ควบคุมระดับฌาณ ยังไง!!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jabb2541, 9 มิถุนายน 2013.

  1. jabb2541

    jabb2541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ฌาณหนึ่ง ไปฌาณสอง คือ วิตก วิจาร หายไป พอมันหายไป ก็คือฌาณสอง
    พอได้ฌาณสอง อยากจะกลับไป ฌาณหนึ่งต้อง ทำให้วิตกวิจาร กลับมา (ถาม จะให้กลับมาต้องทำยังไง (ของผมมันหายไปเลย))
     
  2. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    กำลังของฌาณความเข้ม อ่อน เสื่อมหรือไม่

    เท่าที่สังเกตุศีลกับระดับของศีลเป็นตัวควบคุม

    ส่วนการปรับหรือเล่น หรือเข้า ถ้าที่เรียกว่า "วสี" ความชำนาญ

    ก็ใช้วิธีระลึกได้เลย จะเข้าขั้นไหนก็ได้อาจใช้

    สัญญาเป็นตัวนำ(แล้วแต่บางท่าน) ถ้าเข้าฌาณสอง

    ฌาณอื่นก็ไม่ปรากฎเป็นธรรมดา เพราะฌาณแปลว่าเพ่ง :mad:

    ถ้าอยู่ในอารมณย์ไหนจะเพ่งอยู่เฉพาะอารมณย์เดียว

    ส่วนบางท่านอาจใช้การทำสมาธิเช่น catt25 ดูลมนำก่อน

    (วิธีความชำนาญแล้วแต่ของใครของมัน)

    อนุโมทนาครับ การที่ได้ฌาณเป็นอนันตริยกรรม ทางฝ่ายกุศลครับ

    แต่ถ้าเสื่อมหรือหายไปก็อย่าไปเป็นทุกข์กับมัน ปฎิบัติ

    ไปเรื่อยๆครับ คนเคยมีเดี๋ยวมันก็กลับมาเองครับ. yimm
     
  3. stk99

    stk99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +1,515
    ใช้ภาพพระหรือกสินเป็นเครื่องเทียบสิครับ จะรู้ระดับของฌานเอง
    พยายามทำอินทรีย์และพละให้เข้มแข็งน่ะครับแล้วจะทรงฌานได้เอง
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถอนฌาน ๒ มาฌาน ๑ ไม่ยากหลอกครับ ....สำคัญที่ว่าคุณต้องเคยชินกับอาการของฌานทั้ง ๒ แบบ ให้ถนัดในอันดับแรกก่อน...คุณสังเกตจากอาการถอนอารมณ์ในกรรมฐานที่คุณปฏิบัติอยู่ จริงๆน่าจะบอกว่าต้อนนี้คุณฝึกกรรมฐานอะไรอยู่ด้วยนะครับ เพราะกรรมฐาน มี ๔๐ อย่าง ลักษณะการดำเนินฌานในแต่ละกองก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด เอาเป็นว่าผมจะบอกในอานาฯ แล้วกัน ถ้าคุณชำนาญในสองฌานนี้ คุณลองถอนอารมณ์มานิดจากคำภาวนาที่เริ่มไม่ค่อยชัดเจน กลับมาชัดเจนมากขึ้น จนชัดเจนสงบนิ่งอยู่มีคำภาวนา มีการกำหนดรู้ลมชัดเจนเป็นปกติ อารมณ์สบายๆ นั่นหละปฐมฌาน.....
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เอาเป็นว่าเดี๋ยวผมจะให้แบบสอบอารมณ์ฌานจากครูบาอาจารย์ ใน กรรมฐานอานาฯ ไว้ .....คุณสามารถตรวจสอบสภาวะลำดับฌานได้ด้วยตนเองเลยครับ.....
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <table style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class="MsoNormalTable" border="1" cellpadding="0" width="26%"><tbody><tr style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><td style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </td></tr></tbody></table>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<o:p</o
    **************************************************<o:p</o

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <o:p</o
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก่อนที่ท่านจะขึ้นทุติยฌาน นั้น
    ท่านต้องทำปฐมฌานให้เป็นวสีก่อน ทุติยฌานจึงจะเกิดได้
    ฉะนั้นการจะกลับมาปฐมฌาน ก็ตรงวสีนี่แหละท่านก็จะกลับมาได้

