ควรเพียรเพ่ง VS ไม่(เผลอ)เพ่ง...เชิญทุกท่านสนทนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    แล้วทำไม
    มีสติรู้ความรู้สึกที่เกิดกับมือ กำ แบ แล้วไม่ต้องเข้าฌานก็ว่าไม่ผิด
    แล้วมีสติรู้ ความรู้สึกที่เกิดกับจิต ไม่ฝึกฌานแล้วกลับว่าไม่ถูกหล่ะครับ
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    กับคำว่ามีสติรู้ความรู้สึกที่เกิดกับจิต ไม่ฝึกฌานแล้วกลับว่าไม่ถูก นั้นก็เพราะว่าไม่ถูกครับง่ายๆเลยคือ เห็นความแตกต่างไหมครับของสองข้อความที่คุณสงสัยผมเอาแค่ตัวหนังสือก็เห็นความแตกต่างแล้วครับ บรรทัดแรกของคุณนั้น เกิดเพราะมีเจตนากำหนดนำไปสู่การกำ และ แบ มือ จิตระลึกรู้ตลอดเพราะเริ่มด้วยเจตนากำหนดสติ ผมมองว่าฌานนั้นที่เขียนมาน่าจะมีความหมายไม่ตรงกันเพราะฌานเกิดได้จากอายตนะก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มที่จิตเลยในความหมายนี้นะครับ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีหรือไม่ต้องมี ส่วนมีสติรู้ความรู้สึกที่เกิดกับจิต ไม่ฝึกฌานแล้วกลับว่าไม่ถูกหล่ะครับ เอากันซื่อๆเลยนะครับ อะไรทำให้คุณแน่ใจว่าอารมณ์หรือความรู้สึกของจิตที่เกิดขึ้นนั้นๆมันเป็นเรื่องเดียว ความรู้สึกเดียวหรืออาการเดียว หรือตอนนี้คุณกำลังพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวอยู่ ซึ่งสิ่งนั้นเรียกว่า ความรู้สึก หรือ เวทนา หรือ อาการของจิต ถ้าคุณไม่มีตัวเทียบ หรือ อารมณ์ไว้คอยเปรียบเทียบนี้เป็นประโยชน์อันหนึ่งเท่านั้นของฌาน ซึ่งเรียกว่า เอกัตคตารมณ์ สงบปราศจากนิวรณ์ เพราะระหว่างที่คุณคิดว่ารู้ความรู้สึกของจิตด้วยสติ แต่หากไม่รู้ว่าอะไรคือนิวรณ์อะไรคืออาการอันเป็นหนึ่งเดียว เท่ากับว่าไปไม่ได้เลยข้ามไปไม่ได้เลยเพราะเป็นไปไม่ได้เลยครับ จึงต้องมีฌานเพื่อเป็นเครื่องป้องกันและเปรียบเทียบอารมณ์หรืออาการของจิตขณะพิจารณา นี่เป็นการเว้ากันซื่อๆนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนทัศนคติครับ
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒
    (ความตอนหนึ่ง)
    จากหนังสือมนฑปอนุสรณ์แห่งวัดหินหมากเป้ง


    ฌาน และ สมาธิ นี้ จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลกต่างกันที่ฌานนั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสมาธิอยู่ แต่ไปเพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียกว่าความเห็นเป็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌานส่วนสมาธินั้นเมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ
    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้นหรือพิจารณาอารมณ์อันใดก็ตามจนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์นั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญานเสีย จิตไม่รวมเป็นภวังค์เรียกว่า ฌานกลับเป็นสมาธิ
    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าสู่ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาเอาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน
    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติไม่เป็นการเสียหายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิอย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณาฌานนี้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็นฌานเสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ในทิฏฐธรรมของท่าน
    ฌาน และ สมาธินี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มีสมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอว

    ส่วนเรื่องตามหัวข้อกระทู้ผมขอยกเอา ลิ้งค์นี้ให้ทุกท่านได้อ่านนะครับว่า เพ่ง คือ อะไร ควรหรือไม่ควรอย่างไร และเผลอเป็นยังไงลองคลิ๊กดูครับ http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum55.html

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2009
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    เพ่ง ในสมัยโบราณ แปลว่า
    การระลึก การนึกถึง ด้วยอารมณ์ใจสบายๆ ยิ่งใจสบาย ยิ่งถือว่าเพ่งได้ดีมากเท่านั้น
    เพ่งกสิณ คือ ให้นึกถึงภาพกสิณนั้นด้วยใจที่สบาย
    เพ่งไปในร่างกาย ก็คือ ให้พิจารณาร่างกายด้วยใจสบายๆ
     
