เรื่องเด่น คนที่โกรธง่ายแก่เร็ว (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 21 พฤษภาคม 2022.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    4.jpg

    บรรดาท่านพุทธบริษัท บางทีเราจะเห็นพระอริยเจ้าอายุตั้ง 60 ปีเศษ เราก็ไปนั่งนึกว่าท่านอายุประมาณสักสี่ห้าสิบปี แต่ก็ยังดีบางองค์อายุเกือบจะ 80 ปี เราคิดว่าท่านอายุ 30 ปีเท่านั้น นั่นเราก็จะพิจารณาได้ว่า พระคุณท่านเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงตั้งแต่เมื่อไร ร่างกายของพระคุณท่านไซร้ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงนัก เพราะใจมันสบาย คือร่างกายของเราจะแก่มากแก่น้อย ทรุดโทรมมากทรุดโทรมน้อย มันขึ้นอยู่ที่ใจเหมือนกัน

    ถ้าอารมณ์ใจของเราสบายแล้ว ร่างกายคือความเผาผลาญทางใจมันน้อย ร่างกายมันก็ทรุดโทรมน้อย ถ้าเราคาดร่างกายของบุคคลผิด ก็เพราะว่าเราคาดจิตใจของเขาผิด เราไปมองดูร่างกายของคนที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ไปอยู่ที่ไหนทำลายที่นั่น เผาผลาญที่นั่น ความโกรธ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น โทสัคคิ ไฟคือ โทสะ


    3.jpg

    ความโกรธถ้ามันเกิดขึ้นเราจะระงับด้วยวิธีไหน อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำว่า ให้ใช้พรหมวิหาร 4 ประจำใจเป็นปกติ หรือว่าถ้าพรหมวิหาร 4 ยังไม่เป็นที่พอใจ ไม่ถูกกับอารมณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้ใช้กรรมฐาน 4 อย่าง คือ วรรณกสิณ ได้แก่ กสิณที่มีสี คือ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งตามอัธยาศัย


    ถ้าเราปฏิบัติโดยใช้ตามนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ถูกใจ อารมณ์ใจของเราจะมีความสุข และก็สามารถระงับความโกรธไว้ได้

    ยังไม่ตัดนะ บอกแล้วว่ายังไม่ตัด เอาแค่ระงับชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ในเมื่อความโกรธมันเกิดขึ้นเราก็คว้าพรหมวิหาร 4 มาใช้ทันที เป็นเครื่องประหัตประหาร กสิณ 4 อย่างอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่เราชอบใจเอามาใช้โดยเฉพาะ ความโกรธมันจะระงับ มันจะตกลงไป แต่มันไม่ไปไหนหรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท มันยังนอนอยู่ในใจ หรือนอนอยู่ในเรา บางครั้งบางคราวมันก็จะโผล่ขึ้นมาอีก ถ้าเราทำบ่อยๆ กำลังมันก็จะเพลียไป

    1.jpg

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ธรรมจักร (เล็กๆหมุน).gif
    (พระมหาวีระ ถาวโร)
    วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี
    ที่มาจากหนังสือ : บารมี ๑๐ โดย พระราชพรหมยาน หน้า ๕๒-๕๔


    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก Facebook คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

     

แชร์หน้านี้

Loading...