวบไปแวบมา

    ใจโลเลในกิเลส ละให้หมด เพ่งดูกระบอกตาตัวเอง ให้มันเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ถ้าไม่เห็นแจ้งตามความเป็นจริง ก็ยังมาสำคัญว่าเราสวยเรางาม งามที่ไหนดูกะโหลกศีรษะตัวเอง ผีหลอกทั้งเพ มาหลงมันทำไม หลงกะโหลกศีรษะ หลงกระบอกตา จึงได้มาลุ่มหลงมัวเมาเกิดมาภพชาติใด ก็มายึดเอาถือเอากองกระดูกอันนี้ไม่มีที่จบสิ้น

    เมื่อดูกระบอก ตาเข้าใจแล้ว ก็ให้ดูกะโหลกศีรษะนั้นมัดจอดกันเป็นซีก ๆ เรียกว่าเข้ากันสลับกัน สมัยเมื่อยังไม่ตาย กะโหลกศีรษะนี้มันป้องกันไม่ให้สมองในศีรษะนั้นแตกไปง่าย ๆ มีอะไรมาโดนมาตำเข้าหรือเส้นประสาทภายในนั้นจะได้ไม่เสีย สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ คือยังไม่ตาย แต่ว่าบัดนี้ใหดูเป็นกะโหลกกระดูก ข้างในก็ให้เห็นเป็นว่างไปทั้งนั้น แล้วก็ให้มองดูในกะโหลกศีรษะ จากกระบอกตาขึ้นไป เรียกว่า กระดูกหน้า กระดูกคิ้ว กระดูกหน้า กะโหลกศีรษะมันจอดกันเหมือนมะพร้าว กะโหลกศีรษะคนเราคล้ายกันกับมะพร้าวที่เขาเอาเปลือกมันออกแล้วยังเหลือแต่ กะลาในนั้น กะโหลกศีรษะนี้ก็เหมือนกัน จอดกันเป็นชิ้น ๆ ดูข้างหน้ามันงามที่ไหน ยังเหลือแต่กระดูก ดูข้างหลังมันสวยงามที่ไหน ดูข้างซ้ายมันงามที่ไหนก็เป็นกระดูกเหมือนกัน ดูข้างขวาก็ให้เป็นกระดูก จิตอย่าไปเห็นเป็นเนื้อเป็นหนัง แล้วอย่ามาเห็นว่าเป็นกระดูกของเรา มันกระดูกผีตายมานานแล้ว จิตอย่าได้มาหลงเอายึดเอากะโหลกศีรษะนี้ ดูให้มันแจ้งให้มันเห็น เอาจิตจดจ่อให้มันเข้าใจ อย่าให้มันแส่ส่ายไปที่อื่น เพ่งดูกะโหลกศีรษะ

    ต่อจากกระบอก ตาลงมาก็เรียกว่ากระดูกดั้งจมูก ดั้งจมูกก็ไม่ให้เป็นเนื้อเป็นหนัง ให้เห็นเป็นกระดูกโหว่เข้าไป มีช่องเข้าไปสำหรับหายใจ เมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู่ บัดนี้มันตายแล้ว ยังเหลือแต่กระดูกโหว่เข้าไป มันงามที่ไหน ผีหลอกทั้งนั้น คางข้างบนก็มีเขี้ยวมีฟันเป็นซี่ ๆ ดูฟันให้มันเห็นทุกซี่ที่ฝังอยู่ในคางข้างบนนั่น แล้วก็ดูคางข้างล่าง ดูฟันข้างล่างเป็นซี่ ๆ ฟันข้างล่างนี้เรียกว่าแขวนอยู่ คางข้างล่างมันแขวนอยู่ แขวนอยู่ข้างล่าง สมัยเมื่อยังไม่แตกไม่ตายมันเอาคางข้างล่างนี้ตำบดเคี้ยวอาหาร ก็เหมือนครกเหมือนสากนั่นแหละ แต่ว่าคางข้างล่างนี้เรียกว่าเป็นสากธรรมชาติ ไม่ใช่สากตำน้ำพริกคนเราไม่ใช่ตำลงข้างบน ตำข้างล่างขึ้นมา บดเคี้ยวอาหารเมื่อสมัยยังไม่ตายเดี๋ยวนี้ไม่เกี่ยวแล้ว ยัง เหลือแต่คาง ยังเหลือแต่ฟันเป็นซี่ ๆ ทีนี้ถ้ากำหนดมาถึงนี่ก็ดูซิ ดูฟันข้างบนข้างล่างประกบกันดูไปจนถึงกระบอกตาหน้าดั้งจมูกกะโหลกศีรษะทั้ง หมด แค่นี้ก็เป็นผีหลอกอยู่วันยังค่ำเป็นผีหลอกอยู่คืนยังรุ่ง เป็นผีหลอกตั้งแต่เกิดมา เป็นเด็กก็มีอยู่เท่านี้มาเป็นหนุ่มก็มีอยู่อย่างนี้ ปานกลางคนมันก็มีอยู่อย่างนี้ กะโหลกอันนี้ฟันอันนี้ คางอันนี้ ดูให้มันทั่วถึง ทำไมจิตมันจึงมาหลง มาหลงอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน หลงรักใคร่พอใจ หลงโกรธให้กัน หลงฆ่ากัน ฟันกันก็เพราะไม่ดูกองกระดูกตัวเอง กิเลสความโกรธมันจึงเกิดขึ้น กิเลสราคะตัณหามันจึงเกิดขึ้น เพราะไม่เห็นกระดูกของตัวเองให้ดูเดี๋ยวนี้ กำหนดเดี๋ยวนี้ ภาวนาเพียรเพ่งดูเดี๋ยวนี้ จิตใจดวงผู้รู้ไม่ให้มันไปคิดที่อื่นคิดที่อื่นมาตั้งแต่อเนกชาติ ไม่มีความรู้ความเข้าใจประการใด จงดูกองกระดูกคาง ไม่รู้จักผีหลอก ผีมันหลอก ผีอื่นใดมันไม่หลอก ผีตัวเองหลอกตัวเองเพราะไม่ภาวนากับอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเองดูจริง ๆ กำหนดจริง ๆ จนไม่ให้มีอะไรมาปิดบัง เหมือนกับเราลืมตาดูอย่างนั้น ตรงใดมันเป็นอย่างใด ให้มันแสดงให้เห็นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้แล้วต่อไปตลอดชาติ ก็ไม่ให้มันหลงเป็นอย่างอื่นไปอีกในกะโหลกศีรษะในหน้าในตา เห็นคนเห็นเราก็ให้เห็นว่าเป็นกระบอกตา เห็นเป็นดั้งจมูกโหว่ เข้าไป ไม่งามไม่มีการสวยงามธาตุแท้มันไม่ใช่งามกระดูกจริง ๆ ไม่งาม เอาให้ใครก็ไม่เอา เห็นเข้าก็ว่าผีหลอก กะโหลกผีหลอกเห็นไหมล่ะ มันหลอกลวง ไม่ให้หลง หลงให้ติดให้ข้อง ไม่ดูกะโหลกศีรษะตัวเอง

    ทีนี้กะโหลก ศีรษะนี้เมื่อดูให้ทั่วถึงแล้ว ก็เอาไปตั้งไว้ที่ไหน กะโหลกศีรษะ ธรรมชาติก็เอามาก่อตั้งไว้ต่อกระดูกคอ กระดูกคอข้างบนเอามาต่อกับกะโหลกศีรษะนี้ เหมือนกับว่ากะโหลกศีรษะคนเอาไปตั้งไว้ในไม้ในโต๊ะ กะโหวกกะหวากอย่างนั้นแหละ แล้วกระดูกคนนี้เป็นกระดูกที่เลื่อนได้ เมื่อสมัยยังไม่ตายเวลาจะดูอะไรก็หมุนเอาที่คอนี่แหละ หมุนเอาที่คอนี้ดูข้างซ้าย ดูข้างขวา ดูข้างหลัง ดูข้างหน้า เรียกว่าเลื่อนได้ กะโหลกศีรษะมันเลื่อนตามกระดูกคอไป แล้วก็ดูให้ดีกระดูกคอมันก็ต่อกันเป็นข้อ ๆ เหมือนกัน กระดูกคอข้างล่างก็ต่อ กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังก็มาต่อกับกระดูกคอนี้ ดูเพียรเพ่งดู ให้รู้ให้แจ้งในจิต แล้วไม่ให้ลุ่มหลงอีกต่อไปอีก กระดูกคอ เป็นอย่างไรดูข้างหน้า ดูข้างซ้าย ดูข้างขวา ดูข้างใน ดูข้างนอก มันว่ามันสวยงามไหมกระดูก เขาไม่ว่า จิตหลงไปว่าเขา

    ทีนี้ให้ กระดูกสันหลังเป็นข้อ ๆ ขึ้นมาก็มีกระดูกเหง้าแขน ต่อจากกระดูกสันหลัง กระดูกหน้าอกออกไปเป็นแขนข้างซ้ายข้างขวา ท่อนบนเป็นอย่างหนึ่งต่อกันกับแขนข้างล่าง แขนข้างล่างมีสองท่อน เพื่อไม่ให้หักง่าย ๆ สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่แขนข้างบนแขนข้างล่างสองข้างเหมือนกัน ต่อลงไปก็เป็นกระดูกมือ กระดูกมือก็เป็นข้อ ๆ แล้วก็ไปต่อเป็นกระดูกนิ้วมือ กระดูกนิ้วมือก็เป็นท่อน ๆ เป็นข้อ ๆ ต่อกัน ทั้งสิบนิ้วเหมือน ๆ กัน ดูอย่าให้จิตไปที่อื่นดูกองกระดูกของตัวให้เห็นให้รู้ มีอยู่นี้ไม่รู้ไม่เห็น ไปที่ไหนจิตให้ตั้งมั่นเพียรเพ่งดู ไม่ใช่กระดูกมันดูให้จิตใจของตัวเองน่ะจิตใจดวงผู้รู้อยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้รู้อยู่ก็รู้อยู่นี่เพ่งดูกระดูก จนสุดกระดูกนิ้วมือดูขึ้นมาข้างบนทั้งสองข้างตามที่มันมีมันเป็นอยู่ มาถึงเหง้าแขนเหง้าแขนมันก็ต่อกับกระดูกสันหลัง กระดูกคอ กระดูกสันหลังนี้ กระดูกสันหลังก็เป็นท่อน ๆ แล้วก็มีกระดูกข้างต่อออกไปสองข้าง กระดูกข้างนั้นเป็นกระดูกป้องกันภัย อันตรายในสมัยที่ยังไม่ตาย เดี๋ยวนี้มันมีแต่กระดูกหน้าอก กระดูกไหปลาร้าเราก็ว่า ถ้าเอากระดูกคอออกแล้วมันก็เหมือนไหปลาร้า กระดูกข้าง กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลังตั้งไว้ก็เหมือนไหปลาร้านั่น กระดูกบั้นเอว กระดูกบั้นเอวไม่มีกระดูกข้างดูกระดูกสันหลัง ดูให้มันเห็น ไม่เห็นอย่าไปเคลื่อนที่ โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้เวลานี้ หรือเวลาเราไปนั่งคนเดียว เอาให้มันแจ่มแจ้งชัดเจนในจิตของตัวเอง
    ที่แท้มันก็ กองกระดูกทำไมจิตมันมาหลงยึดหลงถือหน้าของกูตาของกู ตามันไม่มี หูมันไม่มี ยึดทำไมมีเหลือแต่กระดูกเท่านี้ ใครจะมาถ่ายวิดีโอวิดีอาไม่ต้องเกี่ยว ดูกองกระดูกของตัวให้รู้ไม่รู้ไม่เข้าใจอย่าไปกินข้าว นั่งภาวนาเพ่งดูให้มันเห็นอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ดูกระดูกสันหลัง เป็นท่อน ๆ ต่อกับกระดูกบั้นเอว กระดูกบั้นเอวก็เป็นกระดูกต่อกับกระดูกตะโพก กระดูกก้นกบกระดูกตะโพก เขาก็ว่ามองให้เห็น กระดูกแท้ ๆ มีอยู่ไม่เห็นไม่ได้ ต้องเพ่งดูให้เห็นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้เรื่อยไป ทำไมเขาว่าเป็นกระดูกก้นกบ ดูให้ดีของมีอยู่ไม่ดูไม่พิจารณาจึงได้เกิดความหลง โมหะ อวิชชาไม่รู้ แล้วก็มีกระดูกเหง้าขามาต่อกับกระดูกตะโพก กระดูกขาก็ต่อไปหากระดูก เข่า กระดูกเข่าก็คือว่าเป็นกระดูกที่แข้งขึ้นมาก็มาต่อกระดูกเข่า มีกระดูกสะบ้ากลม ๆ แล้วกระดูกแข้งต่อลงไปทั้งสองข้างขาแข้งเหมือน ๆ กัน กระดูกแข้งมันก็มีกระดูกสามเหลี่ยมกระดูกเล็กต่อลงไปเป็นกระดูกส้นแข้ง ข้างล่างมันต่อกับกระดูกเท้า กระดูกตีนเท้าก็คือว่าไปทางไหนมันเอาเท้าไปเรื่อย เท้าเดินเท้าหน้าไป ดูกระดูกเท้าเป็นข้อ ๆ ต่อออกไปจนถึงกระดูกนิ้วเท้า มันสวยงามที่ไหนทั้งสองข้างถ้าเอาไปยืนดู ยืนขึ้นต่อกันไว้ แขวนไว้ แล้วก็ดูซิ กระดูกนิ้วเท้า กระดูกเท้า กระดูกแข้งเป็นผีหลอกใหญ่ หลอกทั้งตัวเลย ที่จิตหลงเห็นเป็นของสวยของงาม เกิดราคะตัณหาเพราะไม่ดูกระดูกของตัวเอง จิตกิเลส จิตมัวเมา มันดูไปไม่ถูก ดูของปลอม ดูของจริงดูกระดูกซิ กระดูกมันเป็นของจริงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปไหนตั้งแต่เกิดมามันเป็นกระดูก มันก็เป็นอยู่ เดี๋ยวนี้ก็เป็นกระดูกอยู่ เลยนี่ไปมันก็จะเป็นกระดูกอยู่อย่างนั้น โน่นแหละจนถึงวันตายมันก็เป็นกระดูกอยู่อย่างนั้น

    นี่แหละโครง ร่างผีหลอก ผีหลอกของเรา อย่าไปหลอกผีตนอื่นอีก มันเป็นผีด้วยกันทั้งหญิงทั้งชาย คนจะเป็นชาติใดภาษาใดก็ไม่มีใครแปลกประหลาดกว่ากัน มันก็กองกระดูกนี่แหละ อย่าไปมัวคิดฟุ้งซ่านไปที่อื่น ดูกองกระดูกของตัวเองให้รู้ให้เข้าใจ เวลายืนก็กองกระดูกยืน ให้เห็นอย่างนั้น ไม่ต้องมองให้เห็นเนื้อหนังมองเป็นกองกระดูก ยืนก็ผีหลอกยืน โหวกๆ หวากๆ ไปหมด มันดีอย่างไรวิเศษอย่างไร จิตนี้จึงมาหลง มันไม่ดูกองกระดูกของตัวเองจึงได้มัวเมากองกระดูก เวลานั่งสมาธิภาวนาก็กระดูก ๓๐๐ ท่อนมันนั่งไม่ให้เห็นเป็นเนื้อเป็นหนัง เห็นกระดูกนั่ง จะนั่งแบบไหนก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน มันนั่งมันยืนขึ้นก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน มันยืนขึ้น ยืนอยู่ ทั้งนี้มันเดินไปมาที่ไหนก็ดูมันเดิน มันจะเอากระดูก ๓๐๐ ท่อนนี่แหละเดินโทกเทกๆ ไปมา เดินไปข้างหน้า เดินไปข้างหลัง เดินไปข้างซ้ายข้างขวา นี่แหละดูกระดูกให้มันเห็น มันอยู่ในอิริยาบถใดก็ดูตามความเป็นจริงในอิริยาบถนั้น มันเดินเป็นยังไง ดูมันขึ้นบนลงล่าง ไปไหนมาไหน ก็เห็นกระดูกมันเดินไปยังงั้นแหละ ระวังกระดูกมันจะหัวเราะให้ดู เวลากระดูกมันหัวเราะคางมันอ้าขึ้นมา ดีใจก็หัวเราะแฮก ๆ กระดูกน่ะเสียใจก็ร้องไห้ น้ำหูน้ำตาไหล ถ้ายังไม่ตาย ถ้ายังเหลือแต่กระดูก มันแห้งไม่มีน้ำตา ร้องไห้เป็นที่ไหน มันร้องไห้ก็ให้ดูกระดูกมันร้องไห้ ดูตั้งแต่กะโหลกศีรษะลงมา กระดูกคอ กระดูกแขนกระดูกสันหลัง กระดูกข้าง กระดูกขา กระดูกเท้า กระดูกนิ้วเท้า หมดจากมันเดินแล้วมันก็จะมานั่ง นั่งก็ดูมันนั่ง นั่งมันเอาอะไรลงก่อน กระดูก ๓๐๐ ท่อนนั้นแล้วมันเป็นยังไง นั่งพับเพียบแล้วมันเป็นอย่างไรกระดูก ๓๐๐ ท่อนนี้ นั่งคุกเข่ามันเป็นอย่างไรกระดูก ๓๐๐ ท่อน ดูมันทุกอิริยาบถเมื่อนั่งมันนาน ๆ มันเหนื่อยมันก็จะนอน กระดูก ๓๐๐ ท่อนมันนอนนอนก็ดูมันตั้งแต่กะโหลกศีรษะจนถึงปลายเท้า กองกระดูกระนาวไปหมดจิตอย่าได้มาหลง ไม่ต้องมาหลงเนื้อหลงหนังของมนุษย์ ดูกองกระดูกของตนให้มันทั่วถึง ให้มันได้ทุกขณะที่กระดูกมันเคลื่อนไหวไปมา นอนมันหลับไป หลับไปสักพักคนมันยังไม่ตายก็ตื่น ตื่นขึ้นมากระดูกมันก็เคลื่อนไหวไปมา มันไปนั่งในห้องน้ำ นั่งในส้วม มันก็กองกระดูกมันก็เคลื่อนไหวไปมา มันไปนั่งในห้องน้ำ นั่งในส้วม มันก็กองกระดูกมันเดิน กองกระดูกมันยืน กองกระดูกมันนั่ง กองกระดูกมันนอน กองกระดูกมันถ่าย กองกระดูกมันพูดจาปราศรัย หัวเราะ ร้องไห้ อะไรต่อมีอะไรจิปาถะ กองกระดูกมันแสดงบทบาททั้งนั้น เอาให้มันเห็นเงากองกระดูก ไม่ต้องเห็นเงาหน้าตาคนธรรมดา เขาฉายถ่ายวิดีโอก็ถ่ายเอากองกระดูกนี่แหละ ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจะเป็นของดีของวิเศษเกินกระดูกไปได้ไม่เกินตาย ตายแล้วมันก็กระดูกอ่อนอย่างนี้แหละ จิตหลงจิตมาร จิตกิเลส จิตไม่รู้ จิตอวิชชา ตัณหา จิตตาบอด จิตมันเป็นนะโมตาบอด คือสิ่งที่มันเป็นจริงอยู่ไม่ดู ไม่เห็น เรียกว่าตาบอด ตาอวิชชาตัณหา ตาราคะ ตาโทสะ ตาโมหะ มันไม่เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบ ดูให้มันเห็นแจ้งให้มันเข้าใจในใจของตัวเอง เมื่อไม่เห็นกระดูกของตัวเองก็เรียกว่าฟังธรรมก็ได้ยินแต่เสียงเท่านั้น ไม่เห็นของจริง ถ้าเพ่งให้เห็นกระดูก ๓๐๐ ท่อน นับได้ให้มันเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์นับได้ ๓๐๐ ท่อน มันอยู่ที่ไหนบ้างมีอยู่ในร่างกายนี้แหละมีอยู่ในกองกระดูก ดูกองกระดูกของตัวเองตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันแตกตายไม่ให้มันหลงใหลไปได้

    นี่แหละอัฐิ กับกระดูก ๓๐๐ ท่อน พระพุทธเจ้าสอนมาแล้วตั้งสองพันปีกว่า จิตใจคนเราก็ยังไม่สนใจ ยังไม่เอามาคิดมาอ่านโลเลไป โลเลอยู่ โลเลกิน โลเลนอน โลเลไปตามอำนาจกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ไม่พิจารณาอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนของตัวเอง ก็มาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาไข้ มาตายก็เพราะแบกกระดูก ๓๐๐ ท่อนไม่รู้จักปล่อยวางให้โลกเขาสับมะกอกอยู่ทุกวันทุกคืน ให้เขาด่าอยู่ทุกวัน ทุกคืน ไม่เห็นไม่รู้ไม่เข้าใจ เขาเอาค้อนตีหัวตีกะโหลกศีรษะก็ตีกองกระดูก ช่างมันที่สุดมันก็ตายแหละ อย่าไปก่อกรรมทำเข็ญต่อไปอีกเกลียดชังใครก็อย่าไปฆ่าอย่าไปแกงกัน กองกระดูกไม่ถึง ๑๐๐ ปีมันก็ตายแล้ว ๙๙ ปียังไม่เต็มก็ตาย เหมือนหลวงปู่แหวนเราน่ะ ตายแล้วก็เห็นไหม อยู่ในหีบนั่น เขาถ่ายรูปไว้ ไม่เห็นมีฤทธิ์มีเดชหมดเรื่อง พวกเรายังอยู่ตัวเรายังอยู่ก็เหมือนกัน ดูกระดูกให้มันเห็นชัดเห็นแจ้ง พระก็สมมติเณรก็สมมติ ผ้าขาวก็สมมุติ มันก็กองกระดูก นั่นแหละ หญิงก็กองกระดูกชายก็กองกระดูก คนชาติใดภาษาใดก็กองกระดูก ไปหลงกองกระดูกมันทำไม โหวก ๆ หวาก ๆ ไม่เห็นมันสวยมันงามที่ไหน ทำไมจึงไม่กำหนดพิจาณา ต้องกำหนดพิจารณา ดูให้มันเห็นแจ้งด้วยสติด้วยสมาธิปัญญา เห็นแจ้งในจิตในใจของตัวเองจนไม่ต้องไปถามคนอื่นว่ากระดูกตรงไหนมันเป็น อย่างไร คือยังไม่ดูไม่พิจารณา ถ้าดูพิจารณาแล้วมันเห็นแจ้งเห็นชัดในหัวใจของตัวเองไม่ต้องไปถามใคร ข้ารู้หมดนี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านรู้ เจ้าสังขาร มาสร้างกองกระดูกให้เราตถาคตลุ่มหลงมัวเมามาอย่างนี้
    ตั้งแต่อเนกชาติแล้ว ต่อไปเจ้าสังขารจะไม่ได้สร้างอีก เราได้ทำลายแล้ว ทำลายอวิชชาจิตไม่รู้ พระองค์ทำลายฆ่ามัน พระองค์เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนแล้วจิตใจของพระองค์ก็ไม่หลงเพลินเพลินในกองกระดูก นั่งก็ไม่หลงกองกระดูก กระดูกคนอื่นก็ไม่หลง กระดูกตัวเราก็ไม่หลง กินก็กระดูกมันกิน พูดก็กระดูกมันพูด เอาให้มันทันกองกระดูก พิจารณากองกระดูกของตัวให้มันเข้าใจ ให้มันเห็นแจ้งเห็นชัด เหม็นหอมมันก็มาจากระดูกมันมีสมัยเมื่อยังไม่ตาย ยังไม่เป็นกองกระดูก เหม็นก็อยู่นี่ หอมก็อยู่นี่ กินถ่ายอยู่ตลอดวันตาย ตื่นเช้าก็แสวงหาอาหารมากิน กินเข้าไปเลี้ยงกองกระดูก กินแล้วก็ถ่ายเทออกมา ดีวิเศษอะไรจิตให้รู้ให้เข้าใจภาวนาดูให้เข้าใจ ละกิเลสโลเล จิตใจโลเลออกไปให้หมด เป็นจิตที่แน่วแน่เพียรเพ่งดูให้มันทะลุปรุโปร่งตามความเป็นจริง ของจริงและกระดูกจริงอย่างนั้นถ้าไม่เห็นมันก็ยังหลงของปลอมนี่อีก ถ้ามันรู้มันเห็นแจ้งว่าอัฏฐิกังกระดูก ๓๐๐ ท่อน พระพุทธเจ้าสอนให้ดูให้รู้แจ้งในใจ จึงไม่ลุ่มหลงมัวเมาต่อไป ถ้าไม่เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน มันก็มาวนอยู่เข้าใจว่าเป็นสวยของงามไป สวยที่ไหนงามที่ไหน ผีหลอกทั้งเพ ผีหลอกตั้งแต่กะโหลกศีรษะลงมาจนถึงปลายมือปลายเท้า ผีหลอกทั้งนั้น ไม่ว่าหญิงว่าชายพิจารณากองกระดูกตัวเองให้รู้ อย่าให้หลงใหลต่อไป


    อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน ดูให้แจ้ง ดูให้เห็น กำหนดให้ได้ กำหนดให้ได้ทุกเวลา กระดูกกำหนดไปถึงไหนถึงวันตาย ตายเมื่อใดก็ดูกระดูก ๓๐๐ ท่อนมันไป นั่งก็กระดูก ๓๐๐ ท่อน ไปหลงมันทำไม พูดก็กระดูก ๓๐๐ ท่อนไปหลงมันทำไม ถ่ายภาพถ่ายรูปก็เงา ไปหลงเงาทำไม เงากระดูก เหตุไม่ดูกระดูกของตัวเอง จึงได้หลงกองกระดูกคนอื่น เดี๋ยวนี้เวลานี้ให้ดูกระดูกของตัวเอง ดูจนนับได้ อ่านได้ด้วยตนเอง จึงเรียกว่าพิจารณา ถ้าไปถามคนอื่นบอกมันเรื่องของจริงมันอยู่ที่กระดูก เห็นแจ้งกระดูก กระดูกเขา กระดูกคนทั้งโลกก็เหมือนกัน จะไปทะเยอทะยานวุ่นวายไปทำไม เมื่อมันถึงขั้นตายเป็นกองกระดูกแล้วมันหาบสมบัติในโลกไปได้กี่ชิ้น กี่อัน ไม่มีอะไรก็ทิ้งเปล่า ๆ อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อนทั้งหมดละ ตายเมื่อใดมันเอาอะไรไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่เห็นแจ้งในอัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน จิตมันก็โลเลไม่ตั้งมั่นเที่ยงตรง

    นี่แหละเรา ท่านทั้งหลาย อัฐิกับกระดูก ๓๐๐ ท่อน ต่อไปภายหน้าอย่าได้มีความลุ่มหลงมัวเมา ให้กำหนดให้ทั่วถึงรอบคอบทุกชิ้นทุกอัน แล้วก็จะต้องกำหนดอยู่จนถึงวันสิ้นชีวิตจึงจะเข้าใจในธรรมปฏิบัตินี้ ดังแสดงมาก็สมควรแก่กาลเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

    ................................................................