  5. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ waritham





    ลองอ่าน ที่ท่าน เจ้าคุณๆ พระพรหมคุณาภรณ์ (สุดยอดปริยัติ) ท่าน สรุปไว้ก่อนน่ะครับ


    ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
    ท่านจำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภท และโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น
    สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต
    กามสุขกับเนกขัมมสุข
    โลกียสุขกับโลกุตรสุข
    สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น

    แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่ายไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่วิธีแบ่งเป็น 10 ขั้น หรือความสุข 10 ขั้น ซึ่งมีที่มาหลายแห่ง แบ่งดังนี้
    (ม.ม. 13/100/96 ฯลฯ)

    1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยกามคุณ 5

    2. ปฐมฌานสุข - สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

    3. ทุติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยทุติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

    4. ตติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา

    5. จตุตถฌานสุข - สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขา
    และเอกัคคตา

    6. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูปสัญญาได้โดยสิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงลับไปหมด ไม่มนสิการ
    นานัตตสัญญา นึกถึงแต่อวกาศอันอนันต์เป็นอารมณ์

    7. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงวิญญาณอันอนันต์เป็นอารมณ์

    8. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์

    9. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันถึงภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

    10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด


    ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข 10 ข้อนี้ ก็รวมเข้าได้เป็น 3 ระดับ คือ

    1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม

    2. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข -สุขเนื่องด้วยฌาน หรือ สุขเนื่องด้วยสมาบัติ 8 แยกเป็น 2 ระดับย่อย

    2.1 สุขในรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4

    2.2 สุขในอรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4

    3. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ


    สุขทั้ง 10 ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น
    หากแต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประณีตลึกซึ้งยิ่งกว่ากัน ขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆมีส่วนเสียหรือแง่ที่เป็นทุกข์แ ทรกอยู่ด้วยมาก เมื่อเป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น

    ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุขและด้านที่มี ทุกข์เข้ามาปน คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็นโทษ- (เรียกเป็นศัพท์ว่าทั้ง อัสสาทะ และ อาทีนวะ)

    นอกจากนั้นยังให้รู้จักทางออก ทางรอดพ้นหรือภาวะเป็นอิสระที่ดีกว่าซึ่งไม่ขึ้นต่อส ่วนดี ส่วนเสียนั้นด้วย - (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ)

    เมื่อเห็นโทษของสุขที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า
    เมื่อรู้จัก และได้ประสบความสุขที่ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุขที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่งบรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ

    อย่างน้อยก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกิ นไป

    เมื่อใดจิตหลุดพ้นเด็ดขาดแล้วตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุขที่หยาบอีกต่อไป
    คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดี ยว

    ข้อนี้ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิ บัติธรรม

    ๆลๆ






    หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต(ที่สุดของปฏิบัติ) ท่านก็แยกชัดเจนน่ะครับ ...ระหว่าง กามสุข กับ สุขจากสมาธิ


    พระธรรมเจดีย์ :
    สุขมีประมาณน้อยได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจาย์มั่น :
    ได้แก่ สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกามที่เรียกว่า อามิสสุข นี่แหละสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สุขอันไพบูลย์ได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ ฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน ที่เรียกว่านิรามิสสุขไม่เจือด้วยกาม นี่แหละสุขอันไพบูลย์





    ลอง อ่าน ข้างบนอีกครัง



    คำว่า อยาก ไม่จำเป็นต้องเป็น กาม เสนอไปน่ะครับ

    คำว่า อยาก ที่คุณใช้ ...จะตรงกับคำว่า กำหนัด หรือ ติดใจ


    อยาก หรือ ติดใจ ที่ไม่เกี่ยวกับ กาม ....ก็มี


    จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์


    กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม
    (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)

    รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต
    (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

    อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ
    (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)


    การติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน และ การติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน คือ ติดสุขในสมาธิ ...ท่าน ก็เรียกว่า ราคะ เช่นกัน.... แต่ ไม่ใช่ กามราคะ


    ดูเหมือน คุณจะกำลัง ใช้คำว่า กาม แทนคำว่า ราคะ ???


    กาม กับ ราคะ ในภาษาพูดของคนไทย จะ มีความหมายเดียวกัน.... แต่ ในรากภาษาบาลี กาม ไม่ใช่คำๆเดียวกับ ราคะ ครับ.



    การติดสุขในสมาธิ ขั้น รูปฌาน เรียกว่า รูปราคะ ...ไม่ได้เรียกว่า รูปกาม ครับ


    การติดสุขในสมาธิ ขั้น อรูปฌาน เรียกว่า อรูปราคะ ...ไม่ได้เรียกว่า อรูปกาม ครับ



     
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    การเจริญ จิตตานุปัสสนา โดยไม่ได้ฝึกสมาธิภาวนาจนบรรลุโลกียฌาน มาก่อน ...ถ้า จะนับว่า ถูก หรือ ผิด...ถือว่า ไม่ผิดครับ .



