::::คนตายแล้วเป็นผีจริงหรือ::::

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย น า ทู รี, 7 มกราคม 2012.

  1. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
    [​IMG]


    ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะชอบคิดว่า คนตายแล้ว จะกลายเป็นผี เป็นวิญญาณ คิดแบบนี้ถูกหรือเปล่า ลองหาคำตอบดูจ้ะ จากการฟังเสียงอ่านหนังสือโลกทิพย์ แปลโดย อ.ศิริ พุทธศุกร์ เสียงอ่านโดย สวัสดิ์ อมรสิทธิ์

    ดาวน์โหลดเสียงอ่าน ได้ที่ http://www.jozho.net


    [​IMG]


    หนังสือเรื่อง Life in the World Unseen เป็นหนังสือที่เขียนโดย แอนโธนี่ บอร์เจีย ท่านเป็นบาทหลวงที่มีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา (หากนับจาก คศ. 2012)

    โดยท่านสามารถนั่งสมาธิ ติดต่อกับเพื่อนบาทหลวงที่ได้ล่วงลับไป แล้ว คือ ท่าน โรเบิร์ท ฮิวจ์ เบนสัน

    Robert Hugh Benson - Wikipedia, the free encyclopedia


    [​IMG]


    เรื่องราวนี้ เป็นประสบการณ์ ที่ท่านฮิวจ์ เบนสัน เล่าประสบการณ์ในโลกหลังความตาย

    ซึ่งสภาพของโลกหลังความตาย รวมถึงการมีชีวิตหลังความตาย ค่อนข้างแตกต่างจากคำสอนของศาสนาคริสต์

    ทว่า กลับมีส่วนคล้ายคลึงกับคำสอนในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก

    หนังสือเล่มนี้ แปลเป็นภาษาไทยโดย อ. ศิริ พุทธศุกร์


    [​IMG]


    นี่คือตอนแรก ทั้งหมดมี 20 กว่าตอนจ้ะ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Du_Olo7XObI"]???????? ? - YouTube[/ame]

    [​IMG]


    คัดลอกจาก:
    สวรรค์ นรก บุญ บาปในพระพุทธศาสนา
    วศิน อินทสระ
    [​IMG]
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด ชีวิตกับธรรมะ กระทู้14593 โดย: mayrin 07 เม.ย. 48
    ความเบื้องต้น
    ปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นที่สนใจของคนทั่วไปทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก นั่นคือปัญหาเรื่องนรก สวรรค์ ผี เทวดา มีจริง หรือไม่ อย่างไร?

    ผู้สอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียนไม่ว่าระดับไหน มักได้รับคำถามเรื่องผี เทวดา นรก สวรรค์อยู่เนืองๆ ทั้งนี้รวมทั้งพระสงฆ์ และอนุศาสนาจารย์ ผู้สอนศาสนาอีกด้วย

    ต่อคำถามดังกล่าว บางท่านก็ปฏิเสธไปเลยว่าไม่มี ถ้ามีก็เป็นสวรรค์ในอก นรกในใจของเรา เทวดาและสัตว์ดิรัจฉานก็อยู่ในตัวคนอยู่แล้ว บางท่านก็แบ่งรับแบ่งสู้ ไม่แน่ใจ บางท่านยืนยันแข็งขันว่า นรกสวรรค์ในโลกหน้ามีจริง เทวดามี ผีมี

    ยังมีบุคคลอีกพวกหนึ่งเห็นว่าไร้ประโยชน์ที่จะพูดเรื่องนรกสวรรค์ผีสางเทวดา เพราะไม่มีใครเห็นนรกสวรรค์ จะมีหรือไม่มีก็ไม่สำคัญ ไม่ควรเสียเวลาไปสืบหาความจริงในเรื่องนี้ ควรสนใจแต่เรื่องปัจจุบันเท่านั้น

    ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องนรกสวรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ที่มีความสำคัญมิใช่น้อย ไม่ควรตัดออกเสีย เพราะความเชื่อในเรื่องนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของจริยธรรมหรือศีลธรรม ทั้งส่วนบุคคลและสังคม

    เรื่องนรกสวรรค์ มีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ออกกับเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ตามหลักพระพุทธศาสนา สัตว์ย่อมเกิดในกำเนิด ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งคือ

    . เกิดในฟองไข่ (อัณฑชโยนิ)
    . เกิดในครรภ์(ชลาพุชโยนิ)
    . เกิดในของโสโครก(สังเสทชโยนิ)
    . เกิดขึ้นเองเติบโตทันที (โอปปาติกโยนิ)

    พวกแรก เช่นเป็ด ไก่และนกเป็นต้น พวกที่สอง เช่นคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พวกที่สาม เช่นหนอนและสัตว์อื่นที่เกิดในปลาเน่า ซากศพเน่า ขนมบูดเน่า หรือในหลุมบ่อที่สกปรก พวกที่สี่ เช่น พวกเทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางประเภท วินิบาตบางประเภท

    โดยนัยนี้แสดงว่าเทวดามี เมื่อเทวดามี สวรรค์ก็ต้องมี เพราะสวรรค์มีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ได้กับเทวดา เหมือนมนุษย์กับโลกมนุษย์ฉะนั้น

    การไม่เชื่อเรื่องโอปปาติกะกำเนิดนั้น พระพุทธเจ้าทรงถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ดังข้อความในอปัณณกสูตร ดังนี้

    "ดูก่อนคหบดี สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ การให้ทานไม่มีผล, การบูชาไม่มีผล, การเคารพบูชาไม่มีผล, ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี,

    โลกนี้ไม่มี, โลกอื่นหรือโลกหน้าไม่มี, คุณของมารดาบิดาไม่มี, สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แทงทะลุปรุโปร่งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยอภิญญาได้เองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ด้วยไม่มี

    สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรม ยึดปฏิบัติในอกุศลธรรม ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาเห็นว่าไม่มี ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาคิดว่าไม่มี ความคิดของเขาเป็นมิจฉาสังกัปปะ ปรโลกมีอยู่แท้ๆ เขาพูดว่าไม่มี คำพูดของเขาเป็นมิจฉาวาจา

    อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลายยอมรับว่า ปรโลกมีอยู่ ผู้ที่ถือว่าปรโลกไม่มี จึงชื่อว่ามีความเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ เมื่อบุคคลผู้เชื่อว่า ปรโลกไม่มี และสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม ถือเอาตาม

    ชื่อว่าประกาศอสัทธรรม (ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมเลว) เมื่อมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว"

    ที่กล่าวนี้ไม่ใช่เอาตำรามาขู่คนที่ไม่เชื่อ แต่เห็นว่าเมื่อกล่าวโดยหลักฐานแล้ว พระพุทธศาสนายอมรับเรื่องนรกสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาในซีกที่เป็นโลกียะ หรือส่วนที่ยังเกี่ยวข้องด้วยการเวียนว่ายตายเกิด

    กล่าวถึงเทพ ตำราทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งเทพไว้ ๓ พวกคือ

    . สมมติเทพ หมายถึงพระราชา พระราชินี หรือพระราชโอรส ราชธิดา เป็นเทพโดยสมมติ

    . อุปปัตติเทพ หมายถึงเทวดาโดยกำเนิด คือท่านผู้ทำความดีไว้เมื่อมนุษย์ตายแล้วเกิดเป็นเทวดา

    . วิสุทธิเทพ หมายถึงเทพโดยความบริสุทธิ์ คือพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ถ้าเราไม่เชื่อเรื่องเทวดา เทพประการที่ ๒ คืออุปปัตติเทพก็ต้องตัดออก และเราต้องตัดคำสอนของพระพุทธศาสนาออกอีกมากมาย

    ส่วนในเทวทูตสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเรื่องนรกแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ละเอียดพอสมควร แม้เรื่องเทวดาก็ทรงแสดงไว้ในที่ใกล้เคียงกัน

    นอกจากนี้ พระสูตรที่แสดงว่าพระองค์ได้เห็นเทวดา สนทนากับเทวดาก็มีอยู่มากหลาย เช่นที่ตรัสกับพระอนุรุทธเถระ และภิกษุสหายอีก ๒ รูป คือท่านนันทิยะและกิมพิละ ว่าทรงเห็นกายทิพย์แม้ในขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ตอนที่ทรงทำสมาธิหรือบำเพ็ญเพียรทางจิตอยู่

    พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อเรื่องสวรรค์นรก หรือตายแล้วเกิดนั้นไม่เห็นเสียหายอะไรเลย มีแต่ผลดีกับผู้เชื่อ ส่วนผู้ไม่เชื่อซิ มีแต่ทางขาดทุน

    . นรกสวรรค์ ๓ ประเภท
    เพื่อให้ทรรศนะเกี่ยวกับนรกสวรรค์กว้างออกไป ขอกล่าวถึงนรกสวรรค์ ๓ ประเภท คือ

    . นรกสวรรค์ในโลกมนุษย์ เท่าที่มนุษย์พอจะเห็นได้ด้วยตาธรรมดา ตัวอย่างเช่น มนุษย์ที่อยู่อย่างลำบากแร้นแค้นไร้ความเจริญไปเกิดในภูมิอากาศที่ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เป็นอยู่ลำบาก

    หรือมนุษย์ที่ขาดแคลนอาหารเสื้อผ้า อยู่อย่างอดอยากแร้นแค้น พิกลพิการ หาความสุขในชีวิตไม่ได้ อย่างนี้เหมือนตกนรกหรืออยู่ในนรก

    ส่วนมนุษย์บางพวกมีร่างกายสมบูรณ์ มีทรัพย์สมบัติมาก อุดมด้วยเสื้อผ้าอาหารที่อยู่อาศัย ผิวพรรณดี มีความสุขความสบาย อย่างนี้ จัดเป็นสวรรค์ในโลกมนุษย์

    . สวรรค์ในอกนรกในใจ เมื่อใดใจมีความสุข เมื่อนั้นเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อใดใจเป็นทุกข์เร่าร้อนคับแค้นใจ เมื่อนั้นตกนรก-นรกในใจ

    . สวรรค์นรกจริง ๆ ซึ่งมีอยู่อีกโลกหนึ่ง มนุษย์จะสัมผัสกับนรกสวรรค์ประเภทนี้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลกทิพย์ ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมและชีวิตแตกต่างจากโลกมนุษย์มาก ละเอียดกว่า สุขกว่า และทุกข์กว่าสุขกว่าในโลกมนุษย์หลายร้อยหลายพันเท่า

    คนส่วนมากเชื่อสวรรค์นรก ๒ ประเภทแรก ปฏิเสธสวรรค์นรกประเภทที่ ๓ ซึ่งเป็นสวรรค์นรกที่สำคัญที่สุดและมีอยู่จริง พวกเทพหรือสัตว์นรกในโลกทิพย์นี้ จะใช้ชีวิตอยู่เป็นระยะเวลาเป็นพันปี หมื่นปีหรือถึงแสนปี

    . เหตุผลของฝ่ายไม่เชื่อและฝ่ายเชื่อ
    ถ้าจะตั้งปัญหาให้ฝ่ายไม่เชื่อตอบบ้างว่า ที่เขาไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ในโลกหน้านั้นเขามีเหตุผลอะไร? หรือเขาพิสูจน์ได้อย่างไรว่า นรกสวรรค์ในโลกหน้าไม่มี ? ส่วนมากจะตอบว่าเพราะไม่เห็น ไม่รู้ และไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นได้

    พิจารณาดูคำตอบของฝ่ายไม่เชื่อแล้ว รู้สึกว่าค่อนข้างจะหละหลวมสักหน่อย เพราะยกเอาข้อที่ตนไม่เห็นไม่รู้และใครพิสูจน์ให้ตนเห็นไม่ได้ มาเป็นข้ออ้างสนับสนุนความไม่เชื่อของตน ถ้าอย่างนั้นมีเรื่องราวอยู่เป็นอันมากที่เขาไม่เห็นไม่รู้และใครพิสูจน์ให้เขาดูไม่ได้ เขาก็ควรปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นเสียด้วย

    ตัวอย่างเช่นบรรพบุรุษของเขาแม้เพียงชั้นทวดก็มีน้อยคนนักที่จะได้เห็นด้วยตนเอง บางคนแม้ปู่ย่าตายายของตน ตนก็ไม่ได้เห็นเพราะท่านตายเสียก่อนที่เขาจะได้เห็น และใครก็พิสูจน์ให้ดู ให้เห็นไม่ได้ด้วย พ่อแม่ที่ได้เห็นเล่าให้ฟังว่าปู่ย่าเป็นอย่างนั้น ตายาย เป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเชื่อว่าท่านเคยมีอยู่จริง

    แม้บุคคลในประวัติศาสตร์ ซึ่งเราต้องเรียนประวัติ และผลงานข้อดีข้อเสียของท่าน เราไม่ได้เห็นท่าน เพียงแต่เชื่อตาม ๆ กันมาว่าท่านเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ทำไมเราจึงไม่ปฏิเสธเสียด้วย

    ตรงกันข้าม เราตั้งหน้าตั้งตาเรียนกัน ท่องเหตุการณ์กันจนสมองหนักอึ้ง มีหลักสูตรให้เรียนจนถึงปริญญาเอก เราเชื่อตำราใช่หรือไม่? ครูผู้สอนบรรยายก็ไม่เคยเห็นท่านเหล่านั้น หรือเหตุการณ์นั้น ๆ แต่เราก็เชื่อท่าน

