ความจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 18 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ความจริงมี ๒ อย่าง คือ จริงโดยสมมุติ และจริงโดยปรมัตถ์
    จริงโดยสมมุติ ก็เป็นความจริงโดยชาวโลกยอมรับ และเป็นที่รู้กัน แต่ไม่มีสภาวะ
    จริงโดยปรมัตถ์ เป็นความจริง จริงๆ มีสภาวะจริงๆ
    สมมุติสัจจะ
    สมฺมุติ ( ถ้อยคำ , โวหาร , การแต่งตั้ง ) + สจฺจ ( ความจริง )
    ความจริงโดยโวหารตามการแต่งตั้งขึ้น หมายถึง ความจริงโดยสมมุติ ไม่ใช่ความ
    จริงโดยปรมัตถ์ เพราะไม่มีสภาวลักษณะในตัวเอ งเป็นการบัญญัติแต่งตั้งขึ้นตามความ
    คิดนึกของจิต เช่น คน สัตว์ บ้านเมือง นคร ประเทศ พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ยา ตายาย
    มนุษย์ เทวดา พรหม ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสมมุติบัญญัติทั้งสิ้น

    ตามหลักพระวินัยมีว่า อาหารและยา มีส่วนผสมของสุราอยู่ ภิกษุฉันได้
    แต่มีข้อแม้ว่า ต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่นของสุราปรากฏ คือ ปริมาณต้องไม่มาก
    ซึ่งอาจทำให้เมื่อดื่มแล้วถึงความเมา ศีลข้อห้า ของคฤหัสถ์ทั้งหลายก็มีนัย
    เดียวกันครับ
    ทานเป็นยาแก้ไอ แม้มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อยู่บ้างก็ไม่ชื่อว่าผิดศีลข้อสุราเมรัย
    แต่ถ้ารู้ว่ากินแล้วเมา กินเข้าไปจำนวนมากๆ อย่างนี้เข้าข่ายการผิดศีล..
    ขณะที่หยิบยามา ไม่มีจิตคิดขโมย คิดว่ายาที่ตู้สำหรับทุกคนที่ไม่สบาย ขณะมาที่วัด
    หรือคิดว่าถือวิสาสะ จะบอกท่านภายหลัง ลักษณะที่ว่ามานี้ ไม่เป็นการขโมย
    ศึกษาจากพระวินัยปิฎก เพื่อเป็นเครื่องพิจารณาเพิ่มเติม ก็จะทำให้มีความเข้าใจ
    ว่า สำหรับพระภิกษุ ดื่มน้ำเมา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าดื่มน้ำดังต่อไปนี้ไม่เป็น
    อาบัติ คือ ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑ ภิกษุดื่มน้ำเมาที่
    เจือลงในแกง ๑ ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลงในเนื้อ ๑ ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลงในน้ำมัน๑
    ภิกษุดื่มน้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑ ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของเมา๑
    ดังนั้น จากกรณีที่ดื่มยาแก้ไอ จึงไม่ผิดศีลข้อที่ ๕ ครับ

    สีลวเถรคาถา
    ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ

    จาก ... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา
    เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ ๔๒๕
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ ๔๒๕

    ๑. สีลวเถรคาถา
    ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ

    พระสีลวเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
    [๓๗๘] ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน
    บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวง
    มาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์ เมื่อปรารถนาความสุข ๓
    ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑
    ความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วยว่า
    ผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล
    ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้ทุศีล
    ย่อมได้รับการติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีล
    ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ ศีลเป็นเบื้องต้น
    เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธาน
    แห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์
    สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่
    หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน ของพระพุทธะทั้งปวง
    เพราะฉะนั้น พึงชำระ ศีลให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบ-
    มิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะ
    อันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นศักดิ์ใหญ่ เป็นกลิ่นหอม
    อย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้
    สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียง
    อันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอัน
    ประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คน-
    พาล ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลา
    ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์
    โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป
    ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญ
    ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับ
    ความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถาน
    ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด
    ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้
    เพราะศีลและปัญญา.

