ความพยายามเพื่อหลุดพ้นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 2 พฤศจิกายน 2008.

แท็ก: แก้ไข
  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 28 มีนาคม 2549 19:25:40 น.-->ความพยายามเพื่อหลุดพ้นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์
    <!-- Main -->พระ สูตรวันนี้เป็นเรื่องของความศรัทธาครับ เมื่อบุคคลได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคแล้วเกิดศรัทธา ตั้งความปรารถนาเพื่อจะหลุดพ้น ครั้นพระผู้มีพระภาคหรือพระสาวกแสดงธรรม ย่อมตั้งสติ รวบรวมสมาธิเพื่อฟังพระธรรมเทศนาให้เข้าใจ เพื่อให้รู้หนทางปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้นับได้แล้วว่าเป็นความอัศจรรย์ และผู้เงี่ยโสตเพื่อฟังธรรมนี้ย่อมบังเกิดกุศลธรรมขึ้นแก่ตนมิใช่น้อย จะกล่าวไปไยถึงผู้ประพฤติธรรมอย่างจริงจังครับ

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม 17 ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ 8 ครับ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ***************************************************
    ๑. นิพพานสูตรที่ ๑

    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    [พระ ผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานถึงความมีอยู่ของอาตนะอันเป็นความดับทุกข์ อันสิ่งที่ยังมีปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย อาทิ ธาตุ4 อรูปฌาน ภพ ฯลฯ ไม่ปรากฏในอายตนะนั้น แต่อายตนะนั้น พระองค์ตรัสว่า มิใช่การมา การไป การตั้งอยู่ การเกิด ฯลฯ หาอารมณ์มิได้ เป็นที่สุดแห่งทุกข์]

    จบสูตรที่ ๑

    ๒. นิพพานสูตรที่ ๒

    [๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพาน
    นั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอัน
    บุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคล
    ผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ ฯ
    [เสริมจากพระสูตรก่อนหน้านี้ครับว่า นิพพานไม่มีตัณหา เป็นธรรมจริงแท้ เห็นได้ยาก ผู้รู้ ผู้เห็นย่อมแทงตลอดตัณหา ปราศจากกิเลส]

    จบสูตรที่ ๒

    ๓. นิพพานสูตรที่ ๓

    [๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ ฯ
    [เสริม จากพระสูตรที่แล้วครับ นิพพานอันเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น นั้นมีอยู่ เป็นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อาศัยปัจจัยปรุงแต่งจึงมีอยู่]

    จบสูตรที่ ๓

    ๔. นิพพานสูตรที่ ๔

    [๑๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้ให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ความไม่หวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    [เสริม จากพระสูตรที่แล้วครับ การเข้าถึงนิพพานอันเป็นธรรมชาติที่หลุดพ้น ทำได้โดยการการละตัณหาและทิฏฐิ ดังนี้ย่อมทำให้เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เมื่อปราศจากความหวั่นไหว ย่อมมีความสงบ เมื่อมีความสงบ ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ย่อมไม่มีการมาการไป การแสวงหาทั้งหลาย ดังนี้ ก็ไม่มีการเกิดในภพใหม่ ไม่มีโลกนี้โลกหน้าและโลกในระหว่าง เป็นที่สุดแห่งทุกข์]

