ความรัก,ความโลภ,ความหวัง,ความสำเร็จ มีความพอใจเป็นเหตุ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย blackangel, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑


    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    [๔๑๘] ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ
    ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ
    ส่อเสียด เกิดจากอะไร ธรรมเครื่องเศร้าหมองเหล่านั้นเกิด
    จากอะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์
    ถามนั้นเถิด ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ
    ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ
    ส่อเสียด เกิดจากของที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท
    ประกอบเข้าแล้วด้วยความตระหนี่ ก็เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว
    คำส่อเสียดย่อมเกิด ฯ



    พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า
    ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี
    กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของ
    ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ความหวังและ
    ความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพมีอะไรเป็นเหตุ ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี
    กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของ
    ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็นเหตุ
    ความ
    หวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความ
    พอใจนี้เป็นเหตุ ฯ



    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้การวินิจฉัย คือ
    ตัณหาและทิฐิก็ดี ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ
    ความสงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจากอะไร ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและทุกขเวทนาใดว่า เป็น
    ความยินดีและความไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด
    เพราะอาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น
    สัตว์ในโลก เห็น
    ความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อม
    กระทำการวินิจฉัย ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ
    ความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดีและความไม่ยินดี
    ทั้งสองอย่างนั่นแหละมีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความ
    สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึง
    กล่าวธรรมทั้งหลาย ฯ


    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไร
    ไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ
    ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและ
    ความไม่ยินดี) นี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี
    ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี
    เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป
    และทั้งความเกิดขึ้นนี้ ว่ามีผัสสะนี้เป็นเหตุแก่ท่าน ฯ


    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ อนึ่ง ความหวงแหนเกิด
    จากอะไร เมื่อธรรมอะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึง
    ไม่มี เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ผัสสะอาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น ความหวงแหนมีความ
    ปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้
    เป็นของเราจึงไม่มี
    เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ


    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
    อย่างไรจึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข
    ทุกข์นี้ไม่มีแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจดำริว่า เราควรรู้
    ความข้อนั้น ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปรกติ เป็นผู้ไม่มี
    สัญญาด้วยสัญญาอันผิดปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็น
    ผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึง
    ไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญา
    เป็นเหตุ ฯ


    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
    ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะพระองค์ พระองค์ก็ได้ทรง
    แสดงความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถามความ
    ข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าว
    ความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่า
    ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่ารูปสมาบัตินี้ ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)
    เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ
    บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี
    วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
    อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
    เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า
    นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น
    เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม
    โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น
    แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด
    บ่อยๆ ฯ
    จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
     

แชร์หน้านี้

Loading...