    จบสีลวเถรคาถา.
    พระสีลวเถระ (แปลว่าพระผู้มีศีล) ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
    สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
    พระองค์นี้ ท่านเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์ มีชื่อว่า สีลวะ
    เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์จะฆ่าท่าน จึงยกขึ้นสู่ช้างตัวตกมัน
    ดุร้าย แม้จะพยายามด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ไม่สามารถจะฆ่าท่านได้ เพราะท่านเกิดในภพ
    สุดท้าย จะไม่มีอันตรายต่อชีวิตในระหว่างที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความเป็นไปนั้น จึงตรัสสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะไป
    นำสีลวกุมาร มา พระเถระ ก็ได้นำสีลวกุมาร มาพร้อมด้วยช้างด้วยกำลังแห่งฤทธิ์.
    สีลวกุมารลงจากช้าง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีศรัทธา ขอบวชในพระพุทธศาสนา
    อบรมเจริญวิปัสสนา ไม่นาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ อยู่ในรัฐโกศล
    ต่อมา พระเจ้าอชาตศัตรูทรงสั่งบังคับให้ราชบุรุษทั้งหลายไปฆ่าท่าน แต่ราชบุรุษ
    เหล่านั้นไปยังที่อยู่ของท่านแล้ว ได้ฟังธรรมกถาที่ท่านแสดง เกิดความสลดสังเวช
    มีจิตเลื่อมใส แล้วบวช, ท่านพระสีลวเถระ ได้แสดงธรรมแก่บรรพชิตเหล่านั้น
    ด้วยคาถาทั้งหลาย ตามที่ปรากฏแล้วนั่นแล.
    (หมายเหตุ : สรุปตามข้อความในอรรถกถา ครับ)
    พระพุทธศาสนา หมายถึง คำสอนของท่านผู้รู้ คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศ เป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุดในโลก กว่าที่พระองค์จะได้ตรัสรู้
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาถึงสี่อสงไขย
    กับอีกแสนกัปป์ (ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมาก) เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ทรงมี
    พระมหากรุณาธิคุณที่จะเกื้อกูลสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระองค์จึงทรงแสดง
    พระธรรม เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูกเป็นปัญญาของตนเอง เพื่อเข้าใจ
    ในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวง ตามความเป็นจริง
    แต่เนื่องจากพระธรรม
    ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจได้ ต้องใช้เวลา
    ในการศึกษา ในการฟัง ในการอบรมเจริญปัญญา อันยาวนาน
    เพราะฉะนั้นแล้ว จึงต้อง
    มีความอดทนที่จะฟัง ที่จะศึกษา ที่จะสนทนา สอบถามจากกัลยาณมิตรผู้ที่มีความเข้า
    ใจธรรม ต่อไปอย่างไม่ท้อถอย
    "...พระกุมาบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
    การฟังเป็นความดี
    ความประพฤติมักน้อยเป็นความดี
    การอยู่โดยไม่ห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ
    การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี
    การทำตามโอวาทโดยเคารพเป็นความดี
    กิจมีการฟังเป็นต้นนี้
    เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล..."
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359
    [๓๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
    ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้
    ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
    ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
    เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญาอินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ
    ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่าง คือ ปัญญา แสงสว่าง
    คือปัญญา ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
    ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น.

    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    อาราธนาศีล กรวดน้ำอุทิสบุญ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้า
    ตามถนนหนทาง และวันนี้ได้ไปใส่บาตรตอนเช้าก่อนใส่ก็น้อม
    จิตท่องคำถวายสังฆทานภัตาหาร เป็นการถวายสังฆทาน
    และระหว่างที่ระอากาศหนาวกำกำหนดว่าเย็นหนอ และได้
    กล่าวคำอโหสิกรรม เป็นอภัยทาน ได้ให้อภัยทาน
    และกำหนดอิริยาบทย่อย และปิดไฟตามที่สาธารณะ
    และวันนี้ตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั้งสมาธิ สวดมนต์
    กล่าวคำอโหสิกรรมตามแบบบทสวดมนต์ พาหุงมหากา
    และอฐิษฐานจิตเป็นอฐิษฐานบารมีอีก เมื่อเช้า
    ก็อฐิษฐานจิต และตั้งใจว่าจะศึกษาการรักษาโรคเพื่อ
    รักษาผู้ป่วยต่อไป และจะฟังธรรม ศึกษาธรรม ด้วย
    และจะทำความสะอาดที่สาธารณะ เจริญอนุสติหลายอย่าง
    ขอให้อนูโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญโครงการต่อบุญมหากุศลร่วมต้อนรับกองทัพธรรมยาตรา
    ขอเชิญชวนพี่น้องแท็กซี่คุณธรรมทุกรุ่น ทุกคน ร่วมปฏิบัติภารกิจครั้งประวัติศาสตร์
    เข้าร่วมต้อน รับกองธรรมทัพธรรมยาตรา กว่า 200 ชีวิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
    แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    ตลอดถึงการสร้างสันติภาพถาวรให้แก่โลก ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
    โดยการเดินเท้าธรรมยาตราธุดงค์ ระยะทางยาวไกลกว่า 700 กิโลเมตร
    นำโดยแม่ทัพธรรม หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ เดินทางกลับจากการเดินธรรมยาตรา
    ธุดงค์ในประเทศอินเดีย รวมระยะเวลากว่าหนึ่งเดือน ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2552
    ถึง ท้ายเดือนมกราคม 2553
    ติดต่อขอลงทะเบียน โทร. 02-496-1160-9

    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงได้มรรคผลนิพพานเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...