    จบสูตรที่ ๔

    ๕. จุนทสูตร

    [๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ในที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของนายจุนทกรรมมารบุตรใกล้เมืองปาวา นายจุนทกรรมมารบุตรได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จมาถึงเมืองปาวาแล้ว ประทับอยู่ ณ อัมพวันของเราใกล้เมืองปาวา ลำดับนั้นแล นายจุนทกรรมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกรรมมารบุตรเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้นแล นายจุนทกรรมมารบุตร อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวัน พรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล นายจุนทกรรมมารบุตร ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป นายจุนทกรรมมารบุตรสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และเนื้อสุกรอ่อนเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน แล้วให้กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตสำเร็จแล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกรรมมารบุตร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้นแล้ว ตรัสกะนายจุนทกรรมมารบุตรว่า ดูกรจุนทะ เนื้อสุกรอ่อนอันใดท่านได้ตกแต่งไว้ ท่านจงอังคาสเราด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น ส่วนขาทนียโภชนียาหารอื่นใดท่านได้ตกแต่งไว้ ท่านจงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารนั้นเถิด นายจุนทกรรมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้วอังคาสพระผู้มีพระภาคด้วยเนื้อสุกรอ่อนที่ได้ตกแต่งไว้ และอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารอย่างอื่นที่ได้ตกแต่งไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะนายจุนทกรรมมารบุตรว่า ดูกรจุนทะท่านจงฝังเนื้อสุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้นเสียในบ่อ เราไม่เห็นบุคคลผู้บริโภคเนื้อสุกรอ่อนนั้นแล้วพึงให้ย่อยไปโดยชอบ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ นอกจากตถาคต นายจุนทกรรมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฝังเนื้อสุกรอ่อนที่ยังเหลือเสียในบ่อ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกรรมมารบุตรเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป ฯ

    [๑๖๓] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเสวยภัตของนายจุนทกรรมมารบุตรแล้ว เกิดอาพาธกล้า เวทนากล้า มีการลงพระโลหิต ใกล้ต่อนิพพาน ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่ทุรนทุราย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักไปเมืองกุสินารา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนักปราชญ์ เสวย
    ภัตตาหารของนายจุนทกรรมมารบุตรแล้ว อาพาธกล้า ใกล้ต่อ
    นิพพาน เกิดพยาธิกล้าขึ้นแก่พระศาสดาผู้เสวยเนื้อสุกร
    อ่อน พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายพระโลหิตอยู่ได้ตรัสว่า เรา
    จะไปนครกุสินารา ฯ

    [๑๖๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงแวะออกจากทางแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เร็วเถิด เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อยนัก จักนั่ง ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเหนืออาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวาย ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา เรากระหาย จักดื่มน้ำ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไปแล้ว น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่ง ไหลไปอยู่ แม่น้ำกุกุฏานทีนี้มีน้ำใสจืดเย็นสนิท มีท่าราบเรียบ ควรรื่นรมย์ อยู่ไม่ไกลนัก พระผู้มีพระภาคจักเสวยน้ำและจักสรงชำระพระกายให้เย็นในแม่น้ำกุกุฏานทีนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา เรากระหาย จักดื่มน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ถือบาตรเข้าไปยังแม่น้ำนั้น ฯ

    [๑๖๕] ครั้งนั้นแล แม่น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่ง ไหลไปอยู่ เมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก แม่น้ำนี้แลถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ท่านพระอานนท์เอาบาตรตักน้ำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก แม่น้ำนี้แล ถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อข้าพระองค์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเสวยน้ำเถิด ขอพระสุคตเสวยน้ำเถิด ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้เสวยน้ำ ฯ

    [๑๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำกุกุฏานที ครั้นแล้วเสด็จลงแม่น้ำกุกุฏานที ทรงสรงและเสวยเสร็จแล้ว เสด็จขึ้นแล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพวัน ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระจุนทกะว่า ดูกรจุนทกะ เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด เราเหน็ดเหนื่อยจักนอน ท่านพระจุนทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ มนสิการอุฏฐานสัญญา ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ณ ที่สำเร็จสีหไสยานั้นเอง ฯ

    ครั้นกาลต่อมา พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รจนาคาถาเหล่านี้ไว้ว่า
    [๑๖๗] พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำกุกุฏานที มีน้ำใสแจ๋วจืดสนิท
    เสด็จลงไปแล้ว พระตถาคตผู้ศาสดาผู้ไม่มีบุคคลเปรียบใน
    โลกนี้ มีพระกายเหน็ดเหนื่อยนักแล้ว ทรงสรงและเสวย
    แล้วเสด็จขึ้น พระศาสดาผู้อันโลกพร้อมทั้งเทวโลกห้อม
    ล้อมแล้วในท่ามกลางแห่งหมู่ภิกษุ พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดา
    ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงเป็นไปแล้วในพระธรรมนี้ เสด็จ
    ถึงอัมพวันแล้ว ตรัสเรียกภิกษุชื่อจุนทกะว่า เธอจงปูลาด
    สังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด เราจักนอน ท่านพระจุนทกะนั้น
    อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระองค์ทรงอบรมแล้ว ทรงตักเตือน
    แล้ว รีบปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้นทีเดียว พระศาสดามีพระกาย
    เหน็ดเหนื่อยนัก ทรงบรรทมแล้ว ฝ่ายพระจุนทกะก็ได้นั่ง
    อยู่เบื้องพระพักตร์ ณ ที่นั้น ฯ

