ควรเพียรเพ่ง VS ไม่(เผลอ)เพ่ง...เชิญทุกท่านสนทนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ณ ปัจจุบัน คำว่า "เพ่ง" ในหมู่ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ จะมีความหมายที่ไม่ตรงกัน... และ อาจจะตรงกันข้ามเลย.




    ซึ่ง ประเด็นคำว่า"เพ่ง"นี้ เป็นสาเหตุหลัก สาเหตุหนึ่ง ที่ ทำให้ชาวพุทธกลุ่มต่างๆมีความเข้าใจไม่ตรงกัน


    ตาม หัวข้อ กระทู้ครับ

    ควรเพียรเพ่ง VS ไม่(เผลอ)เพ่ง







    ขออนุญาตเปิดกระทู้นี้ขึ้น เพื่อ รับทราบมุมมอง แลกเปลี่ยนความเห็น รวบรวมข้อเสนอแนะ จากทุกๆฝ่าย

    ขอเชิญทุกๆท่าน ทุกๆฝ่าย ทุกๆแนวทาง น่ะครับ





    ยินดีที่ได้สนทนาครับ
     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาต นำพระพุทธพจน์ จาก พระสูตร เกี่ยวกับคำว่า "เพ่ง" ในความหมายของ "ควรเพียรเพ่ง" มาลง เป็นหลัก ก่อนน่ะครับ





    ที่ผมนำพระพุทธพจน์มาลงเป็นหลักเบื้องต้นก่อน เพราะเหตุว่า ไม่ว่าอาจารย์ไหนๆ ก็ล้วนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ....

    และ ย่อมไม่มีคำสอนของอาจารย์ไหนๆ จะงดงาม รอบครอบ รัดกุม ละเอียด ลึกซึ้ง เท่าพระพุทธพจน์



    ดังนั้น
    หลักที่จะใช้เป็นจุดร่วมให้ทุกฝ่ายที่อาจจะเห็นแตกต่างกัน มีจุดร่วมกันในการพิจารณา ก็ สมควรจะเป็นพระพุทธพจน์



    ขอเสนอ คำว่า"เพ่ง" จาก พระพุทธพจน์โดยตรง



    <A href="http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=0&Z=115" target=_blank>?Ð䵃?Ԯ???ը ??Ðǔ?т?Ԯ???ը ?;/a>

    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่

    เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.





    <A href="http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=14&lstart=10862" target=_blank>?Ðʘ??ѹ??Ԯ? ͍?䅹젺 ???ԁ?ԡ҂ ͘?Ô?ѳ?Ҋ?젊̒µ?ǃä ͔??Ԁ҇?Ҋٵælt;/a>

    ดูกรอานนท์
    นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


    และ จาก

    BUDSIR for Thai Translation

    [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง
    โดยความเป็นอายตนะประการหนึ่ง
    โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ

    ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล ท่านเคยกล่าวถึง คำว่า "เพ่งมองที่จิต"


    เอาไว้ดังนี้ครับ




    * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต
    ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง
    เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม

    * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต
    อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน

    * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิต เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ


    จาก

    http://www.onab.go.th/index.php?opt...24-35&catid=61:2009-06-12-17-56-15&Itemid=281




    เสนอ

    สังเกตุว่า แม้นแต่ หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล ....ท่านเอง ก็กล่าวคำว่า "เพ่ง" และ คำว่า"กำหนด" เอาไว้เช่นกันครับ



    ซึ่ง จะต่างกับความเชื่อในปัจจุบัน
    ที่ว่า ไม่ควรเพ่ง(รวมทั้ง แม้นแต่การไม่ตั้งใจเพ่ง ที่เรียกว่า เผลอเพ่ง)
    และ ไม่ควรกำหนด
     
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    <TABLE class=fieldset cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] ภาพ004.jpg (291.0 KB)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลองฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง "แก้ดูจิต" ของหลวงพ่อสงบ มนัสสันโต
    (ลูกศิษหลวงตามหาบัว)
    http:////www.santi-tham.com/th/topic5.php ด้วยนะครับ<<<แก้ดูจิตใครดูจิตเชิญฟังครับ . . . นาทีที่31 41 47


    หลวงพ่อสงบ มนัสสันโต เทศน์เรื่องจิตส่งออกคลิ้กฟังได้ที่นี่เลยครับ http://www.sa-ngob.com/media.php?id=159&con=1
    ฝึกดูจิต ควรฟังอย่างยิ่ง . .

    หลวงพ่อสงบ มนัสสันโต - พุทธพจน์กิเลสอ้าง - Free MP3 Stream on IMEEM Music เรื่อง พุทธพจน์กิเลสอ้าง

    ขอแสดงความนับถือครับ
    ของคุณ . . . IRONMAIDEN

    พูดเองมันก็ว่า เอาพระมาไห้ฟัง มันก็ว่า ช่างมัน. . .

    ใครกัดพระไม่ได้มากัดผมแทนได้เสมอนะ ^^ พอใจ พอใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2009
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    คำว่า ไม่(เผลอ)เพ่ง เนี่ย ใครบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาเนี่ย

    เผลอ = ขาดสติ

    ไม่(เผลอ)เพ่ง = ไม่(ขาดสติ)เพ่ง น่าจะหมายถึง เพ่งตลอดเวลารึเปล่า???
    ไม่เพ่ง = ไม่เพ่ง

    ไม่เผลอเพ่ง ไม่มีหรอก
    ถ้าเพ่งน่ะ ไม่เผลอ ... ถ้าเผลอ แสดงว่าไม่เพ่ง


    (smile)
     