    คัดลอกจาก : แสงแห่งสมาธิ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จิตพระอริยอยู่เหนือกิเลส

    ต่อไปนี้ให้พากันตั้งใจนั่งสมาธิภาวนา ปล่อยวางอารมณ์ภายนอกภายในออกไปให้หมด ตั้งใจบริกรรมภาวนา วันนี้เป็นวันสิริมงคลวันหนึ่ง เป็นวันอุโบสถในทางพุทธศาสนา ให้พวกเราทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติภาวนา ที่ถ้ำผาปล่องนี้สถานที่ที่เราอาศัยอยู่ เป็นสถานที่สิริมงคล เมื่อเรามาสู่สถานที่สิริมงคลแล้ว อย่าปล่อยให้จิตใจฟุ้งซ่านไปที่อื่น จงตั้งอกตั้งใจภาวนา ดำเนินกายภายในดวงจิตดวงใจ<o:p></o:p>

    คำว่าภาวนานี้ ได้แก่สงบจิตสงบใจ ไม่ให้ใจวุ่นวาย คิดถึงบ้านเรือน คิดถึงลูกหลาน วุ่นวายไปภายนอก ให้พากันระลึกถึงมรณภัย มรณกรรมฐานมันใกล้เข้ามาทุกวันทุกคืน ไม่ใช่ว่าเราอยู่ที่เก่า สังขารธรรมทั้งหลาย รูปร่างกายของเราทุกคน มีความเจ็บไข้ได้ป่วย มีความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมไปสิ้นทุกวันคืน แม้ผู้ที่ยังเด็กยังหนุ่ม ก็อย่าประมาทมัวเมาว่าข้าพเจ้าไม่แก่ การตายไม่เฉพาะแต่คนแก่ บางคนคนหนุ่มนั้นตายก่อนคนแก่ก็มี คนแก่ยังยืนยาวคราวไกลไปก็มี ทุกคนจงระลึกถึงมรณภัยคือความตาย ไม่มีทางหลบหลีก แม้หลบหลีกได้ว่า ในเวลาเราหนุ่มแน่น กำลังดีไม่ตาย เมื่อถึงวัยแก่วัยชราก็ไม่มีทางหลบ จำเป็นต้องแตกดับทำลาย<o:p></o:p>

    แต่ผู้ใดภาวนาดี ละกิเลสความโกรธหมดไป ละกิเลสความโลภหมดไป ละกิเลสความหลงหมดไป ผู้นั้นก็ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนประการใด แม้ความตายมาถึงเข้า ท่านก็ยอมตาย คือ ท่านเห็นแล้วว่า ตายเป็นเรื่องของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม มันกระจัดกระจายไปเขาก็เรียกว่าตาย ใช้การไม่ได้ เขาก็เรียกว่าตาย จิตใจมันไม่ได้ตาย<o:p></o:p>

    จิตใจไม่ได้ตายนั้น ย่อมส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า แม้พระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เราว่าท่านดับขันธ์เข้าสู่นิพพานแล้ว มันก็เป็นแต่ว่าดวงจิตดวงใจของท่านส่วนหนึ่ง ร่างกายของท่านแตกดับไป แต่จิตใจเป็นของไม่ตาย แต่จิตนี้เมื่อละกิเลสราคะ โทสะ โมหะ หมดไปแล้ว ออกจากจิตใจไปแล้ว เหลือแต่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส จะอยู่ที่ใดเป็นอะไร ก็ชื่อว่าอยู่ในนิพพาน ไม่มีเรื่องราวอะไร ที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์เป็นร้อน อย่างสามัญชนคนเราทั่วไป<o:p></o:p>

    คนเราทั่วไปที่มันทุกข์มันร้อนอยู่ ก็คือว่ากิเลสทางตา ได้แก่ รูป ตาเห็นรูปก็เกิดกิเลส หูได้ยินเสียงก็เกิดกิเลส เพราะกิเลสมันยังไม่ดับ จึงจำเป็นต้องตั้งอกตั้งใจภาวนา อย่ามีความท้อถอย ผู้ใดท้อถอยชื่อว่าเป็นผู้มัวเมา จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ในภพน้อยภพใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด ยุ่งเหยิงอยู่ด้วยกิเลสกาม วัตถุกาม<o:p></o:p>

    ตั้งแต่วันนี้ไป ให้พากันตัดบ่วงห่วงอาลัย อารมณ์สัญญาที่คิดถึงบ้านถึงเรือน ถึงลูกถึงหลาน ถึงอะไรต่อมิอะไรให้ตัดขาด ว่าสถานที่เรานั่งสมาธิภาวนาอยู่นี้ เท่ากันกับว่าเป็นสถานที่วิเศษ เป็นทางที่จะให้เราทุกคนละกิเลสให้หมดไปสิ้นไปได้ ถ้าตั้งใจภาวนา แต่ไม่ใช่ว่าสถานที่จะมาละกิเลสให้เรา ใจเรานี้แหละภาวนาละกิเลสเอาเอง<o:p></o:p>

    กิเลสนั้น เมื่อผู้ใดเลิกได้ละได้แล้ว ไม่เลือกว่าเณร ไม่เลือกว่าพระ ไม่เลือกว่าจะสมมุติว่า เป็นธรรมยุต เป็นมหานิกาย อะไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ใช่สมมุตินั้นละกิเลส การละกิเลสมันเป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละดวงจิตดวงใจ ผ้าขาวผ้าเหลืองไม่ได้มาละกิเลสให้ สถานที่ก็ไม่ได้มาละกิเลสให้แก่เรา จิตใจเรานั้นเองเป็นผู้ละกิเลส<o:p></o:p>

    เมื่อภาวนาพุทโธๆ เมื่อภาวนามรณกรรมฐานได้ทุกลมหายใจเข้าออก จนดวงจิตดวงใจผู้รู้อยู่นี้ไม่ไปไหน อยู่ภายในสงบนิ่งแน่วเป็นดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ภายในจิตใจได้ตลอดเวลา นั่นแหละต้นทางที่จะเป็นไปเพื่อละกิเลส ตัดกิเลสตัณหาได้ เพราะกิเลสตัณหานั้นมีอยู่ภายใน ไม่ใช่มีแต่ภายนอก<o:p></o:p>

    เมื่อคนเราจิตไม่สงบระงับ ก็เข้าใจว่าสิ่งภายนอกเป็นกิเลส รูปเป็นกิเลส เสียงเป็นกิเลส กลิ่นเป็นกิเลส รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นกิเลส ความจริงตัวกิเลสจริงๆ ก็คือจิตใจผู้รู้อยู่ภายในใจของเราทุกคนนี้แหละ ในจิตดวงผู้รู้นั้น มีกิเลสราคะอยู่ที่นั้น มีกิเลสโทสะอยู่ที่นั้น มีกิเลสโมหะอยู่ที่นี้ เมื่อใดการภาวนาละกิเลสภายในใจของเรา ยังไม่พร้อมมูลบริบูรณ์แล้ว อาสวะกิเลสเหล่านี้ก็ต้องอยู่ในใจตลอดเวลา<o:p></o:p>

    การภาวนาละกิเลสต้องละภายใน ไม่ใช่ละภายนอก ภายนอกนั้นเป็นแต่ว่าอุปกรณ์กิเลส เราให้คิดดูดีๆว่า ถ้าหากว่า คน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นกิเลส ก็ลองคิดดูว่า ถ้าเราฆ่าคนทั้งโลกนี้ให้ตายหมด ยังเหลือแต่เราคนเดียว กิเลสเรามันจะหมดไปสิ้นไปหรือไม่ มันก็ยังไม่หมด คนทั้งโลก สัตว์ทั้งโลก สมมติว่าให้เขาตายไปหมดเสีย กิเลสของเรามันจะหมดไปไหม มันก็ไม่หมด เมื่อไม่หมดแสดงว่าอันนั้นก็ไม่ใช่ตัวกิเลส<o:p></o:p>

    ตัวกิเลสจริงๆ ก็จิตเรานี่แหละ จิตขี้เกียจขี้คร้านภาวนา จิตไม่รักษาศีล จิตไม่มีทาน จิตไม่มีศีล จิตไม่มีภาวนา จิตไม่ละกิเลส เมื่อจิตไม่ละกิเลสก็นี่แหละคือตัวกิเลส ตัวกิเลสเป็นตัวอย่างไร ตัวกิเลสก็เป็นตัวเหมือนตัวเรานั่นเอง ขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง ดวงใจครองอยู่ในร่างกายอันนี้ นั่นแหละตัวกิเลส<o:p></o:p>

    ดูเวลากิเลสความโกรธมันเกิดขึ้น ตาแดง ตาพอง ทุบต่อย ตีกัน ประหัตประหาร ฆ่าฟันรันแทงกัน อะไรมันตี อะไรมันทำ ก็คือจิตนั่นแหละมาใช้รูปร่างกายนี้ ให้ดุด่าว่าร้ายออกมา จนถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นธรรมดาโลก นั่นแหละ กิเลสมันอยู่ภายใน แต่เวลามันจะทำ มันมาใช้รูปขันธ์นี้ให้ทำ รูปขันธ์ร่างกายนี้มันไม่ได้กลัวบุญกลัวบาป มันเป็นเพียงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เท่านั้น สุดแท้แต่จิตที่มีกิเลสหรือไม่มีกิเลสภายในใช้ให้ทำอะไร มันก็ทำ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จิตพระอริยอยู่เหนือกิเลส 2

    นี่แหละร่างกายสังขาร ตัวกิเลสก็ตัวเราทุกคนนั่นแหละ จิตเราทุกคนนั่นแหละ กิเลสความโลภ กิเลสความไม่อิ่มไม่พอในวัตถุข้าวของทรัพย์สินเงินทอง กิเลสกาม วัตถุกาม มันอยู่ที่ไหน มันก็อยู่ที่กายนี้ อยู่ที่จิตนี้แหละ ดวงจิตนั่นแหละเป็นตัวกิเลสราคะตัณหา แล้วเวลามันใช้ ก็มาใช้รูปขันธ์ ทำให้เกิดลูกมา เกิดหลานมา เป็นทุกข์เป็นร้อนวุ่นวาย มันมาจากไหน ก็มาจากจิต จิตราคะตัณหา<o:p></o:p>

    พระภิกษุสามเณร แม่ขาว นางชีอยู่ดีๆไม่ได้ ต้องสึกไป ก็เพราะอะไร ก็เพราะอำนาจกิเลสโลภะ กิเลสราคะตัณหา ไม่ภาวนาละกิเลสในจิตใจอันนี้ออกไป เมื่อกามตัณหา ภวตัณหามีอยู่ในจิต ไม่เลิกไม่ละ ไม่สงบระงับ มันก็วุ่นวายสร้างภพสร้างชาติขึ้นมา สร้างรูปสร้างนามขึ้นมา มันมีอยู่ภายใน ไม่ใช่อยู่ภายนอกอย่างเดียว ตัวสำคัญมันอยู่ที่จิต<o:p></o:p>

    ทีนี้พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์รู้ว่ากิเลสทั้งหลายแหล่พาให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันอยู่ที่ดวงจิต พระองค์ก็เอาดวงจิตภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก พระองค์ควบคุมจิตใจไม่ให้วิ่งหนีไปที่อื่น ทบทวนกระแสเข้ามาสู่ภายในดวงจิตดวงใจ ดวงที่รู้อยู่ภายใน ตอนแรกๆ ก็เอาลมหายใจเป็นที่ยึดเหนี่ยว คือว่าเอาลมหายใจเป็นที่สังเกต ลมเข้าไปจิตผู้รู้อยู่ที่นี้ดูจิตดูลม ไม่ให้หลง จิตเข้ามาจิตออกไป ตามอยู่ที่ลมนี้ ผู้รู้ว่าลมก็คือจิตนั่นเอง<o:p></o:p>

    แต่ว่าจิตใจของคนเรานั้น จะหาเป็นตัวเป็นตน เหมือนคนเหมือนวัตถุข้าวของไม่ได้ ไม่มีตัว ไม่มีตัวแต่มีอำนาจใหญ่ อำนาจกิเลสมันใหญ่ เหมือนกับธาตุลม ธาตุอากาศ ลมไม่มีตัวตน เวลามีลมแรงๆพัดมา พัดเอาบ้านเรือนตึกรามพังทลายไป นั่นลมไม่มีตัวแต่ทำไมมันมีกำลัง นี่แหละจิตใจคนเรานี้ก็เหมือนกัน จิตใจที่ยังมีกิเลส มันก็ใช้ให้เป็นไปตามอำนาจกิเลส<o:p></o:p>

    จิตใจที่มุ่งหวังเป็นทางพ้นทุกข์พ้น ภัย ในโลก ในวัฏฏสงสาร ต้องเป็นทานบารมี การทำบุญให้ทาน ศีลบารมี รักษากาย วาจา จิตของตน ไม่ให้ทำผิดในหลักศีลห้า ศีลแปดขึ้นไป เมื่อบำเพ็ญประกอบกระทำอยู่ในสิ่งเหล่านี้ จิตใจของเราทุกคนก็ย่อมมีกำลังแก่กล้าในกองการกุศล ในการภาวนาละกิเลส ไม่ปล่อยให้ความลังเลสงสัยมาอยู่ในจิตในใจ ไม่ว่าจะนั่งจะนองจะยืนจะเดินไปมาที่ไหน<o:p></o:p>

    ภาวนามรณกรรมฐานเตือนจิตใจนี้อยู่เสมอ ว่าชีวิตของเรานี้ต้องถึงซึ่งความตาย ที่ใครคิดว่าเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ก็จะไปโรงพยาบาลให้มันดีมันหาย มันไม่มีทางที่จะหายได้ มันนับวันนับคืน นับชั่วโมงนาทีวินาที มันใกล้ไปสู่ความตายทุกวันเวลา เมื่อมันเจ็บไข้ได้ป่วยได้ แล้วจะไม่ตายนั้นไม่ได้ มันต้องตายแน่ๆ มันแสดงให้เห็นแล้วว่าหนีไม่พ้น เมื่อหนีไม่พ้นแล้วนั้น มันก็มีทางพ้นอยู่ก็คือการภาวนา เอาจิตใจให้มันหลุดมันพ้นออก ไม่ให้ใจหลงใจเมามาอยู่ภายในนี้<o:p></o:p>

    ท่านจึงมีวิธีการภาวนาพุทโธ ภาวนามรณกรรมฐาน ภาวนาลมหายใจ เพื่อให้จิตใจเราทุกดวงจิตดวงใจสงบระงับ ตั้งมั่นเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว เดี๋ยวนี้จิตมันฟุ้งไปซ่านไปมัวเมาไป ไม่มีที่สุดที่สิ้น เลยวุ่นวายอยู่อย่างนั้นเอง<o:p></o:p>

    พระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านมีความสุขกาย สบายใจ ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะท่านภาวนาละกิเลส ภาวนาละกิเลสนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เมื่อใดยังมีกิเลสราคะ โทสะ โมหะอยู่ เราอย่าได้ถอยความเพียร มันจะคิดไปที่ไหน อย่าไปตามอำนาจกิเลสที่มันคิด ให้มาอยู่ภายในดวงจิตดวงใจของตนให้ได้<o:p></o:p>

    ใจเป็นธาตุรู้มีอยู่ในใจทุกๆคน การภาวนาไม่ใช่ว่าเรามาภาวนามาปรุงมาแต่งเอาใจใหม่ มันไม่ใช่อย่างนั้น ใจมันมีอยู่แล้ว จิตมันมีอยู่แล้ว แต่จิตนี้เป็นจิตที่หลงใหลไปตามจิตสังขาร จิตวิญญาณ จิตกิเลส จิตตัณหา มันดิ้นรนวุ่นวายไปตามกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาตลอดเวลา หาเวลาสงบระงับไม่ได้<o:p></o:p>

    ท่านจึงสอนว่า ให้สงบจิตสงบใจลงไป ภาวนาพุทโธ ให้จิตใจมาจดจ่อในพุทโธ สงบระงับลงไป ไม่ต้องไปตามอารมณ์อะไรของใครทั้งหมด เรื่องราวอดีตอนาคตมันอยู่ข้างหน้า อนาคตกาลก็อย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อน อดีตที่มันล่วงมาแล้ว สิ่งเหล่านั้นมันก็ล่วงมาแล้ว จิตอย่าไปหลงไปยึดเอามา เดี๋ยวนี้เวลานี้ ดวงจิตดวงใจภาวนาอยู่ที่นี้ นั่งอยู่ที่นี้บริกรรมอยู่ที่นี้ จิตอย่าวุ่นวายไปที่อื่น ให้รวมจิตใจเข้ามา ตั้งให้มั่น เอาให้มันจริง<o:p></o:p>

    เมื่อเอาจิตใจสงบระงับตั้งมั่นแล้ว จิตใจดวงที่สงบระงับตั้งมั่นนี้ก็จะมองเห็นทีเดียวว่า กิเลสราคะไม่ดีอย่างไร ก็จะได้ทำการละกิเลสราคะ ตัดต้นตอให้มันหมดไปสิ้นไป กิเลสโทสะไม่ดีอย่างไร ต้นตอของกิเลสโทสะมันอยู่ที่ไหน จะได้ตัดละกิเลสความโกรธออกไป กิเลสความหลงไม่ดีอย่างไร จะได้ทำความเพียรละกิเลสความหลงให้หมดสิ้นไป เมื่อเลิกเมื่อละถอนออกไปหมดแล้ว จิตใจก็จะเย็นสบาย มีความสุขไม่ทุกข์ร้อนประการใด<o:p></o:p>

    เหตุนั้น การภาวนาทำความเพียรปฏิบัติบูชา ในทางพุทธศาสนานี้ จงตั้งจิตเจตนาลงให้มั่นคง อย่าได้ให้ใจอ่อนแอท้อแท้กลัวตาย การสร้างบุญบารมี ภาวนาละกิเลสมันไม่ตาย ถ้าหากว่าผู้ใดภาวนาเด็ดเดี่ยวแล้วก็ตายเอาตายเอา จะมีพระพุทธเจ้าได้หรือ เพราะว่าภาวนาเคร่งเครียดเข้าไปก็ตาย ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ภาวนามากเข้าไปจะได้เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ มันตายเสียก่อน ถ้ามันเป็นอย่างนี้ก็ไม่มีพระซิ ที่มันมีพระอยู่ก็คือว่ามันไม่ตาย
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถ้าตั้งใจจริงย่อมมีเวลาภาวนา

    [​IMG]


    ถ้าตั้งใจจริงย่อมมีเวลาภาวนา

    <o:p></o:p>
    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)<o:p></o:p>
    5 พฤษภาคม 2519

    <o:p></o:p>
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 009928 โดยคุณ : ความคิด [ 25 ก.ย. 2546 ]

    <o:p></o:p>
    ณ โอกาสนี้ไปเป็นโอกาสนั่งสมาธิภาวนาการนั่งสมาธิภาวนาตอนเช้านี้ ให้ระวังอย่าให้ความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามาทับถมจิตใจ ตั้งใจของเรา ให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั้นก่อนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านได้ตั้งใจปรารถนาเพื่อจะรื้อขนสัตว์ในโลกให้ไปสู่นิพพานพร้อมกับพระองค์ด้วย ไม่เฉพาะแต่ว่าเอาพระองค์พ้นทุกข์แล้วก็พอ เหมือนคนธรรมดาทั่วไป คนธรรมดานั้นเรียกว่าเห็นแก่ประโยชน์ตน สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วก็ตั้งอกตั้งใจทำเอา<o:p></o:p>

    แต่พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งใหญ่นั้น ไม่เฉพาะแต่พระองค์เองเท่านั้น เมื่อได้ตรัสรู้แล้วก็ตั้งใจช่วยมนุษย์และเทวดา อินทร์ พรหมทั้งหลาย เรียกว่าช่วยสัตว์โลก การที่ผู้จะช่วยสัตว์โลกได้นั้น จะต้องบำเพ็ญบารมีธรรมมานาน เรียกว่าอย่างต่ำหรือว่าอย่างตรัสรู้ได้เร็ว ก็เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ นับตั้งแต่ได้ลัทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรมาสี่อสงไขยแสนมหา กัปป์ จึงได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ให้เราท่านทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา นั่งภาวนาตามอยู่เวลานี้ เรียกว่าเป็นเวลายาวนาน อันนี้เรียกว่าอย่างได้ตรัสรู้ง่าย ใช้ปัญญาเร่งรัด<o:p></o:p>

    ขนาดที่สองหรืออย่างกลางนั้น ผู้ปรารถนามีจิตใจอันเข้มแข็งขอให้ได้เป็นพระ พุทธเจ้าขนาดกลาง หรือศรัทธาธิกะ แปดอสงไขยแสนมหากัปป์นับจากได้รับลัทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว ก็นับว่าองค์นี้มีความเพียรมาก<o:p></o:p>
    ขนาดสูงสุดเรียกว่าวิริยบารมี มีวิริยะความพากเพียรพยายามมากองค์นี้เรียกว่า สิบหกอสงไขยแสนมหากัปป์ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยรื้อขนสัตว์ทั้งหลายให้ไปสู่นิพพาน<o:p></o:p>

    โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ที่ยังมีพุทธศาสนาอยู่ในโลกในศาสนานี้ก็นับว่าได้รื้อขนสัตว์ไปสู่นิพพานได้มาก ประมาณยี่สิบหกอสงไขยคำว่าอสงไขยในสมัยโบราณก็เรียกว่านับไปๆ จนนับไม่ได้ เมื่อนับไปก็หลงไป ก็กลับมานับใหม่ ให้ชื่อว่าอสงไขยหนึ่ง เรียกว่าหลายๆล้าน<o:p></o:p>

    บัดนี้เราท่านทั้งหลาย ก็มาเกิดในยุคนี้สมัยนี้แม้จะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าองค์ท่านจริงก็ตาม เราก็ได้เห็นพระพุทธรูปที่ท่านหล่อท่านทำไว้ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเชื่อแน่ได้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริงพระอริยสงฆ์สาวกมีจริง จึงปรากฏการณ์ให้เห็นอยู่ ปรากฏอยู่ประเทศไทยเรามีวัดวาศาสนา พระสถูปพระเจดีย์อยู่ทั่วไป วัดวาศาสนาก็มีพระภิกษุสามเณร ผ้าขาว นาง<st1:personname w:st="on" productid="ชี อุบาสก">ชี อุบาสก</st1:personname> อุบาสิกามีศรัทธาทำบุญสุนทาน สิ่งเหล่านี้ย่อมแสดงถึงพระพุทธเจ้าถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีพระธรรม ไม่มีพระสงฆ์พระพุทธเจ้าไม่มาตรัสรู้ สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่ปรากฏในสายตาเราท่านทั้งหลายที่เกิดมานี้<o:p></o:p>

    นี่แสดงให้เราท่านทั้งหลายเห็นว่า พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีมาเต็มส่วน จึงได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า รื้อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ไปสู่นิพพาน ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงมุ่งหมายไว้<o:p></o:p>

    เราทุกคนก็อย่ามีจิตใจท้อแท้อ่อนแอ อย่ามาคิดว่าเราทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้ อันนี้ท่านว่าเป็นความคิดของพญามาร สังขารมารมันเสี้ยมสอนจิตใจคนเราไว้ไม่ให้ไปสู่นิพพาน ให้มาเกิดมาตายอยู่กับลูกกับหลานนี้แหละ<o:p></o:p>

    เมื่อเรามาพิจารณาให้เห็นว่า การเกิดมาในโลกนี้จะเป็นมนุษย์โลกก็มีความทุกข์ เทวโลกก็มีความทุกข์ในเทวโลก ไปเกิดในพรหมโลกก็ไปทุกข์ในพรหมโลก คำว่าทุกข์นั้นก็คือว่าไม่พ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่พ้นจากจุติปฏิสนธิเมื่อเกิดมาแล้วก็เต็มไปด้วยความทุกข์ โดยเฉพาะคนหรือมนุษย์เราพอเกิดมาแล้วชราความแก่ก็เป็นไปโดยลำดับ<o:p></o:p>

    นับตั้งแต่มาปฏิสนธิ คือว่ามายึดเอาถือเอารูปขันธ์ ขาสองแขนสอง ศีรษะหนึ่งตั้งแต่ในท้องแม่มา ความแก่ชราก็แก่เรื่อยมาเรียกว่าเรามี ความแก่เป็นธรรมดา จะหนีความแก่ไปไม่พ้น จะหนีหลบไปที่ไหนก็ตาม ถ้าไม่ตายเสียก่อนก็ย่อมแก่ชรา เว้นเสียตายแต่เมื่อเล็กเมื่อน้อยหรือตายเมื่อคลอดจากท้องแม่ก็ไม่แก่ แต่ว่าถ้าพ้นนั้นมาแล้วมันต้องแก่วัน แก่คืน แก่เดือน แก่ปีมาจนถึงเราได้เห็นคนแก่ คนชราผมขาวฟันหลุด เนื้อหนังมังสังเหี่ยวแห้ง หูตาไม่ดี ตาก็ไม่ดีหูก็ไม่ดี อะไรๆก็ไม่ดี<o:p></o:p>

    คนแก่ คนเฒ่าเวลามาที่วัด ก็มักจะบ่นว่า ข้าพเจ้าแก่แล้วเดินมาวัดก็ไม่ไหว จดจำอะไรก็ไม่ค่อยได้ ยิ่งถ้าหากว่าขึ้นที่สูงขึ้นภูเขาอย่างถ้ำผาปล่องนี้ ก็สู้ไม่ไหว หัวเข่ามันไม่สู้ใจนั้นมันยังสู้อยู่ หัวเขามันไม่สู้ ความจริงก็คือว่าใจมันไม่สู้นั่นเอง หัวเข่ามันไม่พูดอะไร จิตใจมนุษย์มันท้อถอยต่างหาก แล้วตาของคนแก่มันก็ไม่ค่อยเห็น บางคนตาข้างหนึ่งก็ไม่เห็นเสียแล้ว เห็นข้างเดียว บางคนหูก็ฟังอะไรไม่ค่อยได้ยิน<o:p></o:p>

    นี่ก็คือว่าคำว่าแก่ชรา มันไม่ใช่แก่ชราแต่ผมแก่ไปทุกอย่างนั้นแหละ เพราะว่าในร่างกายมนุษย์คนเรานั้น ไม่เหมือนเครื่องยนต์กลไกของโลก เครื่องยนต์กลไกของโลกนั้น สิ่งใดที่มันเสียมันหักมันพัง ก็ถอดออกมาเอาเครื่องใหม่ใส่เข้าไปก็ทำงานได้ มนุษย์นั้นถอดออกมาไม่ได้เกิดมีกระดูกหักเข้าไป หรืออะไรต่อมิอะไรมันเสียอยู่ข้างในเอามาแก้ไขไม่ได้ เยียวยาพยาบาลไปตามเรื่อง ไม่เหมือนเครื่องยนต์กลไกนี่คือว่าความแก่ ความชราของเรานั้น เป็นไปทุกวันเวลา ทุกชั่วโมงนาที วินาที ถ้าเราไม่ภาวนาก็ไม่รู้<o:p></o:p>

    ถ้าภาวนาแล้วจะเห็นว่า หนีไม่พ้นจริงๆ ใครจะไปอยู่ที่ไหนก็ตามก็ต้องมีความแก่เป็น ธรรมดา ความแก่ ความเจ็บ ความไข้ ความตายความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาของการเกิดมาเกิดมาต้องเป็นทุกข์อย่างนี้ เกิดมาแล้วจะหลบหลีกไม่ได้<o:p></o:p>

    แต่เมื่อมีพุทธศาสนา มีพระธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มาตรัสสอนไว้นั้นท่านว่ายังมีทางอยู่ คือไม่ใช่ว่าเราจะมาหลบหลีกในทางรูปขันธ์รูปขันธ์นี้หนีไม่พ้นความแก่ ความชรา ความเจ็บไข้และความตายความพลัดพรากจากสิ่งต่างๆ แต่ท่านให้ภาวนาทำความเพียรปฏิบัติบูชาภาวนาละกิเลส ละกิเลสให้ออกจากจิตใจได้ นั่นแหละทางที่จะพ้นไปจากความแก่ ความเจ็บ ความไข้ ความตายมันพ้นได้จริงๆ แต่ว่าในภพนี้ชาตินี้ที่เราเกิดมานั้นมันต้องเป็นไปตามชรา พยาธิ มรณะทุกคน<o:p></o:p>

    จิตใจผู้รู้อยู่ในตัวในใจเราทุกคนนั้นแหละ ถ้าจิตอันนั้นบำเพ็ญทานมาเต็มที่ รักษาศีลมาเต็มที่ บุญบารมีทั้งอดีตและปัจจุบันก็ไม่ท้อถอยบำเพ็ญภาวนาตั้งใจเพื่อละกิเลส ความโกรธ ความโลภความหลงในใจของตนอยู่ทุกเวลา หรือในเมื่อเวลาอารมณ์เรื่องราวต่างๆมันกระทบหู กระทบตากระทบใจเข้ามา ก็ไม่ต้องไปยึดถือ<o:p></o:p>

    ความจริงแล้วเรื่องกระทบต่างๆนั้น มันเป็นเครื่องสอนเป็นเครื่องบอก บอกว่าอย่างไร ถ้าเรายังมีความโกรธ ความขัดเคืองให้แก่คน ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ให้แก่วัตถุทั้งหลายในโลก ก็แสดงว่ากิเลสความโกรธ กิเลสความอิจฉา พยาบาทในจิตในใจของเรา ที่เรียกว่าความโกรธมานะทิฏฐิในนั้นมันมี ถ้มันไม่มีมันไม่ออกมาต่อต้าน เพราะว่าเจ้าโทสะนี้ถ้าจะจัดอีกอย่างหนึ่งก็เรียกว่า เป็นยักษ์ใหญ่ ใครมาแตะต้องไม่ได้ว่าไม่ดีให้ไม่ได้ ธรรมดายักษ์นี้เรียกว่าโกรธมาก หรือว่าสัตว์ก็เสือโคร่งแหละ ใครไปใกล้มันได้ เดี่ยวมันจะกัดคอเอาแหละ<o:p></o:p>

    ไอ้เจ้าโทสะนี่แหละ เราต้องเลิกละตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปอย่ามายึดถือ ความโกรธอยู่ได้ก็เพราะว่า จิตเรายึดถือยึดถือเห็นดีว่าความโกรธนี้มีอำนาจวาสนา ใครมาเห็นเข้า ใครได้ฟังเข้าก็กลัว ยักษ์ใหญ่ใครก็กลัว เจ้าขี้โกรธนี้แหละ ต้องภาวนาเจริญเมตตาให้แก่ตัวเองแลมนุษย์อื่น สัตว์ทั้งหลาย ให้เขาทั้งหลายมีความสุขความสบาย ตามบุญบารมีของเขา เราอย่าไปเบียดเบียนเขาให้เกิดความทุกข์เพิ่มเติมไปอีก<o:p></o:p>

    ความทุกข์ของคนเรา มันเกิดขึ้นที่ความโกรธนี่มากมายในตัวของคนเราคนหนึ่งนั้น มันมีอยู่เต็มตัวก็ว่าได้เหมือนน้ำเต็มอยู่ในหม้อในไหอย่างนั้นแหละ กิเลสความโกรธมันมีอยู่เต็มหัวใจ กิเลสความโลภ ความอยากได้ ความสุขสะดวกสบายในโลกนี้ ก็มีอยู่เต็มหัวใจ กิเลสความหลง หลงกายหลงจิต หลงรูป หลงนาม หลงใหลไปหมดทุกอย่างทุกประการมันก็เต็มหัวใจอยู่<o:p></o:p>

