ความมหัศจรรย์ในพระธรรมดา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pump - อภิเตโช, 26 กรกฎาคม 2010.

  1. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    หลวงพ่อเทียน
    <O:p
    ความมหัศจรรย์ในพระธรรมดา<O:p</O:p
    <O:p
    น.พ.วัฒนา สุพรหมจักร<O:p</O:p
    พระภิกษุชาร์ลส์ นิโรโธ แปล <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าท่านทั้งหลาย ได้พบหลวงพ่อเทียน ก็คงจะมีความเห็นคล้ายกันว่าท่านเป็นหลวงตา <O:p</O:p
    ที่มีความสงบ และพูดน้อยเช่นเดียวกับหลวงตาที่พบเห็นทั่วๆไป แต่ถ้าได้สังเกตุตัวท่านบ้าง<O:p</O:p
    ก็จะรู้สึกว่า ท่ามกลางความสงบนั้น ท่านมีความตื่นตัว รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาและเมื่อมีโอกาส<O:p</O:p
    ซักถามปัญหาต่างๆ ก็ได้ประสบกับความมหัศจรรย์ของหลวงตา ผู้ที่เกือบจะเรียกได้ว่าไม่รู้<O:p</O:p
    หนังสือ ที่เน้นสอนเรื่องสติอย่างเดียวมาตลอด ได้แสดงออกถึงปัญญาอันหลักแหลม โดดเด่นในการตอบปัญหา แทบจะเรียกได้ว่า “เหลือเชื่อ” สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาเล่าเรียนในรูปแบบที่เรายอมรับและยกย่องกัน จะสามารถตอบชี้แจงด้วยคำพูดที่ง่าย กระชับ เต็มไป<O:p</O:p
    ด้วยความหมาย เข้าใจได้ชัดเจน หมดข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น<O:p</O:p

    ไม่ว่าจะเรียกขานท่านในชื่อใด สมญานามใดก็ตาม ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่ท่านสอน<O:p></O:p>
    หรือตอบนั้น แม้ในคำถามพื้นๆธรรมดาที่เราสงสัยก็เต็มไปด้วยคุณค่า เปรียบได้ดังกับการ<O:p</O:p
    จุดไม้ขีดไฟให้ความสว่างในความมืด ทำให้เห็นหนทางหรือเกิดความสว่างในปัญญา อันเป็น<O:p</O:p
    ประโยชน์แก่ผู้ต้องการและแสวงหา ที่อยู่ท่ามกลางความมืด ความไม่รู้ ความสงสัย และ <O:p</O:p
    ความไม่เข้าใจทั้งหลายไม่มากก็น้อย<O:p</O:p

    คำตอบและข้อคิดเห็นต่อไปนี้ได้จากคำถามที่ข้าพเจ้า และคณะแพทย์ผู้รักษาได้ถามท่าน<O:p</O:p
    ในช่วงเวลา 5 ปี สุดท้าย ขอบันทึกไว้เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ทั้งนี้ ไม่ได้หวังเพื่อยกย่อง เชิดชู หรือ ชักจูงให้เลื่อมใสโดยปราศจาก วิจารณญาณไตร่ตรอง ซึ่งเป็นเอกสิทธิของแต่ละบุคคลที่เราพึงเคารพ <O:p</O:p
    </O:p
    (1) ศาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อกล่าวถึงศาสนาว่า “ศาสนา คือ คน” เมื่อฟังหรืออ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ<O:p</O:p
    จึงได้ถามท่านว่า<O:p</O:p
    ศาสนา คือ “คน” จริงหรือไม่ ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ศาสนาเป็นเพียงคำที่เราเรียก คำสอน คน โดย คน ที่ถือว่าเป็นผู้รู้ มีหลายอย่าง<O:p</O:p
    ถ้าจะให้พูดเรื่องศาสนา จะมีแต่ทำให้เกิดข้อสงสัยและโต้เถียงกันขอไม่พูด แต่ถ้าอยาก<O:p</O:p
    รู้ว่าความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร จะเล่าให้ฟัง เมื่อรู้แล้วจะหมดสงสัยในคำว่า ศาสนา”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (2) ทำไมจึงแสวงหาธรรมะ<O:p</O:p
    <O:p></O:p
    ข้าพเจ้าเคยเรียนถามท่านว่า ท่านมีความบันดาลใจอย่างไรจึงแสวงหาธรรมะ <O:p</O:p
    ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ท่านเคยทำบุญทำทานมาตลอด ทอดกฐินอยู่เสมอ ครั้งสุดท้ายในงานทอดกฐิน <O:p</O:p
    ท่านได้มีปัญหาในเรื่องที่จะทำบุญกับคนในบ้าน ท่านจึงคิดว่าทั้งๆ ที่ท่านทำบุญ<O:p</O:p
    ให้ทานก็มากแล้ว ทำไมจึงยังมีความทุกข์เกิดขึ้นได้อีก ท่านจึงตัดสินใจที่จะ<O:p</O:p
    แสวงหาธรรมะที่จะพ้นทุกข์ได้ตั้งแต่บัดนั้น”<O:p</O:p
    <O:p></O:p
    (3) ธรรมะไม่ใช่เสื้อผ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อเคยกล่าวว่า ท่านเคยมีความเข้าใจผิดคิดว่า ธรรมะ เป็นสิ่งนอกกายเหมือ<O:p</O:p
    กับเสื้อผ้าที่จะต้องเสาะแสวงหามาห่อหุ้มสวมใส่ แท้ที่จริงแล้วธรรมะนั้นมีอยู่ในตัวเรานี่เอ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (4) การศึกษาธรรมะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านเคยกล่าวถึงการศึกษาธรรมะว่า<O:p</O:p
