ความเป็น“พหูสูต”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    [​IMG]<TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>ความเป็นพหูสูตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" vAlign=bottom align=right height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>

    [​IMG]



    คำว่า "พหูสูต" นี้หมายถึง "ความเป็นผู้ฉลาดรู้" เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่จะ เกิดขึ้นได้กับบุคคลที่มีนิสัยและคุณลักษณะ ดังนี้

    ๑. ชอบอ่าน ชอบฟัง ชอบค้นคว้า
    ๒. มีความจำดี รู้จักจับหลักและสาระสำคัญแล้วจดจำได้อย่างแม่นยำ
    ๓. มีความตั้งใจหมั่นท่องจดจำได้จนขึ้นใจชัดเจนโดยไม่ต้องเปิดตำรา เมื่อ จะกล่าวถึงเรื่องใด ก็สามารถกล่าวได้ด้วยความมั่นใจอย่างคล่องปาก
    ๔. มีความตั้งใจขบคิด ตรึกตรอง พิจารณาสาวหาเหตุหาผลให้ได้จนเจนจบ สามารถเข้าใจรู้เรื่อง ระลึกเรื่องได้โดยตลอดทะลุปรุโปร่ง
    ๕. มีปัญญา มีความรู้และเข้าใจเรื่องราวทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติได้อย่าง แจ่มแจ้ง

    คงจะไม่มีผู้ใดที่จะปฏิเสธว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทยทรงมี พระราชอัจฉริยภาพ และความเป็นพหูสูตในวิชาการทั้งศิลป์และศาสตร์ทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นวิชา วิศวกรรมศาสตร์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แผนที่ การจราจร เกษตรศาสตร์ ชลประทาน อุตุนิยมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ การทหาร การดนตรี กีฬา การศึกษา อักษรศาสตร์ สถิติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งวิชาโหราศาสตร์

    หากจะหยิบยกเอารูปแบบวิธีการศึกษาของพระมหากษัตริย์เพื่อการปกครองและบริหารประเทศที่ ประเทศไทยเคยได้สืบทอดรับอารยธรรมมาจากประเทศอินเดีย และอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓ ขึ้นมาเปรียบเทียบ จะเห็นว่า อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมของอินเดีย และโดยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งมีลักษณะการบริหารประเทศโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ได้มีการวางรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้ว่า
    "....กษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ทรงมีอำนาจไม่มีขอบเขต....ทรงเป็นจอมทัพ...ทรงเป็นประมุขด้านตุลาการ....ทรงเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหลายในราชอาณาจักร...... ....แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงเป็นราชาที่มีอำนาจเด็ดขาด เพราะในวันประกอบพิธีบรมราชาภิเษกนั้น กษัตริย์จะต้องปฏิญาณพระองค์ต่อประชาชนว่า ....ความสุขและสวัสดิภาพของกษัตริย์อยู่ที่ความสุขและสวัสดิภาพของประชาชน สวัสดิภาพของกษัตริย์มิได้อยู่ที่ความสุขของกษัตริย์เองแต่อยู่ที่ความสุขของประชาชนของกษัตริย์ สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่กษัตริย์จะถือว่าสิ่งนั้นมิใช่สิ่งดีงาม แต่สิ่งใดที่ให้ความสุขแก่ประชาชนจะถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดีงาม.... ข้อความดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กษัตริย์ไม่ทรงเป็นเผด็จการ ไม่ทรงทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ไม่ทรงถือเอาผลประโยชน์จากประชาชนตามพระประสงค์ หรือตามพระทัยของพระองค์เอง แต่กษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมสวัสดิการของประชาชน ต้องทรงถือพระองค์ว่า เป็นผู้รับใช้ของรัฐ......"

