คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube CrnaSora
    Siamese Patrol : สยามีส แพโทรล
    www.youtube.com/watch?v=BlYwWQzeQgM


    Famous mood piece ( intermezzo ) composed by the german operettas composer Paul Lincke dedicated to the King Rama V of Siam (Thailand) . Very Famous little March

    เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นั้น นายปอล ลิงส์เก (Paul Linkle) นายแตรกองทหารราบชาวเยอรมัน ได้แต่งเพลงถวายพระเกียรติ ณ เมืองคัสเซล เยอรมัน เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ โดยเป็นเวลาที่พระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังวิลเลียมเฮอร์และได้ทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำกับราชวงศ์ชั้นสูงฝ่ายเยอรมัน และนายแตร ปอล ลิงส์เก ก็เริ่มบรรเลงบทเพลงถวายพระเกียรติพระองค์ท่านในชื่อเพลงSiamesische Wacht Parade หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Siamese Patrol และชื่อเพลงนี้เป็นชื่อพระราชทานนามโดยสมเด็จพระเจ้าเอมเปอเรอของเยอรมันด้วย สำหรับการบันทึกเสียงเพลงนี้ มิสเตอร์โทมัส อัลวา เอดิสัน (Edison) นักประดิษฐ์เครื่องเล่นกระบอกเสียง ได้นำเพลงดังกล่าวบันทึกลงกระบอกเสียงชนิดสีดำ รหัสกระบอก 9661 ส่วนสมุดโน้ตเพลงหรือ Music Sheet นั้น หน้าปกได้ถูกวาดเป็นรูปกองดุริยางค์ทหารสยามขณะเดินสวนสนาม ส่วนฉากหลังเป็นพระบรมมหาราชวังและหอนาฬิกาหลวง ส่วนข้อความด้านบนสุดของสมุดโน้ตนี้ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันว่าไว้ว่า Senier Majestat Tschulalongkorn Konig bon Siam chrfurchtsuoll gweidmet และภาษาอังกฤษคือ Respectfully Decicated to the King of siam
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube pinijnakorn
    พินิจนคร (Season 1) ตอน ธนบุรี 1-2
    ตอน 1 www.youtube.com/watch?v=TksX83Iwni4&t=39s
    ตอน 2 www.youtube.com/watch?v=0LoLluYfO7A&t=371s


    #แบบว่าชอบ จอบเรื่องเก่า (ไม่ได้พิมพ์ผิดนะ จอบอ่ะ)o_O

    ที่มา : youtube SUmPAPee Daniye
    เพลง พระเจ้าตากสิน รู้สึกขนลุก! พี่น้องง
    www.youtube.com/watch?v=0bs_fMlWUvI

    อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
    ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
    ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
    แด่ศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม
    ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
    สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้เหมาะสม
    เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
    ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
    ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
    พระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
    พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2021
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ
    วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

    upload_2021-10-18_19-52-20.jpeg

    หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ (2387-2453) วัดหนองบัว พระอมตเถราจารย์แห่งจังหวัดกาญจนบุรี ผู้มีกิตติคุณทางวิปัสสนาธุระและคาถาอาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่มีผู้เคารพเลื่อมใสมาก ท่านได้เป็นอาจารย์สอนด้านวิปัสสนาและคาถาอาคมให้แก่พระเถระหลายรูป อาทิ พระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม, พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม, พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดทุ่งลาดหญ้า, พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ, พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ และหนึ่งในศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของท่าน คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
    พระยิ้มได้สร้างพระและเครื่องรางไว้หลายชนิด อาทิ ตระกรุดโลกธาตุ พระปิดตา มีดหมอ เชือกคาดเอว เป็นต้น

    ชาติภูมิ
    หลวงปู่ยิ้ม เป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิดปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ. 2387 เป็นบุตร นายยิ่ง นางเปี่ยม บิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม เมื่อวัยเด็กท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี

    อุปสมบทและการศึกษา
    ครั้นได้อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยมี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จนฺทโชติ เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษรขอมภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2 ด้วยท่านชอบวิชาความรู้ จึงได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์แดงพระคู่สวดว่า เมืองบางช้าง (สมุทรสงคราม) มีพระอาจารย์เก่ง ๆ หลายวัด วิชาแขนงต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน ท่านจึงได้มุ่งมาทางเมืองบางช้าง ซึ่งท่านมีความคุ้นเคยอยู่ตั้งแต่สมัยที่ติดตามครอบครัวล่องแพไม้ไผ่ไปขาย

    วัดแรกที่ท่านเข้าไปศึกษา คือ วัดบางนางลี่น้อย อำเภออัมพวา มีพระพระปลัดทิม อุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัด เรียนทางน้ำมนต์โภคทรัพย์ ยุคนั้นเชื่อว่าใครได้อาบน้ำมนต์วัดนี้ คนจนก็จะรวย ถ้าเป็นขุนนางก็จะได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ พระปลัดทิมมีวิชาทำผงทางเมตตามหานิยม และวิชาโหราศาสตร์ ฤกษ์ล่าง ฤกษ์บนต่างๆ ปัจจุบันวัดนี้ได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งจมหายไปในแม่น้ำแม่กลองแล้ว วัดต่อมาคือ วัดลิงโจน ต่อมาเรียกว่า วัดปากสมุทรสุดคงคา คืออยู่ปากอ่าวแม่กลอง กับพระพ่วง ท่านมีวิชาทำธงกันอสุนีบาตสายฟ้า และพายุคลื่นลม ชาวเรือทะเลนับถือมาก วิชาหวายลงอักขระของท่าน ทำเป็นรูปวงกลม ว่ากันว่าเวลาขาดน้ำจืด เอาหวายโยนลงทะเลแล้วตักน้ำ ภายในวงหวายจะได้น้ำจืดทันที ลูกอมหมากทุย ก็ลือชื่อ พระรูปนี้สำเร็จจินดามณีมนต์เรียกปลาเรียกเนื้อได้แบบพระสังข์ทอง อาจารย์ต่อมาคือ พระกลัด วัดบางพรม อัมพวา เรียนทางมหาอุด ผ้าเช็ดหน้าทาง มหานิยม เชือกคาดเอวถักเป็นรูปกระดูกงู กันเขี้ยวงาและทางคงกระพันชาตรี ท่านองค์นี้ย่นหนทางได้ ข้ามแม่น้ำลำคลองไม่ต้องใช้เรือแพ และ พระแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูติผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มีดตะกรุดคู่อยู่หัวเชือก จากนั้นท่านยังได้ไปศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ในถ้ำพุพระ (ถ้ำขุนแผน)เมืองกาญจนบุรี พระอาจารย์องค์นี้มีอายุร้อยกว่าปี ชำนาญอภิญญามีอิทธิคุณถึงล่องหนหายตัวได้ ตามประวัติบันทึกของพระโสภณสมาจารย์กล่าวว่า "พระยิ้มชอบทางรุกขมูลธุดงค์วัตร ออกพรรษาแล้วเข้าป่าเจริญสมาธิในป่าลึก ท่านรู้จักภาษา นก กา สัตว์ป่าทุกชนิด จิตกล้าเข้าทุกที จะทำเครื่องรางชนิดใดก็ขลังไปทุกอย่าง"

    สานุศิษย์ของพระยิ้ม
    1. พระโสภณสมาจาร (เหรียญ) ศิษย์ต้นกุฏิ ซึ่งท่านใช้ให้ลงเครื่องรางของขลัง ตั้งแต่สมัยพระยิ้มยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังเป็นพระอาจารย์ให้ศีลแก่
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร
    2. พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระอุปัชญายะให้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร
    3. พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดลาดหญ้า
    4. พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ
    5. พระครูวัตตสารโสภณ (ดอกไม้) วัดดอนเจดีย์