    บรรดาผู้ที่น่าเชื่อทั้งหลาย พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นผู้ที่น่าเชื่อที่สุดเพราะท่านเป็นผู้สิ้นกิเลส มีญาณทรรศนะ (Knowing and Seeing) อันหมดจดไม่มีมารยาสาไถย ไม่มีการพูดเพื่อผลประโยชน์ของตน ท่านเพียงแต่เปิดเผยความเป็นจริงที่ท่านได้รู้ได้เห็นมาเท่านั้น ท่านตรัสบอกและบอกไว้ว่านรกสวรรค์มี เทวดาหรือพวกกายทิพย์มี

    แม้เราจะยังไม่เห็นเอง แต่เชื่อท่านไว้ก็ดูไม่เสียหายอะไร มีแต่ผลดีแก่ตัวเราเองและคนทั้งหลายผู้ใกล้ชิด เพราะผู้เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ หลักกรรมและการเกิดใหม่ย่อมเป็นผู้หนักแน่นในกุศลธรรม หน่ายอกุศลธรรม

    อนึ่ง การที่ตนไม่รู้ไม่เห็น และปฏิเสธโดยไม่ยอมฟังเสียงพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น ดูเป็นการห้าวหาญเกินไป เป็นการนำเอาความรู้เห็นอันจำกัดของตนไปเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า

    คนที่จะเห็นโลกทิพย์ด้วยตนเองต้องมีสมาธิสูงมาก แม้องค์พระพุทธเจ้าเองก่อนจะตรัสรู้ก็ต้องเข้าสมาธิสูงและลึกมาก จึงจะสามารถเห็นเทวดาและเจรจากับเทวดาได้ ดังข้อความที่ตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 426.1pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=568>"ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ครั้งนั้นเรากำหนดเห็นแสงสว่างได้ แต่ครั้งแรกยังไม่เห็นรูป (เทวดา) ทั้งหลาย เราจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วย และเห็นรูป(เทวดา) ทั้งหลายได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น"

    "ดังนั้น ในเวลาต่อมาเราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นแสงสว่างด้วย และเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย แต่จะอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาทั้งหลายยังไม่ได้

    เราจึงเกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าหากเราจะพึงเห็นแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูปเทวดาทั้งหลายได้ด้วย และอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาได้ด้วย ญาณทรรศนะของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น..."
    (องฺ. นวก. ๒๓/๓๑๑)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในที่สุด พระองค์ก็ทรงพยายามจนสามารถสนทนากับเทวดาในสมาธิได้ แม้สาวกรุ่นหลัง ๆ ของพระองค์ผู้มีสมาธิแก่กล้าก็สามารถอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาได้ แม้ในปัจจุบันนี้เองก็มีสาวกของพระพุทธเจ้าที่สามารถอย่างนี้ได้อยู่
    เบื้องแรกที่พระองค์ตรัสว่า "แต่จะอยู่ในสมาธิสนทนากับเทวดาทั้งหลายยังไม่ได้" นั้น ก็เพราะความชำนาญยังน้อย พอจะสนทนากับเทวดา สมาธิก็ถอยออกมา แสงสว่างหายไป รูปของเทวดาก็หายไปด้วย แต่เมื่อทรงพยายามมากขึ้นก็สามารถทำได้

    การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องวิจิตรพิสดารมาก พระองค์ทรงรอบรู้จริง ๆ ในกระบวนการของชีวิตและจิตใจ เพราะทรงรู้ด้วยพระญาณอันแหลมลึก

    . ความเข้าใจเรื่องบ่อเกิดแห่งความรู้
    เรื่องบ่อเกิดแห่งความรู้นี้ เป็นทฤษฎีซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาเรียกว่า ญาณวิทยา เรียกในภาษาอังกฤษว่า Episemology หรือ Theory of Knowledge มีเรื่องละเอียดพิสดารพอสมควร ปรัชญาแต่ละสายวางทฤษฎีแห่งความรู้ไว้ไม่เหมือนกัน ทั้งฝ่ายตะวันออกและตะวันตก

    นยายศาสตร์ ๑ ใน ๖ ศาสตร์ของอินเดียที่เรียกว่า Six Systems นั้น เป็นตรรกวิทยาตะวันออกโดยตรง ได้วางหลักใหญ่ๆ ในการแสวงหาความจริงไว้ ๔ อย่าง คือ

    . ปรัตยักษ์ หรือ ประจักษ์ (Perception) คือ ความรู้ที่ได้รู้เอง เห็นเอง เกิดขึ้นกับตนเอง เช่นเรารู้ว่าไฟร้อนเพราะเราเคยจับไฟ หรือเคยถูกไฟไหม้ ฯลฯ

    . อนุมาน (Inference) คือความรู้ที่ได้จากการอนุมานหรือคาดคะเนจากเหตุไปหาผล จากผลไปหาเหตุ เช่น เราเห็นควันขึ้นโขมงออกจากเรือนหลังหนึ่ง เราก็อนุมานเอาว่าคงมีไฟ หรือไฟกำลังไหม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในเรือนหลังนั้น ฯลฯ

    . อุปมาน (Comparision) คือ ความรู้ที่ได้จากการเปรียบเทียบจากสิ่งที่บุคคลรู้แล้วเห็นแล้วไปยังสิ่งที่บุคคลยังไม่รู้ไม่เห็น ตัวอย่าง คนเคยเห็นแมวแต่ไม่เคยเห็นเสือ

    ผู้อธิบายเปรียบเทียบให้ดูว่า เสือก็เหมือนแมวแต่ตัวใหญ่กว่า พอบุคคลนั้นไปเจอเสือในป่าก็รู้ได้ว่านี่คือเสือ จึงวิ่งหนีเพราะรู้ว่าจากคำบอกเล่าว่าเสือดุและกินคน

    การเปรียบเทียบเชิงอุปมาน่าจะจัดเข้าในข้อนี้ด้วย เช่นเปรียบกรรมเหมือนเนื้อนา วิญญาณเหมือนพืช ตัณหาเหมือนยางเหนียวในพืช หรือเปรียบจิตเหมือนลิงในแง่ที่อยู่ไม่นิ่งเปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ

    เปรียบกายเหมือนนครที่สร้างด้วยกระดูก มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา เป็นต้น ทำให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ลึกซึ้งได้ง่ายขึ้น

    อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นไปของโลกนี้ เราเข้าใจอะไรต่างๆ ในโลกนี้ เพราะเกี่ยวกับการเปรียบเทียบอยู่มิใช่น้อย เช่นเรารู้ว่าสิ่งนี้ดำก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ขาว เรารู้ว่ายาวก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่สั้น

    รู้ว่าใหญ่ก็เพราะเปรียบเทียบกับสิ่งที่เล็กเป็นต้น อุปมานจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ความเข้าใจอย่างหนึ่ง

    . ศัพทะ (Testimony) คือการได้ยินได้ฟัง หรือพยานหลักฐานทางตำราบ้าง ทางบุคคลที่พอเชื่อถือได้บ้าง ความรู้ของนักเรียนส่วนใหญ่เกิดจากประการที่ ๔ นี้

    นักเรียนได้รับความรู้จากครูบ้าง จากตำราบ้าง ถ้าจะให้รู้เองเห็นเองทุกอย่าง จึงจะรับเชื่อแล้ว นักเรียนก็เกือบจะไม่รู้อะไรเลย

    ฝ่ายตรรกวิทยาตะวันตก แสดงบ่อเกิดแห่งความรู้ไว้ ๓ ทางคือ

    . ความรู้ประจักษ์ หรือความรู้โดยตรง (Immediate Apprehension) อันนี้ตรงกับปรัตยักษ์ของนยายะ

    . อนุมาน (Inference หรือ Reasoning) ตรงกับอนุมานของนยายะ

    . พยานหลักฐาน (Testimony and Authority)

    . ความรู้ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสโดยตรง เรียกในภาษาปรัชญาว่า Empirical Knowledge ปรัชญาสายนี้เรียกว่า Empiricism เชื่อว่าความรู้ที่แท้จริงต้องได้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ที่ว่านี้คือ ประสบการณ์ของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

    . ความรู้ที่ได้จากเหตุผล เรียกในภาษาปรัชญาว่า Rational Knowledge ปรัชญาสายนี้เห็นว่าประสบการณ์ส่วนบุคคลหรือ Sense Experiences นั้นไม่แน่นอน หลอกลวงเราได้เสมอ เป็นส่วนตัว (subjective) เกินไป

    เพราะบุคคลย่อมมีความรู้สึกไม่เหมือนกันแม้ในวัตถุแห่งผัสสะอย่างเดียวกัน เช่นอาหารอย่างเดียวกัน คนหนึ่งรู้สึกอร่อย ชอบแต่อีกคนหนึ่งไม่รู้สึกอร่อย ไม่ชอบ อะไรคือความจริงที่แท้ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกจากผัสสะจึงเป็นสิ่งไม่แน่นอน สู้ความรู้ที่เกิดจากเหตุผลไม่ได้

    . ความรู้ที่ได้จากญาณ เรียกในภาษาปรัชญาว่า Intuition Knowledge ปรัชญาสายนี้ถือว่า ความรู้ที่แท้จริงต้องได้จากญาณเป็นประสบการณ์ตรงด้วยตนเองทางฝ่ายจิต

    ส่วนความรู้จากเหตุผลนั้นไม่แน่นอน ตราบใดที่บุคคลยังต้องใช้เหตุผลอยู่ในการแสวงหาความจริง แสดงว่าเขายังไม่พบความจริง เมื่อได้พบความจริงแล้ว เหตุผลเป็นสิ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป

    อนึ่ง มีความจริงอยู่มากหลายที่เอาเหตุผลไปจับไม่ได้ ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล แต่รู้ได้ด้วยญาณเฉพาะตน อย่าว่าแต่เรื่องลึกซึ้งอะไรเลย แม้เรื่องหยาบๆ บางเรื่องก็อธิบายด้วยเหตุผลให้ใครเข้าใจไม่ได้

    ตัวอย่าง ก. กินมะม่วงเปรี้ยว รู้สึกเปรี้ยว ข. ให้ช่วยอธิบายว่าเปรี้ยวเป็นอย่างไร ก. ก็อธิบายไม่ได้ ต่อเมื่อ ข. รับมะม่วงไปกินบ้างจึงรู้ว่าเปรี้ยวเป็นอย่างไร

    หรืออย่างน้อย ข. ก็ต้องเคยกินมะม่วงเปรี้ยวมาก่อนจึงสามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องรสเปรี้ยว เรื่องนี้ฉันใด เรื่องลึกซึ้งเช่นนรกสวรรค์ หรือโลกทิพย์ก็ฉันนั้น

    อธิบายโดยเหตุผลได้ยาก แต่ท่านผู้รู้รู้ได้ด้วยการเข้าสมาธิหรือด้วยญาณของตนเฉพาะตน เมื่อท่านรู้แล้วเห็นแล้วก็นำสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นนั้นมาบอกเล่าแก่เราทั้งหลายผู้ยังไม่รู้ไม่เห็น

    ขอชี้แจ้งไว้ในที่นี้ด้วยว่า คำ Intuition ที่ใช้ในที่นี้มีคำแปลหลายอย่าง มีความหมายต่างกันไปตามสาขาวิชานั้นๆ ตัวอย่างทางจิตวิทยา คำนี้หมายถึงไหวพริบ

    คือความสามารถรู้ได้ทันท่วงทีว่าเมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างนี้ควรจะทำอย่างไร มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทางจริยศาสตร์ คำนี้หมายถึงความรู้สึกขึ้นมาเองว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร

    พวก Intuitionists ทางจริยศาสตร์ คือ พวกที่ถือว่า ความรู้สึกของบุคคลนั่นเองเป็นเครื่องตัดสินทางศีลธรรมว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เอาความรู้สึกของเรานั่นแหละเป็นเครื่องตัดสิน ไม่ต้องเอาอะไรอื่นมาเป็นเครื่องตัดสิน

    ทฤษฎีนี้มีผู้คัดค้านมากเหมือนกัน โดยเฉพาะพวกเหตุผลนิยม ตัวอย่างเช่น คัดค้านว่า ความรู้สึกของคนป่า ย่อมแตกต่างกันมากกับความรู้สึกของผู้มีอารยธรรมดีแล้ว เมื่อเป็นดังนี้จะเอาความรู้สึกของแต่ละคนเป็นเครื่องตัดสินศีลธรรมได้อยางไร ฯลฯ

    แต่ Intuition ที่ใช้ในที่นี้หมายถึง ญาณเช่นปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้นของพระพุทธเจ้า มีความหมายลึกซึ้งกว่าปัญญา ถ้าเป็นความรู้ก็เป็นความรู้เหนือสามัญ

    ขอสรุปไว้ที่นี้ทีหนึ่งก่อนว่า ทางได้มาซึ่งความรู้นั้นมีอยู่หลายทาง ทางสำคัญที่สุดซึ่งคนทั่วไปเข้าถึงได้โดยยาก ก็คือทางญาณ ญาณ เช่นนี้เกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนาเท่านั้น หาเกิดขึ้นแก่คนธรรมดาไม่

    ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยผัสสะ
    ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของเหตุผล รู้ได้ด้วยเหตุผล
    ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของญาณ รู้ได้ด้วยญาณ หรืออภิญญญา (ความรู้ยิ่ง)
    . อภิญญา ๖
    เพื่อให้เรื่องแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ขอนำเอาอภิญญา ๖ มากล่าวแต่โดยย่อในที่นี้ด้วย

    อภิญญา แปลว่าความรู้ยิ่ง(Supernatural Knowledge) คือ ความสามารถรู้สิ่งที่คนธรรมดารู้ไม่ได้ สามารถทำสิ่งที่คนธรรมดาทำไม่ได้ แต่เป็นของธรรมดาสำหรับผู้ได้บรรลุแล้ว

    . อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่นคนเดียวทำเป็นหลายคนได้ ทำกลับให้เป็นคนเดียวก็ได้ ทำที่มืดให้สว่างได้ กำบังตัวไม่ให้ใครเห็นได้ ช่วยกำบังคนอื่นก็ได้ด้วย

    เมื่อต้องการจะไป ณ ที่ใดไม่มีอะไรขัดขวางได้ ไม่ว่าจะเป็นฝาหรือกำแพงหรือภูเขา เหมือนไปในอากาศ ดำดินได้เหมือนดำน้ำ เดินบนน้ำได้เหมือนเดินบนดิน ไปในอากาศได้เหมือนนก ฯลฯ ทำอย่างไรจึงจะได้ฤทธิ์อย่างนี้ ท่านบอกไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

    . ทิพยโสต หูทิพย์ฟังได้ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งระยะใกล้และไกล

    . เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่นได้ว่าเขาคิดอย่างไร มีจิตอย่างไร

    . ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้ระลึกชาติหนหลังได้ตั้งแต่ชาติหนึ่ง สองชาติจนถึงระลึกได้เป็นกัปป์ๆ พระพุทธเจ้าทรงสามารถระลึกถอยหลังไปได้ไม่มีกำหนด

    . ทิพจักษุ ตาทิพย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ สามารถมองเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่เป็นอันมาก ใครไปเกิดที่ไหนด้วยกรรมอะไร สามารถรู้ได้ด้วยญาณนี้

    . อาสวักขยาญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ กล่าวโดยเฉพาะคือญาณในอริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท

    ห้าประการแรกเป็นโลกียอภิญญา ปุถุชนก็มีได้ ส่วนประการสุดท้ายเป็นโลกุตรอภิญญา มีได้เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น

    พิจารณาดูอภิญญา ๖ นี้แล้วจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าหรือพะอริยบุคคลผู้ได้อภิญญาดังกล่าวนี้มีความสามารถเลิศเพียงใด มีความรู้ยอดเยี่ยมเพียงใด สมที่ท่านเรียกความรู้นี้ว่า อภิญญา ความรู้ยิ่ง (Supernatural Knowledge)

    ผู้ได้อภิญญา ๕ เบื้องต้น แม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็สามารถเห็นนรกสวรรค์ เห็นเทพ คุยกับเทพได้ แต่อภิญญาแม้ที่เป็นโลกียะนี้ก็มิใช่จะให้สำเร็จได้โดยง่าย

    ผู้สำเร็จจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดต้องเอาชีวิตเข้าแลก หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้มีบารมีดีเหลือเกิน สั่งสมบารมีมาทางนี้นานเป็นร้อยชาติทีเดียว

    อภิญญา๕ นี้ พวกโยคีฤาษีในสมัยพุทธกาลได้กันมาก แม้ปัจจุบันข้าพเจ้าก็เชื่อว่ามีผู้สำเร็จอภิญญา ๕ นี้อยู่บ้างเหมือนกัน อภิญญา ๖ ก็คงมีผู้สำเร็จ

    เหตุผลที่เชื่อเช่นนี้ก็คือ เมื่อทางมีอยู่ และมีผู้ดำเนินตามทางนั้นอยู่ไม่ขาดสาย ผลสำเร็จย่อมต้องมี ผู้สนใจควรให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนาบ้าง

    . การให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนา
    ในหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอร้องให้ผู้ศึกษา หรือผู้สนใจได้โปรดทำใจให้เป็นกลาง และให้ความเป็นธรรมแก่วิชาการทางศาสนาเท่าที่ควรเปิดใจไว้ให้กว้าง

    ไม่ปิดประตูขังตัวเองอยู่เฉพาะในห้องแห่งวิชาที่ตนศึกษาเพียงอย่างเดียว และด่วนลงความเห็นปักใจเชื่อว่าวิชาหรือความรู้ของตนเท่านั้นเป็นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งหมด

    พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว วิชาการต่างๆ ที่เราศึกษาเล่าเรียนและยอมรับเชื่อ รับเข้าไว้ว่าเป็นความรู้ของเรานั้น ส่วนมากเรามิได้เห็นแจ้งด้วยตนเอง

    เราเพียงแต่เชื่อตำราและเชื่อครูบาอาจารย์ หรือเชื่อนักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เท่านั้น ข้าพเจ้ามิได้ตำหนิว่าความเชื่อเช่นนั้นไม่ดี

    เพราะข้าพเจ้าตระหนักว่าคนเพียงคนเดียวจะรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆ ไปทั้งหมดนั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง สิ่งใดเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ให้แสงสว่างแก่เรา

    เราก็ควรน้อมรับสิ่งนั้นไว้ด้วยความยินดี เช่น การสดับตรับฟัง การศึกษาจากตำรา เป็นต้น

    ที่ว่า ความรู้ส่วนมากเราได้จากตำรา เชื่อตำราและครูบาอาจารย์เป็นต้นนั้น ขอยกตัวอย่างมาสู่การพิจารณาสักเล็กน้อย ตัวอย่างในวิชาวิทยาศาสตร์ก่อน

    วิชาวิทยาศาตร์บอกเราว่า "ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวเท่านั้นที่อยู่ใกล้โลกเราที่สุด ระยะห่างจากโลกเฉลี่ย ประมาณ ๙๓ ล้านไมล์ หรือระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินได้ ๘๑/๓ นาที"

    "๑ ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางได้ในระยะเวลา ๑ ปี ในระยะเวลา ๑ ปีนี้จะเดินทางได้ประมาณ ๙ ล้านล้านกิโลเมตร หรือประมาณ ๕.๙ ล้านล้านไมล์"

    "โลกหมุนรอบตัวเอง ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๑ รอบ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ ๑๒ เดือนต่อ ๑ รอบ"

    "ระบบสุริยะมีขนาดกว้าง (เส้นผ่าศูนย์กลาง) ประมาณ ๘๐ หน่วยดาราศาสตร์ โดยคิดอนุมานว่าดาวพระยม (Pluto) ซึ่งเป็นดาวพระเคราะห์ดวงนอกสุด

    มีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๓๙.๕ หน่วยดาราศาสตร์ หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit) คือ ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ ๙๓ ล้านไมล์ หรือประมาณ ๑๕๐ ล้านกิโลเมตร"

    หลักทางวิทยาศาตร์ที่เกี่ยวกับระบบสุริยะดังกล่าวมาเพียงเล็กน้อยนี้ เรายอมรับเชื่อทั้งๆ ที่นักเรียนหรือผู้ศึกษาส่วนมากมิได้รู้แจ้งด้วยตนเอง หรือไม่ได้เห็นเอง

    แม้แต่เรื่องโลกหมุนรอบตัวเอง ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๑ รอบ ที่เราเรียกว่าว้นหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น เราก็ไม่เคยรู้สึก และไม่เคยเห็นว่าโลกมันหมุนอย่างไร

    เวลาเราขึ้นชิงช้าสวรรค์ในงานต่างๆ ชิงช้ามันหมุนรอบตัวเอง เราเห็นชัดเจนและรู้สึกว่ามันหมุน แต่โลกหมุนเราไม่เห็นและไม่รู้สึกเลย แต่เราก็เชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ เราเชื่อใคร?

    เราเชื่อตำรา เชื่อครู เชื่อนักวิทยาศาสตร์ เรายอมให้เกียรติท่านเหล่านั้นว่าท่านไม่หลอกลวงเรา เมื่อเด็กชั้นประถมเรียนเรื่องโลก ครูสอนเด็กก็ว่าโลกกลม เรารู้ได้ว่าโลกกลม

    ก็เพราะเรายืนอยู่บนฝั่ง เรือที่อยู่ในทะเลแล่นเข้าหาฝั่งที่เรายืนอยู่ เาจะเห็นเสากระโดงเรือก่อน นี่คือข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม เด็กอาจไม่เข้าใจ แต่เด็กจำได้ พอถึงเวลาสอบไล่ปลายปี เด็กก็ตอบตามที่ครูเคยสอน "โลกกลมเพราะเราเห็นเสากระโดงเรือก่อน" ได้คะแนนเต็มในข้อนั้น

    ที่เราเชื่อว่าดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกเรา ๙๓ ล้านไมล์ก็ดี ๑ ปีแสง แสงเดินทางได้ ๙ ล้านล้านกิโลเมตรก็ดี ระบบสุริยะมีขนาดกว้างประมาณ ๘๐ หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ ๘๐ เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ก็ดี

    เรามิได้พิสูจน์ด้วยตนเอง เรามิได้เห็นเอง แต่เรายอมรับเชื่อ ยอมท่องเพื่อผลทางการสอบ ในความรู้สึกของเราแล้ว สิ่งเหล่านี้มืดมนเต็มที แต่คนที่จำสิ่งเหล่านี้ได้มาก ก็ได้รับความนับถือว่าเป็นผู้รู้

    แม้นักวิทยาศาสตร์เองก็ได้ความรู้เหล่านี้ด้วยการอนุมาน(Inference) จากสิ่งที่ท่านรู้แล้วไปยังสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ ตัวอย่างความร้อนที่ผิวดวงอาทิตย์ที่ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้นั้น

    ก็โดยการคำนวณว่าโลกห่างจากดวงอาทิตย์เท่านี้ ได้รับความร้อนเท่านี้ ถ้าใกล้เข้าไปถึงดวงอาทิตย์จะมีความร้อนสักเท่าใดดังนี้เป็นต้น

    เรื่องที่อธิบาย หรือเครื่องมือในการอธิบาย ก็ล้วนเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่นเรามีลูกโลก สมมติว่านี่คือโลกเรา นี่คือดวงอาทิตย์ นี่คือดวงจันทร์ นี่คือดาวพุธ

    แล้วอธิบายว่า มันเคลื่อนที่ไปอย่างไร ระบบสุริยะซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึ่งในแกแลกซีมันเคลื่อนย้ายไปในอวกาศอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012
  2. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
    (ต่อ)
    ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ข้าพเจ้ามิได้ถือว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเหลวไหล ตรงกันข้ามข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องความรู้ควรเรียนควรสนใจ และควรเชื่อ เราให้เกียรตินักวิทยาศาสตร์ผู้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เพื่อค้นคว้าสิ่งเหล่านี้มาบอกเรา

    ขอยกตัวอย่างทางฝ่ายแพทยศาสตร์บ้าง ซึ่งเวลานี้ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์(Medical Science)

    นักวิทยาศาสตร์สายนี้บอกเราว่าจุลินทรีย์ หรือแบคทีเรีย ซึ่งตัวเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั่นเอง เป็นเหตุให้สิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เนื้อเกิดบูดเน่าขึ้นและเป็นเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ด้วย

    แบคทีเรียมีหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ กันไป ถ้าเรามีทางป้องกันไม่ให้แบคทีเรียมาสู่เนื้อได้ เนื้อก็จะไม่บูดเน่า

    ถ้าเรามีทางป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ โรคภัยไข้เจ็บ(เฉพาะที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย) ก็จะไม่มีในมนุษย์หรือสัตว์ หลุยส์ ปาสเตอร์ ชาวฝรั่งเศสได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ค้นพบเรื่องจุลินทรีย์นี้ เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๔๗

    ประมาณร้อยกว่าปีมานี้เอง หลังจากนั้นวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไพศาล เวลานี้เรามีคำอังกฤษอยู่ ๒ คำ ซึ่งเอามาจากชื่อของปาสเตอร์นั่นเอง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขา

    คือคำว่า Pasteuria ซึ่งหมายถึงวิธีการป้องกัน หรือรักษาโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า (Hydro-phobia) โดยการฉีดวัคซีนให้แก่บุคคล

    การฉีดวัคซีนก็คือ การนำเอาเชื้อโรคที่อ่อนฤทธิ์ชนิดที่เราต้องการป้องกันนั้นเองเข้าสู่ร่างกาย แต่ฉีดเข้าไปเพียงเล็กน้อยในขนาดที่ร่างกายสามารถต้านทานได้

    เพื่อให้ร่างกายชินกับเชื้อโรคชนิดนั้น หรือสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นในตัวเอง เมื่อเชื้อโรคชนิดนั้นจู่โจมเข้ามาจริงๆ ก็สามารถต่อสู้ได้ การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาต์ก็คือการฉีดเชื้ออหิวาต์เข้าไปนั่นเอง

    การฉีดยาแก้โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคพิษงูก็คือการฉีดเอาพิษสุนัขบ้าหรือพิษงูนั่นเองเข้าไปสู่ร่างกาย ก่อนที่หลุยส์ ปาสเตอร์ จะค้นพบเรื่องนี้ เขาสงสัยว่าน้ำลายของสุนัขบ้านั้น ถ้าเข้าสู่ร่างกายคนสามารถทำให้คนตายได้ แต่ทำไมจึงไม่ทำลายตัวมันเอง

    อีกคำหนึ่งคือคำว่า Pasteurization เอามาจากชื่อปาสเตอร์เหมือนกัน เพราะเป็นวิธีการที่หลุยส์ ปาสเตอร์ ทำมาก่อน คือการให้ความร้อนแก่ของเหลวเช่นนมเป็นต้น ให้มีความร้อนถึง ๖๐ องศาเซนติเกรด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคในนั้นและไม่ทำให้ของเสียด้วย

    วิธีการดังกล่าวของหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้เป็นประโยชน์อย่างไพศาลต่อมวลชนทั้งโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ทั้งในด้านการป้องกัน รักษาโรคและด้านการถนอมอาหาร เก็บอาหารไว้ได้นาน เช่นอาหารกระป๋องซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเวลานี้