    [๑๖๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้จะพึงมีบ้าง ใครๆ จะพึงทำความเดือดร้อนให้เกิดแก่นายจุนทกรรมมารบุตรว่า ดูกรอาวุโสจุนทะ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ดังนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของนายจุนทกรรมมารบุตรว่า ดูกรอาวุโสจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย แล้วปรินิพพาน ดูกรอาวุโสจุนทะ ข้อนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอกันๆ กัน มีวิบากเท่าๆ กัน มีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก บิณฑบาต ๒ เป็นไฉน คือ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเท่าๆ กัน มีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก นายจุนทกรรมมารบุตรก่อสร้างกรรมที่เป็นไปเพื่ออายุ เพื่อวรรณะ เพื่อสวรรค์ เพื่อยศ เพื่ออธิปไตย ดูกรอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของนายจุนทกรรมมารบุตรด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน บุคคลผู้สำรวมย่อมไม่ก่อ
    เวร ส่วนท่านผู้ฉลาดย่อมละบาป ครั้นละบาปแล้วปรินิพพาน
    เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะและโมหะ ฯ
    [ใน กาลก่อนหน้าพุทธปรินิพพานไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคและภิกษุหมู่ใหญ่จาริกไปถึงเมืองปาวา นายจุนทกรรมมารบุตรได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อรับภัต ของตนในวันรุ่งขึ้น ครั้งนั้นในวันต่อมานายจุนทกรรมมารบุตรได้จัดขาทนียโภชนียาหารอันประณีตและ เนื้อสุกรอ่อน พระผู้มีพระภาคทรงให้นายจุนทะกรรมมารบุตรถวายเนื้อสุกรอ่อนแก่พระองค์ ถวายขาทนียโภชนียาหารแก่ภิกษุอื่น เนื้อสุกรอ่อนที่เหลือให้ทิ้งเสีย พระองค์กล่าวว่าเนื้อสุกรอ่อนนั้น ไม่มีผู้ใดในโลก เทวโลก ตลอดจนพรหมโลกจะย่อยได้นอกจากพระองค์ ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเสวยเนื้อสุกรอ่อนแล้ว เกิดอาพาธกล้า เวทนากล้า มีการลงพระโลหิต ใกล้ต่อการปรินิพพาน พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่ทุรนทุราย พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์กล่าวแก่ท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักไปเมืองกุสินารา(อันเป็นสถานที่ที่พระองค์จะทรงปรินิพพาน) ครั้นพระองค์ถึงในแม่น้ำกุกุฏานทีซึ่งยังขุ่นอยู่เพราะเพิ่งมีขบวนเกวียน ผ่านไป ท่านพะอานนท์ไปตักให้พระองค์ซึ่งทรงเหน็ดเหนื่อยอยู่เสวยก็บังเกิดอัศจรรย์ ให้น้ำใส ไม่ขุ่นมัว เมื่อพระองค์เสวยน้ำจนพอมีพระกำลังแล้ว พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงเสด็จลงสรงและเสวยแล้ว เสด็จขึ้นแล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพวัน พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาบนสังฆาฏิ4ชั้นที่ท่านพระจุนทกะปูลาดถวายที่ อัมพวันนั้น เพื่อให้ทรงผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย ท่านพระจุนทกะก็ได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ ณ ที่นั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ว่า ใครๆจงอย่าทำความเดือดร้อนแก่นายจุนทกรรมมารบุตร บิณฑบาตทั้ง2คือบิณฑบาตที่พระองค์ได้รับก่อนจะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ กับบิณฑบาตครั้งสุดท้ายก่อนพระองค์จะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้นมีผลเสมอ กัน และมีผลและอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตแก่พระองค์ครั้งอื่นๆมากนัก นายจุนทกรรมมารบุตรก่อบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นไปเพื่ออายุ วรรณะ สวรรค์ ยศ และอธิปไตย]

