คณะพระธรรมทูตและการขยาย วัดออสเตรเลีย

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [​IMG]

    [SIZE=+1]คณะพระธรรมทูตและการขยายวัด[/SIZE] ในทางโลก กองทัพที่ไม่มีกองทหารย่อมเป็นอยู่ไม่ได้ฉันใด ในทางศาสนากองทัพธรรมที่ไม่มีพระสงฆ์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ฉันนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เปรียบเหมือนแก้ว ๓ ประการที่ให้ความร่มเย็นแก่เทวดา มนุษย์ และสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะหมดสง่าราศี เป็นพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์แบบไม่ได้
    ท่านพระมหาเถระอูฐิติละ ชาวพม่า และพระมหาเถระนารทะ ชาวศรีลังกา ที่มีชื่อเสียง ท่านเป็นเสมือนแม่ทัพใหญ่ที่ไปสงครามโดดเดี่ยวเดียวดาย ไม่มีลูกน้องหนุนหลัง จึงไม่มีโอกาสประดิษฐานวัดวาอารามในออสเตรเลีย ทั้ง ๆ ที่ท่านทั้งสองมีคุณธรรมสูง มีความเชี่ยวชาญมากในภาษาอังกฤษ โชคดีอย่างยิ่งที่พระมหาเถระชาวไทย ท่านไปที่ไหน พระสงฆ์ลูกน้องตามไปให้ความสนับสนุน ดูแลรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงจนสุดความสามารถ ประจวบกับจังหวะที่ชาวไทย ชาวลาว ชาวเขมร อพยพไปอยู่ทั่วทุกแห่งในยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ วัฒนธรรมทางอาหาร น้ำพริก ต้มยำ ส้มตำ ข้าวเหนียว ระบาดไปทั่วทั้งโลก พระสงฆ์ไทยจึงสู้ไม่ถอย อยู่ไหนอยู่ได้ แม้ว่าภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสจะไม่เป็นเรื่องเลยก็ตาม
    คณะพระธรรมทูตประจำวัดพุทธรังษียุคแรกก็มี พระปริยัติกวี ( พระเทพเมธาภรณ์ปัจจุบัน ) พระขันติปาโล รุ่นที่สอง ก็มีอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต พระมหาสมัย สุขสมิทฺโธ พระมหาสำเนียง วัดบวรนิเวศวิหาร และในพรรษาที่สอง ก็มีพระดอน ธมฺมานนฺโธ สามเณรรอด พลานท์ พรรษาที่สาม พระสุโสภโณ ชาวเนปาล สัทธิวิหาริกของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ได้มาจำพรรษาช่วยงานเผยแพร่พระศาสนาอยู่ถึง ๒ ปี หลังจากนั้นพระสุโสภโณเดินทางกลับไปแล้วไม่นาน พระครูสิทธิธรรมโสภณ วัดเครือวัลย์ และพระมหาอรรถบูรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เดินทางมาถึงหลังจากอยู่จำพรรษาได้ ๑ ปี พระมหาอรรถบูรณ์ได้เดินทางกลับ พระสุวีรญาณ และพระถาวร สุสงฺวโร วัดพระศรีมหาธาตุ ได้เดินทางมาอยู่ประจำนครซิดนีย์ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ( ค.ศ. ๑๙๘๐ )
    ในสมัยพุทธกาลโน้น ในช่วงยุคต้นแห่งการเผยแพร่พุทธศาสนานั้น พระสงฆ์ ๖๐ รูป ที่พระพุทธเจ้าส่งไปนั้นล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงส่งไปทางเดียวรูปเดียว ห้ามไม่ให้ไปทางซ้ำกัน เพื่อจะได้อนุเคราะห์ญาติโยมได้ทั่วถึง เพื่อประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก แต่ในปัจจุบันนี้ มีแต่สมมุติสงฆ์พระปุถุชนล้วนส่งออกไป จำเป็นต้องมีเพื่อนปรึกษาหารือให้ความอบอุ่นซึ่งกันและกัน ทั้งสามารถกันข้อครหาและอาบัติบางอย่างด้วย
    วัดพุทธรังษีมีพระสงฆ์ร่วมจำพรรษาครบ ๕ รูป เป็นครั้งแรก เมื่อพระย้อย ปุสฺสิโย พระเสน่ห์ อคฺคาสโย วัดพระศรีมหาธาตุ ได้เดินทางมาถึง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ( ค.ศ. ๑๙๘๒ ) หลังจากออกพรรษาปีนั้น สมาคมชาวพุทธลาวได้ทอดกฐินสามัคคี เป็นครั้งแรกที่มีการสวดกฐินสมบูรณ์แบบและได้รับอานิสงส์กฐินตามพระวินัย หลังจากร่วมตั้งวัดพุทธรังษีมาร่วม ๗ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ (ค.ศ. ๑๙๗๘ ) เป็นปีแห่งการขยับขยายย้ายสำนักเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไป พระขันติปาโลได้ออกไปตั้งสำนักใหม่ ชื่อวัดพุทธธรรม โดยมีความประสงค์จะสร้างสำนักใหม่นี้เป็นวัดป่าแท้ ๆ เป็นสำนักกัมมัฏฐานที่สมบูรณ์แบบด้วย คุณเอลซ่า ( Elsa ) ชาวยิว ผู้เลื่อมใสในพระขันติปาโล ได้ซื้อที่ดินถวาย ๒๒๐ เอเคอร์ อยู่ห่างจากเมืองซิดนีย์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๖๐ กิโลเมตร ติดต่อกับป่าสงวน ชื่อ ธารุค ( Dharug National Park)