    อย่าเพิ่งไปพิจารณาองค์ฌาน ควรพิจารณาองค์ภาวนาไปก่อน
    เพราะจะทำให้องค์ภาวนาหายไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2013
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    มีแต่ผู้ปฎิบัติหวังจะนั่งได้พัฒนาระดับไปถึง ระดับ ๔ คือจตุตถฌาน
    มีคุณคนแรก อยากจะกลับไปอยู่ระดับ ๑ ปฐมฌาน
    จะถอยฌานไปทำอะไรเนี่ย
    อยากถอยก็ถอยได้ การที่เราไม่ได้ภาวนาอะไรนั้น
    ไม่ได้หมายความว่าเราละ วิตก วิจาร
    บางทีเราแค่ไม่อยากภาวนาเฉยๆ
    คือ บางคนเข้าไปสู่อารมณ์ที่ ละ วิตก วิจาร เองตามธรรมชาติ
    แต่พอมีสติระลึกรู้ว่า ตนไม่ได้ภาวนาเสียแล้ว
    แล้วก็มาจับจดอยู่กับตน มารู้ตนว่า นี่หนาคือฌาน ๒
    เราไม่ได้ภาวนา แสดงว่านี่คือฌาน ๑
    เพราะการที่เรามัวคิดนึกว่าตอนนี้เรา ไม่ได้ภาวนา
    นั่นก็คือ วิตก วิจาร นั่นแหละ

    อารมณ์ของฌาน ๒ คือ จะมีความอิ่มอกอิ่มใจ
    ต่างจาก ฌาน ๑ มากนัก เราจะไม่คิดอะไร
    รู้สึกแต่ความสุข และมีปีติเกิดบ้างเช่น ตัวโยก ตัวเอน น้ำตาไหล
    แต่พอปีตีพวกนี้ คือปัญหา มันจะดึงฌานเราถอย
    เราต้องปล่อยวาง เพราะปีตีอย่างตัวโยก ตัวเอนนั้น
    จะเกิดช่วงที่เข้าฌาน ๒ ถ้าตัวโยกแล้วเราเผลอเอาจิตไปจับ
    ที่สภาวะ รู็ว่าตัวโยก เราอาจจะเผลอไป วิตก วิจาร ปีตี ก็เป็นได้
    กลายเป็นถอยฌานมาเริ่มใหม่

    สภาวะที่ดี ของฌานที่กำลังจิตก้าวหน้า
    ตัวอย่างของสภาวะฌาน ๒ คือ มีความรู้สึก สบายใจ
    และมองเห็น ทั้งๆที่หลับตาอยู่
    ภาพที่เห็นอาจจะเป็นรอบๆตัวเองขณะนั้นก็ได้
    หรือบางที อาจจะเป็นที่ไหนสักแห่งที่เราอาจจะรู้หรือไม่รู้จัก

    การเข้าฌานมันไม่ได้ยาก
    แต่การทรงฌานนั้นๆให้ได้สิที่ยากกว่า
     
  9. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    รู้ เห็น ได้ยิน สัมผัส สักแต่ว่าเป็นเช่นนั้นเอง...อย่ายึดมั่นถือมั่น...ขออนุโมทนาบารมีทุกท่านที่เดินทางไปยังปลายทางเดียวกัน
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ของผมหลวงปู่สอนให้เพ่งฌานโดยตรง สอนให้ปฏิบัติพุ่งไปสู่ฌานที่๙โดยไม่ต้องสนว่าตอนนี้มันจะอยู่ที่ฌานไหน
    และหลวงปู่ได้สอนไว้อีกว่าขณะปฏิบัตินั้นผู้ปฏิบัติจะไม่รู้หรอกว่าฌานไหนเป็นฌานไหน ที่แยกระดับว่าฌานไหนเป็นฌานไหนนั้นก็เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าท่านแจกแจงให้ดูเท่านั้น สำหรับผู้ปฏิบัติจะต้องออกมาจากการปฏิบัติก่อนและนำสภาวะมาเทียบกับคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและแจกแจงไว้ก็พอจะเทียบเคียงได้
    สำหรับของคุณผมขอวิจารณ์ว่า ขณะที่คิดว่าอยากจะกลับไปที่ฌานหนึ่งอย่างไรนั้น ลักษณะความคิดอยากจะกลับไปตรงนี้ก็เป็นวิตกและวิจารณ์ครับ ขณะที่คุณคิดเช่นนั้นสภาวะขณะนั้นก็เป็นฌานหนึ่งแล้ว
    เจริญในธรรมครับ
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ พวกคุณเข้าใจผิดกันมานานมากแล้วนะขอรับ การปฏิบัติสมาธิ มักจะเกิด ฌาน(ชาน) ไม่ใช่ได้ฌาน(ชาน)นะขอรับ
    เพราะ ฌาน(ชาน) คือ ธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์นะขอรับ

