ความอยากที่ถูกต้องและการบำเพ็ญกุศล

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 กรกฎาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ความอยากแบ่งเป็นความอยากที่ถูกต้องและความอยากของมนุษย์
    กุศลแบ่งเป็นกุศลชั้นสูง กุศลชั้นกลาง กุศลชั้นต่ำ ผู้บำเพ็ญธรรมควรรู้แยกแยะดังต่อไปนี้

    ก. ด้านความอยากที่ถูกต้อง

    1. ผู้บำเพ็ญธรรมต้องลดซึ่งตัณหา ความอยากทำจิตใจให้สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน แก้ไขความชั่ว กระทำความดี พระพุทธะได้รู้แจ้งด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ ส่วนเวไนยไม่สามารถตัดซึ่งตัณหาความอยาก ไม่ทำจิตให้สงบ คิดฟุ้งซ่าน ไม่แก้ไขความชั่ว ไม่กระทำความดี จึงถูกขนาดนามว่า “ผู้หลง”
    … แท้จริงแล้วปุถุชน เหตุเพราะลุ่มหลงจึงเป็นปุถุชน หากรู้แจ้งก็คือพุทธะ
    … หากใจยึดติดกับภาวะคือความทุกข์กังวล หากใจออกห่างจากภาวะคือโพธิ
    แปรพิษทั้ง 3 เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
    ความโลภของกาย … ให้ถือศีล
    ความโกรธของใจ … ให้ถือสมาธิ
    ความหลงของจิต … ให้ถือปัญญา

    … กัลยาณชนอยู่เหนือความอยากของมนุษย์ ทุรชนมากด้วยความอยากของมนุษย์

    … ความเห็นแก่ตัวคือฝ้าที่บดบังจิตมโนธรรม เป็นสิ่งที่บดบังใจให้ลุ่มหลง ประดุจทางสู่ประตูนรก

    2. หากมนุษย์มีความอยาก จิตใจจะคับแคบ ไร้ซึ่งความอยากจิตใจจะกว้างขวาง
    … หากภายในจิตใจมีความอยากจักมีแต่ความทุกข์กังวล ไร้ความอยากก็จะสงบ
    … หากภายในใจคนมีความอยากจักอันตราย ไร้ความอยากจะสงบสุข
    … อารมณ์ของคนมีความอยากจักอ่อนแอ ไร้ความอยากจะเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น
    … อริยะไร้ซึ่งความอยาก ( นิพพาน)
    … เมธีไร้ซึ่งความอยาก (อรูปภูมิ)
    … ปุถุชนมีความอยาก (รูปภูมิ)
    … คนเขลาเต็มไปด้วยความอยาก (นรกภูมิ)
    ผู้ที่เข้มแข็งแท้จริง คือ ผู้ที่สามารถเอาชนะความอยากและความเห็นแก่ตัวของตน มิใช่การเอาชนะผู้อื่น

    3. บาป คือ การที่ไม่พ้นจากการมีตัณหา ความอยาก
    … ภัย คือ การที่ไม่พ้นจากการไม่รู้จักพอ
    … แท้จริงพระพุทธะกับปุถุชนต่างก็มีความอยากแตกต่างกันเพียงความอยากที่เป็นกุศลกับความอยากของมนุษย์
    … ตัวของความอยากไม่มีดีหรือเลว อยู่ที่ใจของพวกเจ้าจะใช้มันอย่างไร ประดุจกำปั้นอาจจะทำร้ายคนได้ และอาจจะทำประโยชน์ เช่น ทุบให้หายเมื่อยได้

    4. ความอยากของอริยะเมธี
    … ขงจื้อกล่าวว่า “ตนต้องยืนหยัดในตน ถึงจะช่วยผู้อื่นให้ยืนหยัด ตนต้องกระทำให้สำเร็จ ถึงจะช่วยผู้อื่นให้สำเร็จ ตนต้องมีใจการุณย์ ถึงจะช่วยผู้อื่นให้มีใจการุณย์”
    … เม่งจื้อกล่าวว่า “ความอยากในการทำความดี คือ ความอยากอันเป็นกุศล”

    5. ความอยากขอปุถุชน ร่ำรวย มั่งมี ลาภยศ ชื่อเสียง … คือ ความอยากของปุถุชน

    6. พุทธอริยะกับปุถุชน ต่างก็มีความอยากแต่ปุถุชนอยากที่จะแย่งชิงผลประโยชน์ ทำร้ายผู้อื่น พุทธอริยะอยากที่จะสร้างสมความดี เห็นความดีมิอาจถอยหนี นี้คือความแตกต่างระหว่างอริยะกับปุถุชน
    อันว่า
    … ผู้ที่ชอบแก่งแย่ง คือ ผู้มีใจอ่อนแอ
    … ผู้ที่ชอบแก่งแย่งความร่ำรวย คือ ผู้ที่มีจิตใจ ยากจน
    … ผู้ที่ชอบแก่งแย่งอำนาจ คือ ผู้มีใจวุ่นวาย
    … ผู้ที่ชอบทำความดี คือ ผู้ที่มีจิตใจเป็นสุขตลอดกาล

    ข. ด้านการบำเพ็ญกุศล

    1. ผู้บำเพ็ญธรรม ควรละทิ้งซึ่งกรรมชั่วปฏิบัติกรรมดี อะไรคือกรรมดี?
    … การทำใจตนให้เที่ยงตรง ก็คือ พื้นฐานของการทำกรรมดี
    … การมีใจกตัญญูจงรักภักดี ก็คือ กรรมดีที่ควรกระทำ
    … การมีใจศรัทธา สัจจะ คุณธรรม ก็คือการทำกรรมดีในการดำรงชีวิต
    … การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการทำกรรมดีด้านความเมตตากรุณา
    … การบริจาคทานช่วยเหลือคน ก็คือ การทำกรรมดีด้านทานบารมี

    2. ความร่ำรวยที่แท้จริง คือ การเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมภายใน
    … ความสูงศักดิ์ที่แท้จริง คือ การบำเพ็ญกุศล เสียสละด้วยความยินดี
    หากเป็นได้เช่นนี้ ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ยังเป็นผลดีต่อตนเองด้วย
    อันว่า การแบ่งปันช่วยเหลือ ตนแบ่งปันให้ผู้อื่นมากเท่าไหร่ ตนก็ยิ่งได้รับมากเท่านั้น

    (จุดมุ่งหมายในภายภาคหน้า)
    ต่อจากนี้ไปจะต้องฝึกจิต บำเพ็ญใจ รักษาใจ หล่อเลี้ยงธรรมญาณ

    การฝึกฝนบำเพ็ญใจ
    … อดทนต่อความทุกข์
    … อนทนต่อการถูกเหยียบหยาม
    … อนทนต่อการโมโหโกรธา
    … อนทนต่อการแข็งข้อ
    … อนทนต่อการถูกประณาม

    การรักษาใจหล่อเลี้ยงจิต
    … อดทนต่อความลำบาก
    … อดทนต่อการถูกอาฆาต
    … อดทนในเรื่องการงาน
    … อดทนในเรื่องของบุคคล
    … อดทนต่อความยุ่งยาก

    การตอบแทนบุญคุณเบื้องบนที่ดีที่สุด คือ การช่วยเหลือคน ช่วยเหลือสังคม

    การตอบแทนบุญคุณอาจารย์ที่ดีที่สุด คือ การได้อบรมสั่งสอนคนรุ่นหลัง


    http://www.mindcyber.com/?p=237
     

แชร์หน้านี้

Loading...