    จบสูตรที่ ๕

    ๖. ปาฏลิคามิยสูตร

    [๑๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาวปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับเรือนสำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคาม ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรือนสำหรับพัก ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงสำคัญกาลอันควรเถิด ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จถึงเรือนสำหรับพัก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท เสด็จเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ประทับนังพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ แม้อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ ฯ

    [๑๗๐] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่เพราะความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๑ ฯ

    อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจรไปแล้ว นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๒ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไปหา นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๓ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๔ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๕ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๑ ฯ

    อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๒ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๓ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงใหลกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๔ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๕ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕ ประการนี้แล ฯ

    [๑๗๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกชาวปาฏลิคาม เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกชาวปาฏลิคามทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร ฯ

    [๑๗๒] ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ก็สมัยนั้นแล เทวดาเป็นอันมากแบ่งเป็นพวกละพัน ย่อมรักษาพื้นที่ในปาฏลิคาม เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่รักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลาง ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นเป็นจำนวนพันๆ รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ... เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ครั้งนั้น เมื่อปัจจุสสมัยแห่งราตรีนั้นตั้งขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่งว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ดูกรอานนท์ เราได้เห็นเทวดาเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพัน รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ณ ตำบลนี้ คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ... เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ดูกรอานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งที่ประชุมของเหล่ามนุษย์ผู้เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย ๓ อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิคาม จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ จากความแตกแห่งกันและกัน ๑ ฯ

    [๑๗๓] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดทรงรับภัตของข้าพระองค์ทั้งหลาย เพื่อเสวยในวันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วเข้าไปยังที่พักของตน ครั้นแล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตในที่พักของตน แล้วกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตเสร็จแล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่พักของมหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนี ธะและวัสสการะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดถวาย ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนากะมหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ ผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
    บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใด พึงเชิญ
    ท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริโภค
    ในประเทศนั้น ควรอุทิศทักษิณาทานเพื่อเทวดาผูสถิตอยู่
    ในที่นั้นๆ เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือ บูชา
    ย่อมนับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์
    บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตรแล้วก็ย่อม
    เห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ

    [๑๗๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและ วัสสการะด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ ติดตามพระผู้มีพระภาคไปข้างหลังๆ ด้วยตั้งใจว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกโดยประตูใด ประตูนั้นจักชื่อว่าโคตมประตู จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยท่าใด ท่านั้นจักชื่อว่าโคตมติฏฐะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกประตูใด ประตูนั้นชื่อว่าโคตมประตู พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำเต็มเปี่ยมพอกาดื่มกินได้ มนุษย์บางจำพวกแสวงหาเรือ บางพวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่ที่ฝั่งโน้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นมนุษย์เหล่านั้นบางพวกแสวงหาเรือ บางพวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำ คือ สงสาร และสระ คือ ตัณหา
    ชนเหล่านั้นกระทำสะพาน คือ อริยมรรค ไม่แตะต้อง
    เปือกตมคือกามทั้งหลายจึงข้ามสถานที่ลุ่มอันเต็มด้วยน้ำได้ ก็
    ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประมาณน้อย ก็ต้องผูกแพ ส่วน
    พระพุทธเจ้า และพุทธสาวกทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา เว้น
    จากแพก็ข้ามได้ ฯ
    [สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสกและอุบาสิกาทูลถวายเรือนสำหรับพักแก่พระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณียภาพ อุบาสกเหล่านั้นทราบว่าพระองค์ทรงรับแล้ว ได้ลาดเครื่องลาดทั้งปวง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เด็จเข้าสผู่เรือนพัก ทรงประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ภิกษุสงฆ์พากันนั่งพิงฝาทางด้านหลัง ผินหน้าไปทางเดียวกับพระผู้มีพระภาค ฝ่ายอุบาสกนั่งผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงเทศนาถึงโทษแห่งการทุศีล5ประการ คุณแห่งการมีศีล5ประการ ครั้นแล้วเหล่าอุบาสกพากันหลีกไปในกาลอันสมควร

