ความคิดเห็นส่วนตัวคับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 28 ธันวาคม 2008.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    หลังจากที่ผมห่างหายจากบอร์ดนี้ไปนานพอสมควร
    เหตุเพราะช่วงระยะเวลาหลังๆมานี้
    ผมได้เข้ามาอ่านกระทู้ต่างๆที่ได้มาพูดคุยกัน
    ซึ่งกระทู้บางอย่างก็มีการนำเสนออะไรที่ไม่ค่อยถูกกับจริตของผมมากนัก หรือบางครั้งก็นำเสนอสิ่งที่หลุดไปจากประเด็นของ" พุทธภูมิ และ โพธิสัตย์"

    นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมไม่ค่อยจะเข้ามาดูมาศึกษาบอร์ดนี้ซักเท่าไหร่ ต่างจากเมื่อก่อนที่บอร์ดนี้เป็นเวบแรกที่ผมจะต้องเข้ามาเปิดอ่านดู เมื่อเปิดเครื่องคอม...

    สิ่งที่ผมอยากจะฝากบอกให้แก่เพื่อนๆผู้มีใจเป็นธรรมทุกคนก็คือ การศึกษา การรับฟังธรรมอะไรมาก็แล้วแต่ สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรมีคือ ความศรัทธา ..

    แต่ถึงกระนั้น หากว่าเรามีแต่ความศรัทธาเพียงอย่างเดียว ซึ่งแม้ว่ามันจะมีมากมายอย่างยิ่งยวดซักเพียงใด ก็ไม่สามารถที่จะส่งให้เราไปถึงฝั่งได้ หากเรายังขาด" ปัญญา"

    ปล. ทุกสิ่งที่ผมได้กล่าวไปล้วนมีความบริสุทธิ์ใจ และเป็นห่วงถึงทิศทางของพระพุทธศาสนาของเราในภายภาคหน้า หากมีผู้ที่ใจเป็นกัลยณมิตร มีข้อเสนอคิดเห็นอย่างไร ได้โปรดได้ช่วยชี้แนะผมด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2008
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อย่าคิดมากครับท่าน...อย่างน้อยก็มีพรหมวิหาร 4 อย่าลืมนะครับตัวสุดท้ายคือ อุเบกขา......เราเอาแต่สิ่งที่ดีๆไปแล้วกันนะครับ....
     
  3. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ....
    ขอรวมแสดงความเห็นด้วยนะคับ..<label for="rb_iconid_30">[​IMG]</label>

    คุณกล่าว ถูกต้องแล้วนะคับ สาธุด้วย...<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> เพียงแต่ยังไม่หมด...
    เพราะ ศรัทธา คือความเชื่อ...เมื่อเขื่อแล้วก็ต้องลงมือ กระทำ คือความเพียร...
    เพียรกระทำสิ่งใด เจริญสติไงคับ...เมื่อเจริญสติ ก็จะได้ สมาธิ และ ปัญญาขึ้นอยู่กับว่า เจริญสติแบบไหน..

    ธรรมะชุดนี้เรียกว่า อินทรีย์5 ... คือ1. ศรัทธา 2.ความเพียร 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา...
    เมื่ออินทรีย์5 ทำให้พร้อม ทำให้บริบูรณ์ เกิดความสมดุลย์เสมอกันทั้ง 5 ตัว
    เมื่อนั้น อินทรีย์ 5 ก็เปลียนชื่อเรียก เป็น พละ 5 คือธรรมที่มีกำลังมากการปฏิบัติธรรม จะก้าวหน้าได้ดี ทั้ง 5 ข้อต้องสมดุลย์...ห่างมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากเกินไปความก้าวหน้าก็จะไม่เกิดนะคับ ...เช่น .ศรัทธา มีมากไป ก็งมงายต้องใช้ปัญญา คุมศรัทธา ...ความเพียร มีมากไปก็บ้าบิ่น เพียรมากกล้ามากตึงมาก....สติ มีมากเกิน ก็จดจ่อเพ่งจ้อง..ก็จะหนักไปทาง สมถะกรรมฐาน ...สมาธิ มีมากเกิน ก็ติดสุข ติดณาน.. จมแช่ดื่มด่ำ ในสมาธิสุดท้านก็ไปแค่ พรหม.. ปัญญามีมากเกิน คิดมากก็ฟุ้ง ก็ต้องเอาสติ เข้ามาระลึกรู้ เว้นแต่ ตัวภาวนามยปัญญานะคับ ...
    ทั้ง5ข้อ คือ ศรัทธา .. ความเพียร .. สติ .. สมาธิ .. ปัญญา ..ผมหมายถึง เฉพาะที่มีในคนเริ่มปฏิบัตินะคับ ... แต่ถ้าผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทุกอย่างเขาสมดุลย์ดีแล้วคับ...ถึงพร้อมแล้ว ความก้าวหน้าในธรรม ก็มีตามกำลังแหละคับ...

