คำบริกรรมของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สุโขสุขี, 20 กรกฎาคม 2011.

  1. สุโขสุขี

    สุโขสุขี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    914
    ค่าพลัง:
    +1,470
    จากประวัติของหลวงปู่อ่อน ท่านเป็นผู้มีราคะจริต หลวงปู่มั่น จึงให้คำบริกรรมว่า " เยกุชฺโฌ ปฏิกุโล " แก่ท่าน

    อยากทราบว่าคำบริกรรมนี้มีความหมายว่าอะไร ครับ
    และ ถ้าผมจะใช้คำนี้บริกรรมจะได้ไหม ครับ
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เย คือ ทั้งหลาย

    กุชฺโฌ แปลว่า ความโกรธ

    ปฏิกุล ก็ ปฏิกูล น่ารังเกลียด
     
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สรุปคือ

    ราคะจริต ให้เริ่มสติปัฏฐาน4 โดย พิจารณากายานุปัสสนา
    "กายะเภทัง กายะมรณัง มหาทุกขัง"

    เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ก็มา พิจารณาจิตตานุปัสสนา "เยกุชฺโฌ ปฏิกุโล"

    ก็จะดับ อกุศลวิตก3 ได้ 2 อย่างคือ กามวิตก และ พยาบาทวิตก

    ส่วน วิหิงสาวิตก จะได้จากการ พิจารณาธรรมานุปัสสนา

    เมื่อดับ อกุศลวิตก3 ก็ได้ อนิมิตสมาธิ ซึ่งเป็น สมาธิที่สนับสนุน สติปัฐาน4
    จนถึงที่สุดแห่งทุกข์
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่าไป วัดว่า ใครเคยไม่เคย สิครับ คำบริกรรมอะไรนั้น เขาจะมีหลักในการสมาทาน
    แค่ว่า เราใช้คำบริกรรมนั้นแล้ว จิตเรายังแฉลบไป จับคำอื่นมาแทรกหรือเปล่า

    เราปฏิบัติธรรมเพื่อให้พบ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" ไม่ใช่ "พวกมากลากกันไป"

    หลักการพิจารณา ไตร่ตรอง โยนิโสมนสิการ คือ

    หากเราใช้คำ บริกรรมคำนี้ แล้ว ตัวความคิดอื่น คำอื่น ทิฏฐิอื่น มันแทรกไม่ได้ อันนี้
    เขาจะถือว่า ใช้ได้

    หลักการมันเหมือน การทำ กายคตาสติ การพิจารณากาย ฐานกาย คือ เมื่อพิจารณา
    กายคตาแล้ว ทิฏฐิอื่นมันแทรกไม่ได้

    จะเห็นว่า จะเอาตรงจุดที่ว่า ทิฏฐิอื่นแทรกไม่ได้ เป็นหลักใหญ่

    ทิฏฐิแทรกไม่ได้ อกุศลมันก็แทรกไม่ได้ตามไปด้วย ก็เลยเป็นการ สงัดจาก
    อกุศลธรรม สงัดจากนิวรณ์ สงัดจากกิเลส ภาษาพระเรียก "หนทางห่างจากข้าศึก"

    ดังนั้น

    คุณใช้คำ บริกรรมนี้แล้ว จิตยังหวง ห่วง อยากได้ คำบริกรรม อื่นๆ
    ที่เลิศกว่าอีกไหม หากมี จิตมันแฉลบออก ไม่ปลิโพธิ์ แบบนี้ คำ
    บริกรรมนี้ก็จะไม่เหมาะ

    ต้องหาอุบาย ผูกจิตอย่างอื่นแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2011
  5. สุโขสุขี

    สุโขสุขี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    914
    ค่าพลัง:
    +1,470
    ขอบคุณ คุณเล่าปังมาก ครับ
     
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ทีนี้ มันก็ไม่ใช่แค่นั้น ไม่ใช่เจอ คำบริกรรมที่ใช่ แล้วเราก็เข้าไปยึด ไปเกี่ยว

