เว็บพลังจิต ความสามัคคีแห่งหมู่นำสุขมาให้

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 16 เมษายน 2010.

  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605

    [​IMG]


    [​IMG]
    ปาฐกถาธรรมเรื่อง
    ความสามัคคีแห่งหมู่นำสุขมาให้
    โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)
    เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี (แห่งที่ ๑)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เวลา ๘.๐๐ น. ​

    เจริญสุข/เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน วันนี้อาตมภาพก็ได้มาพบกับท่านผู้ฟังอีกเช่นเคย ในรายการปาฐกถาธรรม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยนี้

    สำหรับวันนี้ อาตมภาพจักได้กล่าวถึงคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ขุ. ธ. ๒๕/๒๔/๔๑) ว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี แปลความว่า ความสามัคคีนำสุขมาให้

    ตามพระพุทธดำรัสนี้ "ความสามัคคีแห่งหมู่" ณ ที่นี้หมายถึง ความปรองดองสมานฉันท์ พร้อมเพียงกันแห่งหมู่คณะ ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจการงานโดยชอบธรรม ร่วมกัน ความสามัคคีแห่งหมู่คณะอย่างนี้แหละ ย่อมช่วยให้การดำเนินชีวิต หรือประกอบกิจการงานได้ถึงความสำเร็จ ความเจริญ และสันติสุขได้เป็นอย่างดี


    ความสามัคคีปรองดอง นั้น ก็คือ การรู้จักประนีประนอมยอมกัน ไม่ทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกัน รู้จักตกลงกันด้วยไมตรีจิต

    ส่วน ความสมานฉันท์ นั้น ก็คือ ความร่วมใจกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งหมู่คณะ ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจการงาน โดยชอบธรรมร่วมกัน

    พระพุทธดำรัส ว่า "ความสามัคคีแห่งหมู่" นี้ พระพุทธองค์จึงทรงหมายถึงเฉพาะ ความสามัคคีแห่งหมู่คณะในการดำเนินชีวิต หรือการกระทำกิจการร่วมกันโดยชอบธรรม คือ โดยความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมืองและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคมเท่านั้น จึงจะยังประโยชน์สุข และถึงความเจริญสันติสุขอย่างแท้จริงได้


    ญาติโยมสาธุชน คงพอจะสังเกตเห็นตัวอย่างหรือได้ยินได้ฟังข่าวของการแตกแยกสามัคคีในสังคม นับตั้งแต่ในสังคมย่อยได้แก่ สังคมภายในครอบครัว สังคมในวงงานทุกระดับ ในองค์กรต่างๆ ตลอดไปจนถึงสังคมประเทศชาติ ว่าสังคมใดมีความสามัคคี ปรองดองกัน สมานฉันท์ พร้อมเพรียงกัน สังคมนั้นย่อมมีความเจริญและสันติสุข แต่ถ้าสังคมใดแตกแยกสามัคคีกัน สังคมนั้นย่อมหาความเจริญและสันติสุขไม่ได้ ดังที่อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างสังคมแต่ละระดับ ที่แตกแยกสามัคคี กับสังคมที่สามัคคีปรองดองกัน ว่ามีผลเช่นไร อะไรเป็นเหตุปัจจัย พอเป็นเครื่องเพิ่มพูน สติปัญญา บารมี แก่สาธุชนผู้ฟัง ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามสมควรแก่เวลาต่อไป

    ตัวอย่างครอบครัวใดที่สมาชิกในครอบครัวนั้น นับตั้งแต่พ่อบ้านแม่เรือน ถึงลูกหลาน และบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน มีความรักใคร่ปรองดองกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยดี คือด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจกัน และรู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนเข้าหากัน สมาชิกในครัวเรือนนั้น ได้แก่พ่อบ้านแม่เรือนย่อมมีกำลังใจประกอบสัมมาอาชีวะ ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยดี ไม่ต้องวิตกกังวลใจในปัญหาครอบครัว ลูกหลานก็มีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน และได้กลับมาช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานตามสมควรต่อหน้าที่ แม้ผู้อาศัยอยู่ด้วยก็มีกำลังใจปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบด้วยดี ครอบครัวนั้นก็ย่อมมีแต่ความเจริญและสันติสุข

    ส่วนครอบครัวใด สมาชิกในครอบครัวนั้น มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ปฏิบัติต่อกันด้วยดี คือไม่รู้จักเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจกัน ไม่พยายามทำความเข้าใจกัน ไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนเข้าหากัน หนักๆ เข้าถึงครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครัวเรือนนั้น ย่อมขาดกำลังใจในการประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยดี เพราะมีแต่ความวิตกกังวลหนักใจ ในปัญหาครอบครัว และยิ่งถึงครอบครัวแตกแยกด้วยแล้ว ลูกหลานก็ยิ่งขาดความอบอุ่น ขาดกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน บางรายหันไปคบหมู่สู่เพื่อนที่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย เช่นเที่ยวเตร่ตามห้างสรรพสินค้า และหลงติดเพื่อน หลงติดแฟชั่น หลงแสงสีชอบเที่ยวเตร่ไปตามแหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ขาดความเอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียน นำชีวิตไปสู่ความเสื่อมเสีย ตกต่ำ ถึงความล้มเหลวแห่งชีวิต และต้องประสบกับความทุกข์เดือดร้อนลงไป ตามลำดับ จนยากแก่การเยียวยาแก้ไข เมื่อสังคมครอบครัวเป็นเช่นนี้มากขึ้น ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่โตของสังคมโดยส่วนรวมมากขึ้น ดังที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังข่าวทางสื่อมวลชนอย่างมากมายในทุกวันนี้

    สาเหตุสำคัญที่เป็นเหตุให้ครอบครัวแตกแยก ได้แก่ความที่พ่อบ้านแม่เรือนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมักมากในกามคุณ ไม่สำรวมในกาม จึงประพฤตินอกใจกัน ไม่ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกัน จนอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ได้ นี้ประการ ๑ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนเจ้าอารมณ์ มักมีโทสะแรงกล้า เห็นแก่ตัวจัด เอาแต่ใจตัว ไม่รู้จักอดออมถนอมน้ำใจกัน บางรายถึงกับด่าทอ ตบตีกัน จนอีกฝ่ายหนึ่งเอือมระอาและทนไม่ได้ นี้ประการ ๑ และ/หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขาดความรับผิดชอบในครอบครัว มักทอดทิ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดชอบครอบครัวแต่ฝ่ายเดียว นี้อีกประการ ๑ โดยเฉพาะข้อนี้ ในยุคที่ความเจริญทางเทคโนโลยี และทางวัตถุเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขาดการพัฒนาทางด้านศีลธรรมประจำใจ เหล่านี้เป็นเหตุให้ ชายหญิงมีเพศสัมพันธ์กันง่าย แต่ไร้จิตสำนึกรับผิดชอบในคู่ครอง จึงแตกแยกและทอดทิ้งกันได้ง่าย และแม้บุตรที่เกิดมาเพราะพ่อแม่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างง่ายดายนั้น ก็มักถูกทอดทิ้ง ดังมีข่าวกันมาอยู่ในทุกวันนี้ ผู้ที่ต้องประสบความทุกข์เดือดร้อนที่สุด โดยมากก็คือฝ่ายหญิง และเด็กที่เกิดแต่การมีเพศสัมพันธ์กันง่ายๆ ของพ่อแม่เช่นนั้นเอง ยิ่งหญิงใดที่มักแสดงตนว่าเซ็กซี่ หรือประสงค์ให้ใครๆ เห็นว่าตนนั้นเซ็กซี่ มักหลงคารมคำชมว่าสวย เซ็กซี่เพียงไร หญิงเช่นนั้นแหละ ที่หลงดำเนินชีวิตไปด้วยความเสี่ยงต่อความเสื่อมเสียอย่างยิ่ง และมักถึงความทุกข์เดือดร้อนได้อย่างง่ายดายที่สุด เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ฉันใด ฉันนั้น แม้แรกๆ จะคิดด้วยมานะทิฏฐิว่า "ฉันไม่แคร์ หาแฟนใหม่อีกก็ได้" แต่สรีระหญิงนั้นเสื่อมโทรมเร็วกว่าชาย และยิ่งเปลี่ยนคู่นอน หรือยิ่งมีเพศสัมพันธ์บ่อยมากขึ้นเพียงไร ก็กลับจะเป็นคนด้อยค่า และถึงความไร้ค่า ในสายตาของชายที่มีคุณค่า คือที่มีฐานะดี มีคุณธรรมดี ที่ประสงค์จะมีภรรยาผู้ที่จะต้องมาเป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจที่ดี ที่จะมาเป็นแม่บ้านที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะมาเป็นแม่ที่ดีของลูก มากเพียงนั้น

    เพราะเหตุนั้น ความรู้จักรักนวลสงวนตัวแบบไทยพุทธโบราณคือ ความรู้จักมีสติยับยั้งชั่งใจ ไม่รีบผลีผลามชิงสุกก่อนห่าม พิจารณาเพื่อนหรือบุคคลที่หมายปองให้ดี ให้มีความพร้อมที่จะครองเรือนอยู่ร่วมกันให้ดีเสียก่อน ดังสุภาษิตโบราณท่านว่า "ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะให้แน่ต้องดูถึงย่าถึงยาย" นั้น จึงยังเป็นมนต์ขลังแก่ผู้ประสงค์จะมีครอบครัวที่ร่มเย็น เป็นสุข เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกันแล้วก็พึงปฏิบัติต่อกันด้วยดี คือด้วยความเป็นผู้มีศีลมีธรรม ได้แก่ ความเป็นผู้มีความสันโดษในคู่ครองของตน มีความสำรวมในกาม ไม่มักมากในกามคุณ ไม่เกี่ยวข้องและ/หรือติดอยู่ในอบายมุขทั้งปวง มีความรับผิดชอบในครอบครัวของตน ปฏิบัติต่อกันด้วยพรหมวิหารธรรม จะคิด จะพูด จะกระทำการสิ่งใด ก็คิด พูด ทำ ด้วยเมตตาธรรม คือ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน ให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข รู้จักอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดี รู้จักอภัยให้กัน รู้จักเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจกัน รู้จักทะนุถนอมน้ำใจกัน กล่าวโดยสรุปคือ "รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา" นั้นเอง


