คติธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย Pongpat86, 10 มกราคม 2011.

  1. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เมื่อมีผู้ไปขอของดีจำพวกวัตถุมงคลจากหลวงปู่ไว้ห้อยคอหรือพกติดตัว หลวงปู่จะสอนว่า
    “จะเอาไปทำไม ของดีภายนอก ทำไมไม่เอาของดีภายใน พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละ ของวิเศษ”
    ท่านให้เหตุว่า
    “คนเรานั้น ถ้าไม่มีพุทธัง ธัมมัง สังฆัง เป็นของดีภายใน ถึงแม้จะได้ของดีภายนอกไปแล้ว ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร... ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นพระจริง ๆ เห็นมีแต่พระปูน พระไม้ พระโลหะ พระรูปถ่ายพระสงฆ์ ลองกลับไปคิดดู”
     
  2. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    อีกครั้งหนึ่งที่คณะผู้เขียนได้มานมัสการหลวงปู่ เพื่อนของผู้เขียนท่านหนึ่งต้องการเช่าพระอุปคุตที่วัดเพื่อนำไปบูชา โดยกล่าวกับผู้ที่มาด้วยกันว่า บูชาแล้วจะได้รวย
    เพื่อนของผู้เขียนท่านนั้นแทบตะลึง เมื่อมากราบหลวงปู่ แล้วท่านได้ตักเตือนว่า “รวยกับซวยมันใกล้ ๆ กันนะ”
    ผู้เขียนได้เรียนถามหลวงปู่ว่า “ใกล้กันยังไงครับ”
    ท่านยิ้มและตอบว่า “มันออกเสียงคล้ายกัน”
    พวกเราต่างยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ สักครู่ท่านจึงขยายความให้พวกเราฟังว่า “จะเอารวยน่ะ จะหามายังไงก็ทุกข์ จะรักษามันก็ทุกข์ หมดไปก็เป็นทุกข์อีก กลัวคนจะจี้จะปล้น ไปคิดดูเถอะ มันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอาดี ดีกว่า”
    คำว่า “ดี” ของหลวงปู่มีความหมายลึกซึ้งมาก ผู้เขียนขออันเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวงเราในเรื่องการทำความดี มาเปรียบ ณ ที่นี้ ความตอนหนึ่งว่า
    “...ความดีนี้ ไม่ต้องแย่งกัน ความดีนี้ ทุกคนทำได้ เพราะความดีนี้ทำแล้วก็ดีตาม คำว่า “ดี” นี้ ดีทั้งนั้น ฉะนั้น ถ้าช่วยกันทำดี ความดีนั้นก็จะใหญ่โต จะดียิ่ง ดีเยี่ยม...”
     
  3. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เล่ากันว่า มีโยมท่านหนึ่ง ไปนมัสการพระเถระองค์หนึ่งอยู่เป็นประจำ และในวันหนึ่งได้ถามปัญหาธรรมกับท่านว่า
    “หลักของพระพุทธศาสนาคืออะไร...”
    พระเถระตอบว่า
    “ละความชั่ว ทำความดี ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว”
    โยมท่านนั้นฟังแล้ว พูดว่า
    “อย่างนี้เด็ก ๗ ขวบก็รู้”
    พระเถระยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า
    “จริงของโยม เด็ก ๗ ขวบก็รู้ แต่ผู้ใหญ่อายุ ๔๐ ก็ยังปฏิบัติไม่ได้”

    อย่างนี้กระมังที่ผู้เขียนเคยได้ยินหลวงปู่พูดเสมอว่า
    “ของจริง ต้องหมั่นทำ”
    พระพุทธศาสนานั้น ถ้าปราศจากการน้อมนำเข้าไปไว้ในใจแล้ว การ “ถือ” พุทธศาสนาก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด
     
  4. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    หลวงปู่เคยปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า
    “ถ้าแกเขียนตัว พ พาน ได้เมื่อไร นั่นแหละจึงจะดี”
    ผู้เขียนถามท่านว่า “เป็นอย่างไรครับ พ พาน”
    ท่านตอบว่า “ก็ตัว พอ น่ะซี”