  6. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    ความคิดผมนะ
    ตั้งแต่เกิดมานะครับได้ยินคำว่าเพ่งแล้วจะนึกถึง อารมณ์ที่หนัก แน่วแน่ หนึ่งเดียว
    เช่นในฌาน เหมือน สะกด หรือสั่ง,บีบสติ ให้เหลือน้อยลงไปๆ ตามลำดับของฌาน ( องค์ 5,3,2,2,1)
    แต่ถ้าเพ่งจิตนี่ ผมว่าน่าจะใช้คำว่าพิจารณา จดจ่อ ตามรู้ ด้วยสติ มากกว่า เพราะ การเกิดของจิตสามารถเกิดข้นพร้อมกัน ทับซ้อนกัน ได้ทีละหลายๆจิต
    หลายอารมณ์ ถ้าใช้คำว่าเพ่งก็ต้องกำหนดสติให้ดูจิตเพียงอารมณ์เดียวอย่างอื่นไม่สน เช่น เพ่งกสิน เพ่งปลายจูก มดกัด ก็เริ่มไม่สนใจหรือสั่งไม่ให้สนใจ
    อนุโมทนาครับ
     
  7. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    อย่างคำว่าเพ่งกสิณ อย่างผมเริ่มฝึกเองตามหนังสือ คำว่า เพ่ง นี้ชวนให้เข้าใจว่า ต้องหนักแน่น เป็นหนึ่งเดียว จึงทุ่มเทพลังใช้จิตจับอยู่ที่นิมิตนั้นๆที่เราใช้อยู่อย่างเคร่งเครียด เพื่อคงนิมิตเอาไว้ไม่ให้หายไป เพราะคำว่าเพ่งมันชวนให้ผมคิดเอาเองว่ามันต้องเป็นอย่างนี้

    ตอนนี้มีผู้แนะนำว่าอารมณ์นี้ที่ทำมาไม่ถูกต้อง อารมณ์ที่ถูกต้องเป็นอารมณ์สบายๆ ไม่เคร่งเครียด
    แต่เพราะไปตีความตามตัวหนังสือและความเข้าใจของตนเอง ทำให้ผิดทาง
    ถ้าเป็นไปตามที่เขาแนะนำ ผมเห็นว่าน่าจะใช้คำว่า รู้ หรือ นึก ด้วยอารมณ์สบายๆ แทนคำว่า เพ่ง มากกว่า

    หากใครมีความรู้ก็ขอรับคำแนะนำด้วยครับ
     
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677



    คำว่า "ไม่เพ่ง" เท่าที่รับฟังมา หมายถึง ลักษณะของการรู้ไปเรื่อยๆแบบไม่ต้องตั้งใจมาก เป็น ลักษณะเฝ้าสังเกตุไปเรื่อยๆ ... ซึ่ง ถ้าจะกล่าวให้ตรงกับ ในอินทรีย์๕ น่าจะเป็น วิริยะที่พอดีในการเจริญสติ คือ ไม่ตั้งใจมากเกินไปจนเครียดเกร็งฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) และ ไม่ตั้งใจน้อยเกินไปจนเลื่อนลอย

    ส่วน คำว่า"ไม่เผลอเพ่ง" สื่อถึงว่า นอกจากจะไม่ควรจงใจเพ่งแล้ว การเพ่งโดยไม่จงใจ(เผลอไปเพ่งเข้า) ก็ควรห้ามเช่นกัน



    ขอเสนอโอวาท พระสุปฏิปันโน ผู้ล่วงลับ ท่านเคยแสดงเอาไว้

    หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านได้เคยกล่าวเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป(และ กลายเป็นตัวขัดขวางการรู้ธรรม) ไว้ดังนี้

    mahamakuta.inet.co.th/practice/m ... ml#mk722_1

    ".....ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

    เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ***ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น*** ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย ***จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร*** อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง..."


    หลวงปู่ ท่านไม่ได้ใช้คำว่า ห้ามเพ่ง แบบในปัจจุบัน

    แต่ ท่านกำลังบอกว่า ความอยากที่จะบรรลุเห็นแจ้งที่มากจนเกินไป(น่าจะเป็นวิริยะทางใจมากไป เมื่อเทียบกับในอินทรีย์๕) เป็นตัวที่ทำให้ใจ ไม่เป็นกลาง กระวนกระวาย

    (แต่ ถ้าปราศจาก ความปราถนาที่จะบรรลุเห็นแจ้งเลย มันก็เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นเจริญอริยมรรค)



    มีบทธรรม จาก พระสูตร มาเสนอ ในประเด็น วิริยะ ที่ควร"พอดี" มาเสนอ

    จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    ทุติยปัณณาสก์
    มหาวรรคที่ ๑
    ๑. โสณสูตร

    "....ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ***ความเพียรที่ปรารภมากเกินไปย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
    ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ***

    ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
    จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอ..."

    และ จาก อรรถกถา

    ".....บทว่า อจฺจารทฺธํ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป.
    บทว่า อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน.

    บทว่า อติลีนํ ได้แก่ หย่อนเกินไป.
    บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน.

    บทว่า วิริยสมตํ อธิฏฺฐาหิ ความว่า ***เธอจงดำรงสมถะที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น***. หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ.
    บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ ความว่า เธอจงดำรงสม่ำเสมอ คือภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นไว้ให้มั่น.

    ในข้อนั้น ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับศรัทธา ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายวันไว้มั่น. ส่วนสติมีประโยชน์ต่อธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะที่มีกำลังย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ..."


    และ จากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


    "....อินทรีย์ ๕ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน

    หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน

    ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เข้าใจเข้าถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญาให้สม่ำเสมอสมดุลกัน

    ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่าง ๆ รบกวน ...***ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ*** ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะและสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไป และเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ

    ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่นเป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ..."