    วิทยาศาสตร์การแพทย์บอกเราต่อไปว่า แสงแดดให้วิตามินดีแก่เราและช่วยรักษาโรคกระดูกอ่อน แสงแดงยังป้องกันและรักษาโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง คลื่นแสงที่สำคัญในการช่วยรักษาโรคนี้คือคลื่นแสงสีม่วงที่เรียกในภาษาวิทยาศาสตร์ว่า "อุลตราไวโอเล็ท"

    วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นวิชาที่น่าสนใจมากเพราะพูดเรื่องเกี่ยวกับร่างกายของเรา เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวเราอยู่ตลอดเวลา

    เราลองมาพิจารณาการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องพลังงานอะตอม หรือพลังปรมาณูดูบ้าง นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้บอกเราว่าส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่างเปล่า

    แกนของอะตอมคือนิวเคลียสนั้นเป็นส่วนเล็กๆ อยู่ที่ใจกลางของอะตอมจะหมุนไปรอบๆ นิวเคลียสในชั้นต่างๆ กัน วิทยาศาสตร์บอกว่า เรามองไมเห็นอะตอมแม้จะใช้กล้องขยายอย่างดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะอะตอมเล็กมาก

    เมื่อประมาณ ๒,๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว นักปราชญ์ชาวกรีกผู้หนึ่ง ชื่อ ดีโมคลิตุส หรือดีโมคลิตัส เชื่อว่าสสารทั้งหลายในโลก เมื่อแบ่งออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นสุดท้าย จะแบ่งอีกต่อไปไม่ได้ ส่วนที่เล็กที่สุด ซึ่งแบ่งออกต่อไปอีกไม่ได้นี้เรียกว่าอณูหรือโมเลกุล โมเลกุลนี้ แบ่งออกได้อีกด้วยวิธีเคมี ได้ส่วนที่เล็กที่สุดที่วิธีเคมีไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงกว่านี้ได้อีกแล้ว เรียกว่า อะตอม หรือปรมาณู

    แต่มาถึงสมัยนี้เชื่อกันว่า อะตอมไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดเสียแล้ว เพราะอะตอมประกอบด้วยอนุภาคซึ่งเล็กลงไปกว่าตัวอะตอมเอง อนุภาคดังกล่าว คือ อีเลคตรอน โปรตอน และนิวตรอน ประกอบกันขึ้นเป็นอะตอมของธาตุต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้กันว่ามีอยู่ประมาณ ๑๐๐ กว่าธาตุ

    ความเล็กของอะตอมนั้น เราพออนุมานได้ดังนี้ อะตอมของธาตุไฮโดรเยน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑/๒๐๐ ล้านของนิ้ว หรือ เปรียบให้ง่ายขึ้นว่า ถ้าจะวางอะตอมตามขวางของเส้นผม ๑ เส้นจะเรียงอะตอมได้ถึงครึ่งล้านอะตอม

    นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ต่อไปว่า อะตอมของธาตุสามารถสลายตัวได้ และธาตุจำพวกกัมมันตภาพรังสีนั้น เมื่อปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกแล้ว ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น ธาตุยูเรเนียมจะกลายเป็นตะกั่วได้ นักเคมีสมัยปัจจุบันยอมรับว่า ธาตุอาจสลายหรือแตกตัวออกเป็นธาตุใหม่ได้เหมือนกัน

    ความจริงเรื่องนี้ นักเล่นแร่แปรธาตุเคยคิดและเชื่อกันมาแล้วเหมือนกันว่า ธาตุแท้ชนิดหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุแท้อีกชนิดหนึ่ง จึงได้พยายามหาวิธีทำตะกั่วให้เป็นทอง

    เกี่ยวกับเรื่องสสารและพลังงานนั้น ไอน์สไตน์ได้ค้นพบทฤษฎีเปลี่ยนแปลงระหว่างสสารและพลังงานดังนี้คือ เมื่อสสารแปลงรูปเป็นพลังงานนั้น พลังงานที่ได้จะมีค่าเท่ากับความหนักของสสารคูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง

    พลังงานที่แปลงรูปมาจากสสารนี้มีปริมาณสูงยิ่งนัก ถ้าใช้ทฤษฎีของไอน์สไตน์คำนวณจะปรากฏว่าสสารน้ำหนัก ๑ กิโลกรัมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากพอที่จะจุดโคมไฟฟ้าในบ้านทุก ๆหลังในประเทศไทยได้ถึง ๑ ปีทุกคืน คืนละ ๖ ชั่วโมง

    เรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งนำมากล่าวเพียงเล็กน้อยนี้ เรายอมรับว่าส่วนมากเรามิได้เห็นเอง มิได้ทดลองเอง แต่เรายอมรับเชื่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เพราะเราเชื่อใจนักวิทยาศาสตร์ว่า ท่านเหล่านั้นไม่หลอกลวงเรา เรายอมเชื่อตำราที่ท่านผู้รู้เขียนขึ้นเป็นยุค ๆ

    เมื่อทฤษฎีหนึ่งถูกล้มเลิกไปเราก็ไม่ว่ากระไร เรายอมรับเชื่อทฤษฎีที่ท่านประกาศออกมาใหม่ต่อไป แสดงถึงความใจกว้างและความเห็นอกเห็นใจของพวกเราต่อนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น

    คราวนี้มาถึงวิชาการทางศาสนา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แต่ต้นของหัวข้อที่ ๖ นี้แล้วว่า ใคร่ขอความเป็นธรรมให้แก่วิชาการทางศาสนาบ้าง ท่านผู้รู้ทางศาสนาได้กล่าวถึงสิ่งใดไว้ ควรรับพิจารณาคำกล่าวของท่านบ้าง แม้เราจะยังรู้สึกมืดมนต่อสิ่งนั้น ๆ เพราะปัญญาอันมีอยู่อย่างจำกัดของเรา ความไม่รู้ของเรามิใช่เครื่องวัดว่าสิ่งนั้น ๆ จะไม่มีอยู่

    พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้ฌานสมาบัติและอภิญญา ย่อมมีความสามารถทางจิตทางปัญญาเหนือเรามาก เปรียบเหมือนสมรรถนวิสัย (วิสัยความสามารถ) ของเด็ก ๑ ขวบ กับวิสัยความสามารถของผู้ใหญ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทั้งทางร่างกาย สมอง และสติปัญญา ย่อมแตกต่างกันมาก สิ่งที่เด็กไม่รู้ ไม่สามารถทำได้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ใหญ่จะทำไม่ได้ด้วย

    ถ้าเราอยากรู้ อยากเห็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือท่านที่ได้อภิญญาสมาบัติรู้เห็น และเราพยายามเพื่อรู้เห็นจริง เดินตามทางที่ท่านเคยเดิน มีความพยายามอย่างสม่ำเสมอและไม่หยุดหย่อนอย่างเดียวกับที่เด็กมีความพยายามเพื่อให้เดินได้ สักวันหนึ่งเราก็จะได้พบเห็นสิ่งที่เราพิศวงสงสัยอยู่เป็นอันมาก การรู้อะไรด้วยญาณนั้นเป็นการรู้จริงกว่าการรู้โดยวิธีอื่น

    เรื่องสวรรค์นรกที่ท่านกล่าวในคัมภีร์ทางศาสนาจึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาและน่าเชื่อ ข้าพเจ้าหมายเอาสวรรค์จริง และนรกจริง ๆ ซึ่งเป็นอีกโลกหนึ่งต่างหากจากโลกเรา เป็นโลกโอปปาติกะ - โลกทิพย์

    เรายอมรับกันในสมัยนี้ว่า นอกจากโลกมนุษย์ของเรานี้แล้วยังมีโลกอื่น ๆ อีกมาก ดาราศาสตร์บอกเราว่า ดาวแต่ละดวงก็เป็นโลก ๆ หนึ่ง ใหญ่กว่าโลกเรามากด้วย โลกเราเป็นเพียงดาวพระเคราะห์ดวงเล็ก ๆ(ซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเอง) ในระบบสุริยะ (Solar System) อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเอกภพแล้ว ระบบสุริยะก็เป็นเพียงหน่วยเล็ก ๆ ในกาแล็กซี (Galaxiex)

    เอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวนมากมายโดยประมาณถึงหมื่นล้านกาแล็กซี ในกาแล็กซีหนึ่ง ๆ ก็จะมีระบบของดาวฤกษ์(Stars) กระจุกดาว(Star Clusters) เป็นต้น ดาวฤกษ์มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนที่เรามองเห็นเป็นแสงระยิบระยับอยู่บนท้องฟ้า

    ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีลักษณะเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ประธานของระบบสุริยะ ซึ่งโลกเรานี้เป็นบริวารอยู่นี้เอง ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวเท่านั้น ที่อยู่ใกล้โลกเราที่สุด เราไม่สงสัยบ้างหรือว่าในจักวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในโลกธาตุอื่น ๆ บ้าง เขาอาจเจริญกว่าเรา หรือด้อยกว่าเราหลาย ๆ ร้อยเท่าก็ได้

    ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย (๒๐/๒๙๒ ข้อ ๕๒๐) พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องโลกธาตุแก่พระอานนท์ใจความว่า

    "นอกจากดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่นี้แล้ว ยังมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ในโลกธาตุอื่น ๆ อีกเป็นพัน ๆ กลุ่มเรียกว่า จูฬนิกาโลกธาตุบ้าง มัชฌิมิกาโลกธาตุบ้าง มหาสหัสสีโลกธาตุบ้าง กล่าวให้เข้าใจง่ายกว่านี้คือ โลกธาตุที่รวมกันเป็นกลุ่มน้อย กลุ่มกลาง และกลุ่มใหญ่"

    เรื่องนี้แสดงถึงความรู้เรื่องดาราศาสตร์ของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่เวลานั้นยังไม่มีกล้องดูดาวแม้แต่กล้องเดียวในโลก แต่กล้องคือพระญาณอันไม่มีอะไรขวางกั้นของพระองค์นั่นแหละรายงานให้พระองค์ทรงทราบ

    เป็นไปได้หรือไม่ว่าสรรค์เป็นโลกใดโลกหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองเต็มที่ในจักรวาลนี้ หรือจักวาลอื่น ๆ ส่วนนรกคือโลกที่ลำบากยากเข็ญหนาวเหลือเกิน ร้อนเหลือเกิน อดอยากเหลือเกิน โรคภัยไข้เจ็บมากเหลือเกิน วิญญาณที่ไปเกิดในโลกนั้น เรียกว่า ตกนรก

    ส่วนโลกบางโลกอาจมีแสงสว่างนวลพอประมาณ ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารอันละเอียดอ่อน มีนักวิทยาศาสตร์และสถาปนิก วิศวกรฝีมือเยี่ยมกว่าในโลกเรามาก อะไร ๆ ก็ละเอียดอ่อนไปหมด เพราะผู้ที่อยู่ในโลกนั้นเป็นผู้มีจิตอันละเอียดอ่อนประณีต วิญญาณที่ไปเกิดในโลกนั้นเรียกว่า ขึ้นสวรรค์ มีความเป็นอยู่ที่ประณีตมาก กายของเขาก็ประณีตที่เรียกว่า กายทิพย์

    อีกประการหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่าโลกทิพย์คือสวรรค์ นรกเป็นโลกที่ละเอียดซ้อนอยู่กับโลกเรานี่เอง แต่เนื่องจากละเอียดอ่อนมาก เราจึงมองด้วยตาธรรมดาไม่เห็น กายของพวกนี้สำเร็จไปจากใจ (มโนมโย กาโย) มีรูปร่าง(รูปี) มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน (สพฺพงฺคปจฺจงฺคี) มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง(อหินินฺทริโย)

    แปลว่าพวกกายทิพย์ มีร่างกายเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง แต่เราไม่อาจมองด้วยตาเปล่าได้ ต้องผู้ได้ตาทิพย์ จึงสามารถมองเห็น เปรียบไปก็เหมือนวัตถุหลายสิ่งหลายอย่างที่มีอยู่ ปรากฏอยู่ แต่เรามองไม่เห็นจับต้องไม่ได้เช่นคลื่นวิทยุมีอยู่ตลอดเวลา แต่เราฟังไม่ได้ พอมีเครื่องมือคือเครื่องรับวิทยุเปิดขึ้นหมุนคลื่นให้ตรงตามคลื่นส่งเราก็ได้ยิน

    แม้สิ่งที่เราได้ยินแล้ว แต่ถ้าเราไม่เคยหัดแปลความหมายของเสียงนั้น เราก็เข้าใจไม่ได้

    ความร้อนและแสงสว่างก็เป็นคลื่นเหมือนกัน สมมติว่าเรายืนอยู่ในที่แห่งหนึ่งซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังเคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าคลื่นนั้นเป็นรังสีความร้อน เราก็รู้สึกได้ด้วยประสาททางกาย ถ้าเป็นคลื่นแสงสว่างเราก็จะรู้สึกได้ด้วยประสาทตา แต่ถ้าเป็นคลื่นวิทยุเราจะไม่มีโอกาสใช้ประสาทใด ๆ ตรวจพบได้เลย นอกจากเปิดเครื่องรับวิทยุดักให้ตรงคลื่นส่ง

    กระแสไฟฟ้ามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่เราก็ไม่เห็นด้วยตา มันจะไม่ปรากฏตัวให้เห็น นอกจากจะมีเครื่องประกอบอันเหมาะสมที่มันจะแสดงตัวได้ เช่นมีสายไฟ มีหลอดไห มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือสื่อไฟฟ้า โดยการใช้ขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนหลาย ๆ รอบแล้วใช้แรงจากภายนอกไปหมุนขดลวดอย่างเร็ว ๆ ในสนามแม่เหล็กที่แรง ๆ ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น

    นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทใด ๆ ของเรา แต่ของนั้นก็มีอยู่ และจะปรากฏขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบอันเหมาะสม

    เรื่องโลกทิพย์หรือนรกสวรรค์ก็ทำนองเดียวกัน แม้มีอยู่ก็หาปรากฏแก่เราไม่ เพราะขาดองค์ประกอบอันเหมาะสม แต่สำหรับท่านผู้ได้ญาณพิเศษเช่น ทิพจักษุญาณย่อมมองเห็นโลกทิพย์ได้ คนที่มีเครื่องมือคือสมาธิจิตสูง ๆ ย่อมสามารถติดต่อกับพวกโลกทิพย์ได้ เหมือนกับคนมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าย่อมสามารถให้เกิดไฟฟ้าขึ้นได้ฉะนั้น

    อย่างไรก็ตาม มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่ชาวโลกทิพย์มาปรากฏให้มนุษย์เห็นด้วยตาเนื้อนี้เอง เช่น บางคนเห็นกายทิพย์มาปรากฏตนให้เห็น บางคนเห็นกลางวัน บางคนก็กลางคืน บางคนได้ยินแต่เสียงไม่เห็นตัว
    ------------------------------------------------------
    * โปรดอ่านเรื่องเอกสารรายงานการค้นคว้าเรื่อง วิญญาณมีจริงหรือไม่ จัดทำโดยศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล และศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้เล่าเรื่องประสบการณ์จริงของบุคคลจำนวนมาก

    เรื่องที่ทำนองนี้มีปรากฏอยู่ทั่วโลก ทุกคนเคยได้ยินได้ฟัง บางคนได้เห็นด้วยตนเอง จึงเชื่อว่าโลกทิพย์และกายทิพย์มีจริง เอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ก็มีอยู่มากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เขียนเล่าโดยผู้มีความรู้ มีการศึกษาดี

    อยู่ในวัยที่มีความรอบคอบ มองปัญหาหลายด้าน ท่านเหล่านั้นได้ประสบพบเห็นเองบ้าง บุคคลผู้พอเชื่อถือได้เล่าให้ฟังบ้าง แล้วนำมาเขียนรวบรวมพิมพ์ออกเผยแพร่ เพื่อให้ประชาชนได้รับพิจารณาว่าควรเชื่อเรื่องเหล่านี้หรือไม่เพียงไร

    ศาสตราจารย์ น.พ. อวย เกตุสิงห์ ได้เขียนปรารภไว้ในหนังสือของท่านเรื่อง ภพอื่นและเรื่องควรคำนึง ตอนหนึ่งว่า

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 426.1pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=568>ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้รวบรวมเรื่องทั้งหลายในหนังสือนี้ได้รับการศึกษามาในทางแพทย์และทางวิทยาศาสตร์สมัยหนุ่ม ๆ ก็มีความเข้าใจคล้ายคนหนุ่มสาว (และคนแก่บางคน) ในปัจจุบันนี้ว่า เมื่อเราตายแล้วก็จบเรื่องของเราและคู่ของเรา ถ้าไม่มีลูก เรื่องก็จบถึงที่สุด

    เคยคิดว่า พระพุทธศาสนาก็คล้ายศาสนาอื่น ๆ คือเป็นระบบปฏิบัติเพื่อให้คนเป็นคนดีมีประโยชน์แก่สังคม นรกสวรรค์นั้นเป็นเรื่องสมมติเพื่อขู่หรือจูงใจ คนที่มีการศึกษาน้อย หรือไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์

    โดยเฉพาะการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับประวัติของโลก ชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของต้นไม้และสัตว์ และอินทรียเคมีเกี่ยวกับการหมุนเวียนของสารประกอบของสิ่งมีชีวิต ส่งเสริมความเข้าใจดังกล่าวนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ที่รู้วิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ก็คงเข้าใจอย่างเดียวกัน

    ต่อมาผู้เขียนเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ได้รู้เรื่องส่วนตัวของนักวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ๆ หลายคน ทั้งโดยส่วนตัวและโดยทางเอกสาร ได้ทราบว่าท่านเหล่านั้นยกย่องว่าพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ดีที่สุด และถูกหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด ก็เกิดความสนใจหันมาศึกษาหาเหตุผลแห่งความเห็นนั้น ๆ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้บวชเรียนในสำนักที่มีการอบรมสั่งสอนอย่างดีทั้งในทางปริยัติและปฏิบัติ ประกอบกับได้ศึกษากับพระอาจารย์กัมมัฏฐานชั้นสูง ๆ อีกหลายท่าน ก็ได้เปลี่ยนความเห็นไปในทางที่ถูกต้อง กล่าวคือเห็นว่า

    คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสัจจะเที่ยงแท้ และลึกล้ำเหนือวิทยาศาสตร์ วิธีการของวิทยาศาสตร์นั้นอาศัยสัมผัสทั้ง ๕ แม้จะใช้เครื่องช่วยเหลืออย่างดีวิเศษเพียงไร ก็ยังต้องแปลผลด้วยสัมผัสทั้ง ๕ นั้นเอง อะไรที่ทำให้ตาเห็นไม่ได้ หูฟังไม่ได้ยิน จมูกดมไม่ได้กลิ่น ลิ้นชิมไม่รู้รส ผิวหนังแตะต้องไม่รู้สึก วิทยาศาสตร์ก็รับรู้ไม่ได้ เพราะไม่มีวัตถุพยานหรือทำซ้ำพิสูจน์กันไม่ได้

    แต่วิธีการของพระพุทธศาสนานั้น ใช้สัมผัสทั้ง ๖ คือ มีการใช้การงานของจิตด้วย ซึ่งใช้ได้ในเมื่อสัมผัสอื่น ๆ ไม่สามารถรับรู้ จริงอยู่ ผลการศึกษาเรื่องจิตนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำได้คนนั้นรู้ แต่วิธีนั้นสอนกันได้ และใครที่ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ก็จะได้ผลเหมือน ๆ กันกับอาจารย์ผู้สอน นับว่ามีการถ่ายทอดและมีการพิสูจน์โดยการทำซ้ำได้เหมือนกัน

    ผู้เขียนยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นที่จะรู้เห็นเองไปหมดทุก ๆ อย่าง แต่เท่าที่ทำได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็รู้สึกว่าผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ และถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ทั้งในด้านความรู้และด้านประยุกต์(ด้านการใช้ -ว.ศ)

    ดังนั้น แม้ว่าจะยังไม่สามารถพิสูจน์ด้วยตัวเองได้หมดทุก ๆ ข้อ โดยเหตุผลก็เห็นสมควรรับว่า หลักสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนานั้น คงไม่ผิดไปจากความจริง หลักสำคัญประการหนึ่ง คือการที่คนธรรมดาที่ยังไม่สิ้นอาสวะ จะต้องเกิดอีกเมื่อตายไปแล้ว แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องพิสูจน์ยาก...

    ตามธรรมดาก็ต้องอาศัยศรัทธาในพระสัมโพธิญาณเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นว่า เหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลบางคนซึ่งได้เผชิญกับอมนุษย์ผู้สิงสู่อยู่ในภพอื่น ๆ ก็ดี หรือผู้ทีเคยผ่านเข้าไปในภพดังกล่าวแล้วกลับมาได้ก็ดี อาจจะช่วยส่งเสริมความเชื่อถือในเรื่องเหตุการณ์ภายหลังการตายได้ โดยเฉพาะถ้าการเล่าเรื่องนั้น ๆ มีหลักฐานน่าเชื่อถือ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้เขียนไว้อีกตอนหนึ่งว่า
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 426.1pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=568>"พระพุทธศาสนาสอนว่า คนเรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย หากทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้น กรรมเป็นปัจจัยจำแนกสัตว์ต่าง ๆ ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส ตราบนั้นกรรมก็จะส่งไปให้เกิดในที่ดีหรือชั่วสุดแล้วแต่กรรมที่ทำไว้

    ต่อเมื่อสิ้นกิเลสอาสวะแล้วจึงไม่ต้องเกิดอีกต่อไปคือเข้าสู่ปรินิพพาน ถ้าใครเชื่อตามนี้โดยสนิทใจก็เป็นอันหมดห่วงได้ ไม่ต้องสงสัยว่าตายแล้วเป็นอย่างไร เพราะพระบรมศาสดาทรงบอกไว้อย่างแจ้งชัดว่า ต้องไปเกิดตามกรรม

    ในสมัยก่อน คนทั่วไปเชื่อมั่นในข้อนี้ ไม่กล้าทำบาป เพราะกลัวไปตกนรกและเพียรทำบุญเพื่อจะได้ไปสวรรค์ อาชญากรรมร้ายแรงจึงมีน้อย

    มาถึงสมัยนี้ คนหันมาถือคติวัตถุนิยมตามวิทยาศาสตร์ ยอมรับแต่สิ่งที่เห็นได้พิสูจน์ได้ เลยชักสงสัยในความเชื่อถือแต่ดั้งเดิม กลับไปนิยมในทางที่ว่าตายแล้วอะไรๆ ก็สลายแยกแยะไปตามร่างกายที่เน่าเปื่อย

    แม้พระภิกษุบางรูปก็ปรับตนเข้ากับสมัยนิยมสอนไปในเชิงว่านรกสวรรค์มีอยู่แต่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องรู้อยู่แก่ใจบ้าง เป็นเรื่องความทุกข์หรือความสุขตามคติโลกบ้าง เรื่องปรโลกไม่มีกล่าวถึง

    ผลของการผันแปรเช่นนี้ก็คือคนไม่กลัวบาป เกรงแต่กฎหมาย เมื่อใดเห็นว่ามือของกฎหมายจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ก็กระทำการที่ต้องห้ามตามแต่ตนจะได้ประโยชน์หรือได้ความพอใจ

    บ้านเมืองจึงมากไปด้วยเรื่องประทุษร้าย ฆ่ากันด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย หรือเรื่องทุจริตคดโกงฉ้อราษฏร์บังหลวงโดยไม่กลัวตกนรก สังคมก็ปั่นป่วน

    เพราะคนไม่เห็นผู้ทำชั่วต้องรับผลร้ายและไม่เชื่อเหมือนแต่ก่อนว่าผู้ทำบาปนั้น แม้ไม่ได้รับผลในชาตินี้ที่อาจเห็นได้ก็จะต้องได้รับชาติต่อๆ ไป

    เรื่องทำความดีก็หมดความเชื่อถือโดยทำนองเดียวกัน หากคิดดูเพียงเล็กน้อย ก็จะเห็นได้ว่า วิธีหนึ่งที่จะแก้ภาวะการเสื่อมโทรมเช่นนี้ก็คือ

    การชักนำให้คนกลับไปเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด จะได้กลัวบาปกลัวนรก ซึ่งหนีไม่พ้น ไม่เหมือนกับการลงโทษทางโลก ซึ่งมีการหลบเลี่ยงได้มากมาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    . ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนรกสวรรค์

    ถ้าจะถามว่า การศึกษาเรียนรู้และรับเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ มีประโยชน์อะไร? ก็ตอบได้ทันทีว่า มีประโยชน์มาก มีประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวม

    ในส่วนตัวนั้นทำให้เป็นคนกลัวเวรกลัวกรรม ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะเกรงผลแห่งกรรมจะติดตามตนไปและให้ผลในชีวิตหน้า ทางฝ่ายดีก็ทำให้เป็นผู้มีใจมั่นคงในคุณงามความดี

    สามารถทำความดีได้อย่างสบายใจแม้จะไม่มีใครเห็น ทำให้เป็นคนบากบั่นอย่างมั่นคงในกุศลธรรม ไม่ท้อถอยง่าย และไม่บ่นว่า ทำดีไม่เห็นได้ดี

    ส่วนคนที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้มักพอใจทำความดีและหนีความชั่วเท่าที่นึกว่าจะมีคนเห็น ถ้าไม่มีใครเห็นก็รู้สึกว่าความดีความชั่วที่ตนทำนั้น เป็นหมันเสียแล้ว

    จึงเป็นคนท้อถอยง่าย ตีโพยตีพายเมื่อได้ทุกข์ และระเริงหลงเมื่อได้สุข เพราะเชื่อว่าสุขทุกข์นั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หามีมูลฐานมากจากการกระทำของตนไม่

    ในส่วนที่เกี่ยวกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดนั้น ผู้เชื่อเรื่องบุญกรรมและนรกสวรรค์ย่อมชักจูงบุตรภรรยาหรือสามีและบริวารชนให้กลัวบาปกรรม ให้หมั่นสร้างสมบุญกุศล ทำแต่กรรมดีไม่เป็นคนฉวยโอกาส

    เมื่อเป็นดังนี้ชื่อว่าได้ปูพื้นฐานอันดีให้แก่ครอบครัวและบริวารชน

    ที่เกี่ยวกับสังคม คนเช่นนั้นย่อมไม่เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ไม่ริษยาใคร เพราะเชื่อว่าความสุขความสำเร็จอันใด ที่เขาอื่นได้รับก็เป็นเพราะผลแห่งกุศลกรรมของเขาไม่ในปัจจุบันก็อดีต

    ส่วนความชั่วอันใดที่เขาทำ เขาย่อมได้รับผลอย่างแน่นอนไม่เร็วก็ช้า ไม่ในโลกนี้ก็โลกหน้า

    คนมีความเห็นอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นเวรเป็นภัยกับใคร ไม่ทำลายล้างใคร ตั้งหน้าแต่จะทำความดีแก่สังคมอย่างสงบเสงี่ยม ไม่ยื้อแย่งแข่งดีกับใคร