    คนเราจะมีชีวิตอยู่ในโลก ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย มีฐานะแล้วจึงจะมีความสุข มีคนที่ลำบากอีกมาก แต่เขารู้จักว่าอะไรคือสิ่งที่พอตัว ก็สามารถอยู่อย่างเป็นสุขได้
    นี่ก็อยู่ที่คนเรา รู้จักคำว่า “พอ” หรือไม่
    รู้จัก “พอ” ก็จะมีแต่ความสุข
    หากไม่รู้จัก “พอ” ถึงแม้จะร่ำรวย มีเกียรติ ตำแหน่งใหญ่โต มันก็ไม่มีความสุขได้เหมือนกัน
    คนที่มีเงิน ก็ยิ่งอยากมีเงินเพิ่มขึ้นอีก
    คนที่ทำงาน ก็อยากกินตำแหน่งสูงขึ้น
    มีสิ่งใดก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด
     
  5. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    วิธีวัดอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดปฏิบัติธรรมได้ดีเพียงใดนั้น ท่านให้สังเกตดูว่า ผู้นั้นสามารถฝึกตน สอนตัวเองได้ดีเพียงใด การเตือนผู้อื่นไม่ให้หลงผิดได้นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การเตือนตอนให้ได้ย่อมดีกว่า
    การสอนของหลวงปู่ท่านจะทำให้เราดูเป็นตัวอย่าง ท่านสอนให้เราทำอย่างที่ท่านทำ มิได้สอนให้ทำตามที่ท่านสอน ทุกอย่างที่ท่านสอนท่านได้ทดลองทำและปฏิบัติทางจิตจนรู้จนเห็นหมดแล้วทั้งสิ้น จึงนำมาอบรมแก่ศิษย์
    เหมือนเป็นแบบอย่างให้เราได้ยึดถือตามครูอาจารย์ว่า การแนะนำอบรมหรือสอนธรรมผู้อื่นนั้น เราต้องปฏิบัติจนแน่ใจตนเองเสียก่อน และควรคำนึงถึงสติปัญญาความสามารถของตน ถ้ากำลังไม่พอแต่จะรับภาระมาก นอกจากผู้มาศึกษาจะไม่ได้รับประโยชน์แล้ว ตนเองยังจะกลายเป็นคนเสียไปด้วย ท่านว่าเป็นการไม่เคารพธรรม และไม่เคารพครูอาจารย์อีกด้วย
     
  6. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ล้วนมีความหมายชั้นลึกโดยตัวของมันเองอยู่เสมอ ไอน์สไตน์มองเห็นวัตถุ เขาคิดทะลุเลยไปถึงการที่จะสลายวัตถุให้เป็นปรมาณู สองพี่น้องตระกูลไรท์มองเห็นนกบินไปมาในอากาศ ก็คิดเลยไปถึงการสร้างเครื่องบินได้ พระพุทธเจ้าแต่ครั้งเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงพบคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ท่านก็มองเห็นถึงความไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
    หลวงปู่เคยเตือนสติลูกศิษย์รุ่นหนุ่มที่ยังมองเห็นสาว ๆ ว่าสวยว่างาม น่าหลงใหลใฝ่ฝันกันนัก ว่า...
    “แกมันดูตัวเกิด ไม่ดูตัวดับ ไม่สวย ไม่งาม ตาย น่า เหม็น ให้เห็นอย่างนี้ได้เมื่อไร ข้าว่าแกใช้ได้”
     
  7. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    หลวงปู่เคยสอนว่า...
    “คนฉลาดน่ะ เขาไม่เคยมีเวลาว่าง”
    เวลาเป็นของมีค่า เพราะไม่เหมือนสิ่งอื่น แก้วแหวน เงิน ทอง สิ่งของทั้งหลาย เมื่อหมดไปแล้วสามารถหามาใหม่ได้
    แต่สำหรับเวลาแล้ว หากปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ขอให้ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า
    “สมควรแล้วหรือกับวันคืนที่ล่วงไป ๆ คุ้มค่าแล้วหรือกับลมหายใจที่เหลือน้อยลงทุกขณะ”
     