    “การศึกษาธรรมะเพียงเพื่อเอาไว้ พูด คุย และถกเถียงกันนั้น<O:p</O:p
    ได้ประโยชน์น้อย เราต้องนำมาใช้และปฎิบัติให้ถึงที่สุด <O:p</O:p
    จะได้ประโยชน์มากกว่า”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (5) เรื่องของพระอานนท์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้ามีความสงสัยตลอดมาว่า ทำไมพระอานนท์ จึงไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งๆที่<O:p</O:p
    ได้ยิน ได้ฟัง รู้คำสอนของพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าใครๆ หลวงพ่อตอบว่า<O:p</O:p
    “พระอานนท์รู้เรื่องพระพุทธเจ้ามากก็จริง แต่ยังไม่รู้จักตนเอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ<O:p</O:p
    ปรินิพพานแล้ว ได้เรียนรู้ตนเอง จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์”<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    (6) หลวงพ่อเทียนสอนแบบฉีกตำรา ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าได้เรียนถามท่านว่า คนทั่วไปย่อมยึดถือพระไตรปิฎกเป็นตำราในการศึกษา<O:p</O:p
    พุทธศาสนา แต่เวลาหลวงพ่อสอนไม่ค่อยเห็นพูดถึงเลย ท่านให้ความเห็นว่า<O:p</O:p
    “พระไตรปิฎกนั้นจารึกหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานหลายร้อยปี และคัดลอกต่อกันมา<O:p</O:p
    นับพันปี คนเขียนคงเขียนดีแล้ว แต่คนอ่านจะเข้าใจเหมือนคนเขียนหรือไม่ ยังสงสัย<O:p</O:p
    ถ้าจะเอาแต่อ้างตำรา ก็เหมือนกับว่า เราต้องรับรองคำพูดของคนอื่น ซึ่งหลวงพ่อไม่แน่ใจ<O:p</O:p
    แต่สิ่งที่เล่าให้ฟังนั้น ขอรับรองคำพูดของตัวเอง เพราะจากประสบการณ์จริงๆ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ตำราเปรียบเสมือนแผนที่ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ทางไป หรือ ยังไปไม่ถึงจุดหมาย<O:p</O:p
    ผู้ที่ไปถึงแล้วแผนที่ก็หมดความหมาย”<O:p</O:p
    <O:p></O:p
    “พระไตรปิฎกเขียนด้วยภาษาอินเดีย เหมาะสำหรับคนอินเดีย หรือ คนเรียนภาษา-<O:p</O:p
    อินเดียอ่าน แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรื่องผูกขาดของคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่อง<O:p</O:p
    อยู่เหนือ ภาษา เชื้อชาติ เพศ และ เวลา ถ้าเรารู้ธรรมะที่แท้จริงแล้วจะต้องรู้และเข้าใจ <O:p</O:p
    ในภาษา ของเราได้”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “การศึกษาพระไตรปิฎกนั้นดี แต่อย่าให้ ติด และ เมา ในตัวหนังสือ <O:p</O:p
    มะม่วงมีชื่อเรียก หลายอย่าง หลายภาษา อย่ามัวแต่ ถกเถียง ตีความ หรือ<O:p</O:p
    ยึดถือว่าจะต้องเรียกอย่างไร แล้วปล่อยให้มันเน่า ใครที่ได้กินมะม่วงก็ย่อมรู้ว่า<O:p</O:p
    รสมะม่วงเป็นอย่างนั้นเอง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร หรือไม่มีชื่อเลยก็ตาม”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (7) หลงในความคิด</O:p
    หลวงพ่อเคยกล่าวว่า คนเรานั้น คิดอยู่เสมอเหมือนกระแสน้ำ การหลงติดกับ<O:p</O:p
    ความคิดก็เหมือนการตักน้ำมาเก็บไว้ แต่ถ้ามี สติ รู้เท่าทัน ความคิดนั้นๆ <O:p</O:p
    ก็เหมือนกับน้ำที่ไหลมา แล้วก็ผ่านไป การหลงคิดในความคิด ทำให้เกิดทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (8) ทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยมีคนถามท่านว่า ทุกข์คืออะไร ท่านได้เอาของใส่มือให้กำไว้ แล้วคว่ำมือ<O:p</O:p
    และแบมือ ท่านได้ชี้ไปที่ของซึ่งหล่นจากมือไปสู่พื้นว่า<O:p</O:p
    “ นี่คือ ทุกข์ ”<O:p</O:p
    ผู้ถามก็เข้าใจทันทีว่า ทุกข์เป็นสิ่งสมมติที่เราสร้างขึ้น และยึดถือไว้ ปล่อยวางได้<O:p</O:p
    ท่านได้กล่าวถึงผู้ที่เข้าใจโดยเร็วนี้ว่า<O:p</O:p
    “ เป็นผู้มีปัญญา ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (9) เชือกขาดเป็นอย่างไร <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อได้อ่านประสบการณ์ของท่านที่กล่าวว่า ในช่วงสุดท้ายมีความรู้สึกเหมือนเชือกขาด<O:p</O:p
