ความไม่เที่ยง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 3 ตุลาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ข้อความใน มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค

    นันทโกวาทสูตร ข้อ ๗๖๖-๗๙๔ มีข้อความว่า



    ความไม่เที่ยง ของสังขารทั้งหลาย

    อุปมา เหมือนประทีปน้ำมัน ที่กำลังติดไปอยู่

    น้ำมัน ก็ไม่เที่ยง

    ไส้ ก็ไม่เที่ยง

    เปลวไฟ ก็ไม่เที่ยง

    แสงสว่าง ก็ไม่เที่ยง.


    .


    ท่านไม่ได้อุปมา เฉพาะน้ำมัน หรือ ไส้ เท่านั้น..........

    แต่ ท่านยังอุปมาถึง เปลวไฟ และ แสงสว่าง ด้วย ว่า



    เมื่อ น้ำมันกับไส้ ไม่เที่ยง แล้ว

    เปลวไฟและแสงสว่าง ก็ไม่เที่ยง เหมือนกัน.


    .


    ซึ่ง ความไพเราะของอุปมานี้ ชี้ให้เห็นว่า



    เมื่อวัตถุใด ๆ ไม่เที่ยง แล้ว

    สิ่งที่มองเห็น เช่น เปลวไฟ และ แสงสว่าง นั้น

    ก็ย่อม ไม่เที่ยง เช่นเดียวกัน

    เพราะว่า เปลวไฟก็ดี หรือ แสงสว่างก็ดี

    จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยน้ำมัน และ ไส้

    เป็น "ปัจจัย" ซึ่งกันและกัน.



    เมื่อน้ำมัน หมดไปแล้ว
    ......ไส้ หมดไปแล้ว

    เปลวไฟ และ แสงสว่าง ก็ต้องดับหมดไป.



    และ ความจริงนั้น

    ถึงแม้ว่า ในขณะที่เปลวไฟ ยังปรากฏอยู่นั้น

    น้ำมัน ไส้ เปลวไฟ และ แสงสว่าง
    .............
    ......ก็ดับไป และ เกิดต่ออยู่เรื่อย ๆ ทุกขณะ

    จนกว่า น้ำมัน และ ไส้
    ............
    จะหมดสิ้นไป

    เปลวไฟและแสงสว่าง จึงดับหมดสิ้นไปด้วย.


    .


    ใน นันทโกวาทสูตร

    ท่านยังอุปามา ให้เห็นถึง "ความไม่เที่ยง"

    ของสิ่งทั้งหลาย ที่เกิดขึ้น ว่า



    เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่มีแก่น ตั้งอยู่

    ราก ก็ไม่เที่ยง

    แปรปรวนไป เป็นธรรมดา

    ลำต้น ก็ไม่เที่ยง

    แปรปรวนไป เป็นธรรมดา

    กิ่ง และ ใบ ก็ไม่เที่ยง

    แปรปวรไป เป็นธรรมดา.



    ซึ่งก็เป็นความไพเราะของการอุปมาโดยละเอียด ว่า


    นอกจาก ลำต้น และ กิ่งใบ ไม่เที่ยง แล้ว

    แม้ "เงา" ของต้นไม้นั้น

    ก็ย่อม ไม่เที่ยง ด้วย.


    ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า


    ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ที่ปรากฏให้เห็นได้

    สิ่งที่ปรากฏให้เห็น นั้น

    ก็ย่อมเป็นแต่เพียง "สีสัน-วัณณะ" ต่าง ๆ

    เท่านั้นเอง.!


    .
    .
    .


    ดังนั้น

    ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเราประสบอยู่ทุก ๆ วัน

    เช่น

    "สี"


    .


    สิ่งที่ปรากฏรวมกันอยู่นั้น

    ความจริงแล้ว

    มีลักษณะที่ต่างกันเป็นแต่ละลักษณะ แต่ละประเภท.


    การรู้รวม ๆ กันว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

    เป็นวัตถุ สิ่งนั้น สิ่งนี้ ฯลฯ


    ทำให้เข้าใจผิด และ ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น.


    ขณะที่เห็น

    และ รู้ ว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั้น

    เป็นเพียง "สี" ซึ่งปรากฏทางตา

    เท่านั้น ฯ

    เมื่อ รู้ ตามความเป็นจริง อย่างนั้น

    ก็ทำให้เกิดการละคลาย ความยึดมั่น ในสีสันวัณณะต่าง ๆ

    ที่ยึดถือ ว่าเป็นสัตว์คคล ตัวตน.


    ซึ่ง ทำให้เรามีความสันโดษ

    คือ มีความพอใจ
    .....ในสิ่งที่เราได้รับ

    ถ้าเราได้รับในสิ่งที่ดี หรือ "สี" ที่ดี ๆ

    เราก็จะไม่หลงไหลจนเกินไป
    ..........

    เพราะรู้ ตามความเป็นจริง ว่า

    "สี" นั้น

    ต้องเสื่อมสลาย แปรปรวน แตกทำลายไป

    เป็นธรรมดา.!


    .


