คาถาชินบัญขร สมเด็จโตได้มาอย่างไร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย chaokhun, 10 สิงหาคม 2013.

  1. chaokhun

    chaokhun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +5,701
    คาถาชินบัญชร ตามประวัติกล่าวไว้สั้น ๆ ว่า สมเด้จโตท่านได้มาจากประเทศศรีลังกา

    แต่ถ้าได้อ่านข้อมูลค้นคว้าชีวประวัติ ของสมเด็จโตแล้ว ก็ให้ข้อสังเกตุสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง ที่ไม่มีในประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุบันทึกไว้เลยว่า สมเด็จโตเดินทางไปศรีลังกา เมื่อไร ซึ่งสมัยก่อนก็มีเฉพาะ ทางเรือสำเภาเท่านั้น

    สมเด็จโต ท่านเป็นพระผู้ใหญ่ ซึ่งในสมัยนั้น ทั้งชาวบ้าน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ให้ความเคารพนับถือท่านเป็นพิเศษ
    จะไปไหนมาไหน ก็ต้องคนคอยอำนาวยความสะดวกให้

    ถ้าหากว่าสมเด็จโตจะเดินทางไปศรีลังกา ก็ต้องมีลูกศิษย์ลูกหา ต้องมาส่งท่านที่ท่าเรือมากมาย เพราะว่าต้องเดินทางไกลไปต่างประเทศ แต่ในประวัติศาสตร์หนังสือจดหมายเหตุก็มิได้บันทึกเอาไว้เลยว่า สมเด็จโตท่านเดินทางไปศรีลังกา วันไหน เดือนไหน ปีไหน เวลาเท่าไร ไปกี่วัน มีใครตามไปด้วย วันนั้นมีใครไปส่งที่ท่าเรือบ้าง แล้วเดินทางกลับมาเมื่อไร

    มีใครสงสัยเหมือนผมไหมครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 สิงหาคม 2013
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    พระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์ มีประวัติที่มามากมายสุดแท้แต่จะได้รับการบรรยายจากที่ใด แต่เท่าที่เคยได้อ่านมาหลายยุคหลายสมัยแล้วได้ค้นพบประวัติที่มาดังนี้ค่ะ

    เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จ (โต) จึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์

    ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

    สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเถิด" ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

    สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า" หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ

    ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"
    "หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม

    ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึง"ชินนะบัญชะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม
    ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

    สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญชะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญชะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว

    ผิดพลาดประการใดก็น้อมกราบขออภัยท่านเจ้าของกระทู้และท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

    ที่มา ตัดตอนจากหนังสือสวดมนต์ที่มีอยู่ประจำตัว
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ไขปริศนา ใครรจนา "คาถาชินบัญชร"
    โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี
    ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1639 หน้า 76


    ถกเถียงกันมานานนับทศวรรษ เกี่ยวกับปริศนาที่ว่า ใครกันแน่เป็นผู้แต่งคาถาชินบัญชร ระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสีแห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ กรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น ภายหลังเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า ท่านเป็นเพียงผู้นำคาถาชินบัญชรมาเผยแพร่ให้ผู้คนรู้จักเท่านั้น ทว่า มิได้เป็นผู้เริ่มต้นรจนา ดังที่บันทึกไว้ว่า ท่านได้ไปสวดคาถานี้ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีรับสั่งว่าถ้อยคำไพเราะดี ทรงซักถามว่า "ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า" ท่านถวายพระพรตอบว่า "หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้"

    ถ้าอย่างนั้น คำตอบก็น่าจะเบนเข็มไปที่ พระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง ในยุคทองสมัยพระเจ้าติโลกราชหรือเช่นไร เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่มีการ สนับสนุนให้พระเถระหลายร้อยรูปเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา ครั้นกลับมาแล้วต่างแข่งขันกันรจนาบาลีปกรณ์อย่างเอิกเกริก จนกิตติศัพท์ขจรขจายไกลไปถึงพม่า กรุงศรีอยุธยา สิบสองปันนา และล้านช้าง ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลีที่จารโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษา ผู้รู้บางคนกล้าฟันธงว่า สำนวนร้อยกรองสุดยอดเช่นนี้ จะเป็นพระภิกษุรูปอื่นใดไปไม่ได้นอกเสียจาก "พระสิริมังคลาจารย์" ปราชญ์เอกแห่งล้านนา ผู้ฝากผลงานคลาสสิคไว้แก่แผ่นดินถึง 4 เรื่อง ได้แก่ มังคลัตถทีปนี เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี และสังขยาปกาสกฎีกา