  8. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ในเรื่องของความเคารพครูอาจารย์ และความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ หลวงปู่เคยบอกว่า
    “การปฏิบัติ ถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้ (หรือ) แบบแผนมาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้น อย่างนี้มา
    การปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง

    ข้าเป็นคนมีทิฏฐิแรง เรียนจากครูบาอาจารย์นี้ ยังไม่ได้ผลก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูอาจารย์”
     
  9. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    มีคำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติธรรมแล้วเกิดความท้อใจ ปฏิบัติอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังรู้สึกว่าตนเองไม่ได้พัฒนาขึ้น หลวงปู่เคยเมตตาสอนผู้เขียนว่า “ของที่มีมันยังไม่จริง ของจริงเขามี เมื่อยังไม่จริง มันก็ยังไม่มี”
    หลวงปู่เมตตากล่าวเสริมอีกว่า
    “คนที่กล้าจริง ทำจริง เพียรปฏิบัติอยู่เสมอ จะพบความสำเร็จในที่สุด ถ้าทำจริงแล้วต้องได้แน่ ๆ”
    หลวงปู่ยืนยันอย่างหนักแน่นและให้กำลังใจแก่ลูกศิษย์ของท่านเสมอ เพื่อให้ตั้งใจทำจริง แล้วผลที่เกิดจากความตั้งใจจริงจะเกิดขึ้น ให้ตัวผู้ปฏิบัติได้ชื่นชมยินดีในที่สุด
     
  10. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เป็นปกติของผู้ปฏิบัติธรรม ช่วงใดเวลาใดที่สามารถปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้า จิตใจสงบเย็นเป็นสมาธิได้ง่าย สามารถพิจารณาอรรถธรรมให้ผ่านทะลุจิตใจได้โดยตลอดสาย ช่วงดังกล่าวมักจะต้องมีปัญหา และอุปสรรคที่เข้ามาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อมาขวางกั้นการปฏิบัติธรรมของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมไม่สามารถเตรียมใจรับกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ธรรมที่กำลังพิจารณาดี ๆ ก็ต้องโอนเอนไปมา หรือล้มลุกคลุกคลานอีกได้
    ผู้เขียนเคยกราบเรียนให้หลวงปู่ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่กำลังประสบอยู่
    หลวงปู่เมตตาให้กำลังใจว่า
    “พอล้มให้รีบลุก รู้ตัวว่าล้มแล้วต้องรีบลุก แล้วตั้งหลักใหม่ จะไปยอมมันไม่ได้
    ...ก็เหมือนกับตอนที่แกเป็นเด็กคลอดออกมา กว่าจะเดินไปแกก็ต้องหัดเดินจนเดินได้ แกต้องล้มกี่ที เคยนับไหม พอล้ม แกก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ใช่ไหม ...ค่อย ๆ ทำไป”

    หลวงปู่เพ่งสายตามาที่ผู้เขียนแล้วเมตตาสอนว่า...
    “ของข้า เสียมามากกว่าอายุแกซะอีก ไม่เป็นไร ตั้งมันกลับขึ้นมาใหม่”
    ผู้เขียน “แล้วจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ล้มบ่อยได้อย่างไร”
    หลวงปู่ “ต้องปฏิบัติธรรมให้มาก ถ้ารู้ว่าใจเรายังแข็งแกร่งไม่พอ ถูกโลกเล่นงานง่าย ๆ แกต้องทำให้ใจแกแข็งแกร่งให้ได้ แกถึงจะสู้กับมันได้”
    เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังใจของนักปฏิบัติ ไม่ว่าจะล้มสักกี่ครั้งก็ตาม แต่ทุก ๆ ครั้งเราจะได้บทเรียน ได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ให้น้อมนำสิ่งที่เราเผชิญมาเป็นครู เป็นอุทาหรณ์สอนใจของเราเอง เตรียมใจของเราให้พร้อมอีกครั้ง ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก
     