    ถ้าสังคมของเรามีคนอย่างนี้มากๆ สังคมย่อมสงบร่มเย็น ไม่ต้องหวาดระแวงภัยอย่างที่คนทั้งหลายกำลังหวาดระแวงกันอยู่ในปัจจุบันนี้.
    [​IMG]
     
  3. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
    [​IMG]

    . พระพุทธภาษิต
    มีพระพุทธภาษิตตอนหนึ่งซึ่งน่าสนใจและทำความพิศวงแก่ผู้ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้ามาก พระพุทธภาษิตนั้น ความว่า

    "ญาติมิตรและสหายรัก ย่อมยินดีต้อนรับบุคคลผู้จากไปเสียนาน กลับมาด้วยความสวัสดีฉันใด บุญที่บุคคลทำไว้แล้วก็ฉันนั้น ย่อมคอยต้อนรับบุคคลผู้จากโลกนี้ไป เหมือนญาติคอยต้อนรับบุคคลอันเป็นที่รักของตนฉะนั้น"

    ข้อวิจารณ์

    ตามพระพุทธภาษิตข้างบนนี้ แสดงว่ามีโลกหน้า ชีวิตมนุษย์มิได้ดับสูญพร้อมกับความตาย ความตายเป็นเพียงการแตกทำลายแห่งกายเนื้อ แต่กายทิพย์ และวิญญาณยังต้องเดินทางต่อไป

    จะไปอย่างไร ไปดี หรือชั่ว ก็สุดแล้วแต่กรรมที่เขาสั่งสมไว้เมื่อเป็นมนุษย์ปราชญ์บางท่านเชื่อว่า ชีวิตที่แท้จริงคือชีวิตหลังจากที่เราตายแล้ว

    เพราะในโลกทิพย์เราจะอยู่กันเป็นพันเป็นหมื่นปี ไม่ใช่เป็นสิบเป็นร้อยอย่างชีวิตมนุษย์ หรือ ๗ วัน ๒ เดือนอย่างชีวิตสัตว์บางประเภท เมื่อเป็นดังนี้ บุญบาปที่บุคคลทำไว้ในโลกนี้จึงมีบทบาทสำคัญมากในชีวิตหน้า

    บางคนไม่เชื่อเรื่องบุญบาป บางคนเชื่อ แต่เชื่อเฉพาะบุญบาปในโลกนี้เท่านั้น บางคนเชื่อบุญบาปและเชื่อทั้งโลกนี้และโลกหน้า ยุติอย่างไร เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ยากที่จะทำให้คนทุกคนเข้าใจตามความเป็นจริงได้

    เพราะความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ หรือญาณของแต่ละคนไม่เท่ากัน พื้นฐานแห่งความรู้ก็ไม่เท่ากัน อุปนิสัยหรือคุณสมบัติแห่งใจไม่เหมือนกัน บุคคลจึงสามารถรู้แจ้งในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่าที่กำลังแห่งสติปัญญาของเขาจะตรองเห็นได้

    บางคนยังไม่มีสติปัญญาของตนเอง แต่อาศัยศรัทธาต่อท่านผู้รู้ คือ เชื่อตามท่านผู้รู้ยอมรับเชื่อแม้ในสิ่งที่ตนยังตรองไม่เห็น ถ้าความเชื่อนั้นไปในทางดีก็ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้เหมือนกัน

    บางท่านต้องการความเข้าใจเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องเชื่อเสียก่อนจึงจะเข้าใจ แม้จะเชื่อไม่หมดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม

    เพราะความเชื่ออันมีอยู่บ้างนั้นทำให้เราแสวงหาความจริงต่อไป เพื่อความรู้อันถ่องแท้แน่นอน

    กล่าวตามแนวแห่งพระพุทธศาสนา ศรัทธาเป็นบันไดขั้นต้นในกระบวนการพัฒนาปัญญา ศรัทธาและปัญญาต่างเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

    คือเรามีศรัทธาก็เพื่อความรู้แจ้ง (อันเป็นตัวปัญญา) และมีปัญญารู้แจ้งก็เพื่อเราจะได้เชื่ออย่างมั่งคง ไม่คลอนแคลน ความเชื่ออย่างมั่นคงอันประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติชอบ

    ก้าวไปข้างหน้าในด้านคุณธรรมหรือการอบรมความดีอย่างไม่ลังเล ศรัทธาซึ่งมีปัญญาเป็นอำนาจแฝงมาด้วยแต่ต้นนี้ ในที่สุดก็จะถูกปัญญาเข้าแทนที่โดยสิ้นเชิง

    ตัวอย่างเช่น พุทธศาสนิกผู้เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้สดับศึกษาว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องโลกหน้า เรื่องนรกสวรรค์ เรื่องบุญบาปอันจะตามให้ผลทั้งในโลกหน้า แล้วก็น้อมใจเชื่อ

    ในระหว่างที่เชื่ออยู่นั้น เขาเริ่มปฏิบัติชอบและค้นคว้าศึกษาอย่างไม่หยุดยั้ง ใจเขาเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม ประณีต สงบ และสว่างขึ้นโดยลำดับ ในที่สุดก็เห็นได้ด้วยตนเอง

    ซึ่งหลักธรรมหรือความจริงอันดูเหมือนลี้ลับในเบื้องต้น เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่เชื่อมารดาบิดาครูอาจาย์ หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในเบื้องต้นและเขาก็เติบโตขึ้นโดยลำดับ ในที่สุดเขาก็เดินได้เอง รับประทานอาหารได้เอง อ่านหนังสือได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งผู้ใหญ่ในเรื่องนั้นๆ อีกต่อไป

    ศรัทธากับปัญญาจึงอาศัยกันและกันเป็นเหตุเป็นผลของกัน และกัน ในพระไตรปิฎกมีหมวดธรรมมากหลายที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงศรัทธาและปัญญาไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นอุปการะแก่กัน*

    --------------------------------------------------------------
    * ตัวอย่างเช่น
    . สัมปรายิกัตถะ :ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคะสัมปทา ปัญญาสัมปทา
    . สารธรรม : ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
    . พละ;อินทรีย์ : ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    . เวสารัชชกรณธรรม : ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา
    . อริยทรัพย์ : ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา

    แม้นักปราชญ์นอกพระพุทธศาสนาบางท่านก็เห็นด้วยกับคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ ขอยกเอาคำพูดของเซนต์ ออกัสตีน(St. Augustine) เป็นตัวอย่าง เขากล่าวว่า

    "เราเข้าใจเพื่อจะได้เชื่อ และเราเชื่อเพื่อจะได้เข้าใจ บางสิ่งบางอย่างเราไม่เชื่อจนกว่าจะเข้าใจ แต่ก็มีบางอย่างที่เราจะเข้าใจไม่ได้เลย ถ้าเราไม่เชื่อเสียก่อน ปัญญาและศรัทธาจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน"

    บางคนมีบารมีน้อย มีอาสวะมาก เข้าใจเรื่องดีได้ช้า หรือไม่เข้าใจเอาเลย แต่เข้าใจเรื่องชั่วได้เร็ว ทำความชั่วขึ้น เรียกว่าเรื่องชั่วๆ แล้วไม่ถอยหนี แต่เรื่องดีไม่สู้

    บางคนมีอาสวะน้อย มีบารมีมาก เข้าใจเรื่องชั่วได้ช้า แต่เข้าใจเรื่องดีได้ง่าย ทำความดีขึ้น เรียกว่าเรื่องดีๆ แล้วไม่ถอย แต่เรื่องถ่อยไม่สู้

    บางคนมีอัธยาศัยหยาบ ต้องขัดเกลานานจึงจะรู้ธรรมได้ บางคนมีอัธยาศัยประณีต ขัดเกลาได้ง่าย อบรมได้ง่าย เข้าใจสิ่งละเอียดอ่อนได้เร็ว

    บางคนมีสันดานดี บริสุทธิ์ มีใจน้อมไปในทางดีอยู่เสมอ ใจไม่ลงรอยกับความชั่ว บางคนมีสันดานชั่ว ไม่บริสุทธิ์ ใจน้อมไปในทางชั่วอยู่เสมอ ไม่ลงรอยกับความดี หรือคนดี

    บางคนมีอุปนิสัยในทางธรรม มีบารมีธรรมที่สั่งสมมามาก บางคนไม่มีอุปนิสัยเช่นนั้น บางคนสอนง่าย บางคนสอนยาก

    เรื่องบุญ เรื่องบาป เป็นเรื่องที่สอนให้เข้าใจจริง ๆ ได้ยาก จนกว่าจิตใจของบุคคลผู้นั้นจะมีความแก่รอบ(ปริปักกะ) พอที่จะรู้เรื่องนามธรรมที่ลึกซึ้งได้

    ทางที่จะให้เข้าถึงเรื่องนี้ (คือเรื่องบุญบาป นรกสวรรค์) อย่างแท้จริงด้วยความเชื่ออันมีเหตุผลในใจของตนเองก็คือ การค่อยๆ อบรมศึกษาไปทีละน้อย

    โดยการอ่าน การฟัง คิด สอบถามท่านผู้รู้อยู่เสมอ ไม่ท้อถอยหรือตัดปัญหาเสียว่า "เรื่องนี้ไม่จริง ฉันไม่เชื่อ"

    คนธรรมดาสามัญก็พอรู้ว่า สิ่งที่เราไม่เชื่อหรือไม่เห็นนั้น มิได้หมายความว่าจะไม่มีอยู่จริงเสมอไป

    เมื่อเป็นดังนี้ ไฉนผู้มีการศึกษาดีซึ่งยอมรับนับถือตนเองว่าเป็นปัญญาชนจะรีบด่วนปฏิเสธเรื่องที่ตนยังไม่รู้ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเหลวไหลเล่า คนอื่นอาจรู้เห็นก็ได้

    อนึ่ง ถ้าจะตำหนิผู้เชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่องสังสารวัฏว่างมงายเพราะไม่ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว ผู้ตำหนิผู้อื่นนั้นก็น่าจะงมงายเหมือนกัน เพราะตนก็ไม่ได้รู้แจ้งในเรื่องเหล่านั้นเลย แต่กล้าปฏิเสธ

    และดูเหมือนจะงมงายกว่าผู้เชื่อเสียอีก เปรียบเหมือนเด็กสองคนเถียงกันเรื่องช้างน้ำ คนหนึ่งเชื่อว่ามี เพราะผู้ใหญ่บอกว่ามี แม้ตนจะยังไม่เคยเห็นช้างน้ำก็ตาม

    อีกคนหนึ่งไม่ยอมเชื่อ เพราะอ้างว่าตนไม่เคยเห็นช้างน้ำเลย ในเด็กสองคนนี้ คนไหนโง่หรือฉลาดกว่ากัน

    ความจริงเด็กที่เชื่อมารดาบิดาครูอาจารย์ ในสิ่งที่ตนไม่เคยรู้เห็นมาก่อน และยอมปฏิบัติตามนั้น ย่อมได้รับประโยชน์เป็นอันมาก ทีแรกก็เชื่อไปก่อน เมื่อเติบโตขึ้นย่อมตรองเห็นเหตุผลได้เอง

    เรื่องราวในประวัติศาสตร์ และประวัติบุคคล สำคัญมากมายในอดีต เราก็ไม่เคยเห็นด้วยตนเอง แต่ทำไมเราเชื่อจะไม่กลายเป็นงมงายไปหรือ?

    เรื่องนรกสวรรค์ในโลกหน้านั้น ท่านผู้มีญาณ หรือหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ ยืนยันว่ามีทุกท่านไป นรกสวรรค์เป็นโลกทิพย์ จึงต้องรู้ด้วยสิ่งที่เป็นทิพย์เช่นเดียวกัน

    หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนรกสวรรค์ ตายแล้วเกิด ชาติหน้า ชาติก่อน ก็มีอยู่หลายเล่ม เขียนโดยชาวพุทธในเมืองไทยเรานี่เอง ท่านผู้ต้องการความเข้าใจในเรื่องนี้ควรอ่าน ไม่ควรปล่อยตนให้อยู่ในความสงสัยตลอดไป

    เรื่องโลกทิพย์และชีวิตหลังความตาย (แปลโดย ศิริ พุทธศุกร์ สำนักพิมพ์ค้นคว้าทางวิญญาณ จัดพิมพ์) น่าอ่านมากให้ทั้งความรู้และความเพลิน

    เรื่องโลกอื่น(รวบรวมโดย พระราชดิลก วัดบุปผาราม กรุงเทพมหานคร) ก็มีคุณค่าควรอ่านอย่างยิ่ง ชี้ให้เห็นผลของกรรมดีกรรมชั่ว ที่ไปรอบุคคลอยู่ในโลกอื่น หรือโลกหน้า

    นอกจากนี้ยังมี เรื่องภพอื่นและเรื่องควรคำนึง-พิสูจน์บุญบาปในปัจจุบัน (รวบรวมโดย ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ และวัฒนา โอสถานุเคราะห์)

    เอกสารรายงานการค้นคว้า เรื่องวิญญาณมีจริงหรือไม่(จัดทำโดย ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล และศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์) เป็นต้น ล้วนน่าอ่าน เรื่องเหล่านี้เป็นชีวิตของคนไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น

    ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องนรก สวรรค์ โลกหน้าและผลบุญผลบาปไว้มากมายหลายเรื่อง ขอนำมากล่าวในที่นี้ เพียงบางเรื่อง ดังต่อไปนี้

    . เรื่องนันทิยะ

    ในกรุงพาราณสี มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อนันทิยะ เป็นผู้มีศีลมีศรัทธา พอใจในการปฏิบัติบำรุงพระสงฆ์

    เมื่อเขามีอายุพอจะครองเรือนได้แล้ว มารดาบิดาต้องการให้เขาแต่งงานกับหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อเรวดี แต่นางเป็นผู้ไม่มีศรัทธา นันทิยะจึงไม่ต้องการ