    จากกันนั้น เข้าใจได้ยาก ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า<O:p</O:p
    “คำพูดเป็นเพียงการสมมติ ว่าเสียงนั้นๆ หมายถึงอะไร มันไม่มีคำพูดที่จะอธิบายภาวะ<O:p</O:p
    ดังกล่าว ถ้าเราเอาสีขาวกับสีดำซึ่งห่างกันเพียง 1 เซนติเมตร ค่อยๆผสมให้กลืนกัน <O:p</O:p
    ตรงกลางเราเรียกว่าสีเทาใช่ไหม แต่ถ้าหากสองสีนี้ห่างกัน 10 เมตร แล้วให้สีทั้งสองค่อยๆ <O:p</O:p
    กลืนกัน จะให้อธิบายว่าจุดๆ หนึ่งระหว่างนั้นเรียกว่าสีอะไร มันไม่มีคำพูดจะกล่าวให้เข้าใจ <O:p</O:p
    ต้องรู้เห็นเอง” <O:p</O:p
    “เคยเห็นเมฆหน้าฝนไหม มองดูคล้ายเป็นรูปเงาต่างๆ แต่ถ้าเรานั่งเครื่องบินเข้าไปอยู่ใน<O:p</O:p
    ก้อนเมฆนั้นๆ เราไม่เห็นอย่างที่เห็นก่อนเข้ามาดอก ภาวะดังกล่าว ไม่มีคำพูดที่จะอธิบาย <O:p</O:p
    มันอยู่เหนือตัวหนังสือ การประมาณคาดคะเน หรือความเข้าใจ ไปเองว่าจะเป็นอย่างนี้ <O:p</O:p
    ต้องรู้เองเห็นเอง”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (10) ปัญหาปลีกย่อย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า คนจำนวนไม่น้อยที่มาหาท่านแล้วถามแต่ปัญหาปลีกย่อย <O:p</O:p
    เช่น ทำบุญเช่นนี้ได้บุญแค่ไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ .....ฯลฯ<O:p></O:p>
    มีน้อยครั้งที่จะมีคนถามว่า พุทธศาสนาสอนอย่างไร จะเอาไปใช้ได้อย่างไร หรือที่จะ<O:p</O:p
    ทำให้ทุกข์น้อยลง ควรทำอย่างไร ครั้นจะให้หลวงพ่อถามเองตอบเอง ก็ดูกระไรอยู่<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    (11) จริง สมมติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านกล่าวว่า คนมีอายุยืน มีความจำ และ ความคิด มากกว่าสัตว์ครั้นอยู่กันเป็น<O:p</O:p
    หมู่มาก จำเป็นต้องตั้ง หรือ สมมติกฎเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้มีความสงบสุขในสังคม <O:p</O:p
    เมื่อเวลาผ่านไป คนรุ่นหลังย่อมหลง ยึดว่าสิ่งสมมตินั้นเป็นความจริง เมื่อมีคนบอกว่า<O:p</O:p
    สิ่งที่เขาว่าจริงนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งสมมติ คนส่วนใหญ่จะไม่ยอมเชื่อ ซึ่งก็เป็นธรรมดา
    <O:p</O:p
    “ที่เรียกว่าเงินนั้น ที่จริงแล้วเป็นกระดาษ เมื่อใช้แล้วมีคนยอมรับจึงมีค่า ถ้าไม่ยอมรับ<O:p></O:p>
    ก็เป็นกระดาษ ในสังคมปัจจุบัน เราใช้เงินเป็นตัวกลางเพื่อแลกเปลี่ยน ชีวิตใดครอบครัวใด <O:p</O:p
    ไม่มีเงิน จะอยู่ได้ด้วยความเดือดร้อน เงินซื้อความสะดวกและความพอใจได้ แต่ซื้อ <O:p</O:p
    ความหมดทุกข์ ไม่ได้”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (12) การปฎิบัติธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามท่านว่าทำไมการสอน และ การปฎิบัติธรรม จึงมีความแตกต่างกันไปตาม<O:p</O:p
    สำนักต่างๆ ทั้งๆที่ มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “เรื่องนี้เป็นธรรมดา แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนกล่าวว่ามีตั้ง 108 สำนัก แต่ละแห่งก็ต้อง<O:p</O:p
    ว่าของตัวถูกต้อง อีก 107 แห่งเป็นมิฐฉาทิฎฐิ ตัวเราเอง จะต้องเป็นคนไตร่ตรอง<O:p</O:p
    พิจารณาเอง การที่เป็นคนเชื่อง่าย หรือ เป็นคนเชื่อยาก ไม่ฟังคนอื่น ต่างก็ไม่ดีทั้งนั้น <O:p</O:p
    ถ้าการปฎิบัติดังกล่าวทำให้ทุกข์หมดไป ถือว่าใช้ได้ สำหรับเรื่อง ธรรมะนั้น คนที่รู้ธรรมะ<O:p</O:p
    ที่แท้จริง จะต้องรู้ อย่างเดียวกัน<O:p</O:p
    เมื่อมีคนถามถึงการปฎิบัติธรรมะในรูปแบบอื่นๆ ว่าดีหรือไม่ท่านกล่าวว่า<O:p</O:p
    “ดีของเขา ไม่ใช่ดีของเรา”<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    (13) วิปัสสนาแล้วเป็นบ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ได้เรียนถามท่านว่า การนั่งวิปัสสนาทำให้คนเป็นบ้า ตามที่มีจิตแพทย์ บางคน<O:p</O:p
    กล่าว จริงหรือ ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “คนที่ไม่รู้จักจิตใจตัวเองนั้นแหละคือคนบ้า การนั่งวิปัสสนา เป็นการศึกษา<O:p</O:p
    ให้รู้จักจิตใจตัวเอง ถ้านั่งแล้วเป็นบ้า ไม่ใช่วิปัสสนา”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (14) นิพพาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยถามโยมผู้ที่เคยอธิษฐานหลังการทำบุญว่าขอให้อานิสงส์<O:p</O:p