    ผมขอเสนอดังนี้ ครับ

    วิริยะ ที่ต้องถ่วงดุลย์กับ สมาธิ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีประโยชน์

    วิริยะ คือ เพียร..ทั้งทางกาย(มุ่งเดินจงกรม นั่งสมาธิ) และ ใจ(มุ่งมั่นจะรู้ธรรมให้ได้ ).... วิริยะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ ถ้ามากเกินไป ก็จะกลายเป็นทรมานร่างกาย หรือ เวลาเจริญภาวนาจะตั้งใจมากจนเกินไป เสียสภาพความเป็นธรรมชาติ-ความนุ่มนวลของจิตอย่างที่ควร.

    จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

    "เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน

    เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"


    ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมาธิ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์.

    กล่าว ง่ายๆ ก็คือ ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง

    ในทางกลับกัน ถ้าสมาธิ(หรือ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์)มากไป ก็จะกลายเป็นติดสุขจากสมาธิ เป็นพระฤาษีไป... เพราะ สมาธิที่มากไป ความเกรียจคร้าน(โกสัชชะ)ก็จะเข้าครอบงำ... คือ เอะอะอะไร ก็จะทำจิตให้สงบฝ่ายเดียว โดยไม่ใช้อานิสงส์แห่งสมาธิมาพิจารณาสภาวธรรม


    ปัจจุบัน การตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากเกินไป จะถูกเรียกว่า "เผลอเพ่ง"
    แต่ ในสมัยพุทธกาล ท่านเรียกว่า วิริยะทางใจที่มากเกินไป ..... ซึ่งต้องถ่วงดุลย์ด้วยสมถะ คือ ปัสสัทธิ(ผ่อนคลาย กาย-ใจ)

    ถ้า ใช้คำว่า "เผลอเพ่ง"แทนคำว่า "วิริยะมากเกินไป" อาจจะไม่ตรงกับความหมายดั้งเดิมในระดับพระสูตร
    เพราะ การเพ่ง มันจะมีความหมายไปทางสมถะ.....

    แต่ วิริยะที่มากเกินไปนี้ทำให้เครียด(ไปทางอุทธัจจะอันเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับสมาธิ).... ซึ่งต้องถ่วงดุลย์ด้วยปัสสัทธิ(ผ่อนคลาย)อันเป็นธรรมในส่วนสมถะ เสียด้วยซ้ำ!!!

    ในลักษณะ รู้ซื่อๆ รู้สบายๆ (สบาย คือ ปัสสัทธิ) ในลักษณะที่ ท่านอาจารย์ คำเขียน ท่านกล่าวไว้



    ปล...

    ผมพยายามหาคำว่า "จิตเครียด" หรือ "ความเครียด" ในพระไตรปิฎก ...ไม่พบครับ
    มีคำว่า "เครียด"อยู่ 1แห่ง ที่
    http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=267680

    "....[๑๐๕๔] ร่างกายของข้าพระองค์ถูกกิ่งไม้ และเถาวัลย์คร่าไปมา ***ดุจสายพิณที่เขา
    ขึงตึงเครียด*** ฉะนั้น พวกบริวารพากันไต่ข้าพระองค์ไปได้รับความสวัสดี..."

    คือ ภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาล มักจะกล่าวคำว่า เครียด เปรียบสายพิณที่ขึงตึงมาก
    อย่างในโสณสูตร ก็เปรียบเทียบวิริยะที่มากไป กับ สายพิณที่ขึงตึงมากไป เช่นกัน

    และ ความเครียดในลักษณะนี้ น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "ฟุ้งซ่าน"ที่เกิดจากวิริยะที่มากเกินไป

    อย่างเช่น ในเวลาที่เรากระทำภารกิจทางโลก
    เราก็เคยทำบางสิ่งมาตลอด และ เราก็ทำได้...
    มีอยู่วันหนึ่ง เกิดมีคนมาบอกเราว่า วันนี้ต้องตั้งใจให้ดี ห้ามพลาดน่ะ!!! วันนั้น ก็เลยพลาด เพราะมันเครียดมันเกร็ง...... <!-- / message -->
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
  10. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677



    ขออนุญาต สนทนา ด้วยน่ะครับ




    ฌาน เป็นคำเรียก รวมๆ

    เบื้องต้นสุด เมื่อมีเหตุ2 (วิตก วิจาร) นำไปสู่ผล3(ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์) ก็ เรียกว่า ฌาน


    ฌาน นั้น

    1.มีทั้ง ที่เป็นแบบมิจฉาสมาธิ(เช่น ในพระไตรปิฎกเล่าถึงว่า ฤาษีทำลายเมืองทั้งเมืองด้วยจิต)ก็มี

    2.มีทั้ง ที่เป็น(so called โลกียะ)สัมมาสมาธิ แต่ ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ คือ ยังไม่ได้อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรคโดยตรง ก็มี

    3.มีทั้ง ที่เป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ(เช่น ทรงแสดงในมหาจัตตารีสกสูตร) อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน(เช่น ทรงแสดงใน ทันตภูมิสูตร) ก็มี

    (ใครสนใจ ลองหาอ่าน คำจำกัดความ ของ สมถะ ที่คุณ มหาราชันย์เคยสรุปประมวลมาจากพระไตรปิฎก ใน ลานธรรมจักร ดูน่ะครับ)



    ฌาน ที่เป็นลักษณะ ยังคงต้องเพียรประคองอยู่(อาจจะคนล่ะความหมายกับ สะกด สั่ง บีบ สติ น่ะครับ)....สามารถเป็นได้ ทั้ง3แบบข้างต้น

    แม้นแต่ ปฐมฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็ยังจัดว่า ต้องอาศัย การประคอง อยู่.... จึงมีพระสูตร ที่แสดงสมาธิชั้นยอดว่า เป็น สมาธิที่ปราศจากวิตกวิจาร คือ เป็นสมาธิที่ปราศจากความจงใจแล้ว เป็นสมาธิที่มั่นคง ซึ่ง แสดงใน ทุติยฌานด้วย เอโกธิภาวะ(เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น)

    ทรงแสดง สมาธิที่ไม่มีวิตก-วิจาร ซึ่ง จะตรงกับ สมาธิอันมีคุณไม่มีประมาณ หรือ เอโกธิภาวะ ใน อังคิกสูตร ที่ว่า

    สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร

    อนึ่ง ทุติยฌานนี้ มักจะบรรยายด้วย ภาษาที่ว่า

    "....เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่..."