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อควรปฏิบัติดีต่อกันระหว่างสามี-ภรรยา
    มีปรากฏในสิงคาลสูตร (ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑/๒๐๔) ว่าดังนี้
    ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑
    ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑ สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้ ๑ ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้.
    ครอบครัวใดที่สมาชิกในครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามี-ภรรยา ปฏิบัติต่อกันด้วยดีอย่างนี้ ย่อมมีแต่ความสามัคคีปรองดองกัน อันนำชีวิตให้ถึงความเจริญและสันติสุขได้อย่างแน่นอนแท้จริง

    อีกตัวอย่างหนึ่ง ความสามัคคีในวงงาน หน่วยงานราชการหรือองค์กรใดที่ข้าราชการหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ทุกระดับ มีความสมัครสมานสามัคคีปรองดอง พร้อมเพรียงกันประกอบกิจการงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ (Team work) โดยชอบ คือ ประกอบกิจการงานร่วมกัน และปฏิบัติต่อกัน ด้วยความถูกต้อง ตามกฎหมาย และศีลธรรม ไม่อิจฉาริษยาแก่งแย่งชิงดีกัน ไม่ขัดแข้งขัดขากัน เป็นต้น และปฏิบัติถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม ๑ ด้วยความเหมาะสมกับกาลเวลา สังคมและสิ่งแวดล้อม ๑ ด้วยความสุจริตใจ มีความจริงใจต่อกัน ๑ และ ด้วยความยุติธรรม ปราศจากความอคติต่อกัน ๑ หน่วยงานราชการนั้นหรือองค์กรนั้น ก็ย่อมจะมีแต่ความเจริญและสันติสุข แต่ถ้าหน่วยงานราชการหรือองค์กรใด มีข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรนั้น ไม่มีความสามัคคีปรองดองกัน ไม่พร้อมเพรียงกันในการประกอบกิจการงานเป็นหมู่คณะร่วมกันโดยชอบธรรม และไม่ปฏิบัติต่อกันด้วยความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ด้วยความเหมาะสม และบริสุทธิ์ ยุติธรรมแล้ว ข้าราชการในหน่วยงาน หรือพนักงานขององค์กรนั้น ก็ย่อมไม่สามารถประกอบกิจการงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีประสิทธิภาพสูงได้
    อนึ่ง การขาดความสมัครสมานสามัคคีระหว่างสังคมของคนในชาติที่รุนแรงจนถึงขั้นการก่อความไม่สงบ มีการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สิน ถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันในที่ต่างๆ เพราะกิเลส ได้แก่ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ มีความโลภจัด เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เห็นแก่พวกพ้องหมู่เหล่าจัด และอิจฉาริษยากัน โกรธพยาบาทอาฆาตจองเวรกัน หลงมัวเมา ไม่รู้ และ/หรือไม่ยอมรับรู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี ไม่รู้และ/หรือไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง จึงปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความขาดสติสัมปชัญญะ ดำเนินชีวิตตน และปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยความไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และกฎหมายของบ้านเมือง ด้วยความไม่เหมาะสม ไม่บริสุทธิ์ใจ และด้วยความอยุติธรรม ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความแตกแยกสามัคคีในสังคมประเทศชาติ และก่อให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นมาก ผู้ที่มักสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้น อีกต่อไปก็ตนเองนั่นแหละ จะต้องได้รับผลกรรมตามสนอง ไม่นานเกินรอ และพลอยให้ครอบครัว ต้องประสบกับความทุกข์ ความเดือดเนื้อร้อนใจตามได้ด้วย ผู้ที่มีจิตใจเหี้ยมโหด มักฆ่า มักทำร้ายผู้อื่น ย่อมก่อเวรให้ตัวเองต้องถูกตามล่า ตามฆ่าล้างแค้นกันอีกต่อๆ ไป ไม่มีวันได้อยู่เย็นเป็นสุขเลย ผลกรรมอันเป็นบาปอกุศลเช่นนี้ยังจะติดตามให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อนในภพชาติต่อๆ ไปอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน




    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงถึง มูลเหตุแห่งการวิวาท บาดหมาง ถึงความแตกแยกสามัคคีในหมู่คณะมี ๖ ประการใหญ่ (มีปรากฏใน ที. ปาฏิ. ๑๑/๓๑๘) มีความโดยย่อ ว่า
    • เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ
    • เป็นผู้ลบหลู่ ตีตัวเสมอ
    • เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
    • เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
    • เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม และ
    • เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน คือ ไม่ยืนอยู่บนหลักธรรม คือ ไม่มั่นคงในหลักธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว มักถือรั้น คลายได้ยาก
    พระพุทธดำรัส ตรัสมูลเหตุแห่งการวิวาท บาดหมาง ถึงความแตกแยกสามัคคีในหมู่คณะ ๖ ประการที่กล่าวนั้น หมายถึงว่าบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ย่อมไม่เคารพ ยำเกรง ในคุณพระพุทธ ในคุณพระธรรม และในคุณพระสงฆ์อยู่ คือ ไม่หนักแน่นในพระพุทธ ในพระธรรม และในพระสงฆ์อยู่ แล้วก็ ย่อมไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา คือ ในการศึกษาอบรมกาย อบรมวาจา และอบรมใจ ให้สงบเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ โดยการปฏิบัติศีลและสมาธิ และไม่กระทำให้บริบูรณ์ ในการศึกษาอบรมปัญญา โดยการปฏิบัติสมถวิปัสสนาภาวนา ให้เห็นแจ้ง รู้แจ้งสภาวธรรม และสัจธรรมตามที่เป็นจริง รวมเป็นการไม่ปฏิบัติไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ให้เจริญ ให้บริบูรณ์ถึงอธิศีล คือ ศีลยิ่ง อธิจิต คือ จิตยิ่ง สมาธิยิ่ง อธิปัญญา คือ ปัญญาอันยิ่ง อันเป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข อย่างถาวร


    เมื่อบุคคล ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในไตรสิกขา ดังกล่าวแล้ว โอกาสที่จะเป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้, เป็นผู้ลบหลู่ ตีตนเสมอ, เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่, เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา, เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม, เป็นมิจฉาทิฏฐิผู้ยึดมั่นในความเห็นของตนอย่างผิดๆ โดยไม่มีจุดยืนอยู่บนหลักพระธรรมวินัย คือ ไม่มั่นคงอยู่ในหลักธรรม อันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว มักถือรั้น คลายได้ยาก เช่นนั้น ก็มีโอกาสเป็นได้มาก และนี้เองคือ มูลเหตุในเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท บาดหมาง ถึงความแตกสามัคคีในหมู่คณะ ไปตามส่วนแห่งกิเลส ตัณหา และมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดที่มีในจิตสันดานนั้น

    พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงโทษแห่งความวิวาท บาดหมาง แตกแยกสามัคคีในหมู่คณะ ว่า เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เป็นไปเพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาและว่า เป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อนแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อีกด้วย แล้วพระพุทธองค์จึงได้ตรัส วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกัน และ แก้ไขปัญหาความแตกแยกสามัคคี เช่นนี้ไว้อีกด้วย ว่า
    "ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะไม่มีได้อีกต่อไป"
    พระพุทธดำรัสนี้ ได้ทรงแสดงวิธีปฏิบัติทั้งเพื่อป้องกัน และทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท ความแตกแยกสามัคคีในหมู่คณะให้ระงับไป ว่า พึงพิจารณาเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุแห่งความวิวาท ทั้งภายในภายนอก แล้วพึงพยายามละมูลเหตุเหล่านั้นเสีย แม้เมื่อมูลเหตุเหล่านี้ระงับไป ก็ยังพึงต้องพิจารณามูลเหตุในเหตุเหล่านี้ แล้วพึงปฏิบัติเพื่อมิให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามนั้น เกิดขึ้นได้อีก

    นอกจากนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ตรัสหลักธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง สมานฉันท์ และความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ โดยเป็นคุณเครื่องทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ให้ระลึกถึงกัน และเป็นไปเพื่อความไม่วิวาทบาดหมางกัน ชื่อว่า "สาราณิยธรรม ๖" (ที. ปาฏิ. ๑๑/๓๑๗) ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

    (๑) เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (๒) เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (๓) เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    หลักธรรมปฏิบัติ ๓ ข้อแรกนี้ หมายความว่า ให้พระภิกษุและ/หรือหมู่ชนทั้งหลายที่อยู่ร่วมกันในสังคม ปฏิบัติต่อเพื่อนพระภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นเพื่อนสพรหมจารี คือ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน และทั้งปฏิบัติต่อกันในระหว่างหมู่ชนทั้งหลาย ด้วยจิตเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง ได้แก่ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนสพรหมจารีหรือในระหว่างบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในประเทศชาติเดียวกัน ด้วยจิตใจเอื้ออาทรต่อกัน ด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน และด้วยความปรารถนาดีต่อกัน คือ ด้วยความรัก ปรารถนาเพื่อนสพรหมจารี และเพื่อนร่วมชาติร่วมประเทศเดียวกัน ให้อยู่เย็นเป็นสุข หรือให้พ้นทุกข์ ได้แก่ ช่วยพยาบาลภิกษุหรือบุคคล ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย หรือด้วยการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และ/หรือ ด้วยความเอื้ออาทร คิดปรารถนาแต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่กันและกัน ดังนี้เป็นต้น

    (๔) ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ก็ไม่หวงกันด้วยลาภปานนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล
    ข้อนี้ ก็ทรงสั่งสอนให้พระภิกษุหรือสาธุชนผู้อยู่ร่วมกันในสังคมประเทศชาติเดียวกัน รู้จักแบ่งปันลาภผลที่ตนได้มาโดยชอบธรรม ให้แก่กัน ไม่หวงไว้บริโภคใช้สอยจำเพาะตนแต่ผู้เดียว

