คนไทยกับความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pizzaa, 5 พฤษภาคม 2014.

  1. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกาะสุมาตรา ในปี 2004 ดูเหมือนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศแถบมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน จะติดภาพความน่าสะพรึงกลัวและตื่นตระหนกทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

    แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ในปี 2004 ถือได้ว่าเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ จากจุดศูนย์กลางทางตอนเหนือบนเกาะสุมาตรา ที่มีแรงสั่นสะเทือนขนาด 9.1 ผลที่ตามมาคือคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ความสูงของคลื่นสูงที่สุดที่มีการวัดได้คือ 30 เมตร มีประเทศที่ได้รับความเสียหาย 15 ประเทศ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 230,000 คน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุการณ์ครั้งนี้

    แต่ใครจะไปคิดว่าในอีก 7 ปีต่อมา ในวันที่ 11 เมษายน 2012 จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 8.6 และ 8.2 ในเวลาไล่เลี่ยกัน ใกล้เคียงกับจุดเดิมที่เคยเกิดขึ้นในปี 2004 โชคดีที่แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวบนรอยเลื่อนตามแนวระดับ ต่างจากแผ่นดินไหวเมื่อปี 2004 ที่เป็นแผ่นดินไหวบนรอยเลื่อนย้อน จึงไม่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าสู่ชายฝั่งสร้างความเสียหายแต่อย่างใด ประวัติศาสตร์จึงไม่ซ้ำรอย

    เพียงไม่กี่วันหลังจากแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา วันที่ 16 – 22 เมษายน 2012 ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ได้เกิดแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกนับเป็นระลอกได้กว่า 20 ครั้ง แผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดที่วัดได้มีขนาด 4.3 เพียง 1 ครั้ง นอกนั้นเป็นแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรง มีขนาดเพียง 2.0 – 2.7 เท่านั้น ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากแผ่นดินไหวที่ภูเก็ตครั้งนี้ ไม่ใช่สึนามิขนาดใหญ่ แต่เป็นความหวั่นวิตกของประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับข่าวลือว่าเกาะภูเก็ตกำลังจะจมเพราะภัยพิบัติแผ่นดินไหว

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายถึงขั้นเป็นความหายนะมีอยู่จริง และเคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย แต่แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ตที่เกิดขึ้นช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา รุนแรงเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้เกาะภูเก็ตจมได้ตามที่หลายคนตื่นตระหนก เรื่องเหล่านี้สามารถหาคำตอบได้ตามหลักวิทยาศาสตร์

    รศ.ดร. ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ที่ใช้เวลาหลายสิบปีในการศึกษารอยเลื่อนและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยอธิบายว่า แผ่นดินไหวที่มีขนาดความรุนแรงไม่ถึง 9.0 ไม่สามารถทำให้เกาะภูเก็ตจมได้ เนื่องจากเกาะภูเก็ตตั้งอยู่บนฐานหินตะกอนอายุกว่า 100 ล้านปี ซึ่งมีความแข็งแรงมาก และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 9.0 บนเกาะภูเก็ต เพราะรอยเลื่อนที่พาดผ่านเกาะภูเก็ตเป็นรอยเลื่อนที่ตายแล้ว คือไม่มีพลังงานสะสมมากจนจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้

    อาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่เหตุการณ์ที่คุ้นชินสำหรับคนไทย หากจะไปเปรียบเทียบกับประเทศที่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำอย่างญี่ปุ่น ทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวคนไทยย่อมตื่นเต้นมากกว่าเป็นธรรมดา ที่น่าสนใจก็คือ ตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดในปี 2004 เป็นต้นมา คนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นจากเดิมมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเรื่องความถี่ในการเกิด และขนาดของแผ่นดินไหว
     
  2. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณเกาะสุมาตรา - ภาพจาก วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.4 KB
      เปิดดู:
      87
  3. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    องค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Geological Survey) ได้ทำการบันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ปี 1900 จนถึงปัจจุบัน พบว่าค่าเฉลี่ยของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกในแต่ละปีมีมากกว่า 1 ล้านครั้ง เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ตั้งแต่ 7.0 – 7.9 จำนวน 15 ครั้งต่อปี และ ขนาดตั้งแต่ 8.0 ขึ้นไป เกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2000 – 2012 พบว่ามีจำนวนปีที่มีแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 8.0 ขึ้นไป มากกว่าค่าเฉลี่ย มีจำนวน 4 ปี คือปี 2004, 2006, 2007 และ 2012 ซึ่งในปี 2012 มีแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 8.0 ขึ้นไป เกิดขึ้น 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน บริเวณเกาะสุมาตรา