    โดยหลักการบริหารประเทศดังกล่าว ได้มีการวางรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไว้เป็นหลักใหญ่รวม ๓ ประการ คือ
    ๑. ทศพิธราชธรรม หรือ ธรรมะในการปกครองประเทศ ๑๐ ประการ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
    ๒. ราชสังคหะ หรือ ธรรมะในการทำนุประชาราษฎร์ ๔ ประการ
    ๓. จักรวรรดิวัตร หรือ ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์
    ดังนั้น เจ้าชายองค์รัชทายาทซึ่งมีสิทธิ์ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในอนาคตแม้กระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะ แห่งราชวงศ์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายจันทรคุปต์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งราชวงศ์เมารยะ จอมจักรพรรดิ์ผู้ปลดแอกกู้ชาติอินเดียให้พ้นจากการปกครองของชนชาติกรีกเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช (น่าเชื่อว่า เป็นพระองค์เดียวกับพระจันทโครพ ในนิยายจักร์ๆ วงศ์ๆ ของเรา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งอ้างถึงอยู่เสมอ ในวโรกาสที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ เกี่ยวกับโครงการพระดาบส....ผู้เขียน) จำเป็นจะต้องศึกษาวิชาต่างๆ ตั้งแต่พระชนมายุประมาณ ๑๖ ปี ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ในห้วข้อวิชาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย พระเวท และศิลปศาสตร์รวม ๑๘ อย่าง ได้แก่ การคำนวณ ภูมิศาสตร์ วิชาช่าง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การค้าขาย การขับร้องดนตรี ดาราศาสตร์ การใช้ศรและธนู โบราณคดี แพทยศาสตร์ โหราศาสตร์ การแต่งกาพย์ ฉันท์ ตรรกวิทยา เกษตรศาสตร์และปศุสัตว์ พิชัยสงคราม เวทมนตร์คาถา การสื่อสารมวลชน และความรู้ทั่วไป สถาบันการศึกษาที่สำคัญในยุคนั้นแห่งหนึ่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยตักศิลา โดยต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาประมาณ ๘ ปี

    โดยรูปแบบการปกครองและการบริหารของประเทศที่ได้วางไว้ เมื่อได้เสด็จขึ้น ครองราชย์แล้ว กษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติพระองค์ในลักษณะธรรมราชาปกครองอาณาประชา ราษฎร์ให้กินดีอยู่ดี มีความร่มเย็นเป็นสุขบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง บนพื้นฐานที่มาจากความเชื่อว่า ราชาที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งธรรมะสำคัญที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม ๑๐ "
    ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน, ศีล, บริจาคะ, อาชชวะ, มัททวะ ตปะ, อักโกธะ, อวิหิงสา, ขันติ และ อวิโรธนะ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปแล้ว

    พระมหากษัตริย์จะต้องทรงตั้งอยู่ในขัตติยประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตร (ราชสังคหะ ๔ ประการ) นิติศาสตร์ และราชศาสตร์ ทรงอุปถัมภ์ผู้ที่มีคุณความชอบ ทรงบำราบผู้ที่กระทำความผิดด้วยความเป็นธรรม
    ไม่ทรงอุปถัมภ์ยกย่อง หรือบำราบบุคคลด้วยอำนาจอคติ ๔ ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ไม่ทรงหวั่นไหว สะทกสะท้านต่อโลกธรรม

    ในส่วนที่เกี่ยวกับราชสังคหะ หรือ การทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรม ๔ ประการนั้น จะประกอบด้วย
    ๑. สัสสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามาถในเรื่องการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
    ๒. ปุริสเมธะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประกอบราชกิจฉลองพระคุณ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยทรงยกย่องพระราชทานยศ ฐานันดร ตำแหน่งหน้าที่โดยสมควรแก่กุลวงศ์ วิทยาสามารถ และความชอบในราชการ
    ๓. สัมมาปาสะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการส่งเสริมอาชีพ เช่น การจัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม เกษตรกรรม หรือดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อมิให้บังเกิดช่องว่างในสังคมมากจนเกินไป
    ๔. วาจาไปยะ ได้แก่ พระปรีชาสามารถในการใช้พระวาจาที่เตือนสติแก่ผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ดูดดื่มใจ รวมทั้งจะไม่ทรงรังเกียจเบื่อหน่ายที่จะทรงทักทายปราศรัยถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้นโดยสมควรแก่ฐานะ และภาวะ