    เมื่อปฏิบัติสมาธิ ก็จะเกิด ฌาน(ชาน) ตามลำดับ ดังที่พวกคุณรู้หรือได้ศึกษามานั่นแหละ ฌานที่ไม่พึงประสงค์ ก็คือ ฌาน(ชาน) หนึ่ง สอง สาม ฌาน(ชาน)ที่ผู้ปฏิบัติควรรักษาไว้คือ ฌาน(ชาน)ที่ สี่ (บางตำราว่า ห้า) อย่างอื่น ไม่เกิดขึ้นนั่นแหละดี
    แล้วที่คุณว่าได้ ฌาน(ชาน) มันได้อย่างไรหรือขอรับ ได้คิด ได้เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน ได้เป็นสุข ได้อารมณ์ อย่างนั้นหรือขอรับ อย่างนั้น เป็นความคิดที่ผิดขอรับ
     
  12. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    อันนี้ตอบยากนะครับ
    คือ มันเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะตัว ต้องเข้าบ่อยๆจนจำหน้าตามันได้ พอจะเข้าก็นึกถึงหน้าตาของมันแล้วมันก็เข้าเอง

    อย่างของผม ก็ไม่คล่องเท่าไร
    -ถ้าเข้าอุปจารสมาธิ ก็นึกถึงอาการที่ร่างกายเกิดปิติ ปิติเกิดก็เข้าอุปจารสมาธิทันที
    -ถ้าเข้าฌานสาม ก็นึกถึงอาการที่ จิตรับรู้ถึงแต่การมีอยู่ของร่างกาย การรับรู้ของจิตก็หดกลับเข้ามารับรู้ทุกอย่างในโลกนี้ไม่เกินขอบเขตุของผิวหนัง ก็เข้าฌานสามทันที
    -ถ้าเข้าฌานสี่หยาบ ก็เข้าต่อจากฌานสาม แต่กำหนดการรับรู้ของจิตให้แคบเข้ามา จนไม่รู้ถึงการมีอยู่ของร่างกาย มีสติโดดอยู่ รู้แค่ว่านี่เรา ก็เป็นฌานสี่หยาบ
    -ถ้าเข้าฌานสี่ละเอียด ต้องนอนก่อนหรือหาที่นั่งที่มีพนักพิง แล้วผ่อนกล้ามเนื้อในกายให้หมดก่อน แล้วทำเหมือนฌานสี่หยาบซักพัก กายทิพย์ก็จะแยกออกมา เป็นฌานสี่ละเอียด

    สังเกตุดูนะครับ
    ขั้นตอนของผมเป็นแบบนี้ เพราะผมฝึกของผมมาแบบนี้ ทำผิดไปจากนี้ก็เข้าไม่ได้เพราะมันเคยชินแบบนี้

    ผมสามารถลัดขั้นตอนได้แค่นี้เพราะพวกนี้เป็นระดับที่บังเอิญ เข้าได้ประจำ ทำได้ง่าย ก็เลยจำหน้าตามันได้ เวลาจะเข้าก็นึกถึงรูปร่างหน้าตามันแล้วก็เข้าไปตามนั้น
    (ที่เรียกว่าบังเอิญคือ มันเป็นระดับที่เข้าถึงของมันเองตอนหัดนั่งสมาธิ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจบ่อยๆ ก็เลยจำมันได้)

    ส่วนฌาน 1 กับ 2 นี่ ถ้าจะเข้าก็ต้องไปเริ่มตั้งแต่บริกรรมใหม่ เพราะจำทางไม่ได้ว่าเข้าอย่างไร ต้องค่อยๆเลาะเข้ามาตั้งแต่อุปจารสมาธิ กว่าจะหาจุดเจอบางทีเป็นชั่วโมง เข้าฌานสาม ฌานสี่ไปเลยจะง่ายกว่าสำหรับผม