    (ในพระสูตรนี้ ใช้คำว่า คุมจิต...คือ ไม่ต้องใช้วิตก-วิจาร ข่มสสังขารธรรม...เป็นเพียงมีสติสัมปชัญญะประคองจิตไว้)

    นอกจากนี้

    ในหัวข้อถัดมา คือ ข้อ๗๑๘ ทรงแสดงว่า

    แม้น จะ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...พิจารณาเห็นจิตในจิต....พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ก็ จะดำเนินไปในลักษณะเดียวกับ การพิจารณาเห็นกายในกาย เช่นกันด้วย


    ส่วน เรื่อง การบีบสติ เมื่อ ฌานสูงขึ้น นั้น ...ไม่น่าจะใช่ครับ

    เพราะ ในรูปฌานทั้ง4นั้น รูปฌานที่4 พระพุทธองค์จะทรงแสดงด้วยคำว่า "มีสติบริสุทธิ์" .... ซึ่ง ไม่ใช่ลักษณะ การบีบสติ .... แต่ เป็นเพราะ จิตละวางอารมณ์ที่หยาบกว่า มาอยู่ กับอารมณ์ที่ละเอียดกว่า แบบมีสติตั้งมั่น



    ใน ภาษากลาง ที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย... คำว่า เพ่ง สื่อถึงความหมายของ การดู การรู้ การพิจารณาที่สืบเนื่องด้วยสติ... เป็น ความหมายในทางบวก เช่น ในพระสูตรที่ตรัสแสดงถึง การเพ่งธาตุ เพ่งขันธ์ เพ่งปฎิจจสมุปบาท เป็นต้น

    BUDSIR for Thai Translation



    ส่วน คำว่า เพ่ง ในประโยค "ไม่(เผลอ)เพ่ง " เป็น ภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่ม มีความหมายในทางลบ ....
    และ มักจะได้ยิน คำต่างๆเหล่านี้ ติดตามมา เช่น
    จม
    แช่
    หลงลืมกายใจ
    ลืมกายลืมใจ
    ๆลๆ
    ซึ่ง ล้วนแต่ มีความหมายไปในทางลบ



    ยินดี ที่ได้สนทนา ครับ
     
  11. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677






    เรื่อง ของการเจริญสมาธิภาวนา


    กสิณ ก็มีข้อดีตรง จิตสงบง่ายกว่า(ถ้ามีจริตนิสัยในทางนี้)

    แต่ กสิณ ก็มีส่วนที่ต้องใช้ ระบบประสาท มากกว่า อานาปานสติ เป็นธรรมดา คือ ต้องใช้การน้อมนึกนิมิตกสิณ....

    ส่วน อานาปานสติ เป็นอารมณ์ที่ละเอียดกว่ากสิณ ...อาจจะจับลมหายใจไม่ทัน

    แต่ อานาปานสติ มีอานิสงส์ข้อ1คือ

    ๑๘๑. เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญอานาปานสติมาก "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์นี้ให้ดี."

    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑


    อานาปานสติ จึงเป็น สมาธิภาวนาประเภทที่๑(เป็นเพื่อสุขในปัจจุบัน) คือ ใช้พักธาตุขันธ์ ไปในตัว หรือ เป็นฐานพักของจิตเอาไว้พิจารณาธรรม(อย่างที่ หลวงตา มหาบัว ท่านแสดง) ชั้นยอด


    ปล...

    ที่ผมกล่าวเช่นนี้ มิได้หมายถึง การฝึกกสิณ ไม่ดีน่ะครับ.... กสิณ มีประโยชน์ สำหรับ ผู้ที่มีจริตนิสัยในด้านนี้ แน่นอน.






    ส่วน ประเด็นเรื่อง การเจริญสมาธิภาวนาไม่ควรเครียดเกร็ง นั้น ผมเห็นด้วยครับ

    แม้นแต่ การเจริญอานาปานสติ หลวงตา มหาบัว ท่านก็ได้สอนเอาไว้ดังนี้ครับ


    โอวาท หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    การฝึกหัดเบื้องต้นโดยมากก็มักถูกกับกรรมฐาน บทอานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก

    โดยมีสติกำกับรักษาจิตอย่าให้เผลอในขณะที่ทำ
    ทำใจให้รู้อยู่กับลมเข้าลมออกเท่านั้น
    ไม่คาดหมายผลที่จะพึงได้รับมีความสงบเป็นต้น
    ทำความรู้สึกอยู่กับลมเข้า ลมออกธรรมดา
    อย่าเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไป จะเป็นการกระเทือนสุขภาพทางกายให้รู้สึกเจ็บนั้นปวดนี้
    โดยหาสาเหตุไม่เจอ ซึ่งความจริงสาเหตุก็คือการเกร็งตัวเกร็งใจจนเกินไปนั่นเอง

    ควรมีสติรับรู้อยู่ธรรมดา ใจเมื่อได้รับการรักษาด้วยสติจะค่อยๆ สงบลง ลมก็ค่อยละเอียดไปตามใจที่สงบตัวลง ยิ่งกว่านั้นใจก็สงบจริงๆ ลมหายใจขณะที่จิตละเอียดจะปรากฏว่าละเอียดอ่อนที่สุด จนบางครั้งปรากฏว่าลมหายไป คือลมไม่มีในความรู้สึกเลย






    หรือ ถ้าเราอ่านในระดับพระสูตร จะพบเรื่อง การที่มีวิริยะมากเกินไปทำให้ อุทธธัจจะ...