    การทำบุญทำให้เขาเข้านิพพานในอนาคตกาลด้วยนั้นว่า<O:p</O:p
    ท่านถามว่า “โยมเข้าใจว่าจะไปถึงนิพพานเมื่อใด”<O:p</O:p
    ชาวบ้านตอบว่า “เมื่อตายไปแล้ว”<O:p</O:p
    ท่านถามต่อว่า “อยากไปถึงนิพพานจริงๆหรือ”<O:p</O:p
    ชาวบ้านตอบว่า “อยากไปถึงจริงๆ”<O:p</O:p
    ท่านจึงพูดว่า “ถ้าเช่นนั้นโยมควรตายเร็วๆ จะได้ถึงนิพพานไวๆ”<O:p</O:p
    ชาวบ้านตอบด้วยความงงว่า “ยังไม่อยากตาย”<O:p</O:p
    ท่านจึงชี้แจงให้ฟังว่า “นิพพานก็อยากไป แต่ทำไมไม่อยากตายเร็ว<O:p</O:p
    นี่โยมเข้าใจผิดแล้ว พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้<O:p</O:p
    คนไปนิพพานเมื่อตายแล้ว แต่สอนคนเป็นๆ <O:p</O:p
    ให้ไปถึงนิพพานขณะที่มีชีวิตอยู่”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (15) ทำไมจึงบวช<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตามที่ทราบ ท่านได้รู้ธรรมะตั้งแต่เป็นฆราวาส ทำไมท่านจึงบวช ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ พระภิกษุ เป็นสมมติสงฆ์ การบวชทำให้สอนคนได้ง่ายขึ้น”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    </O:p

    (16) หินทับหญ้า <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าเคยถามเรื่องการนั่งสมาธิหรือกรรมฐานว่าเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ การนั่งสมาธิมีมาก่อนสมัยพุทธกาล ทำให้เกิดความสงบชั่วคราว เมื่อ<O:p</O:p
    ออกมาจากสมาธิก็ยังมีความโลภ โกรธ หลงอยู่ จิตใจไม่เปลี่ยน เปรียบ<O:p</O:p
    เหมือนกับหินทับหญ้า แม้หญ้าจะฝ่อลง เมื่อหญ้าต้องแสงอาทิตย์ หญ้าก็<O:p</O:p
    งอกขึ้นมาอีก ต่างกับวิปัสสนาที่ทำให้เกิดปัญญา จิตใจเปลี่ยนแปลงดีขึ้น”<O:p</O:p
    </O:p
    (17) พระเวสสันดร<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยเรียนถามว่าเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นตัวอย่างทานบารมี แต่ดูคล้ายกับว่า<O:p</O:p
    เป็นคนไม่รับผิดชอบ ต่อ บุตร ภรรยา การให้ทานเช่นนี้ ทำให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    จริงหรือ ท่านตอบว่า “เรื่องพระเวสสันดรเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา ถ้าเราคิดว่าจริง <O:p</O:p
    เราควรบริจาคทานภรรยา และ ลูก ของเราเอง ให้แก่ กรรมกร หรือ ชาวนา<O:p</O:p
    ไปช่วยเขาทำงานแล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าจะเปรียบเทียบใหม่ว่า สิ่งที่<O:p</O:p
    ติดตัวเรา ผูกพันเหมือนบุตร ภรรยา ก็คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง <O:p</O:p
    เราบริจาค หรือทานสิ่งนี้ไปเสีย จะพอเข้าใจได้ไหม”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (18) การเชื่อ</O:p
    หลวงพ่อได้กล่าวอยู่เสมอว่า เราไม่ควรด่วนเชื่อทันที และ ไม่ควรปฎิเสธทันที<O:p</O:p
    เช่นกัน ควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดี หรือทดลองเสียก่อน จึงจะ เชื่อ หรือไม่เชื่อ<O:p</O:p
    ในพุทธประวัติก็มีตัวอย่าง เช่น องคุลีมาลเป็นคนที่เชื่อง่าย อาจารย์สั่งให้ฆ่า<O:p</O:p
    คนตั้งมากมายก็ยังทำ หรือ เมื่อปริพาชกพบพระพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่พระองค์มี<O:p</O:p
    ลักษณะ น่าเลื่อมใส แต่ก็ไม่เชื่อว่า พระองค์ตรัสรู้ได้ด้วยตัวเอง จึงหลีกไป <O:p</O:p
    ไม่มีโอกาสได้ศึกษาจากพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    </O:p
    (19) ผู้ที่เข้าใจท่านพูด </O:p
    เคยถามท่านถึงจำนวนผู้ที่เข้าใจหลังจากที่ได้แสดงธรรมะหรืออบรมว่ามีสักเท่าใด<O:p</O:p
    ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “คงจะได้สัก 10-15% เรื่องนี้เป็นธรรมดา คนที่พร้อมจึงจะเข้าใจได้ คนส่วนใหญ่<O:p</O:p
    ติดการทำบุญ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (20) คนรักษาศีล หรือ ศีลรักษาคน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทำไมจึงต้องคอยรักษาศีล เหมือนรักษาแก้วไม่ให้มันแตก<O:p</O:p