    (๕) ศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ศีลเป็นไท อันวิญ?ูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีล ในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีหรือในหมู่ชนทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณิยธรรมข้อที่ ๕ นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่จะให้เกิดความสามัคคีปรองดองกัน ในระหว่างเพื่อนสพรหมจารี และเพื่อนมนุษย์ผู้อยู่ร่วมกันในสังคม อันจะยังความสันติสุขให้เกิดมีและเจริญขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้น คือ ความเป็นผู้มีศีลที่บริสุทธิ์ สมบูรณ์ เสมอกัน ชื่อว่า "สีลสามัญญตา" ทั้งต่อหน้าและลับหลัง พระภิกษุก็ทรงศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ ตามส่วนของพระภิกษุ สามเณรก็มีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ ตามส่วนของสามเณร แม้อุบาสก อุบาสิกาสาธุชนทั้งหลายก็มีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ ตามส่วนของอุบาสก อุบาสิกา และสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น ถ้าในหมู่คณะผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ก็ดี หรือในหมู่ชนในสังคมในประเทศชาติเดียวกัน ก็ดี มีผู้ทุศีลอยู่ร่วมกับหมู่คณะมากเพียงไร ย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่สังคมหรือหมู่คณะได้มากและย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้มีศีลเพียงนั้น และโดยเหตุนี้ ความแตกร้าวก็จะเกิดมีขึ้นได้มาก เพราะเหตุนั้น สีลสามัญญตา คือ ความเป็นผู้เสมอกันในศีลที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์เสมอกัน จึงเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันด้วยสามัคคีธรรม อันยังให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในหมู่พระภิกษุ และในหมู่สาธุชนคนดีทุกหมู่เหล่าที่อยู่ในสังคมประเทศชาติอย่างมั่นคงได้


    (๖) ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐินั้น ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฏฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    หมายความว่าในสังคมประเทศชาติใดมีบุคคล ผู้มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ อยู่ร่วมกันมากเพียงไร ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแก่ผู้อื่นในสังคมเดียวกันได้มากเพียงนั้น
    สาราณิยธรรมข้อที่ ๖ นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่จะให้เกิดความสามัคคีปรองดองกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันในระหว่างเพื่อนสพรหมจารีและประชาชนผู้อยู่ในสังคม และประเทศชาติเดียวกัน อันจะยังความสันติสุขให้เกิดมีอย่างมั่นคงแท้จริงได้ อีกประการหนึ่ง คือ ความเป็นผู้มีทิฏฐิ คือ ความเห็นซึ่งประเสริฐ อันจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์โดยชอบ เสมอกัน กล่าวคือ สอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งถึงขั้นทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน นี้ชื่อว่า"ทิฏฐิสามัญญตา"

    จริงอยู่มนุษย์ย่อมมีความเห็นแตกต่างกันได้ แต่จักต้องไม่รุนแรงถึงความวิวาทบาดหมางกัน รบราฆ่าฟันกัน เพราะมีความเห็นผิดกัน
    นี้คือ หลักธรรมปฏิบัติ ชื่อว่า "สาราณิยธรรม ๖" ที่ชาวโลกรู้จักกันว่า "หลักความเอื้ออาทรต่อกัน" ดังพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของหมู่คณะ อันยังให้เกิดความเจริญสันติสุขของหมู่คณะ ที่สาธุชนพึงเอาใจใส่ นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในการประกอบกิจการงานร่วมกัน และปฏิบัติต่อกันเพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี ปรองดองกัน อันจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของสังคมหมู่คณะน้อยใหญ่ทั้งปวง

    เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความเจริญและสันติสุข ในการดำเนินชีวิต และ/หรือ ในการดำเนินกิจการร่วมกันโดยธรรม จึงพึงศึกษาและปฏิบัติธรรมอบรมกาย วาจา และจิตใจของตน ให้สงบเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ อบรมปัญญาของตนให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง ในสภาวธรรมและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ให้รู้บาป-บุญ คุณและโทษ ให้รู้สิ่งที่เป็นแก่นสารสารประโยชน์ และที่มิใช่แก่นสารสารประโยชน์ของชีวิตตามที่เป็นจริง และ ให้รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ก็จะรู้ข้อที่ควรยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ และรู้ข้อที่ควรเลิกละ รู้สิ่งที่ควรปล่อยวาง ได้แก่ รู้จักลดมานะ ละทิฏฐิ ไม่แข็งข้อต่อกัน และรู้ข้อที่ควรปฏิบัติต่อกันด้วยดี และรู้จักการอภัยให้แก่กัน ไม่ถือโทษโกรธกัน อันจะเป็นเครื่องปลูกและสมานไมตรี ให้เกิดความรัก-นับถือต่อกัน ให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความเจริญและความสันติสุขของทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน ก่อนยุติปาฐกถาธรรมนี้ ขอชาวไทยทั้งปวงตั้งสัตยาธิษฐานฐาน ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงได้โปรดดลบันดาล อภิบาล คุ้มครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ จงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงเกษมสำราญในไอศูรย์ศิริราชสมบัติ ทรงแผ่พระบารมีปกป้อง พสกนิกรชาวไทยทั้งปวง ให้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดกาลนานเทอญ ขอถวายพระพร และขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร

    ที่มา :www.dhammakaya.org/dhamma/lecture/lecture73.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2010
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    ปาฐกถาธรรมเรื่อง
    ความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์
    โดย พระราชญาณวิสิฐ วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)
    เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี (แห่งที่ ๑) โดยมติมหาเถรสมาคม
    ผู้อำนวยการสถาบันพุทธภาวนา วัดหลวงพ่อสดฯ
    สถาบันเครือข่ายของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    วันอาทิตย์ที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๐๘.๐๐ น.
    _____________
    <TABLE width="48%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา</TD><TD width="46%">อวิวาทญฺจ เขมโต</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สมคฺคา สขิลา โหถ</TD><TD>เอสา พุทฺธานุสาสนี</TD></TR><TR><TD colSpan=3>“ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาท โดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุสาสนี”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    พุทฺธ. ขุ. จริยา. ๓๓/๓๕/๕๙๕
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
    “ความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งหมู่นำสุขมาให้”
    ขุ. ธ. ๒๕/๒๔/๔๑.​

    เจริญสุข/เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน

    วันนี้ อาตมภาพก็ได้มาพบกับท่านผู้ฟังอีกเช่นเคยในรายการปาฐกถาธรรม วันนี้จักได้กล่าวถึงเรื่องความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ซึ่งสังคมตั้งแต่สังคมย่อย คือ สังคมในครอบครัว สังคมในวงงาน และถึงสังคมใหญ่ คือ ประเทศชาติของเรากำลังประสบปัญหาขาดความสามัคคี ปรองดอง และสมานฉันท์ กันอย่างมากในยุคปัจจุบัน ที่มีแต่ความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี แต่ขาดความเจริญทางด้านจิตใจด้วยคุณธรรมและจริยธรรม อันนับเป็นภยันตรายอย่างยิ่งต่อความเจริญมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และทางการเมือง ของประเทศชาติ ดังปรากฏเป็นข่าวความแตกแยกสามัคคีของสังคมทุกระดับ ทุกหมู่เหล่าอยู่ในทุกวันนี้

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทุกยุคทุกสมัย ตระหนักถึงปัญหาความแตกแยกสามัคคีของหมู่คณะมาตั้งแต่อดีตจนถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และแม้ที่จะมีมาต่อไปในอนาคต จึงต่างสอนพระภิกษุสาวกทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว จงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” และทรงสอนอีกว่า “ความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะนำสุขมาให้

    จากพระพุทธานุสาสนี คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ มีประเด็นสำคัญอยู่ว่า

    (๑) ความวิวาทเป็นภัย (๒) ความไม่วิวาทเป็นความปลอดภัย (๓) ภิกษุทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว จงเป็นผู้สามัคคีพร้อมเพรียงกัน (๔) จงมีความประนีประนอมกัน (๕) กับอีกพระคาถาว่า ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันแห่งหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข อธิบายว่า

    ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึง “ความวิวาท” ว่าเป็น “ภัย” นั้น อธิบายว่า ความทะเลาะเบาะแว้ง เริ่มแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนกลายเป็นการทะเลาะวิวาท เป็นปากเป็นเสียงกัน ทุ่มเถียงกัน โต้เถียงกันรุนแรง ด้วยความโกรธเคืองกัน ระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปนั้น ย่อมก่อให้เกิดความบาดหมางใจกัน ด้วยความโกรธและเกลียดชังกัน ถึงความพยาบาท ผูกใจเจ็บแค้นกัน นำไปสู่ความแตกสามัคคีกันระหว่างบุคคลและ/หรือหมู่คณะนั้น

    บุคคลหรือคณะบุคคลที่แตกสามัคคีกัน นับตั้งแต่สังคมย่อย อย่างเช่น สังคมในครอบครัว ย่อมหาความสงบสุขมิได้ การที่จะปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก ด้วยความเห็นอกเห็นใจและเอื้ออาทรต่อกันด้วยดี ก็ไม่มี ทำให้ขาดความปรองดองสมานฉันท์ที่จะร่วมแรงร่วมใจกันประกอบกิจการงานอาชีพ สร้างฐานะของครอบครัวให้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคง ฐานะของครอบครัวเช่นนั้นย่อมถึงความเสื่อมและทรุดลง ถึงเป็นครอบครัวแตกแยก มีผลให้สมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกๆ ที่อยู่ในวัยเด็กขาดที่พึ่งอันอบอุ่น ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาอีกนับนานาประการ ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวอย่างดกดื่นอยู่ในทุกวันนี้

    ความเสื่อมเสียจากการทะเลาะวิวาทในระดับสังคมย่อย เช่น สังคมในครอบครัวเช่นนี้มี ฉันใด ความเสื่อมเสียจากการทะเลาะวิวาทในระดับสังคมใหญ่ขึ้นไป เช่น สังคมในวงงาน และสังคมประเทศชาติ ถึงสังคมโลกก็มี ก็เป็นฉันนั้น เหมือนกัน