    เราอาศัย สงัดจากทิฏฐิอื่นๆ เป็น ตทังคปหาน แต่ คำบริกรรมที่เราใช้ก็เป็นทิฏฐิ"1"

    ดังนั้น เมื่อใช้ประโยชยน์ สงัดจากทิฏฐิอื่นแล้ว ถึงเวลาก็ต้อง สละ ทิฏฐิที่เป็น
    คำบริกรรมด้วย ซึ่งมันจะสลัดของมันเองเมื่ออิ่มอารมณ์ จะพ้นอำนาจสลัด
    คืนจากเรา หากมีเราสลัดคืน มันจะมีแต่ควาตื่นเต้น ตื่นใจ แต่ไม่ได้มรรคผล

    ทีนี้ เราสลัดคำบริกรรมทำไม ก็เพราะว่า มันยังมี วิสังขาร หรือ พวก ปรมัถสัจจ ให้
    ระลึกเข้ามาเป็น คำบริกรรมแทน อีกชั้นหนึ่ง (พระป่านิยมกายคตาสติ เพราะมันอยู่
    กับตัวทนโท่อยู่ ไม่หลงไปในภพภูมิเหมือนพวกใช้ กสิณ )

    ซึ่งเมื่อไหร่ มีคำบริกรรมเป็น วิสังขาร(ภาษาชาวบ้านคือ จิตภาวนาเอง จิตตื่น จิตพุทโธ)
    มันก็จะปลิ้นยาก(กลับไปมีคำบริกรรมอื่น ที่เป็น สมมติบัญญัตอารมณ์)

    พอถึง วิสังขารแล้ว คราวนี้ถึงจะพิจารณา ไตรลักษณ์ได้ตามความเป็นจริง

    นี่กรณีใช้คำบริกรรมนะ

    แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นเช่น ใช้องค์ฌาณ องค์กสิณ ก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง

    หรือ เผิกวิสังขารไปสู่ พวกอรูป นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

    ผลที่ได้ก็แค่ การเจริญสติปัฏฐานไปเรื่อยๆ*

    แต่ไม่ว่าเรื่องไหน ก็ยังไปไม่ถึง ปรมัตถ์สัจจ 1 เดียว ที่ไม่มีการปรุงแต่ง

    แต่ถ้าถึง ก็คงรู้เอง เห็นเอง แหละ

    จะเลิกถามจากคนอื่นไปเลยว่า คุณใช้คำบริกรรมไหน คุณใช้องค์ปรมัตถ์แบบไหน

    เพราะ เราจะรู้ของเรา เห็นหนทางของตน

    พึ่งตนเองเป็น

    * * * *

    ตรงคำว่า เจริญสติไปเรื่อยๆ สมาธิเกิดเอง อันนี้ ก็คือ พวกใช้ องค์ฌาณ มาเป็น
    ตัวเจริญสติ ผลคือ สมาธิมันเกิดของมันเอง และมีกำลังมาก

    อีกพวกหนึ่ง คือ พวกที่ใช้นิวรณ์5เป็นตัวระลึกเจริญสติ พวกนี้เจริญสติแล้ว สมาธิ
    ก็เกิดเอง แต่มีกำลังน้อย เอาแค่ พอเห็น พอแตะ พอชิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2011
  7. ภิกฺขุ

    ภิกฺขุ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอแก้ เยกุชฺโฌ ปฏิกุโล เป็น เชคุจโฉ ปฏิกกุโล

    อันที่จริงแล้วเขียนว่า เชคุจโฉ ปฏิกกุโล ซึ่งแปลว่าสิ่งทั่งปวงเป็นของหน้าเกียด เป็นสิ่งปฏิกูล ไม่งาม ทั้งสิ้น หมายถึง สรีระร่างกาย
     
  8. phak

    phak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +458
    Anumo..tana..satu.. naka.
     

แชร์หน้านี้

Loading...