  11. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เมื่อครั้งที่ผู้เขียนกับหมู่เพื่อใกล้สำเร็จการศึกษา โดยมากราบนมัสการหลวงปู่ ท่านได้สนทนากับพวกเราอยู่นาน สาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ

    เมื่อพบแสงสว่างในขณะภาวนาให้ไล่ดู ถามท่านไล่แสงหรือไล่จิต ท่านตอบว่าให้ไล่จิตโดยเอาแสงเป็นประธาน (เข้าใจว่าอาศัยปีติคือความสว่างมาสอนจิตตนเอง) เช่น ไล่ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริงหรือไม่ มีจริงก็เป็นพยานแก่ตน
    ถามท่านว่าไล่ดูเห็นแต่สิ่งปกปิด คือกิเลสในใจ
    ท่านว่า
    “ถ้าแกเกลียดกิเลสเหมือนหมาเน่า หรือของบูดเน่าก็ดี ให้เกลียดให้ได้อย่างนั้น”
     
  12. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ครั้งหนึ่ง มีผู้มาหาซื้อยาลมภายในวัด ไม่ทราบว่ามีจำหน่ายที่กุฏิไหน หลวงปู่ท่านได้บอกทางให้ เมื่อผู้นั้นผ่านไปแล้ว หลวงปู่ ท่านได้ปรารภธรรมให้ลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ฟังว่า

    “ข้านั่งอยู่ ก็เหมือนคนคอยบอกทาง เขามาหาข้าแล้วก็ไป...”

    ผู้เขียนได้ฟังแล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็น “กัลยาณมิตร” คอยชี้แนะให้ทางเดิน ดังพุทธภาษิตว่า “จงรีบพากเพียรพยายามดำเนินตามทางที่บอกเสียแต่เดี๋ยวนี้ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้ชี้ทางให้เท่านั้น” หลวงปู่เป็นผู้บอก แต่พวกเราต้องเป็นคนทำ และต้องทำเดี๋ยวนี้
     
  13. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เคยมีผู้ปรารภกับผู้เขียนว่าปฏิบัติธรรมาหลายปีเต็มที แต่ภูมิจิตภูมิธรรม ไม่ค่อยจะก้าวหน้าถึงขั้น “น่าชมเชย” ย้มล้มลุกคลุกคลานอยู่ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ตัวเองและหมู่เพื่อนเป็นโรคระบาด คือโรคขาอ่อน หลังอ่อน ไม่สามารถจะเดินจงกรม นั่งสมาธิได้ ต้องอาศัยนอนภาวนาพิจารณา “ความหลับ” เป็นอารมณ์ เลยต้องพ่ายต่อเจ้ากรรมนายเวร คือเสื่อและหมอนตลอดชาติ
    พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขย กำไรแสนมหากัป ครั้นออกบวชก็ทรงเพียรปฏิบัติอยู่หลายปี กว่าจะได้บรรลุพระโพธิญาณ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน ฯลฯ ท่านปฏิบัติตามธรรมป่าตามเขา บางองค์ถึงกับสลบเพราะพิษไข้ป่าก็หลายครั้ง หลวงปู่ดู่ท่านก็ปฏิบัติอย่างจริงจังมาตลอดหลายสิบพรรษา กว่าจะได้ธรรมแท้ ๆ มาอบรมพร่ำสอน
    แล้วเราล่ะ ปฏิบัติกันจริงจังแค่ไหน
    “ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” แล้วหรือยัง
     
  14. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    [​IMG]