    พระสิริมังคลาจารย์ เป็นผู้รจนาคาถาชินบัญชรจริงล่ะหรือ? หากเป็นผลงานของท่านแล้วไซร้ ไฉนเลยจึงไม่ใส่ชื่อไว้ให้เป็นอมตะเหมือนดั่งผลงานชิ้นเอกอุอื่นๆเล่า พระสิริมังคลาจารย์ แห่งเชียงใหม่ หรือ พระชัยมังคละ แห่งลำพูน ? โปรดสังเกตชื่อของพระภิกษุทั้งสองรูปนี้ให้ดี ว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันทีเดียว กล่าวคือ มีคำว่า "มังคลา-มังคละ" เหมือนๆ กัน ด้วยเหตุนี้หรือไม่ที่ชาวล้านนารุ่นหลังเกิดความสับสนจดจำชื่อของผู้รจนาคาถาชินบัญชรผิด จาก "พระชัยมังคละ" กลายมาเป็นการยกผลประโยชน์ให้ "พระสิริมังคลาจารย์" ยิ่งรูปหลังนี้มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับสากลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งเบียดบังชื่อของพระชัยมังคละให้ลบเลือนหาย

    พระชัยมังคละ คือใคร เป็นผู้รจนาพระคาถาชินบัญชรจริงหรือ ทำไมคนทั่วไปไม่รู้จัก?
    พระชัยมังคละเป็นพระมหาเถระชาวเมืองหริภุญไชย ในปี พ.ศ.1981 ท่านได้จารคัมภีร์ใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) ไว้ฉบับหนึ่ง ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญอย่างยิ่งยวด สามารถใช้เป็นเครื่องยุติปริศนาข้อที่ว่า ใครรจนาพระคาถาชินบัญชรได้ชะงัดนัก
    คัมภีร์ดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของ "อาจารย์ศรีเลา เกษพรหม" ข้าราชการบำนาญ อดีตนักจารึกวิทยา-นักภาษาโบราณแห่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื้อหาในคัมภีร์กล่าวถึง การเดินทางไปกราบนมัสการพระเขี้ยวแก้วหรือพระทันตธาตุที่เมืองลังกา ณ ที่นั้น พระชัยมังคละได้พบกับครูบานักปราชญ์ชาวลังการูปหนึ่ง ซึ่งได้มอบ "คาถาชัยบัญชร" (คนไทยเรียกชินบัญชร) จำนวน 14 บท พร้อมด้วยประวัติความเป็นมาของการแต่งอีกด้วย เมื่อพระชัยมังคละเดินทางกลับมาลำพูน ได้สวดถวายแด่พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา ในคราวเสด็จมานมัสการพระธาตุหริภุญไชย
    จากนั้นพระเจ้าติโลกราชโปรดให้นำมาเป็นคาถาสวดประจำราชสำนัก เพื่อปัดเป่าเวทมนตร์คุณไสยเสนียดจัญไรในเชียงใหม่ พร้อมให้คัดลอกเผยแผ่กระจายไปสู่วัดต่างๆ ทั่วภาคเหนือจนถึงราชสำนักอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ แม้แต่ในยุคที่บุเรงนองตีล้านนาแตก แล้วให้โอรสผู้มีนามว่า นรธามังช่อ (อโนรธา) ปกครองเชียงใหม่นั้น ทั้งบุเรงนองและอโนรธา ต่างก็นำคาถาชัยบัญชรจากราชสำนักล้านนา มาท่องเป็นคาถาสวดคู่กายในยามออกรบแทนคำสวดมนตรยานดั้งเดิมแบบพม่า


