คำว่า ตถาคต มีความหมาย ๘ อย่าง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย saksit5455, 18 มกราคม 2012.

  1. saksit5455

    saksit5455 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +59
    บทว่า ตถาคตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
    ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

    ๑. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น
    ๒. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น
    ๓. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้
    ๔. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง
    ๕. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง
    ๖. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง
    ๗. เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ
    ๘. เพราะทรงครอบงำ


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่าง
    นั้น เป็นอย่างไร ?

    เหมือนอย่างพระสัมมาสันพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวายเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่าง
    พระผู้มีพระภาค
    พระวิปัสสี
    เสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา เหมือน
    อย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่าง
    พระผู้มีพระภาค
    พระกกุสันธะ
    เสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระโกนาคมน์เสด็จ
    มา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา ข้อนี้มีอธิบาย
    อย่างไร ? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมาด้วยอภินิหาร
    ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้น
    เหมือนกัน.
    อีกอย่างหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
    พระกัสสปะ
    ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี
    ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
    เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือ
    บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค
    ๕ ประการ คือ บริจาคอวัยวะ บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย
    บริจาคชีวิต ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และ
    ญาตัตถจริยา เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาค พระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้นเป็นอย่างนี้. พระมุนีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาสู่ความ เป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้อย่างใด แม้พระศากยมุนี นี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี จักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต ดังนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ฯ ล ฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น ก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร ? จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืนบนปฐพีด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์<TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดอย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหา- พรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่าเราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไปดังนี้ . และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผันด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่างพระบาท ๗ ก้าวเป็นบุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ. อนึ่ง การยกพัดจามรขึ้นที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า พัดจามรทั้งหลาย มีด้ามทองก็โบกสะบัดนี้เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งปวง. อนึ่ง การกั้นพระเศวตฉัตรเป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตร อันบริสุทธิ์ ประเสริฐ คือ พระอรหัตตวิมุตติธรรม. การประทับยืนบนก้าวที่ ๗ ทอดพระเนตรเหลียวดูทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรญาณ คือความเป็นพระสัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศพระธรรม- จักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้นก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระควัมบดีโคดมนั้นประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น ก็ ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ เสด็จ ย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดาเจ้าก็กาง กั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุร- เสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ปานดังราชสีห์ ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต แม้เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวีปัสสีเสด็จไปแล้วฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทำลายอวิชชาด้วยพระปรีชาญาณทรงบรรเทาอรติด้วยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงยังวิตกและวิจารณ์ให้สงบด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญาปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วง</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </PRE><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญ-จัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว ทรง ละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา. ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ทรงละความเพิ่มพูนด้วยวยานุปัสสนา ทรงละความยั่งยืนด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละอนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตา-นุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละการยึดมั่นด้วยสุญญตานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่าเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ทรงละความยึดมั่นโดยความลุ่มหลงด้วยยถา-ภูตญาณทัสสนะ ทรงละความยึดมั่นในธรรมเป็นที่อาลัยด้วยอาทีนวานุ-ปัสสนา ทรงละการไม่พิจารณาสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นในการประกอบกิเลสด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงหักกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งหมดได้ด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคตเพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างไร ? ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้ไม่แปรผัน อาโปธาตุมีลักษณะไหลไป เตโชธาตุมีลักษณะร้อน วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไป</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    มา อากาศธาตุมีลักษณะสัมผัสไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้อารมณ์รูปมีลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์สังขารมีลักษณะปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมี ลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มีลักษณะประคอง สตินทรีย์มีลักษณะบำรุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้โดยประการ สัทธาพละมีลักษณะอันใครๆให้หวั่นไหวไม่ได้ในความไม่เชื่อ วิริยพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหว ไม่ได้ในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความมีสติฟั่นเฟือน สมาธิพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในอวิชชา สติสัมโพชฌงค์มีลักษณะบำรุง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะค้นคว้า วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจามีลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากันมันตะมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติมีลักษณะบำรุง สัมมาสมาธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะไม่รู้ สังขารมีลักษณะคิดอ่าน วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE>อารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุ อุปาทาน
    มีลักษณะยึดมั่น ภพมีลักษณะเพิ่มพูน ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามี
    ลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจุติ ธาตุมีลักษณะเป็นความว่างเปล่า
    อายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ สติปัฏฐานมีลักษณะบำรุง สัมมัปปธานมี
    ลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ยิ่ง
    พละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โพชฌงค์มีลักษณะนำออก
    จากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นเหตุ สัจจะมีลักษณะแท้ สมถะมีลักษณะ
    ไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนามี
    ลักษณะมีกิจเป็นหนึ่ง ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย ศีลวิสุทธิ
    มีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะ
    เห็น ขยญาณมีลักษณะตัดได้เด็ดขาด อนุปปาทญาณมีลักษณะระงับ
    ฉันทะมีลักษณะเป็นมูล มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน ผัสสะมีลักษณะ
    เป็นที่ประชุม เวทนามีลักษณะเป็นสโมสร สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข
    สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย ปัญญามีลักษณะยอดเยี่ยมกว่านั้น วิมุติมีลักษณะ
    เป็นสาระ พระนิพพานอันหยังลงสู่อมตะมีลักษณะเป็นปริโยสาน ซึ่งแต่ละ
    อย่างเป็นลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะ
    ที่แท้ด้วยพระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลำดับไม่ผิดพลาด
    อย่างนี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
    พระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่
    แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างไร ?
    อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เป็นธรรมที่แท้ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดังนี้ . พึงทราบความพิสดารต่อไป. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เหตุนั้นจึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้. ก็คตศัพท์ ในที่นี้ มีเนื้อความว่า ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ชราและมรณะ อันเกิดแต่ชาติเป็นปัจจัย มีเนื้อความว่า ปรากฏ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ๆลฯ สังขารอันเกิดแต่อวิชชาเป็นปัจจัย มีเนื้อความว่า ปรากฏเป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฯลฯ อวิชชามีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯ ล ฯชาติมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งอารมณ์อันชื่อว่ารูปารมณ์ ที่มาปรากฏทางจักษุทวารของหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวดา คือ ของสัตว์ทั้งหลายอันหาประมาณมิได้ และอารมณ์นั้นอันพระองค์ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ ทรงจำแนก</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    ด้วยสามารถอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถบทที่ได้ในอารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ และที่ได้รู้ ๑๓ วาระบ้าง๕๒ นัยบ้าง มีชื่อมากมายโดยนัยเป็นต้นว่า รูป คือ รูปายตนะเป็น ไฉน ? คือ รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นแสงสี เป็นรูปที่เห็นได้เป็นรูปที่กระทบได้ เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง ดังนี้ ย่อมเป็นอารมณ์ที่แท้จริงอย่างเดียว ไม่มีแปรผัน. แม้ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่มาปรากฏแม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้. ข้อนี้สมด้วยพระบาลี ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้ ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้ว ด้วยใจ เราย่อมรู้ซึ่งอารมณ์นั้น รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น ตถาคต ทราบแล้ว ไม่ปรากฏแล้วในตถาคต ดังนี้ .พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างนี้. พึงทราบความสำเร็จบทว่า ตถาคต มีเนื้อความว่าทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างไร ? ตลอดราตรีใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ณ โพธิมณฑสถาน ทรงล้างสมองมารทั้ง ๓ แล้ว ตรัสรู้พระอนุตตร-สัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใดที่พระองค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุ-ปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ คือ ในกาลประมาณ ๔๕ พรรษา พระวาจาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้ง</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    ในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล ทั้งในปัจฉิมโพธิกาล คือสุตตะ เคยยะ ฯล ฯ เวทัลละ พระวาจานั้นทั้งหมด อันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้ไม่ขาด ไม่เกิน โดยอรรถะและโดยพยัญชนะ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวงบรรเทาความเมา คือ ราคะ โทสะ โมหะ ในพระวาจานั้นไม่มีความพลั้งพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระวาจานั้นทั้งหมด ย่อมแท้จริงอย่างเดียว ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดุจประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกันดุจดวงไว้ด้วยทะนานใบเดียวกัน และดุจชั่งไว้ด้วยตาชั่งอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ตลอดราตรีใดที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตร-สัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใด ที่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-นิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ คำใดที่ตถาคตกล่าว พูด แสดง คำนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น เหตุนั้น จึงได้นามว่า ตถาคต ดังนี้. ก็ในที่นี้ศัพท์ คต มีเนื้อความเท่า คท แปลว่าคำพูด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างนี้. อนึ่ง มีอธิบายว่า อาคทนํ เป็น อาคโท แปลว่า คำพูด มีวิเคราะห์ว่า ตโถ อวิปริโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่าชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง ท เป็น ตในอรรถนี้ พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้เทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างไร ? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรงมีพระวาจาตรงกับพระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรง</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    กระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด ก็ทรงมีพระวาจาอย่างนั้นอธิบายว่า ก็พระองค์ผู้เป็นอย่างนี้ มีพระวาจาอย่างใด แม้พระวรกายก็ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้พระวาจาก็ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้นกระทำอย่างใด พูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที เหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงครอบงำเป็นอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหมเบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวาในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ด้วยศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณ-ทัสสนะบ้าง การจะชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นเทพของเทพ เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหมในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ ทรงอำนาจ เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE> ในข้อนั้น พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่า โอสถ
    ก็เหมือน อาคโท ที่แปลว่า วาจา. ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือ เทศนา-
    วิลาส และบุญพิเศษ. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงำผู้มีวาทะ
    ตรงกันข้ามทั้งหมดและโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพ
    มาก ครอบงำงูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
    บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระ
    โอสถ คือ เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ด้วยการ
    ครอบงำโลกทั้งปวง ดังนี้ เพราะแปลง ท เป็น ต พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
    เสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึงกิริยาที่แท้
    ดังนี้ก็มี.
    บทว่า คโต มีเนื้อความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ.
    ในเนื้อความ ๘ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
    เพราะทรงหยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
    ทรงเป็นไปล่วงซึ่งโลกสมุทัย ด้วยปหานปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้.
    เพราะทรงบรรลุโลกนิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
    ทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่า กิริยาที่แท้. ด้วยเหตุนั้น คำใด
    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว
    ตถาคตพรากแล้วจากโลก โลกสมุทัย ตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคต
    ละได้แล้ว โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้แจ้งแล้ว
    ปฏิปทา<TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb SIZE=1 noShade></TD></TR><TR><TD width=560>
    ตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้ง เทวดา ฯ ล ฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้นแม้อย่างนี้. อนึ่งแม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคตเท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้น จะพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวงได้. อธิบายคำ ปุจฉา

    คำว่า กตมญฺเจตํ ภิกฺขเว เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามข้อที่ปุถุชนเมื่อกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใดซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล นั้นว่าเป็นไฉน ? ชื่อว่าคำถามในพระบาลีนั้น มี ๕ อย่าง คือ ๑. อทิฏฐโชตนาปุจฉา คำถามเพื่อส่องลักษณะที่ยังไม่เห็นให้ กระจ่าง ๒. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คำถามเทียบเคียงลักษณะที่เห็นแล้ว ๓. วิมติเฉทนาปุจฉา คำถามเพื่อตัดความสงสัย ๔. อนุมติปุจฉา คำถามเพื่อการรับรอง ๕. กเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง ในบรรดาคำถามเหล่านั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่ได้ไตร่ตรองยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ได้อธิบาย บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็นเพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่ออธิบายลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐ-
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE>อันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></P>
     

แชร์หน้านี้

Loading...