    คำว่า อุทธัจจะ เรา-ท่าน มักจะเข้าใจกันเพียง ฟุ้งซ่าน... แต่ ความจริงแล้ว คำว่า อุทธัจจะ นี้ จะครอบคลุม ถึง อาการเครียดเกร็ง อยู่ด้วย (ลอง หาอ่าน จาก พุทธธรรม)



    ถ้า วิริยะ หรือ ตั้งใจ มากเกินไป ... ก็ ต้องถ่วงดุลย์ ด้วย ปัสสัทธิ คือ ภาวนาไปแบบ สบายๆ.

    นี่ เป็นลักษณะ ที่เรียกว่า เป็นทั้งศาสตร์(หลักการ)และ ศิลป์(เทคนิก)
     
  12. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี ประเด็น มาเสนอเพิ่ม



    ได้รับฟังมาว่า


    รู้ อยู่ระหว่าง เผลอ กับ เพ่ง




    >>>>>>>>>>>>>>>>>>





    ขอ เสนอ ความเห็น ดังนี้ครับ




    ผมเสนอ เทียบ องค์ธรรม กับ ในพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดง อินทรีย์5




    คำว่า "รู้ " คือ อะไร?
    คำว่า รู้ จะปรากฏใน มหาสติปัฏฐานสูตร ว่า รู้ชัด .... นี่ คือ สติ ...
    เป็น อินทรีย์ข้อที่3 ที่สืบเนื่องมาจาก วิริยะ(อินทรีย์ ข้อที่2) และ นำไปสู่ สมาธิ(อินทรีย์ข้อที่4)
    ก่อนที่จะนำไปสู่ปัญญาญาณ(อินทรีย์ข้อที่5)

    อาการรู้ที่สืบเนื่อง เรียกว่า รู้ชัด บ้าง... มีสติตั้งมั่น บ้าง ...ซึ่ง มีความหมายในทางบวก ... คือ เป็นสิ่งที่พึงเจริญ




    คำว่า "เผลอ" คือ อะไร?
    คำว่า เผลอ แปลตรงๆ ก็คือ ขาดสติ นี่เอง ตรงกับ อินทรีย์ข้อใด อ่อนไป...
    นี่ ก็คือ ตั้งใจที่จะเจริญสติปัฏฐานน้อยไป ตั้งใจรู้น้อยเกินไป... วิริยะน้อยเกินไป... สติจึงเลื่อนลอย



    คำว่า "เพ่ง" คือ อะไร?
    คำว่า เพ่ง (ในภาษาเฉพาะกลุ่ม; คนล่ะเพ่งกับภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย) นี้ ตรงกับ อินทรีย์ข้อใด มากไป...
    นี่ ก็คือ ตั้งใจที่จะเจริญสติปัฏฐานมากไป ตั้งใจรู้มากเกินไป... วิริยะมากเกินไป... จึง เครียดเกร็ง



    สรุป


    เผลอ หมายถึง การตั้งใจรู้ที่น้อยเกินไป(วิริยะน้อยไป)

    รู้ สื่อถึง การตั้งใจรู้ที่พอดี

    เพ่ง หมายถึง การตั้งใจรู้ที่มากเกินไป(วิริยะมากไป)



    รู้(พอดี) จึงอยู่ ตรงกลาง ระหว่าง เผลอ(น้อยไป) กับ เพ่ง(มากไป)


    ซึ่ง เพ่ง ในภาษาเฉพาะกลุ่มนี้ ...เป็น คนล่ะความหมายกับ คำว่า เพ่ง ในภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย




    ปล...

    ผมจึงขอเสนอ ให้ทุกฝ่าย หันมาใช้ภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้
     
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มีอีก ประโยคหนึ่ง ที่ได้รับฟังมา


    เผลอ ดีกว่า เพ่ง ???





    เหตุผล ที่ได้สดับมา มี ลักษณะ คือ


    ถ้า เผลอ ....เมื่อไรที่รู้สึกตัว ก็จะกลับมามีสติ...
    เรียกว่า เผลอ เป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องปกติ ของ เรา-ท่าน...เพียง แต่ เมื่อรู้(แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจรู้ รู้ขึ้นมาเองๆ) ก็ จะถูกทาง ได้เอง

    แต่

    ถ้า เพ่ง จะเป็นลักษณะ ถลำรู้ ....กลายเป็น โมหะสมาธิ ไปเลย... และ ฟังดูเหมือนจะกล่าวในลักษณะ ที่ว่า ไม่มีทางย้อนกลับมารู้ตามจริง ได้เลย???




    >>>>>>>>>




    ขออนุญาต เสนอ เทียบเคียง พระพุทธพจน์


    รู้.... ดีแน่นอน ไม่ต้องสงสัย

    เผลอ ...คือ ขาดสติ ไม่ดีแน่นอน

    เพ่ง.... ที่เป็นพระพุทธพจน์(เช่น เพียรเพ่ง เพ่งฌานในอินทริยภาวนาสูตร เพ่งธาตุ-อายตนะ-ปฏิจจสมุปบาท) เป็นสิ่งที่ดี ....ไม่ใช่ สิ่งที่ไม่ดี .... ไม่ใช่ การถลำรู้ การหลงลืมกายใจ ใดๆหรอก... แต่ เป็นเพราะ การมีสติสืบเนื่อง ต่างหาก!!!