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสีนำพระคาถาชินบัญชรมาจากไหน?
    เป็นที่แน่นอนแล้วว่า คาถาชินบัญชร มีต้นกำเนิดมาจากลังกา และได้เข้าสู่แผ่นดินสยามครั้งแรกที่เมืองลำพูน จากนั้นก็เผยแพร่ไปยังเมืองต่างๆ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี ชาตะในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2331 แสดงว่า คาถาชินบัญชร ที่สมเด็จโตวัดระฆัง สวดตลอดชีวิตนั้น มีมาก่อนแล้ว 350 ปี โดยเอาศักราช 1981 เป็นตัวตั้ง หรือหากนับจนถึงปัจจุบัน คาถาชินบัญชรก็มีอายุครบ 574 ปี คำถามที่หลายคนสงสัยก็คือ ในเมื่อไม่ได้แต่งเอง แล้วท่านไปนำคาถานี้มาจากใคร ที่ไหน อย่างไร? เมื่อศึกษาปูมหลังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แล้วพบว่าท่านบรรพชาเป็นสามเณรน้อยด้วยวัยเพียง 5 ขวบ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ ในวัย 7 ขวบ สามเณรโตออกเดินธุดงค์ไปในเขตวัดร้างเมืองกำแพงเพชร อันเป็นถิ่นกำเนิดเมืองมารดาของท่านซึ่งเป็นชาวเหนือ มีชื่อว่า นางเกตุ หรือเกสรคำ ณ เจดีย์ร้างแห่งหนึ่งใกล้ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ ที่เมืองกำแพงเพชรนั้นเอง สามเณรโตได้พบซากคัมภีร์เก่าชำรุด ร้อยเรียงเรื่อง คาถาชัยบัญชร เขียนเป็นภาษาบาลี ด้วยตัวอักษรธรรมล้านนา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านต้องหันมาศึกษาภาษาบาลี และอักขระล้านนาตั้งแต่ยังเป็นเณรน้อยอย่างแตกฉาน

    ด้วยเหตุที่คัมภีร์ฉบับนั้นไม่ระบุนามผู้รจนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงมิอาจอ้างอิงชื่อผู้ประพันธ์ให้รัชกาลที่ 4 ทรงทราบได้ เมื่อกาลเวลาผ่านผัน คนทั่วไปไม่รู้ที่มาที่ไป ก็ยิ่งคิดกันเอาเองว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) คือผู้แต่งพระคาถาชินบัญชรนั้น ปฐมเหตุแห่งการแต่งคาถาชินบัญชรในลังกา
    เนื้อหาจากใบลานที่จารโดยพระชัยมังคละ ซึ่ง อาจารย์ศรีเลา เกษพรหม ได้ถอดความปริวรรตนั้น กล่าวถึงปฐมเหตุแห่งการแต่งคาถาชินบัญชรในประเทศลังกาไว้อย่างละเอียดว่า เริ่มจากการที่มีพระราชาของลังกาอยู่องค์หนึ่ง ได้ถูกโหรหลวงทำนายทายทักว่าดวงชะตาของพระโอรสเมื่อมีอายุครบ 7 ปี 7 เดือน ในวันใด ราชกุมารจักถึงฆาตด้วยถูกอัสนีบาต ในช่วงแรกๆ พระราชารู้สึกว่าเป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระไม่ทรงเชื่อมากนัก แต่ครั้นเมื่อพระโอรสอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 7 กำลังน่ารักน่าชัง พระราชาพลันเกิดความกังวลและเริ่มกลัวคำทำนาย เมื่อนำข้อปริวิตกไปปรึกษากับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ให้ช่วยกันหาทางหลีกเลี่ยงภยันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่พระโอรสในอีกไม่ช้า พระมหาเถระลังกาจำนวน 14 รูปจึงได้ประชุมตกลงกันคิดหาหนทางอาราธนาพระพุทธคุณของพระอดีตพุทธ 28 พระองค์ พร้อมกับพระธรรมเจ้า 9 ประการ และบารมีธรรมของพระอรหันตสาวกที่เป็นเอตทัคคะในด้านต่างๆ ให้มาประมวลรวมกันทั้งหมด จนเกิดความขลังสร้างพลังในการปกป้องคุ้มภัยให้แก่ราชบุตร

    จากนั้นจึงวางแผนแบ่งหน้าที่ช่วยกันรจนาคาถารูปละ 1 บทรวมเป็น 14 บท เนื่องจากสถานที่รวมตัวกันประพันธ์บทคาถานั้น อยู่ในพระมหาปราสาทชั้นที่ 7 ของพระราชา ตั้งอยู่ใกล้กับ "ปล่องเบ็งชร" (คูหาที่เปิดเป็นช่องหน้าต่าง) คาถานั้นในลังกาจึงมีชื่อเรียกว่า "ชัยบัญชร" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "ชินบัญชร" โดยเชื่อกันว่าเป็นคำที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยสมเด็จโตวัดระฆังฯ ในเมื่อคนทั่วไปไม่ทราบที่มาของชื่อนี้ จึงพยายามให้คำนิยามว่า "ชิน หรือ ชินะ" คือชัยชนะของพระชินเจ้า (เมื่อเปรียบเทียบกับคำเดิมคือ "ชัย" พบว่า "ชิน" มีความหมายลึกซึ้งกว่า) ส่วน "บัญชร" ถูกตีความเป็น ซี่กรงของหน้าต่าง อุปมาอุปไมยดั่งแผงเหล็กหรือเกราะเพชรอันแข็งแกร่งที่ช่วยปกป้องคุ้มกันภยันตรายจากศัตรูหมู่มารทั้งปวง ถือว่าการตีความของคนรุ่นหลังนี้ล้ำลึกไม่เบา ครั้นแต่งคาถาเสร็จแล้ว พระมหาเถระทั้ง 14 รูปได้มอบให้พระโอรสนำเอาไปท่องบ่นทุกวันจนจำให้ขึ้นใจ กระทั่งเมื่อถึงวันครบกำหนดคือพระโอรสมีอายุ 7 ปี 7 เดือน พอดิบพอดี ได้เกิดสายฟ้าฟาดผ่าลงมากลางกรุงลังกาอย่างรุนแรงจริงๆ แต่ไม่ตกต้ององค์พระโอรส กลับแฉลบไปผ่าลงเอาหินก้อนหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระราชวัง เป็นที่ร่ำลือกันทั่วลังกา ว่าเพราะพระโอรสได้ท่องบ่นคาถา "ชัยบัญชร" อย่างอุกฤษฏ์ตลอดระยะเวลาหลายเดือนนั่นเอง จึงแคล้วคลาดจากเคราะห์กรรมไปได้ราวปาฏิหาริย์