    ส่วนเมืองสมุทรสงคราม มี
    1. พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เล่ากันว่าได้รับความชมเชยจากท่านว่านั่งไส้เทียนขาดเร็วกว่าท่านด้วย พระราชมงคลฯ เป็นศิษย์ของพระจุ้ย วัดบางเกาะ อัมพวา ไปเรียนวิชาลูกอมแล้วท่านคิดสินสอดไหม 5 สี เป็นปัญจ
    ศีล 5 เพิ่มขึ้น พระราชมงคลวุฒาจารย์ อายุยืนถึง 100 ปี มีคนเคารพนับถือมาก
    2. พระอธิการแช่ม โสฬส วัดจุฬามณี อัมพวา ท่านเป็นศิษย์ของ
    พระคง วัดบางกะพ้อม เป็นอาจารย์รุกขมูล ไปพบพระยิ้ม กลางป่าเขตเมืองกาญจนบุรี สอบนั่งเพ่งไส้เทียนขาดได้ จึงได้วิชา พระอธิการแช่มเก่งทางสร้างตะกรุดใบลาน และตะกรุดหนังลูกวัวตายท้องกลม
    3. พระครูสกลวิสุทธิ์ (เหมือน รัตนสุวรรณ) วัดกลางเหนือ
    อำเภอบางคนที อายุยืนถึง 97 ปี ท่านเป็นศิษย์พระกลัดวัดบางพรม สอบไล่ได้ลูกอมมา พระองค์นี้ทาง เมตตามหานิยม ผง อิธะเจ มหาราช ปถมัง เก่งมาก ผ้าเช็ดหน้า ธงค้าขาย ก็มีชื่อเสียง นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมีอีกหลายรูป

    มรณภาพ
    หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2453 สิริอายุได้ 66 ปี เมื่อท่านได้ถึงมรณภาพแล้ว ตำรับตำราต่าง ๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงเจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (เหรียญ)วัดหนองบัว และสานุศิษย์ที่สืบทอดวิชาก็ได้สร้างเครื่องรางเจริญรอยตามแบบท่านสืบมาจนปัจจุบัน

    ที่มา : http://rlocal.kru.ac.th/index.php/th/2013-12-12-07-49-34/230-2014-05-12-03-10-30
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Double Colour
    หลวงปู่ยิ้ม พบ หลวงปู่ศุข การเจอกันของยอดมหาเวทย์ มนต์มหากาฬ | เปิดตำนาน ๗๘
    www.youtube.com/watch?v=AXlg2TATl_E
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    วัดประดู่ทรงธรรม
    upload_2021-10-19_7-27-16.jpeg upload_2021-10-19_7-27-28.jpeg upload_2021-10-19_7-27-43.jpeg

    ประวัติ
    วัดประดู่ทรงธรรมในปัจจุบันเกิดจากการรวมพื้นที่วัดโบราณ 2 วัดคือ วัดประดู่ และ วัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) สำหรับวัดประดู่ ถูกกล่าวถึงในพระราชพงศาวดาร ในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่ 8 รูป ได้ช่วยเหลือสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้หลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ เมื่อ พ.ศ. 2153

    ยี่ปุ่นโกรธว่าเสนาบดีมิได้เป็นธรรม คบคิดเข้าด้วยพระพิมลฆ่าพระมหากษัตริย์เสีย ยี่ปุ่นคุมกันได้ประมาณ ๕๐๐ ยกเข้ามาในท้องสนามหลวง คอยจะกุมเอาพระเจ้าอยู่หัว อันเสด็จออกมาฟังพระสงฆ์บอกหนังสือ ณพระที่นั่งจอมทองสามหลัง ขณะนั้นพอพระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรมเข้ามา ๘ รูปพาเอาพระองค์เสด็จออกมาต่อหน้านี้ญี่ปุ่น ครั้นพระสงฆ์พาเสด็จไปแล้ว ยี่ปุ่นร้องอื้ออึงขึ้นว่า จะกุมเอาพระองค์แล้วเป็นไรจึงนิ่งเสียเล่า ยี่ปุ่นทุ่มเถียงเป็นโกลาหล ฝ่ายพระมหาอำมาตย์คุมพลได้ แลไล่รบยี่ปุ่นล้มตายเป็นอันมาก ยี่ปุ่นแตกไปจากพระราชวังลงสำเภาหนี ตั้งแต่นั้นมา สำเภาเมืองยี่ปุ่นก็มิได้เข้ามาค้าขายณกรุงเลย พระมหาอำมาตย์ ให้ไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระราชวัง เพลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรง พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ทรงพระกรุณาตรัสว่า ราชการครั้นนี้พระมหาอำมาตย์มีความชอบ มาก ให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการ ให้วิเศษแต่งกับปิยะจังหันถวายพระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรมเป็นนิจอัตรา— พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