    ดังนั้น ถ้าดูตามพระพุทธพจน์ เพ่ง ดีกว่า เผลอ ... แน่นอน

    และ เพ่ง ดีกว่า รู้ เสียอีก!!!
     
  14. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    -ตอนนี้ที่ผมทำมหาสติปัฏฐานอยู่ บางทีก็เกิด ปิตินะ ( กายใหญ่โต ) ทั้งที่ผมก็ไม่ได้เพ่งแต่อย่างใด อารมณ์ก็เบาสบายต่างจากสุขในการเพ่ง ก็ไม่รู้ว่าเรียกสมาธิอะไรครับ แต่ที่ผมทำนี้เหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
    * การข้ามสิ่งที่หยาบไป หรือมองไม่เห็นหัวมัน ด้วยอารมณ์ที่ละเอียดนี่เช่น อาการปวดสุดๆนี่ ทั้งที่ชีวิต ในปัจจุบัน อนาคต หรือก่อนตายต้องเจอกับมัน เหมือนไม่เคยทำความรู้จักกับมันไว้ก่อนนี่กลัวจะรับมือมันไม่ไหวน่ะครับ และก็ไม่อยากทำฌานก่อนตาย

    อนุโมทนาครับ
    เรื่องตัวหนังสือหรือคำศัพท์สูงๆผมไม่ค่อยสันทัด ก็ตอบแบบที่ผมทำมาละกันครับ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ภาษามีไว้เพื่อสื่อสาร ให้เข้าใจตรงกันในหมู่เหล่า
    คำว่า "เพ่ง" ย่อมแตกต่างกับคำว่า "จ้อง"

    การเพ่งนั้นเป็นการรู้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย รู้ได้ด้วยตาในเท่านั้น
    ส่วนว่าจ้องนั้นเป็นอาการของการใช้ตาเนื้อ จ้องอะไรสักอย่างหนึ่งนานเกินไป ทำให้เครียดได้

    แต่อารการเพ่งเพียรภาวนานั้น เป็นไปในฝ่ายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเท่านั้น
    ซึ่งพอเทียบเคียงให้ลงกันได้กับ สัมมาวายามะ(เพียร) สัมมาสติ(เพ่ง รู้อย่างต่อเนื่อง)

    ท่านครับ เรื่องจิตโปรดเข้าใจเสียใหม่นะ จิตไม่ใช่อนัตตา
    และในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าจิตเป็นอนัตตา
    เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์๕....

    จิตไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น เป็นเพียงธาตุรู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำให้เสียคุณภาพไป
    จิตปุถุชน จึงรู้ผิดไปจากความเป็นจริง ไม่รู้เห็นอริยสัจจ๔หรือเข้าไม่ถึงอริยมรรคมีองค์๘
    ส่วนพระอรยสาวกนั้น จิตของท่านรู้เห็นตามความเป็นจริง รู้อริยสัจจ๔หรือเข้าถึงอริยมรรคได้แล้ว....

    ;aa24
     
  16. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ Waritham




    เสนอ ศึกษา ทันตภูมิสูตรที่๕ ครับ(จาก ลิงค์ ใน คห. ข้างต้น)






    รูปฌาน ที่๑-๔ ในพระสูตรนี้ เป็นผลสืบเนื่องจาก การเจริญสติปัฏฐาน น่ะครับ...

    การ พิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) นั้น คือ วิตก วิจาร ..... จึงมีผล เป็น ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ ขึ้น



    ส่วน ประเด็นคำว่า เพ่ง ในพระสูตรต่างๆ หมายถึง การที่มีสติรู้สืบเนื่อง

    ถ้าหาก คุณมีสติรู้สืบเนื่อง จนบังเกิดปิติขึ้น นั้น .....คือ คุณเพ่งแล้ว.... ตามลักษณะของภาษาที่ใช้ในพระสูตร... เพราะ นี่ กำลัง มีผล3(ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์)เกิดขึ้นแล้ว... และ นี่ เข้าเขตแห่งฌาน แล้ว



    ปล...

    การมีสติรู้สืบเนื่อง ถ้ารู้ใน อารมณ์เดียว เช่น เพ่งกสิณนิมิต ภาษารุ่นหลังพุทธกาล เรียก อารัณูปณิชฌาน

    การมีสติรู้สืบเนื่อง ถ้ารู้ใน สภาวธรรม เช่น ไตรลักษณ์ ภาษารุ่นหลังพุทธกาล เรียก ลักขณูปณิชฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2009
  17. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    คำว่าเพ่ง จริงแล้ว มันไม่ได้เป็นปัญหาเลย ณาน ก็คือการเพ่งพินิจอย่างที่คุณธรรมภูมิได้กล่าวไปบ้างแล้ว แต่ที่เป็นปัญหา ก็คือ การเพ่งไม่เป็น หรือยังเป็นปัญหา หากเพ่งแล้วไม่เป็นปัญหาหรือติดขัด มันก็มิได้เป็นปัญหาแต่อย่างไร แต่ที่เห็นเป็นปัญหากันมาก คือ เพ่งแล้วไม่ผ่าน ติดแหงก ตึง เคร่งเคลียดไปหมด นั้นมีนัยยะอยู่สองประการใหญ๋ คือ หนึ่ง พละ อินทรียังบ่นไม่ได้ที่ สองแต่ดันมีความ อยากจะให้เป็นไปดังใจหมายเกินความพอดี เมื่อเกินพอดี ปัญหาก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
    พอผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะคนที่เริ่มใหม่ ความตั่งใจแรงกล้า ประกอบได้ยินได้ฟังมาเยอะ พอเริ่มทำก็ใส่เต็มที่ ทั้งๆยังไม่ค่อยเข้าใจวิถีแห่งการดำเนินกัน ปัญหาก็มีขึ้น มันเปรียบเหมือน คนแรงน้อย พยายามจะเข็นพลักของหนัก ร่างกายมันเกร็ง ตึง ดันกันหน้าดำหน้าแดง ผลคือหมดแรงไม่ไปไหน ส่วนคนที่มีร่างกายกำย่ำ หรือเพาะกายมาเป็นอย่างดี มีการออกกำลังจน มีกำลังพละมาก เวลาเค้าผลักดัน รถ แค่มือข้างเดียวแบบสบาย ๆ ไม่มีอาการตึง เกร็งจนเส้นเอ็นปูดโป่ง มันก็ไม่มีปัญหาแต่ประการใด ๆ เพราะ ความพอดี พละและ สิ่งที่ดำเนิน รู้รอบความพอเหมาะควร