    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>สาธุ ขอให้เจริญในธรรมคับ <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
     
  4. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94

    โมทนาด้วยครับ

    "จะก้าวหน้าได้ดี ทั้ง 5 ข้อต้องสมดุลย์...ห่างมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากเกินไปความก้าวหน้าก็จะไม่เกิด"

    อธิบายได้ถ่องแท้มากเลยครับ ทุกอย่างต้องสมดุลย์กัน...

    ขอกุศลแห่งการเผยแผ่ส่วนนี้ของคุณ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" จงมีแต่สมบูรณ์พร้อมทั้งทางโลกและทางธรรม และขอให้ท่านผู้ที่ได้อ่านได้ประสบพบเจอธรรมนี้ จงมีจิตเป็นกุศลธรรม บรรลุมรรคผล สำเร็จพระโพธิญาณโดยเร็วนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2008
  5. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    อนุโมทนาครับ


    ไม่ใช่ว่าตนดีหรือประเสริฐแต่อย่างไรแต่
    บางครั้งก็เห็นว่าเป็นเช่นคุณ
    ตอนนี้เข้ามาอ่านก็เจอเรื่องไม่น่าสนใจเหมือนเมื่อก่อนเช่นกัน(รู้สึกว่าจะเยอะขึ้นด้วย 555)

    บางกระทู้ก็เพ้อเจ้อ ขาดการไตร่ตรอง ไม่สมกับเป็นผู้ศึกษาพุทธ ผู้รู้ ด้วยปัญญา
    ยิ่งมากคนก็มากความ บางคนก็มีมานะถือตน ยึดความคิดเห็นตน บางคนก็เถียงกัน เข้าใจกันไปคนละอย่าง บางที่ความคิดนั้นแตกต่าง พุทธภูมิในความหมายของมหายาน กับหีนยานทั้งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่บางคนต่างเข้าใจแตกต่างกันไปกัน
    บางทีมีลัทธิแปลกๆ ที่เข้าใจว่าเป็นพุทธ
    จนบางทีก็ คิดว่า เออ คนเรานี่ศรัทธาได้ขนาดนี้เน้อ ดีแล้วๆ อนุโมทนาในแรงศรัทธาส่วนดี ในการทำความดี คิดดี


    แต่ก็ไม่อาจเพ่งโทษเขาได้ เพราะศรัทธา สติ ปัญญา และภูมิธรรมแตกต่างกัน
    ได้แต่เปิดใจกว้างวางใจเป็นกลาง แล้วกล่าวแสดงความคิด ตามที่ตนเห็นสมควร
    ตามที่ตนเองผู้รู้น้อย พึงรู้ และไตร่ตรองดีแล้ว

    คิดถึงข้อดีที่เราได้พบกับกัลญาณมิตรสิครับ ผมเองเข้ามาอ่านข้อความที่น่าสนใจและพบปะพูดคุยกับกัลญาณมิตร
    ผมเองก็บางทีได้ ปิติกลับไปด้วย มาเติมธรรมะด้วยครับ

    เราก็พิจารณาเอาว่า ผู้ใดพึงสนทนา มิพึงสนทนา
    ธรรมใดเข้าได้กับจริต
    ธรรมใดเป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง
    คุณ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"กล่าวไว้ก็ชอบแล้ว
    อนุโมทนาในความดีที่เกิดขึ้นครับ

    เจริญยิ่งในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2008
  6. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94

    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณปรมิตรมากครับ ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ ก็จะฝึกฝนหมั่นปฏิบัติบนแนวทางตามหลักธรรมคำสอนขององพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ขอให้คุณปรมิตรก็อย่าย่อท้อเช่นกันนะครับ
    โมทนาด้วยครับผม
     
  7. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ..อนุโมทนาด้วย เช่นกันคับ...ทั้งคุณ ปรมิตร และคุณ gacktky
    ..ความเห็นส่วนตัวเหมือนกันนะคับ..อิอิ
    ในเรื่องการสนทนาในสถานที่นี้...มีความเห็นตรงกันกับทั้งสองท่านคับ

