ควรเพียรเพ่ง VS ไม่(เผลอ)เพ่ง...เชิญทุกท่านสนทนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
    กระทู้นี้ดีมากครับ ปัญหาหลัก ที่ทำให้เข้าใจธรรมกันคลาดเคลื่อนนั้น เพราะ wording จริงๆ ครับ

    ครูบาอาจารย์ท่าน ไม่สอนอะไรที่ขัดกันเองหรอกครับ

    ถ้าเข้าใจสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่าน ต้องการจะสื่อออกมาจริง ๆ จะเข้าใจเลยครับ ว่าที่ท่านสอน เป็นอันเดียวกัน และไม่ได้มีอะไรขัดกันเลย


    ตรงนี้ผมเห็นด้วยครับกับคำว่า การเพ่งนั้นเป็นการรู้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แต่การรู้ ตรงนี้ต้องเป็นการรู้ด้วยสติ หรือจิตผู้รู้เด่นดวงมารู้สภาวะธรรม จริง ๆ ซึ่งสภาวะนี้ จิตตื่นมาเป็นผู้รู้ โดยไร้การบังคับ

    ถ้าเป็นการบังคับรู้ หรือกำหนดรู้ ตรงนี้ จิตยังไม่ตื่น แต่ไม่ใช่ว่าตรงนี้จะผิด เพราะตรงนี้เป็นเหตุของ สมถะกรรมฐาน หรือถ้าเป็นการกำหนดรู้สถาวะธรรมที่เกิดขึ้น ก็เป็นเหตุของ วิปัสนากรรมฐาน ด้วย

    ที่จะผิดก็คือ การคอยแต่บังคับจิตเพื่อให้อยู่แต่กับความสงบ (เพ่งรู้อยู่กับนิมิตร หรือรู้อยู่แต่กับคำภาวนา) โดยไม่ได้ คอยรู้ คอยดู สถาวะธรรมที่เกิดขึ้นเลย เพราะตรงนี้จะได้แค่สมถะกรรมฐาน โดยไม่ได้ขึ้นวิปัสนา และไม่ต่างกับที่ฤาษี หรือ พราห์ม ท่านทำกัน
     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    อนุโมทนา ครับ


    ยินดีที่ได้สนทนา
     
  3. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ mikas ครับ






    ก็ ภาวนา ขอให้เป็นเพียงแค่นั้น ครับ




    ก็ ภาวนา ขอให้เป็นเช่นนั้น อีกครับ





    คำว่า " ตรงนี้ต้องเป็นการรู้ด้วยสติ " ....???

    ผมเสนอว่า ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนสมาธิภาวนา ไม่ว่าจะเป็น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดุลย์ หลวงตามหาบัว หลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธ ท่านก็เน้นสติ ด้วยกันทั้งนั้น เช่นกัน น่ะครับ....

    หาใช่ว่า การเจริญสมาธิภาวนา จะเป็นการขาดสติ เพ่ง(แบบนั้น) หลงลืมกายใจ จม แช่ ๆลๆ




    คำว่า จิตผู้รู้เด่นดวง ...?

    ถ้า ในพระไตรปิฎก ก็น่าจะตรงกับ เอโกธิภาวะ ใช่ไหมครับ?....

    ทรงแสดง สมาธิที่ไม่มีวิตก-วิจาร ซึ่ง จะตรงกับ สมาธิอันมีคุณไม่มีประมาณ หรือ เอโกธิภาวะ ใน อังคิกสูตร ที่ว่า

    สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร

    อนึ่ง ทุติยฌานนี้ มักจะบรรยายด้วย ภาษาที่ว่า

    "....เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่..."