    และถ้ายิ่งการทะเลาะวิวาทนั้นรุนแรงยิ่งขึ้น ขยายวงเขตกว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น ถึงทำลายทรัพย์สินและเกียรติคุณความดี ของฝ่ายตรงกันข้ามให้พินาศเสียหายด้วยประการต่างๆ และหนักเข้าถึงประทุษร้าย ประหัตประหารกัน และที่หนักยิ่งขึ้นถึงเกิดการจลาจล หรือการก่อความไม่สงบระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลภายในประเทศ และที่อาจมีเหตุปัจจัยโยงใยถึงส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลหรือคณะบุคคลชาวต่างประเทศ ก็อาจเป็นชนวนให้ลุกลามใหญ่โตถึงเป็นสงครามระหว่างประเทศ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเศรษฐกิจ สังคม และต่อการเมืองของประเทศชาติ ก่อให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแก่ประชาชนโดยส่วนรวมทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตามส่วนแห่งความหนักเบาของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ผู้หลงผิด ประพฤติหรือปฏิบัติผิดๆ ต่อกัน เริ่มตั้งแต่โต้เถียงกันด้วยทั้งกิริยาวาจาที่ก้าวร้าวรุนแรง ถึงใช้กำลังและอาวุธประทุษร้ายประหัตประหารกันได้

    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสแสดง “ความวิวาท” ว่าเป็น “ภัย” และได้ตรัสสอนภิกษุสงฆ์สาวกทั้งหลายให้เห็น “ความวิวาทโดยความเป็นภัย” และให้เห็น “ความไม่ทะเลาะวิวาทโดยความปลอดภัย” แล้วให้มี “ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน” ให้มี “ความประนีประนอมกัน” และตรัสผลของความสามัคคีปรองดองว่า “ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข
    ตามพระพุทธดำรัสนี้ ว่า “สมคฺคา สขิลา โหถ” แปลตรงตัวว่า “เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สามัคคีกัน มีถ้อยคำสุภาพอ่อนหวานกันเถิด” ซึ่งหมายความว่า จงเป็นผู้สามัคคีปรองดองกัน รู้จักประนีประนอมตกลงกัน ด้วยความปรารถนาดีมีไมตรีจิตต่อกัน หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้แก่กัน ไม่ถือโทษผูกโกรธกัน ด้วยจิตเมตตากรุณาต่อกัน ไม่ทะเลาะวิวาทแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นในทางทำลายล้างผลาญกัน ด้วยความโกรธ ความจงเกลียดจงชัง และ/หรือด้วยความพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกัน

    ส่วนว่า ถ้าบุคคลใดหรือฝ่ายใดที่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ด้วยเจตนาทุจริตคิดมิชอบจริงๆ อีกฝ่ายหนึ่งหรือสังคมก็สามารถดำเนินมาตรการตรวจสอบตามกฎหมาย หรือหาความชอบธรรมจากศาลสถิตยุติธรรมได้

    มิใช่คอยแต่จะกล่าวร้ายป้ายสี ทำลายเกียรติคุณความดีของซึ่งกันและกันอย่างไม่เป็นธรรม อันก่อให้เกิดความร้าวฉานและถึงความแตกสามัคคีกันในที่สุด อันรังแต่จะเกิดโทษและเป็นความทุกข์เดือดร้อนไปด้วยกันทุกฝ่าย เหมือนการสาดน้ำใส่กัน ย่อมเปียกปอนไปด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วยังกระเซ็นไปเปียกผู้อื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมด้วย ฉันใด ฉันนั้น

    เมื่อสังคมหรือหมู่คณะใดมีความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยจิตใจที่เป็นมิตรไมตรี มีน้ำใจดีต่อกัน สังคมหรือหมู่คณะนั้นย่อมสามารถช่วยเหลือเกื้อกูล อนุเคราะห์สงเคราะห์กันและกัน กับทั้งพร้อมเพรียงกัน ร่วมแรงร่วมใจกัน ดำเนินชีวิตหรือกระทำกิจการร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและของสังคมประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ และให้มีความสงบร่มเย็นสันติสุขไปด้วยกันทุกฝ่าย

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี” แปลความว่า “ความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข

    พระพุทธานุสาสนี คือ คำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่ได้ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทในเบื้องต้นนี้นั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมเข้าใจได้และปฏิบัติได้อยู่แล้ว แต่ไฉนชนส่วนหนึ่งซึ่งย่อมจะรู้และเข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ได้ แต่ปฏิบัติไม่ได้ และ/หรือไม่ได้ปฏิบัติตาม ทั้งๆ ที่สังคมในยุคปัจจุบันนี้ ประชาชนส่วนมากต่างมีวิชาความรู้กันสูงๆ และสามารถกระทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างมากมาย แต่สังคมกลับมีแต่ความแตกแยก ขาดความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ หนักขึ้น ? ปัญหาข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

    <TABLE width="70%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">สุกรํ สาธุนา สาธุ</TD><TD width="46%">ปาปํ ปาเปน สุกรํ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สาธุ ปาเปน ทุกรํ</TD><TD>ปาปมริเยหิ ทุกรํ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>“ความดี คนดีทำได้ง่าย ความดี คนชั่วทำได้ยาก ความชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย ความชั่ว พระอริยเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>ขุ. อุ. ๒๕/๑๒๔/๑๖๗

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ เป็นความดีให้ผลเป็นความปลอดภัยแก่หมู่คณะ แก่สังคมประเทศชาติอย่างนี้แหละ ที่คนดี คือคนมีศีลมีธรรมประจำใจและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ย่อมมีสติปัญญาอันเห็นชอบว่า การทะเลาะวิวาท แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันในทางทำลายล้างผลาญกันว่า เป็นภัยอันตรายต่อความสงบ เรียบร้อย และความเจริญสันติสุข แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น และทั้งมีความเห็นชอบว่า การไม่ทะเลาะวิวาท แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันในทางทำลายโดยความเป็นความปลอดภัย กล่าวคือ ย่อมนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยดีงาม และความเจริญสันติสุข มาสู่ทั้งตนเองและผู้อื่น ที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเทศชาติ บุคคลดีมีคุณธรรมดังกล่าวนี้ จึงมีปกติประพฤติปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความมีน้ำใจไมตรีต่อกัน ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “รู้รัก รู้สามัคคี” ซึ่งเป็นคุณความดี อันกอปรด้วยพรหมวิหารธรรม และสัปปุริสธรรม เป็นต้น เพื่อประคับประคองความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ของหมู่คณะ และสังคมประเทศชาติให้เกิดและให้เจริญขึ้น เข้มแข็งขึ้น เพื่อให้สามารถร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและของหมู่คณะ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและสันติสุขดีขึ้น อย่างมั่นคง จึงปฏิบัติต่อกันด้วยพรหมวิหารธรรม คุณธรรมเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตโดยคุณธรรม ได้แก่ ด้วย เมตตาพรหมวิหาร ๑ กรุณาพรหมวิหาร ๑ มุทิตาพรหมวิหาร ๑ และอุเบกขาพรหมวิหาร ๑

    [พรหมวิหารธรรม]

    คุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ เป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ คือของผู้มีคุณความดีสูงยิ่ง ๔ ประการ คือ

    (๑) เมตตา ความรัก ปรารถนาแต่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข จะคิด จะปรึกษาหารือ จะพูด จะกระทำอะไร ก็คิด ปรึกษาหารือ พูดและกระทำ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน
    (๒) กรุณา ความสงสาร ปรารถนาแต่จะให้ผู้มีหรือผู้ประสบกับปัญหาความทุกข์เดือดร้อน ให้เขาได้พ้นจากปัญหาความทุกข์เดือดร้อนนั้น
    (๓) มุทิตา พลอยยินดีที่ผู้อื่นได้ดีและอยู่ดีมีสุข ไม่คิดอิจฉาริษยากัน ไม่มุ่งร้ายทำลายกัน
    (๔) อุเบกขา ความมีใจมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย เมื่อได้รู้/เห็นผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ อันเราช่วยอะไรไม่ได้ และไม่คิด ไม่พูด หรือแสดงกิริยาอาการดูหมิ่น เหยียดหยาม ซ้ำเติม หรือเยาะเย้ย ถากถาง จะคิดพิจารณาปัญหาใดๆ หรือจะปรึกษาหารือกันในปัญหาใดๆ ก็กระทำด้วยจิตใจเป็นกลาง กล่าวคือ ด้วยความถูกต้อง ตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม ด้วยความเหมาะสม ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยความยุติธรรม เที่ยงธรรม คือ ไม่ลำเอียงเพราะความหลงรัก หรือเพราะมีผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจ หรือเพราะถือพรรคถือพวกพ้องหมู่เหล่า จนมองไม่เห็นคุณงามความดีของผู้อื่นหรือฝ่ายอื่น เห็นแต่ความดีของตนหรือเฉพาะของฝ่ายตน จนเสียความยุติธรรม ๑ ไม่ลำเอียงเพราะความหลงโกรธหรือเกลียด-ชัง ไม่ลำเอียงเพราะความเกรงกลัว ๑ และไม่ลำเอียงเพราะหูเบา หรือหลงตามกระแสข่าว โดยขาดโยนิโสมนสิการ คือ ขาดการวินิจพิจารณาเหตุสังเกตผล จากข้อมูลหรือหลักฐานพยานที่ถูกต้องแท้จริง จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ที่ตรงประเด็น และที่สมบูรณ์ดีพอแก่การวินิจฉัย โดยรอบคอบ ให้สามารถแยกแยะดี-ชั่ว ถูกหรือผิด ได้ตามความเป็นจริง อีก ๑

    [สัปปุริสธรรม คุณธรรมของสัตบุรุษ]

    คุณธรรมของสัตบุรุษหรือสัปปุรุษ คือของคนดี มีศีลมีธรรม ซึ่งมีหลายข้อหลายประการ แต่ ณ ที่นี้ จะขอยกเอามาเพียงคุณธรรมหมวดหนึ่ง (ม. อุป. ๑๔/๑๔๕-๑๔๘/๑๑๒-๑๑๓) ที่จะเป็นคุณเครื่องช่วยให้การปฏิบัติต่อกันด้วยดี ก่อให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ โดยตรง คือ