    จึงจำเป็นต้องนั่งสมาธิภาวนา บริกรรมทำใจให้สงบด้วยวิธีการต่างๆนานา ผู้ใดนึกถึงพุทโธพระพุทธเจ้า จิตใจสงบระงับท่านก็ให้นึกพุทโธนั้น ไม่ว่าอุบายใดถ้านึกเจริญให้เต็มที่แล้ว อุบายนั้นก็เป็นอุบายให้จิตใจสงบระงับให้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมได้ทุกอย่าง แต่ที่มันไม่ได้ไม่เป็นไปนั้น เพราะว่าการประกอบการกระทำของแต่ละจิตใจของแต่ละบุคคลนั้นมันน้อย มันยังไม่พอ<o:p></o:p>

    ในอดีต ไม่ต้องไปคิดถึง เอาชาติปัจจุบันเดี๋ยวนี้เวลานี้อันอดีตนั้นถ้าปัจจุบันดี มีตาดี หูดี ร่างกายดี มีจิตใจไม่ได้เป็นใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ประการใดแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่า บุญบารมีเราทุกคนได้บำเพ็ญทาน รักษาศีลภาวนามาพอสมควร ถ้าชาตินี้เวลานี้เราเร่งเข้าไป ภาวนาไม่ท้อถอยไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอันใดก็ตาม มันไม่ได้ขึ้นกับอายุไม่ได้ขึ้นกับพรรษา ไม่ได้ขึ้นกับเพศหญิงเพศชาย ไม่ได้ขึ้นกับคฤหัสถ์และบรรพชิตมันขึ้นกับสติปัญญาความตั้งใจของแต่ละบุคคล แต่ละจิตใจ<o:p></o:p>

    เมื่อบุคคลนั้นมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง ภาวนาทุกลมหายใจเข้าออกและมองเห็นชรา พยาธิ มรณะจะมาถึงตัวอยู่ทุกขณะทุกเวลา เมื่อเราเกิดมาก็ได้ร่างกายสังขารอันนี้มา ถ้าคนเราตายไปเมื่อใดเวลาใด ร่างกายสังขารนี้ก็ทิ้งไว้ในโลกนี้ให้มนุษย์ที่เขายังไม่ตายเอาไปเผาเอาไป ฝังที่ป่าช้า ตามเรื่องของเขา ตัวเราจิตใจเราเอาอะไรไปไม่ได้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถ้าตั้งใจจริงย่อมมีเวลาภาวนา 2

    ดูคนอื่นเขาแตกเขาตายไปก่อนพวกเราทั้งหลายนั้น ไม่มีใครหาบหามสมบัติในแผ่นดินไปได้ มีที่ดินก็หาบเอาที่ดินไปไม่ได้ แผ่นดินก็เป็นที่ถมฝังกระดูกของเราเท่านั้นเอง จงตั้งใจภาวนา รวมกำลังตั้งใจให้มั่น คนเราจะทำอะไรให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ หรือความสุขในโลกนี้ ความสุขในโลกหน้า ความสุขอย่างยิ่ง ได้แก่ความสุขในเมืองนิพพานก็ตาม มันขึ้นอยู่กับจิตที่ภาวนา จิตที่มีความตั้งใจมั่น จิตมันเอาจริงเอาจัง<o:p></o:p>

    คำว่าบารมีไม่ใช่คำพูด มันเป็นจิตใจนั่นแหละ คนดี คนมีบารมีทำสิ่งใดเขาก็ทำจริง ปฏิบัติสิ่งใดเขาก็ปฏิบัติจริงนึกภาวนาพุทโธใน ใจก็นึกจริงๆ รวมเข้าไปได้จริงๆ ใครจะพูดอย่างไรว่าอย่างไร ข้าไม่เกี่ยว ข้าภาวนาเสียอย่างจิตใจสงบระงับก็สบาย ไม่ต้องไปหาเรื่องราวภายนอกให้มันยุ่งเหยิงพุทโธอยู่ในดวงใจนี้ ใจอยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่ไหน ไม่ต้องไปหาที่ที่จิตที่ใจมันมีอยู่ในกายในจิตนี้แหละ<o:p></o:p>
    เมื่อเราภาวนาจริงๆ รวมจิตรวมใจเข้ามาจริงๆแล้วปล่อยวางอารมณ์ภายนอก ไม่เก็บเอาอารมณ์อดีต อนาคตมายุ่งเหยิงในอารมณ์ปัจจุบันจิตใจปัจจุบันภาวนาติดต่ออยู่ทุกขณะทุกเวลา จิตใจดวงนี้ก็จะสงบตั้งมั่น จะมีสติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นมาเมื่อจิตมีปัญญาก็จะรู้จัก รู้แจ้งรู้จริงว่าคนเราเกิดมามันตายได้ไหม มันแก่ได้ไหม มันเจ็บได้ไหม มันพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นจริงไหม เหล่านี้ก็คือว่าปัญญา ปัญญาก็คือว่าจิตนั้นแหละ ความสว่างแจ้ง ความเห็นจริง ความรู้จักไม่มืดมนนั่นแหละเรียกว่าปัญญา เฉลียวฉลาดสามารถเฉียบแหลม ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ<o:p></o:p>

    บางท่านก็ว่า นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีคือท่านเปรียบเอา แสงสว่าง แสงดวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ แสงไฟจะเป็นไฟฟ้าธรรมดาก็ตาม เมื่อจุดขึ้นมาแล้วก็แจ้งสว่าง ถ้าแจ้งสว่างก็มองเห็นได้ทุกอย่าง ถ้ามืดแล้วมองไม่เห็นอะไร ถ้าใครขืนเดินไปในเวลามืดไม่ว่าอยู่ที่บ้าน ที่เรือน หรือที่กุฏิก็ต้องทำอะไรต่อมิอะไรแตกหักไปได้ เพราะมันมืดมันไม่เห็น ไม่แจ้ง<o:p></o:p>
    จิตนี้ก็เหมือนกัน เมื่อมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งจิตเจตนาลงไปในจิตใจให้มั่นคง ก่อนจะหลับจะนอนทุกๆคืนก็กราบพระไหว้พระ นั่งกรรมฐานภาวนา สวดมนต์เสียก่อนจึงค่อยหลับค่อยนอนทำจิตทำใจอันนี้ให้ได้ทุกวันทุกคืนไป เท่าที่โอกาสจะอำนวยให้คนส่วนมากถ้าเป็นทางโลกก็ว่า ข้าพเจ้ามีกิจกรรมการงานทำมาหาเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัว หาเวลานั่งภาวนานึกกรรมฐานไม่ได้ ความจริงแล้วเวลาในวันหนึ่งก็มียี่สิบสี่ชั่วโมง ไม่ว่าคนจะทำไม่ทำคนจะทำอะไรก็ตาม เวลามีอยู่เต็มที่ ถ้าคนไม่ตั้งใจแล้ว ก็ไม่มีเวลาอยู่ตลอดกาล ก็ดูอย่างพระภิกษุสงฆ์สามเณรในทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา มีนักบวชเป็นจำนวนแสนแล้วทำไมจึงยังไม่มีเวลาอีก ทั้งๆที่ไม่ได้ไปทำมาค้าขายทำราชการที่ไหน ก็ยังไม่มีเวลาภาวนา นั่นแหละคือว่าความไม่ตั้งใจนั้นแหละทำให้ไม่มีเวลาถ้าใครตั้งใจได้ก็มีเวลา ถ้าใครตั้งใจไม่ได้ก็ไม่มีเวลาในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกว่าเวลา เช้า สายบ่าย ค่ำ กลางวัน กลางคืน เมื่อระลึกได้ที่ไหนท่านก็ระลึกภาวนาในที่นั้นๆเจริญระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ สิ่งใดที่มันดีมีประโยชน์ก็ชื่อว่านำมาสอนตัวสอนใจได้ทั้งนั้น<o:p></o:p>

    ทีนี้ถ้าตั้งใจลงไปจริงๆ เวลามันมีค่ามีราคา มีอยู่ทุกเวลานาฬิกามันบอกอยู่ว่า เท่านั้นโมงเท่านี้โมง มันเวลาทั้งนั้นฉะนั้นถ้าคนเราตั้งใจแล้วเวลามีค่ามีราคา ถ้าไม่ตั้งใจ ใจเลื่อนลอยจิตไม่สงบระงับ ไม่ภาวนาก็หาเวลาไม่ได้ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็ไม่มี เพราะจิตมันไม่มีเวลาตั้งใจได้<o:p></o:p>

    สมัยครั้งพุทธกาล อุบาสก-อุบาสิกา นักบวชนักบ้าน เมื่อท่านได้ยินได้ฟังธรรมะคำสั่งสอนในทางพุทธศาสนาแล้วท่านตั้งใจฟัง ตั้งใจจดจำ แล้วก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วย อุบาสกอุบาสิกา ไม่เลือกว่าคนชั้นสูงชั้นกลางชั้นต่ำท่านก็ภาวนาเศรษฐีมหาเศรษฐียิ่งภาวนาดี แต่คนเราสมัยนี้มักจะอ้างว่าขอให้ข้าพเจ้ามั่งมีเสียก่อน เป็นมหาเศรษฐีเสียก่อนจึงจะภาวนา จึงจะละกิเลสไม่ต้องไปหมายอย่างนั้น เอาเวลาปัจจุบันนี้แหละ<o:p></o:p>

    พุทธสาวกในครั้งพุทธกาล ท่านเอาเวลาปัจจุบัน ญาติโยมอยู่บ้านถ้าว่าถึงความจริงแล้ว พวกญาติโยมนี้แหละได้บรรลุมรรคผลง่ายเพราะอะไรก็เพราะว่าทุกข์มันมาก มีทุกข์เต็มบ้าน มีทุกข์เต็มกาย มีทุกข์เต็มใจอะไรๆ มันเรื่องทุกข์ทั้งนั้นที่อยู่ในจิตในใจนั้นนั่นแหละจะได้รู้ว่า โลกนี้มันทุกข์อย่างนี้แล้วจะได้เร่งภาวนา ทำจิตทำใจให้มันมีความสงบสุขเยือกเย็นเกิดปัญญาขึ้นมา<o:p></o:p>

    ในครั้งพุทธกาลท่านไม่เลือก ท้าวพญามหากษัตริย์พอได้ยินได้ฟังธรรมท่านก็ภาวนา ตัวอย่างพุทธบิดาพ่อพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ไปบวชไปเรียนที่ไหน ไม่ได้เข้าป่าไปธุดงค์ที่ไหนท่านก็ภาวนาอยู่ที่หอปราสาทราชมณเฑียรกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระพุทธเจ้าของเราได้ตรัสรู้ ก็มาโปรดมาสอน สอนให้มีทาน มีศีลมีภาวนา ให้ทำความเพียรละกิเลสพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดา พระสกิทาคามีพระอนาคามี บั้นท้ายสุดในชีวิต พระพุทธเจ้าก็ไปโปรด ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับขันธ์เข้าสู่นฤพานที่หอปราสาทนั้นเอง<o:p></o:p>

    นอกนั้นไม่ว่าท้าวพญามหากษัตริย์ที่ไหน ท่านก็ภาวนากันเศรษฐีมหาเศรษฐีก็ไม่ บ่นว่ายุ่งเหมือนคนสมัยนี้ เงินฝืดเงินไม่ฝืดท่านไม่ว่าแหละ ค่ำมาท่านก็ภาวนาทำความเพียรละกิเลส จึงมีผู้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ในสมัยครั้งพุทธกาลดาษดื่นไปหมดนักบวชก็ภาวนา นักบ้านก็ภาวนา บางเวลาบางสมัย พระภิกษุที่ในบ้าน มีญาติโยมเขาภาวนาเรียนธรรมจากพระภิกษุนั้น ทั้งๆที่พระภิกษุผู้ไปอยู่อาศัยให้ศรัทธาที่ป่านั้นบ้านนั้นบำรุงรักษา ภาวนาอยู่ก็ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล แต่ว่าอุบาสิกา อุบาสกที่บ้านนั้นมาเรียนธรรมจากพระภิกษุนั้นและก็ไปภาวนาอยู่ที่บ้าน ท่านก็ได้สำเร็จมรรคผลก่อนพระภิกษุสงฆ์สามเณรที่ไปภาวนาอยู่ในป่านั้น<o:p></o:p>

    นี่คือว่ามันขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ขึ้นกับบุญบารมีของแต่ละบุคคลเราทุกคนที่ได้มาสู่สถานที่วิเวกภาวนาถ้ำผาปล่องนี้ ก็ให้พากันตั้งใจอะไรๆทั้งหมดมันขึ้นกับ ความตั้งใจความเอาใจใส่ ภาวนาให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออกเมื่อภาวนาอย่าง อื่นจิตไม่สงบระงับลงได้ ก็ให้ภาวนามรณกรรมฐานนึกเจริญให้เห็นความตายของเราเอง และของคนอื่นสัตว์อื่นว่าคนเราที่เกิดมานี้นั้นเรารู้แต่วันเกิด แต่วันตายเราไม่รู้ เราจะไปตายที่ไหนไม่รู้บางทีเราตั้งใจว่าจะตายก็ไม่ได้ตาย แล้วตายจากอุบัติเหตุต่างๆในสมัยนี้มีเยอะแยะ เพราะมนุษย์มันขอบความสุขความสบาย ไปมาทางในก็มียวดยานพาหนะ จะไปทางฟ้าทางอากาศ ไปทางพื้นดิน ไปทางน้ำไปได้ทั้งนั้นแต่ความตายมันก็ไปตามยวดยานพาหนะนั้นเหมือนกัน เราเลือกเอาไม่ได้<o:p></o:p>

    แต่ถ้าเราภาวนา เลือกเอาให้ใจของเราสงบระงับแล้วเราละกิเลสความโกรธ ความโลภ ความหลงในใจเราหมดไป มันจะตายแบบไหนมันก็พ้นทุกข์ภัยในโลก ในวัฏฏสงสารได้ ไม่ใช่ว่าตายเมื่อเช้าดี ตายเมื่อบ่ายไม่ดี ถ้ากิเลสในใจมันหมดไปสิ้นไปตายเมื่อใดเวลาใดก็ถึงนิพพานได้ ถ้าเราปล่อยให้กิเลสความโกรธ ความโลภความหลงมาสร้างบ้าน สร้างเรือนอยู่ในหัวใจ ทำอะไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วก็เป็นไปไม่ได้เราต้องสลัดอารมณ์นี้ออกไป ถือว่าเวลาระลึกถึงคุณ<st1:personname w:st="on" productid="พระพุทธ พระธรรม">พระพุทธ พระธรรม</st1:personname>พระสงฆ์ ระลึกถึงมรณกรรมฐานนั้น เป็นเวลาที่มีค่ามีราคาจิตใจของเราจะไม่ได้มาหมกมุ่นอยู่ในกิเลสกาม วัตถุกาม ในสังสารวัฏอันนี้<o:p></o:p>
    ความจริงแล้วคนเราทุกคน เคยมาเกิดเคยมาตายมีสุขมีทุกข์อยู่ในโลกมนุษย์ เทวโลก พรหมโลก เปรตโลก ยมโลก นรกอเวจีอสุรกาย มันเคยเกิดเคยตายอย่างนี้มา เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็เคยเกิด เกิดเป็นสัตว์น้ำสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์ไม่มีปีก สัตว์สองเท้าสี่เท้า มากเท้า ไม่มีเท้าก็เคยเกิดกันมาอย่างนี้ตายมาอย่างนี้<o:p></o:p>

    แต่จิตนี้มันยังโง่เขลาเบาปัญญา ภาวนายังไม่ถึงก็เลยมีความลุ่มหลงมัวเมา แทนที่เราเกิดมาเป็นคน ไม่ควรให้ใจคิดไปในที่จะไปสู่อบาย คือว่าทางต่ำ เราต้องหน่วงเหนี่ยวอารมณ์เอาพระพุทธเจ้าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นอารมณ์ เมื่อเรามีพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณมีภาวนาในใจแล้ว สิ่งที่เราว่าทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้เป็นไปไม่ได้นั้น มันก็เป็นไปได้อยู่ มันขึ้นอยู่กับความตั้งใจของแต่ละบุคคล<o:p></o:p>

    คนเราที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าเราดูรูปร่างกายก็เป็นคนแต่ว่าบางคนนั้นร่างกายเป็นคน ใจยังเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ก็มีถ้าโลกเราสมัยนี้ไม่ว่าที่ไหน อย่างว่าแผ่นดินเมืองเชียงใหม่สมัยโบราณ คนปล้น คนจี้คนฆ่ากันทำลายกันไม่ค่อยมี แต่สมัยนี้ไม่ได้ มันมีทุกอย่างฉะนั้นเราต้องตั้งใจของเราให้ดี ภาวนาให้ใจของเราให้มันเต็มที่<o:p></o:p>

    โลกนี้มันเป็นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นมาก็ตั้งอยู่ในกองทุกข์เกิดในกองทุกข์ แก่ในกองทุกข์ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ในกองทุกข์ตายอยู่ในกองทุกข์อันนี้ เป็นอย่างนี้มาทั้งโลก เมื่อมาถึงปัจจุบันชาตินี้ เวลานี้ ปัจจุบันนี้เราจะต้องเร่งภาวนาพุทโธ ทำใจของเราให้สงบพิจารณากายของเราให้เห็นความแก่ ความชรา ให้เห็นร่างกายนี้ไม่คงทนจิตใจก็จะได้เย็น สบาย ความทุกข์ต่างๆ มันจะได้ออกไป คนเราเมื่อจิตไม่มีทุกข์ ทุกข์อะไรก็ไม่มี แต่ว่าถ้าจิตมีทุกข์แล้ว อะไรทุกอย่างมันเต็มไปด้วยทุกข์เมื่อย่นย่อเข้ามาทุกข์ทั้งหลายมันอยู่ที่จิต อยู่ที่ใจแล้วก็คือใจมีอุปาทานยึดถือ เมื่อจิตนี้ยึดถือมากก็ทุกข์มาก ยึดถือน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเสียเลยก็พ้นทุกข์ มันอยู่ที่ตรงนี้<o:p></o:p>

    ฉะนั้นให้เราทุกคนตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนาต่อ ไป ดังแสดงมาก็สมควรด้วยกาลเวลา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ความเพียร

    [​IMG]

    ความเพียร

    <o:p></o:p>
    พระ ญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)<o:p></o:p>
    พระ ธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๕

    <o:p></o:p>
    ๓ มิถุนายน ๒๕๒๖

    <o:p></o:p>
    โพสท์ ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 005160โดย คุณ : mayrin [ 8 พ.ค. 2545 ]<o:p></o:p>

    บัดนี้ ได้เวลานั่งสมาธิภาวนา ให้พากันนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงความองอาจกล้าหาญในใจ ให้จิตใจมีความเพียร ความหมั่น ความขยัน ตื่นขึ้นลุกขึ้นในหัวใจ อย่าปล่อยให้อำนาจถีนมิทธะ ความง่วง เหงาหาวนอนเข้ามาทับถม การนั่งสมาธินี้ ท่านมีระเบียบอยู่ว่าให้นั่งขัดสมาธิเพชร เอาขาซ้ายขึ้นทับขาขวา แล้วก็เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือข้างขวาวางทับมือข้างซ้าย เรียบร้อยแล้วหลับตา ตั้งใจบริกรรมภาวนา มี พุทโธ พุทโธในใจ เป็นต้น<o:p></o:p>

    จิตใจหรือว่าจิตคนเรานั้นต้องฝึกฝนอบรมจึงจะเป็นไป ได้ ให้ใจมันมีความเพียร ความหมั่น ความขยันไม่ให้เกียจคร้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องบ่นสาธยายพระธรรมคำสั่งสอน ก็ไม่ให้เกียจคร้าน ให้หมั่น ความเพียรนั้นคือว่าหมั่น ขยัน กราบพระ ไหว้พระ สวดมนต์ ก็อย่าเพียงหมายแต่ว่ามารวมในหมู่ในคณะกราบพระไหว้พระ เราอยู่คนเดียวก็กราบได้ไหว้ได้ นั่งสมาธิภาวนาได้ สวดมนต์ภาวนาได้ เดินจงกรมได้ <o:p></o:p>

    ความเพียรนี่แหละท่านว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญ วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้มีความพากเพียรพยายามแล้ว กิจกรรมการงานใด ๆ ไม่เหลือวิสัย ผู้มีความเพียรพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้มาภาวนาตั้งใจปฏิบัติไม่มีความเพียร แต่อยากให้จิตใจของตนพ้นจากความทุกข์ความเร่าร้อนต่าง ๆ นานา ทำอย่างไรใจข้าพเจ้าจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขี้เกียจนั่นแหละ<o:p></o:p>

    อุบายมันอยู่ที่ไหน อุบายมันอยู่ที่ความเพียร ทำอย่างไรข้าพเจ้าจะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคง ไม่มั่นคงอย่าไปถอย เมื่อจิตใจไม่ถอย จิตเพียรพยายามอยู่ หาวิธีการที่จะเอาชนะกิเลสในใจของตนให้ได้ เดี๋ยวนี้กิเลสในใจมันย่ำยีเหยียบกาย วาจาจิตของเราอยู่ ไม่ยอมให้เราลุกขึ้นปฏิบัติภาวนาได้เต็มที่ทำได้นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ความอยากได้มาก อันนี้ไม่ถูก<o:p></o:p>

    เมื่อมีความเพียรอะไรมันจะเหลือ (วิสัย) ความเพียร ดูพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านมีความเพียร สี่อสงไขย แสนมหากัป ท่านยังมีความเพียร ความหมั่น ขยัน เอาจนสำเร็จลุล่วงไปได้นั่นแหละคือความเพียร ความเพียรไม่ใช่คำพูดอย่างเดียว เป็นการเพียรทางกาย เพียรทางวาจา เพียรทางจิต เพียรหมดทุกอย่าง เรียกว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะความเพียร <o:p></o:p>

    ถ้าเราจะมาท่องแค่คำพูดเท่านี้ จำได้แล้วก็ว่าได้ กิเลส ราคะละไม่หมดชื่อว่ายังไม่มีความเพียร กิเลสโทสะในใจของตัวเอง ยังไปยึดไปถือมันอยู่ ไม่ละให้หมด นั่นแหละมันยังไม่มีความเพียร กิเลสโมหะในใจยังไม่หมดไปสิ้นไป ไปถอยความเพียรได้ที่ไหน ต้องเพียรพยายามอยู่ทุกเวลา พระองค์ทรงตรัสว่า เพียรพยายามอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คำว่าทุกลมหายใจเข้าออก นั่นคือว่า เพียรอยู่เสมอ ตั้งใจอยู่เสมอ ณ ภายใน นั่งก็ไม่ยอมให้มันง่วงเหงาหาวนอน ยืดตัวขึ้นไปให้มันสูงสุด ไม่ให้กระดูกสันหลังมันอ่อนลงไปได้ เรียกว่าเพียร เพียรพยายามฝึกตัวเองอยู่มันจะเหลือ (วิสัย) ผู้มีความเพียรไปไม่ได้ <o:p></o:p>

    เพราะว่าบนแผ่นดินนี้ผู้มีความเพียร ผู้ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมสำเร็จได้ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นแล้วเราต้องตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อมันยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้ ให้มันตายมนุษย์เผาไฟแล้วจึงค่อยถอย ถ้ามันยังไม่ตาย เราจะไปถอยความเพียรไม่ได้<o:p></o:p>
    ตื่นขึ้นลุกขึ้น ในจิตในใจ ใครจะคิดชั่วเหลวไหลให้เป็นเรื่องของเขา ใจเราไม่ต้องคิด คนใดจะพูดชั่วเหลวไหลไม่มีประโยชน์เป็นเรื่องของเขา ตัวเราทุกคน สิ่งใดไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ไม่พูดเสียเลย เพียรพยายาม ระวังรักษา รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ รักษาตัวก้อนเดียวตัวเดียวนี้ไม่ได้ จะจัดว่าเป็นผู้มีความเพียร มีภาวนาไม่ได้<o:p></o:p>

    ความเพียร ความหมั่น ความขยันขันแข็ง ไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ เมื่อมันเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใด ๆ ขึ้นมาก็ให้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างลงสู้ สู้ด้วยการละทิ้ง อย่าไปยึดเอาถือเอา เขาว่าให้เรา เขาดูถูกเราเสียงไม่ดีเข้าหู ก็เพียรละออกไปให้มันหมดสิ้น มนุษย์มีปาก ห้ามมันไม่ให้พูดไม่ได้ มนุษย์มีตา ห้ามไม่ให้มันดูไม่ได้ มันเป็นเรื่องของโลก ท่านจึงตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นความร้อน <o:p></o:p>

    ความร้อนคือกิเลส กิเลสเหมือนกับไฟ ไฟมันเป็นของร้อน ไม่ว่าไฟนั้นจะเป็นไฟ วันไหน เดือนไหน ยุคใด สมัยใดก็ตาม ไฟธรรมดานี่แหละมันร้อน กิเลสในใจมนุษย์คนเรานั้นมันเป็นไฟ ไหม้หัวใจของตนอยู่ทุกเวลาเรายังเด็กอยู่ไฟไหม้ไม่ได้ ไม่ได้ (อย่างไร) ก็เหมือนไฟภายนอก เด็กไปเผลอเข้า มันไปเหยียบเข้า ไฟก็ไหม้เท้าไหม้ตีน เหยียบมากก็ไหม้มาก เข้าสู่กองไฟก็ตายเลย<o:p></o:p>

    กิเลสราคะ กิเลสโทสะ กิเลสโมหะ ต้องภาวนาดูจึงจะรู้ว่ากิเลสมันอยู่ตรงไหน จะเลิกละได้โดยวิธีใด เราต้องตั้งตัวตั้งใจขึ้นมา อย่าไปปล่อยให้อำนาจฝ่ายต่ำเข้ามาทับถมจิตใจ เมื่อจิตมันไม่มีความเพียรปล่อยให้กิเลสมันทับถม กายมันก็อ่อนแอท้อแท้ ขี้เซาเหงานอนมันก็ไหลมาเทมา ก็เพราะจิตมันไม่มีความเพียร จิตมันไม่ตื่นขึ้นไม่ลุกขึ้น จิตมันอ่อนแอท้อแท้ จิตมันขุ่นมัว มันไม่ใส พุทโธไม่อยู่ในจิต จิตไม่เข้าถึงพุทโธ พุทโธอยู่ภายในใจสว่างแจ้งไม่หลงใหลไปตามคนสัตว์วัตถุธาตุทั้งหลาย<o:p></o:p>

    ตั้งใจยกจิตใจของตนขึ้นมา เอาจนให้ได้คำว่า ผู้มีความเพียรย่อมสำเร็จได้ทุกอย่างทุกประการ ตั้งใจทำตั้งใจพูด ตั้งใจคิด ตั้งใจภาวนา มันไม่เหลือวิสัยของผู้มีความเพียร ผู้มีเพียร คนมีเพียร ทำอะไรก็สำเร็จ พูดอะไรก็สำเร็จ คิดอะไรก็สำเร็จเมื่อไม่มีความเพียร มันจะเอาอะไรมาเป็นความสำเร็จ ทำอะไรไม่ตั้งใจทำ ทำจนตลอดรอดฝั่งคือว่า เอาจริงเอาจังในใจ แม้พุทโธคำเดียวก็ได้สำเร็จมรรคผลเห็นแจ้งพระนิพพาน เพราะอะไรเพราะองค์นั้น ผู้นั้นทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ภาวนาจริง ๆ ตั้งจิตตั้งใจจริง ๆ ตั้งเนื้อตัวจริง ๆ เอาจริงเอาจังทุกอย่าง เมื่อทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ของจริงมันก็ปรากฏการณ์ขึ้นมา ในที่ความจริงนั่นแหละ ไม่ได้อยู่ในที่อื่น มันอยู่ที่จิตที่ใจของแต่ละบุคคล ไม่ต้องไปมัวสงสัยวิตกวิจารอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้ทำจริงปฏิบัติจริง มันไม่จริงอย่าไปถอยความเพียร<o:p></o:p>

    ดูพระสาวกในครั้งพุทธกาลท่านทำจริง ท่านเดินจงกรมอย่างเดียว เอาจนได้สำเร็จมรรคผล เห็นแจ้งพระนิพพาน ท่านทำอย่างไร คำว่าจริง ทีนี้ท่านนั่งภาวนามันก็ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนเราท่านทั้งหลายนี่แหละ ท่านก็ไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันสัปหงก ท่านไม่นั่ง ท่านเดินจงกรม คำว่าเดินจงกรมก็คือว่าเดินก้าวไปก้าวมา ในทางในเส้นทางจงกรมที่ท่านปัดกวาดไว้นั้น ไม่ยอดหยุดไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันคอยหลับตา หลับตาก็ยิ่งร้ายใหญ่ เดินเอาอย่างเดียว เดินจนไม่รู้ว่ามันนานเท่าไรล่ะ เดินจนหนังเท้าแตกเลือดไหล เดินไม่ได้<o:p></o:p>