    (ในพระสูตรนี้ ใช้คำว่า คุมจิต...คือ ไม่ต้องใช้วิตก-วิจาร ข่มสสังขารธรรม...เป็นเพียงมีสติสัมปชัญญะประคองจิตไว้)


    หรือ ถ้าเป็นภาษาของ ครูบาอาจารย์พระป่า ก็ จะเป็น เอกจิต-จิตหนึ่ง(หลวงปู่หล้า) จิตผู้รู้(หลวงพ่อพุธ) ดวงจิตผู้รู้อยู่(หลวงปู่สิม)







    คำว่า" จิตตื่นมาเป็นผู้รู้ โดยไร้การบังคับ " ....?

    สำหรับ ผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญาแล้ว (สำคัญมาก.... ต้อง แยกท่านผู้ที่เป็นขิปปาภิญญาไปก่อน ช่วงหลังจะเห็น การนำ ท่านพาหิยะ มาสรุป แนวทางลัดสั้น?กันบ่อยๆ) ตรงนี้ เป็นผลตกผลึก ที่เกิดจากการปฏิบัติ ไม่ใช่เกิดขึ้นเองลอยๆ...

    คำว่า สติอัตโนมัติ ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองลอยๆ..... แต่ เป็น"อัตโนมัติ เพราะ เหตุที่ประกอบไว้พร้อมมูลแล้ว"




    ช่วงที่ สติอัตโนมัติ ยังไม่เกิด แล้ว เพียรพยายามเจริญสติ นี่ก็เป็นปัญหาอีก ว่า จะเรียกอย่างไร??? ....
    จะเรียกว่า เพียรชอบ อบรมจิต ฝึกจิต....
    หรือ จะเรียกว่า บังคับจิต สั่งสติให้เกิด แทรกแซงจิต??? .....ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะ ช่วงหลัง จะได้ยิน คำกล่าว ในลักษณะนี้บ่อยมาก

    เสนอ อ่าน กระทู้


    "ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง" ในสมัยที่ควร. ท่านเห็น เช่นใด?

    "?聨Ե-?Ð?ͧ?Ե-‘??Ե㋩èҠÔ?" 㹊?·ը?ǃ -> ?Ð?ҹ ?ՇԵ?Ѻ?Ã? | Œ??Ã?ʇ?Ҡlarndham.net


    ยินดีที่ได้สนทนา ครับ


     
  4. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ดีครับ และยินดีที่ได้อ่านความเห็นของคุณ "ตรงประเด็น" ในเว็ปพลังจิตแห่งนี้

    พยายามเข้านะครับ...สู้ๆ
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    โมทนากับคุณตรงประเด็นครับ

    กระทู้ดี ตอบดี และ ตรงประเด็นครับ สาธุสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2009
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอ ถามความเห็น จาก สมาชิกทุกท่าน

    เพิ่มในประเด็น

    สุขจากสมาธิ VS สุขจากกาม



    ในรายละเอียด ดังนี้ ครับ



    1.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรระมัดระวัง มากกว่ากัน?



    2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?



    3.สุขจากสมาธิ หากเกิดขึ้นแล้ว จะต้องติดทุกคน และ ไม่มีทางแก้ไขได้เลย จริงไหม?





    ขอรับทราบ คห. จากทุกๆท่านน่ะครับ


    ขอบคุณครับ
     
  7. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    สุขจากสมาธิ VS สุขจากกาม



    ตอบก่อนนะครับ ตามความคิดเห็นส่วนตัว


    1.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรระมัดระวัง มากกว่ากัน?

    สุขจากกามควรระวังมากกว่าครับ เพราะเป็นอุปสัก ของการทำสมาธิ


    2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?

    สุขจากกาม ควรจะละก่อนครับเพราะกามเป็นอุปสักหนึ่ง ของการภาวนา



    3.สุขจากสมาธิ หากเกิดขึ้นแล้ว จะต้องติดทุกคน และ ไม่มีทางแก้ไขได้เลย จริงไหม?