    น่าเสียดายที่ไม่มีการระบุปีศักราชของเหตุการณ์ รวมทั้งพระนามของกษัตริย์และพระโอรสคู่นั้น เราจึงไม่อาจทราบได้ว่าจุดเริ่มต้นของคาถาชัยบัญชรในลังกานั้นมีขึ้นยุคใด สมัยราชวงศ์อนุราธปุระ หรือโปลนนารุวะ ก่อนหน้าการเดินทางไปศึกษาพระธรรมของพระชัยมังคละนานมาแล้วกี่ร้อยปี แต่ที่แน่ๆ คาถานี้เกิดขึ้นมาเพื่อหาทางแก้หนักให้เป็นเบา จากคำทำนายของโหรหลวงในราชสำนักลังกา มิได้เกิดจากพุทธวัจนะของพระพุทธเจ้า

    หันมามองดูศักราชใหม่ปี 2012 นี้บ้าง ...ปีที่โลกจะถึงจุดจบตามคำทำนายของปฏิทินชาวมายา ปีที่เด็กชายปลาบู่ร้องทักว่าเมืองไทยจะถึงกาลหายนะจนเหล่าสลิ่มขวัญอ่อนนอนไม่หลับ ต้องรวมตัวทำพิธีสวดมนต์ข้ามปีกัน ระเบ็งเซ็งแซ่อย่างสาหัสยิ่งกว่าปีใดๆ หวังแก้เคล็ดปัดเป่าเรื่องเลวร้ายอัปมงคล ตามที่หมอดูบอก ไม่ว่าเรื่องเขื่อนยักษ์จักถล่ม น้ำจะท่วมทะลักหนักกว่าปีกลาย กรุงเทพฯ จักจมหายคล้ายท้องทะเล การเมืองสยามจักยิ่งสั่นสยอง เกิดการนองเลือดตายเป็นเบือ

    มิน่าเล่า หันไปทิศทางไหน ก็ได้ยินแต่เสียงสวดคาถาชินบัญชรสลับกับบทสวดพาหุงฯ ดังก้องกระหึ่มสวดกันชนิดข้ามปีข้ามเดือนเช่นนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อปฐมฤกษ์เบิกฟ้าใหม่สู่ปีมะโรงแล้ว พลังการสวดนั้นจักทำให้คนไทยรู้สึกหายขวัญผวาจากเสียงจิ้งจกตุ๊กแกทักขึ้นบ้างแล้วหรือยัง



    ที่มา : บทความดีๆ เพื่อชีวิตเสรี&เวทียุติธรรม: ไขปริศนา ใครรจนา "คาถาชินบัญชร" โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ
     
  4. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    อนุโมทนากับทั้ง 2 ท่านที่อุตส่าห์ค้นคว้าหามาเผยแพร่

    ....เป็นผู้ที่สวดคาถานี้เหมือนกัน ตอนสวดจะระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

    (อันมีพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายที่อยูในบทสวดมาเป็นอารมณ์)

    และก่อนจะสวดก็รำลึกถึงหลวงปู่ท่านที่เมตตานำบทสวดที่เป็นมงคลนี้มาเผยแพร่ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สวดกัน

    เคยสงสัย(นิดๆ)เหมือนกันว่าตำนานต่างๆ ที่เล่าๆ กันมา มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่ก็คิดว่าไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญแต่ประการใดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...