    ขณะที่ รู้ ถูกต้องตามความเป็นจริง

    ขณะนั้น เป็น " ปัญญา"

    เพราะ "ปัญญา"

    เป็น "ความรู้ที่ถูกต้อง" ตรงตามความเป็นจริง

    ในสิ่งที่ปรากฏ.



    กรรม

    จำแนกบุคคลให้ต่างกัน ตั้งแต่เกิด

    คือ ต่างกันด้วยกำเนิด ชาติ ตระกูล ยศ ทรัพย์สมบัติ

    เป็นต้น.


    .


    และ กรรมที่ได้สะสมมา..................

    ทั้งในอดีต และ ในปัจจุบันชาติ นั้น

    ก็มีมากมายหลากหลาย นับไม่ถ้วน.


    .


    การเกิดเป็นมนุษย์.........เป็น ผลของกุศลกรรม

    คือ กรรมใดกรรมหนึ่ง ที่ได้กระทำแล้ว ในอดีต.


    แต่ว่า กรรมนั้น ก็ให้ผล สั้นมาก.!

    เพราะเหตุว่า

    การเป็นมนุษย์ อย่างมากก็ไม่เกิน ๑๐๐ ปี

    หรือ กว่านั้นเพียงเล็กน้อย.


    .


    ถ้า กรรมใด มีโอกาสให้ผล

    กรรมนั้น ก็ให้ผล
    ..............

    แล้วแต่ว่า

    จะเป็นโอกาสของ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม.


    .


    เพราะฉะนั้น

    ถ้าเราเข้าใจ "เหตุ และ ผล" ให้ตรงกัน ว่า

    กรรมที่ดี
    .........ย่อมเป็น เหตุ ให้ได้รับผลที่ดี

    กรรมชั่ว
    ...ก็ย่อมเป็นเหตุ ให้ได้รับผลที่ไม่ดี.


    .


    ถ้าขณะที่มีทรัพย์ ก็รู้ว่า

    การได้ทรัพย์มานั้น เป็น ผลของบุญที่ได้กระทำแล้ว

    และ ถ้าบาปที่ได้กระทำแล้ว
    ....มีโอกาสให้ผลเมื่อไร

    ทรัพย์ที่มีอยู่นั้น ก็จะสูญหาย
    ..................

    หรือถูกทำลายจนหมดสิ้นไป เมื่อไรก็ได้.


    .


    การที่ชีวิตของคนเราและคน

    แตกต่างกันไป หลากหลาย

    ทั้ง ฐานะ ชาติ ตระกูล โภคะ

    ........และ ความเป็นอยู่ ฯลฯ

    ตั้งแต่เกิดจนตาย
    ..............


    ล้วนเป็นไป ตามกรรม และ ผลของกรรม

    ทั้ง กรรม ที่กระทำ ในชาตินี้
    ....................

    และกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตอนันตชาติ

    ซึ่ง ได้มีการ "สะสมมา" ต่าง ๆ กัน นั่นเอง.


    .


    นอกจากนี้

    แม้บุคคลนั้น ๆ มีความวิริยะ อุตสาหะ เสมอกัน

    หรือ มีความรู้ เท่าเทียมกัน โดยประการต่าง ๆ

    แต่ เป็นเพราะ
    .......
    "เหตุที่มองไม่เห็นในอดีต"

    เป็นปัจจัยให้

    "ผลที่เกิดจากการกระทำในชาตินี้"

    ของแต่ละบุคคล
    ....
    ต่างกัน.!


    ด้วยเหตุนี้

    ชีวิต และความเป็นไป ของแต่ละบุคคล

    เป็น "ผลของกรรม"
    ..........

    ทั้งในปัจจุบัน และ ในอดีต.


    .


    บรรดาสิ่งที่ดีทั้งหลายที่ได้รับในชีวิตของแต่ละบุคคล

    ย่อมมาจาก เหตุ คือ กรรมดี ที่ได้กระทำแล้ว นั่นเอง.


    .


    เหตุที่ดี........ย่อมให้ผลที่ดี เท่านั้น.!


    ส่วนเหตุที่ไม่ดี จะทำให้เกิดผลที่ดี

    เป็นไปไม่ได้เลย.!


    จิตใจที่ดี

    ย่อมเป็นเหตุ ให้เกิดการกระทำที่ดี

    ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ

    ซึ่งจะเป็นเหตุ...ที่ทำให้เกิดผลที่ดี

    ในกาลต่อไป.


    .


    เพราะฉะนั้น

    ถ้ามีความเข้าใจถูก ตามความเป็นจริง

    ตามเหตุ และ ผล

    คือ

    เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า

    รูปสมบัติ ผิวพรรณ วัณณะ

    ทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ

    ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น

    ซึ่ง
    ......ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี นั้น

    ....................ก็เป็นอนัตตา.!


    จะเกิดขึ้นได้ หรือการได้มา ซึ่งสิ่งที่ดีเหล่านั้น

    เพราะ "เหตุที่ดี"
    ............เพราะ จิตใจที่ดีงาม.


    .