    หมายความว่า แผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 4.0 ที่ตรวจจับได้ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเฉลี่ยถึง 55 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 20,000 ครั้งต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลของประเทศไทยที่มีการตรวจจับแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บนเกาะภูเก็ตได้เพียงครั้งเดียวในปี 2012 และตรวจพบแผ่นดินไหวที่มีขนาดเกินกว่า 4.0 เฉลี่ยไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี ทั่วประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือว่าประเทศไทยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลก ในขณะที่ แผ่นดินไหวขนาด 2.0 – 2.9 ที่เกิดขึ้นบนเกาะภูเก็ตหลายสิบครั้ง และสร้างความกังวลให้กับคนไทยนั้น แต่ละปีทั่วโลกเกิดแผ่นดินไหวขนาดเท่ากันนี้มากกว่า 1 ล้านครั้ง

    นอกจากเรื่องความถี่ของแผ่นดินไหวแล้ว ในเรื่องขนาดและการวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มาตรวัดที่คนไทยคุ้นชินกับการตรวจสอบขนาดของแผ่นดินไหว คือมาตรวัดแบบ “ริกเตอร์” (Richter scale) แต่ในปัจจุบัน มาตรวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าคือมาตรวัดแบบ “แมกนิจูด” (Moment magnitude scale) ซึ่งไม่มีหน่วย เมื่อเขียนแสดงตัวเลขจะบอกเป็นขนาด เช่น แรงสั่นสะเทือนขนาด 4.3 หรือ M 4.3 ทำให้เกิดความสับสนในการใช้มาตรวัดทั้ง 2 วิธี

    ในทฤษฎีทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการวัดขนาดของแผ่นดินไหวพบว่า การใช้มาตรวัดแบบแมกนิจูด จะสามารถระบุขนาดของแผ่นดินไหวในระดับใหญ่ได้เที่ยงตรงกว่า มาตรวัดแบบริกเตอร์ ที่เหมาะกับการวัดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางและขนาดเล็ก ทำให้ปัจจุบัน สำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและนักธรณีวิทยาส่วนใหญ่ของโลกหันมาใช้มาตรวัดแบบแมกนิจูดแทนการวัดแบบริกเตอร์ แต่อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวที่มีขนาดปานกลางยังคงมีการใช้มาตรวัดทั้ง 2 แบบสลับกันบ้าง เนื่องจากมีค่าที่ใกล้เคียงกัน

    โดยค่าที่ได้จากตัวเลขตามมาตราริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้นหนึ่งค่า เช่น จาก 4.0 ริกเตอร์ เป็น 5.0 ริกเตอร์ จะมีพลังงานที่ปลดปล่อยจากแผ่นดินไหว ต่างกัน 10 เท่า แต่การวัดแบบแมกนิจูด ตัวเลขตามมาตราแมกนิจูดที่เพิ่มขึ้นหนึ่งค่า จะมีพลังงานที่ปลดปล่อยจากแผ่นดินไหวต่างกันประมาณ 32 เท่า
     
  4. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    การเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกในแต่ละปี - ภาพจาก วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.2 KB
      เปิดดู:
      123
  5. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    หากคิดเป็นค่าพลังงานที่ปลดปล่อยออกจากขนาดของแผ่นดินไหวแล้ว แผ่นดินไหวที่ทำให้คนรู้สึกได้จะมีขนาดอยู่ที่ 4.0 มีความรุนแรงเทียบเท่ากับฟ้าผ่าขนาดใหญ่ แต่ในแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแรงสั่นสะเทือนตั้งแต่ 6.0 ขึ้นไป ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนเทียบได้กับการปลดปล่อยพลังงานของระเบิดนิวเคลียร์ 1 ลูก ซึ่งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในอดีต เช่น แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกาะสุมาตราในปี 2004 แรงสั่นสะเทือนขนาด 9.1 หรือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่น ในปี 2011 แรงสั่นสะเทือน 9.0 มีพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ถึง 32,768 ลูก