    สำหรับจักรวรรดิวัตร หรือ ธรรมะในการคุ้มครองป้องกันอาณาประชาราษฎร์ นั้น มีรายละเอียดครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองไว้อย่างกว้างขวาง ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มีแนวทางปฏิบัติของพระมหากษัตริย์สำคัญที่น่าสนใจดังนี้


    ๑. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน
    ๒. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป ทรงแนะนำชักนำให้ประชาชนตั้งอยู่ในกุศลสุจริต ประกอบอาชีพโดยชอบธรรม หากชนใดไม่มี ทรัพย์พอเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะ จะพระราชทานทรัพย์เจือจานให้เลี้ยงชีพด้วยวิธีอันเหมาะสม ไม่ให้แสวงหาด้วยทุจริต
    ๓. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงช่วยชีวิตของประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย ดินฟ้าอากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล รวมทั้ง โรคระบาด อัคคีภัย
    ๔. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างลึกซึ้ง ด้วยการ ผูกพระราชไมตรีสมานราชสัมพันธมิตรกับกษัตริย์ ประธานาธิบดี และผู้นำของประเทศต่างๆ เพื่อ ให้ราชอาณาจักรอยู่รอดปลอดภัย
    ๕. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงส่งเสริมศิลปะและการศึกษารวมทั้งสุขภาพ อนามัย สุขาภิบาล ทรงให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ปลดเปลื้องภาระคนยากจน ตลอดจนการกระทำอันเป็นบุญกุศลซึ่งได้แก่ การสร้างโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา คนกำพร้า คนอนาถา เป็นต้น
    ๖. พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอุปการะสมณชีพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ โดยพระราชทานไทยธรรม บริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ ฯลฯ

    หากได้นำพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติ ต่อส่วนรวม ต่อพสกนิกรประชาชนคนไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จขึ้น ครองราชย์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินกว่าครึ่งศตวรรษมาเปรียบเทียบกับหลักการปกครองและบริหารประเทศตามตำราอรรถศาสตร์ซึ่งถือเป็นตำรามาตรฐานในการปกครองและบริหารประเทศตามอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาลดังกล่าวข้างต้น ย่อมเป็นการ พิสูจน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้ทรงมีโอกาสเข้ารับ การศึกษาตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ในตำราอรรถศาสตร์ดังกล่าวเช่นเดียวกับเจ้าชายรัชทายาทอันเนื่องมาจากกาลเวลา และสภาพสังคมที่ได้ปลี่ยนแปลงไป กับการที่ต้องเสด็จขึ้นครองราชย์ โดยกระทันหัน ด้วยเหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดมาก่อนก็ตาม การที่พระองค์ท่านทรงสามารถปฏิบัติพระองค์ได้ตามแนวทางเหล่านั้นมาโดยตลอดได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่ข้อเดียวนั้น เป็นผลมาจากความเป็นพหูสูตของพระองค์ท่านเท่านั้น

    ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง ทรงมีความเป็นพหูสูต ในสาขาวิชาการต่างๆ และทรงมีพระมหากรุณาแก่พวกเราอย่างมากมายเหลือคณานับ ดังนั้นใน วโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันพระเฉลิมพระชนมพรรษได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็น การสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรประชาชนคนไทยตลอดไป


    *********************
    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

    เอกสารอ้างอิง "ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ", ดนัย ไชยโยธา, บริษัทอักษรเจริญทัศน์ฯ

    เรียบเรียง ณ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๑


    --------------
    ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล:
    ความเป็นพหูสูตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...