ความหมายและความสำคัญของ “วันพระ”

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 3 มิถุนายน 2022.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +51
    718b7076f0172d620cc2fe083362f6bb.jpg
    วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติ กิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อัน ได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทิน จันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่
    • วันขึ้น 8 ค่ำ
    • วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
    • วันแรม 8 ค่ำ
    • วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
    ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น

    ความเป็นมาของ “วันพระ”

    ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยพุทธกาลที่ผ่านมาได้มีเหล่านักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำเป็นปกติ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ทราบจึงเกิดความคิดว่าคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาน่าจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธศาสนิกชน เฉกเช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาตได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาพร้อมกับการแสดงอาบัติ

    ความสำคัญของ “วันพระ”

    จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ

    1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ

    2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหาย และทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้นนอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

    ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้วโลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้น วันอุโบสถ จึงเป็นเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนามากขึ้นเป็นพิเศษ
    อ่านบทความอื่นๆ www.dharayath.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...