    แล้วเราท่านทั้งหลายผู้นั่งภาวนาอยู่นี่เดินจงเท้า แตกเลือดไหลเดินไม่ได้ มีหรือไม่เห็นมี ไปทางไหนก็สวมรองเท้า กลัวตีนแตก เจ็บนิด ๆ หน่อย ๆ ก็เอาไม่ไหวแล้ว ตายแล้วทำไมไม่ตายตั้งแต่ยังไม่เกิดล่ะ นั่นแหละคือว่าใจท้อถอย ใจเกียจคร้าน ไม่ได้ดูพระแต่ก่อนท่านเดินจนกระทั่งหนังเท้าแตกเดินไม่ได้ เมื่อเดินไม่ได้ท่านก็ยังไม่ถอยความเพียร ถ้าเราสมัยนี้ถ้าถึงขนาดนั้นละก็นอนแผ่เท่านั้นแหละ ไม่เดินอีกต่อไป ไม่ภาวนาอีกต่อไป<o:p></o:p>

    แต่ท่านไม่ยอม เมื่อเดินไม่ได้เข่ายันมี มือยังมี คลานเอา ท่านว่าอย่างนั้น ทีนี้ก็คลานเดินจงกรมไป กลับไปกลับมา ไม่รู้ว่ากี่หนแหละ เข่าแตก หนังเข่าแตกไป ช่างมันไม่ใช่เข่าเรา เข่าของกิเลส มือแตกก็แตกช่างมัน เดินไม่ได้มันเจ็บ แตกเลือดไหล<o:p></o:p>

    เราได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มี มีแต่นอนห่มผ้าให้มันตลอดคืน มันจะได้สำเร็จมรรคผลอะไร ก็ได้แต่กรรมฐานขี้ไก่เท่านั้นเองแหละ กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมู ไม่ลุกขึ้น ภาวนาเหมือนพระแต่ก่อน พระแต่ก่อนท่านเดินไม่ได้ท่านคลานเอา<o:p></o:p>

    ทีนี้คลานไม่ได้ท่านทำอย่างไร ท่านก็ไม่ต้องนอนกันล่ะ แต่ท่านนอนขวางทางจงกรม แล้วไม่ใช่นอนนิ่ง ๆ ให้มันหลับ พลิกเหมือนกับเดินจงกรมในทางนั่นเองแหละเหยียดยาวลงตั้งแต่หัวถึงตีน ทีนี้มันก็ไม่มีที่ตรงไหนแตกแล้วทีนี้ กลิ้งไป พลิกไป จนสุดทางจงกรม กลิ้งกลับมาอีก เอาอยู่อย่างนั้น ไม่รู้กี่ครั้งกี่หน นับไม่ถ้วน ท่านตั้งใจลงไปท่านไม่ยอมให้มันหลับมันไหล ไม่ให้มันฟุ้งซ่านไปที่อื่น เท้ามันเจ็บก็ไม่ให้ไปยึดไปถือ เข่ามันแตกก็ไม่ให้ไปยึดถือ มือแตกก็ช่างมือ มือผีหลอก มันหลอกให้หลง เข่าผีหลอก เท้าผีหลอก ท่านไม่ย่อท้อ ใจไม่ย่อท้อ อันนั้นแหละเรียกว่าความเพียร ไม่ใช่คำ "เพียร" พูดปลายลิ้นเท่านี้ ท่านมีความเพียรจริง ๆ ไม่ยอมให้มันนิ่ง ถ้านิ่งมันก็หลับ พลิกไปกลิ้งกลมไปเรื่อย มันจะตายก็ช่างสิ ได้ภาวนาทำความเพียรละกิเลสเป็นสิ่งสำคัญ ความตั้งใจองค์นั้น<o:p></o:p>
    เมื่อถึงขั้น นอนเหยียดตามแผ่นดินแล้ว กลิ้งไปเถิดมันไม่แตกละทีนี้ มันไม่มีที่ไหนหนัก ถ้ายืนมันก็ไปลงหนักที่เท้าที่ตีน ถ้าคลานมันก็ไปที่เข่าที่มือ มันไปหนักที่นั้น ถ้านอนเหยียดยาวละก็ไม่มีที่ไหนจะไปหนักมันเท่ากันหมด แต่ไม่ใช่ท่านนอนหลับ เหมือนพวกเรา ไม่ใช่นอนภาวนา นอนกลิ้งไม่ยอมให้มันหลับ ไม่ยอมให้มันนิ่ง เรียกว่า สติสัมปชัญญะสมาธิท่านตั้งมั่นลงไป องค์นี้เรียกว่ามีความเพียรที่สุดในพุทธศาสนา ไม่มีองค์ใดที่จะได้สำเร็จแบบนี้ มีองค์เดียวเท่านั้น เพราะว่าท่านทำจริง<o:p></o:p>

    เราทุกคนทุกดวงใจถ้ามีความเพียรขนาดนั้นล่ะคิดดูสิ ไม่ต้องไปถามหามรรคผลนิพพานล่ะ (ต้องได้แน่)ท่านเอาจนสำเร็จ แม้เราทุกคนก็เอาให้มันขนาดนั้นมันจะไปเหลือวิสัยได้หรือ มันยังไม่ถึงขั้นนั้นมันไปถอยเสียก่อน หยุดเสียก่อน มันกลัวตายน่ะ มันจึงได้มาเกิดมาตายอยู่ไม่จบไม่สิ้น มานอนอยู่ในท้องแม่นับภพนับชาติไม่ถ้วนก็เพราะจิตอันนี้ไม่มีความเพียร ไม่สมกับพุทธภาษิตที่ว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงความทุกข์ได้ด้วยความเพียร ไม่ใช่เพียงคำพูดวาจาที่เปล่งออกมา มันเป็นการกระทำทั้งหมดนั่นแหละ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ความเพียร 2

    ดูที่ท่านทำจนกระทั่งถึงขั้นนอนจงกรมจนได้สำเร็จ เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นถึงพระอรหันตา ในทางจงกรมนั่นแหละในจิตที่ไม่หวั่นไหวพรั่นพรึง ไม่กลัวทุกข์ไม่กลัวตายไม่กลัวเจ็บ มันจะเจ็บก็เป็นเรื่องของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ร่างกาย สังขารเจ็บ จิตท่านมีความเพียร จิตท่านมีความขยันหมั่นเพียร ไม่กลัวอะไรทั้งหมดละ มันจะไม่สำเร็จนั้นไม่มี<o:p></o:p>

    ให้เตือนใจของเราว่าเราได้ทำความเพียรเหมือนพระ อรหันต์องค์นั้นหรือไม่ ถ้ายังไม่ถึงก็เอาให้มันถึงไม่ถึงให้มันตายเสียดีกว่า มารอกินข้าวสุกทุกวัน ใจขี้เกียจ ใจขี้คร้าน ใจขี้นอนหลับ ใช้ไม่ได้ ให้ตื่นลุกขึ้นอย่าไปเพียงว่าเห็นคนอื่นง่วงเหงาหาวนอน ตัวเองไม่เห็นตัวเอง ใจตัวเอง ไม่เห็นกาย ไม่เห็นจิต ไม่เห็นทุกข์เห็นภัยในวัฏสงสาร ยังจะมาเข้าใจผิดคิดหลงไปว่า ความสุขความสบายในรูป ในนาม ในตัว ในตน ในสัตว์ ในบุคคลในมนุสสโลก ในเทวโลก พรหมโลก ยังมีความสุขอยู่ มันจะหาเอาความสุขอันเป็นสุขโลกีย์นั้น มันก็ได้แค่โลกียสุขเท่านั้น ไม่ถึงขั้นภาวนาละกิเลสได้<o:p></o:p>

    จงตั้งใจบำเพ็ญภาวนา ลืมตาดูกาย วาจาจิตของเราเอง อย่าไปมัวเล่นไปมัวขี้คุยอยู่ พูดอะไรต่อมีอะไร ให้ภาวนาละกิเลสไม่ได้ ได้แต่ขี้คุย มีขี้อยู่ในหัวใจ ขี้โกรธมันก็อยู่นี่ ขี้โลภมันก็อยู่นี่ ขี้หลงมันก็อยู่นี่ มันไม่ลุกขึ้นภาวนาทำความเพียร มันมีแต่ความอยาก มีแต่ตัณหา ตัณหามันหามามันไว้ มันหามาปิดปังไว้ ตาหัน-ตัณหา ตาเห็น รูปมันก็เกิดตัณหา หูฟังเสียงมันก็เกิดตัณหา มันหามาต้น หามาปิด หามาผูกมัดรัดรึงไว้ในตัวในใจสร้างความดีให้เกิดขึ้นไม่ได้ นั่งสมาธิภาวนาเอาจนกิเลสให้มันดับไปหมดไปสิ้นไปไม่ได้ก็เพราะว่าความเพียร ไม่ถึงไม่ถึงความเพียร ความเพียรไม่มีแม้จะมีก็นิด ๆ หน่อย ๆ มันเพียรยังไม่ถึงขนาด เพียรให้มันถึงขนาด<o:p></o:p>

    ดูพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระองค์บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนา บารมี ๑๐ ประการ บารมี ๓๐ทัศน์ เต็มบริบูรณ์ทุกส่วนทุกประการ เมื่อถึงขนาดนั้นละก็ไม่มีอะไรเหลือล่ะ ละกิเลสราคะก็ได้ ละกิเลสโทสะก็ได้ละกิเลสโมหะก็ได้ ไม่ได้อย่างไร ท่านมีความเพียร ท่านไม่งอมืองอเท้าเหมือนพวกเราทั้งหลาย ท่านตื่นขึ้น ท่านลุกขึ้น ท่านยืนหยัดต่อสู้ ทั้งกาย วาจา ทั้งจิตทั้งใจ ทั้งเนื้อทั้งตัวทุกอย่าง เมื่อมันลุกขึ้นเต็มที่แล้วนั่นแหละเรียกว่า "วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ" บุคคลใดก็ตามจะพ้นทุกข์ได้ เพราะความเพียร ไม่เหลือความเพียรไปได้<o:p></o:p>
    คนที่มีความเพียร ของหนักก็กลายเป็นของเบา ที่ว่ายากมันกลายเป็นของง่าย คนอื่นทำไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าทำได้เพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้มีความเพียรอันใหญ่ยิ่ง ไม่มีมนุษย์และเทวดาอินทร์พรหมที่ไหนมีความเพียรเหมือนพระพุทธเจ้า ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครมาเสี้ยมสอนให้พระองค์มีความเพียรเอง ความหมั่นความขยันความอดทน<o:p></o:p>
    พระองค์ฝึกฝนอบรมจิตใจของพระองค์ มีปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถอาจหาญทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับว่าผืนแผ่นดิน หนักเท่าไร ก็เอาแผ่นดินทั้งแผ่นลอยได้ นั่นแหละคือใจพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความเพียรพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้มีความ เพียร จิตใจพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีความเพียร จิตใจของพระโสดาพระสกิทาคา พระอนาคา ท่านมีความเพียรความสามารถอาจหาญไม่ใช่ขี้เซาเหงานอนฟุ้งซ่านรำคาญ โลภะ โทสะโมหะ เพิ่มเข้าไปทุกวันคืน ไม่ละกิเลสราคะโทสะโมหะออกไปให้มันหมดสิ้น เมื่อจิตไม่ตั้งจิตไม่เอาจริง อะไรมันก็ไม่จริงหมดล่ะ ถ้าจิตมันเอาจริง ๆ ทำจริง ๆ แล้ว ก็ไม่มีอะไร หนักเท่าแผ่นดินก็เอาแผ่นดินปลิวไปได้<o:p></o:p>

    ความเพียร ความหมั่น ความขยัน ความตั้งใจ ไว้ดีชอบประกอบในสิ่งที่เป็นบุญกุศล จิตใจจะไม่สงบระงับไม่ได้ ก็ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นไปในทางที่เรียกว่า สร้างสรรค์ ฝึกฝนอบรม เท่ากันกับว่า ในตัวของผู้นั้นมันมีปีกมีหางมีเครื่องยนต์กลไก เหมือนเครื่องบินมันบินไปบนฟ้าบนอากาศได้ ทำไมมันไปได้ เพราะมันมีปีกมีหางมีอะไรครบทุกอย่าง เมื่อมันพร้อมทุกอย่างทั้งคนทั้งวัตถุมันก็ไปได้ เราไม่เห็นหรือเครื่องบินไปบนฟ้าบนอากาศ ตัวเราธรรมดาทำไมมันบินไม่ได้ มันไม่มีเครื่องครบน่ะ ความเพียร ความหมั่น ความขยัน ความตั้งใจดีชอบมันไม่มี ทำไรพูดอะไร คิดอะไร นั่งสมาธิภาวนา หลับตาภาวนา มันก็ได้ชั่วนิด ๆ หน่อย ๆ เมื่อความเพียรไม่มีก็สร้างความเพียรให้เกิดมีขึ้น<o:p></o:p>

    พุทโธในใจ หลงใหลทำไม ไม่ต้องหลง ไม่ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็พุทโธในใจ ยืนก็พุทโธในใจ เดินไปไหนมาไหนก็พุทโธในใจ กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูกทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละมันให้หมด กายวาจาจิต ให้มันเต็มไปด้วยความหมั่นความขยันขันแข็ง ความสามารถอาจหาญ ไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ เรียกว่าเป็นคนใจดีใจงาม ใจเฉลียวฉลาดสามารถอาจหาญ ไม่เป็นคนใจเน่า คนใจเน่าใจเหม็นไปอยู่ที่ไหนก็เน่าที่นั่นเหม็นที่นั่น <o:p></o:p>

    ศีลสมาธิปัญญาวิชาวิมุติไม่ทำให้มันเกิดมีขึ้น มีแต่เรื่องเน่าเหม็นเรื่องโมโหโทโสฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่เลิกไม่ละความโกรธ ไม่เลิกไม่ละความโลภ โลภจิตเท่าแผ่นดินไม่เห็น เลิกละให้หมดนั่นแหละ จึงให้ชื่อว่า "เพียร" เพียรละกิเลสมีมากน้อยเท่าไรกิเลสหยาบก็เพียรละให้หมด กิเลสอย่างกลางก็เพียรละให้หมด กิเลสอย่างละเอียดก็เพียรละให้มันหมด ไม่หมดอย่าไปถอยความเพียร ตั้งใจเพียรลงไปอย่างนั้น อยู่ตลอดเวลา<o:p></o:p>

    เมื่อมีความเพียรเต็มที่ได้เมื่อใดเวลาใด มันก็รู้แจ้งรู้จริงขึ้นมาในหัวใจที่มีความเพียรนั่นแหละ ไม่ใช่มือเท้าร่างกายมันมีความเพียร จิตนั่นมันมีความเพียร จิตมันมีความสามารถอาจหาญ จิตมันไม่ท้อแท้ อ่อนแอ จิตมันมีสติสัมปชัญญะ มีสติในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เมื่อจิตมันมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มีญาณอันวิเศษเกิดขึ้นในจิตใจของผู้มีความเพียร มันก็รู้ได้เข้าใจ มันจะไปรู้ที่ไหน ก็รู้ที่กายวาจาจิต รู้ความขี้เกียจขี้คร้าน แล้วก็ละทิ้งให้มันหมดไม่ต้องมายึดหน้าถือตา ตัวกูของกู ตัวข้า ของข้า ข้าเป็นอะไร ข้าเป็นนั้นข้าเป็นนี้ เป็นอะไรมันก็เป็นไปสู่ความแก่ความชรา เป็นไปสู่ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นไปสู่ความตายเหมือนกัน ตายแล้วมันมีวิเศษวิโสอะไร ยังไม่ตายมันวิเศษวิโสอะไรกิเลสเหล่านี้<o:p></o:p>
    ให้พากันลุกขึ้นตื่นขึ้น อย่ามัวนั่ง ๆ นอน ๆ เล่นอยู่เปล่า ๆ นั่งก็ให้นั่งภาวนาในจิต ตั้งจิตให้มีความเพียรความหมั่น ยืน เดินนั่งนอนทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ มันไม่ลึกซึ้งไม่ใช่ตื้นมันพอดีนั่นแหละทำเพียรให้มันถึงมันถึงได้ทุกคน ถึงได้ทุกหัวใจ รู้ได้ทั้งนั้น ไม่ต้องไปถามคนอื่น <o:p></o:p>

    ถามหัวใจของตัวเองว่ามีความเพียรหรือยัง มันตั้งใจมั่นหรือยังในใจนั้น ไม่มั่นคงมันไปอยู่ที่ไหน ไม่ได้กินข้าวผ่าหัวใจหรือ กินข้าวผ่าหัวใจทุกวัน ทำไมใจมันจึงไม่มีความเพียร เพียรละกิเลสทำไม่ไม่เพียร เพียรเอากิเลสทำไมมันเพียรเอาได้ กิเลสระคะ โทสะ โมหะ ทำไมมันมีเต็มกายเต็มใจเต็มวาจาของทุก ๆ คน ไปไหนมาไหนก็กิเลสความโกรธ ความโลภ ความหลง แบกไป หาบไป หามไปทะเล่อทะล่า<o:p></o:p>

    กิเลสโลเลพระพุทธเจ้าสอนให้ ละทิ้ง ได้ละทิ้งหรือยัง ได้ปล่อยได้วางทิ้งหรือยัง ไม่ทิ้งเดี๋ยวนี้จะเอาไปทิ้งที่ไหน ไม่ตั้งเดี๋ยวนี้ไปตั้งที่ไหน ไม่เพียรพยายามเดี๋ยวนี้จะไปเพียรเมื่อใดเวลาใด โกหกพกลมตลอดเวลา ใจไม่จริงคนไม่จริง เกิดมาทำไม เป็นชายทำไมใจไม่แก่กล้าสามารถเหมือนพระพุทธเจ้า เป็นหญิงทำไมไม่แก้กล้าสามารถ เกิดมาทำไมตายเสียดีกว่าเปลืองข้าวสุก<o:p></o:p>
    ฉะนั้นให้ตั้งอกตั้งใจ มันจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหิวขนาดไหน ให้มันเหนื่อยไปหิวไป ให้จิตเรามีความเพียร ไม่ว่าทำอะไรให้มีความเพียร มีแต่ความอยากจะเป็นโน่นจะเป็นนี่ จะเอาอย่างโน้นจะเอาอย่างนี้ แต่ว่าเท่าเส้นผมมันก็ไม่เอา มันจะได้อะไร มันก็ได้แต่ความขี้เกียจขี้คร้านมักง่าย ท้อถอยกลัวตายอยู่นั่นแหละ ใจมันไม่ลุกขึ้นไม่เพียรถึงขนาด<o:p></o:p>

    เพราะฉะนั้น พระสาวกเจ้าทั้งหลายในครั้งพุทธกาลท่านเดินจงกรมภาวนาทำความเพียรอย่างเดียว จนนอนจงกรม แล้วก็ได้สำเร็จ ไม่สำเร็จไม่หยุดเสียละ เอาถึงขนาดนั้นก็ได้สำเร็จทุกคนนั่นแหละ<o:p></o:p>

    ฉะนั้นทุกลมหายใจเข้าทุกลมหายใจออก เราท่านทั้งหลาย ต่อไปอย่าได้มีความท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ ให้พากันตื่นอยู่ ลุกขึ้นมา กิเลสทางกายไม่สร้างมันขึ้นมาอีก กิเลสทางวาจาไม่พูดมันต่อไปอีก กิเลสทางใจไม่คิดตามไปอีก จะไปที่ไหนไล่กิเลสให้มันหนีออกไปหมดล่ะ ให้เหลือแต่จิตที่ไม่มีกิเลสความโกรธ ให้เหลือแต่จิตที่ไม่มีความหลง นั่งก็ภาวนา ยืนก็ภาวนา เดินก็ภาวนา อยู่ถ้ำ อยู่ป่า ไปไหน มาไหน ไม่ปล่อยให้จิตใจลุ่มหลงมัวเมาไปอยู่ในใต้อำนาจกิเลส จงพากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา ไม่มีใครจะไปทำแทนกันได้ เปรียบเหมือนบุคคลเราที่มีชีวิตเป็นมาตั้งแต่เกิด เราบริโภคอาหารมาโดยลำดับ ๆ ชีวิตของเราก็ต่อเนื่องมาจนถึงวันเวลาเดี๋ยวนี้ ไปให้คนอื่นบริโภคแทนได้หรือ ฉันใดการปฏิบัติบูชาภาวนาก็เหมือนกัน ไม่มีใครที่จะช่วยตัวเองได้ดีเท่ากับตัวเอง <o:p></o:p>

    แม้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า เราตถาคตเป็นผู้ตรัสรู้ผู้บอกผู้สอนสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย สาวกทั้งหลายละเองปฏิบัติเอง ให้มันเต็มที่เต็มฐาน เมื่อยังไม่เต็มที่เต็มฐานไม่ต้องบ่น ทุกข์อะไรท่านว่าไม่ต้องไปบ่น มีความอด ความทน มีความเพียรความหมั่น มีความขยันขันแข็ง ไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจในจิต ในใจนั้นกายวาจามันก็ไม่ท้อแท้อ่อนแอเหมือนกัน ใจเอา กายวาจามันก็เอาทั้งนั้น จิตมันเป็นนาย ร่างกายมันเป็นบ่าวไพร่ราษฏร ถ้าจิตมันสั่งการให้ทำ ให้ปฏิบัติ ให้เลิกให้ละ มันก็ละได้หมดแหละ<o:p></o:p>

    ฉะนั้นพุทธภาษิตที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะความเพียร พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะความเพียร พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลาย ท่านได้บรรลุมรรคผลเห็นแจ้งพระนิพพาน ท่านก็มีความเพียร ความขี้เกียจขี้คร้านมักง่าย ท่านละทิ้งปล่อยทิ้งตัดทิ้ง เอามันเด็ดขาดลงไปความเพียรมันก็เกิดขึ้นเต็มที่ ไม่ว่ากิจกรรมการงานใด ๆ ภายนอกภายใน เมื่อมีความเพียรก็ทำได้ปฏิบัติได้ทุกอย่างไป<o:p></o:p>

    บาป พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ให้ทำ เราก็เลิกในกาย วาจาจิตของเราให้มันเด็ดขาดลงไป เมื่อละบาปได้ ทุกข์ในเรื่องบาปมันก็ไม่มี เมื่อไม่ละบาป ทำบาปอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนยืนเดินนั่งนอนตลอดชาติ ก็ได้รับความเดือดร้อนเมื่อภายหลัง เมื่อเราเลิกได้ ละได้ ปล่อยวางได้ ใจของเราเองก็ได้ชื่อว่าแจ้งใส หมดจด สะอาด คล่องตัวคล่องแคล่วว่องไว ไหวพริบเฉลียวฉลาด เฉียบแหลม รู้จักรู้แจ้งรู้จริง รู้แจ้งแทงตลอดในโลก ในทางโลกและทางธรรม มันมีอยู่ในหัวใจทุกคนแหละ <o:p></o:p>

    แต่ว่าทุกคนไม่มีความเพียรพยายาม ถ้าทุกคนมีความเพียรความหมั่นความขยันขันแข็งสามารถอาจหาญแล้ว ก็ย่อมสำเร็จลุล่วงได้ทุกถ้วนหน้า ฉะนั้นดวงจิตดวงใจของเราอย่าได้ประมาทต่อไป ประมาทมาแล้วก็ให้แล้วไป ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ขณะนี้ปัจจุบันนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ประมาททุกลมหายใจเข้าออก มรณกรรมฐาน พุทโธในดวงใจ ไม่ให้หลงลืม<o:p></o:p>

    ฉะนั้นอุบายธรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เมื่อว่าเราท่านทั้งหลาย พากันได้สดับรับฟังแล้วให้จดจำนำไปปฏิบัติ ก็คงได้รับความสุขความเจริญ<o:p></o:p>

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้<o:p></o:p>


    คัดลอกจาก
    : พุทฺธาจารบูชา<o:p>
    </o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สิ้นภพ-สิ้นชาติ

    สิ้นภพ-สิ้นชาติ<o:p></o:p>
    ทางพระสอนให้ล่ะชั่ว ทำความดี แต่ไม่ให้ติดอยู่ในความดี ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้น จนไม่ติดดีติดชั่ว จึงจะพ้นโลกนี้ไปได้ เพราะแม้คุณความดีจะส่งผลให้เป็นสุข ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น เทพ อินทร์ พรหม ก็ตาม แต่เมื่อกำลังของกุศลกรรมความดีนั้นๆหมดลง ก็ย่อมต้องกลับเวียนว่ายตายเกิดอีก<o:p></o:p>
    ทางพระจึงสอนให้มุ่งภาวนา ทำจิตให้ รวม ระวัง ตั้งมั่นทำจิตให้มีปัญญารู้ตามความจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่างๆออกเสีย จึงจะเป็นไปเพื่อความสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดยากโดยแท้จริง<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 33)<o:p></o:p>
    ยอดของบารมี<o:p></o:p>
    เรื่องการภาวนา เป็นยอดของบารมีทั้งหลาย เป็นการเสริมสร้างกำลังใจ กำลังปัญญาให้เข้มแข็ง สามารถต่อสู้เอาชนะกิเลสน้อยใหญ่ได้<o:p></o:p>
    เมื่อไม่รู้จักภาวนา ก็ปล่อยให้พวกกิเลสเป็นเจ้านายผู้บงการการกระทำของตน ตนก็เลยเป็นทาสของกิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรมไม่ดี สะท้อนเอาความทุกข์ยากมาสู่ตนเอง<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 33)<o:p></o:p>
    ความเพียร<o:p></o:p>
    บนแผ่นดินนี้ผู้มีความเพียรไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจไม่ว่าจะทำอะไร ย่อมสำเร็จได้ ............ดูตัวอย่างพระ พุทธเจ้า.......เมื่อเห็นแล้วเราต้อง ตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้ ให้มันตาย มนุษย์เผาไฟแล้วจึงค่อยถอย ถ้ามันยังไม่ตายเราจะไปถอยความเพียรไม่ได้<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 78)<o:p></o:p>
    ข่าวมรณกรรมของผู้อื่นและของเรา<o:p></o:p>
    “.ชีวิตของเรา ไม่เป็นของยั่งยืนเป็นของที่จะต้องตายลงโดยแน่นอน เวลานี้ เราอาจได้ยินข่าวมรณกรรมของผู้อื่น ของพระอื่นแต่อีกไม่นานข่าวนั้นต้องเป็นของเราบ้าง เพราะชีวิตทุกชีวิตจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น อย่าประมาทเรื่องความตาย ให้เร่งภาวนา ทำจิตใจให้หมดกิเลส หมดทุกข์ หมดร้อน ให้ได้ก่อนความตายจะมาถึง"<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 36)<o:p></o:p>
    หลงศีล-หลงธรรม<o:p></o:p>
    ใจเราไปติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจเราจึง หลงศีล หลงธรรม หลงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าอยู่ที่อื่น ความจริงอยู่ที่กายวาจาจิตของพวกเราทุกคน มรรค ผล นิพพาน ก็ไม่ต้องไปหาที่อื่น มันอยู่ที่ความเพียร ความขยัน ความอดทน ความหมั่นในการภาวนาไม่ขาด<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา ช่วงคำนำ น.13)<o:p></o:p>
    เกิด-ตายกับเกิด-ดับ<o:p></o:p>
    เป็นคนเป็นสัตว์ มันก็มีเกิดมีตาย ธรรมะไม่เกิด-ไม่ตาย มีแต่เกิด-ดับ กิเลสตายไปแล้ว ไม่มาอีก เหลือแต่ นิโรโธ นิ พพานัง<o:p></o:p>
    ธรรมลิขิตจากหลวงปู่บุดดา ถาวโร มกราคม 2536<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา ช่วงคำนำ น.16)<o:p></o:p>
    อย่าอวดดีจะตายทิ้งเปล่า<o:p></o:p>
    “.อย่าว่าแต่คนเราธรรมดา แม้พระศาสดาเอกในโลกก็ยังดับขันธ์เข้าสู่นฤพาน เราท่านทั้งหลายจะไม่แตกไม่ตายนั้น เป็นไปไม่ได้ ไม่ต้องอวดดี ถ้าอวดดีแล้วจะตายทิ้งเปล่าๆ<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 66)<o:p></o:p>
    ความตาย เปรียบ หมาล่าเนื้อ<o:p></o:p>
    ความตายนี้มันไล่ติดตามตัวเราอยู่เสมอ ท่าน เปรียบอุปมาเหมือนหมาไล่เนื้อ ตามทันที่ไหน มันก็กัดเอาให้เนื้อนั้นตายฉันใด มรณะ ความตายที่ตามเราท่านทั้งหลายมาตั้งแต่เกิด เกิดมาแล้ว มันตาม มันไล่ล่า เท่ากับว่า เนื้อมันยังแข็งแรงอยู่ สุนัขมันยังไล่ไม่ทัน มันทันเวลาไหน ก็เอาเนื้อนั้นตายในที่นั้นไม่เลือกสถานที่<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 76)
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สิ้นภพ-สิ้นชาติ