    สมัยนั้นเองมหา อำมาตย์ในแค้นมคธชื่อสุนิธะและวัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงเห็นเทวดาเป็นอันมากรักษาพื้นที่บริเวณนั้นอยู่ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ด้วยว่าเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่รักษาพิ้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมน้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพิ้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลางย่อมน้อมไปเพื่อสร้าง นิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยรักษาพิ้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์น้อยย่อมน้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนิธะและวัสสการะจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามหาอำมาตย์ทั้งสองจะสร้างเมืองประหนึ่งว่าปรึกษาเทวดา ชั้นดาวดึงส์ไว้ทีเดียว พระองค์เห็นเทวดาเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพันรักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ดูกรอานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งที่ประชุมของเหล่ามนุษย์ผู้เป็นอริยะ เป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย3อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิยะ คือจากไฟ จากน้ำ และจากความแตกแยกกัน

    ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ทั้งสองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลนิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์เพื่อถวายขาทนียโภชนียาหารในวันรุ่ง ขึ้น พระองค์ทรงรับนิมนต์โดยดุษณียภาพ ครั้นถึงเวลา ภัตเสร็จแล้ว เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังที่พีกของมหาอำมาตย์ ลำดับนั้นมหาอำมาตย์ทั้งสองอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขา ทนียโภชนียาหารอันประณีต ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเสวยแล้วทรงเทศนาถึงการเคารพแก่เทวดา เทวดาผู้บุคคลอันเป็นบัณฑิตบูชาแล้วย่อมคอยรักษาประหนึ่งมารดาอนุเคราะ ห็บุตรให้ถึงความเจริญทุกเมื่อ

    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก เมืองทางประตูหนึ่ง ประตูนั้นต่อมาได้มีชื่อว่าโคตมะประตู ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พระองค์และภิกษุได้ข้ามแม่น้ำคงคาอันมีน้ำเต็มเปี่ยมโดยหายจักฝั่งหนึ่ง ทรงไปปรากฏอีกฝั่งหนึ่งโดยมิต้องใช้เรือหรือแพ]

    จบสูตรที่ ๖

    ๗. ทวิธาปถสูตร

    [๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกลไปในโกศลชนบท มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ ท่านพระนาคสมาละได้เห็นทาง ๒ แพร่งในระหว่างทาง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ นี้ทาง ไปกันตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า เมื่อท่านพระนาคสมาละกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า ดูกรนาคสมาละ นี้ทาง ไปกันตามทางนี้เถิด แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระนาคสมาละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ นี้ทาง ไปกันตามทางนี้เถิด พระเจ้าข้า แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า ดูกรนาคสมาละ นี้ทาง ไปกันตามทางนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคไว้ที่แผ่นดิน ณ ที่นั้นเอง ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ นี้บาตรและจีวร ดังนี้ แล้วหลีกไป ครั้นเมื่อท่านพระนาคสมาละเดินไปโดยทางนั้น พวกโจรในระหว่างทางออกมาแล้ว ทุบด้วยมือบ้าง เตะด้วยเท้าบ้าง ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย ครั้งนั้น ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก มีผ้าสังฆาฏิขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์เดินไปโดยทางนั้น พวกโจรในระหว่างทางออกมาแล้ว ทุบด้วยมือและเตะด้วยเท้า ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสียแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    บุคคลผู้ถึงเวท ผู้รู้ เที่ยวไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ปะปนกับ
    ชนผู้ไม่รู้ ย่อมละเว้นบุคคลผู้ลามกเสียได้ เหมือนนกกะเรียน
    เมื่อบุคคลเอาน้ำนมปนน้ำเข้าไปให้ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ละ
    เว้นน้ำ ฉะนั้น ฯ
    [ครั้ง หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเดินทางไกลไปในโกศลชนบท มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ ครั้นถึงทาง2แพร่ง ท่านพระนาคสมาละกราบทูลพระองค์ว่าจงไปทางนี้เถิดพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่าจงไปอีกทางเถิด ท่านพระนาคสมาละกล่าวอยู่3ครั้ง พระผู้มีพระภาคตรัสแย้งทั้งสามครั้ง ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคไว้ที่แผ่นดิน ณ ที่นั้นเอง แล้วเดินไปตามทางที่ตนปรารถนาจะไป ครั้งนั้นเอง พวกโจรได้ออกมากลางทาง ทุบตี เตะ ทุบบาตร ฉีกสังฆาฏิของท่านพระนาคสมาละเสีย ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก สังฆาฏิขาด กลับไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลเล่าถึงเรื่องนั้นเอง]