    แต่ผมมีข้อแยกย่อยเพิ่มเติมนิดนึ่งคับ..
    เราผู้สนใจธรรม ปฏิบัติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาใน ชีวิตเรา ล้วนเป็นเครื่องฝึก เครื่องทดสอบ ว่าเราปฏิบัติมาแล้วนี้ ยังมีกิเลสใด ลงเหลือในจิตในใจของเรามั่ง..
    โดยส่วนตัว ผมไม่ดูไรมากนะคับ ดูแค่ 3ตัวเอง คือ โลภ โกรธ หลง
    โดยพิจารณาเข่นนี้ว่า ..
    1.ความโลภ..คือความอยากได้อยากมี..ไม่ใช่แค่ในวัตถุสิ่งของเท่านั้น..แม้แต่
    อยากให้คนเข้าใจตามเรา...
    อยากให้เขาได้เห็นธรรม...
    อยากให้เขาปฏิบัติธรรม..
    และอีกสารพัดอยาก...ถ้าสติเราทันกับความอยากที่เกิด เราก็หยุดการกระทำต่างๆที่จะนำมาซึ่งการโต้แย้ง...เคารพในสิ้นของเขาที่จะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้.. เราก็ "วาง" ไม่เอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ มาโต้แย้งเพื่อสนอง "กิเลส ตัญหา"ของตัวเอง..
    ถ้ามีผู้เห็นพร้อง กันความเห็นเรา เราก็สนทนาต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อธรรม และการปฏิบัติ ซึ่งกันและกัน.. ไม่ใช่เพื่ออวดรู้ในภูมิธรรมที่เรามี..เพราะ "ภูมิธรรม" ไม่ได้วััดกันที่ความรู้ในธรรม...แต่วัดกันที่ การละกิเลสในตัวเราของเราเอง ดังนั้นจึงเป็นปัจจะตัง
    เมื่อ..เรารู้เท่าทันกิเลสเรา มันก็ จบ...เราสอบผ่านไปนึ่งครั้ง อิอิ..
    2.ความโกรธ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะโมโหโกธาอะไรใหญ่โต....แค่ จิตถูกกระทบ มีความขุ่นใจ ไม่ชอบใจ..นั้นก็กิเลสเกิดแล้ว...เราก็ดูกิเลสนั้น จบมันดับ (ส่วนใหญ่..พอสติทัน มันก็จะเบาลงและดับลงอย่างรวดเร็ว).. ความขุ่นใจดับ เราก็ต้องขอบคุณ คนที่ทำให้เราขุ่นใจนะ.. เพราะ เขาได้ช่วยให้เรา มีเครื่องฝึก อิอิ
    3.ความหลง หรือโมหะ อันนี้อาจจะดูยากนิดนึ่งนะ สำหรับผม ดูตัวมานะ คือถือดีในความคิดตัวเองว่าเราถูก คนอื่นผิด... ซึ่งก็คือ ตัวหลงนี้ จะกับกำอยู่ ด้านหลังทั้งความโลภ และโกรธ เป็นตัวบงการ..ดั่งนั้นจิตเรา เท่าทัน สองตัวแรก...วางได้ ก็ถือว่า ผ่านไปอีกหนึ่งครั้ง
    ...สรุป..เราพิจารณาได้ น้อมเอามาเป็นเครื่องฝึกได้(โยนิโสมนสิการ) เราฝึก เรารู้ เราเห็นกิเลสเรา..เราก็ได้..ได้เห็นความไม่เที่ยงไงคับ ...ส่วนตัวผม เห็นว่า ไม่มีไรเที่ยง.แม้แต่กิเลส ก็ไม่เที่ยง เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ทุกอย่างก็เปลี่ยน... อนิจัง ทุกขัง อนัตตา..จริงๆๆ
    ...ระบาย ความเห็นส่วนตัวซะเยอะเลย อิอิ... ต้องขอบคุณ คนตั้งกระทู้นี้ อีกครั้งนะคับ...
     
  8. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    อยากนำเสนอแบบไหน โพสต์เลยครับ จะได้ดีสำหรับคนใหม่ๆ และคนอื่นด้วย

    ยังไงเวป คนเล่นเยอะ อาจจะมีข้อความถูกใจไม่ถูกใจบ้าง เป็นธรรมดา

    มาช่วยกันทำให้เวปน่าอยู่ มีความรู้ มีสาระ ให้คนอื่นๆ ได้อ่านกันดีกว่าไหมเอ่ย
     
  9. walaphako

    walaphako ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +1,599
    อยู่ที่เราจะเลือกเอาไปใช้มากกว่านะคะ สิ่งที่อยู่ในนี้มีความหลากหลายเปรียบเสมือนเป็นโลกใบเล็กๆใบนึง แล้วถ้าเราทนในนี้ไม่ได้นั่นหมายถึงว่าเรายังไม่ผ่านบททดสอบบทใหญ่ๆที่อยู่ภายนอกรอบๆตัวเรานะ เพราะโลกภายนอก ที่มีผู้คนหลากหลายทั้งความคิด ศาสนา ฯลฯ ถ้าเราผ่านตรงนี้ไปได้ มันก็เท่ากับเราผ่านข้อสอบไปข้อสอบหนึ่งแล้วนะ มีสิ่งดีๆหลายๆอย่างมากมายที่เรานำไปใช้ได้น่ะ ลองเปิดใจ แล้วรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันมั่งก็ดีนะ ไม่ต้องห่วงคนอื่น กลัวว่าเค้าจะได้อะไรๆไปผิดๆ เพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ปล่อยวาง ช่วยเท่าที่ช่วยได้นะคะ
     
  10. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    ขอบคุณมากๆสำหรับทุกความคิดเห็นที่ได้เข้ามาร่วมกันสนทนาครับ ^^