    ถ้าเรามาลองคิดดูกันแล้ว สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเราตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย คืออะไร หลายคนอาจตอบว่า ทรัพย์สมบัติ สามี ภรรยา บุคคลที่รัก หรือบุตร หรืออะไรอื่น ๆ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องยอมรับว่าชีวิตของเรานั้นมีค่าที่สุด เพราะถ้าเราสิ้นชีวิตแล้ว สิ่งที่กล่าวข้างต้นก็ไม่มีค่าความหมายใด ๆ ชีวิตเป็นของมีค่าที่สุด ในจำนวนสิ่งที่เรามีอยู่ในโลกนี้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นของมีค่าที่สุดในโลก สิ่งต่าง ๆ ในโลกช่วยให้เราพ้นทุกข์ชนิดถาวรไม่ได้ แต่พระธรรมช่วยเราได้ ผู้มีปัญญาทั้งหลายควรจะผนวกเอาสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดทั้งสองนี้ให้ขนานทาบทับเป็นเส้นเดียวกัน อย่าให้แตกแยกจากกันได้เลย ดังพระพุทธพจนืตอนหนึ่งว่า​
    กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
    กิจฉัง มัจจานัง ชีวิตัง การได้มีชีวิตอยู่เป็นของยาก
    กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง การได้ฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก
    กิจโฉ พุทธานะมุปปะโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก

    อะไรจะมีค่าที่สุด สำหรับผู้ที่ได้มานมัสการหลวงปุ่นั้น คงไม่ใช่พระพรหมผง หรือเหรียญอันมีชื่อของท่าน
    หลวงปู่เคยเตือนศิษย์เสมอว่า
    “ข้าไม่มีอะไรให้แก่ (ธรรม) ที่สอนไปนั้นแหละ ให้รักษาเท่าชีวิต”
    [​IMG]
    ที่มาจากหนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"

    ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ ๓ : ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
     
  15. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เกี่ยวกับเรื่องไหวพริบ ปฏิภาณและตัวปัญญา หลวงปู่ท่านได้ยกตัวอย่าง เรื่องของนายระนาดเอกไว้ให้ฟังว่า สมัยก่อนการเรียนระนาดนั้น อาจารย์จะสอนวิชาการตีระนาดแม่ไม้ต่าง ๆ โดยทั่วไปแก่ศิษย์ ส่วนแม่ไม้วิชาครูจะเก็บไว้เฉพาะตน มิได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ผู้หนึ่งผู้ใด อยู่มาวันหนึ่ง นายระนาดเอกพักผ่อนนอนเล่นอยู่ใต้ถุนเรือนที่บ้านอาจารย์ของตน ได้ยินเสียงอาจารย์ของเขากำลังบรรเลงระนาดทบทวนแม่ไม้วิชาครูอยู่ นายระนาดเอกก็แอบฟัง ตั้งใจจดจำไว้จนขึ้นใจ
    วันหนึ่งอาจารย์ได้เรียกศิษย์ทุกคนมาแสดงระนาดให้ดูเพื่อทดสอบฝีมือ ถึงครานายระนาดเอกก็ได้แสดงแม่ไม้วิชาครูซึ่งไพเราะกว่าศิษย์ผู้อื่น อาจารย์รู้สึกแปลกใจมากที่ศิษย์สามารถแสดงแม่ไม้ของครูได้ โดยที่ตนไม่ได้เคยสอนมาก่อน จึงถามนายระนาดเอกว่าไปได้แม่ไม้นี้มาจากไหน นายระนาดเอกถึงตอบว่า “ได้มาจากใต้ถุนเรือน ครับ”
    แล้วหลวงปู่ได้สรุปให้พวกเราฟังว่า การเรียนรู้ธรรมก็เช่นกัน ต้องลักเขาแอบเขาเรียน คือ จดจำเอาสิ่งที่ดีงามของผู้อื่นปฏิบัติแก้ไขตนเองให้ได้ ตัวท่านเองสอนได้บอกท่านได้แต่ไม่หมด ที่เหลือเราต้องค้นคว้าและฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ใครไหวพริบดีก็เรียนได้เร็ว เหมือนนายระนาดเอกในเรื่องนี้
     
  16. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ครั้งหนึ่ง เคยมีศิษย์บางท่านนำข้าวมาให้หลวงปู่ท่านเสกอธิฐาน จิตให้ทานเสมอ ซึ่งท่านก็เมตตาไม่ขัด แต่บ่อย ๆ เข้าท่านก็พูดว่า “เสกอะไรกันให้บ่อย ๆ เสกเองบ้างสิ”
    คำพูดนี้ท่านได้ขยายความให้ฟังในภายหลังว่า คำว่า เสกเอง คือ การเสกตนเองให้เป็นพระ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติต่อจิตใจของตนเอง ยกระดับให้สูงขึ้น หรือมีใจเป็นพระบ้าง มิใช่จะเป็นท่านอธิษฐานเสกเป่าของภายนอก เพื่อหวังเป็นมงคลถ่ายเดียว โดยไม่คิดเสกตนเองด้วยตนเอง
     