    (๑) สัตบุรุษผู้มีคุณธรรม ๗ ประการ ต่อไปนี้ เป็นมิตรสหาย และตนเองก็ทรงคุณธรรมนั้นๆ ด้วย คือ มีศรัทธาในบุคคลและข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา ๑ มีความละอายต่อความชั่ว ๑ และมีความเกรงกลัวต่อบาปอกุศลเป็นผู้ได้ยินได้ฟัง ได้เรียนรู้ และมีประสบการณ์มามากเป็นผู้มีความเพียร มุ่งกระทำแต่คุณความดี ละเว้นความชั่ว และอบรมจิตใจให้ผ่องใส
    อนึ่ง สัตบุรุษย่อมเป็นผู้มีสติยั้งคิด พิจารณาเหตุสังเกตผล และระลึกรู้ กำหนดรู้ดี-รู้ชั่วตามที่เป็นจริงได้ ไม่เอาแต่หูเบา ฟังความข้างเดียว หลงตามกระแสข่าว โดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายให้รอบคอบ ๑ กล่าวคือ รู้จักระงับยับยั้งชั่งใจ พิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยข้อมูลหรือหลักฐานพยาน ที่ถูกต้อง ที่เชื่อถือได้ และที่ตรงประเด็น ก่อนตัดสินใจว่าฝ่ายใดดีหรือชั่ว ถูกหรือผิดจริง และ
    เป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบ และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามทำนองคลองธรรม และตามกฎหมายของบ้านเมือง กอปรด้วยความรอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิต และรู้จักแยกแยะคนดีหรือชั่ว ว่าเขามีดีมีชั่วกี่มากน้อย ตามความเป็นจริง อีกด้วย

    (๒) จะคิด จะปรึกษาหารือ จะพูด หรือจะกระทำอะไรๆ ก็ไม่คิด ไม่ปรึกษาหารือ ไม่พูด และไม่กระทำ เพื่อเบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนผู้อื่น ให้เดือดร้อนเสียหาย โดยไม่เป็นธรรม

    (๓) จะพูดจา จะวิพากษ์วิจารณ์ ก็พูดจาหรือวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยถ้อยคำที่เป็นความจริง ที่สุภาพอ่อนหวาน ที่สมานไมตรี-ประนีประนอม และที่เป็นสารประโยชน์ ไม่อ้างความเท็จ หรือบิดเบือนให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิดหรือสำคัญผิดจากความจริง และไม่กล่าวถ้อยคำก้าวร้าว หยาบคาย ไม่ยุแยกให้แตกสามัคคี และไม่กล่าวแต่ถ้อยคำที่เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สารประโยชน์
    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรม และมีสัปปุริสธรรมประจำใจ จึงมีปกติประพฤติปฏิบัติต่อผู้อื่น ด้วยความปรารถนาดีมีน้ำใจต่อกัน รู้จักประนีประนอมถนอมน้ำใจกัน หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกัน ไม่ถือโทษ โกรธ พยาบาท จองเวรกัน ไม่มีอคติต่อกัน ไม่อิจฉาริษยากัน และย่อมปฏิบัติต่อกันด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีงาม

    เพราะเหตุนั้น เราจึงเห็นสัตบุรุษคือคนดีมีศีลมีธรรมนั้น ย่อมมีปกติไม่คิด ไม่พูดกล่าวร้าย และไม่กระทำร้ายผู้อื่น ด้วยกิริยา วาจา ที่ก้าวร้าว หยาบคาย ด้วยเจตนา มุ่งหมายเพื่อทำลายล้างผลาญผู้อื่น ย่อมเห็นมีปกติคิด พูด และปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยกิริยา วาจา ที่ดี ที่ชอบ เพื่อให้คนที่เขาตั้งใจทำดีอยู่แล้ว ได้มีกำลังใจทำดียิ่งๆ ขึ้นไป ให้คำแนะนำที่ดีที่ชอบแก่ผู้ที่หลงผิดพลาดพลั้งให้ได้สติ รู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี และให้มีโอกาสแก้ตัว กลับตัวกลับใจ ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้อีกต่อไป ส่วนคนที่ประพฤติชั่วโดยสันดาน ที่ไม่ยอมกลับตัวกลับใจเป็นคนดี เมื่อได้ให้สติแก่เขาให้รู้ผิดชอบชั่วดี และให้โอกาสแก่เขาได้กลับตัวกลับใจมาประพฤติปฏิบัติตนให้ดีเสียใหม่แล้ว แต่ไม่อาจช่วยให้เขาดีขึ้นได้ ทำนองที่พระท่านเรียกว่า
    อเตกิจฉา” คือ ที่ไม่อาจแก้ไขได้แล้ว ก็จำต้องวางใจเป็นอุเบกขา คือปล่อยให้เขาได้รับโทษทัณฑ์ไปตามยถากรรมที่เขาก่อขึ้นเอง ตามพระพุทธดำรัสว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” โดยที่เรามิต้องแสดงกิริยา วาจา เยาะเย้ย ถากถาง ดูหมิ่น หรือซ้ำเติมอะไรอีก นี้เป็นวิถีชีวิตของบัณฑิตโดยธรรมแท้

    สังคมไทยแต่โบราณ เป็นสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีปัญหาความทุกข์เดือดร้อนก็ดูแลช่วยเหลือกัน มีกิจการใหญ่หรือพิธีใหญ่ ก็สามัคคีพร้อมเพรียงกันช่วยกันทำ มีปัญหาก็ร่วมปรึกษาหารือตกลงกัน ด้วยความประนีประนอม ปรองดอง สมานฉันท์ ไม่ตั้งหน้าแต่จะเอาชนะคะคานกัน ด้วยทิฏฐิมานะและ/หรือด้วยความเห็นแก่ตัวจัด หรือด้วยความเคียดแค้น ริษยาพยาบาท ให้เกิดความแตกร้าวรุนแรงในสังคมหมู่คณะ ประชาชนจึงอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสันติสุข

    อีกประการหนึ่ง ในสมัยก่อนประชาชนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย ต่างเข้าวัดเข้าวาฟังเทศน์ฟังธรรมกันเสมอ ประชาชนมีศีลมีธรรมประจำใจกันมาก จึงปฏิบัติต่อกันด้วยดี แม้จะมีชนต่างชาติต่างศาสนามาอยู่ใกล้กันหรืออยู่ร่วมกัน ก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ด้วยเมตตากรุณาธรรมต่อกัน ไม่มุ่งร้ายกัน

    สังคมไทยแต่โบราณจึงเป็นสังคมที่มีแต่ความสงบสุข เพราะปฏิบัติต่อกันด้วยพรหมวิหารธรรม ถึงจะมีปัญหาข้อขัดแย้งกันบ้าง ก็เพียงส่วนน้อย ผู้ใหญ่หรือผู้นำชุมชนในท้องถิ่นก็พอจัดการประนีประนอมให้ระงับได้ ไม่ถึงกับขยายวงเขตรุนแรงใหญ่โตจนเกินเหตุ เหมือนเช่นที่กำลังเป็นที่และเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้

    ส่วนสังคมในยุคปัจจุบันนี้ เป็นสังคมที่การประกอบกิจการงานอาชีพเต็มไปด้วยการแข่งขันกันสูง ประชาชนส่วนมากสาละวนอยู่กับการงานในอาชีพ จึงห่างวัดห่างวา และไม่สนใจเข้าศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรม ให้ซาบซึ้งในพระคุณของพระรัตนตรัยดีพอ จึงกลายเป็นผู้ขาดศีลขาดธรรม ไร้คุณธรรมประจำใจไปโดยปริยาย เป็นเหตุให้กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้าครอบงำจิตใจได้ง่าย และไร้จิตสำนึกในบาป-บุญ คุณ-โทษ กันมากขึ้น ยิ่งได้เห็นตัวอย่างการปฏิบัติต่อกันอย่างรุนแรง ในเวลามีปัญหาข้อขัดแย้งกันทุกเรื่อง จากสื่อมวลชนในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่มีแต่การแข่งขัน ชิงดี-ชิงเด่นกันในทางทำลาย ก็ซึมซับเข้าไปในจิตสันดาน เมื่อมีการขัดแย้งกันแม้ในครอบครัว ในวงงาน และในวงสังคม ก็จะแสดงกิริยา วาจา โต้เถียง วิพากษ์วิจารณ์ ทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง ดังตัวอย่างที่เห็นเป็นข่าวการประท้วงที่รุนแรงเพราะความขัดแย้งกันในต่างประเทศ เริ่มตั้งแต่การใช้วิธีการปลุกระดมมวลชน สร้างกระแสมวลชนให้คล้อยตามเป็นแนวร่วมมาปะทะกันด้วยกิริยาวาจาที่ก้าวร้าว หยาบคายต่อกัน หนักๆ เข้าก็บานปลายกลายเป็นการปะทะกันด้วยกำลังอย่างบ้าคลั่ง และไร้ศีลธรรม และนำไปสู่การเกิดการจลาจลระหว่างคนในชาติกันเอง ให้ชาวต่างชาติคู่แข่งเขาฉกฉวยโอกาสทองตักตวงผลประโยชน์ล่วงหน้าไป เพราะมัวแต่ทะเลาะวิวาทกันเอง ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาแท้ๆ ความขัดแย้งของคนในสังคมไทยทุกวันนี้ ก็คล้ายกับการขัดแย้งของชนในต่างประเทศ นับตั้งแต่สังคมในครอบครัว เวลาขัดแย้งกันก็มักแสดงกิริยาวาจาที่รุนแรงต่อกัน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็แสดงกิริยาวาจาก้าวร้าวหยาบคายต่อกันโดยไม่ต้องเกรงใจกันแล้ว ความขัดแย้งในสังคมประเทศชาติก็ยิ่งทวีความรุนแรงหนักขึ้น ด้วยมาตรการชิงดีชิงเด่นกันในทางทำลาย ด้วยอำนาจกิเลส ตัณหา ริษยา เคียดแค้น มีการปลุกระดมมวลชนให้เห็นคล้อยตาม และเป็นพรรคพวกแนวร่วม ขยายวงเขตให้กว้างออกไป ให้เป็นกำลังของฝ่ายตนให้มากๆ มีการปลุกเร้าให้เคียดแค้นฝ่ายตรงกันข้ามอย่างบ้าคลั่ง เพื่อทำลายล้างผลาญกันให้สะใจ และเป็นไปเพื่อที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งพินาศเสียหาย มาตรการและวิธีการดังกล่าวก็ถูกนำมาใช้ฟาดฟันประหัตประหารกัน ทุกรูปแบบ ทั้งลับและเปิดเผย อย่างไร้ศีลธรรม ราวกับบ้านเมืองไร้ขื่อไร้แป ตามที่โบราณท่านว่า“ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ด้วยกล ไม่ได้ด้วยเวทย์มนต์ ก็ด้วยคาถา” หรือเข้าทำนองเพลงปฏิรูปว่า “ใครจะตายก็ช่างมัน! เราไม่ตายก็แล้วกัน!!” มิใยที่ชาติบ้านเมืองจะเสียหายย่อยยับไปอย่างไร ก็ยังคงตั้งหน้าทำลายกันเองอย่างไม่ลืมหูลืมตา ผิดวิสัยสังคมไทยชาวพุทธผู้รักความสงบ ที่นิยมการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ประนีประนอมกัน จึงก่อให้เกิดความแตกแยกสามัคคีในสังคมประเทศชาติอย่างหนักอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเหตุให้ประเทศชาติเสื่อมเสียทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางการเมืองไปมากแล้ว

    หากประชาชนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างผู้รู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและผู้หลงบ้าคลั่งตามกระแสที่เขาปลุกระดมนั้น ไม่ใช้สติสัมปชัญญะ ระงับยับยั้งชั่งใจด้วยปัญญาอันเห็นชอบ พิจารณาเหตุสังเกตผลดีของความสามัคคีปรองดอง ของคนในชาติด้วยกันเอง ไม่พิจารณาเห็นผลเสียของการขาดความสามัคคีปรองดอง ต่างคนต่างไม่ยอมลดมานะละทิฏฐิ ไม่ยอมลดราวาศอกแก่กันและกัน ด้วยมองเห็นแต่ความผิดความชั่วของคนอื่นหรือฝ่ายอื่น แต่ไม่เห็นความผิดความชั่วของตนหรือของพรรคพวกตน เหมือนกับการชี้นิ้วว่าผู้อื่นชั่ว แต่อีก ๓ นิ้ว คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย กลับชี้เข้าหาตัวเองโดยไม่รู้ตัว และถ้าหากยังไม่ยอมหยุดทะเลาะวิวาทกันเสีย สังคมประเทศชาติของไทยเราย่อมจะถึงความระส่ำระส่ายอย่างหนัก เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางการเมืองของประเทศชาติของเราต้องเสียหายอย่างหนัก ให้ประชาชนทั้งประเทศรวมทั้งคู่กรณีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันนั้นเองด้วย จะต้องประสบกับความสูญเสียไปด้วยกันทุกฝ่าย ยากแก่การที่จะเยียวยาแก้ไขต่อกาลไม่นานนี้ และเมื่อเหตุการณ์บานปลายไปเช่นนี้ ก็อย่าได้หวังเลยว่า ฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะและเป็นสุขได้ เพราะผลลัพธ์ก็คือ ประเทศชาติเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ คือเสียหายย่อยยับ แล้วยังจะมีฝ่ายไหนที่จะเป็นฝ่ายชนะและเป็นสุขได้อีกหรือ ?
    จึงขอให้สาธุชนคนไทยทั้งชาติได้พิจารณา และตระหนักถึงภัยของการทะเลาะวิวาทกัน และได้พิจารณาเห็นการไม่ทะเลาะวิวาทกันเป็นความปลอดภัย ตามพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ แล้วช่วยเตือนสติผู้ที่รู้สึกขัดแย้งกันรุนแรงถึงกับเป็นปฏิปักษ์ต่อกันทุกฝ่าย ให้หยุดคิด และพยายามลดมานะละทิฏฐิลง หยุดทะเลาะวิวาททำลายกัน ด้วยกิริยาวาจาก้าวร้าวรุนแรงต่อกันเสีย โดยเร็วได้เท่าไรก็จะยิ่งเป็นผลดีเท่านั้น ก่อนที่จะสายเกินแก้ แล้วหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกัน ตกลงประนีประนอมกัน ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของชาติบ้านเมือง และเห็นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐและเป็นที่รักเทิดทูนของเราทั้งหลาย
    จงนึกถึงความดีของกันและกันด้วยมุทิตาธรรม จะได้มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน แล้วหันหน้าเข้ามาร่วมใจกันสร้างสรรค์ความสามัคคี ประนีประนอม ปรองดอง สมานฉันท์กัน ด้วยพรหมวิหารและด้วยสัปปุริสธรรม ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ จักได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองของไทยเรา ทั้งทางด้านการเศรษฐกิจ สังคม และทางการเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ให้ประเทศชาติบ้านเมืองของไทยเราได้พ้นจากความหายนะ กลับคืนสู่ความสงบสุข เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้งท่านที่เคยรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกันนั้นเองด้วย ให้ได้รับความเจริญและสันติสุขไปด้วยกันหมดทั้งประเทศ สมดังพุทธภาษิตว่า “สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความสามัคคีแห่งหมู่คณะ นำมาซึ่งความสุข” ด้วยประการฉะนี้ ก่อนจบรายการนี้ ขอทุกท่านจงตั้งใจให้สงบ เจริญพรหมวิหารธรรม แผ่เมตตาและกรุณาธรรมต่อกัน และตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระรัตนตรัย ขอได้โปรดดลบันดาลประทานพร ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ จงทรงเกษมสำราญ ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง และทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สถิตสถาพรในสิริราชสมบัติ แผ่พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมพสกนิกรชาวไทยให้อยู่เย็นเป็นสุข และขอเดชานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ จงช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาของประเทศชาติบ้านเมืองให้หมดสิ้นไป ยังความเจริญและสันติสุขให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศโดยพลัน เทอญ

    ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร

    ที่มา : http://www.dhammakaya.org/dhamma/lecture/lecture89.php

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2010
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ว.วชิรเมธี เตือนสติคนไทยแตกสามัคคี เป็นเคราะห์กรรมของแผ่นดิน


    [​IMG]

    สำนักข่าวไทย 31 ธ.ค.- ว.วชิรเมธี เตือนสติคนไทยเกิดมาพร้อมในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม แต่แตกความสามัคคีกันเองทำให้ประเทศชาติถอยหลังเข้าคลอง ถือเป็นเคราะห์กรรมของแผ่นดิน แนะใช้พลัง 4 ประการ สร้างเมืองไทยร่มเย็น

    พระมหาวุฒิชัย หรือ ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย กล่าวว่า สังคมไทยในรอบปีที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยวิกฤติต่างๆ ทั้งการเมืองวิกฤติ เศรษฐกิจวิกล คนวิวาท ชาติวิโยค โดยการเมืองวิกฤติ คือคนไทยแตกความสามัคคี แบ่งเป็นสีเหลือง สีแดง และมีสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น และน่าเป็นห่วงว่าการแตกสามัคคีนี้ร้าวลึกเข้าไปทุกกลุ่มชนซึ่งอันตรายมาก เพราะถึงแม้ประเทศจะมีทรัพยากรเต็มแผ่นดิน มีพระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม แต่คนแตกสามัคคี ถือเป็นเคราะห์กรรมของแผ่นดินที่น่าเศร้ามาก เศรษฐกิจวิกล คือภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกและภาวะจะมีต่อไป จำเป็นต้องดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท คนวิวาทคือคนไทยด้วยกันเอง ถูกยั่วยุ เป่าหู ให้เสพข่าวสารมากมาย และใช้มือ ใช้เท้า ใช้ปาก ใช้หัวสมองของคนไทย คิดหากลยุทธ์ทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง เป็นวิกฤติที่น่าเศร้าว่าการพัฒนาประเทศเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องหันมารบรากันเอง

    “การเมืองวิกฤติ เศรษฐกิจวิกล คนวิวาท ส่งผลให้ชาติวิโยค คือประเทศถอยหลังเข้าคลองไป 30-40 ปี ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ถูกจับตาให้เป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย หรือประเทศที่น่าลงทุนแห่งหนึ่งในเอเชีย ณ บัดนี้ ในสายตาของประเทศตะวันตกกลายเป็นคนป่วยของเอเชีย เราพัฒนา เราเล่นการเมือง เ ราจัดการศึกษา วางแผนเศรษฐกิจกันมาอย่างไร ถึงนำชาติไทยมาสู่ก้นบึ้งของวิกฤติ ถึงขนาดที่กล่าวได้ว่ากลายเป็นคนป่วยของเอเชียในเวลานี้” พระมหาวุฒิชัย กล่าว

    พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับทางออกนั้น ในทางพุทธศาสนามองว่าวิกฤติอยู่ตรงไหน โอกาสอยู่ตรงนั้น ดังนั้น จะต้องหันหันกลับไปพิจารณาในปัญหานั้น โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาสังคม ที่เวลานี้คนไทยกว่าร้อยละ 90 เห็นผิดเป็นชอบว่า คอร์รัปชั่นเป็นสิ่งสามารถทำได้ ใครก็โกง ใครก็คอร์รัปชั่น ขออย่างเดียว ขอให้แบ่งให้ด้วย เป็นทัศนคติที่อันตรายมาก สะท้อนให้เห็นว่าเข็มทิศทางจริยธรรมของสังคมกำลังพังครืนลงไป