    ขอบคุณคุณ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" ที่กรุณาได้แยกย่อยข้อธรรมให้ละเอียดลึกลงไปอีก เพื่อให้ผู้อ่านมีระดับภูมิปัญญามีพัฒนาการระดับที่สูงขึ้นไปอีกขั้นนึง นับเป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับ

    และในส่วนของหลักธรรมที่ผมยังยึดถือปฏิบัติอยู่โดยส่วนตัว และใช้ปฏิบัติควบคู่กับแนวทางข้างต้น คือ หลักของมหาปณิทาน 4 หรือความตั้งมั่นอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ ที่โพธิสัตว์ทุกท่านควรมีคับ ซึ่งปณิทานต่างๆมีดังนี้

    1.เราจักโปรดสรรพสัตว์ให้หมดสิ้น
    2.เราจักกำจัดกิเลสให้สูญ
    3.เราจักศึกษาพระธรรมให้แจ่มแจ้ง
    4.เราจักบรรลุพุทธมรรคให้จงได้


    ผมขอคัดลอกคำกล่าวจากพระอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งผมเคารพ ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า

    "จตุรปณิธานนี้ คือสิ่งที่มหายานิกชนต้องเปล่งประกาศต่อพระบรมศาสดาในอารามทุกค่ำเช้า เพื่อตอกย้ำและเตือนใจให้มุ่งมั่นดำเนินความตั้งใจที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 4 นี้ให้สำเร็จ โดยมีพระพุทธองค์เป็นสักขีพยาน และมีโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นแบบอย่างกำลังใจ จึงกล่าวได้ว่า โพธิสัตว์ที่แท้มิเป็นเพียงรูปปั้นบนแท่นบูชา สวมอาภรณ์สีบริสุทธิ์ หรือประดับองค์อลังการด้วยเพชรนิลจินดา และประทับบนดอกบัวเท่านั้น แต่คำสอนในหลักธรรมมหายานหมายมุ่งให้หมู่มนุษย์ทั้งปวง ได้เป็นโพธิสัตว์ทั่วกัน ให้เป็นโพธิสัตว์ที่มีชีวิต เคลื่อนไหวได้และทำประโยชน์ได้จริง

    ดังนั้น ความเป็นโพธิสัตว์ ตามคติธรรมมหายานจึงหมายถึงทุกคน ตลอดไปจนถึงสัตว์ทั้งปวง ที่ในภายหน้าย่อมบรรลุพุทธภูมิด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่ใครจะบรรลุก่อนเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่รู้จึงชี้แนะผู้ไม่รู้ ผู้ที่มีจึงให้ผู้ไม่มี ผู้ที่แข็งแรงจึงพยาบาลผู้ป่วยไข้ เป็นต้น หากจักพิจารณาสังคมปัจจุบันก็มีผู้ดำเนินตามอย่างโพธิสัตว์อยู่มากมาย เช่นการสังคมสงเคราะห์ สาธารณะกุศลในรูปแบบต่างๆที่ล้วนน่าวันทนาสรรเสริญอย่างยิ่ง แต่ยังเป็นการอนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ในเบื้องต้น เช่นไรถึงกล่าวว่าเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น เพราะความทุกข์ทั้งปวงนั้นที่จริงไม่มีรูปร่างลักษณะ แต่คนเรามักนำความรู้สึกพลัดพรากจากสิ่งที่รัก การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ หรือการไม่ได้สมกับกิเลสของตนว่าเป็น "ความทุกข์" ตรงข้ามสิ่งใดๆที่สาแก่กิเลสปรารถนาของตนก็เรียกเอาว่าเป็น "ความสุข"

    สรุปได้ว่า ความทุกข์หรือความสุขนั้น ล้วนเกิดจากใจของเราเอง ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่เสวยทุกข์หรือสุขนั้นอยู่เลย การช่วยเหลือตามวิถีพุทธคือการช่วยให้พ้นทุกข์ตลอดไป พ้นทุกข์อย่างยั่งยืน มิใช่เพียงครั้งคราว

    ฉะนั้น การช่วยเหลือสรรพสัตว์แบบยั่งยืนถาวรตามอย่างโพธิสัตว์นั้น จะต้องดำเนินไปบนวิถีหรือกฎเกณฑ์ที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ ๑.มหากรุณา จะต้องมีความตั้งใจยิ่งใหญ่ ต้องการให้เขาพ้นทุกข์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรือมีข้อแม้ใดๆ ๒.มหาปัญญา จะต้องรู้ซึ้งถึงสิ่งที่ทำว่าเป็นประโยชน์หรือโทษเช่นไร แล้วจึงทำไปด้วยสติปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ผิดพลาด ๓.มหาอุปายะ จะต้องรู้ว่าการกระทำใดที่แม้จะทำแต่น้อยแต่ให้ผลมหาศาล ซึ่งแต่ละบุคคลก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือที่แตกต่างกันอีกเป็นรายๆ ไป เป็นต้น

