ความหมายของวันแม่

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ความหมายของ'วันแม่'

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#56cafa><TD class=newsHeader height=37>
    ความหมาย ของ วันแม่

    </TD></TR><TR bgColor=#fdedb5><TD class=news vAlign=top height=111>

    วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

    ความหมาย

    พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
    แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

    ๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
    - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
    - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
    - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็ชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
    รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
    ๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
    ๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
    - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
    - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว

    ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ

    วันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ทราบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
    ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า

    "แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
    แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษิตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลขอลทางราชการ
    ส่วนที่เกียวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็ปล่าวเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเลห่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

    ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
    ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
    สดสะอาดปราศสีราคีระคน
    เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
    กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
    เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
    อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
    ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : sendbirthdaygift.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...