    “หากอยากก้าวข้ามวิกฤติในสังคมไทย อาตมาขอมอบพรปีใหม่ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการกอบกู้วิกฤติครั้งนี้ ให้กลายเป็นโอกาสขึ้นมา ด้วยพร 4 ประการ ที่เรียกว่าพลัง 4 ประการ เพื่อความเกษมศานต์ของชาวไทย 1.พลังปัญญา ขอให้ลดการใช้ความรู้สึกและใช้ความรู้ให้มากขึ้น เพราะสังคมไทยทุกวันนี้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้สึกสูง ทำให้เปราะบาง นำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะไม่พูดกันด้วยเหตุผล หนึ่งคนก็มีหนึ่งความเห็น ถ้าใช้ตรงนี้วิกฤติการเมืองไม่จบ แต่ถ้าใช้ความรู้จบ 2.พลังความเพียร ขอให้ลดการพึ่งขุนขลังขมังเวทย์ หันมาพึ่งตนเองให้มาก คือมันสมองสองมือของตนเอง 3.พลังของความสุจริต ต่อต้านลดทอนถ่ายถอนคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบและหันมาสร้างค่านิยม ซื่อสัตย์ สุจริตโปร่งใส ให้กลายเป็นธงนำของประเทศไทย และ 4. พลังแห่งความสามัคคี ขอให้ลดความเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ส่วนรวมให้มากขึ้น ถือหลักอย่าเห็นแก่ตัวจนไม่เห็นหัวประเทศไทย” พระมหาวุฒิชัย กล่าว

    ที่มา : http://news.thaiza.com/%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%20%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5%20%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99_1212_172792_1212_.html
     
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ธรรมเพื่อความสามัคคี 6 ประการ (สารณียธรรม 6) (Six Principles On Harmony)

    ศุกร์, 06/20/2008 - 00:10 ? admin [​IMG]




    ธรรมบรรยาย โดย ท่านธรรมาจารย์เว่ยวู แสดงให้กับ นักศึกษา ของวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ ในวันที่ 2 มกราคม 2008 บันทึกคำบรรยาย (เป็นภาษาจีน) โดย ท่านธรรมาจารย์เจินหรู

    สิ่งท้าท้ายที่วิทยาลัยของเราเผชิญหน้าอยู่ ก็คือทุกคนมาจากประเทศที่ต่างกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน และได้มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันที่นี่ การดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกันในหมู่คณะสงฆ์เช่นนี้ ควรรักษาความปรองดอง และสามัคคีกันอย่างไร ก่อนอื่น เราควรจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตระหนักถึงบุญคุณซึ่งกันและกัน ในคณะสงฆ์ จำเป็นต้องปฏิบัติตาม “สารณียธรรม 6” SIX SARANYA-DHAMMA คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี หรือ หลักธรรมอยู่ร่วมกัน 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย : เมตตากายกรรม ( Metta-kayakamma ) เมตตาวจีกรรม ( Metta-vacikamma ) เมตตามโนกรรม ( Metta-manokamma ) สาธารณโภคิตา( Sadharana-bhogi ) ศีลสามัญญตา( Sila-samannata )
    และ ทิฏฐิสามัญญตา( Ditthi-samannata )

    ในการสัมพันธไมตรีกับผู้ร่วมงาน พรรคพวกเพื่อนฝูง สมาชิกในหมู่คณะ และพี่น้องในครอบครัว ไม่ว่าองค์กรใดก็ตาม การใช้หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี 6หรือที่เรียกว่า “สารณียธรรม 6”(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี) มาเป็นหลักปฏิบัติ จะได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง


    (1) เมตตากายกรรม ( Metta-kayakamma ) การมีเมตตา มีไมตรีจิต ต่อกันทางการกระทำ ในเพื่อนสมาชิก คือช่วยเหลือกิจธุระของสมาชิกในหมู่คณะด้วยความเต็มใจ จริงใจ และแสดงกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    (2) เมตตาวจีกรรม ( Metta-vacikamma ) การมีเมตตา มีไมตรีจิตต่อกันทางวาจา คือช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี มีมิตรไมตรี กล่าวแต่วาจาสุภาพ เคารพนับถือซี่งกันและกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    (3) เมตตามโนกรรม ( Metta-manokamma ) มีเมตตา มีไมตรีจิตต่อกันอย่างจริงใจ คือตั้งจิตปรารถนาดี ต่อกัน คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตาท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความชื่นชมยินดีต่อกัน พัฒนาจิต เริ่มต้นจากจิตใจที่เบิกบานสู่จิตใจที่สงบ และอิสระ ในการพิจารณาจัดการสิ่งใด พวกเราต้องคำนึงถึงจุดยืนของผู้อื่น ภิกษุอาวุโสป๋อหยวน กล่าวไว้ว่า เราควรปฏิบัติจนถึงขั้น “จิตใจใสสะอาดบริสุทธิและสงบ”

    (4) สาธารณโภคิตา( Sadharana-bhogi ) “มีความเสมอภาค ไม่เห็นแก่ส่วนตัว” ชีวิตของบรรพชิต เรียบง่าย ได้รับมาเท่าใดก็ ให้ไปเท่านั้น แบ่งปันซึ่งกันและกันให้เท่าเทียมกัน เมื่อได้ของสิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็นำมาแบ่งปันกันให้มีส่วนได้ใช้โดยทั่วกัน

    (5) ศีลสามัญญตา( Sila-samannata ) รักษาและปฎิบัติให้มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อสมาชิกทั้งหลาย คือมีความประพฤติสุจริตดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะหรือทำลายหมู่คณะ

    (6) ทิฏฐิสามัญญตา( Ditthi-samannata ) มีทิฏฐิงามเสมอกันกับเพื่อนสมาชิกทั้งหลาย ให้ความเคารพ และให้เกียรติต่อความคิดของผู้อื่น มีความเห็นชอบร่วมกัน ในเรื่องกรรมและผลแห่งกรรม และหลักการสำคัญอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุด

    พวกเราร่วมกันปฏิบัติ “สารณียธรรม 6”

    พวกเราอาศัยพลังแห่งหมู่คณะ และคำสอนของพระพุทธองค์ ใน“สารณียธรรม 6” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ นี่เป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้พวกเราสามารถดำรงอยู่บนเส้นทางการปฏิบัติธรรมได้ต่อไป

    ที่มา : ธรรมเพื่อความสามัคคี 6 ประการ (สารณียธรรม 6) (Six Principles On Harmony) | วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
     
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    "สามัคคีกถา" พระธรรมเทศนา บำเพ็ญกุศลถวาย "พระศพ" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

    Submitted by อิทธิ on จันทร์, 14 July 2008 Tags:

    [​IMG]
    เป็นพระธรรมเทศนาโดย พระเทพปริยัติมุนี วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เทศนาในงานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

    พระเทพปริยัติมุนีกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงมีพระปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญญาธิการอันได้สั่งสมอบรมมาแต่ปุเรชาติ จึงได้เสด็จอุบัติในขัตติยราชตระกูล ทรงสมบูรณ์ด้วยพระชาติวุฒิ พระวัยวุฒิ พระคุณวุฒิ พระศุภจริยาวัตรทุกประการ

    แต่พระองค์ก็หาได้ทรงพอพระทัยในประโยชน์สุขส่วนตนเพียงอย่างเดียวก็หาไม่
    เมื่อถึงกาลสมัยได้โอกาส ก็ไม่ทรงประมาทมัวเมาในลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทรงดำเนินการบำเพ็ญพระกรณียกิจต่างๆ อันทรงคุณประโยชน์ต่อประชาชน พระศาสนา และประเทศชาติ เป็นอเนกอนันต์สุดที่จะกล่าวสรรพรรณนาให้หมดสิ้นได้ และทรงมีน้ำพระทัยเสียสละสูงส่ง โดยทรงเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม คือประเทศชาติและประชาชน

    พระมหากรุณาคุณในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพระองค์นี้ ย่อมเป็นที่ประทับใจของปวงชนชาวไทยไม่เลือนลางจางหายประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า คอยเฝ้าและจดจำมิรู้ลืมว่า "เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าผู้อยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ที่จะเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตลอดกาลยาวนาน"

    ...สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพระองค์นี้ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ประชาชนคนไทยมีความจงรักภักดีและประทับอยู่ในหัวใจได้สนิทเหนียวแน่นมั่นคงพระองค์หนึ่ง

    ประชาชนชาวไทยจึงได้แสดงออกถึงความสามัคคี ดังเป็นที่ปรากฏชัดแล้วนั้น เพื่อให้คุณธรรม คือความสามัคคีที่ประชาชนคนไทยได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน ให้ผ่านหู ผ่านตา และเพิ่มเติมเสริมปัญญาความรู้ให้ยิ่งขึ้น จึงขอรับพระราชทานอัญเชิญพระพุทธภาษิตมาตั้งเป็นบทอุเทศเทศนาว่า

    "สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี" ความพร้อมเพรียงของหมู่ชน ย่อมส่งผลให้เกิดสุข ดังนี้

    สามัคคี แปลว่า ความพร้อมเพรียง พร้อมเพรียงทางกาย ได้แก่ กายสามัคคี พร้อมเพรียงทางใจ ได้แก่ จิตสามัคคี ธรรมะทั้งสองอย่างนี้ย่อมเนื่องถึงกัน กายสามัคคีนั้นจะเกิดมีได้ ย่อมเนื่องถึงใจ ใจจะสามัคคีได้ ก็ย่อมมีกายเป็นที่รองรับ และความสามัคคีที่เป็นไปในแนวทางที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม จึงจะนำมาซึ่งความสุขความสำราญ
    แต่ถ้าเป็นไปในแนวทางที่ผิด ไม่ประกอบด้วยธรรม ย่อมนำมาซึ่งความพินาศฉิบหาย
    สามัคคี ความพร้อมเพรียงกันนี้ จึงหมายถึงความเป็นผู้กลมเกลียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันปรองดองกันและมีความสำคัญมาก ดังบทเพลงสามัคคีชุมนุมว่า "สามัคคีนี้แหละล้ำเลิศ จักชูชาติเชิดพระศาสนา" และ "ทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี"

    [​IMG]

    สามัคคีนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ มีเดช อุปมาเหมือนธงชาติไทย ประกอบด้วยแผ่นผ้า 3 สี คือ สีขาว สีแดง และ สีน้ำเงิน

    สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา
    สีแดง หมายถึง ชาติ
    สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

    เมื่อแผ่นผ้าเหล่านี้ได้ถูกนำมาผนึกติดกันเข้า ก็จะมีความหมายอันศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์มีเดช เท่ากับเป็นชีวิตจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งชาติทีเดียว แต่ถ้าแผ่นผ้าต่างสีเหล่านั้นแยกจากกันคนละส่วน ก็จะกลายเป็นแผ่นผ้าธรรมดา หามีความศักดิ์สิทธิ์แต่ประการใดไม่