    แต่ การฝึกสมาธิภาวนา โดยเฉพาะอานาปานสติ มีอานิสงส์ช่วยให้ การเจริญสติปัฏฐานสี่ บริบูรณ์.

    นี่ เป็นพระพุทธพจน์ เลยครับ


    อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

    ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

    ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้


    ส่วนที่ว่า อานาปานสติ ช่วยให้เจริญ สติปัฏฐานสี่ ได้ดีขึ้น จริงหรือ???... ตรงนี้ ต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือปฏิบัติครับ




    ขออภัย ด้วยน่ะครับ ที่ตอบช้า...งานภาระมาก
     
  7. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ Bull_psi ครับ



    เรื่อง ฌานโลกุตระ ที่เป็นผลอันเกิดตามมาเอง หลังการเจริญสติปัฏฐาน นั้น ...ลอง ย้อน ไปอ่าน คห.ข้างต้น ที่ผมนำ ทันตภูมิสูตร ที๕ มาลง อีกครั้งน่ะครับ

    ถ้า มีจริตนิสัยทางสมาธิ และ จิตไม่พัวพันกับกามสัญญา มากเกินไป เอกัคคตาจิต จะปรากฏก่อนวิปัสสนาญาณ ในการเจริญสติปัฏฐาน(เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า)

    แต่ ถ้าไม่มีจริตนิสัยทางสมาธิ เอกัคคตาจิตก็จะยังไม่ปรากฏในเบื้องแรกๆ


    อยากให้ ชาวพุทธรุ่นใหม่ อ่านพระสูตรกันครับ



    คำว่า ฌานโลกุตระ นี้ จะตรงกับ รูปฌาน๑-๔ ที่บรรยาย สัมมาสมาธิในองค์มรรค ใน สัจจบรรพ มหาสติปัฏฐานสูตร


    หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่าน ก็แสดงไว้ ในลักษณะนี้ เช่นกัน

    ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

    ถาม สมฺมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบคือตั้งใจไว้อย่างไร จึงจะเป็นสมฺมาสมาธิ?<O></O>

    [FONT=&quot]ตอบ [/FONT][FONT=&quot]คือ ตั้งไว้ในองค์ฌานทั้ง ๔ ที่เรียกว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เหล่านี้แหละ เป็นสมฺมาสมาธิ[/FONT]



    ขอ นำบทธรรม เรื่อง ฌานโลกุตระ ที่ เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน มาลง


    โอวาทธรรม หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต


    ฌานนี้เป็นฌานพุทธที่พระพุทธเจ้าค้นพบในวันตรัสรู้ ....เป็น ฌานโลกุตระ

    ฌานนี้เมื่อเข้าถึงแล้ว จะไม่มีคำว่าเข้า คำว่าออก เช่นกับฌานโลก

    เพราะเป็นอกาลิโกไม่มีกาลถอย เพราะเข้าแล้วจะมีขั้นตอนต่อเนื่องทันที

    จิตเป็นเอกัคคตาจิต
    จิตเป็นหนึ่งที่ฐีติจิต
    จิตตามเห็นธรรมในธรรม คือ อินทรีย์ 5พละ5
    ในขณะที่เข้าถึงนั้น อินทรีย์ 5 และพละ5 ที่เป็นอินทรีย์เกิดในของเดิมจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นธรรมในธรรมทันที

    เมื่อตามเห็นธรรมในธรรมแล้ว นิวรณ์5 ขันธ์5 อายตนะ12 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 เป็นโลกีย์มรรคดับสิ้น เข้าถึงธรรมฐีติ เป็นโลกุตระมรรค เป็นอริยมรรค4 ผล4

    จบทางเดินสติปัฐฐาน ซึ่งเป็นทางตรงทางสายเอกอริยมรรค ตรงนี้

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เอกายโนภิกฺขเว อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
    ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอกเป็นหนึ่งในทางทั้งหลาย ...."


    จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น

    บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ฌาน และ สมาธิ นี้ จิตรวมเหมือนกัน

    ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน

    มีแปลกต่างกันที่ฌานนั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสมาธิอยู่ แต่ไปเพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียกว่าความเห็นเป็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน


    ส่วนสมาธินั้นเมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ


    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้นหรือพิจารณาอารมณ์อันใดก็ตามจนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์นั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญานเสีย จิตไม่รวมเป็นภวังค์เรียกว่า ฌานกลับเป็นสมาธิ


    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าสู่ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาเอาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติไม่เป็นการเสียหายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิอย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้

    พระบรมศาสดาเมื่อทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณาฌานนี้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็นฌานเสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ในทิฏฐธรรมของท่าน
    ฌาน และ สมาธินี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มีสมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอว


     

แชร์หน้านี้

Loading...