    แต่มารดาบิดาของนันทิยะต้องการ ท่านทั้งสองจึงขอร้องให้นางเรวดีทำใจให้ศรัทธาในพระรัตนตรัย

    เมื่อพระสงฆ์มาฉันอาหารที่บ้าน ขอให้นางเรวดีช่วยปูลาดอาสนะ ตั้งเชิงบาตร รับบาตร นิมนต์ให้นั่ง กรองน้ำด้วยเครื่องกรอง(ธมกรก) เมื่อพระฉันเสร็จแล้วให้ล้างบาตร ถ้าทำได้อย่างนี้ นันทิยะจะพอใจ

    เรวดีต้องการแต่งงานกับนันทิยะ จึงยอมทำตาม ท่านทั้งสองได้เล่าให้นันทิยะฟัง นันทิยะจึงยอมแต่งงานด้วย

    ต่อมานางมีบุตรกับนันทิยะ ๒ คน เมื่อมารดาบิดาของนันทิยะสิ้นชีวิตแล้ว นางก็ได้ครองความเป็นใหญ่ในเรือน

    จำเดิมแต่มารดาบิดาสิ้นชีวิตแล้ว นันทิยะยิ่งให้ทานมากขึ้นเป็นมหาทานบดี เตรียมทานสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งค่าอาหารสำหรับคนกำพร้าและคนเดินทางไว้ที่ประตูเรือน

    ต่อมา เขาได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งเสนาสนทาน จึงได้สร้างศาลา ๔ มุข มี ๔ ห้องในมหาวิหารอิสิปตนะ มีเครื่องนั่ง เครื่องนอนพร้อม

    เมื่อจะมอบถวายเสนาสนะนั้น เขาได้ถวายมหาทาน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักษิโณทกแด่พระตถาคต

    ขณะเดียวกันนั่นเอง ปราสาททิพย์พร้อมด้วยเหล่าเทพอัปสร ได้ปรากฏขึ้นรอคอยเขาอยู่ในเทวโลก

    ต่อมาวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะจาริกไปในเทวโลก (การไปของพระอรหันต์อย่างนี้ไปด้วยกายทิพย์-ว.ศ) ยืนอยู่ใกล้ปราสาทนั้น

    พวกเทพบุตรมาหาท่านกันมาก ท่านถามเทพบุตรเหล่านั้นว่า ปราสาทพร้อมด้วยเทพอัปสรเหล่านั้นเกิดขึ้นเพื่อใคร?

    เทพบุตรเหล่านั้นเรียนให้ทราบว่า เกิดขึ้นเพื่อนันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดาที่ป่าอิสิปตนะ

    ฝ่ายพวกเทพอัปสรเห็นพระเถระแล้ว ลงจากปราสาท นมัสการพระเถระและกล่าวว่า

    "พวกข้าพเจ้าเกิดที่นี่เพื่อรอเป็นบาทบริจาริกาของนันทิยะ แต่ไม่เห็นเขามาเลย รออยู่นานเบื่อเหลือเกิน

    พระคุณเจ้ากลับไปเมืองมนุษย์แล้ว กรุณาบอกเขาด้วยว่า ขอให้ละมนุษยสมบัติ อันเป็นเหมือนภาชนะดิน แล้วมารับทิพยสมบัติอันเป็นเสมือนภาชนะทองคำด้วยเถิด"

    พระมหาโมคคัลลานะกลับจากเทวโลกแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า

    "เป็นไปได้หรือที่ทิพยสมบัติจะเกิดขึ้นในเทวโลก รอบุคคลผู้ทำความดีซึ่งยังอยู่ในมนุษย์โลก?"

    พระศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ก็ทิพยสมบัติเกิดขึ้นแก่นันทิยะ เธอเห็นเองแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงถามเราอีกเล่า?

    ดูก่อนโมคคัลลานะ บุญที่บุคคลทำแล้วย่อมไปรอต้อนรับเขาอยู่ในเทวโลกเหมือนญาติมิตรรอต้อนรับผู้เป็นที่รักของตนซึ่งเดินทางกลับมากจากแดนไกล" ดังนี้เป็นต้น

    . เรื่องพระนางโรหิณี

    เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ สมัยนั้น พระอนุรุทธเถระไปเมืองกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุบริวารจำนวน ๕๐๐ รูป

    พวกพระญาติทราบข่าวการมาของท่านจึงพากันมาหา เว้นแต่พระนางโรหิณี พระเถระเมื่อไม่เห็นพระนางจึงทูลถามพระญาติว่า พระนางโรหิณีไปไหน?

    ท่านทราบจากพระญาติว่า พระนางโรหิณีไม่เสด็จมาเพราะความละอายที่เป็นโรคผิวหนัง (โรคเรื้อน) พระเถระให้เชิญพระนางมาและแนะนำให้ทรงทำบุญ

    "ทำอย่างไรท่าน?" พระนางทูลถามพระพี่ชาย

    (พระนางโรหิณีเป็นพระน้องนางของพระอนุรุทธะ มีพี่น้อง ๓ พระองค์ด้วยกันคือ มหานาม อนุรุทธะ และโรหิณี ทรงเป็นพระราชโอรสธิดาของอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ - ว.ศ.)

    พระเถระจึงบอกอุบายให้ว่า ให้สละเครื่องประดับออกจำหน่ายได้เงินมาเท่าใด ให้นำมาทำโรงฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ ขอให้พระญาติที่เป็นชายช่วยกันดำเนินการสร้างโรงฉันให้เรียบร้อย

    พระนางทรงเชื่อ ขายเครื่องประดับได้แล้ว ให้สร้างโรงฉันขึ้นทำเป็นสองชั้น พระนางได้ปัดกวาดโรงฉันเป็นประจำ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ถวายขาทนียโภชนียาหารแก่ภิกษุสงฆ์

    ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศล โรคผิวหนังของพระนางค่อยๆ หายไปทีละน้อยจนเกลี้ยงเกลา

    วันหนึ่งพระศาสดาเสด็จมาที่โรงฉันของพระนางโรหิณี เสวยแล้วตรัสกับพระนางว่า โรคผิวหนังนั้นเกิดขึ้นเพราะกรรมที่พระนางเคยเอาผงเต่าร้าง หรือหมามุ่ยโรยลงที่ตัวของหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งเพราะโกรธและริษยาเขา

    หญิงนักฟ้อนได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส

    (โปรดดูเรื่องพิสดารในอรรถกถาธรรมบทภาค ๖ โกธวรรค เรื่องพระนางโรหิณี)

    เพราะฉะนั้นบุคคลควรละความโกรธ และสละความถือตัว ทะนงตนเสีย
    เมื่อพระนางโรหิณีสิ้นพระชนม์แล้วไปเกิดเป็นเทพอัปสร และได้เป็นมเหสีที่รักยิ่งของท้าวสักกะ จอมเทพแห่งดาวดึงส์

    ข้อสังเกต

    โรคของพระนางโรหิณีเกิดขึ้นเพราะกรรมชั่ว ที่เรียกในพระบาลีว่า"กมฺมวิปากชา อาพาธา" แปลว่า "อาพาธซึ่งเกิดจากผลของกรรม"

    โรคอย่างนี้ถ้ากรรมไม่หมดฤทธิ์ก็ไม่หาย วิธีหนึ่งที่จะทำให้กรรมหมดฤทธิ์เร็วคือการทำบุญหรือทำความดีเพื่อไปต่อสู้กับผลของกรรมเก่า

    และทำให้ผลกรรมนั้นอ่อนกำลังลง อย่างน้อยที่สุดก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา หรืออาจช่วยให้กรรมนั้นสูญสิ้นไปเลย สมดังพระบาลีที่ว่า

    "ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปหียติ" (ขุ.ธ. ๒๕/๓๘)

    แปลว่า "กรรมชั่วที่บุคคลทำแล้วย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม" การทำความดีจึงมีผลดีทั้งแก่ร่างกายและจิตใจ

    อนึ่ง ทั้งนันทิยะและพระนางโรหิณีได้รับการต้อนรับจากโลกทิพย์เพราะบำเพ็ญเสนาสนทาน การถวายเสนาสนทานนั้น ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า มีอานิสงส์มากกว่าอามิสทานใดๆ ทั้งสิ้น

    แม้การถวายอาหารทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขก็สู้เสนาสนทานไม่ได้

    . ความมีอยู่จริงของโลกหน้า
    บรรดาบุคคลที่น่าเชื่อถือทั้งหลายพระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือที่สุด เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต และอบรมปัญญาแล้วอย่างดีเลิศ พระทัยของพระองค์ได้รับการพัฒนาขึ้นถึงขั้นสูงสุดผ่องแผ้วและสว่างไสว

    พระองค์ผู้น่าเชื่อถือเช่นนี้ ตรัสว่า โลกหน้ามี นรกสวรรค์มี สัตว์ย่อมเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน เมื่อสิ้นกิเลส สิ้นกรรม ภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดก็สิ้นสุดลง ข้อความทำนองนี้มีอยู่มากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งชั้นพระไตรปิฎกและอรรถกถา

    จิตยิ่งประณีตและสว่างไสวด้วยปัญญามากขึ้นเท่าใด บุคคลก็สามารถแลเห็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น เปรียบเหมือนผู้มีกล้องส่องทางไกลและกล้องจุลทรรศน์ ย่อมมองเห็นได้ไกลกว่าและละเอียดประณีตกว่าผู้มองด้วยตาเปล่า

    เมื่อใช้กล้องส่องทางไกล วัตถุแม้อยู่ในที่ไกลซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็มาปรากฎอยู่ ณ ที่ใกล้ เชื้อโรคอันมีอยู่มากมาย ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั้น เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพันๆ เท่า ๆ จึงมองเห็น

    นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงปาฏิหาริย์ไว้มากมายทางฝ่ายวัตถุ เพราะเขาได้อบรมฝึกฝนปัญญาทางวิทยาศาสตร์สืบช่วงกันมาเป็นเวลานาน

    ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ฝึกอบรมทางจิตก็ย่อมมีปาฏิหาริย์ในทางฝ่ายจิต หรือในฝ่ายนามธรรม ได้เช่นกัน ย่อมสามารถรู้เห็นในสิ่งที่คนธรรมดาสามัญไม่อาจรู้เห็นได้

    ผู้ที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ ต้องมีพื้นฐานความรู้พอสมควร ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะให้รู้เห็นขึ้นมาเองโดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย

    ความสามารถที่จะรู้วิชาการระดับสูงไม่ว่าในสาขาใด จะต้องมีพื้นความรู้ตามลำดับขั้นของวิชาสาขานั้น วิชาการในระดับมหาวิทยาลัย เด็กอนุบาลไม่อาจเข้าใจได้ เพราะเด็กอนุบาลไม่มีพื้นความรู้พอ

    ความรู้ทางศาสนา และความสามารถทางจิตของบุคคลทั่วไป เปรียบเหมือนความรู้และความสามารถของเด็กอนุบาล ส่วนความรู้ความสามารถทางจิตของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา เปรียบเหมือนความรู้ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสุดในวิชาการ สาขาใดสาขาหนึ่ง

    แต่ทุกคนมีสิทธิ์และโอกาสที่จะรู้ได้ถ้าเขามีความเพียรพยายาม ไม่ดื้นรั้นเกินไป ยอมรับฟังและพยายามดำเนินไปตามทางที่ท่านชี้บอกไว้

    แม้ในทางธรรมดา เช่นจากกรุงเทพฯ ไปสงขลา หรือจากสงขลาไปกรุงเทพฯ ท่านที่ชำนาญทาง เดินทางไป-มาอยู่เสมอ ย่อมรู้ว่าระหว่างทางมีอะไรบ้าง ต้องผ่านสถานที่อะไรบ้าง สถานที่นั้นๆ เป็นอย่างไร ท่านได้ทำแผนที่และเขียนรายละเอียดไว้ให้สำหรับผู้จะเดินทางรุ่นหลัง

    คนที่เดินทางย่อมได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ที่ท่านเขียนบอกไว้ แต่คนที่นั่งอยู่กับบ้านย่อมไม่สามารถเห็นสิ่งนั้นๆ ได้เลย คนที่เคยไปมาบอกกี่คนๆ เขาก็ไม่เชื่อ เขายืนกรานอยู่อย่างเดียวว่า เขาไม่เห็น สิ่งนั้นๆ ไม่มีจริง คนที่มาบอก โกหกทั้งสิ้น

    ส่วนคนที่เดินทางแม้ไม่ตลอดสาย คือเดินไปเพียงเล็กน้อย ได้เห็นจริงตามที่ท่านเขียนบอกไว้ก็ปลงใจเชื่อว่า แม้ทางที่เขายังไปไม่ถึงก็คงมีสิ่งต่างๆ ที่ท่านบอกไว้จริง แต่ตนเองยังไม่สามารถไปได้ตลอดสายเพราะเหตุขัดข้องบางประการ

    เรื่องที่เกี่ยวกับ ปรโลก สวรรค์ นรก ชาติก่อน ชาติหน้า ก็ทำนองเดียวกัน ท่านผู้มีญาณได้บอกไว้ เพราะท่านได้เห็นมาเองแล้ว ถ้าเรามีญาณอย่างท่านก็จะได้เห็นอย่างท่าน เมื่อไม่มีญาณอย่างท่าน ก็ไม่อาจรู้เห็นอย่างท่านได้

    ทางที่จะให้เกิดญาณเช่นนั้นท่านก็บอกไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ แต่เราไม่ได้ทำกันเอง อย่าไปโทษท่านเลย โทษตัวเราเองกันดีกว่า ว่ายังโง่กว่าท่านมากนัก