    คงไม่จริงมั๊งครับถ้าทำมาถึงติดสุขได้ ก็น่าจะมีทางแก้ได้
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><THEAD><TR><TD background=images/gradients/bg_p.gif>[​IMG] สมาชิกที่กล่าว " ไม่เห็นด้วย " กับข้อความของ คุณ ธรรมภูต ที่เขียนไว้ทางด้านบน </TD></TR></THEAD><TBODY id=collapseobj_post_groan_2669176><TR><TD class=alt1><TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1>siratsapon (วันนี้)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านครับ ท่านควรชี้แจงให้กระจ่างด้วยนะ ที่ท่านไม่เห็นด้วยกับคคห.ตรงไหน
    อย่าใช้วิธีกดไม่เห็นด้วย โดยที่ไม่ชี้แจงอะไรเลย ไม่งามนะ ไม่ควรทำ

    การที่เราจะไม่เห็นด้วยกับอะไรหรือคำพูดของใครนั้น เราควรเอาเหตุผลมาอ้าง
    เพื่อจะได้เข้าสู่การสนทนาหรือถกธรรมอย่างแท้จริง....เพื่อหาสัจจธรรม

    ;aa24
     
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ 2ชาติ บรรลุธรรม

    และ สมาชิกทุกท่าน




    ขออนุญาต ถามลงรายละเอียด ในข้อ1 ก่อน น่ะครับ







    ถ้า มีผู้กล่าว ว่า " สุขจากสมาธิ น่ากลัวกว่า สุขจากกาม " เพราะ


    1. ท่าน อาฬารดาบส-อุทกดาบส ที่ไม่บรรลุมรรคผลนั้น เพราะติดสุขจากสมาธิ ไม่ยอมมาเจริญอริมรรค (???) ตายไปเป็นอรูปพรหม นานแสนนาน ก็ไม่สามารถสดับอริยมรรค หรือ ปฏิบัติธรรม ได้....

    ในขณะที่ ผู้ที่ในขณะนั้นยังไม่ได้เคยเจริญสมถะมาก่อนเลย หลายท่าน (เช่น ท่าน ยสกุลบุตร ท่านสันตติมหาอำมาตย์ ๆลๆ) ที่มาฟังพระพุทธพจน์แล้วบรรลุมรรคผล ณ เวลานั้น เลย ???


    และ

    2.มีการนำคำสอนของ หลวงปู่มั่น ที่ สอนเตือนลูกศิษย์ที่กำลังติดสุขจากสมาธิให้มาเร่งเจริญมรรคด้านปัญญา (เช่น หลวงตามหาบัว หลวงปู่เหรียญๆลๆ) มาแสดง....
    แล้วชี้มูล ว่า

    "นี่ไง... สุขจากสมาธิ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ต่อมรรคผล..... สมควรเลิกเจริญสมาธิภาวนา!!!"

    (ผมเห็น นำมาลงในหลายเว็บในช่วง3-4เดือน ที่ผ่านมา)




    คุณ จะอธิบาย เช่นใด???



    ปล...

    ผมนำมาเสนอ เพื่อ รับฟังมุมมองจากท่านต่างๆ ต่อ ประเด็นที่แหลมคม

    ซึ่ง ผมเห็นว่า เรา-ท่าน ในเว็บที่สนับสนุนการเจริญสมาธิภาวนา สมควรมีคำอธิบายตอบที่ชัดเจน ต่อ ประเด็นนี้.... แบบเคลียร์ๆ





    ท่านใดๆ ฝ่ายไหนๆ แนวทางใดๆ ...เชิญแสดง คห.ได้ตามที่ท่านเห็นสมควรน่ะครับ... ไม่จำกัด เฉพาะ คุณ2ชาติบรรลุธรรม ครับ



    ยินดีที่ได้สนทนา
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    1.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรระมัดระวัง มากกว่ากัน?

    กามคุณมีคุณน้อยมีโทษมาก ยังจิตให้เศร้าหมองดิ้นรนไม่สิ้นสุด สุขจากสมาธิยังจิตให้ผ่องใสเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา แม้สุขจากสมาธิก็ยังไม่เที่ยงไม่ควรยึดถือ แต่ก็มีคุณมาก ทั้งสองอย่างก็ยังอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ จึงควรระวังเท่ากันเพราะมีสภาวะอันเสมอกัน


    2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?