    ความเผลอ จริง ๆ มันก็ คือ ความฟุ้งซ่านไป หรือไม่ก็ ความง่วงนอน พวกนี้ ก็คือ ปัญหาอีกนั้นแหละ สติพละ อ่อน มันก็หลงฟุ้งซ่านไป หรือไม่ ก็หลับ สับนกกัน อันที่จริง ทั้งสอง ปลาย เพ่งเกินพอดี กับ เผลอสติ มันก็เป็นปัญหาด้วยกัน

    เพราะฉะนั้น คำว่าไม่เผลอเพ่ง ไม่มีในสาระบบผม เพ่ง่แล้วติดปัญหา หรือ ไม่ก็เท่านั้นเอง แต่ต้องกล่าวปิดข่องโหว่ไว้สักหน่อย ไม่งั้นเดี่ยวจะมีใครมายกประเด็นมากล่าวอ้าง ใช่ว่าทุกการประพฤติปฏิบัติจะต้องเพ่งไปเสียทั้งหมด นัยหลายนัยยะก็อย่างที่คุณ ธรรมภูมิกล่าว คือความสืบต่อไม่ขาดสาย ดุจสายน้ำ จิตตั่งมั่นคงสภาพในอารมณ์สิ่งเดียวอย่างพอควร ไม่ถล่ำไปหน้า ไปหลัง ทรงตัวเองในสภาพ เหมือนคนขี่จักรยาน พอเคลื่อนออกตัว รถจักรยานมันก็ทรงตัวแล่นไป ไปสะงอกสะแงก ล้มซ้ายล้มขวา
     
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ dokai ครับ




    ผมเห็นว่า เป็นปัญหาครับ

    เพราะ ภาษาคำว่า "เพ่ง" ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแปลไทย ดังที่ผมยกตัวอย่างมา หรือ แม้นแต่ คำว่า "เพ่ง"ที่หลวงปู่ดุลย์ท่านกล่าวไว้
    กับ
    คำว่า"เพ่ง"ที่หลายท่านใช้กันอยู่อย่างเกลื่อนกลาด เป็นคนล่ะความหมายกันครับ


    ปัญหานี้ มันโยงไปถึง ประเด็น ที่มักจะกล่าวกันว่า สมถะ คือ อาการจมแช่ ลืมกายลืมใจ (กล่าว สมถะ ใน ความหมายของมิจฉาสมาธิ เพียงแง่มุมเดียว)... โดย มักจะกล่าวกันว่า เป็น เพราะเพ่ง หรือ เผลอเพ่ง ... และ จะโยงไปถึงที่ว่า เวลาภาวนา ต้องระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ หรือ อย่าไปเผลอเพ่ง เข้า




    เห็นด้วยครับ

    จึง ตั้งกระทู้นี้ขึ้น เพื่อ เสนอ ให้ทุกฝ่าย ใช้ภาษาให้ตรงกัน และ พูดระบุให้ชัดเจน



    ยินดีที่ได้สนทนาครับ
     
  19. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คุณ Waritham ครับ



    เรื่อง ที่ว่า เจริญกายคตาสติ(หรือ กายานุปัสสนา) แล้ว ปรากฏ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ นั้น ....ไม่แปลกครับ

    อย่าว่า แต่ เพียง จิตเป็นฌานจากการเจริญกายคตาสติ เลย .... แม้น อภิญญาทั้ง6 ก็สามารถบรรลุได้ด้วยกายคตาสตินี้


    เสนออ่าน



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่น้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งความรู้ยิ่งนั้น ๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วด้วย ฯ
    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาก ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
    จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่ารู้วาจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้ เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้างหลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวักวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข และทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
    แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ........... ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ"
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    กายคตาสติสูตร ๑๔/๑๗๘





    หรือ แม้นแต่ การเจริญ วิปัสสนาโดยตรง ฌานจิต ก็สามารถบังเกิดได้

    หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย

    ท่านได้แสดงธรรม ในการเจริญวิปัสสนาแล้วมีองค์แห่งฌานปรากฏขึ้นเอง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า) เอาไว้ดังนี้


    “...ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ

    ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา

    คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

    ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
    ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้ มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ ตลอดคืนยันรุ่ง

    เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ

    ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู ่ โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
    จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว
    หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด
    หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้ การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
    ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
    ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ…”
     
  20. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ภาษา กับ การปฏิบัติ มันไม่ตรงประเด็นกัน มันถึงเป็นปัญหาและเข้าใจยาก

    ที่ผมพยายามจะกล่าวคือ คำว่า เพ่ง ในพยัชนะหรือ ความหมายกลางๆนั้น มันไม่ได้มีปัญหาอะไร ที่เป็นปัญหาคือ วิธีการประพฤตปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติ ผมถึงบอกว่า มิได้ เป็นปัญหา