    เมื่อบุคคลใด มีความเข้าใจถูกอย่างนี้

    บุคคลนั้น
    ...........
    ย่อมเพียร ขจัดกิเลส

    ด้วยการเจริญกุศล ทุกประการ
    ..........

    เท่าที่จะมีโอกาส และ ความสามารถ

    ที่จะกระทำได้
    ....ตามเหตุ ตามปัจจัย.

    โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายการตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรม ๓๗ ประการ

    ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

    โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค ๘
    โพธิปักขิยธรรมคือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายของการตรัสรู้ มีทั้งหมด ๓๗ ประการ ได้แก่​
    สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
    และอริยมรรค ๘ รวมสถาพธรรม ๓๗ ประการ การแสดงโพธิปักขิยธรรมทรงแสดง
    เทศนาตามอุปนิสัยของเวนัยสัตว์ เช่น ในบางสูตรทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ เมื่ออบรม
    เจริญย่อมถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเช่นกัน บางสูตรแสดงอินทรีย์ ๕ เมื่อบุคคลอบรม
    อินทรีย์ ๕ ย่อมรู้แจ้งอริยสัจจ์เช่นกัน บางครั้งแสดงโพชฌงค์ บางครั้งทรงแสดงอริย
    มรรคมีองค์๘ เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเช่นกัน แต่สติปัฏฐานที่มีกำลังย่อมเป็นใหญ่
    (อินทรีย์) มีกำลัง (พละ) เป็นโพชฌงค์ใกล้ต่อการตรัสรู้ธรรม มรรคมีองค์ ๘ เกิดพร้อม
    เมื่อโลกุตตรจิตเกิดขึ้น
    ริยเจตสิกเป็นหนึ่งในองค์มรรค ๘ คือ สัมมาวายามะ ถ้าขาดวิริยะ การตรัสรู้ธรรมย่อม
    มีไม่ได้ แต่เพราะมีวิริยะ จึงตรัสรู้ธรรมและล่วงพ้นจากวัฏฏทุกข์นี้ได้ ดังพระพจน์ที่ว่า
    วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ แปลว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD>อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 313

    ในโพธิปักขิยสังคหะ พึงทราบสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑

    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ ธัมมานุปัสสนาสติ

    ปัฏฐาน ๑ ฯ

    สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพียรเพื่อ

    ระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ๑ เพียรยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

    ให้เกิดขึ้น ๑ เพียรเพื่อความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ๑ ฯ

    อิทธิบาท (คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์) ๔ อย่าง คือ ฉันทิทธิ

    บาท อิทธิบาทคือฉันทะ ๑ วิริยิทธิบาท อิทธิบาทคือวิริยะ ๑ จิตติทธิบาท

    อิทธิบาทคือจิตตะ ๑ วีมังสิทธิบาท อิทธิบาทคือวีมังสา ๑ ฯ

    อินทรีย์ (ธรรมเป็นใหญ่) ๕ อย่าง คือ สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือ ศรัทธา ๑

    วิริยนทรีย์ อินทรีย์คือวิริยะ ๑ สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ ๑ ฯ สมาธินทรีย์

    อินทรีย์คือสมาธิ ๑ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ๑ ฯ

    พละ (ธรรมเป็นกำลัง) ๕ อย่าง คือ สัทธาพละ กำลังคือ ศรัทธา ๑

    วิริยพละ กำลังคือวิริยะ ๑ สติพละ กำลังคือสติ ๑ สมาธิพละ กำลังคือ

    สมาธิ ๑ ปัญญาพละ กำลังคือปัญญา ๑ ฯ

    โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริย-

    สัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพช-

    ฌงค์ ๑ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ฯ

    องค์มรรค ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัม-

    มากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

    ฯ ก็บรรดาธรรมเหล่านี้ สัมมาสติอย่างเดียวเท่านั้น ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔

    ฯ และสัมมาวายามะ (อย่างเดียวเท่านั้น) ท่านเรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ เหมือน

    กัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำสอนในหัวข้อปัจจัย ๒๔ เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

    เนื้อหาแสดงความจริงของสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยปัจจัยต่างๆ เป็น

    การแสดงให้เห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญา

    ปัจจัย ๒๔

    ๑. เหตุปัจจัย

    ๒. อารัมมณปัจจัย

    ๓. อธิปติปัจจัย

    ๔. อนันตรปัจจัย

    ๕. สมนันตรปัจจัย

    ๖. สหชาตปัจจัย

    ๗. อัญญมัญญปัจจัย

    ๘. นิสสยปัจจัย

    ๙. อุปนิสสยปัจจัย

    ๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

    ๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

    ๑๒. อาเสวนปัจจัย

    ๑๓. กัมมปัจจัย

    ๑๔. วิปากปัจจัย

    ๑๕. อาหารปัจจัย

    ๑๖. อินทริยปัจจัย

    ๑๗. ฌานปัจจัย

    ๑๘. มัคคปัจจัย

    ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

    ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

    ๒๑. อัตถิปัจจัย

    ๒๒. นัตถิปัจจัย

    ๒๓. วิคตปัจจัย

    ๒๔. อวิคตปัจจัย.
     

แชร์หน้านี้

Loading...