    สังโยชน์10ประการเรียงลำดับขั้นของพระอริยะบุคคล กามคุณเป็นสังโยชน์เบี้องต่ำกว่าจึงควรละก่อน แต่ก็เป็นสิ่งไม่ควรยึดถือทั้งคู่


    3.สุขจากสมาธิ หากเกิดขึ้นแล้ว จะต้องติดทุกคน และ ไม่มีทางแก้ไขได้เลย จริงไหม?

    ถ้าเห็นโทษภัยถ้ามีสุขอื่นยิ่งกว่าบุคคลจึงพึงเสพสุขที่เหนือกว่า เมื่อบุคคลยังหลงเสพสุขจากกามเพราะยังไม่มีปัญญาเห็นโทษภัยไม่มีปัญญาพบสุขที่ยิ่งกว่าคือสุขจากสมาธิ ถ้าบุคคลเห็นโทษภัยจากสุขของสมาธิและมีปัญญาพบบรมสุขที่ยิ่งกว่าคงเป็นทางแก้สุขที่ติดอยู่ตามลำดับขั้นและลำดับปัญญา
     
  11. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มาต่อ ข้อ2 น่ะครับ







    เร็วๆนี้ ได้รับฟัง ความเห็นที่ว่า

    พระโสดาบันท่านล่ะ สักกายะทิฏฐิ(ใน สังโยชน์เบื้องต่ำ๓)ได้ขาดแล้ว ....แต่ พระโสดาบันท่านยังล่ะกามราคะได้ไม่ขาด....

    ดังนั้น เรื่อง การเพียรละกาม อาจจะยังไม่จำเป็นมากนักสำหรับการบรรลุมรรคผล...

    เอาไว้ รอล่ะ สักกายะทิฏฐิ ได้ขาดแล้ว ค่อยมาเพียรละกาม ภายหลัง ...ล่ะครับ



    ท่าน จะอธิบาย เช่นใด???



    ท่านใดๆ ฝ่ายไหนๆ แนวทางใดๆ ...เชิญแสดง คห.ได้ตามที่ท่านเห็นสมควรน่ะครับ... ไม่จำกัด เฉพาะ คุณ2ชาติบรรลุธรรม ครับ



    ยินดีที่ได้สนทนา<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    พระพุทธเจ้าสอนธรรมข้อเดียวกันสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ผู้มีปัญญาต่างกันบรรลุโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ พระพุทธเจ้าชี้ชัดถึงโทษถึงคุณถึงบรมสุขแต่ผู้รับฟังมีปัญญาเล็งเห็นไม่เท่ากัน ธรรมข้อเดียวกันเพื่อสู่จุดเดียวกันจึงพึงปฏิบัติแบบเดียวกัน แต่ผลของการปฏิบัติคือปัญญาก็ลุถึงผลต่างกัน บุรุษผู้เห็นภัย ก็พึงดำเนินแนวทางเดียวกันเพื่อปฏิปทาเดียวกัน
     
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอ อภัย คุณเสขะบุคคล ด้วยน่ะครับ



    ผมโพส คห.ที่31แล้ว ...ผม ถึงได้เห็น คห.ของคุณใน คห.ที่32

    เดี๋ยวจะงง




    ...........................



    มาต่อน่ะครับ



    ขออนุญาต เสนอ พระพุทธพจน์ ที่ตรัสถึง สุขจากสมาธิที่เว้นจากกาม มาลงประกอบ



    จาก สคารวสูตร


    เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

    เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.



    และ จาก ลฑุกิโกปมสูตร

    [๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย

    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า
    ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

    ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.