    เราผู้เป็นพุทธบริษัท ผู้ที่เรียกตนว่าเป็นพุทธสาวกหรือพุทธบุตรทั้งปวง ควรเร่งไตร่ตรองการกระทำและศรัทธา ว่าถูกต้องสมธรรมดีอยู่หรือไม่ เป็นไปเพื่อการช่วยเหลืออย่างยั่งยืนแท้จริงหรือยัง หรือเป็นการซ้ำเติมให้ย่ำแย่ลงไปอีก ตัวอย่างเช่น แม้การสังคมสงเคราะห์ หรือการสาธารณกุศลนั้น นับเป็นสิ่งจำเป็นและยังประโยชน์มากในการแก้ไขปัญหาสังคม ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาชั้นสูงขึ้นต่อไป ถือเป็นธรรมข้อมหากรุณา แต่อาจยังขาดมหาปัญญาและมหาอุปายะ หากเราจักใช้หลักความยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ข้างต้นประกอบกันตามสมควรแก่เวลาและโอกาส เพื่อส่งเสริมให้เพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย ได้มีสติปัญญาตามรู้ธรรม ไม่หวั่นไหวต่อความสุขและความทุกข์ในชีวิตจนเกินไปนัก เพียงแค่รู้ปล่อยวาง ละอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตลงเสียบ้าง ก็ไม่มีอะไรที่จะได้หรือเสีย ไม่มีสุขหรือทุกข์ ทั้งไม่มีเขาและไม่มีเรา

    เพียงเท่านี้ เราจักดำเนินชีวิตตามวิถีของโพธิสัตย์แบบยั่งยืนในทันที อันเป็นสิ่งที่ผู้คิดจักช่วยเหลือต้องค้นหาและพัฒนาอุปายวิธีให้เหมาะสมอยู่เรื่อยไป และผู้ต้องการรับความช่วยเหลือก็จำต้องพัฒนาตนเองให้ง่ายต่อการช่วยเหลือด้วยเช่นกัน "


    จากคำกล่าวข้างต้นที่ท่านได้กล่าวไว้นี่แหละครับ เป็นจุดประกายที่ให้ผมนำเป็นแนวทางนำไปประพฤติปฏิบัติ ซึ่งก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อตัวผมเพียงคนเดียวเท่านั้น หากแต่ปฏิบัติเพื่อเหล่าสรรพสัตว์ทุกสิ่งเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารด้วยครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2008
  11. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    คับ...เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับคุณwalaphako คับ

    ยินดีคับคุณgacktkyถือว่าแลกเปลี่ยนข้อธรรมความเห็นกันคับ..อิอิ

    ผมเองเน้น ตามแนวสติปัฏฐาน 4 เจริญอานาปานสติ+การดูจิตในชีวิตประจำวัน
    ตามแกะตามแงะ กิเลสตัวเองไปเรื่อยๆ..จิงๆก็ไม่ได้วุ่นวายไนมากหรอกคับ แค่ตามรู้กิเลสที่เกิด-ดับ...คอยป้อนข้อมูลตาม สภาพธรรมที่เป็นตามจิงให้จิตเขาเรียนรู้ของเขาเอง
    เพราะตัวสัญญา คือความจำได้หมายรู้ เขามีหน้าที่จำอยู่แล้ว(จำด่ะ555) มนุษย์เรามีกระบวนการเรียนรู้เองอยู่แล้ว... สำคัญว่าต้องเห็นธรรมตามจริงเท่านั้นเองคับ.. โดยเอาอานาปานสติ เป็นที่อยู่ของผู้รู้..นั่งดูไปเรื่อยๆๆมันก็จะเข้าใจธรรม(ธรรมชาติของจิต)แ้ล้วก็ละวางเอง เมื่อสติมันตามกิเลสทัน คือเห็นกิเลสตั้งแต่เริ่มเกิด - จนดับ โดยเราไม่ต้องไปตามใจกิเลสมัน..นั่งแกล้งกิเลสตัวเองทั้งวัน 555
    ..ปัจจุบันขณะสำคัญนะคับ...เพราะเป็นเวลาส่วนใหญ่ที่เราจะได้ฝึกอยู่ตลอดเวลา..
    อ้อ..ผมเน้นตามรอยพระพุทธองค์.. และได้แต่ตั้งจิตไว้ใครมีบุพกรรมรวมกันมาเมื่ออ่านข้อความของผมแล้วให้เกิดความเข้าใจ นำไปปฏิบัติได้..และไม่ขอยึดติดกับผู้ใด ผ่านมาก็ผ่านไปตามวาระแห่งกรรม..
     