    ในวิถีแห่งการปฏิบัติของการ "เพ่ง" ก็ ไม่เป็นปัญหาเช่นกัน มิฉะนั้น ครูบาอาจารย์ คงไม่กล่าวถึง การเพ่ง แต่มีบางกลุ่มพยายาม ทำให้เข้าใจว่า คำว่า เพ่ง เป็นปัญหา และผิด ทำไม ไม่กล่าวว่า มันทำไมถูกต่างหาก

    คำสอน พระพุทธองค์ และ ครุบาอาจารย์สื่อความหมายไว้สิ่งหนึ่ง ผู้ปฏิบัติต่างหาก ที่ประพฤติปฏิบัติ ได้ยังไม่ตรงนัยยะ ไม่ได้ผลกับสิ่งที่บรมครู และ ครูบาอาจารย์บอก ฉะนั้น ถ้าทำถูก มันจะผิด อย่างไรกัน ถ้าเป็นวิธีที่ผิด พระพุทธองค์กล่าวสอนไว้ทำไมกัน

    ผมก็เพิ่งจะมาเห็นระยะหลังๆไม่ถึงสิบปีนี่เอง ที่ มีบางสำนัก ใช้คำว่า
    "เผลอเพ่ง" ถ้าคำว่า เผลอ นั้น แสดงนัยยะของความขาดสติ เผลอสติ แต่คำว่าเพ่ง ผมไม่เห็นมีตรงไหนในพระไตรปิฏก กล่าวว่าเป็นปัญหา แต่กลับพยายามโยงภาษา เอาคำว่า เผลอ + เพ่ง แล้วทำให้ คำว่า เพ่ง หรืออะไรที่ขึ้นต้นว่า "เพ่ง" ปัป เป็น ผิดหมดเสมอ ยิ่งยุคสมัยนี้ด้วยแล้ว จะหาผู้ปฏิบัติได้ถูก นับว่าน้อย โดยส่วนใหญ่ สภาพจิตของผุ้คนยุกไฮเทคมันก็ขาดความพอดีพอควรแก่การงาน โดยมากจึงยังทำได้ไม่ถูกนัก มันก็เลยเป็นโอกาสให้ยกประเด็นขึ้นมาชูว่า "เห็นไหม ติดเพ่งแล้ว มันผิด" แล้วเที่ยวไปทักคนโน้นคนนี้ มันเป็นความพยายามที่จะเอาปัญหาของผู้ที่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไมได้ผล หรือ พวกที่หลับตาทำกรรมฐานไม่ได้ฟุ้งซ่านตลอด แล้วเอามาตีขีดเป็น ข้อสรุปเป็นบรรทัดฐานว่า การเพ่งเป็นหนทางที่ผิด นี่คือการ มองเหมาโหล "sterio type" แต่กลับไม่พยายาม ศึกษาทบทวนหาว่า ผู้ที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง แล้วเจริญไปได้ ทำกันอย่างไรกัน ผู้ที่เจริญได้ ก็ยังมี เพราะฉะนั้น วิธี ไม่ได้ผิด แต่ ทำไม่เป็นต่างหาก

    การกล่าวหักล้าง ธรรมของบรมครู หรือแม้นแต่ ครูบาอาจารย์ที่เป็นที่นับถือสืบกันมา บ่อย ๆเข้า ทุกวันนี้ท่านๆ ที่เคยพยายามไม่ต่อปากต่อคำแต่ก่อน เริ่มชักเห็นถีงความ เยอะ ความล้น ท่านทั้งหลายก็เลยออกมากล่าวเบรค กันเป็นวงกว้างมากขึ้น ๆ คงต้องคอยติดตามกันต่อไป

    คำว่าเพ่ง โดยแท้จริงมันก็ยังไม่สมบรูณ์เสียที่เดียว เนื่องด้วยความจำกัดของภาษา หากจะกล่าวให้สมบรุณ์กระชับขึ้นอีกหน่อย ควรประกอบดคำว่า "เพ่งพินิจ" หรือ "เพ่งพิจารณา" คำว่า เพ่ง โดด ๆ อย่างเดียว ภาษา มันดิ้น เลยเป็นช่องโว่แห่งนัยยะและความเข้าใจผิดกัน

    ผู้ที่กล่าวถึงการเพ่ง เป็น ผิดหมด อันนี้ ผมว่าตั่งทิฐิเอาไว้ ผิดที่ผิดทาง และ เป็นความสุดโต่ง มันก็อย่างที่บอก เช่นเดียวกับการทำสมถะ พยายามบอกว่า เป็นการกดข่ม หินทับหญ้าบ้างละ เป็นการไปยกเป็นจุดๆ เอามาตี ทำไมไม่สอนว่า เวลาที่ควรกด ก็ควรกด เวลาที่ไม่ควร กดก็ไม่ควร นักภวานาว่าควรไปค้นพระไตรปิฏกอ่านศึกษากัน รุ้เรื่องบ้างไม่รุ้เรื่องบ้างยังดีกว่า ค่อยๆซึมค่อยๆซับ ดีกว่าไปฟังสืบๆมา ต้นปลายก้ไม่ชัด ผลก็คุมเคลือมาก

    ผมเห็นแต่ เค้ามีแต่ สมถะนำวิปัสสนา หรือ วิปัสสนา นำสมถะ หรือ ทั้ง สมถะและวิปัสสนาดำเนินไปคุ่กัน ไม่เห็นมีการกล่าวตำหนิติเตียนการปฏิบัติกัน

    สติสัมปชัญญะ และ สมาธิ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินคู่กันไปเสมอ ไม่สามารถแยกแตกจากกัน เป็นธรรมหนุนกัน ไม่หักล้างกัน หากขาดสิ่งใด อ่อนอันใดอันหนึ่ง ก็เป็นปัญหาในการปฏิบัติสำหรับนักภวานา

    ขอบคุณที่ให้โอกาสสนธนาด้วย ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...