    และ พระสูตร จูฬทุกขักขันธสูตร
    ที่พระพุทธองค์ ทรงแสดง ถึง สุขจากปิติและสุขในสมาธิ


    [๒๑๑] ดูกรมหานาม

    ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวกนั้น เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน

    แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง
    ดังนี้ และ เธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้.

    ดูกรมหานาม

    แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากโทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน

    แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.




    ปล.. พระสูตรนี้ แสดงว่า

    แม้นอริยสาวกจะเป็นผู้เล็งเห็นโทษในกามตามจริงแล้วก็ตาม ....แต่ หากแม้นยังไม่บรรลุประจักษ์ สุขจากสมาธิ(ปิติ สุข) ด้วยตนเอง.... ก็ ยังไม่แน่ว่าจะไม่เป็นผู้ที่เวียนมายังกาม





    ......................




    ท่าน ใด มีพระพุทธพจน์ ที่ตรัสแสดง โทษของ สุขจากสมาธิ น่ากลัวกว่า สุขจากกาม... ช่วย นำมาลงแสดงเปรียบเทียบด้วย น่ะครับ



    ยินดีที่ได้สนทนา ครับ
     
  14. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    1. ท่าน อาฬารดาบส-อุทกดาบส ที่ไม่บรรลุมรรคผลนั้น เพราะติดสุขจากสมาธิ ไม่ยอมมาเจริญอริมรรค (???) ตายไปเป็นอรูปพรหม นานแสนนาน ก็ไม่สามารถสดับอริยมรรค หรือ ปฏิบัติธรรม ได้....

    ในขณะที่ ผู้ที่ในขณะนั้นยังไม่ได้เคยเจริญสมถะมาก่อนเลย หลายท่าน (เช่น ท่าน ยสกุลบุตร ท่านสันตติมหาอำมาตย์ ๆลๆ) ที่มาฟังพระพุทธพจน์แล้วบรรลุมรรคผล ณ เวลานั้น เลย ???


    และ

    2.มีการนำคำสอนของ หลวงปู่มั่น ที่ สอนเตือนลูกศิษย์ที่กำลังติดสุขจากสมาธิให้มาเร่งเจริญมรรคด้านปัญญา (เช่น หลวงตามหาบัว หลวงปู่เหรียญๆลๆ) มาแสดง....
    แล้วชี้มูล ว่า

    "นี่ไง... สุขจากสมาธิ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ต่อมรรคผล..... สมควรเลิกเจริญสมาธิภาวนา!!!"
    -+++++++++++++++
    ในข้อ1.ท่าน อาฬารดาบส-อุทกดาบส จะนับว่าที่ไม่บรรลุมรรคผลนั้น เพราะติดสุขจากสมาธิ ไม่ยอมมาเจริญอริมรรค ได้หรือ เพราะ ในตอนนั้นท่าน อาฬารดาบส-อุทกดาบส คงยังไม่รู้จักเจริญอริยมรรค. . .

    ส่วนท่าน ยสกุลบุตร ท่านสันตติมหาอำมาตย์ ๆลๆ เราก็ไม่รู้ว่า ในขณะนั้น ความยินดีในกามราคะของท่านเบาบางขนาดไหน มีความยินดีในสุขจากกามมากเหมือนปุถุชนทั่วไปหรือไม่ เพราะถ้ามีความยินดี ในสุขจากกามเท่ากับหรือเหมือนกับ ปุถุชนทั่วๆไปก็ไม่แน่ว่า จะบรรลุมมรรคผลได้
    ------------------------------------------------------------
    จริงๆที่ถามว่า2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?

    สุขจากกาม ควรจะละก่อนครับเพราะกามเป็นอุปสักหนึ่ง ของการภาวนา
    ถ้าละไม่ได้ ก็ควรทำไห้กามราคะเบาบางลงก่อน <<นี่ถ้าเอาไปเปรียบกับพระโสดาก็ต้องเติมไปอีก

    ที่จริงการถามว่าสิ่งใดที่บุคคลควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?แบบนี้ ไม่น่าเทียบกับพระโสดานะ เพราะถ้าตอบว่า ควรละกามราคะก่อน ก็จะกลายเป็นพระโสดายังละกามราคะไม่ได้ น่าจะเทียบกับพระอรหันอย่างเดียวเลย...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2009
  15. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?