    ในบันทึกของ
    เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) ได้กล่าวว่าเจ้าพระยาพระคลัง (เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)) ได้ทำการบูรณะวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งในบันทึกของหมอแกมป์เฟอร์เรียกว่า วัดพระยาพระคลัง ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าคือ วัดสมณโกฎฐารามกับ วัดกุฎีดาว แต่จากการเทียบแผนที่หมอแกมป์เฟอร์ของอชิรวิชญ์ อันธพันธ์ พบว่าตำแหน่งวัดพระยาพระคลังตรงกับวัดประดู่และวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม)
    จึงสันนิษฐานว่าวัดประดู่อาจเป็นวัดพระยาพระคลังก็เป็นได้

    พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้สละราชสมบัติให้สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ทรงพระผนวชและพำนักที่วัดประดู่ ครั้นแรมเดือน ๗ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว ถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกิ่งเป็นกระบวนพยุหยาตรา ออกไปพระผนวชวัดเดิม แล้วเสด็จไปอยู่ณวัดประดู่— พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)


    พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้ลาพระผนวชมาช่วยทำการศึก เมื่อพม่าเลิกทัพไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุุทุมพรก็ทรงพระผนวชอีกครั้งยังวัดโพธิ์ทองคำหยาด จากนั้นเสด็จฯ กลับมาประทับ ณ วัดประดู่ตามเดิม เมื่อสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้เสด็จฯ จากวัดประดู่มาประทับยังวัดราชประดิษฐานในพระนคร

    เมื่อแรกรวมวัดเข้ากันในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกชื่อวัดว่า วัดประดู่โรงธรรม ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น วัดประดู่ทรงธรรม จนถึงปัจจุบัน อนึ่ง พื้นที่ของวัดประดู่ทรงธรรมในปัจจุบันคือพื้นที่ของวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) ส่วนวัดประดู่ที่เป็นที่ผนวชของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้น ตั้งอยู่เหนือวัดโรงทาน(วัดโรงธรรม) โดยมีคลองวัดประดู่กั้นระหว่างทั้ง 2 วัด ปัจจุบันวัดประดู่ยังเหลือซากวัดร้างอยู่ ส่วนคลองวัดประดู่ถูกถมบางส่วน

    ความสำคัญ
    สถานที่สำคัญภายในวัด คือพระอุโบสถสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีการบูรณะใหม่ในราวสมัยรัชกาลที่ 4 มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราว ทศชาติชาดกพุทธประวัติภาพขบวนเสด็จทางสถลมารควิถีชีวิต และการละเล่นของคนไทยในสมัยก่อน ปัจจุบัน วัดประดู่ทรงธรรมเป็นแหล่งศิลปศาสตร์พุทธศาสตร์หลายแขนง โดยเฉพาะมนต์คาถาการตีเหล็กของหลวงพ่อเลื่อง และหลวงพ่อรอดเสือพระเถระเจ้าอาวาส ในสมัยก่อน นอกจากนี้ภายในวัดประดู่ฯ ยังมีพันธุ์ไม้โบราณขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นอยู่รอบวัด พาให้ร่มรื่นแก่ผู้มาเยือน

    หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชโต

    %B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99.jpg
    เกิด พ.ศ. 2390
    มรณภาพ พ.ศ. 2477
    อายุ 87
    อุปสมบท พ.ศ. 2417
    พรรษา 60
    วัด วัดพระญาติการาม
    จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
    สังกัด มหานิกาย
    ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม


    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    หลวงกลั่น ธมฺมโชติ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ณ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีฐานะยากจนได้ให้กำเนิดเด็กชายผู้มีบุญมาเกิด นามว่า "กลั่น" ในสมัยเด็ก ท่านต้องช่วยพ่อแม่ทำงานตามลำพัง และเพียงลำพังคนเดียว ทำให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 27 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโลกยสุธาศาลาปูน โดยมี พระญาณไตรโลก (สอาด) ต่อมาเป็นพระธรรมราชานุวัตร (อาจ) เจ้าคณะใหญ่อยุธยา เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูกุศลธรรมธาดา วัดขุนยวน (วัดพรหมนิวาส) กับ พระอธิการชื่น วัดพระญาติฯ เป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า ธมฺมโชติ แปลว่า เป็นผู้สว่างในทางธรรม หลังจากนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และ เรียนรู้วิชาอาคม จนแตกฉาน เมื่อฝึกฝนวิชาต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้ออกธุดงค์ไปทั่วป่าเขาลำเนาไพรเผชิญสัตว์ร้ายนานา จากออกธุดงค์ มาถึงวัดพระญาติการามในเวลาค่ำ ท่านพิจารณาว่า วัดนี้เงียบสงบดี เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม สามารถเจริญสมาธิและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้สะดวก ท่านจึงได้ปักกลดพักอยู่ที่บริเวณวัดในคืนนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านยังมีวิชาลูกเบา หรือวิชาชาตรี ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพันวิชาหนึ่งขอท่าน อำนาจจิตของหลวงพ่อกลั่นนั้นมากมาย เรื่องนี้หลวงพ่ออั้นอุปัฏฐาก หลวงพ่อกลั่นได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงครั้งที่เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกลั่นว่า ขณะที่เรียนกรรมฐานนั้นหลวงพ่อกลั่นได้ให้หลวงพ่ออั้นไปนั่งปฏิบัติในโบสถ์ หลวงพ่อท่านมีพระปฏิปทาที่ดี ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2477 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร


    พระราชประวัติ

    upload_2021-10-19_7-28-39.jpeg
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ
    เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย


    พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่าพระศรีสิน เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถกับพระสนมชาวบางปะอิน เดิมบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น
    พระพิมลธรรม์อนันตปรีชา มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้งจมื่นศรีเสารักษ์ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย

    ในแผ่นดินของสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ จมื่นศรีเสารักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจมื่นศรีเสารักษ์เป็นพระมหาอุปราช

    ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้

    พระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาพุทธในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรีจึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน

    ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์คือยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข

    ด้านราชการสงคราม
    เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียทวายอันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตกในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. 2165 ต่อมา กัมพูชาและเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา

    พระราชบุตร
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ พระเชษฐาธิราชกุมาร พระพันปีศรีสิน และพระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า พระองค์มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์

    ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระมเหสีสองพระองค์ คือพระนางจันทราชา และพระนางขัตติยเทวี มีพระราชธิดาด้วยกันองค์ละสี่พระองค์ รวมมีพระราชธิดาทั้งหมดแปดพระองค์ ดังนี้

    พระนางจันทราชา
    1. ปทุมาเทวี
    2. สุริยา
    3. จันทาเทวี
    4. สิริกัลยา
    พระนางขัตติยเทวี
    1. อุบลเทวี
    2. นภาเทวี
    3. อรบุตรี
    4. กนิษฐาเทวี


    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดประดู่ทรงธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube PPTV HD 36
    รายการล่า | EP.312 ตอน หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม (1/4)
    www.youtube.com/watch?v=M0KJvltRr6c

    ...................................................
    ที่มา : youtube 9 MCOT Official
    หลวงพ่อกลั่น สุดยอดเกจิอาจารย์แห่งกรุงเก่า วัดพระญาติการาม | ศักดิ์สิทธิ์คงกระพัน (8 ส.ค.63)
    www.youtube.com/watch?v=UP_9OyDaW2s

    #พ่อเป็นเซียนเก่า แต่แม่เราบอกเก๊:eek: (ยกแผง)
    #เก็บไว้นานๆ ก็เก่าเองo_O
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...