  12. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    เห็นด้วยครับคุณ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" ผมเองเป็นผู้เดินทางไกล
    รู้สึกว่าตนเอง เดินทางมานานในสังสารวัฏฏ์ ทำไงถึงจะได้พ้นจาก ความบีบคั้น ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจทั้งหลาย จึงเดินทางหา สิ่งที่เรียกว่า การพ้นทุกข์ มิได้มีจุดมุ่งหมายอื่นใด ศึกษาคำสอนของปราชญ์ และศาสดาทั้งหลายผู้กล่าวไว้ว่า ทำให้ความทุกข์หายไปได้
    ชาตินี้เองก็เช่นกัน ด้วยกุศลที่เคยทำมา
    มาได้สดับคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ผมอาจเคยได้ยินได้ฟังมา บ้างในพระองค์ก่อนๆ อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันแฮะ) แล้วมันชอบใจ รู้สึกว่าเป็นความสุขที่แท้จริง เพราะธรรมทั้งหลายผมเองก็มิอาจรู้เอง จึงได้ศึกษาคำสอนจากครูบาอาจารย์มีแนวๆทางเช่นคุณเหมือนกัน ผมชอบใจในธรรมของการดูจิต(หลวงพ่อปราโมทย์)และมีวิธีการทำสมาธิสองแบบ คือในชีวิตประจำวันก็ตามรู้แนวสติปักฐานสี่ ตามกำลังหรือสติที่ทำได้ สำหรวจจิตตนเองเป็นระยะ
    ส่วนสมถะก็ทำตามเวลาครับ
    กุศลอื่นก็ตามโอกาส
    ตอนนี้สวดมนต์บ่อยๆ ศึกษาพุทธวจนะให้จำได้หมายรู้ให้ฝังลงในสันดาน สัญญา เพื่อภพหน้า ได้ยินคำสอนหรือเสียงสรรเสริญ จะไดนึกได้ ว่านี่คือสัจจะธรรม ทำให้สนใจขึ้นมา
    เหมือนคนที่เคยได้ยินเสียงแตร เมื่อเดินทางไกล ได้ยินเสียงแตรก็มั่นใจว่าเป็นเสียงแตร ไม่คิดว่าสเป็นเสียงสังข์ เพราะที่ทำให้ผมสนใจธรรมะ คือ ผมเองตอนเด็กๆเมื่อไปเล่นที่โรงเรียนติดกับวัดแล้วได้ยินเสียงทำวัตรเย็นกันเลยเข้าไปดู เลยคิดว่าเราได้ศึกษาและสนใจจากการสวดมนต์ เมื่อครั้งก่อนเก่าเราคงเคยสวดมนต์มาก่อน แล้วเริ่มสนใจและศึกษามาตั้งแต่บัดนั้น
    จากนั้นก็เจริญบ้างเสื่อมบ้างขยันบ้าง ขี้เกียจบ้างตาม ไตรลักษณ์ 555

    อนุโมทนากับคุณgacktky ขอให้ความปราถนาที่ดีงามจงสำเร็จโดยเร็ว สาธุ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้ปรินิพพานนานแล้วอันข้าพเจ้าถือเป็นที่พึ่ง
    ข้าพเจ้าจะตั้งใจศึกษาและปฏิบัติเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้โปรดสั่งสอนข้าพเจ้าและหมู่สัตว์
    เพราะเหตุที่ได้โอกาสเกิดเป็นมนุษย์และอยุ่ในร่มโพธิ์แห่งศาสนาพระโคดม

    ข้าพเจ้าขอรู้เท่าทันสติ กิเลสและอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยล้อมกรอบโดยศีล
    สมถะเป็นบางสภาวะ
    ขอการปฏิบัติของข้าพเจ้านั้น จงเป็นเหตุให้ได้อยู่ในกระแส แห่งพระนิพพาน
    แม้ไม่ได้ในภพนี้ก็จงอยู่ในสันดาน สัญญาและวาสนา เพื่อเป็นนิสัย ปัจจัยเพื่อความรู้พร้อม และเพื่อความพ้นไปจากกิเลสและกองทุกข์ต่อไป เทอญ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2008
  13. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ส่วนแนวความคิดและปณิธาณ
    นะครับเราไม่ควรยึดติดว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นของเรา
    หรือทำสิ่งใดแล้วจะได้อย่างนั้น จงทำให้ดีที่สุดกับทุกคน