    สุขจากกาม ควรจะละก่อนครับเพราะกามเป็นอุปสักหนึ่ง ของการภาวนา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    เร็วๆนี้ ได้รับฟัง ความเห็นที่ว่า

    พระโสดาบันท่านล่ะ สักกายะทิฏฐิ(ใน สังโยชน์เบื้องต่ำ๓)ได้ขาดแล้ว ....แต่ พระโสดาบันท่านยังล่ะกามราคะได้ไม่ขาด....

    ดังนั้น เรื่อง การเพียรละกาม อาจจะยังไม่จำเป็นมากนักสำหรับการบรรลุมรรคผล...

    เอาไว้ รอล่ะ สักกายะทิฏฐิ ได้ขาดแล้ว ค่อยมาเพียรละกาม ภายหลัง ...ล่ะครับ



    ท่าน จะอธิบาย เช่นใด???



    ท่านใดๆ ฝ่ายไหนๆ แนวทางใดๆ ...เชิญแสดง คห.ได้ตามที่ท่านเห็นสมควรน่ะครับ... ไม่จำกัด เฉพาะ คุณ2ชาติบรรลุธรรม ครับ



    ยินดีที่ได้สนทนา<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    --------------------------------------------------------------
    เนี้ย อย่างข้อ2.สุขจากสมาธิ กับ สุขจากกาม สิ่งใดที่บุคคล ควรจะเพียรล่ะ ก่อนกัน?
    พอตอบว่ากามราคะ ควรเพียรละก่อน เพราะคิดถึงการบรรลุมรรคผลของพระอรหัน ที่ต้องตัดกามราคะไห้ขาดแต่ท่านเอาไปเทียบกับพระโสดา - -":'(
     
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ทั้งข้อ1และ2ตอบได้ด้วยใจความเดียว
    ผมว่าสุข ทั้ง2ก้เป็นเวทนา เราควรรู้เวทนาและควรไม่ยึดในเวทนา ส่วนอันใดควรละก่อนให้ดูที่อันไหนส่งผลก่อนปรากดก่อน มีผลก่อน เรียกว่ารู้เวทนาและไม่ยึดในเวทนา ไม่ควรกล่าวว่าระวังมากกว่าแต่ควรกล่าวว่าควรรู้เท่าทันในสภาวะที่เกิด

    3.สุขจากสมาธิ หากเกิดขึ้นแล้ว จะต้องติดทุกคน และ ไม่มีทางแก้ไขได้เลย จริงไหม?
    ข้อนี้ไม่ต้องพิจารนาอื่นใดไกล แม้ไม่ใช่สุขจากสมาทิ เป็นสุขธรรมดาที่มีอยู่กับใจ อันเมื่อมีผัสสะมากระทบคุนสามารถนำมันออกไปได้หรือไม่หรือไม่ติดในสุขได้หรือไม่ คำตอบข้อนี้ต้องบอกเลยว่า ไม่ติดในสุขเวทนาอย่างแท้จริงก้คงจะมีเพียงชนเหล่าเดียว อรหัน ผู้ที่ละกิเลสใน ราคะ โทสะ โมหะ ลงได้แล้วอย่างแท้จริงท่าจะเอาสมมุติมากล่าก้ต้องบอกว่า ติดแต่ไม่นาน หรือติดบ้างไม่ติดบ้าง แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสิ่งใดค้างอยู่อย่างนั้นคงทนอยู่อย่างนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะว่าติดสุขอยู่ในสมาทิต่อไห้ติดวันนึงก้มีเสื่อมก้มีคลาย ต่อไห้ไม่ติดก้อยุ่ในอารมอื่นเช่นกัน ดังนั้น สุขจากสมาทิเกิดแล้วติดหรือไม่การติดเช่นนี้เป็นดังเช่นสุขที่เกิดทั่วไปมีการติดเช่นเดียวกันแต่ไม่ใช่ติดแบบเสพยาเสพติดที่จะต้องการจนเป็นทุข แต่มีความทุขอยู่เป็นธรรมดาในการมีเวทนานั้นเป็นปรกติ
    ราคะ โทสะ โมหะ เป็นดั่งไฟ ผู้ที่อยู่ในไฟย่อมเร่าร้อนแต่จะรู้ตัวเองจะมีสติหรือไม่
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตรงประเดน สุขจากสมาทิและสุขจากกาม คงทนหรือไม่?
    ประเดนไม่ใช่สุขอย่างใดแต่มีสติหรือไม่ มีปัญญาหรือไม่ การละวางได้ไม่ใช่รู้แต่ว่ามี สุขอยู่เท่านั้น ..
    หากขาดสติและปัญญา แม้มีหรือไม่มีสมาทิย่อมหลง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2009
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ 2ชาติ บรรลุธรรม