    ทำไมเราจึงไม่ประพฤติปฎิบัติตัวให้มีศีลเล่า<O:p</O:p
    ศีลจะได้รักษาเราแล้วจะได้ไม่ห่วงคอยรักษาศีล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (21) บุญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อข้าพเจ้าถามท่านว่า “ทำบุญได้บุญจริงหรือ” ท่านได้ถามว่า “เข้าใจว่าบุญเป็นอย่างไร”<O:p</O:p
    เมื่อเรียนให้ท่านทราบว่า บุญนั้นเข้าใจว่าเป็นผลดี ตอบแทนเมื่อเราตายไปแล้ว ท่านถาม<O:p</O:p
    ว่า “เคยฟังพระสวดอานิสงส์การทอดกฐินหรือไม่ ที่ว่าจะได้วิมาน และนางฟ้าเป็นบริวาร <O:p</O:p
    ห้าร้อยองค์ หรือพันองค์ จงคิดดูว่าวัดในเมืองไทยมีกี่วัด ถ้ามีการทอดกฐินทุกวัด ทุกปี <O:p</O:p
    จะไปหานางฟ้าที่ไหนมาให้จึงจะพอ เราคิดว่าพระเป็นเสมือนพนักงานธนาคารที่คอยคิด<O:p</O:p
    ดอกเบี้ยให้เวลาเราตายอย่างนั้นหรือ” ข้าพเจ้าได้ถามท่านต่อว่า ถ้าเช่นนั้นการทำบุญ<O:p</O:p
    ด้วยวัตถุ อย่างที่เป็นอยู่ทั่วไปนั้น ท่านเห็นเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “การทำบุญด้วยวัตถุก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นเพียงข้าวเปลือก เอาไว้ทำพันธุ์ ถ้าเราจะกิน<O:p</O:p
    ให้ได้ประโยชน์ ต้องกินข้าวหุงหรือข้าวนึ่งสุก ไม่ใช่ข้าวสาร หรือ ข้าวเปลือก <O:p</O:p
    การหลงติดอยู่กับการทำบุญด้วยวัตถุอย่างงมงาย เป็นความหลงที่อยู่ในความมืดที่<O:p</O:p
    เป็นสีขาว”<O:p</O:p
    “บุญเหนือบุญก็คือ การรู้จักตัวเอง ไม่มีทุกข์ นี้แหละ”<O:p</O:p
    </O:p
    (22) หนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าเคยนิมนต์ท่านให้ไปสอนผู้ที่เคารพนับถือท่านหนึ่ง ที่คิดและเลื่อมใสในการ<O:p</O:p
    ทำบุญตามประเพณีมาก เมื่อได้ถามท่านหลังจากที่ท่านกลับมาแล้ว ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “โยมคนนี้เป็นคนหนา เราเคยอ่านพุทธประวัติหรือไม่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ <O:p</O:p
    ก่อนที่จะไปโปรดปัญจวัคคีย์ พระองค์ได้ระลึกถึงอุทกดาบส และอาฬารดาบส <O:p</O:p
    แต่แล้วก็ทราบว่าท่านทั้งสองได้ตายเสียแล้ว หลวงพ่อสงสัยว่าพึ่งจากกันไม่นาน <O:p</O:p
    จะตายทางร่างกายหรือไม่นั้น ยังสงสัย แต่ที่ตายแน่ๆ คือ ความคิด”<O:p</O:p
    </O:p
    (23) สมณศักดิ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามท่านว่าสมัยพระพุทธเจ้าไม่มีสมณศักดิ์ แต่ทำไม ปัจจุบันในเมืองไทย<O:p</O:p
    จึงมีมากนัก ดี หรือ ไม่ ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “สมณศักดิ์เป็นเรื่องของสังคม จะเรียกว่าดีก็ได้ หรือไม่ดีก็ได้ <O:p</O:p
    แต่เราอยู่ในสังคมของเขา”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (24) การศึกษาทำให้คน ดี ชั่ว จริงหรือไม่ ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามว่า ทำไมผู้ที่เคยบวชเรียนมามาก บางคนเมื่อสึกไปแล้ว กลับประพฤติตัว<O:p</O:p
    เหลวไหล ยิ่งกว่าชาวบ้านที่ไม่เคยบวชเรียนเลย หลวงพ่อตอบว่า<O:p</O:p
    “ คนเหล่านั้นเรียนแต่ตัวหนังสือ ไม่เคยเรียนรู้ตัวเอง ”<O:p</O:p
    </O:p
    (25) กราบผ้าเหลือง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านว่า เราเองไม่ทราบว่าพระองค์ไหนจะเป็นพระแท้ <O:p</O:p
    หรือ เป็นเพียงกาฝากของศาสนา เพียงเห็นผู้ที่โกนศีรษะห่มผ้าเหลืองก็กราบแล้ว<O:p</O:p
    ท่านให้ความเห็นว่า<O:p</O:p
    “ถ้าหากจะกราบเพียงผ้าเหลือง เวลาผ่านไปแถวเสาชิงช้า มิต้องกราบตามร้าน<O:p</O:p
    ที่ขายเครื่องพระ ตั้งแต่หัวถนนจดท้ายถนนหรือ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (26) มงคล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยถูกนิมนต์ไปเพื่อสวดมงคลในบ้านหลังหนึ่ง <O:p</O:p
    ท่านขอร้องให้เอากาละมังขนาดใหญ่ใส่น้ำ เพื่อจะทำน้ำมนต์แทนบาตร <O:p</O:p
    หลังจากท่านได้ทำให้แล้ว ท่านกลับเอาน้ำมนต์ในกาละมังสาดไปทั่วบ้าน<O:p</O:p
    แล้วบอกว่า<O:p</O:p
    “ ช่วยกันเก็บช่วยกันถู อันนี้แหละเป็นมงคล การที่เราใช้น้ำมนต์ประพรมตัวเราอาจ<O:p</O:p