    ไม่ควรถือตัวว่าเราดีกว่า เสมอหรือเลวกว่าเพราะการยึดติดย่อมมีความคาดหวัง เมื่อหวังไว้มากก็ย่อมเสียใจมาก เพราะเหตุที่ว่า คนเราย่อมมีการพลัดพรากเป็นธรรมดา จึงควรตั้งจิตกลางๆรู้เท่าทันสัจจะธรรม
    ดั่ง คำสอนของพระศาสดา ที่ว่า การประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรักของเจริญใจก็เป็นทุกข์ มีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ นั่นเอง หากเปรียบเทียบกับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ คือการเกิด การแก่ การเจ็บไข้ และการตาย เรื่องเหล่านั้นย่อมเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย
    เมื่อพิจารณาตามสัจจะธรรม นั้นแล้ว เราพึงไม่ยึดถือตัวตน
    เพราะเราเป็นแค่จิตดวงเดียวที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกายเนื้อจากบิดาและมารดา เกิดมาเพื่อประกอบกรรมดี สร้างกุศลเสริมบารมีเพื่อเป็นเสบียงจนกว่าจะข้ามพ้น สังสารวัฏ มนุษย์ผู้เข้ามาในชีวิตล้วนเป็นไปตามอำนาจของกรรม ที่มีเหตุและปัจจัย เพียงแค่เราใช้ปัญญาพิจารณาว่าจะก่อกรรมใดร่วม ยับยั้ง หรือวางเฉยกรรมใดเพื่อไม่ให้เกิดกรรมใหม่ เท่านั้น ต่อไปหากควบคุมไม่ได้ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรม ตามเหตุตามปัจจัยของมันเท่านั้นเอง หากไม่แน่ใจก็ให้ยึดถือความดี ประกอบกรรมดีกับทุกตน ทุกคน ซึ่งท่านหรือสัตว์เหล่านั้นต่างก็ เวียนว่ายตายเกิด ไปด้วยกัน ย่อมมีสุข มีทุกข์ มีเสียใจ มีดีใจ มีผิดหวัง ต่างดิ้นรนไปตามผลกรรมและอำนาจของกิเลส ต้องเผชิญทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ควรถือโทษโกรธเคือง ไม่พึงสร้างศัตรู เราควรก่อแต่มิตร และกัลญาณมิตรที่ดีงาม หยิบยื่นสิ่งดีๆให้กัน ไปจนกว่าจะ ข้ามพ้นความทุกข์ได้ หากแต่บางเวลาเราจะมีโอกาสได้ประสพ พบบุคคลที่ลอยบาปบำเพ็ญบุญ พบผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเราจะอาศัยคำชี้แนะและแนวทางของผู้รู้แจ้ง แล้วเดินตามรอยพระศาสดา ผู้เรามั่นใจว่ารู้จริงรู้แจ้ง นั่นคือพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เดินทางไปสู่พระนิพพาน ตามทางที่เราได้เลือกไว้ หากไม่พบพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านั้น ด้วยอำนาจกุศลกรรม ที่เราได้ปฎิบัติจะชักนำให้ เรามีอุปนิสัย ปัจจัยในการเดินทางสูพระนิพานเบื้องหน้า ดังนั้นเมื่อเรากำหนดทางได้แล้ว จึงมุ่งสู่พระนิพพาน บำเพ็ญกุศลตามอัตภาพ แม้ไม่บรรลุในชาตินี้ก็ขอให้บรรลุในชาติต่อๆๆไป สาธุ
     
  14. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,792
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ศรัทธาอย่างเดียวไม่พอเีพียงครับ ต้องมีความเพียรเข้าร่วมด้วยครับ
     
  15. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุคับ คุณปรมิตร..ขออนุโมทนาในกุศลจิตด้วยนะคับ... สาธุจริงๆ
    ไม่ต่างกันเลยนะคับ เห็นด้วยทุกประการ...คุณคิดได้ดั่งนี้ จิตคุณ ก็เบาแล้ว เบาจากกิเลสเครื่องร้อยรัด...เครื่องถ่วงจิตเรา...สาธุ
    ...
    คุณปฏิบัติเช่นไรอยู่ อ่ะคับ...แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติกัน...เพื่อเอาไป ปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์
    ....
    ในวิกฤตที่ทุกข์หนัก.. ย่อมมีโอกาส เสมอ...ผมเองบ่อยครั้ง ที่จิต พลิกมเห็นธรรม ในขณะที่จิตทุกข์อย่างหนักนั้นอยู่...ผมถึงว่า ทุกอย่างในชีวิต คือ เครื่องทดสอบ คือเครื่องฝึก.. ทำให้จิตเราพัฒนา ลอยเหนือกิเลสขึ้นไปเรื่อยๆๆ อ่ะคับ
    ...
    สาธุ อนุโมทนาด้วย อีกครั้งคับ... (อิอิ เกาะบุณ คุณไปด้วยคน)
     
  16. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    หึหึ หามิได้ครับ หามิได้ บุญผมเองไม่รู้ว่าจะพอให้คุณเกาะหรือไม่ บางทีผมอาจได้เกาะคุณแทนซะอีกละมั้งครับ
    อนุโมทนาครับ
    จิตใจไม่ได้เบาบางจากกิเลสเลย แรกๆก็อยากหยุดมัน หลังๆดูครับ เพราะรู้ว่ากิเลสอยู่กับผมมานานมาก ผมเองมีสติบ้าง ไม่มีสติบ้างแต่กิเลสนั้นยังอยู่ทุกชาติภพ ยากที่จะเอาชนะผู้ช่ำชองเช่นนั้นได้ จึงได้อุบายใหม่ที่น่าสนใจคือตามดู ตามรู้ แต่ไม่ทำตามหึหึ หรือทำด้วยเหตุผลและสติใหม่ให้ก่ออุศลกรรมครับ