    นับตั้งแต่วันเปิดวัดพุทธรังษี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ( ค.ศ. ๑๙๗๕ ) นั้น พระสงฆ์จากวัดพุทธรังษีก็ได้รับนิมนต์ไปเยี่ยมรัฐต่าง ๆ อยู่เสมอ ขึ้นเหนือล่องใต้ บางครั้งก็ขึ้นสู่เมืองบริสเบน บางครั้งก็ลงสู่นครเมลเบิร์นและอดิเลด ศรัทธาญาติโยมตามรัฐต่าง ๆ เพิ่มทวีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ชาวลาว ชาวเขมร ชาวเวียดนามอพยพได้เข้ามาสู่ออสเตรเลียแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ( ค.ศ. ๑๙๗๖ ) คณะศรัทธาญาติโยมชาวพุทธไทย ชาวพุทธลาว ได้เป็นกำลังสำคัญในการนิมนต์พระสุวีรญาณ และพระย้อย ปุสฺสิโย ไปจำพรรษาที่นครเมลเบิร์น โดยเช่าบ้านถวายให้เป็นสำนักสงฆ์ชั่วคราว ณ บ้านเลขที่ ๔๐๐ ถนนสปริงเวลส์ ฟอเรสต์ฮิลส์ ( 400 Springvale Road, Forestt Hill ) พระสุวีรญาณและท่านย้อย ปุสฺสิโย ได้เดินทางไปเมืองเมลเบิร์นเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ( ค.ศ. ๑๙๘๔ )
    ในระยะสองปีต่อมา จากแรงศรัทธาอันแข็งแรงของคณะชาวพุทธไทย ลาว เขมร ศรีลังกา จีน และออสเตรเลีย ทั้งจากนครซิดนีย์และจากนครเมลเบิร์นเอง โดยมีมูลนิธิ Buddhist Foundation เป็นผู้นำ ก็สามารถซื้อบ้านหลังใหม่ เลขที่ ๓๘๙ ถนนสปริงเวลล์ เป็นสำนักสงฆ์ถาวร เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ( ค.ศ. ๑๙๘๖ ) เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรได้ประทานชื่อวัดแห่งใหม่ว่า “วัดธรรมรังษี” เป็นที่ปลื้ม ปิติแก่ชาวพุทธทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง แม้วัดจะเป็นเพียงบ้านหลังเดียว แต่ก็มีอาณาบริเวณกว้างขวางพอสมควร นับเป็นวัดแรกแห่งนครเมลเบิร์นที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลให้เป็นศาสนสถานโดย สมบูรณ์
    ในขณะที่ชาวพุทธแห่งนครเมลเบิร์นกำลังขวนขวายรวบรวมปัจจัยเพื่อสร้างวัดธรรม รังษีอยู่นั่นเอง ชาวพุทธแห่งนครอดิเลด รัฐออสเตรเลียใต้ ก็มีความกระตือรือร้นเช่นเดียวกัน แต่ว่าทุนทรัพย์น้อย แม้จะมีศรัทธาก็ยังทำอะไรไม่ได้ จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ( ค.ศ. ๑๙๘๔ ) ดร. ฟอง ( Dr. Fong ) กรรมการสำคัญคนหนึ่งของพุทธสมาคม ได้เสียสละบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว ซื้อบ้านเลขที่ ๔๕ ถนนสมิธธิบาตั้น ( 45 Smith Street, Thebarton ) เป็นสำนักสงฆ์ถาวร โดยได้นิมนต์ พระถาวร สุสงฺวโร จากวัดพุทธรังษีนครซิดนีย์ ไปจำพรรษา อันที่จริง พุทธสมาคมแห่งออสเตรเลียใต้ก็ได้นิมนต์พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฑฺโต มาโปรดเพื่อแสดงธรรมและนำฝึกสมาธิตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. ๑๙๘๒ ) แล้ว แต่พุทธสมาคมก็มีกำลังเพียงเช่าบ้านถวายให้จำพรรษาเท่านั้น ไม่มีกำลังพอที่จะซื้อบ้านให้เป็นสำนักสงฆ์ถาวรได้เลย ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของ ดร. ฟอง และครอบครัว สำนักสงฆ์ถาวรแห่งใหม่จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
    วัดใหม่แห่งนครอดิเลดซึ่ง มีชื่อว่า “วัดรัตนปทีป ” ได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันวิสาขบูชา เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖ ) และในปีนี้ พ.ศ. ๒๕๓๔ ( ค.ศ. ๑๙๙๑ ) ดร. ฟอง และครอบครัวได้ถวายบ้านที่ซื้อไว้ส่วนตัวติดอยู่กับวัดให้อีกหลังหนึ่ง เพื่อวัดรัตนปทีปจะได้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากพระพุทธศาสนาในออสเตรเลียได้บุคคลที่มีน้ำใจประเสริฐล้ำเลิศมาก ๆ อย่างหมอฟองและครอบครัวนี้ คงจะรุดหน้าก้าวไปไกลเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทีเดียว พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดรัตนปทีป นครอดิเลด เป็นเวลา ๓ ปีกว่าแล้ว วัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์นก็ดี วัดรัตนปทีป นครอดิลด ถือว่าเป็นวัดพี่น้องร่มโพธิ์ร่มไทรอันเดียวกันกับวัดพุทธรังษีและวัดป่า พุทธรังษี แม้จะเป็นวัดเล็ก ๆ ก็ให้ความสะดวกสบายอย่างมากแก่พระสงฆ์จากจตุรทิศ และยังเป็นศาสนสถานที่เคารพสักการะของชาวพุทธทั้งหลาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...