    จะแพ้ลูกไม้ใบหญ้าที่ใส่ไว้ในน้ำมนต์ มีอาการผื่นคันขึ้นมาต้องเปลืองเงินทอง <O:p</O:p
    ซื้อหยูกยารักษาอีก แล้วมันจะเป็นมงคลได้อย่างไร ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (27) บังสุกุล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามท่านว่า “เวลาเราบังสุกุลให้ผู้ตาย เขาได้หรือไม่” ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ การบังสุกุลเป็นเพียงประเพณีที่คนอยู่ทำขึ้น เนื่องจากยังห่วงใยในคนที่ตายไปแล้ว<O:p</O:p
    ที่ว่าคนตายจะได้หรือไม่ ยังสงสัย แต่ผู้ที่ได้แน่ๆ คือ พระ เราคิดว่าพระ<O:p</O:p
    ทำหน้าที่แทนบุรุษไปรณีย์ได้หรือ ? ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (28) พระกราบโยม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านไปประเทศลาว ได้รับนิมนต์สวดต่ออายุให้แม่ของชาวบ้าน<O:p</O:p
    หลวงพ่อไม่สวด เจ้าภาพเขาจึงไม่ถวายจตุปัจจัย หลวงพ่อได้ชี้แจงเรื่องการต่ออายุ<O:p</O:p
    พ่อแม่ว่า ต้องกระทำดีต่อพ่อแม่ ไม่ใช่เพียงแต่มีการสวดมนต์แล้วหวังจะให้พ่อแม่มีอายุยืน<O:p</O:p
    และได้พาลูกๆ กราบพ่อแม่เป็นครั้งแรกตามท่าน ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ฮือฮากันว่า<O:p</O:p
    ผิดประเพณี ไม่เคยเห็นพระกราบโยม ซึ่งหลวงพ่อกล่าวว่า
    <O:p</O:p
    “ ที่อาตมาพาลูกกราบแม่ตามอาตมานั้น อาตมาไม่ได้กราบโยม แต่อาตมากราบตัวเอง<O:p</O:p
    ที่สามารถสั่งสอนคนให้เข้าใจได้ว่า การต่ออายุที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ”<O:p</O:p
    </O:p
    <O:p</O:p
    (29) ศาลพระภูมิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อข้าพเจ้าได้ถามถึงเรื่อง เจ้าที่ ศาลพระภูมิ ว่ามีอิทธิฤทธิ์ให้คุณให้โทษแก่<O:p</O:p
    เจ้าของบ้าน จริงหรือไม่ ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ จงคิดดู ถ้าเจ้าที่นั้น มีอิทธิฤทธิ์จริงแล้ว ทำไมจึงไม่เนรมิตรบ้านอยู่เอง <O:p</O:p
    เนรมิตรอาหารกินเอง ทำไมจึงต้องคอยให้คนสร้างให้ หรือคอยอาหารเซ่นไหว้ <O:p</O:p
    ซึ่งน้อยนิดเดียว จะกินอิ่มหรือ ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (30) พระเครื่อง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ก่อนที่จะทราบว่าท่านเป็นใคร ข้าพเจ้าได้พบท่านในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังสนใจ <O:p</O:p
    พระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง ได้เอาพระนางพญาพิษณุโลกมาอวด เพื่อที่จะได้ถือ<O:p</O:p
    โอกาสขอพระเครื่องจากท่านโดยอวดว่า พระนางพญาพิษณุโลกนี้เป็นพระเครื่อง<O:p</O:p
    ที่เก่าแก่สร้างมาตั้ง 700 ปีแล้ว ท่านถามว่า <O:p</O:p
    “ พระองค์นี้ทำจากอะไร ” <O:p</O:p
    เมื่อข้าพเจ้าตอบว่า ทำจากเนื้อดินเผา แกร่ง สีเนื้อมะขามเปียกมีแร่ต่างๆ <O:p</O:p
    ปรากฎอยู่เต็ม ท่านตอบด้วยความสงบว่า<O:p</O:p
    “ ดินนั้นเกิดมาพร้อมกันตั้งแต่สร้างโลก พระองค์นี้ ไม่ได้เก่าแก่ไปกว่าดิน<O:p</O:p
    ที่เราเหยียบก่อนเข้ามาในบ้านนี้หรอก ”<O:p</O:p
    เพียงประโยคเดียวที่ทำให้ข้าพเจ้าถอดพระเครื่อง ออกจากคอ ได้อย่างมั่นใจที่สุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มีคนถามท่านว่าแขวนพระดีหรือไม่ ท่านตอบว่า <O:p</O:p
    “ ดี แต่มีสิ่งที่ดีกว่าแขวนพระ จะเอาไหม ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในโอกาสหนึ่งมีคนถามเรื่องเครื่องรางของขลังของเขาว่า มีอานุภาพตามที่เล่าลือหรือไม่<O:p</O:p
    ท่านถามว่า “ คนทำตายหรือยัง ” เมื่อตอบว่าคนที่ทำได้ตายแล้ว เพราะ <O:p</O:p
    เป็นของมรดกตกทอดกันมา ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ คนที่ทำยังตายเลย แล้วเราจะหวังสิ่งนี้ ช่วยไม่ให้เราตายได้อย่างไร ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    </O:p
    (31) บวช - สึก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อข้าพเจ้าได้ผ่าตัดกระเพาะอาหารท่านออกเกือบหมด และได้แนะนำให้<O:p</O:p
    ท่านฉันอาหารจำนวนน้อยแต่บ่อยๆ ท่านเคยปรารภว่า<O:p</O:p