    เข้าใจว่าในทางทฤษฏี กรณีผมจะเรียกว่า
    ไม่มีวสีใน ฌาน 1 กับ 2
    แต่มีวสีในฌาน 3 กับ 4 และอุปจารสมาธิ

    ดังนั้นขอสรุปตามมุมมองของผมนะครับ
    คือคุณต้องไปเข้าฌาน 1 กับ 2 บ่อยๆ

    บ่อยขนาดไหน???
    บ่อยจนคุณแยกความแตกต่างของมันออก แล้วนึกถึงก็เข้าได้ทันที
    ซึ่งไม่มีใครบอกคุณได้หรอกครับ ว่าอาการของใจกับกาย ที่ประกอบรวมกันแล้วทำให้คุณจำได้ว่า นี่ฌาน 1 นี่ฌาน 2 หน้าตามันเป็นอย่างไร
    ภาษาพระท่านเรียกว่า ปัจจัตตัง คือคุณทำของคุณ คุณก็รู้ของคุณ คนอื่นไม่รู้ด้วย

    ไม่เชื่อคุณลองเอาที่ผมอธิบายข้างบนไปเข้าฌาน 3 กับ 4 เล่นสิครับ
    ผมคิดว่าทำไม่ได้หรอก เพราะ
    1.นั้นเป็น "ปัจจัตตัง" ของ "ผม"
    2.ภาษาไทยอธิบาย "ปัจจัตตังของผม" ได้ครอบคลุมที่สุดแค่นี้ หมายความว่า รูปร่างหน้าตาของฌานมันมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ไม่รู้จะอธิบายยังไง

    เหมือนคุณอ่านเรื่อง การเข้าฌานจากหนังสือ ภาพที่คิดไว้ในหัว กับตอนเข้าได้นี่ คนละเรื่องเดียวกัน แต่อธิบายเป็นตัวหนังสือได้แค่นั้นก็เทพมากแล้ว

    ดังนั้นนะครับ ไปเข้าบ่อยๆ พอมันคล่องแล้วเดี๋ยวมันจะกลับไปกลับมาได้่เอง เรื่องนี้เป็นเรื่องของทักษะล้วนๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน การจำเทคนิคของคนอื่นมาอย่างเดียว ไม่ช่วยอะไรนะครับ
     
  13. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    อีกนิดนึงนะครับ
    คือคำถามของคุณ มันคลุมเครือมากไปนิดนึง

    อยากจะให้แน่ใจนะครับว่า วิตก กับวิจาร ในฌาน 1 จะมีอาการที่ คิดถึงกับนึกถึง แค่อารมณ์กรรมฐานอย่างเดียวนะครับ อย่างอื่นนอกจากอารมณ์กรรมฐานแล้วจิตจะไม่นึกถึงเลย นี่ถึงจะเป็นฌาน 1 นะครับ

    ถ้าวิตก กับวิจาร ของคุณคือคิดไปได้เรื่อยเปื่อย เกาะติดกับองค์กรรมฐานก็ได้ ไม่เกาะก็ได้ อันนี้ไม่ใช่นะครับ

    แล้วช่วงที่วิตกกับวิจารหายไป เนี่ยอยากจะให้เข้าใจตรงกันนะครับ ว่าอารมณ์กรรมฐานยังอยู่ แต่อยู่โดดๆ ไม่มี วิตก กับวิจารแค่นั้น

    ไม่ใช่ว่า วิตก กับวิจาร ในฌาน 1 คือคิดไปได้เรื่อยเปื่อย
    พอจิตหลุดจากอารมณ์กรรมฐาน แล้วหยุดคิดไปพร้อมๆกัน เหมือนนิ่งไปเฉยๆ แล้วเป็นฌาน 2
    พอรู้ตัว สติกลับมา ก็มาเริ่มภาวนาใหม่ แล้วนับเป็นฌาน 1 อีกรอบ

    แบบนี้ไม่ใช่นะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2013
  14. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ไอ้ฌานที่ง่ายๆแบบนี้จะฝึกกันทำไม ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ยุ่งยากเสียเปล่าๆ
     
  15. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    อานาปานสติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...