    จบสูตรที่ ๗

    ๘. วิสาขาสูตร

    [๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดา เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ

    พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถีหรือ ฯ

    วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ

    พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ

    วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ

    พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มีผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ

    วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตรและหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ

    พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลาย
    อย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
    เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร
    และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มี
    สัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความ
    สุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่
    โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขาร
    ให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ
    [ครั้ง หนึ่ง นางวิสาขามีผมเปียก ผ้าเปียก ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยว่าหลานของนางเสียชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่านางวิสาขาปรารถนาจะมีบุตรและหลานจนเต็มทั้งนครสาวัตถี ในนครสาวัตถีวันหนึ่งๆย่อมมีผู้กระทำกาละ หากเป็นเช่นนั้นนางก็ต้องมีผมเปียก ตัวเปียกเช่นนี้ทุกวันเป็นแน่]

    จบสูตรที่ ๘

    ๙. ทัพพสูตรที่ ๑

    [๑๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสุคต บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานแห่งข้าพระองค์ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรทัพพะ เธอจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกแล้วปรินิพพาน เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นสู่เวหาส นังขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกแล้วปรินิพพาน สรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่ปรากฏ เหมือนเถ้าแห่งเนยใสหรือน้ำมันที่ถูกไฟเผาไหม้อยู่ ไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่ปรากฏ ฉะนั้น ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    รูปกายได้สลายแล้ว สัญญาดับแล้ว เวทนาทั้งปวงเป็น
    ธรรมชาติเย็นแล้ว สังขารทั้งหลายสงบแล้ว วิญญาณถึงความ
    ตั้งอยู่ไม่ได้ ฯ
    [ครั้ง หนึ่ง ท่านทัพพมัลลบุตรผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นเลิศในทางเป็นผู้จัด เสนาสนะ ทูลแก่พระผู้มีพระภาคว่ากาลบัดนี้เป็นเวลาที่ท่านจะกระทำกาละ เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว ท่านพระทัพพมัลลบุตรได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วเหาะขึ้นสู่เวหา เข้าสมาบัติอันประกอบด้วยเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ออกจากสมาธิแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เพลิงได้ลุกขึ้นเผาสรีระท่านจนสิ้นไม่เหลือแม้แต่เถ้าและอัฏฐิ ดังนี้แล]

    จบสูตรที่ ๙

    ๑๐. ทัพพสูตรที่ ๒

    [๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกแล้วปรินิพพาน เมื่อสรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏ เขม่าก็ไม่ปรากฏ เหมือนเถ้าแห่งเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาไหม้อยู่ ไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่ปรากฏ ฉะนั้น ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ ข้าม
    เครื่องผูกคือกามและโอฆะได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุขอันหา
    ความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟ
    ลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะสัมฤทธิ์เป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วย
    ค้อนเหล็ก ดับสนิท ย่อมรู้ไม่ได้ ฉะนั้น ฯ
    [พระ ผู้มีพระภาคตรัสเล่าแก่ภิกษุถึงเรื่องที่ท่านทัพพมัลลบุตรดับขันธ์เข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพาน โดยเหาะขึ้นสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิ เข้าสมาบัติอันมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ออกจากสมาธิแล้วปรินิพพาน เพลิงได้ลุกขึ้นเผาสรีระท่านจนหมดสิ้น ปราศจากเขม่าและชี้เถ้า ไม่ปรากฏเป็นอัฏฐิ ดังนี้แล]

    จบสูตรที่ ๑๐

    จบปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘

    ***************************************************

    <!-- End main-->

    ที่มาข้อมูล : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aragorn&month=03-2006&date=28&group=3&gblog=38



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...