    “ ท่านปฏิบัติเช่นนี้ วินัยหย่อน จะมีคำครหาได้ อยากไปขอสึก เพราะ<O:p</O:p
    ท่านจะเป็นพระ หรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน จิตใจของท่านไม่เปลี่ยนเปลงแล้ว ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (32) รู้จักหลวงพ่อเทียนไหม ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านเคยเล่าให้ฟัง เมื่อตอนที่ท่านกำลังคอยรับการฉายรังสีที่โรงพยาบาลรามาธิบดี<O:p</O:p
    มีคนถามท่านว่า “หลวงพ่อรู้จักหลวงพ่อเทียนไหม” ท่านตอบว่า “ พอรู้จักบ้าง ”<O:p</O:p
    หลังจากที่ได้พูดคุยเรื่องธรรมะกับท่านแล้ว คนนั้นก็สงสัยจึงถามอีกว่า<O:p</O:p
    “ ท่านคือ หลวงพ่อเทียนใช่ไหม ” หลวงพ่อจึงตอบว่า “ ใช่ ”<O:p</O:p
    </O:p
    (33) เรื่องของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยมีการกล่าวถึงปัญหาพระบรมสารีริกธาตุว่าเป็น แก้ว ผลึก หรือ เป็น<O:p</O:p
    เพียงกระดูกที่ไฟเผา เมื่อได้ขอความเห็นท่านกลับตอบว่า<O:p</O:p
    “ เรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องของเรา<O:p</O:p
    เรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักเรื่องของเรา<O:p</O:p
    เมื่อรู้เรื่องตัวเองดีเแล้ว ถึงพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาหรือไม่ ก็ไม่เป็นปัญหา ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (34) อริยบุคคล <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อกล่าวว่า “ในทางร่างกาย อริยบุคคลกับคนธรรมดานั้นไม่ต่างกัน<O:p</O:p
    มีแต่เรื่องจิตใจเท่านั้นที่อริยบุคคลดีกว่า เหนือกว่าบุคคลธรรมดา”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    </O:p
    (35) ตามใจคนอื่น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามหลวงพ่อว่า คนเดี๋ยวนี้มีการศึกษาก็มาก แต่ทำไมจึงยังแก้ทุกข์ไม่ได้ <O:p</O:p
    ท่านตอบว่า<O:p></O:p>
    “ คนส่วนใหญ่ทำตามใจคนอื่น ไม่ทำตามใจตัวเองจึงเป็นเช่นนี้ ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (36) คนตายทำประโยชน์ได้น้อย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านได้พูดถึงการศึกษาปฏิบัติธรรมะว่า ควรทำตอนชาตินี้ ไม่ควรคอยตอนตายแล้ว<O:p</O:p
    “ คนตายแล้วทำประโยชน์ได้น้อย คนเป็นทำประโยชน์ได้มากกว่า”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (37) การไม่กินเนื้อสัตว์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยเรียนถามท่านว่า การไม่กินเนื้อสัตว์ทำให้การปฎิบัติธรรมะดีขึ้น หรือ ไม่<O:p</O:p
    ท่านตอบว่า
    <O:p</O:p
    “ การที่จะรู้หรือปฎิบัติธรรมะ ไม่ได้ขึ้นกับการกินอะไร หรือไม่กินอะไร ดูอย่าง<O:p</O:p
    เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งอย่าว่าแค่เนื้อเลย แม้กระทั่งอดข้าว อดน้ำจนเกือบตาย<O:p</O:p
    ก็ยังไม่รู้ธรรมะ เรื่องนี้เป็นเรื่องของปัญญา ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    (38) ติดสมาธิ<O:p</O:p
    </O:p
    ท่านเคยกล่าวเตือนว่า<O:p</O:p
    “ การที่ติดอยู่กับรูปแบบของสมาธิ จะเป็นวิธีใดก็ตาม เหมือนกับการ<O:p</O:p
    นั่งเรือข้ามฟาก แล้วไม่ยอมขึ้นจากเรือ ทั้งๆ ที่เรือถึงฝั่งตรงกันข้ามแล้ว<O:p</O:p
    เพราะยังหลงสนใจในตัวเรือ เครื่องเรืออยู่ ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    </O:p
    (39) ทำดี ทำชั่ว <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยถามท่านว่า มีคนสงสัย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จริงหรือไม่ <O:p</O:p
    ท่านให้ความเห็นว่า<O:p</O:p
    ดี ชั่ว เป็นเรื่องของสังคมกำหนด ดี ในที่หนึ่ง อาจจะเป็น ชั่ว <O:p</O:p
    อีกที่หนึ่ง เราควรพูดให้เข้าใจใหม่ว่า<O:p</O:p
    “ ทำดีมันดี ทำชั่วมันชั่ว ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (40) นักศึกษา <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบว่า คนที่ได้รับการศึกษานั้นมี 2 จำพวก พวกแรก <O:p</O:p
    เป็นผู้ที่รู้แจ้ง หรือรู้จริง เป็นบัณฑิต พูดแล้ว เข้าใจได้เลย อีกพวกหนึ่ง<O:p</O:p