    อนึ่ง เรื่องหลักกรรม "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" จะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด เพราะชีวิตเพียงชาติเดียวสั้น เกินไปไม่พอพิสูจน์กฎแห่งกรรม

    ไม่อาจข้ามแดนแห่งความสงสัยในปัญหาชีวิตเสียได้ว่า ทำไมคนดีบางคนจึงได้รับทุกข์อย่างที่ไม่ควรจะได้รับ เรื่องสังสารวัฏจะช่วยแก้ปัญหาข้อข้องใจอันนี้ของเราได้

    และเรื่องสังสารวัฏก็จะไม่สมบูรณ์และน่าหวาดเสียวเกินไป ว้าเหว่เกินไป ถ้าไม่มีเรื่องนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งสังสารวัฏ

    การเกิดใหม่เป็นกระบวนการธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อพัฒนาตนให้ขึ้นถึงขีดสมบูรณ์ เหมือนนักเรียนต้องมาโรงเรียนวันแล้ววันเล่า เรียนบทเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ได้รับความรู้สมบูรณ์ และเลื่อนชั้นการศึกษาขึ้นไปโดยลำดับ

    แต่ละชาติแห่งการเกิดใหม่ของบุคคล ถ้าเขาพัฒนาตนขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยการสั่งสมกรรมดีอยู่เสมอ วิญญาณของเขาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนหลุดพ้นจากกิเลส กรรม และวิบากอันเป็นกลไกของสังสารวัฏ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    มองในแง่นี้ ความตายมิใช่สิ่งน่ากลัวเลย สำหรับคนทำความดี มันเหมือนการละทิ้งภาชนะดิน เพื่อได้ภาชนะทองคำ ความตายมิใช่ความสิ้นสุดแห่งชีวิต แต่เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่า คล่องตัวกว่า ผู้ที่คนทั้งหลายเข้าใจว่า "ตายแล้ว" นั้น ได้ไปมีชีวิตอยู่ในสภาวะใหม่อีกแบบหนึ่ง

    มีนิทานเก่าๆ อยู่เรื่องหนึ่ง เป็นนิทานเปรียบเทียบที่น่าสนใจและดีมาก ขอนำมาเล่าประกอบในที่นี้ เรื่องมีอยู่ว่า

    ตัวหนอนดักแด้ที่จะเป็นผีเสื้อ(Caterpillar) ตัวหนึ่ง เมื่อโตเต็มที่ในขั้นหนอนแล้ว ถึงคราวที่มันจะแปรสภาพจากหนอนไปเป็นตัวแก้ว ในระยะนี้ มันจะอ่อนเพลียมาก และมันจะหลับเป็นเวลานานก่อนที่มันจะเป็นผีเสื้อ

    แต่เนื่องจากมันไม่รู้สภาพความเป็นจริงในเรื่องนั้น มันจึงเรียกประชุมเพื่อนๆ ของมัน และกล่าวอำลาอย่างเศร้าใจว่ามันจะต้องตาย จึงลาพวกเพื่อนไปก่อน ส่วนพวกเพื่อนซึ่งไม่รู้ความจริงในเรื่องนี้เช่นกัน ต่างก็เศร้าโศกอาลัยรำพันเป็นอันมาก แล้วก็แยกย้ายกันไป

    เราผู้รู้เรื่องนี้ดี อาจจะชวนกันยิ้มเยาะหนอนดักแด้ที่จะเป็นผีเสื้อนั้นว่า ช่างโง่เขลาเสียนี่กระไร เพราะตามความเป็นจริงแล้ว มันกำลังจะแปรสภาพจากสัตว์เลื้อยคลาน ไปเป็นสัตว์อีกสภาพหนึ่ง ซึ่งแสนสวย และโผผินบินไปได้อย่างอิสระ เมื่อเทียบกับหนอนแล้ว สภาวะแห่งผีเสื้อเป็นความเจริญและผาสุกกว่ามาก

    อย่างไรก็ตาม นักปราญ์สมัยโบราณท่านเล่าเรื่องนี้ไว้เพื่อให้เราได้ย้อนดูตัวเราเอง และความคิดของพวกมนุษย์เราเองว่า ใกล้เคียงหรือห่างไกลจากความคิดของตัวหนอนดักแด้มากน้อยเพียงใด

    พวกเราได้เคยชวนกันร้องห่มร้องไห้อาลัย และทุกข์ร้อนต่อความตายของญาติสนิท มิตรสหาย เราเข้าใจว่า ชีวิตของท่านเหล่านั้นสิ้นสุดเสียแล้ว

    แต่ในความจริง ท่านผู้ทำความดีไว้มากเหล่านั้นกำลังแปรสภาพจากกายเนื้ออันแสนจะลำบาก เป็นภาระอันหนักนี้ไปสู่กายทิพย์ อันเป็นสภาวะใหม่ มีอิสระเสรี มีความเจริญและผาสุกมากกว่า เราหลายร้อยเท่า

    ท่านกำลังชื่นชมกับชีวิตอันแท้จริงของท่าน ชีวิตมิได้สิ้นสุดลงเพราะการแตกสลายแห่งกายเนื้อ มองในแง่นี้ ดูเหมือนจะไม่มีความตาย มีแต่ชีวิต แต่เป็นชีวิตในแบบใดแบบหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปตามแรงกรรม

    และเพื่อให้ชีวิตได้มีประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตวิญญาณให้ขึ้นถึงขีดสูงสุด ดังนั้นสภาพที่ชาวโลกเรียกกันว่า "ความตาย" จึงมิใช่สิ่งน่ากลัวแต่ประการใด มันเป็นเพียงแต่การแปรของชีวิตจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งเท่านั้น.
    -------------------------------------
    คัดลอกจาก: สวรรค์ นรก บุญ บาปในพระพุทธศาสนา
    วศิน อินทสระ
    ตอบโดย: mayrin 07 เม.ย. 48
    www.dharma-gateway.com/ubasok/wasin/wasin-012-03.htm
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    ผมเข้าใจว่า หรือคิดว่าไม่จริง ว่าต้องเป็นผี (ต้องศึกษาว่า คำว่าผี คืออะไรก่อน)
    ที่ว่าไม่จริง เพราะบางท่านตายไปแล้วไปเกิดใหม่ทันที เช่นพระที่ท่านห่วงจีวรที่มีค่า สวยงามของท่าน ถึงความมรณภาพในขณะที่ห่วงจีวร จึงไปเกิดเป็นเล็น เป็นต้น เรื่องนี้ปรากฏชัดเจนว่า พระพุทธเจ้ารับรองในความเป็นจริง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระธรรมบท<!--[if gte mso 9]><xml> <o:OfficeDocumentSettings> <o:AllowPNG/> </o:OfficeDocumentSettings> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:EnableOpenTypeKerning/> <w:DontFlipMirrorIndents/> <w:OverrideTableStyleHps/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0in 5.4pt 0in 5.4pt; mso-para-margin-top:0in; mso-para-margin-right:0in; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0in; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]"..ท่านติสสะ ท่านบวชในสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะพระองค์ยังมี พระชนมายุอยู่ ต่อมาวันหนึ่งท่านเห็นเพื่อนเขาห่มจีวรแพร ท่านก็อยากจะห่มจีวรแพรบ้าง พอดีท่านมีจีวรอยู่ผืนหนึ่งรู้สึกว่าจะเป็นผ้าเนื้อหยาบสักหน่อย ท่านจึงเอาไปให้พี่สาวจัดการทำให้ พี่สาวเห็นผ้าของพระน้องชายเนื้อหยาบมาก ก็ทุบเสียไปสะไปสางไปกรอใหม่เป็นผ้าเนื้อนิ่ม ทำให้เป็นผ้าเนื้อละเอียดเย็บแล้วก็นำมาย้อมดูเป็นผ้ามีราคาสูง แล้วเอาไปให้พระน้องชาย[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลานั้นพระติสสะท่านป่วยมากจนไม่สามารถจะครองจีวรนี้ได้ เมื่อเห็นผ้าที่พี่สาวนำไปให้เป็นผ้าเนื้อละเอียดดีมาก แต่ผ้าของท่านที่ให้ไปเป็นผ้าเนื้อหยาบ อาศัยกำลังใจที่สะอาดมากของท่านจึงบอกกับพี่สาวว่า "ผ้าผืนนี้อาตมารับไม่ได้" พี่สาวก็ถามว่า "ทำไม" ท่านก็บอกว่า "ผ้าอาตมาที่ให้พี่ไปเป็นผ้าเนื้อหยาบ แต่ผ้าผืนนี้เป็นผ้าที่มีเนื้อดีมาก ไม่ควรแก่การที่จะรับไว้เพราะผิดพระวินัย เกรงว่าจะเป็นการขโมยหรือโกงผ้าของบุคคลอื่น"[/FONT]
    [FONT=&quot]พี่สาวจึงบอกว่า "ความจริงผ้าผืนนี้เป็นผ้าของท่าน เมื่อท่านนำผ้าเนื้อหยาบมาให้ ฉันก็เลยทุบทำเสียใหม่ เอาด้ายมากรอเสียใหม่ ทำใหม่หมดเป็นด้ายเส้นเล็กๆ เนื้อถึงได้บางสวยแบบนี้" ท่านก็ยอมรับเห็นว่าไม่ผิดพระวินัย เมื่อพี่สาวกลับไปแล้ว ท่านก็อยากจะห่มจีวรผืนนี้เต็มที แต่ห่มไม่ไหวเพราะป่วยจนลุกไม่ขึ้น จิตใจก็มีความรู้สึกรักจีวรผืนนี้มาก แต่ไม่นานนักไม่ทันได้ห่มจีวรท่านก็ถึงแก่ความตาย ก่อนจะตายจิตแทนที่จะนึกถึงพระรัตนตรัย จิตท่านไปกระหวัดนึกถึงจีวร แทนที่จะไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ กลับไปเกิดเป็นเล็นตัวเล็กๆ อาศัยอยู่ในตะเข็บของจีวรอยู่ ๗ วัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ตามพระวินัยถ้าพระตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดต้องตกเป็นของสงฆ์ ญาติพี่น้องจะถือว่าฉันมีสิทธิ์เป็นทายาทผู้รับมรดกไม่ได้ ถ้าจะให้กันต้องให้ก่อนตาย ถ้าไม่ให้ก่อนตายตกเป็นของสงฆ์หมด เมื่อพระติสสะตายแล้ว บรรดาพระทั้งหลายก็ไปจัดการว่าทรัพย์สมบัติของพระติสสะมีอะไรบ้าง ก็หยิบโน่นหยิบนี่ตามที่มีอยู่ หยิบอย่างอื่นไม่มีเรื่อง พอพระองค์หนึ่งไปจับจีวรแพรผืนนั้นเข้า เล็นติสสะร้องตะโกนเสียงดังว่า "ไอ้ขโมยปล้นจีวร ไอ้ขโมยปล้นจีวร" แต่เป็นการบังเอิญจริงๆ พระที่ไปนั้นไม่มีพระหูทิพย์เลย เลยไม่ได้ยิน พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระคันธกุฎีได้ยินเสียงเล็นตะโกนแบบนั้น ทรงบอกพระอานนท์ว่า "ไห้รีบไปที่กุฏิท่านติสสะเดี๋ยวนี้ บอกพระทั้งหลายว่าจีวรผืนนั้นให้วางไว้ก่อน ภายใน ๗ วันนี้ห้ามมาแตะต้องเด็ดขาด วันที่ ๘ จึงแตะต้องได้" พระอานนท์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "เป็นเพราะอะไร" พระองค์ก็ตรัสว่า "พระติสสะก่อนที่จะตายห่วงจีวร และมีความรักในจีวรผืนนี้มากเพราะเนื้อดีมาก ดีกว่าทุกผืนที่เคยมีอยู่ เธอตั้งใจจะครองผ้าผืนนี้แต่ว่าโอกาสไม่มีมาตายเสียก่อน ก่อนจะตายจิตใจก็นึกถึงจีวรผืนนี้ ตายแล้วก็ต้องมาเกิดเป็นเล็นเฝ้าจีวรอยู่ ๗ วัน" เพราะเล็นมีอายุแค่ ๗ วัน หลังจากนั้นวันที่ ๘ เล็นตัวนี้ก็จะตาย อายุขัยของเขาแค่นั้น มีอายุขัยแค่ ๗ วันเหมือนกับยุง[/FONT][FONT=&quot]เล็นติสสะตายแล้วก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงแนะนำให้เจริญพระกรรมฐาน ทำสมาธิจิตและวิปัสสนาญาณก็เพื่อจิตมุ่งอะไร ใจจะไปอย่างนั้นตามกำลังของใจเมื่อตายไปแล้ว ขณะทรงชีวิตอยู่ให้มีความรู้สึกนึกถึงความตายไว้เป็นปกติและไม่ประมาทในชีวิต อย่าไปหลงใหลใฝ่ฝันกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เกินไป ให้คิดถึงความจริงของคนว่า ถ้าตายไปแล้วไม่มีโอกาสที่จะครองทรัพย์สมบัติใดๆ ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยมันไว้ ตายแล้วก็เลิกกัน ถ้าอารมณ์จิตของท่านเป็นอย่างนี้ จิตใจก็จะผ่องใส ถ้าจิตใจของเราในระหว่างเป็นมนุษย์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตายเมื่อไรก็ไปพระนิพพานเมื่อนั้น.." [/FONT] คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มกราคม 2012
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    “ ผีและเทวดามีจริง ” [ EP.1/7 ]


    clip ข้างบนนี้ก็ฟังได้เช่นกันครับ


     

แชร์หน้านี้

Loading...