ความเหมือนที่แตกต่างของ... พุทธนิกายโซโตเซนกับพุทธนิกายเถรวาท

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย DevilBitch, 23 มิถุนายน 2005.

  1. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    [​IMG] เมื่อพูดถึง "เซน" ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ จะนึกภาพ ถึงนิกายหนึ่ง ของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีรูปแบบ คำสอนค่อนข้างจะแหวก จารีตประเพณี จากพุทธนิกายอื่นๆ และอาจารย์เซนมักชอบมีคำถามประหลาดๆ ที่คนธรรมดา สามัญคิดไปไม่ถึง เมื่อได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษา พระพุทธศาสนา แบบเซน กับปรมาจารย์กรรมฐาน สายนี้ จึงเป็นประสบการณ์ สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต ก่อนหน้านี้อาตมา เดินทางไปถึงวัดเซนโปชิ ซึ่งเป็นวัดนิกายโซโตเซน อันเก่าแก่ระดับชาติแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

    วัดนี้มีอายุกว่าหนึ่งพันปีแล้ว เป็นวัดใหญ่ที่สุดในเมืองซุโอกะ จ.ยามาคะตะ แม้ว่า วัดแห่งนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก แต่ทุกตารางนิ้วของวัดสะอาดสะอ้าน มีต้นไม้ใหญ่ๆ อายุหลายร้อยปี อยู่นับร้อยต้น บริเวณส่วนใหญ่ของวัดตั้งอยู่บนเขา อาตมาได้โอกาส เข้าไป คารวะท่าน เจ้าอาวาส หลวงพ่อไซโตะ ผู้เป็นอาจารย์สอนสมาธิแบบโซโตเซน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์สูงสุดทางภูมิปัญญาของนิกายนี้ในประเทศญี่ปุ่น

    ท่านไซโตะ รูปร่างผอมสูง บุคลิกสงบนุ่มนวล และมีเมตตาธรรม มีประวัติการเรียนดีเด่น เคยจบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโตเกียวอันมีชื่อเสียง ท่านนิมนต์ให้อาตมานั่งเก้าอี้ตัวหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากท่าน แล้วถามปัญหาเกี่ยวกับ พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาท ในส่วนที่เกี่ยวกับพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม เมื่อทราบว่าอาตมา มีความรู้ทาง การแพทย์และเคยศึกษาคำสอนของศาสนาต่างๆ มาจากหลายมหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียง ท่านก็เกิด ความสนใจ สาระของการสนทนานั้นยิ่งขยายวงกว้างมากขึ้น ตอนหนึ่ง ในการสนทนา ท่านเป็นฝ่ายถามปัญหาอาตมาว่า "ท่านคิดว่าการ ปฏิบัติพระกรรมฐาน อย่างเดียวเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่หรือไม่ ?" ซึ่งอาตมาตอบท่านไปในทันทีว่า "ไม่เพียงพอเนื่อง จากสังคมสมัยใหม่มีความหลากหลาย ทางความคิดและ มีความสลับซับซ้อนมาก ความรู้ทางการปฏิบัติพระกรรมฐานตามลำพังย่อมไม่เพียงพอ"

    [​IMG]อาจารย์เซน ตอบว่า ท่านเห็นด้วย แม้ตัวท่านเอง ในปัจจุบัน อายุกว่า ๘๒ ปี แล้วยังเรียนวิชาการแขนงต่างๆ อยู่มิได้ขาด และท่านเห็นว่าการแสวงหาความรู้ใส่ตัวอยู่เรื่อยๆ นั้นเป็นคุณธรรม ที่สำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่าท่านอาจารย์เป็น พระมหาเถระ ที่มีอายุ มากแล้วก็ตาม ความคิดเห็นต่างๆ ของท่านนั้น ยัง ทันสมัย อยู่มาก ท่านเห็นว่าสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับ พระภิกษุควรทราบ และควรให้การ สนับสนุน ท่านเชื่อว่า ทั้งหญิงและชายนั้น ควรมีสิทธิ อันเท่าเทียมกัน ทางศาสนา และจารีตประเพณี อีกทั้ง พระพุทธศาสนา ในประเทศญี่ปุ่นควร มีการปฏิรูป เนื่องจากท่าน เห็นว่าพระญี่ปุ่นสมัยใหม่มุ่งแสวงหาเงินทอง กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก พิธีสวดศพ ที่เห็นแก่ความทุกข์ของประชาชนนั้นมีจำนวนน้อย