    เป็นเพียงผู้รู้จักและรู้จำ ซึ่งเวลาพูดจะพูดมาก คำพูดอ้อมค้อม ฟุ่มเฟือย<O:p</O:p
    หรือไม่ ก็อ้างตำรามากมาย เพื่อชักจูงให้คนเชื่อ ทั้งนี้ เพราะตัวเองไม่รู้จริง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (41) อดีต ปัจจุบัน อนาคต<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านกล่าวอยู่เสมอว่า อดีตผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันนี้<O:p</O:p
    ที่เรายังทำอะไรได้ ถ้าทำดีวันนี้ วันนี้ก็จะเป็นอดีตที่ดีของวันพรุ่งนี้ และ วันพรุ่งนี้ก็จะ<O:p</O:p
    เป็นอนาคตที่ดีของวันนี้ที่ทำดีแล้ว จะไปห่วงอะไรกับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ และสิ่งที่ยังมา<O:p</O:p
    ไม่ถึงที่แก้ทุกข์ในปัจจุบันนี้ไม่ได้<O:p</O:p
    </O:p
    <O:p
    <O:p
    (42) อธิษฐาน </O:p
    ข้าพเจ้าเคยถามท่านว่า ตอนก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ หลังจากได้ฉันอาหาร<O:p</O:p
    ของนางสุชาดาแล้วได้ลอยถาด ปรากฎว่าลอยทวนกระแสน้ำ ซึ่งดูผิดธรรมชาติ<O:p</O:p
    ท่านมีความเห็นอย่างไร ท่านชี้แจงว่า<O:p</O:p
    “ ของทุกอย่างย่อมลอยตามกระแสน้ำ เรื่องนี้เป็นการทวนกระแสความคิดที่มีอยู่<O:p</O:p
    และเป็นอยู่ ถ้าเราคิดย้อนกลับขึ้นไปบ้าง ก็จะรู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร ”</O:p
    <O:p</O:p
    (43) ทำงานอย่างมีสติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อกล่าวอยู่เสมอว่า
    <O:p</O:p
    “ คนเรามีหน้าที่ ที่จะต้องทำในสังคมที่ตนอยู่ เป็นธรรมดา การปฎิบัติหน้าที่<O:p</O:p
    โดยมีสติจะได้ผลงานที่สมบูรณ์ ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    (44) แสงตะเกียง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในระยะหลังๆ ที่หลวงพ่อสุขาพไม่ค่อยดี ภรรยาของข้าพเจ้าได้ปรารภกับท่าน<O:p</O:p
    ด้วยความเป็นห่วงเรื่องการสอนธรรมะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วว่าจะเป็นอย่างไร<O:p</O:p
    ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ เรื่องนี้อย่าเป็นห่วงเลย ตราบใดที่ยังมีคนอยู่ก็จะมีคนรู้ธรรมะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว <O:p</O:p
    เพราะธรรมะไม่ใช่เรื่องผูกขาดเป็นของส่วนตัว ธรรมะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล แต่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นคนแรก ที่ทรงนำมาสอน และเผยแพร่ คนที่รู้ธรรมะนั้น เปรียบได้<O:p</O:p
    เหมือนกับตะเกียงที่จุดสว่างขึ้นในความมืด คนที่อยู่ใกล้จะเห็นชัด คนที่อยู่ไกลก็เห็น<O:p</O:p
    ชัดน้อยลง สักพักหนึ่งตะเกียงจะดับไปและจะมีการจุดตะเกียงให้สว่างขึ้นอีกเป็นครั้งคราว ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p
    (45) เรียนกับใคร</O:p
    ในการเข้ารักษาตัวครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลสมิติเวช ท่านปรารภว่าการเจ็บป่วยคราวนี้<O:p</O:p
    เป็นเรื่องที่หนัก ท่านเองก็ได้แต่เฝ้าดูลมหายใจของตนเองว่าจะหยุดเมื่อใด ข้าพเจ้าจึงได้<O:p</O:p
    ถามตรงๆ ว่าเมื่อสิ้นหลวงพ่อแล้วจะแนะนำให้ศึกษาธรรมะกับใคร จึงจะได้ผลดีที่สุด <O:p</O:p
    ท่านตอบว่า<O:p</O:p
    “ จงศึกษาธรรมะจากตัวเอง ดูจิตใจตัวเองดีที่สุด ”<O:p</O:p
    </O:p<O:p</O:p
    Copyright 1994 by Vatana Supromajakr<O:p></O:p>
    English translation by Bhikkhu Nirodho<O:p></O:p>

    <O:p

    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2010
  2. ณาฏาฌาร์

    ณาฏาฌาร์ สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    65
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22
    ปฏิบัติธรรมแบบเจริญสติด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย

    อนุโมทนา สาธุ ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ใช่หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ป่าวค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...