    อันว่ากิเลสนั้น ผมก็เห็นทุกวันบางวันเห็นเยอะบ้างบางวันน้อยบ้าง
    กุศลจิตก็เจริญบ้างเสื่อมบ้างตามไตรลักษณ์ ธรรมที่ได้กล่าวไปนั้น

    ครับผมเองพิจารณาธรรมที่กล่าวไปนั้นด้วยการวางใจให้เป็นกลาง
    อ่านบ่อยๆ ตั้งใจบ่อยให้อยู่ในสันดาน
    แต่ใจยังไม่ยอมรับ ก็รู้ว่าใจยังไม่ยอมรับ ถ้ายอมรับผมคงอยู่ในกระแสไปแล้ว

    การดูจิตในชีวิตประจำวันนั้น ผมยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่นัก
    ส่วนธรรมะในชีวิตประจำวันนั้นแล้วแต่ผัสสะจะมากระทบ ส่วนมากจะเห็นความขัดเคือง ความไม่พอใจ ความโกรธได้บ่อย พอเห็นแล้วจิตมันดีใจเพราะเห็นแล้ว ความโกรธนั้นย่อมครอบงำเรามิได้ ดีใจก็รู้ว่าดีใจ
    แล้วดูว่ามันไม่ใช่เรา ดูว่าเกิดขึ้นแล้ว ถ้าดูแล้วไม่สงบก็ต้องทำสมถะเพ่งหรือพิจารณาโทษ ให้สงบลง หรือถ้าไม่หายผมก็ ทำอย่างอื่น(ทำใจออกนอก ไปดูอย่างอื่น) ตอนที่ผมเองไม่ได้ยินคำสอนท่านอาจารย์ปราโมทย์นั้น ผมเองจะ ทำความรู้สึกออกมาดู ตัวเองเหมือนดูเพื่อนที่กำลังโดนผัสสะ แต่ถ้าไม่ทัน อามรณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นแล้วก็จะพิจารณาตาม แต่ตอนนี้ก็ไม่ต้องทำจิตเช่นนั้น
    ดูเลยว่า ผัสสะมากระทบแล้ว จิตมีอะไรมาบทบังความประภัสสร

    หรือว่างๆ ก็สำรวจดูว่าตอนนี้จิตอยู่ไหน อะไรครอบงำอยู
    อารมณ์ใดเป็นหัวหน้าเด่นๆ

    ทำงาน เดินไปเดินมาก็แล้วแต่ว่าจิตจะเห็นอะไร จิตมีสติดูอะไรก็ดูอย่างนั้นไป พอจะทำงานก็ ทำสมถะทำงานต่อ
    พอพูดกะคนไข้ก็ดูว่าอารมณ์อะไรเกิดขึ้น สนุกดีครับ หึหึ

    เวลาอ่านหนังสือก็ ทำสมถะคิดตามเรื่องที่อ่าน ไม่ให้ฟุ้งไปอย่างอื่น
    พอจะนอนก็สวดมนต์ ทำสมถะรูปแบบ(นั่งสมาธิ เดินจงกรม)เล็กน้อยตามสติ กำลัง
    ตอนแรกๆทำเพราะอยากได้อยากดี แต่ก็ไม่เห็นว่าจะได้อะไรซักที สงสัยเราคงไม่เคยทำมาก่อนเก่าหลังๆ ทำเพื่อบูชาพระศาสดา ไม่ได้ก็ไม่เสียใจ
    เป็นการเสริมกำลังในการทำสมถะในชีวิตประจำวัน(กำหนด คิด หรือ กำหนดข่มให้นิ่งเวลาที่จะต้องข่ม เพื่อมิให้เกิดอกุศลกรรม อกุศลจิตเกิดได้แต่มิบังควรให้เกิดอกุศลกรรมครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2009
  17. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ************************

    เอาบุญมาฝากคับ... หยุดงานช่วงปีไหม่...ไปบวชเนกขัม ถือศีล8
    ปฏิบัติธรรมมา 3วัน

    ****************************

    ต้องขอโทษคุณปรมิตรด้วยคับ...ที่ไม่ได้เข้ามาคุยต่อ...
    หลังจากได้อ่านของคุณ ตามแนวทางที่คุณปฏิบัติอยู่...ก็ถูกต้องแล้วอ่ะคับ...เหมือนกับที่ผมปฏิบัติอยู่เหมือนกัน...
    ...เพียงแต่เวลาที่ผมเห็นจิตตัวเอง...ผมจะถอยออกสติมา ระลึกรู้ลมที่ผ่านเข้าออกโพล่ง จมูก..ระลึกรู้ลม พร้อมกับรู้คิดนั้นไปด้วย...เหมือนจิตมี 2ดวงอ่ะ...พอถึงตรงนี้...ก็จะเห็นอาการของจิต..ก็อย่างที่คุณเล่านั้นแหละคับ...สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...