ความเป็นบัณฑิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พระไตรภพ, 19 เมษายน 2008.

  1. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    ในอุปโภอัตถสูตร มีพระพุทธดำรัสเกี่ยวกับเรื่องความเป็นบัณฑิต โดยมีพระคาถาว่า <o:p></o:p>
    “ ทิฎ เฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ”<o:p></o:p>
    แปลว่า ธีรชน (นักปราชญ์) ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ชาตินี้ คือ ขยันหา รักษาไว้ คบเพื่อนดี ดำรงชีวีที่เหมาะสม และ ประโยชน์อันเป็นเบื้องหน้า คือ ศรัทธา, ศีล, จาคะ, ปัญญา <o:p></o:p>
    เมื่อดูตามพระพุทธดำรัสแล้ว การที่จะเป็นปราชญ์หรือให้ใครยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ก็ต้องมาประกอบเนื้อหาของสิ่งเหล่านี้ให้มีความสมบูรณ์ ถ้าหากขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นปราชญ์จะสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะจะขัดกับความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยทั่วไป <o:p></o:p>
    ต้องมีความ คิดดี เป็นที่ตั้ง การพูดฟังแล้วไพเราะเสนาะหู <o:p></o:p>
    ต้องกระทำ แต่ดีนี้วิญญู ท่านผู้รู้เรียก “ บัณฑิต ” ไม่ติดใจ <o:p></o:p>
    ถ้าอยากเป็น นักปราชญ์ ต้องร่วมกัน สร้างความดี นี้เรื่องใหญ่ <o:p></o:p>
    การศึกษา ประเพณี ชี้วัดใจ ทั้งระเบียบ วินัย ต้องใคร่ครวญ <o:p></o:p>
    “ สงฆ์ในอดีตกับสงฆ์ในปัจจุบันต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด ใครหรือจะทราบดีเท่าตัวเราเอง แม้ว่าเราจะหลอกใครต่อใครได้มากมายทั่วโลกโลกา แต่เราไม่อาจที่จะหลอกคนๆหนึ่งได้เป็นแน่ คนๆนั้น คือใคร ? ใจเราไง ใจดวงนี้แหละที่มันจะทวงถามเราอยู่ทุกวี่วัน ว่าเราเป็นเช่นใด ด่านสุดท้ายที่เราจะต้องตอบคำถาม และเราจะต้องยอมจำนน ก็คือ ด่านใจของเราเอง อย่าหลอกตัวเอง อย่าเป็นคนลวงโลก เพราะมันจะให้โทษอย่างแสนสาหัสในวันที่เราสิ้นลมหายใจ ”<o:p></o:p>
    " เมื่อรักธรรม จงถอนทิฐิแลมานะออกจากใจของตน และก็ต้องสละอหังการในทางโลกเสีย แล้วปฏิบัติธรรมด้วยความนอบน้อมต่อธรรม ซื่อสัตย์จริงใจต่อธรรม ซึ่งความจริงก็คือความซื่อสัตย์ต่อตนเองนั่นเอง ไม่พยายามปิดบังตนเองจากความเป็นจริงใดๆเลย ไม่ควรโกหกผู้อื่นและโกหกตนเอง คือจะต้องเรียนรู้ตนเองตามความเป็นจริงให้ได้ ค้นคว้าภายในจิตของตนเองจนกระจ่างว่าในจิตดวงนี้มีอะไรที่เรายังปิดเอาไว้ เช่นจิตมีความชั่ว ต้องรู้ว่ายังชั่วอยู่ อย่าปฏิบัติธรรมเพื่อโอ้อวด อย่าปฏิบัติธรรมเพื่อได้รับการยอมรับจากหมู่เพื่อน ประการสำคัญ อย่าเอานิสัยฉาบฉวยทางโลกโอ้อวดคะนองไปตามกระแสโลก หรือทำเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งเกียติยศและศักดิ์ศรี มาใช้ในการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรม ต้องการความต่อเนื่องเป็นอย่างมาก คือจะต้องปฏิบัติด้วยความจริง ใจจนตลอดชีวิตของตน มิใช่จะทำบ้างไม่ทำบ้าง หยุดๆหายๆขาดๆ อยู่อย่างนั้น หากปฏิบัติดังนั้นมันก็เปรียบได้ดั่งการที่เราตักน้ำใส่โอ่งที่ก้นมันรั่ว ตักใสแล้วมันก็รั่วออก ไม่รู้จักเต็ม เมื่อกำหลาบจิตให้อ่อนน้อมลงเสียได้แล้ว ก็อย่าปล่อยจิตให้เป็นอิสระ จงตามควบคุมจิตควบคุมอารมณ์อยู่ทุกขณะจิต อย่าประมาทในสิ่งทั้งปวง อย่ากระหยิ่มยิ้มย่องเมื่อประสบกับความสมหวัง อย่าเศร้าโศก เสียใจเมื่อยามผิดหวัง จงประครองจิตของตนด้วย สติ และ สัมปชัญญะ หาจิตของตน เห็นจิตของตน รู้จิตของตน จัดการกับจิตของตนตามทางแห่งอริยมรรค อย่าท้อถอยอย่าอ่อนไหวอย่าอ่อนแอ มรรคก็ดี อริยมรรคก็ดี ปรุงแต่งเองได้ ผลก็ดีอริยะผลก็ดีปรุงแต่งเองไม่ได้ ดังนั้นหากปรารถนาผลหรืออริยะผลแล้ว ต้องเดินตามทางมรรคหรืออริยะมรรคที่ถูกต้อง อัน
     
  2. มารพรหม

    มารพรหม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +17
    นานแล้ว ที่ท่านไม่กลับมาโปรดเรา หลวงพ่อท่านถามหาอย่านิ่งดูดายเลย กลับเถิดเด็กน้อยคิดถึง

    We find no real satisfaction or happiness in life without obstacles to conquer and goals to achieve
    A goal without a plan is just a wish
     
  3. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    ทิฐิมานะ เป็นเหตุแห่งความวิบัติ เป็นเหตุแห่งความไม่งอกงามของกุศล เป็นเหตุแห่งความเป็นผู้เลวลง

    การรู้จักเปิดใจให้กว่างรับฟังผู้อื่นให้สิ้นความ ไม่ทราบให้ถาม ไม่ใช่คาดเดาเอาเอง อย่าไปสรุปคำสอนของคนอื่นๆโดยไม่ถามให้แน่ชัดว่า ความหมายที่เขาอยากให้เราเข้าใจ กับความเข้าใจของเรา ตรงกันหรือไม่ ต่อเมื่อได้ความละเอียดแล้วจึงวิจารณ์สืบต่อเพื่อความแจ้งกระจ่างชัด

    จึงจะไม่เป็นโทษ ทั้งต่อตนเอง และ ผู้อื่น
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...