    เห็นด้วยครับ

    ที่ท่านดาบสทั้งสอง ไม่บรรลุมรรคผล..... หาใช่เพราะ ท่านมัวแต่ไปติดสุขจากสมาธิ หรือ สมาธิบังปัญญา หรอก ครับ

    แต่ เป็นเพราะท่านทั้งสอง ไม่ได้มีโอกาสสดับอริยมรรคจากพระพุทธองค์

    ด้วยว่าท่านทั้งสองไม่สามารถตรัสรู้อริยมรรคด้วยตนเอง และ มาทำกาละเสียก่อน

    เมื่อ ไม่ได้สดับอริยมรรคจากพระพุทธองค์ จึงปราศจากธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์(อนาสวะสัมมาทิฏฐิ) .... และ สมาธิของท่านทั้งสองจึงยังไม่เข้าสู่แนวทางแห่งอริยมรรค...

    สมาธิของท่านทั้งสอง เป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน แต่ เป็นระดับโลกียะสัมมาสมาธิ... ยังไม่ใช่ระดับ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ ในองค์มรรค




    แต่ อย่างไรก็ตาม...

    จาก หลักฐาน ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
    ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงท่านดาบสทั้ง2ในทางบวก.... ต่างกับ ที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะมองท่านทั้งสองในทางลบมากๆ



    อ้างอิงพระไตรปิฎก:

    [๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า
    เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
    ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า


    อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้แล เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
    มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยเป็นปกติมานาน
    ถ้ากระไรเราพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน
    เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.


    แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรสิ้นชีพได้ ๗ วันแล้ว
    จึงทรงพระดำริว่า
    อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่
    เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลัน.




    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า

    เราจะพึงแสดงธรรม แก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน

    ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อไปว่า
    อุทกดาบส รามบุตรนี้แลเป็น ผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
    มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยเป็นปกติมานาน
    ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อุทกดาบส รามบุตรก่อน
    เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.

    แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบว่า อุทกดาบส รามบุตรสิ้นชีพเสียวานนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่า
    อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่
    เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลัน.
     
  19. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ 2ชาติบรรลุธรรม







    ประเด็น เรื่อง พระโสดาบันยังล่ะกามราคะไม่ขาด ในขณะที่ล่ะสังโยชน์เบื้องต่ำ3ขาดแล้ว นั้น


    ผมเห็นว่า เป็นเพราะ พระโสดาบัน ท่านยังไม่มี สมาธิสัมปันโน-สมาธิบริบูรณ์(แบบพระอนาคามี) คือ สมถะ ของท่าน ยังไม่บริบูรณ์เพียงพอ...