    แม้ว่าชาวญี่ปุ่นจะนิยมเผาศพแบบเดียวกับชาวพุทธไทย แต่พิธีการสวดศพ ของพระญี่ปุ่นนั้น เป็นเรื่องใหญ่โต และมีราคาแพง แตกต่างไปจากการสวดมาติกา ของชาวพุทธในประเทศไทย และที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบ เถรวาทอย่างมาก เนื่องจาก พิธีสวดศพนั้นถือเป็นพิธีพุทธาภิเษก ให้ดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตนั้นเป็นพระพุทธเจ้า ตามความเชื่อ ในเรื่องอำนาจของมนต์และ พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

    ในความเชื่อนี้ผู้เสียชีวิตไปแล้วก็สามารถตรัสรู้ธรรมได้ เป็นพระพุทธเจ้า อีกพระองค์หนึ่ง เข้าพระนิพพานไปเลย ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป พิธีกรรมเช่นนี้ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ของญี่ปุ่นเท่านั้น และเนื่องจากเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ค่าบริการ ของพระภิกษุจึงสูงไปด้วย (เนื่องจากผู้ตาย ได้เลื่อนฐานะ เป็นถึงพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว) เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าไปแล้ว สิ่งที่ติดตามมาด้วยคือต้องเปลี่ยนชื่อ ให้แก่ผู้ตายเป็น "พุทธฉายา" ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์พิเศษของพระภิกษุญี่ปุ่นเท่านั้นที่จะตั้ง "พุทธฉายา" แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วได้ "พุทธฉายา"นี้จะเขียนด้วยอักษรคันจิบนแผ่นไม้ (จีนโบราณ) ซึ่งทางวัดจะจัดสถานที่ประดิษฐานให้เป็นพิเศษ บางวัดอาจ เป็นสุสาน ซึ่งมีทั้งของแต่ละบุคคล หรือบางแห่งเป็นของครอบครัว

    และที่แน่นอนคือ "พุทธฉายา"นั้นมีหลายราคาให้เลือก ฟังดูจะไพเราะ หรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับ "ราคา" ที่ญาติของผู้ตายเป็นคนถวายแก่พระ

    พิธีศพของชาวพุทธญี่ปุ่นจึง แพงอย่างไม่น่าเชื่อ หากคิดเป็นเงินไทยอย่างถูกที่สุด อยู่ในเรือนล้านขึ้นไป

    [​IMG]อีกประการหนึ่งคือเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับ "เหล้าสาเก" ซึ่งพระญี่ปุ่นทั่วไป ฉันกันเป็นประจำเช่นเดียวกับ "น้ำปานะ" ในส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพล จากความเชื่อจากศาสนาชินโต ที่เห็นว่ามีส่วนสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ ในศาสนา พระญี่ปุ่นมักจะเรียกเหล้าสาเกนี้ว่า "น้ำแห่งปัญญา" เป็นสิ่งที่ควรแก่สมณะ บริโภคในทุกโอกาส บางรูปฉัน "น้ำแห่งปัญญา" นี้เป็นอาจิณจนถึงขนาด เป็นแอลกอฮอลิซึ่มไปเลยทีเดียวก็มี พระเถระผู้นี้มีความเห็นว่าสังคม ศาสนาของญี่ปุ่น ควรเปลี่ยนค่านิยมเหล่านี้ได้แล้ว แต่วัดเซนโปชิไม่อนุญาต ให้พระฉันน้ำแห่งปัญญานี้ และ การสวดศพ ที่วัดนี้เป็นการบริการ สาธารณะอย่างหนึ่ง ไม่เป็นการค้าเหมือนที่วัดอื่นๆ

    ท่านอาจารย์เซนรูปนี้ยังเห็นว่า พระภิกษุ น่าจะเป็นผู้นำในการพัฒนา สังคมและนิกาย ของท่านได้ส่ง พระไปช่วยพัฒนาประเทศเขมร อย่างเป็นล่ำเป็นสันในขณะนี้ แม้ว่าท่านจะมีอายุกว่า ๘๒ ปีแล้วก็ตาม ท่านยังมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์และ เหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทุกมุมโลก

    ก่อนที่จะกราบลาท่าน ในฐานะที่อาตมาเป็น แพทย์มาก่อน และได้ศึกษาในเรื่องจริยธรรม ของพระพุทธศาสนาในเชิง วิทยาศาสตร์ ท่านได้ถามปัญหาอาตมาข้อสุดท้ายในเรื่องสาร ดีเอ็นเอ และความก้าวหน้าต่างๆ ในวิชาพันธุวิศวกรรม เช่น การโคลนนิ่งมนุษย์ และธนาคารเซลล์ต้นแบบ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในวงการทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...