    สิ้นภพ-สิ้นชาติ<o:p></o:p>
    ทางพระสอนให้ล่ะชั่ว ทำความดี แต่ไม่ให้ติดอยู่ในความดี ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้น จนไม่ติดดีติดชั่ว จึงจะพ้นโลกนี้ไปได้ เพราะแม้คุณความดีจะส่งผลให้เป็นสุข ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น เทพ อินทร์ พรหม ก็ตาม แต่เมื่อกำลังของกุศลกรรมความดีนั้นๆหมดลง ก็ย่อมต้องกลับเวียนว่ายตายเกิดอีก<o:p></o:p>
    ทางพระจึงสอนให้มุ่งภาวนา ทำจิตให้ รวม ระวัง ตั้งมั่นทำจิตให้มีปัญญารู้ตามความจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่างๆออกเสีย จึงจะเป็นไปเพื่อความสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดยากโดยแท้จริง<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 33)<o:p></o:p>
    ยอดของบารมี<o:p></o:p>
    เรื่องการภาวนา เป็นยอดของบารมีทั้งหลาย เป็นการเสริมสร้างกำลังใจ กำลังปัญญาให้เข้มแข็ง สามารถต่อสู้เอาชนะกิเลสน้อยใหญ่ได้<o:p></o:p>
    เมื่อไม่รู้จักภาวนา ก็ปล่อยให้พวกกิเลสเป็นเจ้านายผู้บงการการกระทำของตน ตนก็เลยเป็นทาสของกิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรมไม่ดี สะท้อนเอาความทุกข์ยากมาสู่ตนเอง<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 33)<o:p></o:p>
    ความเพียร<o:p></o:p>
    บนแผ่นดินนี้ผู้มีความเพียรไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจไม่ว่าจะทำอะไร ย่อมสำเร็จได้ ............ดูตัวอย่างพระ พุทธเจ้า.......เมื่อเห็นแล้วเราต้อง ตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้ ให้มันตาย มนุษย์เผาไฟแล้วจึงค่อยถอย ถ้ามันยังไม่ตายเราจะไปถอยความเพียรไม่ได้<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 78)<o:p></o:p>
    ข่าวมรณกรรมของผู้อื่นและของเรา<o:p></o:p>
    “.ชีวิตของเรา ไม่เป็นของยั่งยืนเป็นของที่จะต้องตายลงโดยแน่นอน เวลานี้ เราอาจได้ยินข่าวมรณกรรมของผู้อื่น ของพระอื่นแต่อีกไม่นานข่าวนั้นต้องเป็นของเราบ้าง เพราะชีวิตทุกชีวิตจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น อย่าประมาทเรื่องความตาย ให้เร่งภาวนา ทำจิตใจให้หมดกิเลส หมดทุกข์ หมดร้อน ให้ได้ก่อนความตายจะมาถึง"<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 36)<o:p></o:p>
    หลงศีล-หลงธรรม<o:p></o:p>
    ใจเราไปติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจเราจึง หลงศีล หลงธรรม หลงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าอยู่ที่อื่น ความจริงอยู่ที่กายวาจาจิตของพวกเราทุกคน มรรค ผล นิพพาน ก็ไม่ต้องไปหาที่อื่น มันอยู่ที่ความเพียร ความขยัน ความอดทน ความหมั่นในการภาวนาไม่ขาด<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา ช่วงคำนำ น.13)<o:p></o:p>
    เกิด-ตายกับเกิด-ดับ<o:p></o:p>
    เป็นคนเป็นสัตว์ มันก็มีเกิดมีตาย ธรรมะไม่เกิด-ไม่ตาย มีแต่เกิด-ดับ กิเลสตายไปแล้ว ไม่มาอีก เหลือแต่ นิโรโธ นิ พพานัง<o:p></o:p>
    ธรรมลิขิตจากหลวงปู่บุดดา ถาวโร มกราคม 2536<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา ช่วงคำนำ น.16)<o:p></o:p>
    อย่าอวดดีจะตายทิ้งเปล่า<o:p></o:p>
    “.อย่าว่าแต่คนเราธรรมดา แม้พระศาสดาเอกในโลกก็ยังดับขันธ์เข้าสู่นฤพาน เราท่านทั้งหลายจะไม่แตกไม่ตายนั้น เป็นไปไม่ได้ ไม่ต้องอวดดี ถ้าอวดดีแล้วจะตายทิ้งเปล่าๆ<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 66)<o:p></o:p>
    ความตาย เปรียบ หมาล่าเนื้อ<o:p></o:p>
    ความตายนี้มันไล่ติดตามตัวเราอยู่เสมอ ท่าน เปรียบอุปมาเหมือนหมาไล่เนื้อ ตามทันที่ไหน มันก็กัดเอาให้เนื้อนั้นตายฉันใด มรณะ ความตายที่ตามเราท่านทั้งหลายมาตั้งแต่เกิด เกิดมาแล้ว มันตาม มันไล่ล่า เท่ากับว่า เนื้อมันยังแข็งแรงอยู่ สุนัขมันยังไล่ไม่ทัน มันทันเวลาไหน ก็เอาเนื้อนั้นตายในที่นั้นไม่เลือกสถานที่<o:p></o:p>
    (จาก พุทธจารปูชา หน้า 76)
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หลวงปู่ฝากไว้

    หลวงปู่ฝากไว้<o:p></o:p>
    () วันเวลาที่หมดสิ้นไปโดยไม่ได้ ทำอะไรที่เป็นคุณค่าเป็นประโยขนืแก่ตนเองบ้างในชีวิตที่เกิดมาในโลก และได้พบพุทธศาสนานี้ ช่างเป็นชีวิตที่น่าเสียดายยิ่งนัก เวลาแม้นเพียงหนึ่งนาทีที่ผ่านเลยไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลสักสิบล้าน ร้อยล้าน ก็ไม่สามารถซื้อคืนกลับมาได้ ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้ จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่อยให้วันเวลา ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้นว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว<o:p></o:p>
    () ใจของคนเราทุกคนถ้าเจริญภาวนา ไม่ทอดธุระ ภาวนาให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จิของผู้ภาวนาก็สูง คำว่าสูงก็เหมือนกับเรือ เรือที่ลอยลำอยู่ในแม่น้ำลำคลอง หรือที่มหาสมุทรสาคร ก็คือจิตมันอยู่เหนือน้ำ จิตอยู่เหนืออารมณ์ เหมือนเรืออยู่เหนือน้ำ มันก็ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงจำเป็นจะต้องฝึกตนเอง ให้มีความอดทน<o:p></o:p>
    () เวลาความสุขมาถึงเข้า เราจะไปเอาความสุขในความสรรเสริญเยินยอ มั่งมีศรีสุขอย่างเดียว แต่เราหารู้ไม่ว่า ความสุขมีที่ไหน ความทุกข์ก็มีที่นั่น<o:p></o:p>
    () มรณกรรมนี้เป็นยอดกรรมฐานก็ว่า ได้ คนเราเมื่ออาศัยความประมาทมัวเมา ไม่ได้มองเห็นภัยอันตรายจะมาถึงตน คิดเอาเอง หมายเอาเอง ว่าเราคงไม่เป็นไร ง่ายๆสบายดีอยู่ เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกลายได้ง่ายๆ อันนี้เป็นความประมาทมัวเมา<o:p></o:p>
    () เราผู้เป็นสาวก สาวิกา ศรัทธาญาติโยม ภิกษุสงฆ์สามเณร ก็อย่าได้มีความถ้อถอย อย่าไปคิดว่าเราทำไม่ได้ เราบุญน้อย วาสนาน้อย ละกิเลสไม่ได้ อย่าไปคิดอย่างนั้น อะไรก้อตามถ้าหากว่าเรามีความ ตั้งใจไม่หวั่นไหวแล้ว ตั้งใจประพฤติดีปฏิบัติชอบในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ท้อถอยในดวงใจแล้ว ย่อมได้ย่อมถึงเป็นไปได้ทุกถ้วนหน้า<o:p></o:p>
    () ยิ่งเจริญยิ่งภาวนาเท่าใด จิตมันก็มีกำลัง เมื่อใจมีพลังมีความอาจหาญแล้ว สิ่งที่เรียกว่ายากก็ไม่มีอะไรยาก สิ่งที่เราคิดว่าเหลือวิสัย ก็ไม่เหลือวิสัย อยู่ที่วิสัยทุกคนจะทำได้ทั้งนั้น<o:p></o:p>
    () คนสมัยนี้ควรเรียนรู้อย่าง หนึ่งว่า พระเจ้าพิมพิสารมีศรัทธาแก่กล้าทำบุญถวายแผ่นดินกับพระพุทธเจ้า แผ่นดินมีเท่าไร ก้อแบ่งครึ่งหนึ่งเลย พวกเราทุกคนถ้ามีอย่างนั้นก็ท่าจะแบ่งไม่ได้แหละ อะไรก็ของกูหมดทุกอย่าง เวลาตายก็เอาไปบ่ได้ ก็ยังว่าของกูอยู่<o:p></o:p>
    () เมื่อเราท่านทั้งหลายพากันได้ ยินได้ฟังแล้ว ก็ให้ตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา มันไม่ใช่ของยาก มันยากอยู่ที่ไม่ทำไม่ปฏิบัติ ถ้าทำถ้าปฏิบัติแล้วไม่มีอะไรเป็นของยาก ย่อมรู้ได้เข้าใจเมื่อภายหลัง<o:p></o:p>
    () ที่ให้นั่งขัดสมาธิเพชรนี้ ก็คือว่าหัวใจเรามีความองอาจ กล้าหาญ ใจเป็นเพชรแข็ง ตัดกิเลสความโกรธให้ได้ ตัดกิเลสความโลภให้ได้ ตัดกิเลสความหลงให้ได้<o:p></o:p>
    (๑๐) คลอดออกมาก็ถือหละ ลืมตาเห็นโลกใหม่ โลกใหม่ก็โลกเก่าของตนเองนั่นแหละ โลกเกิด โลกเจ็บ โลกไข้ โลกตาย ถ้าเกิดในประเทศใดก็ยึดถือว่าประเทศนั้นเป็นของตน แผ่นคิดนั้นเป็นของตน ตัวอุปทานมันยึดมันถือ คือมัน หาบหินเป็นผีบ้าหาบหิน หาบไปจนเฒ่า จนแก่ตาย ตายแล้วก็ว่าจะแล้วแต่มันไม่แล้ว ก็เกิดมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้แหละเพราะมันหลง<o:p></o:p>
    (๑๑) ถ้ามองเห็นความตายทุกลมหายใจ เข้าออกแล้ว สบายใจไปเลย กูก็จะตายสูก็จะตาย จะมาวุ่นวายกันทำไม<o:p></o:p>
    (๑๒) ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เวลาจะเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ต้องไปเอาหมด ทุกถ้อยกระทงความ อุบายธรรมอันใด เมื่อเราเอามาสอนใจเราได้ก็ให้จดจำเอาอุบายธรรมอันนั้น มาสอนใจของเราให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนาให้จงได้ อันนั้นแหละจะเกิดประโยชน์ จิตที่ไม่สงบไม่ตั้งมั่น จิตที่ขี้เกียจขี้คร้านภาวนาก็จะได้หมั่นขยันขึ้น เพราะเอาธรรมคำสั่งสอนนั้นมาพร่ำสอนจิตใจของตนเอง จนจิตมีกำลังมีความสามารถอาจหาญในการตัดบ่วงห่วงอาลัยกิเลสในหัวใจของตนได้<o:p></o:p>
    (๑๓) คนเราโง่ ฉลาด มันอยู่ที่ความตั้งใจ ถ้าใจไม่ฉลาดมันก็เก็บเอาความโง่เขลาเบาปัญญามาไว้ อารมณ์ที่ดีมันนึกไม่ได้ พุทโธ ๆ ในใจมันนึกไม่ได้ แต่นึกรั่ว ไหลไปที่อื่น หลงใหลไปตามกิเลสของใจกิเลสของโลก เมื่อหลงใหล ออกไปกว้างขวางเท่าไรก็เรียกว่าจมลงไปในแม่น้ำมหาสมุทร คือว่าหลงไปตามสมมติของมนุษย์ที่สมมติอยู่ จิตใจเราไม่ภาวนาไม่สงบเป็นดวงหนึ่งดวงเดียวจึงใช้การไม่ได้<o:p></o:p>
    (๑๔) เมื่อไปไหนอยู่ไหนอะไรก้อตาม จงเป็นผู้มีสติเตือนใจของตนเองว่า เราจะต้องมีสติ เราจะต้องมีสมาธิ เราจะต้องมีปัญญา เราจะต้องฝึกฝนจิตใจเราให้เกิดความรู้เข้าใจในธรรม ปฏิบัติ ธรรม ปฏิบัติไม่ได้เลือกกาลเวลา กาลใดเวลาไหน ก็ตามมันขึ้นอยู่กับการประกอบกระทำ<o:p></o:p>
    (๑๕) ภาวนาก็เหมือนกัน ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา พิจารณาอุบายที่ถูกจริต อาศัยความเพียรอย่างเดียวบ่ได้ กิเลสมันพลิกเพลงเก่ง ต้องตามให้ทัน คนรู้จักพิจารณาก็ได้บรรลุธรรม เร็ว<o:p></o:p>
    (๑๖) มรณกรรมฐานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก น้อย ไม่ใช่เพียงคำพูด คำพูดหรือตัวหนังสือ มันละกิเลสอะไรไม่ได้ แต่ถ้าผู้ปฏิบัติน้อมรำลึกถึงในมรณกรรมฐานไม่ว่าจะเห็นคน เห็นสัตว์ ป่าไม้ ป่าดงพงพี ก็เห็นความตายแตกดับ ความตายของคนของสัตว์ ของต้นไม้ ใบหญ้า ผลที่สุดที่เกิด มาแล้วก็ต้องมีความแตกดับทำลายตายไปเป็นธรรมดา ใครจะมายึดว่าตัวเราของเราก็ไม่ได้ทั้งนั้น ยึดไปเถิดเมื่อถึงความตายก็ต้องทิ้ง ไม่ทิ้งก็จำใจทิ้งเมื่อจิตใจของผู้ภาวนา ภาวนาเข้าถึงขั้นมรณกรรมฐานแล้ว ไม่ห่วงใคร บ้านก็ไม่ห่วง ลูกเต้าก็ไม่ห่วง ลูกหลานเหลน โหลน อะไรไม่ห่วงทั้งนั้น เพราะมันเล็งเห็นแจ้งชัดว่าตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้<o:p></o:p>
    (๑๗) เราเกิดมามีอายุเท่านั้นเท่า นี้ ปี มันเป็นเรื่องที่แล้วมาแล้ว แต่เวลาข้างหน้ามันขึ้นอยู่กับลมหายใจ กำหนดแน่ไม่ได้.. เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ก็อย่าประมาท พยายามทำจิตใจให้สำรวมระวัง เกิดปัญญาฟาดฟันกิเลสให้หมดไปสิ้นไปอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    (๑๘) กาลเวลามันล่วงไปผ่านไป แต่มันมิได้ล่วงไปเปล่า มันเอาอายุวัยของเราไปด้วย ดังนั้นอย่าประมาทเรื่องกาลเวลา ให้เสวงหาสาระคือ บุญกุศลไว้เสมอๆ อย่าให้ชีวิตล่วงไปเปล่าประโยชน์
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หลวงปู่ฝากไว้ 2

    (๑๙) เรื่องการภาวนานั้น ไม่หมายเอาเพียงรูปร่างภายนอก การนั่งสมาธิตามแบบแผนอย่างเดียว ซึ่งการนั่งแต่เพียงรูปร่างกายนั้นไม่ยุ่งยาก ข้อสำคัญอยู่ที่การทำจิตใจตั้ง มั่นรู้อยู่ภายใน รวมอยู่ภายใน รู้ตามเป็นจริง ของสิ่งต่างๆ มี อนิจจัง ทุกขัง อันตตา เป็นต้น จนไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียได้<o:p></o:p> (๒๐) ชีวิตของเราไม่เป็นของยั่งยืน เป็นของที่ต้องตายลงโดยแน่นอน เวลานี้เราอาจได้ยินข่าวการมรณกรรมของผู้อื่น พระอื่น แต่อีกไม่นาน ข่าวนั้นจะต้องเป็นของเราบ้าง เพราะชีวิตทุกชีวิตจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น .. ฉะนั้น อย่าประมาทเรื่องความตาย ให้เร่งภาวนา ทำจิตใจให้หมดกิเลส หมดทุกข์ หมดร้อนให้ได้ก่อนความตายมาถึง<o:p></o:p>
    (๒๑) ถึงอย่างไรก้อตาม เมื่อผู้ใดยังข้องอยู่ในกาม ลุ่มหลงอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสแล้วจะไม่มีทุกข์มีโทษนั้นอย่าหวัง เพราะกามนั้นมีคุณน้อย มีโทษมาก ท่านเปรียบเหมือนงู ผู้ใดไปใกล้หรือ ไปเหยียบงูเข้า จะถูกมันกัดทำให้เจ็บปวด ถ้าเป็นงูพิษก็อาจทำให้ถึงตายได้<o:p></o:p>
    (๒๒) ทางพระทานสอนให้ละชั่ว ทำความดี แต่ก็ไม่ให้ติดออยู่ในความดี ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้นจนถึงไม่ติดดีไม่ติดชั่ว จึงจะพ้นจากโลกนี้ไปได้ ทางพระจึงสอนมุ่งภาวนา ทำจิตให้สำรวมตั้งมั่น ทำจิตให้มีปัญญารู้ตาม ความเป็นจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆออกเสีย จึงจะเป็นไปเพื่อสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดอยากได้โดยแท้จริง<o:p></o:p>
    (๒๓) ถ้าเราภาวนาชำระกิเลสโลภ โกรธ หลง ออกไปมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับความเป็นพุทธะ ธัมมะ สังฆะ ของเราเพิ่มขึ้นทุกที<o:p></o:p>
    (๒๔) เรื่องของรูปขันธ์มันเป็นของ อาศัย อย่าไปตามใจมันนัก ไม่ว่าจะปรุงแต่งเต็มที่อย่างไร มันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย อยู่นั่นเอง จะช้าจะเร็วก็สุดแต่กรรม ถ้า มันแปร ปรวน ก็เยียวยาแก้ไขกันไปตามควร แต่ด้วยความรู้เท่านั้น ว่ามันถึงที่สุดของมัน มันก็ย่อมแก้ไขไม่ได้ ฉะนั้น วิธีจะช่วยไม่ให้เดือดร้อนมาก ก็โดยฝึกจิตฝึกใจให้แกร่งกล้า จนรู้จักปล่อยวางได้<o:p></o:p>
    (๒๕) ธรรมดาเหล็กมันจะเกิดสนิม มันก็จะเกิดจากภายใน จากเนื้อเหล็กนั้นเอง โรคภัยไข้เจ็บก็เหมือนกัน ก็ไม่ได้เกิดที่ไหน นอกจากภายในกายสังขารของเรานั้นเอง การจะสู้ศัตรูภาย ใน เราต้องบำรุงกำลังภายในของเราให้แข็งแรงเสมอทั้งอวัยวะร่างกายและจิตใจ จึงจะไม่เสียทีต่อข้าศึกนั้น ๆ<o:p></o:p>
    (๒๖) เป็นธรรมดาสังขารร่างกายของเรา จะต้องเดินไปสู่ความเสื่อมความสลายแม้จะป้องกันแก้ไขอย่างไร ก็เป็นแต่จะยืดเวลาออกไปเท่านั้น ที่จะห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายเลยนั้นไม่ได้ ฉะนั้น จึงให้มุ่งเอาจิตเป็นสำคัญ คือบำรุงรักษาร่างกายพอประมาณ แต่บำรุงรักษาจิตให้มากๆ เป็นการหาสาระจากสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสารนั้น ๆ ให้มากที่สุด ที่จะทำได้ คือต้องเร่งบำเพ็ญกุศล เต็มสติกำลัง ทั้งทาน ศีล ภาวนา แม้ร่างกายจะแก่จะแตกจะตายก็ไม่วิตกกังวล เพราะสมบัติดีๆ มีไว้ เตรียมไว้แล้วดังนี้ จะไปไหน ก็ไม่ต้องกลัว<o:p></o:p>
    (๒๗) การภาวนาเป็นเรื่องของการ บำเพ็ญเพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อความทุกข์ แม้นจะมีความยากลำบากบ้างก็อย่าท้อถอย ให้เห็นเป็นของธรรมดาของการทำสิ่งที่มีค่าให้เกิดขึ้น<o:p></o:p>
    (๒๘) การที่เราตั้งใจทำความดี ทุกสิ่งทุกอัน จะเป็นประเภทบารมี ๑๐ ทัศ ๓๐ ทัศ ก็ดี หรือความดีต่างๆ ก็ดี ก็มีความมุ่งหมายที่จะทำให้จิตใจเราดีขึ้น สะอาดขึ้น มีปัญญารู้แจ้ง ทำนองเดียวกัน ฉะนั้น แม้ว่าเราจะมาเพียงนั่งภาวนาทำจิตให้รวมเป็นสมาธิ เป็นวิปัสนา ให้เกิดปัญญารู้แจ้งนี้ จึงเป็นการทำความดีอย่างสูง เป็นการสร้างบารมี รวบยอดนั่นเอง<o:p></o:p>
    (๒๙) เรื่องการแผ่เมตตานี้ เป็นการทำกระแสจิตของเราให้ กว้างขวาง ผ่องใส ปราศจากความพยายามจองเวร มีส่วนช่วยในการภาวนาดีขึ้น<o:p></o:p>
    (๓๐) เรื่องกรรมฐาน ๔๐ อย่าง และอาจมีหลายอย่างล้วนเป็นคุณประโยชน์ ต่อการภาวนาทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญ อยู่ที่ดวงจิตของผู้บำเพ็ญ ต้องเอาจิตจึงจะเป็นผลขึ้นมา ถ้าไม่เอาจริง กรรมฐานดีอย่างไร ก็ไม่เกิดเป็นผลขึ้นมา ได้<o:p></o:p>
    (๓๑) เมื่อมีปฐมมรรคแล้ว ก็ต้องมีปัจฉิมผล อันเป็นปริโยสาน มิฉะนั้นแล้ว พุทธังก็ย่อมไม่จำเป็นจะต้องมีสังฆัง<o:p></o:p>
    (๓๒) การภาวนาเหมือนเครื่องมือค้น คว้าหาแก้วอันประเสริฐ คนเรามีแก้วอันประเสริฐอยู่ในตัว แต่เมื่อไม่อาศัยการภาวนาก็ไม่สามารถค้นพบแก้วนั้นได้ พระพุทธศาสนามีคุณค่าสูงก็ด้วย วิธีภาวนา ทำจิตใจที่มีกิเลสอาสวะเศร้าหมองให้หมดจดจากสิ่งเศร้าหมองกลับผ่องใสขึ้น<o:p></o:p>
    (๓๓) เรื่องความรู้ของคนเรามีอยู่ สองอย่าง อย่างหนึ่งคือความรู้ที่แส่สาย ฟุ้งซ่านไปในสิ่งต่างๆทั้งในอดีต อนาคต เรียกว่า จิต สังขารความปรุงแต่งของ จิต ส่วนอีกอันหนึ่งเป็นความรู้ ที่รู้เรื่องการปรุงแต่งของจิตอีกทีหนึ่ง ..เป็นสภาพที่รู้อยู่ภายใน<o:p></o:p>
    (๓๔) ธรรมะคือมรรคผล เปรียบเหมือนน้ำอยู่ใต้ดิน คนบางคนขุดไปได้เล็กน้อย ไม่พบท้อใจเลิก ก็ไม่ได้น้ำ คนบางคนขุดไปพอลึกลงหน่อยดินพังแล้ว ไม่มีปัญญาแก้ไขเลยขุดไม่ได้ถึงน้ำ ส่วนผู้มีความพยายาม มีสติปัญญา เหมือนผู้มีเครื่องมือดี มีความเพียร มีความอดทน ย่อมขุดไปถึงน้ำได้<o:p></o:p>
    (๓๕) กิเลสมันมีอุบาย หลายอย่าง ที่จะเอาชนะคนผู้จะปราบมันเสมอ แทนที่จะปราบมันลงกลับถูกมันปราบเอา ฉะนั้นวันคืน ล่วงไปอย่าให้ล่วงไปเปล่า ต้องประกอบความเพียรภาวนา อย่าเห็นแก่กิน แกนอนเป็นใหญ่ ให้มุ่งชำระกิเลสเป็นของจำเป็น เป็นหน้าที่สำคัญ<o:p></o:p>
    (๓๖) กิเลสมันเหมือนปลิงหรือทาก ถ้าเราปล่อยให้มันดูดติดอยู่ กับตัวเราโดยไม่มีการแก้ไขแล้ว ไม่มีวันที่มันจะหลุดออกได้เอง และนับวันจะทำอันตรายให้มากขึ้น ดังนั้น เราผู้เห็นภัยของกิเลส ก็จงพยายามภาวนาหาทางขูดดึงกิเลส ออกจากตัว อย่าได้นอนใจปล่อยให้มันดูดติดอยู่เรื่อยไป<o:p></o:p>
    (๓๗) ภัยต่างๆที่เห็นๆ กันนั้น อย่างมากก็เพียงชั่วระยะเวลา หนึ่งแล้วก็ผ่านไป แต่ส่วนของภัยของกิเลส นั้น ตายแล้วยังไม่หมดภัย มันยังเป็นภัยข้ามภพข้ามชาติ ไปอีก ไม่รู้สิ้นสุด ถ้าเราไม่หาอุบายวิธีกำจัดมัน ให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เราก็จะประสบภัยจากมันเรื่อยมา<o:p></o:p>
    (๓๘) คนเราโดยมาก มักถืออุปสรรคเป็นเครื่องบันทอนกำลังใจ เลยท้อแท้ที่จะแก้ไข ปรับปรุง หรือดำเนินกิจการให้รุดหน้าต่อไป ส่วนผู้ที่มีความเข้มแข็ง หรือทำให้จิตใจตนเข้มแข็งต่อไป จะต้องถืออุปสรรคอันตรายต่างๆ เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างเสริม บารมีของตนให้เพิ่มขึ้น
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วาทะธรรม