    ดังนั้น แผ่นดินไหวบนเกาะภูเก็ตที่มีแรงสั่นสะเทือนขนาด 4.3 จึงเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ที่มีการปลดปล่อยพลังงานออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต แม้ตัวเลขที่ได้จากการวัดขนาดของแผ่นดินไหวจะดูเหมือนมีความใกล้เคียงกัน เช่น 4.3 กับ 6.0 หรือ 7.0 แต่พลังงานที่ปลดปล่อยออกมา มีความแตกต่างกันเป็นร้อยเป็นพันเท่า

    การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวด้วยความไม่รู้หรือความไม่เข้าใจ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่จะสร้างให้เกิดความโกลาหลตามมา ความตื่นตระหนกที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นว่าเรายังคงต้องใช้เวลาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหวอีก เพื่อจะอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข เพราะแผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่อยู่คู่กับโลกใบนี้ แม้ว่าการตื่นตัวและไม่ประมาทเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าตื่นตัวมากเกินไปจนขาดสติก็ย่อมมีผลเสียตามมาเช่นกัน

    แหล่งข้อมูล: องค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Geological Survey) วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     
  6. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ขนาดของแผ่นดินไหวและพลังงานที่ปลดปล่อย - ภาพจาก วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.6 KB
      เปิดดู:
      100
  7. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
  8. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ถ้าไม่นับรวมแผ่นดินไหวที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ด้วยการทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ หรือการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวเพียงเล็กน้อยและเกิดขึ้นไม่บ่อยแล้ว สาเหตุหลักตามธรรมชาติ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดคือ กระบวนการขยายตัวของเปลือกโลก และการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน

    สาเหตุสำคัญของแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบนเขต “รอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone)” ซึ่งในทางธรณีวิทยา “รอยเลื่อน (fault)” หรือ “แนวรอยเลื่อน (fault line)” เป็น “รอยแตกระนาบ (planar fracture)” ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้นเปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันในเขตรอยเลื่อนมีพลัง

    รอยเลื่อนมีพลังแตกต่างจากรอยเลื่อนไม่มีพลังตรงที่ รอยเลื่อนมีพลังจะมีการสะสมพลังงาน สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีกในอนาคต ในขณะที่รอยเลื่อนที่ไม่มีพลังไม่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีก นักธรณีวิทยาได้แบ่งลักษณะของรอยเลื่อนโดยอาศัยหลักฐานคือ ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่ารอยเลื่อนมีการเคลื่อนที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา จะถือว่ารอยเลื่อนเหล่านั้นคือรอยเลื่อนที่มีพลัง

    เราสามารถแบ่งประเภทของรอยเลื่อนได้เป็น 3 กลุ่ม จำแนกตามลักษณะของระยะเลื่อน (sense of slip) คือ

    1. รอยเลื่อนตามแนวมุมเท (dip-slip fault) แบ่งได้เป็น รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) และรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ เคลื่อนตัวในแนวดิ่ง โดยชั้นหินด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะที่อีกด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ลง ขึ้นอยู่กับทิศทางและมุมที่ชั้นหินทั้งสองระนาบทำต่อกัน สามารถทำให้เกิดสึนามิได้หากเกิดขึ้นในทะเล

    2. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) เป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ เคลื่อนตัวในแนวระดับ ในทิศทางตรงข้ามกัน

    3. รอยเลื่อนตามแนวเฉียง (oblique-slip fault) เป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ มีการเคลื่อนตัวตามแนวมุมเท และแนวระดับพร้อมกัน
     
  9. noway

    noway เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +3,970
    พูดจริงหรือประชด
     
  10. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ลักษณะรอยเลื่อน - ภาพจาก วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      94
  11. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจข้อมูลรอยเลื่อนมีพลังและพบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญจำนวน 3 แนว ตามทิศทางการวางตัวและการเลื่อนตัว คือ 1. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ 2. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และ 3. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยรอยเลื่อน 14 กลุ่ม