  17. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    มีผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านข้องใจข้อปฏิบัติธรรมะเกี่ยวกับการวางที่ตั้งตามฐานของจิตในการภาวนา จึงได้ไปเรียนถามหลวงปู่ตาที่เคยได้รับรู้รับฟังมาว่า “การภาวนาที่ถูกต้อง หรือจะสำเร็จมรรคผลได้นั้น ต้องตั้งจิตวางจิตไว้ที่กลางท้องเท่านั้น ใช่หรือไม่?” หลวงปู่ท่านตอบอย่างหนักแน่นว่า
    “ที่ว่าสำเร็จนั้นสำเร็จที่จิต ไม่ได้สำเร็จที่ฐาน คนที่ภาวนาเป็นแล้ว จะตั้งจิตไว้ที่ปลายนิ้วชี้ก็ยังได้”
    แล้วท่านก็บอกจำนวนที่ตั้งตามฐานต่าง ๆ ของจิตให้ฟัง
    จะเห็นได้ว่า ท่านไม่ได้เน้นว่าต้องวางจิตใจที่เดียวที่นั่นที่นี่เพราะฐานต่าง ๆ ของจิตเป็นทางผ่านของลมหายใจทั้งสิ้น ท่านเน้นที่สติและปัญญาที่มากำกับใจต่างหาก สมดังในพระพุทธพจน์ที่ว่า
    “มโน ปุพพังคะมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยาฯ
    ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจ”
     
  18. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง หลวงปู่มักจะเตือนเสมอว่า ในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้ แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็ให้เพียรระวังรักษาไป สำคัญที่เจตนาจะรักษาศีลไว้ และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน “เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวศีล
    “เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวบุญ

    จึงขอให้พยายามสั่งสมบุญนี้ไว้ โดยอบรมศีลให้เกิดขึ้นที่จิต เรียกว่า เรารักษาศีล ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้ว จนเป็นโลกุตรศีล เป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรคอริยผลนี้ จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสียหรือตกต่ำไปในทางที่ไม่ดีไม่งามนี้แลเรียกว่า ศีลรักษาเรา
     
  19. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    ธรรมะที่หลวงปู่นำมาอบรมพวกเราเป็นธรรมที่สงบเย็นและไม่เบียดเบียนใครด้วยกรรมทั้งสามคือ ความคิด การกระทำ และคำพูด
    ครั้งหนึ่งท่านเคยอบรมศิษย์เกี่ยวกับวิธีสังเกตคนดีสั้น ๆ ประโยคหนึ่ง คือ

    “คนดี เขาไม่ตีใคร”
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรม หรือการทำงานในทางโลกนั้นย่อมมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดาของโลกปุถุชน หากเรากระทำการสิ่งใดซึ่งชอบด้วยเหตุและผล คือ ได้พยายามทำอย่างดีที่สุดแล้วอย่าไปกลัวว่า ใครเขาจะว่าอะไรเรา ใครเขาจะโกรธเรา แต่ให้กลัวที่เราจะไปว่าอะไรเขา กลัวที่เราจะไปโกรธเขา
     
  20. Pongpat86

    Pongpat86 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,430
    ค่าพลัง:
    +4,732
    เคยมีผู้ปฏิบัติกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า
    หลวงปู่ครับ ขอธรรมะสั้น ๆ ในเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้กิเลส ๓ ตัว คือ โกรธ โลภ หลง หมดไปจากใจเรา จะทำได้อย่างไรครับ”
    หลวงปู่ตอบเสียงดังฟังชัด จนพวกเราในที่นั้นได้ยินกันทุกคนว่า
    “สติ”
     

แชร์หน้านี้

Loading...