    คงไม่ใช่ เพราะ พระโสดาบัน ท่านจะปราศจาก เนกขัมมะดำริ(ดำริออกจากกาม) หรอก

    พระโสดาบัน ท่านถึงแม้นจะยังล่ะกามราคะไม่ขาด แต่ ด้วยว่าท่านมีศีลสัมปันโน-ศีลบริบูรณ์ ท่านจึงปิดความเสียหายที่อาจจะเกิดจากกามได้

    และ... พระโสดาบันท่าน ไม่จมกาม แน่นอน.... ถึง แม้นท่านจะยังล่ะกามราคะไม่ขาด...

    และ ท่านมีความเพียร(สัมมาวายมะ) ที่จะละกาม(เนกขัมมะสังกัปปะ)แน่นอน



    ความที่เห็นว่า รอให้เป็นพระโสดาบันเสียก่อน แล้วค่อยมาเพียรออกจากกาม จึง ไม่น่าจะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง
     
  20. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ในสมัยพุทธกาล

    มีฤาษีชีไพรจำนวนมาก ที่บำเพ็ญโลกียฌานอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร.ท่านเหล่านี้ จิตพื้นฐาน สงัดจากกาม จากอกุศล วิเวก อยู่แล้ว... เพียงแต่ ใช้สมาธิยังไม่ถูกทาง คือ ยังไม่ได้ใช้สมาธิไปเพื่อความสิ้นของทุกข์ทั้งหลาย เพราะท่านปราศจาก อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ เป็นตัวกำหนดทิศทาง และ ปราศจากสัมมาสติ(ใน กาย เวทนา จิต ธรรม)เป็นเหตุนำแห่งสมาธินั้น.

    แต่ ท่านเหล่านี้ เป็นmaterialที่สำคัญในการประกาศพระศาสนาในสมัยพุทธกาล เพราะ จิตท่านย่อมเอื้อต่อธรรมขั้นสูงมากกว่าผู้ครองเรือนเสพกาม(อ่าน โพธิราชกุมารสูตร)...ลองสังเกตุ พระสาวกองค์สำคัญ1000องค์แรก ส่วนใหญ่ เป็นนักพรตเกือบทั้งหมด(เช่น ปัญญจวัคคีย์ ชฎิลสามพี่น้อง).....


    อยากเสนอให้ อ่าน โพธิราชกุมารสูตร
    (ผมนำมาจาก หนังสือ ธรรมจักษุ)


    โพธิราชกุมารสูตร

    (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. มัชฌิมนิกาย,โพธิราชกุมารสูตร)

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระโพธิราชกุมารว่า

    ก่อนตรัสรู้ พระองคืได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ อุปมา ๓ ข้อได้ปรากฏแก่พระองค์ ดังนี้คือ

    ข้อ ๑ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้
    สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะคว ามเพียรก็ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้

    ข้อ ๒ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้
    สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะคว ามเพียร ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้

    ข้อ ๓ ไม้แห้งเกราะอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟได้
    สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาหรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนากล้าเผ ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ได้



    การหลีกออกจากกามในพระสูตรนี้
    กล่าวไว้สองนัยยะ คือ

    "ออกจากกามทางกาย"คือ ถือศีลพรหมจรรย์
    กับ
    "สงบระงับด้วยดีภายใน"คือ ออกจากกามทางใจ ห่างจากกามดัวยเนกขัมมะ คือ สมาธิที่ระงับนิวรณ์(รวม ทั้งราคะ) ได้แก่ สุขในขั้นฌานต่างๆ


    และจาก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
    ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
    ย่อมละราคะได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
    ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
    ย่อมละอวิชชาได้

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล
    ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ
    ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

    ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
    ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
    ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖



    นี่คือ เหตุผลที่ ผู้ที่พยายามออกจากกาม จะบรรลุมรรคผล ง่ายกว่า ผู้เสพกามสุขอยู่

    ศีลพรหมจรรย์(รวมศีลแปด) และ สมาธิจิต จึงช่วยในการเจริญธรรมขั้นสูง ดังนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...