    จากข้อมูลล่าสุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่า รอยเลื่อนมีพลังทั้งหมด 14 กลุ่ม วางตัวพาดผ่านพื้นที่ จํานวน 1,406 หมู่บ้าน 308 ตําบล 107 อําเภอ 22 จังหวัด โดยในเขตภาคเหนือเป็นเขตที่มีการพบรอยเลื่อนมีพลังอยู่มากที่สุดของประเทศไทย มีจำนวน 9 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนแม่จัน, รอยเลื่อนแม่อิง, รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน, รอยเลื่อนแม่ทา, รอยเลื่อนพะเยา, รอยเลื่อนปัว, รอยเลื่อนเมย, รอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนอุตรดิตถ์

    ส่วนทางภาคตะวันตกของประเทศ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และทางภาคใต้ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน เช่นกัน คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย โดยในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน

    ในปี พ.ศ. 2548 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดทำแผนที่บริเวณความเสี่ยงแผ่นดินไหว โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่ และขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้วิศวกรใช้ในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ต้องคำนึงถึงค่าความปลอดภัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของกรมโยธาธิการและผังเมืองพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่บังคับให้วิศวกรต้องออกแบบอาคารที่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ ในพื้นที่ที่กำหนด

    แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย พ.ศ. 2548 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยออกเป็น 5 ระดับ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดของประเทศไทยคือพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเมย และรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

    พื้นที่ที่มีความรุนแรงรองลงมาในระดับความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง คือ บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้ ตามแนวรอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จัดอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงน้อย และไม่มีความเสี่ยงที่ต้องออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหว
     
  12. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    แผนที่รอยเลื่อนของประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      150.2 KB
      เปิดดู:
      108
  13. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ที่ใช้เวลาหลายสิบปีในการศึกษารอยเลื่อนและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย อธิบายเรื่องรอยเลื่อนว่า การเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว ภาครัฐเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะต้องให้ความรู้กับประชาชน ว่ารอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยอยู่ตรงไหนบ้าง ต้องมีการทำแผนที่เพื่อให้คนในจังหวัดที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่านรู้ว่า ในพื้นที่มีรอยเลื่อนตรงไหนบ้าง เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง โดยต้องมีการกำหนดเขตพื้นที่รอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน ไม่ให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่มีความสำคัญ เช่น เขื่อน สะพาน และสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่

    “ในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ ประเทศพม่า มีรอยเลื่อยขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแกง ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียงทุกๆ 40 ปี โดยแขนงของรอยเลื่อนสะแกงนี้ ทำให้เกิดผลกับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนเมย ถ้ารอยเลื่อนสะแกงสั่นไหว อาจไปกระตุ้นให้รอยเลื่อนทั้ง 2 ในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวตามมา” รศ.ดร.ปัญญากล่าว

    จากสถิติของการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตพบว่า ทุกๆ 1,000 ปี รอยเลื่อนในประเทศไทยจะมีการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ริกเตอร์ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่า ภายใน 1,000 ปีข้างหน้านี้ อาจมีแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ เกิดขึ้นได้อีกบนรอยเลื่อนที่อยู่บนประเทศไทย แต่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเกิดขึ้นที่รอยเลื่อนไหนนั้น ยังไม่สามารถระบุได้

    “ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่รอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน จึงควรต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องรอยเลื่อนที่พาดผ่านในจังหวัด หรือหมู่บ้านของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายได้ว่า แผ่นดินไหวในอนาคตจะเกิดที่ขึ้นไหน และเกิดขึ้นเมื่อไหร่” รศ.ดร.ปัญญา กล่าว

    แหล่งข้อมูล : องค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Geological Survey) กรมทรัพยากรธรณี วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
     
  14. noway

    noway เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +3,970
    ใครอยู่คอนโดระวังตัวไว้ด้วยเด้อ
     
  15. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.5 KB
      เปิดดู:
      128
  16. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
  17. noway

    noway เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +3,970
    อืม รับทราบครับ ขอบคุณครับ

    แต่ขอคิดดูก่อน กลัวว่าจะหนีเสือปะแผ่นดินไหว เอ้ย ปะจรเข้
     
  18. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    เตรียมรับมือแผ่นดินไหว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      398.6 KB
      เปิดดู:
      112
  19. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ระดับของแผ่นดินไหว และระดับการสั่นสะเทือน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.5 KB
      เปิดดู:
      118
  20. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    พร้อมรับมือแผ่นดินไหว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      641.5 KB
      เปิดดู:
      77

แชร์หน้านี้

Loading...