    ในเรื่องความสามัคคีนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ทะเลาะวิวาทกัน ถึงกับพระองค์ทรงระอาพระทัย เสด็จหลีกไปประทับอยู่ ณ ป่าปาริเลยยกะ มีช้างและลิงเฝ้าดูอยู่ปฏิบัติ

    ได้ตรัสถึงโทษแห่งความแตกสามัคคี และอานิสงส์แห่งความสามัคคี โดยยกเรื่องนกกระจาบฝูงหนึ่ง ซึ่งพากันบินไปหากิน บังเอิญไปติดตาข่ายของนายพรานที่ดักไว้ นกกระจาบหัวหน้าจึงขอให้นกทุกตัวช่วยกันออกแรงพาตาข่ายขึ้นไปค้างไว้บนต้นไม้ แล้วพากันบินหนีไป เมื่อนกทุกตัวปฏิบัติตามก็รอดพ้นอันตราย ต่อมาภายหลังเมื่อนกฝูงนั้นแตกสามัคคีกัน พอไปติดตาข่ายของนายพรานอีกไม่ช่วยกันออกแรง แย่งกันเกี่ยงกัน ในที่สุดก็พลันตกเป็นอาหารของนายพรานหมดสิ้น

    อนึ่ง คุณธรรมคือความสามัคคีนี้ มีปรากฏในพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสม่ำเสมอ เพราะเป็นคุณธรรมที่สำคัญ

    ชาติบ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง สงบสุข สมบูรณ์ บริบูรณ์ อุ่นหนาฝาคั่งได้ดี ก็โดยที่คนในชาติมีความสามัคคี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเกลียวกลมกลืนกัน ไม่ปีนเกลียวขัดแย้งกันหันหน้าเข้าหาปรึกษาหารือกัน รวมพลังตั้งมั่น แม้จะมีผู้ไม่หวังดีประสงค์ร้ายมายุยงให้เกิดฝ่าย เกิดพวก เกิดพรรค ทุกคนจักสามารถรวมพลังกันต่อสู้เอาชนะได้

    ...ในเรื่องนี้มีกษัตริย์ลิจฉวีที่ปกครองแคว้นวัชชีด้วยความสามัคคีเป็นตัวอย่าง

    ความสามัคคีมีความสำคัญดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามา สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "สมคฺคานํ ตโป สุโข ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ก่อให้เกิดสุข" ดังนี้

    บุคคลจึงควรอบรมสั่งสมให้เกิดให้มีขึ้น คุณธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี และรักษาความสามัคคีให้ดำรงมั่นนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสเทศนาไว้มากมาย แต่ในกถามรรคนี้ จะแสดงชี้ถึงสังคหวัตถุธรรม 4 ประการ ได้แก่ ทาน 1 ปิยวาจา 1 อัตถจริยา 1 สมานัตตตา 1

    [​IMG]
    พระเทพปริยัติมุนี
    ประการแรก คือ ทาน การให้ปัน ตามธรรมดาบุคคลที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะจำต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ผู้ใหญ่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้น้อย แม้ผู้น้อยก็คอยสนองคุณผู้ใหญ่ตามกำลัง ผู้มั่งคั่งก็ให้เพื่อเกื้อกูลคนขัดสน แม้คนขัดสนก็จำต้องตอบแทนคุณตามโอกาส
    การให้ปันนี้ มี 2 ประเภทคือ อามิสทาน 1 ธรรมทาน 1 สิ่งของเครื่องล่อใจผู้รับให้ยินดีจัดเป็นอามิส การให้สิ่งของด้วยเจตนาอันดีงาม เพื่อสงเคราะห์ผู้รับ ช่วยเหลือผู้รับ ยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทำให้ผู้รับเกิดความยินดี มีความสุขกายสุขใจ เรียกว่า อามิสทาน

    คุณธรรมหรือคุณงามความดี จัดเป็นธรรมะ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยใหญ่ น้ำใจกว้าง สอนวิชาความรู้ สอนศิลปวิทยาอันหาโทษมิได้ สอนให้มีคุณธรรมแต่งจิตใจให้งามและปรับปรุงความประพฤติ โดยปรับบาปออกจากตัว ปรับชั่วออกจากใจ สอนให้มีระเบียบวินัย สอนให้เห็นความถูกต้อง สอนความจริง สอนให้มีเหตุมีผล สอนให้อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น และให้เห็นความยุติธรรม เป็นต้น ตลอดจนให้รู้จักการให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง ปลดเปลื้องทิฐิมานะ ลดละความเห็นแก่ตัว ถือธรรมะเป็นใหญ่ การให้ปันอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นยารัก เป็นยาสมานน้ำใจ ให้รู้รักสามัคคี

    ประการที่ 2 คือ ปิยวาจา การเจรจาน่ารัก คือการพูดจาไพเราะอ่อนหวาน ดูดดื่ม จับใจ ทำให้ผู้พูดเป็นที่รักของผู้ฟัง กับทั้งประกอบด้วยประโยชน์ยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้ฟังไว้ได้

    ตัวอย่าง เช่น บุคคลผู้เป็นใหญ่ฉลาดในการพูด และการปฏิสันถาร ให้คำทักทายปราศรัยโปรยปรายแก่ผู้น้อย ย่อมเป็นผู้ที่ผู้น้อยให้ความรักความเคารพนับถือหรือเข้าใจในการพูดชักนำ ทำให้ผู้น้อยมีแก่ใจทำกิจการงานน้อยใหญ่ด้วยความภักดีและเต็มใจ

    ... การเจรจาหรือพูดนั้นสำคัญยิ่งนัก ถ้าผู้พูดรู้จักพูดให้เหมาะแก่กาละเทศะและบุคคล ย่อมอำนวยผลทั้งในด้านการปกครอง การสมาคม การชักนำ และการประสานงาน ประการสำคัญคือก่อให้เกิดความรัก ความไมตรี เมื่อความรักเกิดมีความสามัคคีก็เกิดขึ้น

    ประการที่ 3 คือ อัตถจริยา การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือการบำเพ็ญคุณประโยชน์ กล่าวคือการทำตนให้เป็นคนมีประโยชน์ มีค่า มีความดี เช่น การอบรมตนให้เป็นคนมีวิชาความรู้ มีความประพฤติดี มีความเสียสละ ส่วนนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ตน บุคคลเมื่อได้รับประโยชน์ส่วนตนเท่า นั้นยังไม่พอ จะต้องกอบก่อประโยชน์คนอื่น หยิบยื่นความช่วยเหลือ ความเกื้อกูลแก่สังคม จึงจะเป็นที่นิยมยกย่องนับถือ

    ประการที่ 4 คือ สมานัตตตา การวางตนเหมาะสม คือ เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ เหมาะสมกับบุคคล และเหมาะสมกับกาละเทศะ บุคคลผู้วางตนให้เหมาะสมนั้นก็คือ ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย โดยความหมายก็คือ ตนเองมีฐานะเป็นอะไร เช่น เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นภรรยาสามี เป็นครู เป็นศิษย์ เป็นต้น มาวางตนให้เหมาะสมกับตัวเป็น

    เป็นพ่อที่แท้ เป็นแม่ที่ถูก เป็นลูกที่ดี เป็นสามีที่เก่งกล้า เป็นภรรยาที่งดงาม เป็นศิษย์ผู้กตัญญู เป็นครูผู้มีเมตตาธรรม ไม่เย่อหยิ่งเกินฐานะ ไม่ปล่อยตัวให้ต่ำต้อยน้อยหน้าจนเกินดี ควรวางตนเสมอในหน้าที่ และพอดีกับบุคคล ตลอดจนกาละเทศะ ไม่ให้ขาดและไม่ให้เกินในระหว่างตนกับคนอื่น

    ตัวอย่างเช่น มิตรกับมิตร ศิษย์กับครู เคยสนิทสนมกันมาอย่างไร ไม่ทำให้ใจกระด้างกระเดื่อง ตรงกันข้ามพยายามเพิ่ม พูนความสนิทสนม ให้กลมกลืนแน่นแฟ้นไม่กลับกลาย ทั้งสองฝ่ายรักษามิตรภาพให้มั่นคงยั่งยืนตลอดไป

    ในฐานะเป็นศิษย์ ไม่ใช่ยามเรียนเห็นครูเป็นครู ยามรู้เห็นครูเป็นเพื่อน ยามรวยเห็นครูลางเลือนใกล้ตายใจเตือนถึงครู บุคคลผู้วางตนได้เหมาะสมอย่างนี้ ความรักที่ ยังไม่มีก็มี ความสามัคคีที่ยังไม่เกิดก็เกิด ที่เกิดที่มีแล้วย่อมจะดำรงมั่น และวัฒนาสถาพรตลอดไป

    ที่มา : "สามัคคีกถา" พระธรรมเทศนา บำเพ็ญกุศลถวาย "พระศพ" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ | phrathai.net
     
  6. hatcheryorn

    hatcheryorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2010
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +2,144
    มีจิตสำนึกพึ่งพาตนเอง
    รู้จักเสียสละ ลดความเห็นแก่ตัว
    บ้านเมืองก็จะได้ไปต่อ
     
  7. jukrin

    jukrin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +13
    อนุโมทนาสาธุ ผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำขออุทิศให้กับประเทศไทย
     
  8. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมจัดงาน
    และทำบุญสร้างกุศลทุกอย่าง
    ในกาลนี้ด้วยครับ
    ทุกสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนแต่
    ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์มีภัยอันตราย ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
    เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งสิ้น
    อย่าไปยึดมั่นถือมั่นอะไรว่ามันเป็นความสุขของเราที่แท้จริงเลย
    ความสุขที่แท้จริง คือ การฝึกจิตเข้าถึง "พระนิพพาน"
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
     
  9. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    อนุโมทนา สาธุ
    สยามเมืองยิ้ม
     
  10. แผ่นฟ้า

    แผ่นฟ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +428
    " รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทะนุบำรุง ให้รุ่งเรือง สมเป็นเมืองของไทย... "

    อนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...