    หมาไล่เนื้อ<o:p></o:p>
    ท่านว่าคนเราเกิดมาบนโลกนี้ ความแก่ความชรา มันก็ไล่ติดตามอยู่เสมอ ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไล่ติดตามอยู่เสมอ มรณภัยคือความตาย ขยับใกล้เข้ามาทุกวันคืน ท่านเปรียบอุปมาเหมือนหมาไล่เนื้อในป่า สมัยโบราณเขาเอาหมาไปไล่เนื้อ ไล่สัตว์ป่ามากินเป็นอาหาร เมื่อสุนัขมันเห็นสัตว์ป่ามันก็ไล่ ไป เมื่อสุนัขไล่ไปไล่อยู่ไม่หยุด ไม่หย่อนก็ย่อมมีเวลาทัน ทันเนื้อสัตว์ป่านั้น เมื่อทันที่ไหนมันก็กัดเอาจนเนื้อตัวนั้นตายไป<o:p></o:p>
    ที่เราเกิดมาแล้วนี้มันได้ชื่อว่า เหมือนหมาไล่เนื้อมาโดยลำดับ มันใกล้เข้ามาเป็นลำดับๆ ฉะนั้นพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงเตือนว่า ให้ภาวนามรณกรรมฐานไว้ มรณํ เม ภวิสสติ ให้พากันภาวนา ให้นึกถึงว่าความตายมันใกล้เข้ามา ไล่เข้ามาโดยลำดับ<o:p></o:p>
    อีกไม่นานความตายนั้นก็จะเข้ามาถึงตัวเราทุกคน แต่ทุกวันนี้มันก็ใกล้เข้ามา เดี๋ยวก็ได้ข่าวว่าคนนั้น คนนี้ตาย พระเณร พระท่านผู้เฒ่าผู้แก่ตายไป นี่คือว่ามันเหมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อมาทันเวลาใด หมามันไม่ได้ยกเว้น มันกัดเอาจนเนื้อตัวนั้นตายไป ชราความแก่ พยาธิความเจ็บไข้ มรณภัยคือความตายอันมันไล่ ติดตามตัวเรา อันมันไล่ติดตามเราท่าน ทั้งหลายอยู่นี้ ถ้าเราไม่รีบเร่งภาวนา ไม่ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติให้ดีแล้ว เมื่อมรณภัย คือความตายมาถึงเข้าบุคคลผู้นั้น ย่อมมีความพลั้งเผลอ ลุ่มหลงเพราะไม่ได้ประกอบกระทำในภาวนาไว้ให้เพียงพอ ยิ่งเมื่อความแก่ชรา แก่ตัวมาเท่าไร พยาธิ โรคา มันก็มากขึ้น สติสตัง ก็ต้องตั้งขึ้นมา ให้มีสติ ความระลึกได้ จิตใจจึงจะตั้งมั่นในสมาธิภาวนาได้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจิตใจก็จะฟุ้งไปซ่านมา แส่ส่ายหาอารมณ์ต่างๆ ไม่มีที่จบที่สิ้น<o:p></o:p>
    คนรักเท่าผืน หนัง คนชังเท่าผืนสาด<o:p></o:p>
    มนุษย์เกิดมาไม่ใช่จะมีแต่คนรักกัน คนชังกัน คนหาข้อที่ทำลายชีวิตของเราก็มีอยู่ แต่เราไม่รู้ คนเกลียดคนชังก็มี คนรักนั้นมีน้อย คนชังนั้นมีมาก คนโบราณจึงแต่งคำสอนใจไว้ว่า<o:p></o:p>
    คนที่มีความรักนั้นมีเท่าผืนหนัง เหมือนหนังวัวหนังควายมันมีจำกัด แต่ว่าคนชังนั้นมีเท่าผืนเสื่อ คนชังมันมีได้เต็มโลก มันมากกว่าคนรัก ฉะนั้นอย่าไปหลงคนรัก อย่าไปหลงอารมณ์กิเลส คนชังคนคอยเบียนเบียนมาก แต่เขาไม่บอกให้รู้<o:p></o:p>
    เพราะบอกให้รู้มันก็ไม่พอใจของคน แต่ว่าคนที่ชอบคอพอใจกันทั้งนั้น คนหนึ่งสองคนก็รู้มาบอกว่า ข้าพเจ้าเคารพ นับถือท่าน แต่คนชังเขาไม่บอก<o:p></o:p>
    โน่นละถึงฆ่ากันตายกลางถนนหนทางเป็นศพไปแล้ว แก้ไม่ได้อันนี้เค้าจึงแต่งคำกลอนว่า คนรักมีเท่าผืนหนัง คือน้อยนิดเดียวนะ คนชังเท่าผืนเสื่อสาด คนชังมันเห็นได้เต็มโลก คนทั้งโลกมาก คนรักคนชอบ พอใจมันน้อย คนชังมันมาก คือเป็นการเตือนใจทุกคนนั้นเอง<o:p></o:p>
    อภัยทาน<o:p></o:p>
    ฝึกหัดจิตใจในการให้ทาน ทานนี้ ทานวัตถุข้าวของใครก็พอมองเห็นได้ แต่ว่าอภัยทานการให้อภัยแก่คนอื่น สัตว์อื่นนี้คนเรามองไม่เห็น แล้วการปฏิบัติก็ไม่ได้<o:p></o:p>
    ก็เป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่ง ถ้าว่าอย่างหนึ่งก็เรียกว่าฝึกจิตอย่างสูง คือทุกสิ่งทุกอย่างมันจำเป็นต้องเสียสละให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย แก่คนและสัตว์ทั้งหลายที่เขายังไม่รู้ไม่เข้าใจ เมื่อเราฝึกหัดจิตนั้นเอง ให้จิตมันเกิดความรู้ความฉลาด ขึ้นมาว่า สิ่งใดควรยึดสิ่งใดไม่ควรยึด สิ่งใดควรให้อภัย<o:p></o:p>
    ในทางผู้ต้องโทษในประเทศไทยเมื่อเอาไปกักกันอยู่ในเรือนจำแล้ว นานๆ ท่านก็มีให้อภัย โทษที่ตัดสินว่าให้อยู่เท่านั้นปี เท่านี้ปี เท่านั้นสิบปีก็มี ท่านก็ให้อภัยได้ อภัยทานจึงเป็นทานอันสูงสุด ตามธรรมดาก็ต้องติดคุกไป จนหมดโทษ แต่ให้อภัยคือว่าให้ลดโทษนั้นไปจนพ้นโทษ อันการหัดฝึกจิตฝึกใจของเราแต่ล่ะ บุคคล อภัยทาน ให้อภัยแก่กัน คนอื่นผู้อื่นเขาไม่รู้ แม้เราจะไปแน่ะนำสั่งสอนอย่างไร ว่าอย่างไรก็ตามแต่ มันก็ไม่รู้ไม่เข้าใจอยู่นั้นแหละ<o:p></o:p>
    ภาวนาไม่เลือก สถานที่<o:p></o:p>
    ในวันหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง เราไม่ควรประมาท นั่งที่ไหนก็ตั้งใจภาวนาในที่นั้น ยืนอยู่ที่ไหนก็ตั้งใจภาวนาในที่ยืน เดินไปไหนก็ให้ตั้งใจภาวนาในที่เดินไปนั้น แม้กระทั้งเรานอนแล้วแต่ยังไม่หลับก็ให้น้อมเอาดวงใจ เอาใจของเราให้หยุดให้อยู่ ให้สงบ ระงับได้นั้น<o:p></o:p>
    แหละเป็นการดี จึงให้ชื่อว่าการภาวนาในทางพุทธศาสนา เราต้องตั้งใจประกอบกระทำให้เกิดให้มีขึ้น คนอื่นที่จะมาช่วยได้จริงๆนั้น มันก็ห่างไกลอยู่ ตัวเรานี่แหละพึ่งตัวเราเอง พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ว่า อตตาหิ อตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน จะคิดพึ่งคนอื่นมาภาวนาให้ไม่ได้ เราต้องภาวนาเอง แก้ไขจิตใจเราเอง<o:p></o:p>
    ลมปาก<o:p></o:p>
    ลมปากมนุษย์มันพอใจมันก็ว่าให้ดี ที่ลมปากมนุษย์มันไม่พอใจมันก็ด่าให้ว่าให้ อย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อนทำใจของเราให้วางเฉย พุทโธอยู่ในดวงใจให้จิตใจเย็นสบายเป็นเครื่องอยู่เครื่องอาศัยภายในใจของเรา นี่เอง บางคนเมื่อถูกความคิดเตียนนินทาเหมือนเอาน้ำร้อนมาลวกเข้าไป เต้นเหย็งๆ คือว่าไม่ภาวนา ว่าลมแรงยังไม่แรงเท่าลมปาก เขาว่าอย่างนั้น ลมแรงนั้นนานๆจึงจะพัดมาทีหนึ่ง แต่ลมปากมนุษย์มันพัดอยู่ทุกวันเวลา ใครไม่ภาวนาก็เป็นทุกข์เป็นร้อนถ้าเขาสรรเสริญเราก็ไม่ควรดีใจ ถ้าเขานินทาว่าร้ายป้ายสีก็ไม่ควรเสียใจ เพราะความสรรเสริญนินทานี้ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ความเที่ยงแท้แน่นอนมันอยู่ในจิตใจทุกคน ตั้งจิตตั้งใจให้มั่นคง<o:p></o:p>
    ใจดวงเก่า<o:p></o:p>
    ใจของเรามันมีอยู่คนละดวงๆ ภายในตัวเราทุกๆคน ใจดวงนี้ไม่ได้ไปไหน ตั้งแต่มาปฏิสนธิในท้องแม่ จนคลอดออกมา เกิดมาแล้วก็จิตใจดวงเก่านี้เอง จิตใจดวงนี้มาแต่ภพก่อนหนหลังนับไม่ถ้วนแล้ว มาเกิดมาแก่มาเจ็บมาตาย อยู่ในภพน้อยภพใหญ่ในโลกจนนับไม่ถ้วนแล้ว ถึงกระนั้นก็ยังมีความรู้ความฉลาดยังไม่เพียงพอ ความโง่เขลาเบาปัญญายังมีอยู่เยอะ<o:p></o:p>
    เพราะเราไม่ฝึกต่อกันมา เมื่อเรารู้ตัวอย่างนี้เราต้องฝึกฝนอบรมหลายอย่างหลายประการ นับตั้งแต่นั่งขัดสมาธิเพชร ไม่ได้ไม่ยอม เราต้องนั่งให้ได้ เราไม่ฝึกเราไม่สอนเราเอง ใครจะมาสอนล่ะ ไม่มีใครสอนยืนภาวนาก็ให้ได้ เดินภาวนาก็ให้ได้ ไปรถไปรายิ่งภาวนาให้มันมาก<o:p></o:p>
    กบเฝ้ากอบัว<o:p></o:p>
    ในข้อความบางอย่างท่านเปรียบเทียบไว้ว่า มีหนองบัวอยู่ มีบึงมีหนองอยู่ มีเจ้ากบนั้นก็นั่งเฝ้ากอบัวอยู่ แต่ไม่รู้ว่าบนหัวของตัวมันมีดอกไม้ ดอกบัวมีน้ำหวานอยู่ในนั้น แมลงผึ้งก็มาเอาเกสรดอกไม้ เอาน้ำหวานของดอกบัว แต่ไอ้เจ้ากบก็นั่งเฝ้ากอบัวไม่รู้ ไม่รู้อะไรเป็นอะไรล่ะ ถ้าร้อนขึ้นมาก็โดดน้ำ เย็นแล้วก็ขึ้นมานั่งเฝ้ากอบัว ท่านเปรียบให้เห็นว่า แมลงภู่แมลงผึ้งมันยังรู้จัก<o:p></o:p>
    เจ้ากบนั่งเฝ้ากอบัว ดอกบัวอยู่บนหัวกลิ่นบ่ต้อง(ไม่ได้กลิ่นบัว) ภุมรินบินมาข้าง บนเอาเกสรดอกไม้ไป โบราณเขาก็แต่งโคลงให้ว่า กบไม่รู้อะไร ผู้ไม่ภาวนาแม้คุณพระพุทธเจ้าก็ไม่รู้ คุณพระธรรมก็ไม่รู้ คุณพระสงฆ์ก็ไม่รู้ แล้วก็นั่งเฝ้ากอบัวคือนั่งเฝ้าธาตุทั้งสี่ ขันธ์ห้า นั่งเฝ้าตู้พระธรรมก็ว่าได้ ตัวเรานี้แหละเป็นตู้พระไตรปิฏก กาย วาจา จิต พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ กบก็คือจิต เราไม่ภาวนา ไม่สงบจิตสงบใจมานั่งเฝ้ากอบัวอยู่ นั่งเฝ้าดอกไม้ของหอมอยู่แต่ไม่รู้ เกิดมาแล้วก็มีตาก็ดูไป มีหูก็ฟังไป มีจมูกก็ดมกลิ่นไป มีลิ้นก็ลิ้มรสกินอาหารไป มีร่างกายก็กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็งไป เมื่ออารมณ์ทั้งห้าผ่านมาแล้วก็เป็นอารมณ์อยู่ในจิต สิ่งใดชอบใจก็หลงไป สิ่งใดไม่ชอบใจก็โกรธขัดเคืองในจิตในใจ ไม่ให้อภัยแก่ใครทั้งนั้น คือว่าไอ้กบนั่งเฝ้ากอบัวคือเราทุกคนนี่แหละ..<o:p></o:p>
    ..แต่ไอ้เจ้าผึ้งก็โง่อีก เมื่อเห็นแสงสว่างไฟฟ้า มันไม่รู้จักว่าไฟฟ้าแหละ ไม่รู้จักของร้อน เมื่อตัวบินมาแล้ว มาเห็นแสงสว่างเห็นแสงไฟ ก็คิดเข้าใจว่าของวิเศษ แก้วมณีโชติอยากได้ ไอ้ตัวความอยากตัณหาอันนั้นแหละ มันอยากได้ ลืมเสียว่าตัวบินมานั้น บินไปหาอะไร มาหาแก้วมณีโชติไฟไหม้นี่หรือ หรือบินไปหาเกสรดอกไม้น้ำหวาน<o:p></o:p>
    ของดอกไม้ แล้วลืมเสีย ลืมของหวานที่จะเอาไปให้ลูกเต้ากิน เอาไปเลี้ยงพวกเพื่อนของตัวเอง ลืมหมด พอมาเห็นแสงสว่างของไฟนี่มันยังดีไฟไม่ไหม้ตัวมัน ถ้าเกิดเป็นไฟป่าบินเข้ามา อย่างนี้ก็ตาย ตายลูกเดียว นั่นคือแมลงผึ้งมันไม่รู้ แต่มันก็มีวิชาความรู้โดย<o:p></o:p>
    ธรรมชาติ ว่าเกิดมาแล้วมันรู้เองว่าต้อง ไปหาน้ำหวานเกสรดอกไม้ แต่วาความรู้ว่าไฟร้อนไม่ได้เรียนไม่ได้รู้ ปู่ย่าตาทวดของผึ้งก็ไม่ได้สอน เพราะโง่มาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดของผึ้ง สอนแต่ให้หาเกสรดอกไม้และน้ำเย็น มันก็กินอย่างนี้ กินน้ำเย็นเยอะและก็กินน้ำผึ้งน้ำดอกไม้..
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ภิกษุนอนจงกรม

    ดูพระสาวกในครั้งพุทธกาลท่านทำจริงท่านเดินจงกรมอย่างเดียว เอาจนได้สำเร็จมรรคผล เห็นแจ้งพระนิพพาน ท่านทำอย่างไรคำว่าจริง ทีนี้ท่านนั่งภาวนา มันก็ง่วงเหงาหาวนอน เหมือนเราท่านทั้งหลายนี่แหละท่านก็ไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันสัปหงก ท่านไม่นั่ง ท่านเดินจงกรมคำว่าเดินจงกรมก็คือว่าเดินก้าวไปก้าวมา ในทางในเส้นทางจงกรม ที่ท่านปัดกวาดไว้นั้นไม่ยอมหยุดไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันคอยหลับ หลับตาก็ยิ่งร้ายใหญ่ เดินเอาอย่างเดียวเดินจนไม่รู้ว่ามันนานเท่าไหร่ล่ะ เดินจนหนังเท้าแตก เลือดไหลเดินไม่ได้แล้วเราท่านทั้งหลายผู้นั่งภาวนาอยู่นี่ เดินจนเท้าแตกเลือดไหลเดินไม่ได้มีหรือไม่เห็นมี ไปทางไหนก็สวมรองเท้ากลัวตีนแตก เจ็บนิดๆ หน่อยๆ ก็เอาไม่ไหวแล้ว ตายแล้วทำไมไม่ตายตั้งแต่ยังไม่เกิดล่ะ นั่นแหละคือว่าใจท้อถอย ใจเกียจคร้านไม่ได้ดูพระแต่ก่อน ท่านเดินจนกระทั่งว่าหนังเท้าแตกเดินไม่ได้เมื่อเดินไม่ได้ท่านก็ยังไม่ ถอยความเพียร<o:p></o:p>
    ถ้าเราสมัยนี้ถ้าถึงขนาดนั้นละก็นอนแผ่เท่านั้นแหละไม่เดินอีกต่อไป ไม่ภาวนาอีกต่อไป แต่ท่านไม่ยอม เมื่อเดินไม่ได้เข่ายังมี มือยังมีคลานเอา ท่านว่าอย่างนั้น ทีนี้ก็คลานเดินจงกรมไป กลับไปกลับมา ไม่รู้ว่ากี่หนแหละเข่าแตก หนังเข่าแตกไป ช่างมัน ไม่ใช่เข่าเรา เข่าของกิเลส มือแตกก็แตกช่างมันเดินไม่ได้มันเจ็บ แตกเลือดไหล เราได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มีมีแต่นอนห่มผ้าให้มันตลอด มันจะได้สำเร็จมรรคผลอะไรก็ได้แต่กรรมฐานขี้ไก่เท่านั้นเองแหละ กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมูไม่ลุกขึ้นภาวนาเหมือนพระแต่ก่อน<o:p></o:p>

    พระแต่ก่อนท่านเดินไม่ได้ ท่านคลานเอาทีนี้คลานไม่ได้ท่านทำอย่างไร ท่านก็ไม่ต้องนอนกันล่ะ แต่ท่านนอนขวางทางจงกรมแล้วไม่ใช่นอนนิ่งๆ ให้มันหลับ พลิกเหมือนกับเดินจงกรมในทางนั่นเองแหละเหยียดยาวลงตั้งแต่หัวถึงตีน ทีนี้มันก็ไม่มีที่ตรงไหนแตกแล้วทีนี้ กลิ้งไป พลิกไปจนสุดทางจงกรม กลิ้งกลับมาอีก เอาอยู่อย่างนั้น ไม่รู้กี่ครั้งกี่หน นับไม่ถ้วนท่านตั้งใจลงไป ท่านไม่ยอมให้มันหลับมันไหล ไม่ให้มันฟุ้งซ่านไปที่อื่นเท้ามันเจ็บก็ไม่ให้ไปยึดไปถือ เข่ามันแตกก็ไม่ให้ไปยึดไปถือ มือแตกก็ช่างมือมือผีหลอก มันหลอกให้หลง เข่าผีหลอก เท้าผีหลอก ท่านไม่ย่อท้อ ใจไม่ย่อท้ออันนั้นนั่นแหละเรียกว่าความ เพียร ไม่ใช่คำ เพียรพูดปลายลิ้นเท่านี้ท่านมีความเพียรจริงๆ ไม่ยอมให้มันนิ่ง ถ้านิ่งมันก็หลับ พลิกกลิ้งกลมไปเรื่อยมันจะตายก็ช่างสิ<o:p></o:p>

    ได้ภาวนาทำความเพียรละกิเลส เป็นสิ่งสำคัญความตั้งใจองค์นั้น เมื่อถึงขั้นนอนเหยียดตามแผ่นดินแล้วกลิ้งไปเถิดมันไม่แตกละทีนี้ มันไม่มีที่ไหนหนัก ถ้ายืนมันก็ไปลงหนักที่เท้าที่ตีนถ้าคลานมันก็ไปที่เข่าที่มือ มันไปหนักที่นั้น ถ้าเหยียดยาวละก็ไม่มีที่ไหนจะไปหนักมันเท่ากันหมด แต่ไม่ใช่ท่านนอนหลับเหมือนพวกเรา ไม่ใช่นอนภาวนานอนกลิ้งไม่ยอมให้มันหลับ ไม่ยอมให้มันนิ่ง เรียกว่าสติสัมปชัญญะสมาธิท่านตั้งมั่นลงไป องค์นี้เรียกว่ามีความเพียรที่สุดในพุทธศาสนาไม่มีองค์ใดที่จะได้สำเร็จแบบ นี้ มีองค์เดียวเท่านั้น เพราะว่าท่านทำจริง<o:p></o:p>

    เราทุกคน ทุกดวงใจถ้ามีความเพียรขนาดนั้นล่ะคิดดูสิไม่ต้องไปถามหามรรคผลนิพพานล่ะ (ต้องได้แน่) ท่านเอาจนสำเร็จแม้เราทุกคนก็เอาให้มันขนาดนั้น มันจะไปเหลือวิสัยได้หรือมันยังไม่ถึงขั้นนั้นมันไปถอย เสียก่อน หยุดเสียก่อน มันกลัวตายน่ะมันจึงได้มาเกิดมาตายอยู่ไม่จบไม่สิ้น มานอนอยู่ในท้องแม่นับภพนับชาติไม่ถ้วนก็เพราะจิตอันนี้ไม่มีความเพียร ไม่สมกับพุทธภาษิตที่ว่า วิริเยนะ ทุกขะ มัจเจติบุคคลจะล่วงความทุกข์ได้ด้วยความเพียร<o:p></o:p>

    ให้เตือนใจของเราว่าเราได้ทำความเพียรเหมือนพระอรหันต์องค์นั้นหรือไม่ ถ้ายังไม่ถึงก็เอาให้มันถึงไม่ถึงให้มันตายเสียดีกว่า มารอ กินข้าวสุกทุกวัน ใจขี้เกียจ ใจ ขี้คร้าน ใจขี้หลับขี้นอน ใช้ ไม่ได้ ให้ตื่นขึ้นลุกขึ้น …”
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมมีอยู่ทุกเวลา

    การฟังธรรมนั้น ความจริงธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไป ถ้าใจเราตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนา อะไร ๆ ก็เป็นธรรมเป็นพระธรรมพระวินัยทั้งนั้นแหละ การฟังธรรมจึงไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลากาลเวลาที่เราดังนี้เรียกว่าเป็นเวลาเป็นระยะ แต่ถ้าตัวเองสอนตัวเองฟังธรรมอยู่ในตัวเราแล้ว ธรรมมีอยู่ทุกเวลา นั่งก็ภาวนาได้ ยืนก็ภาวนาได้เดินก็ภาวนาได้ ไปรถไปราก็ภาวนาได้
    <o:p></o:p>
    เวลาไปรถไปราให้ภาวนาตายไว้ล่วงหน้า มรณํ เม ภวิสฺสติ (ความตายจักมีแก่เรา) ความตายอยู่ที่ความประมาท ผู้ใดประมาทเปรียบเหมือนคนตายแล้ว คนตายแล้วทำอะไรไม่ได้ ผู้ประมาทมัวเมาเข้าใจผิดคิดหลงลืมภาวนา พุทโธ ในใจลืมพิจารณาสังขาร ร่างกาย รูปธรรม นามธรรมของตัวเอง และของบุคคลผู้อื่น ขึ้นชื่อว่า รูป นามกาย ใจ ตัวตน สัตว์ บุคคล ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดกาล
    <o:p></o:p>
    การนั่งสมาธิภาวนาให้พากันนั่งขัดสมาธิเพชร การนั่งขัดสมาธิเพชรนี้ อย่าว่าเราทำไม่ได้ เมื่อเราทำไม่ได้คนอื่นเขาก็ว่าทำไม่ได้เหมือนกัน ที่เราทำไม่ได้เราติว่าขัดแข้งขัดขาเจ็บนั่นเจ็บนี่ รูปร่างกายของมนุษย์จะไม่ให้มันเจ็บมันเป็นไม่ได้ เกิดมาแล้วจะไปคิดว่า ไม่ให้มันแก่ชรา มีทางแก้ไขได้ที่ไหน มันแก้ไม่ได้ ความแก่ความชรามันแก่ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ อยู่ในท้องแม่ก็คือว่าแก่ คนอยู่ในท้องแม่มันแก่แล้ว มันใกล้จะคลอดแล้ว นั่นน่ะมันแก่ตั้งแต่มาอยู่ท้องแม่ เมื่อเกิดมาแล้วมันก็แก่เรื่อยมา มันแก่ขึ้น แก่ลง เจริญขึ้น แล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรที่จะคงที่ได้
    <o:p></o:p>
    แต่ความอยากความปรารถนาของคนเรานั้น อารมณ์เรื่องราวใดที่เป็นความสุขกายสบายใจ ก็อยากให้อารมณ์เรื่องราวนั้นอยู่ได้นาน ถ้าเรื่องราวอะไรเป็นอารมณ์ที่เสีย อารมณ์ที่ไม่ชอบพอใจ ก็ไม่ต้องการ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้มันมีทุกอย่าง ก็ล้วนแล้วแต่ธรรมเทศนาทั้งนั้นแหละ เราได้เห็นคนเกิด ก็เป็นธรรมเทศนาสอนใจ ว่าเกิดมาเป็นทุกข์อย่างนี้นะ ทุกข์ทั้งผู้เกิด ทั้งผู้ให้เกิด ดูสภาพความเกิด พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความเกิดเป็นทุกข์ แต่จิตใจคนเราก็ไม่เอามาพิจารณาว่าเกิดเป็นทุกข์อย่างไร ใครบ้างเป็นทุกข์ในวันเวลาที่เราเกิด ต้องกำหนดพิจารณาดูเรื่องของตัวเอง ไม่ให้จิตใจออกไปนอกกายนอกจิต เมื่อจิตอยู่ที่กายวาจาจิตของตัวเองอยู่ มีสติในเวลาดู มีสติระลึกอยู่ในเวลาฟังเสียง ในเวลาดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจคิดธรรมารมณ์ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นผู้มีสติในเวลานั่ง จงเป็นผู้มีสติในเวลายืน จงเป็นผู้มีสติในเวลาเดิน ในเวลาไปรถไปรา เวลานั่ง เวลานอน ท่านให้มีสติระลึก
    <o:p></o:p>
    บางคราวบางเวลาเราไปนั่งในที่เราขาดสติ บนศีรษะบนหัวของเรามันมีไม้มีอะไรอยู่บนหัวบนศีรษะ แต่เราขาดสติ ไม่ได้ระลึกว่า เวลาเราลุกขึ้น เราจะต้องระวัง ไม่ได้คิด ! เมื่อคิดจะไปก็มองไปเห็นที่ตนจะไป ก็เลยลุกขึ้นด้วยความแรงสูง ศีรษะจะไปตำไม้ตำทิ่มอยู่แล้วนั้นแหละ บางคราวบางคนเมื่อตำแล้วจนกลับนั่งอีก มันไปไม่ได้เพราะว่าขาดสติ เอาศีรษะไปตำไม้ตำขอนตำสิ่งที่มันมีอยู่ใกล้ ๆ ตัวเองนั่นแหละ อันนี้ท่านว่าขาดสติ คนที่ไปไหนมาไหน พลาดล้ม แผ่นดินใหญ่เท่าใหญ่ ก็เหยียบพลาดไปล้ม ในเวลาล้มนั้นน่ะ ถ้าเด็กล้มก็พาให้เจริญวัยใหญ่โต แต่ถ้าคนแก่คนชราล้มก็พาให้ตาย คนแก่คนชราเพิ่นว่าห้ามล้ม ล้มละก็ตายล่ะ
    <o:p></o:p>
    จงภาวนาดูทุกอย่าง ยืนเดินนั่งนอนมีสติภาวนา พุทฺโธอยู่ พุทฺโธ ๆ จิตใจผู้รู้ ให้รู้แจ้งอยู่ในธรรมปฏิบัติระมัดระวังจิตใจของตน ไม่ให้โกรธให้คนโน้นคนนี้ ไม่ให้โกรธให้ตัวเอง ตั้งใจภาวนาเอาใจของตนให้แน่วแน่มั่นคง อย่าได้หลงใหล ความหลงใหลไปตามอำนาจกิเลส เวลามันหลงใหล มันหลงที่ไหน เรียกว่าหลงที่ขาดสติ คนเราเวลาพูด พูดไป ๆ ความหลงมันก็ขึ้นมาทับถมจิตใจขาดสติ เมื่อขาดสติ อื่น ๆ มันก็ขาดไป
    <o:p></o:p>
    สตินี้เมื่อระลึกอยู่ในกาย ในหลักของกายว่า กายนี้เต็มไปด้วยโลหิต เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ตรวจตราพิจารณาร่างกายของตนเองอยู่ ให้มีสติ ไม่ให้หลงกาย จิตใจที่ไม่สงบระงับอยู่ทุกวันเวลานี้ เพราะอะไร เพราะจิตใจเราไม่ได้มาพิจารณากาย คือรูปขันธ์ตัวเอง เมื่อไม่พิจารณารูปขันธ์ตัวเองที่นั่งเฝ้า นอนเฝ้า กองกระดูกอยู่นี้ จึงได้เกิดความเกลียดชังบุคคลภายนอกที่ไม่ชอบพอใจตัวเอง จึงได้เกิดความรักใคร่พอใจในรูป รส กลิ่น เสียง จึงได้สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้ตัวเอง และเพื่อนมนุษย์ ให้ได้รับความเดือดร้อน วุ่นวาย
    <o:p></o:p>
    นี่คือไม่ตรวจกาย พิจารณาร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ กายนี้ พระพุทธเจ้าสอนว่าให้กำหนดให้เห็นก้อนอสุภะที่มันมีอยู่ คำว่า อสุภะ ก็คือว่าของไม่งาม ไม่ใช่ของดิบของดี ไม่ใช่ของทนทาน ประการใด ถ้าหากว่าคนไหนได้ไปเยี่ยมคนป่วยคนไข้ หรือคนใกล้จะตาย หรือคนตาย ถ้ามันหมดลมเมื่อใด เวลาใด มันจะส่งกลิ่นเหม็นออกมา ยังไม่ตายก็จริง แต่ว่าธาตุต่าง ๆ มันตายไปแล้ว มันเกิดธาตุเหม็นธาตุเขียวขึ้นมาแล้วก็มี สังขารร่างกายของเราก็ตาม ของเขาก็ตาม มันเหมือน ๆ กัน ถ้าตายแล้ว มันเน่าแล้ว ไม่ว่าคนในเมือง คนนอกเมือง คนในป่าในดอย ในที่ใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ ถ้ามันตายแล้ว กลิ่นเหม็นเหมือนกันหมด
    <o:p></o:p>
    ให้กำหนดตัวเองให้รู้ ภาวนาดูให้เข้าใจภายใน ให้เห็นว่าก้อนอสุภกรรมฐานมันไหลเข้าเทออก ตื่นเช้ามาแจ้งมาก็หาอาหารมาเลี้ยงไหลเข้าไป ตื่นนอนขึ้นมาก็ถ่ายไป ชีวิตของคนเรานี้เรียกว่าลำบาก ทุกข์ยากลำบากไม่ใช่สบาย
    <o:p></o:p>
    เราอยู่ทุกวันนี้ก็คือว่า ทนทุกขเวทนาเพราะวิบากกรรมที่มาลุ่มหลงมัวเมา ไม่บำเพ็ญทานรักษาศีล บำเพ็ญภาวนาให้เพียงพอ สติก็ขาดไป สมาธิก็ขาดไป ปัญญาก็ขาดไป ความรอบรู้ในกองสังขารไม่เพียงพอ จิตใจมันก็หลงพร่ำเพ้อขาดสติสัมปชัญญะ บุคคลที่ขาดสติสัมปชัญญะขาดภาวนาในใจ ความลุ่มหลงมัวเมามันเป็นคลื่นมหาสมุทร ทับถมจิตใจของบุคคลผู้นั้น ความมีหน้ามีตา ความมีชื่อมีเสียง ความหมายว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของของเรา เมื่อไม่ภาวนาดู จิตใจมันก็เพลินออกไปข้างนอก หลงออกไปข้างนอก พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว สอนไว้ดีแล้ว บอกไว้ดีแล้วแม้ จะตรัสไว้ บอกไว้ สอนไว้ แนะนำไว้อย่างไรก็ตาม สนฺทิฏฺฐิโก ผู้ปฏิบัติผู้ภาวนาจะต้องรู้เองเห็นเอง ให้เข้าใจตามพระธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ท่านสอนท่านตรัสดีแล้ว อันนั้นมันดีของท่าน ของเรามันยังไม่ดี จึงให้พินิจพิจารณาภาวนา อย่าได้มีความท้อถอย อย่าไปเห็นว่าภาวนามันเจ็บหลัง ปวดเอว หลังและเอวข้อเท้าข้อเข่า มีร่างกายจะไม่ให้มันเจ็บปวดทุกขเวทนา (เป็นไป) ไม่ได้ เราต้องกำหนดรู้ให้มันเห็นเอง เห็นเองว่า นี่แหละร่างกาย สังขาร มันรอวันตายอยู่ทุกเวลา จิตเราอย่าได้มาหลงยึด ยึดหน้าถือตา ยึดตัวคือตน ยึดเรายึดของของเรา เวลาเป็นเด็กก็หลงวัยเด็ก วัยหนุ่ม ว่าตัวเองแข็งแรง ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ไข้และจะไม่ตายด้วย ที่ไหนได้ เมื่อความตายมาถึงเข้า เด็ก ๆ ก็ตายได้ คนหนุ่มแข็งแรงก็ตายได้ คนแก่คนชรายิ่งตายเร็ว ต้องภาวนาไว้ นึกไว้ เจริญไว้ พิจารณาไว้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับไตไส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า ไหลเข้า เทออก ไม่ให้จิตใจออกหนีจากร่างกายสังขารของตัวเองเรียกว่า ภาวนา
    <o:p></o:p>
    ภาวนาเพียรเพ่งดูภายนอกมันเป็นอย่างไร ภายในเป็นอย่างไร กิเลสความโกรธที่มันอยู่นี่ มันอยู่ที่ไหน มันเป็นตัวอย่างไร กิเลสความโลภ คือความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด มันอยู่ที่ไหน ทำไมเราภาวนาไม่เห็นมัน ต้องภาวนาให้มันรู้เห็นแจ้งในจิตในใจว่า ตัวโลภะ ตัวมานะ ตัวทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ มันอยู่ที่ไหน ภาวนาดู สนฺทิฏฐิโก ต้องเห็นเอง เห็นเอง รู้เอง เข้าใจเอง เรียกว่า อะไรผิดอะไรถูก จะได้แก้ไขด้วยสติปัญญาของตัวเอง จะไปรอว่าให้คนอื่นบอกตักเตือนไม่ได้ เราต้องตักเตือนจิตใจของเราเอง
    <o:p></o:p>
    ตัวเจ้าของเรามันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นจิตอะไรเป็นใจ อะไรเป็นกาย อะไรเป็นวาจา ฝึกจิตใจของตัวเองให้มีสติ สนฺทิฏฐิโก เอาจนมันเห็นเอง เห็นเอง เข้าใจเอง ให้มันแจ่มแจ้ง ชัดเจน ซาบซึ้งตรึงใจ เอาจนให้มันรอบคอบ อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรดี อะไรชั่ว ใครจะเป็นผู้ทำดีทำชั่ว มันมีที่ไหน ล้วนแล้วแต่มารวมอยู่ในสติสัมปชัญญะ สติวินัย ผู้จะรักษาพระวินัยได้ต้องมีสติ สติสัมโพชฌงค์ มหาสติปัฏฐานสี่ สติในเวลานั่งให้มี เวลาจะนั่งก็ให้มีสติ เวลาจะลุกก็ให้มีสติ เวลาจะยืนก็ให้มีสติ เวลาจะเดินก็ให้มีสติ เดินอยู่ก็ให้มีสติ ตาดูหูฟัง มีสติอยู่ในตัวในใจ นั่นจึงชื่อว่า สนฺทิฏฐิโก เอาจนรู้เองเห็นเอง ให้รอบคอบในตัวเราเอง ไม่มีคนอื่นที่จะไปตามรักษาให้ ตัวเองรักษาตัวเองทั้งนั้นแหละ
    <o:p></o:p>
    พระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว แต่เรื่องที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติสังวรระวังจิตใจกายวาจาจิตของเรา มันต้องอีกทีหนึ่ง พระองค์ตรัสดีแล้วเราก็ต้องทำดี ปฏิบัติดีด้วยกาย คือความประพฤติ ด้วยวาจาคือคำพูด ด้วยใจคือความคิดความภาวนาอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เรียกว่า สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติต้องเห็นเองเข้าใจเอง อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา มีสติเมื่อใด เวลาใด ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเทศนาว่า การอยู่ทั้งวัน กลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถเหมือนกับฝนตกในฤดูฝน ไม่เลือกกาล เลือกเวลา ผู้ใดประพฤติดีปฏิบัติชอบไม่ท้อถอย ผู้นั้นก็ใกล้ไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่ว่านั่ง นอน ยืน เดิน กลางคืน กลางวัน ภาวนาไม่ท้อถอย เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมร้องเรียกผู้ปฎิบัติให้มาดูได้ ดูกาย ดูใจ ดูความผิดความถูกของตัวเอง เอหิ-จงดู ปสฺสิโก-จงเห็น จงดู จงเห็นอยู่ที่นี้ จิตแส่ส่ายไปภายนอกนั้นไม่ได้ คิดไปกว้างเท่าใด ก็หลงกว้างไปเท่านั้น ให้ โอปนยิโก รวมเข้ามา น้อมเข้ามา สืบเข้ามา อยู่ที่จิตใจดวงผู้รู้ ภาวนา พุทฺโธ อยู่ พุทฺโธ พุทธะ จิตใจดวงผู้มีความรู้อยู่เดี๋ยวนี้ ขณะนี้เป็นดวงพุทธะ
    <o:p></o:p>
    พุทธะ
    แปลว่า ผู้รู้ จิตใจทุกคนมันมีใจผู้รู้อยู่ในตัวทั้งนั้น แต่แทนที่ใจผู้รู้จะอยู่สงบตั้งมั่นอยู่ในธรรมปฏิบัติ มันกลายเป็นใจผู้หลง หลงไปตามรูป หลงไปตามเสียง หลงไอตามกลิ่น หลงไปตามรสอาหารการกิน หลงไปตามโผฏฐัพพะ เย็นร้อนอ่อนแข็ง หลงไปตามธรรมารมณ์ หลงไปตามโลก หลงไปตามธรรม คือไม่สงบตั้งมั่นอยู่ในกาย ในจิตของตัวเอง กิเลสโลเลมันพานั่ง กิเลสโลเลมันพานอน กิเลสโลเลมันพาไป กิเลสโลเลมันพาอยู่ เมื่อจิตใจโลเลไม่มีหลักศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในตัว ในกาย วาจา จิตแล้ว เสียหลัก เสียหลักภาวนา ให้ตั้งจิตตั้งใจขึ้นมาในหัวใจของเราทุก ๆ คน คนเรานั้นมีบุญบารมีต่าง ๆ กัน มีสติมากน้อยกว่ากัน มีสมาธิมากน้อยกว่ากัน มีปัญญามากน้อยกว่ากัน ต้องภาวนาอยู่ ต้องทำอยู่ ปฏิบัติอยู่ รักษาอยู่ ตามรู้เห็นอยู่ ภายในจิตใจดวงใจของเรานี้
    <o:p></o:p>
    เมื่อเราได้เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนไข้ คนตาย คนอยู่ดี สบาย ไม่สบาย เห็นอะไรอยู่ก็ตาม อย่าได้หลงออกไป เอามาเตือนใจของเรา ให้มีสติ ให้มีสมาธิด้วย ให้มีปัญญาด้วย จนให้มีญาณอันวิเศษ ละกิเลส ราคะ โทสะ โมหะในจิตใจ ในกายวาจาจิตของตัวเอง ให้มันหมดไป สิ้นไป ให้ใจผ่องใสสะอาด ใจขี้เซาเหงานอน ไล่ให้มันไป ไปมัวหลับใหลอยู่ ไม่ได้ปัญญา ไม่ได้ความคิดที่ดี
    <o:p></o:p>
    คนเราโง่ (หรือ) ฉลาดมันอยู่ที่ความตั้งใจ ถ้าใจไม่ฉลาด มันก็เก็บเอาความโง่เขลาเบาปัญญามาไว้ อารมณ์ที่ดีมันนึกไม่ได้ พุทโธ ๆ ในใจมันนึกไม่ได้ แต่นึกรั่วไหลไปที่อื่น หลงใหลไปตามกิเลสของใจ กิเลสของโลก เมื่อหลงออกไปกว้างขวางเท่าไร ก็เรียกว่าจมลงไปในแม่น้ำมหาสมุทร คือว่าหลงไปตามสมมติของมนุษย์ที่สมมติอยู่ จิตและใจเราไม่ภาวนาไม่สงบเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว จึงใช้การไม่ได้ โอปนยิ โก ท่านให้น้อมเข้ามาพิจารณา อะไรไม่ดีอย่าไปยึดไปถือเอา สิ่งใดดีมีประโยชน์ ไม่มีทุกข์โทษประการใด พระองค์ก็ให้เอามาภาวนาให้มันรู้เข้าใจไว้ ตั้งจิตใจให้มั่นคง หนักแน่น ดูพื้นแผ่นดินพื้นพสุธาหน้าแผ่นดินที่เรานั่งยืนเดินอยู่ สร้างบ้านเรือนอาศัย ตั้งแต่เกิดจนตาย เขามีความหนักแน่น ไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือน มนุษย์จะทำดีให้แผ่นดินก็เฉย มนุษย์จะดุด่าว่าร้ายให้ทำลายแผ่นดินอย่างใด แผ่นดินเขาก็ไม่เดือดร้อน แต่กิเลสในใจของคนเรามันเดือดร้อน คือจิตใจไม่อยู่ไม่ภาวนา
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมมีอยู่ทุกเวลา 2

    ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ วิญญูชนทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย คนเราทุกคนซึ่งรู้แจ้ง ปัตจัตตัง จำเพาะจิต คือให้มารวมจิต ตั้งจิตตั้งใจของตัวเอง ปัจจัตตัง จำเพาะจิต มันเกิดขึ้นที่จิตที่ใจทั้งนั้น คนจะทำบาปมันก็เกิดที่ใจ คนจะทำบุญก็อยู่ที่ใจ เมื่อจิตใจนึกดู เจริญดูอยู่ มันก็ทำบุญในความคิดในใจ มันก็เป็นบุญ ประพฤติทางนอกออกไปก็เป็นบุญ พูดจาปราศรัยก็เป็นบุญ พุทโธ ๆ อยู่ในใจ ก็เป็นบุญเป็นกุศลทั้งนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา มันจะสำเร็จได้ก็อยู่ที่เราประกอบกระทำ มีสติอยู่ทุกเวลา ว่าอะไรมันเป็นอะไร จิตใจเดี๋ยวนี้ขณะนี้มันคิดอะไร คิดในสิ่งที่เป็นบุญหรือคิดในสิ่งที่เป็นบาป สิ่งใดที่เป็นบาปเป็นอกุศล เมื่อมองเห็นได้ก็รีบละ อย่าไปตามมันไป ตามมันไปไม่มีที่สิ้นสุด ทวนกระแสเข้ามา ทวนเข้ามาภายใน ตาจะเห็นรูปก็ต้องมีจิตใจอยู่ภายในนี้ ลำพังแต่ตามันไม่รู้อะไร ตามันเป็นจักษุประสาท จิตใจดวงผู้รู้อยู่ในตัวในใจนั้นแหละเป็นผู้รับรู้ประสาทใจดวงนี้มีสติเต็ม ที่หรือยัง เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิหรือยัง เมื่อยังก็รีบลุกขึ้นภาวนา อย่าไปหลับใหลอยู่ตามอารมณ์กิเลส

    <o:p></o:p>

    กิเลส ๆ นั้นไม่ว่ากิเลสความโกรธอย่าได้ทำไปตาม ไม่ว่ากิเลสความโลภอย่าได้ทำไปตาม กิเลสความหลงยิ่งเป็นของละเอียด มันเกิดได้หลงอะไรแล้วมันไม่ฟังใครละ มันทำไปตามความหลง มันพูดไปตามความหลง มันคิดไปตามความหลง จะมีใครกี่ร้อยคนมาบอกมาสอนมันก็ไม่ฟัง มันก็หลงไปตามเรื่อง หลงไป ไหลไป จนไปพบความเดือดร้อนวุ่นวายซึ่งเกิดขึ้นเพราะความประมาทมัวเมาของตัวเอง อยู่ไปติโน้นตินี้แทนที่จะติตัวเราเองว่าเราเป็นผู้ขาดสติ ขาดสมาธิ ขาดปัญญา มองไม่เห็น ! ดูเถิด คนเราเมื่อผิดพลาดอะไรขึ้นมา มักแต่ไปติโน้นตินี้ ไม่ติตัวเองว่าตัวเองมันขาดอะไร ขาดทานบารมี-การบำเพ็ญทานไม่เพียงพอ ขาดศีลบารมี-ขาดการรักษาศีล

    <o:p></o:p>

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสหลักศีล 5 ไว้ให้เว้นจากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ให้เว้นจากลักขโมยวัตถุข้าวของของผู้อื่น ให้เว้นจากประพฤติผิดในกาม ให้เว้นจาการพูดโกหกพกลม ให้เว้นจากดื่มกินเครื่องดองของเมาสุราเมรัย ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ไม่มีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวในใจ จึงได้เดือดร้อนวุ่นวาย ตั้งแต่เกิดจนตาย คนที่เดือดร้อนวุ่นวายตั้งแต่เกิดจนตายนั้น คือว่า คนไม่มีทาน การให้การบริจาคไม่มี คนไม่มีศีล เรียกว่าเป็นคนทุศีล ทำแต่บาปหยาบช้าทารุณ ทำบาปได้ ทำบุญไม่ได้ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตได้ แต่คนอื่นจะมาฆ่าตัวเองก็ไม่ยอม นี้แหละ! ปัญญามันโง่เขลาเบาปัญญาอยู่ตรงนี้ เพราะจิตไม่ตั้งมั่น สมาธิไม่เกิด ปัญญาไม่มี สติไม่ขาด สติตรงนี้ขาด สมาธิตรงนี้ขาด ปัญญาตรงนี้ขาด เมื่อมันขาดตรงนี้ เราก็ตั้งจิตตั้งใจขึ้นมา ให้เป็นผู้รำลึกอยู่เสมอ มรณํ เม ภวิสฺสติ มรณะ-มรณัง แปลว่าความตาย เม ก็คือเรา เราต้องตายภายในร้อยปี ยังไม่ถึงร้อยปีก็ลำบากลำบนที่สุด เพราะว่าอยู่กับสังขาร สังขารนี้เมื่อมันแก่ชราแล้วก็ชำรุดทรุดโทรมลงไป เวลายังเด็กยังหนุ่มยังแข็งแรงก็ไม่เอาถ่าน ภาวนาก็ไม่เอา ศีลก็ไม่รักษา ภาวนาไม่เอื้อเฟื้อ บุญกุศลไม่สนใจ อันนี้แหละมันเกิดความทุกข์ขึ้นมา เมื่อแก่ชราแล้วจะลุกขึ้นไปก็ร้อง (เพราะ) มันเจ็บมันปวด จะนั่งลงมาก็ร้องโอย ๆ อยู่ พุทโธอยู่ที่ไหน ธัมโมอยู่ที่ไหน สังโฆอยู่ที่ไหน นึกไม่ได้ เจริญไม่ได้ทั้งนั้น ฉะนั้นอย่าไปรอให้มันแก่ เราตกอยู่ในวัยเด็กก็ภาวนาในวัยเด็กนี่แหละ พุทโธ ๆ อยู่นี้ เมื่อตกอยู่ในวัยแก่ เราก็ไม่ต้องวิตกวิจารณ์ว่า เมื่อเราเด็ก เราหนุ่ม ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่มีผู้พาประพฤติปฏิบัติ อันนี้มันเป็นข้อแก้ตัวของคนขี้เกียจ คนไม่ลุกขึ้นภาวนา

    <o:p></o:p>

    หลักพระพุทธเจ้า พระองค์สอนว่า หลักปัจจุบัน ตัตถะ ๆ ในที่นี้ ๆ ในที่นั้น ๆ คือถ้ารวมจิตรวมใจลงไปในหลักปัจจุบันแล้ว แก่ก็ภาวนาได้ หนุ่มก็ภาวนาได้ ปานกลางก็ภาวนาได้ คือเอาหลักปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ เวลานี้ เป็นหลักปฏิบัติธรรม เรานั่งก็ภาวนาในเวลานั่ง เรายืนก็ภาวนาในเวลายืน เดี๋ยวนี้ เราเดินไปมาที่ไหน ก็ภาวนาในที่นั้น ถ้าตั้งจิตเจตนาลงไปในหลักปัจจุบัน ให้จิตใจมันตั้งมั่นเต็มที่ มีสติเต็มที่ มีสมาธิเต็มที่ มีปัญญาเต็มที่ มีญาณอันวิเศษ ละกิเลสในจิตในใจ ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออก ลมจะพัด อะไรก็ตาม เราจะต้องลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้ กิเลสในหัวใจให้ได้ กิเลสใหม่มันเข้ามา ให้คอยระวัง ความสรรเสริญเยินยอบังเกิดมีขึ้นมันก็ (อยู่ได้) ไม่นานก็ย่อมมีความดับไป เมื่อความติเตียนนินทาว่าร้ายป้ายสีให้ ก็อย่าไปเสียอกเสียใจ ไม่ใช่ว่าความเสียมันอยู่ที่เขาติเตียนนินทา เราทำไม่ดีทางกาย เราพูดไม่ดีทางวาจา เราคิดในจิตไม่ดีทางในใจต่างหาก ไม่ใช่คนอื่นสรรเสริญแล้วก็ดี คนอื่นเขาติเตียนนินทาแล้วก็เราชั่วเสียหายไม่มี ! ผู้อื่นจะมาทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้ ตัวใครตัวมัน คือภาวนาเอง รักษาศีลเอง ทำบุญสุนทานเอง ตั้งจิตเจตนาให้อยู่ในระดับที่เรียกว่าสูง ไม่ให้จิตใจรั่วไหลไปอยู่ตามอำนาจกิเลสความโกรธ ตามอำนาจกิเลสความโลภ ตามอำนาจกิเลสความหลง เป็นผู้เตือนใจของตนได้ทุกเวลา เมื่อเตือนใจของตนได้แก่เวลาแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ที่นี้ที่โน้นที่ไหนก็ตาม

    <o:p></o:p>

    ธรรมดารูปขันธ์ร่างกายมันต้อง ยืน เดิน นั่ง นอน หมุนไปตามกฎของกรรม กฎของกรรม กฎธรรมชาติมันจะต้องเป็นไปเอง เมื่อไปไหน อยู่ไหน อะไรก็ตาม จงเป็นผู้มีสติ เตือนใจของตัวเองว่า เราจะต้องมีสติ เราจะต้องมีสมาธิ เราจะต้องมีปัญญา เราจะต้องฝึกฝนจิตใจของตน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมปฏิบัติ ธรรมปฏิบัตินั้นไม่ได้เลือกกาลเวลา กาลใด เวลาไหนก็ตาม มันขึ้นอยู่กับการประกอบกระทำ

    <o:p></o:p>

    ดูสิ ในสมัยครั้งพุทธกาล สมัยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั้นเป็นหลักเป็นประธาน พุทธสาวกทั้งหลายนับตั้งแต่ญาติโยม นักบวช ภิกษุ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี เมื่อท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าว่า ทำดีได้ดีอย่างนี้ ใครทำชั่วเสียหายได้รับทุกข์อย่างนี้ ก็ละความไม่ดี บาป พระองค์สอนไม่ให้ทำ บุญ พระองค์สอนให้นึก ให้เจริญ ให้ประกอบ กระทำ เมื่อบุญให้ผล ก็ย่อมมีความสุขกายสบายใจ เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจไม่มี เพราะว่าบุญช่วยสนับสนุน คนทำบาปมันให้ผล ไม่ว่าจะไปไหนก็โดนแต่เรื่องทุกข์ เรื่องร้าย เรื่องไม่ดีทั้งนั้นแหละ เพราะว่าบาปของตัวเอง ทำแต่บาปหยาบช้าทารุณ ไม่มีบุญอยู่ในใจ จิตใจเร่าร้อนอยู่ด้วยกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ตลอดวันตลอดคืน ไม่ระงับดับกิเลสในหัวใจมันก็มีแต่ความทุกข์อย่างนี้แหละ

    <o:p></o:p>

    พุทโธ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือนไว้ว่า ให้ตั้งใจปฏิบัติธรรม ให้เอาใจอยู่ในใจ เอาจิตใจอยู่ในใจ ให้ใจมีสติ ให้ใจมีสมาธิ ให้ใจมีปัญญา ให้ใจสงบตั้งมั่น อย่าได้ลุ่มหลงมัวเมาไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส ความโกรธ ความโลภ ความหลง กิเลส ความโกรธ โลภ หลงนั้นมันมืออยู่ในตัวในใจของคนเราเต็มอยู่แล้ว ใครก็ไม่ต้องการ ไม่ต้องเอาไปให้เขา เราทุกคนมีอยู่มากน้อยเท่าไร ความโกรธโลภหลง พระพุทธเจ้าสอนให้ละให้ทิ้ง ให้ปล่อย ให้วาง แม้มันยังปล่อยวางไม่ได้ ก็เพียรพยายามเพื่อการปล่อยวางละก่อน ไม่ต้องไปเก็บเอาเรื่องความโกรธ ความโลภ ความหลงเอามา เป็น อารมณ์

    <o:p></o:p>

    พุทโธภาวนาอยู่ในใจให้เป็นปัจจุบันธรรม ธรรมที่เป็นปัจจุบันไม่ต้องไปเลือกกาลเลือกเวลา ไปนั้นไปนี้เสียก่อน ได้อย่างนั้นเสียก่อน อย่างนี้เสียก่อน ไม่ทันกาลเวลา เอาปัจจุบัน ภาวนาปัจจุบัน พุทโธ ปัจจุบัน ธัมโม สังโฆ นึกน้อมอยู่ในปัจจุบัน เมื่อจิตใจนึกน้อมอยู่ในปัจจุบัน จิตใจก็ย่อมรวม ย่อมสงบระงับ ตั้งมั่นลงไปที่หัวใจ เมื่อใจมีสมาธิภาวนาอยู่ จิตใจก็ผ่องใสสะอาด ความโกรธ โลภ หลง ก็ไม่มาหมักหมมอยู่ในหัวใจ ล้างหัวใจให้สะอาด ล้างด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ล้างด้วยสมาธิภาวนา ล้างด้วยการละความโกรธ ความขัดเคืองในใจไม่ให้มี จะถูกใจ ไม่ถูกใจก็ตาม ไม่ต้องไปเก็บเอามา เกลียดคนโน้นชังคนนี้ รักคนโน้นชอบคนนี้ ไม่ให้มีในใจ ในหัวใจมี พุทโธ เป็นที่อยู่ พุทโธ พุทโธ อยู่ในตัวในใจ ความรักความชังท่านให้ละทิ้ง คือว่าไม่ให้ไปอิงอาศัยความรัก-ชัง กามสุขัลลิกานุโยค-อัตตกิลมถานุโยค ความรักเกิดขึ้นก็ให้ใจเราเป็นกลางอยู่ ความเกลียดความชังเกิดขึ้นก็ให้ใจเป็นกลางอยู่ ความเกลียดความชังเกิดขึ้นก็ให้ใจเป็นกลาง ภาวนา พุทโธ อยู่ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทำใจเป็นกลางไว้ ไม่กระทบฝั่ง ไม่กระทบคน ไม่กระทบสัตว์ เป็นผู้มีสติเต็มที่ เป็นผู้มีสมาธิเต็มที่ เป็นผู้มีปัญญาเต็มที่ เรียกว่าภาวนาอยู่บำเพ็ญอยู่ ประกอบอยู่ จิตใจไม่ท้อแท้อ่อนแอ แล้วไม่มีอะไรท้อถอย ร่างกายสังขารของคนเราแต่ละบุคคล ไม่ว่าเพศหญิง เพศชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต มันขึ้นที่จิตใจของเรานั่นเอง เพื่อจิตใจของเรามีความเพียร ความหมั่น ความขยันขันแข็ง ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติ แล้ว ก็ไม่ไปเลียนแบบความชั่ว คนต่ำ คนไม่ดี ต้องเลียนแบบพระพุทธเจ้า

    <o:p></o:p>

    คำว่า พุทโธ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั้น นับตั้งแต่ท่านตั้งจิตตั้งเจตนามา เพื่อจะให้ได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านทำบุญให้ทานรักษาศีลภาวนาไม่ท้อถอย คนอื่นไม่ทำ ท่านก็ทำ คนอื่นไม่ปฏิบัติภาวนา ท่านก็ปฏิบัติภาวนา คนอื่นไม่ละความโกรธความโลภความหลง พระโพธิสัตว์-พระพุทธเจ้าท่านก็ละความโกรธ ความโลภ ความหลงของท่านอยู่ตลอดเวลา ผลที่สุดที่พระองค์ทำดีนั้นแหละ อะไร ๆ ก็ดีไปด้วยกันหมด ทานศีลภาวนามีอยู่ดีแล้วอะไร ๆ ก็ดีไปหมด เรียกว่าดีหนึ่งไม่ใช่ดีสอง ดีหนึ่งคือใจเป็นหนึ่ง ใจแน่วแน่เด็ดขาด ใจเฉลียวฉลาดสามารถอาจหาญ จิตใจไม่ฟุ้งซ่านรำคาญไปที่อื่น ภาวนาอยู่ทุกลมหายใจเข้า ภาวนาอยู่ทุกลมหายใจออก ภาวนา พุทโธ ๆ ได้อยู่ทุกลมหายใจ เมื่อได้อยู่ระลึกอยู่ เจริญอยู่ จิตใจก็สบายสงบระงับ บาปอกุศลต่าง ๆ ก็ตามเข้ามาไม่ถึง แต่ถ้าจิตฟุ้งซ่านรำคาญ จิตรั่วไหลไปในอารมณ์ต่ำ สิ่งที่ไม่ดีก็เข้ามา ความโกรธก็เกิดขึ้นเป็นไฟหม้อนรก ความโลภก็เกิดขึ้นเป็นไฟหม้อนรก ความหลงกเกิดขึ้นเป็นไฟหม้อนรกหมก ไหม้หัวใจของผู้ขาดสติสัมปชัญญะ

    <o:p></o:p>

    ฉะนั้น จงเป็นผู้มีสติ จงเป็นผู้มีสมาธิตั้งจิตตั้งใจลงไปในหัวใจของตัวเอง อย่างมัวปล่อยฟุ้งซ่านไปตามอำนาจของตัณหา

    <o:p></o:p>

    ตัณหาในใจของมนุษย์เรานั้นไม่มีที่พอดิ้นรนวุ่นวายไปเถิดตั้งแต่ เกิดจนแก่ ตั้งแต่แก่ไปจนถึงตาย ก็ไม่อิ่มไม่พอ ตายแล้วก็มาเกิดอีกวุ่นวายอยู่อย่างนี้แหละ ฉะนั้นต้องแก้ไขภาวนาในใจของตนในภพนี้ชาตินี้ให้มันเต็มที่มันเต็มที่ได้ อยู่ที่การประกอบการกระทำ ไม่ใช่บ่นอยากได้อย่างเดียวแล้วมันได้ เมื่อเราต้องการปรารถนาบุญเราก็ทำใจของเราให้เป็นบุญไม่ว่าจะพูดจาปราศรัย อะไรก็ให้เป็นบุญไปทั้งนั้นการกระทำทุกอย่างทุกประการก็ให้มันเป็นบุญเป็น กุศล เมื่อมันเป็นบุญเป็นกุศลมันก็สุขกายสบายใจดีใจก็สบายกายก็สบาย ความประพฤติการกระทำที่ตนประกอบกระทำอยู่มันก็เป็นไปเพื่อความสุขความสบาย ทั้งนั้น ฉะนั้น

    <o:p></o:p>

    การนั่งสมาธิภาวนาให้ตั้งจิตเจตนาให้มั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน อย่าได้หวั่นไหวไปตามโลกธรรม ไม่ให้ใจมันเสียให้ใจมันดีอยู่ คนเราที่เกิดมาในโลกนี้ไม่ให้ถูกนินทาเป็นไม่ได้เพราะว่ามีหูก็ได้ยินเสียง เว้นเสียแต่คนหูหนวกจะไม่ได้ยิน มีหูก็ได้ยินทั้งเสียงดีเสียงไม่ดีมันมีอยู่นี่แหละ ถ้าเราภาวนารักษาใจของเราให้ดีได้ อะไร ๆ เมื่อมันมาถึงก็มันดีไปหมดชั่วมันไม่มาได้

    <o:p></o:p>

    เพราะเราทำด้วยกายคือความประพฤติ เราพูดดีทางวาจาเวลาเรากล่าว ศีลกล่าวธรรมกล่าวคำสั่งสอนอะไรก็ให้มันดี ดีก็มาจากใจดีกายดีวาจาดีหัวใจดี ทานศีลภาวนามันดี ดีที่นี้มันก็ดีไปเรื่อยไป ฉะนั้นทุกลมหายใจเข้าทุกหายใจออกให้เป็นผู้มีสติ เรามีสติทุกลมหายใจเข้าออกหรือไม่ประการใดถ้าไม่มีก็ให้ตั้งใจขึ้นมาเดี๋ยว นี้เวลานี้เอาปัจจุบันธรรม ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ตัตถะ ๆในที่นี้ ๆ นี้ก็ที่จิตใจของเราเอง

    <o:p></o:p>

    ฉะนั้นอุบายต่าง ๆ ที่กล่าวนี้ เมื่อว่าเราท่านทั้งหลายพากันได้ยินได้ฟังแล้ว ก็ให้กำหนดจดจำนำไปประพฤติปฏิบัติ ก็คงได้รับความสุขความเจริญ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จิตมนุษย์เหมือนคนบ้าหาบหิน

    การ ฝึกสมาธิ รวมจิตรวมใจให้เข้ามาภายใน ธรรมดาจิตนี้ ดวงจิตดวงใจจริง ๆ ก็คือดวงจิตดวงใจดวงเดียวเท่านั้น คน ๆ หนึ่ง สัตว์ตัวหนึ่ง ไม่ว่าใคร มีจิตดวงเดียว จิตดวงเดียวนี่แหละ แต่ว่าความอยาก ความดิ้นรน กิเลสมันเยอะ เรียกว่ามีมาก โบราณท่านตัดออกไปจากอายตนะทั้งหลาย ว่ากิเลสนี้มีตั้งพันหน้า ตัณหาร้อยแปด ก็คือว่ามันเยอะแยะ คิดมากไปเท่าไหร่ กิเลสมันก็มากไปตามความคิด

    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า จงรวมจิตใจเข้ามา ถ้ารวมจิตใจเข้ามา จิตมันก็มีดวงเดียว จิตดวงเดียวเป็นผู้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในกามภพ ในรูปภพ ในอรูปภพ ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เปรตโลก ยมโลก ไม่ว่าโลกใดก็ตาม จิตดวงเดียวเป็นผู้หลง เป็นผู้ไป เมื่อเกิดในภพใด ๆ ตั้งอยู่ภพใด ๆ ก็ไปยึดถือว่า ตัวเองอยู่ในภพนั้น ๆ จิตดวงเดียว เมื่อเรารวมเข้ามาแล้ว รักษาได้ง่าย เพราะมันเป็นของอันเดียว

    <o:p></o:p>
    ที่ นี้ถ้าเราคิดมากไป ปรุงแต่งมากไป ตามอำนาจของกิเลสตัณหาในจิตใจนั้น ก็เลยมากเรื่องมากราวไป พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จิตนี้เป็นใหญ่ เป็นประธาน สำเร็จแล้วด้วยดวงจิต เมื่อจิตจะเอาอะไร จะทำอะไร จะพูดอะไร จะทำบุญทำบาป ก็สำเร็จด้วยดวงจิตดวงใจทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าบำเพ็ญโพธิญาณมาสำเร็จได้ ก็เพราะดวงจิตดวงใจทั้งนั้น พากาย พาวาจา ให้ประพฤติดีทำดี ก็คือจิตดวงนี้แหละ

    <o:p></o:p>
    ดวง จิตดวงนี้นั้น ไม่ใช่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ มันมีอยู่ เราทุกคนย่อมรู้ว่า ในตัวเรานี้แหละ ในใจเรามีความคิดนึกปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ความอยากทั้งหลาย ท่านให้ชื่อว่า ตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็คือความดิ้นรน วุ่นวาย กระสับกระส่ายในจิตไปเท่าไรก็ติดเข้าไปเท่านั้น เมื่อจิตไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในดวงจิตดวงใจแล้ว จิตนั้นเองเป็นผู้แส่ส่ายไปรับเอาเรื่องต่าง ๆ มาคิด มานึก มาปรุง มาแต่ง ทั้ง ๆ ที่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ไม่ต้องไปเก็บเอาอะไรมาอีก เท่าที่มันมีอยู่นี้มันก็หนักพอแรงแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก แล้วยังจะไปเก็บเอาเรื่องราวอารมณ์ภายนอกเข้ามา ให้มันยุ่งเหยิง มันก็ยิ่งหนักยิ่งหน่วงเข้าไป เหมือนกับว่าเราหาบ เราแบกเต็มแรงแล้ว แต่ยังไม่พอ เก็บเข้ามาใส่อีก จิตใจที่ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นอยู่ภายในนี้ ท่านว่าเหมือนคนบ้าหาบหิน

    <o:p></o:p>
    นิทาน คนบ้าหาบหินนั้นมีอยู่ว่า บ้านั้นท่านว่าบ้า ๑๐๘ บ้า ๓๒ บ้า นับไม่ได้ มีบ้าชนิดหนึ่ง ไม่โหดร้ายประการใด ได้บุง ได้ตาด ได้อะไรมาก็หาบไป เมื่อเห็นไม้ เห็นก้อนหิน เม็ดกรวดอะไรก็ตาม เก็บใส่ข้างหน้าข้างหลัง แล้วก็หาบเรื่อยไป ไม่ว่าเห็นอะไรอยู่ข้างถนนหนทางก็เก็บมาใส่ทั้งนั้น เรียกว่าเก็บก้อนหิน ของหนักมาใส่ หาบไป จนกระทั่งหาบไปไม่ได้ ก็เก็บออก เก็บออกพอเบาไปได้ก็หาบไปอย่างนั้นแหละ

    <o:p></o:p>
    เขา ให้ชื่อว่าคนบ้า คนบ้าชนิดนั้นไม่มีเรื่องราวกับใคร แต่มีเรื่องราวกับหิน เห็นของหนักแล้วก็เอามาใส่ เจ้าของก็หาบไป เมื่อหาบไป มันก็เบา ก็เก็บมาใส่ใหม่ เห็นของใหม่ก็เก็บใส่ใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดวันตลอดคืน แก่ทำมาอย่างนั้น นี้เรียกว่าเป็นนิทานอันหนึ่ง

    <o:p></o:p>
    นิทานคนบ้าหาบหินนี้ เปรียบอุปมาเหมือนจิตใจของคนเรา ไม่ภาวนา ไม่สงบ ก็ไม่สละออกไปจากอารมณ์ต่าง ๆ ที่เก็บเข้ามา ตาเห็นรูป ก็เก็บเอามาไว้ มาคิด มานึก มาปรุงแต่งในทางที่จะยึดเอาถือเอาเหมือนคนบ้าหาบหิน รูปดีก็อยากได้ ดิ้นรนวุ่นวาย รูปสวย รูปงาม ไม่ว่ารูปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ไม้สอยก็ตาม รูปคน... เมื่อเห็นว่ารูปดี ก็อยากได้ ปรารถนา ดิ้นรนไปตามกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเก็บเข้ามา ยึดเข้ามา

    <o:p></o:p>
    ที่ นี้ ในขณะที่รูปไม่ดี รูปน่าเกลียดน่ากลัว รูปน่าชัง ก็เก็บเข้ามาอีก ไปเกลียด ไปกลัว ไปชัง พาให้จิตใจไม่เป็นสมาธิภาวนา คือเป็นธรรมดาของจิตไม่สงบ ไม่มีภาวนาพุทโธอยู่ในดวงใจ เมื่อตาเห็นรูปในส่วนที่ดีก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง ในส่วนที่ไม่ดี ก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง วุ่นวายอย่างนั้นแหละ เหมือนกับว่าคนบ้าหาบหิน

    <o:p></o:p>
    นอก จากตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียง ก็คอยเก็บเข้ามา นอกจากเก็บเข้ามาแล้ว ตัวเองก็ชอบพูดชอบกล่าวแต่ในสิ่งที่ไม่นั้นแหละ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธรรมะคำสั่งสอนมีตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ไม่ท่องบ่นสาธยาย เอามาจดมาจำ แต่คำดุคำด่า ว่าร้ายป้ายสีให้แก่กัน วันนี้ชอบเอามาคิด เอามานึก แม้สิ่งนั้นจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม จำไว้ ไม่ให้ลืม เขียนไว้ไม่ให้ลืม เป็นอย่างนี้มาตลอดกัป ตลอดกัลป์ ตลอดภพ ตลอดชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย มันเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักปล่อยวาง

    <o:p></o:p>
    ทาง สมาธิภาวนา ธรรมะธัมโม คำสอนในทางพุทธศาสนานั้น ท่านให้ตั้งอกตั้งใจบริกรรมภาวนา คนอื่นผู้อื่นไม่สำคัญเท่าใจของเราเอง ใจของเรานี้แหละ ควรภาวนานึกน้อมอยู่ในตัว ในใจ อย่าได้ประมาท ไม่ต้องไปหาบไปหิ้วเอาเรื่องของคนอื่น ผู้อื่น


    <o:p></o:p>
    สัตว์ โลกทั้งหลายนั้นมีอยู่มากมาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อะนันตังอัปปะริมา ณัง” อนันตัง แปลว่า จะนับก็ไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แม้มนุษย์โลก สัตว์โลกทั้งหลายยังนับอ่านไม่ได้ ลองคิดดูว่า สัตว์เดรัจฉานในน้ำ บนบก ในอากาศนั้นมีมากมาย เต็มไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย นับได้เมื่อไร ไม่มีใครนับได้ ในพื้นแผ่นดิน ก็เต็มอยู่ในแผ่นดิน พวกมด พวกปลวก พวกแมลงเล็ก ๆ น้อย ๆ จนสมมติให้ชื่อมันไม่ได้ มันมากมาย ที่มันเกิดมาได้แล้วก็มี ส่วนที่มันยังเกิดไม่ได้ เหลือแต่ดวงจิตดวงวิญญาณอยู่ ก็เรียกว่าแน่นโลกอยู่ก็ว่าได้

    <o:p></o:p>
    ดวง จิตดวงวิญญาณของสัตว์ทั้งหลายนี้ เรียกว่าเต็มโลก หรือภาษาโบราณท่านว่า ดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกนั้นมันเต็มโลก เหมือนเอาข้าวสารยัดใส่ไห ข้าวสารในไห ในหม้อ ในตุ่ม เต็มไปอย่างนั้นแหละ แน่นอยู่ในไห ในถุงอย่างไร ดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกก็เต็มอยู่อย่างนั้น ไม่หมด ไม่สิ้น

    <o:p></o:p>
    บาง คนก็มาเห็นว่า มนุษย์โลกในยุคนี้สมัยนี้มันมากมาย จนรัฐบาลแต่ละประเทศเลี้ยงไม่ไหว ต้องมีการคุมกำเนิดไม่ให้มันเกิด ถ้ามันเกิดมาแล้วก็จะมากมายหลายอย่าง แต่ละบุคคล ๆ เลยมีการคุมกำเนิดไม่ให้มันเกิด มันจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตามที แต่ว่าดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น มันเกิดอยู่อย่างนั้นแหละ มันมีอยู่แล้ว ที่คุมกำเนิดก็คุมได้แต่ในรูปขันธ์ คือไม่ให้มันมีรูปขึ้นมา แต่ว่าในจิตในใจนั้นมันคุมไม่ได้ มันเกิดก่อนผู้ควบคุมด้วย มันเกิดมาตั้งแต่อเนกชาติ นับภพ นับชาติ นับกัป นับกัลป์ นับตั้งฟ้าตั้งแผ่นดินไม่ได้แล้ว ดวงจิตดวงใจอันนี้ มันจึงเป็นดวงจิตที่เรียกว่า หลงใหลอยู่ในโลกมานมนาน เป็นคนบ้าหาบหินมานานแล้ว จนนับไม่ถ้วน

    <o:p></o:p>
    แม้ แต่พระศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ได้มาตรัสรู้ในโลก พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็รู้ว่าสัตว์โลกทั้งหลายมันมากมายเหลือที่จะพรรณนา พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ๆ มาโปรด มาเทศน์ มาสั่งสอนเอาก็ได้ แต่มันก็ไม่หมดไม่สิ้นไปได้ นับเป็นอสงไขย ๆ ที่สัตว์มาพ้นทุกข์ไปสู่นิพพานตามพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ แต่ถึงกระนั้น สัตว์โลกก็ไม่มีทางจะหมด จะสิ้นได้ เพราะอะไร เพราะจิตใจของสัตว์โลกยังมีความหลงอยู่

    <o:p></o:p>
    เมื่อ เป็นเช่นนี้ท่านจึงให้มีความสังวรระวัง ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่าให้ใจไปเก็บเอาอารมณ์เรื่องราวภายนอกที่ไม่มีที่จบที่สิ้น ให้รู้จักปล่อยวาง ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็อย่าไปยึดไปถือเอา ถ้าจิตหลงไปยึดไปถือแล้ว เป็นทุกข์ในใจ เป็นทุกข์ในโลก ไม่มีที่จบที่สิ้น

    <o:p></o:p>
    ใน เมื่อเวลากลิ่นสัมผัสในจมูก รสสัมผัสในลิ้น เรื่องรสอาหารการกินนี้เป็นตัวสำคัญอันหนึ่ง เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทั้งหลายนั้นตั้งอยู่ได้เพราะมีอาหาร ที่มันเกิดขึ้นมามีชีวิตอยู่ได้ เพราะมีการบริโภคอาหาร ถ้าสัตว์ทั้งหลายไม่มีอาหารกิน รูปขันธ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้

    <o:p></o:p>
    รส อาหารนี้แหละ เป็นเหตุการณ์อันใหญ่ยิ่ง เพราะว่าจิตนั้นไม่อยู่ในสมาธิภาวนา ไม่มีอารมณ์ใจสงบระงับ ก็ย่อมดิ้นรนวุ่นวายไปตามอาหารการกิน สิ่งที่ล่วงมาแล้ว เคยกินเคยบริโภคอย่างใด จิตอันนี้ก็ไปยึดไปถือเอา เรียกว่าเหมือนกับคนบ้าหาบหิน มันก็หาบเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ไม่ยอมให้ผ่านไป มันเก็บเอามาคิดนึกอีก และก็คิดไปข้างหน้า หลงอยู่ในรสอาหารการกิน หารู้ไม่ว่ารสอาหารการกินนั้น มันเป็นเพียงการมาประทังรักษารูปขันธ์ให้เป็นอยู่เท่านั้น เมื่อรูปขันธ์เป็นอยู่แล้ว เราก็จะได้เจริญสมถะกรรมฐานทำให้ใจสงบระงับ ไม่ปล่อยปละละเลยให้จิตใจไปวุ่นวายแต่เรื่องภายนอก ยังดวงจิตดวงใจให้สงบตั้งมั่นอยู่ภายในดวงใจนี้ จะได้รวมจิตรวมใจเข้ามาภายในไม่ให้วุ่นวายไปตามเรื่องภายนอก

    <o:p></o:p>
    ส่วน ร่างกาย ก็มีสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้อง เย็นร้อนอ่อนแข็ง เจ็บไข้ได้ป่วย สบาย ไม่สบาย ให้ชื่อว่า โผฏฐัพพะ สิ่งที่มากระทบกระเทือนรูปกายนี้ ก็เป็นอารมณ์พาให้จิตใจคนเราอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ภาวนาพุทโธอยู่ในดวงใจไม่ได้ เพราะมีความลุ่มหลงอยู่ในผิวหนังผิวกาย หรือในเครื่องสัมผัส ไม่ว่าจะมีอะไรอยากได้อะไร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ปกปิดร่างกายนั้น นอกจากจะกันความร้อนหนาว เหลือบยุงแล้ว ยังนุ่งห่มประดับประดาตกแต่งร่างกาย เอาดีเอางาม วิเศษวิโส ไม่มีที่จบสิ้น นั่นแหละท่านว่า มันไปหาบเอา ยึดเอา ถือเอา เป็นทุกข์ในใจเป็นทุกข์ในโลก เป็นทุกข์ในกายเป็นทุกข์ในจิต ดวงจิตมันก็เป็นทุกข์

    <o:p></o:p>
    เมื่อ อารมณ์ทั้งหลาย มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย ไปเป็นอารมณ์อยู่ในจิต แต่มันไม่ใช่อารมณ์ภาวนาพุทโธ ไม่ใช่อารมณ์มรณกรรมฐาน แต่เป็นอารมณ์หลงใหลไปตามตา ตามรูป ตามหู ตามเสียง ตามจมูก ตามกลิ่น ตามลิ้น ตามรส ตามกาย ตามโผฏฐัพพะ มันหลงอยู่อย่างนี้ <o:p></o:p>

    จิต เมื่อมันได้ผ่านอายตนะทั้งหลาย มันก็ไปเป็นอารมณ์อยู่ในจิต ดับไม่ลง สงบไม่ได้ จิตอันนั้นก็เลยเห็นว่า ความคิด ความนึก ความฟุ้งซ่านรำคาญ ดิ้นรนวุ่นวายกระสับกระส่ายได้มากเท่าไร ก็ถือว่าเป็นความสุข แต่ความสุขอันเป็นทุกข์ มันเก็บเข้ามา ยึดเข้ามา ถือเข้ามา ไม่รู้จักปล่อยจักวาง

    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าท่านปล่อยวางจนหมด ไม่มีอะไรยึดไว้ถือไว้ในจิตในใจ ดวงจิตดวงใจของพระองค์ก็เรียกว่า ละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้หมดสิ้น คือท่านไม่เป็นบ้าเป็นบอมายึดมาถือตามโลกอีกต่อไป พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี ท่านรู้จักปล่อยรู้จักวาง รู้จักตัวเองว่า ลุ่มหลงมาแล้วในโลกนี้จนนับไม่ถ้วน
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จิตมนุษย์เหมือนคนบ้าหาบหิน 2

    เมื่อ มาถึงปัจจุบันชาตินี้ ท่านก็ปล่อยวาง ท่านไม่หาบต่อไปอีก ปลงไว้ วางไว้ ตามหน้าที่ของเขา แล้วก็กำหนดพิจารณาให้เห็นแจ้งอยู่ภายในจิตใจของท่าน ไม่ใช่ท่านขาดสติ ขาดสมาธิ ขาดปัญญาไม่ได้ ท่านมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มีวิชาความรู้ ท่านเห็นว่าจิตใจของท่านได้หาบ ได้แบก ได้หาม วุ่นวายมานานแล้ว ปลงเสียที วางเสียที เรียกว่าปลงตก

    <o:p></o:p>
    ปลงตก คือพิจารณาเห็นแจ้งว่าไม่ดี ไม่วิเศษวิโสอะไร ท่านก็ปลง ละออก ปล่อยออก วางออก ให้หมดสิ้น ไปจากจิต สิ่งใดที่ท่านเคยอิจฉาพยาบาทโกรธแค้นให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ท่านก็ปล่อยวางออกไป ไม่อิจฉา พยาบาทใครอีกต่อไป

    <o:p></o:p>
    มี ความเพ่งเล็งให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีความสุขกาย สบายใจ อย่าได้เดือดร้อนวุ่นวาย ใครมีความสุขอย่างไร ก็ให้มีความสุขอย่างนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป พระพุทธเจ้า พระอริยะเจ้าทั้งหลาย เรียกว่าท่านมีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกไม่ซ้ำเติม ไม่เก็บเอามายุ่งในจิตใจด้วย

    <o:p></o:p>
    คนเราที่ใจไม่สงบ ก็เพราะว่าไปคอยยึด ไปคอยถืออยู่ หาบอยู่ เหมือนคนบ้าหาบหิน ไม่รู้จักปล่อยวาง ความจริงแล้ว เราจะไปปล่อยวางให้คนอื่น ไปว่าดีให้คนอื่นก็เท่านั้น ไปว่าชั่วเสียหายให้คนอื่น ก็เท่านั้น


    <o:p></o:p>
    หน้าที่ ของผู้ปฏิบัติธรรมภาวนาในทางพุทธศาสนานั้น ท่านทำจิตทำใจของท่านให้มีความสงบตั้งมั่น มั่นคงอยู่ในบริกรรมภาวนา ในดวงจิตดวงใจของท่านทุก ๆ ท่าน ทุกองค์ เมื่อยังไม่พ้น ก็เพียรพยายามเพื่อให้หลุดให้พ้น

    <o:p></o:p>
    เมื่อ พ้นไปแล้ว หลุดไปแล้ว ท่านก็มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ท่านก็มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ไม่มีการซ้ำเติมบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ แล้วก็ไปซ้ำเติมให้มันมีความทุกข์หนักขึ้นไปอีกไม่เอา ท่านมีวิธีสั่งสอน แนะนำให้พุทธบริษัทมีภิกษุ สามเณร สามเณรี ผ้าขาว นาง<st1:personname productid="ชี ฤาษี" w:st="on">ชี ฤาษี</st1:personname> ตั้งอกตั้งใจ ภาวนาทำความเพียรละกิเลส

    <o:p></o:p>
    การละกิเลสจะหมดจะสิ้นไปได้นั้น ไม่ใช่เพียงแต่ว่าสงบอยู่เท่านั้น ยังไม่พอ จะต้องกำหนดพิจารณาให้เห็นแจ้งด้วยญาณ ด้วยปัญญาตาใจว่า รูปนาม กาย ใจ ตัวตนคนเรานี้แหละ ไม่มีอะไรจะเที่ยงแท้แน่นอน ยั่งยืน จะให้เป็นไปตามความรักความปรารถนาทุกอย่าง ทุกประการนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ารูปขันธ์ อันเป็นตัวเป็นก้อนอันนี้ก็ตาม นามขันธ์ ได้แก่ดวงจิตดวงใจคิดนึกปรุงแต่ง อะไรต่อมิอะไร มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    <o:p></o:p>
    ท่าน มาฝึกฝนอบรม สั่งสอนพุทธบริษัทให้รู้จักทำความสงบ ระงับ ให้รู้จักปล่อยวาง ไม่ให้ยึดถือ แม้จะมีอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในเวลาเรานั่งอยู่ เมื่อลุกจากที่นั่งไป ท่านก็สอนว่า อย่าเก็บเอาอารมณ์เรื่องราวที่มันเกิดขึ้นในเวลานั่งนั้นติดตามไปด้วย

    <o:p></o:p>
    ถ้า ทำได้อย่างนี้ อารมณ์ภาวนาก็สบาย ไม่ไปเก็บเอาสิ่งที่เขาด่า เขาว่าดีชั่วให้ เมื่อลุกจากที่นั่งไปแล้ว ก็ไม่เก็บไปด้วย ในใจก็สบาย กายก็สบาย หูก็สบาย เพราะไม่ไปเก็บเอาอะไรต่อไปอีก หรือเขาติเตียนนินทา ว่าร้ายป้ายสีในเวลาที่เราอยู่ในน้ำ ถ้าเราขึ้นจากน้ำแล้วก็อย่าเก็บมา ทิ้งไว้ในน้ำนั้น

    <o:p></o:p>
    นี่คือนโยบายสอนผู้ปฏิบัติธรรมะ อย่าไปเก็บเอามา อย่าไปเอามาหาบ มายึด มาถือ ถ้าเอามายึดมาถือไว้แล้ว ไม่มีที่จบที่สิ้น ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วไม่มีที่จบ ไม่มีที่สิ้น ถ้าใครต่อเติมส่งเสริมมากเท่าไหร่ ก็ไปมากเท่านั้น เลยไม่จบไม่สิ้น ทำไมมันจึงไม่จบไม่สิ้น ก็เพราะว่ามันวน ๆ อยู่ในอาการอันเก่า

    <o:p></o:p>
    ทั้ง โลกนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ในอายตนะภายใน อายตนะภายนอก มันกระทบกระเทือนอยู่อย่างนี้มันจะจบสิ้นที่ไหน มันวนอยู่ในอาการอันเก่า ท่านว่าเหมือนมดมันไต่ขอบด้ง ขอบหม้อ ขอบไห มันไต่เท่าไร ๆ มันจะมีที่สิ้นสุดที่ไหนเพราะของมันกลม เรียกว่ามันไต่ไปตามความไม่รู้นั่นแหละ มันวนอยู่ในอาการอันเก่า แม้ความคิดนึกของคนเราว่าไปไกลที่สุดแล้วนั้น มันก็ไกลโดยความวนอยู่ในอาการอันเก่า

    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจึงสอน ไม่ให้วนเวียนมาในโลกนี้อีก ต่อไปสงบจิตสงบใจ ตั้งใจให้มั่นในดวงจิตดวงใจ ให้จิตใจดวงนั้นมีปัญญาพิจารณา ที่มีความเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดาของสังขารทั้งหลาย เขาต้องเป็นไปอย่างนี้ แม้จิตใจของผู้มาอาศัยอยู่ในรูปขันธ์ คือขันธ์อันนี้ ดัวอันนี้ มิใช่ว่าจะได้ดังความปรารถนาทุกอย่างทุกประการ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ารูปขันธ์นี้ มีความแก่ความชรา มีความเจ็บไข้ได้ป่วย มีความแตกดับเป็นธรรมดา

    <o:p></o:p>
    จิต ใจดวงที่ภาวนาพุทโธต่างหาก อยู่ที่ใดตั้งอกตั้งใจ ไม่ให้ใจของตนออกไปรับเอาเรื่องราวภายนอก สิ่งใดอยู่ภายนอกก็ให้ทิ้งไว้ นอกนั้นเรื่องราวอะไรที่มันเข้ามายุ่งในจิตในใจ ก็เพียรละในใจ ตั้งอกตั้งใจบริกรรม ภาวนาพุทโธรวมจิตใจเข้าไปภายในใจของตนเอง เพียรพยายามอยู่ในหัวใจของตนให้ได้ตลอดเวลา นั่งที่ไหนก็ภาวนาในที่นั้น ยืนอยู่ที่ไหนก็ภาวนาที่นั้น จะเดินไปมาที่ไหนก็ภาวนารวมจิตรวมใจให้สงบตั้งมั่น จนเกิดความรู้ ความฉลาด ความสามารถอาจหาญ ตัดบ่วงห่วงอาลัย กิเลสในหัวใจของตัวให้หมดไป สิ้นไป ไม่ใช่เพียงแต่ว่า ความอยากได้ อยากดี อยากเป็น อยากมีไปตามอำนาจกิเลส อันนี้ไม่มีที่จบที่สิ้น ดิ้นรนไปตามความหลง

    <o:p></o:p>
    ความรู้แจ้งเห็นจริง ก็ต้องมารู้ที่กายที่จิต ที่ตัวเรานี้เอง ว่าร่างกายสังขารของแต่ละบุคคล มีขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ มีใจครองอยู่ในร่างกาย ตัวตนนี้ คนละดวงใจ ก็ให้เพียรพยายามรักษา เอาดวงใจดวงเดียวนี้ให้ได้ อย่าได้ขาดสติ อย่าได้ขาดสมาธิ อย่าได้ขาดปัญญา จงเก็บเข้ามาไว้ในหัวใจ อย่าส่งใจออกไปยุ่งวุ่นวายกับเรื่องภายนอก

    <o:p></o:p>
    จง มีความสงบจิตสงบใจ มีความตั้งมั่นอยู่ในหัวใจของตนอย่างเดียว สิ่งอื่นใดนอกจากจิตใจดวงที่รู้อยู่ภายในนี้ ออกไปทั้งหมด อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขึ้นชื่อว่าเป็นสังขารทั้งหลาย จะเป็นสังขารอันเป็นรูป สังขารอันเป็นนามธรรมก็ตาม ย่อมมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ปั่นป่วนอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้

    <o:p></o:p>
    ผู้ปฏิบัติธรรมะในทางพุทธศาสนา จงพากันรวมจิตรวมใจสงบตั้งมั่นอยู่ในดวงใจ จนเห็นว่า สิ่งอื่นใดนอกจากจิตใจที่มีความสงบตั้งมั่นนี้ออกไปทั้งหมด อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในความสุขทุกข์ ความเป็น ความมี อันมีอยู่ในกายและจิตนี้

    <o:p></o:p>
    จงทำความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะปฏิบัติ อันเป็นปัจจุบันธรรมในที่นั้น ๆ สิ่งใดที่เป็นอารมณ์เรื่องราวอดีต มันก็ล่วงมาแล้ว เรื่องอนาคตมันก็ยังไม่มาถึง มันเป็นเรื่องภายนอกจากกายจากจิตออกไป จิตอย่าหวั่นไหวสั่นสะเทือน

    <o:p></o:p>
    จงเป็นผู้มีสติอยู่ทุกเวลา มีสมาธิอยู่ทุกเวลา มีสติปัญญา อยู่ทุกเวลา ทุกขณะ ทุกเวลา อย่าได้ประมาท มัวเมา รั่วไหลไปที่อื่น จิตใจมีอยู่ภายใน ภายในตัวของบุคคลเราทุก ๆ คน ใจคนอื่น ผู้อื่น เขารักษาภาวนา ใจของเรามีอยู่ภายใน

    <o:p></o:p>
    เราต้องรักษาภาวนา อย่าได้ประมาท ผู้ไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ผู้ประมาทเรียกว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม ความเสีย ไม่กำหนดภาวนา ขาดสติขาดสมาธิขาดปัญญา ขาดความรู้ความฉลาด ขาดความสามารถอาจหาญ จิตใจเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นอยู่ในดวงใจ

    <o:p></o:p>
    จงเป็นผู้โอปนยิโก น้อมเข้าสู่หลักปัจจุบัน เวลานี้ เดี๋ยวนี้ให้ได้ เมื่อเรามาภาวนาอยู่ในตัวในใจนี้ ได้ทุกขณะทุกเวลา อยู่ในหัวใจนี้แหละ จะเป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามในทางพุทธศาสนา

    <o:p></o:p>
    ดังแสดงมาก็สมควรด้วยกาลเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


    www.watkoh.com
     
  20. อวิชานาคา

    อวิชานาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +345
    อนุโมทนา สาธุการ ภูมิธรรมของ ท่านอาจารย์สิม รู้แจ้งเห็นจริงแทงตลอด น่ากราบไหว้เป็นที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...