ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก ตอน ของแก้กัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 24 มกราคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฏก ตอน ของแก้กัน
    [​IMG]
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ (ความกำหนัดยินดี) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) นี้แลคือธรรม ๓ อย่าง.
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่างเหล่านี้คือ อสุภะ (ความกำหนดหมายถึงสิ่งที่ไม่งาม) ควรเจริญเพื่อละราคะ, เมตตา (ไมตรีจิตคิดจะให้ผู้อื่นเป็นสุข) ควรเจริญเพื่อละโทสะ, ปัญญา (ความรอบรู้ตามความเป็นจริง) ควรเจริญเพื่อละโมหะ. นี้แลธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ เพื่อละธรรม ๓ อย่าง."
    ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๙๕
    (หมายเหตุ : พระพุทธภาษิตแห่งเดียวกันนี้ แสดงถึงธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่าง อีก ๙ ชุด คือ
    ๑ .ควรเจริญกายสุจริต เพื่อละ กายทุจจริต
    ควรเจริญวจีสุจริต เพื่อละ วจีทุจจริต
    ควรเจริญมโนสุจจริต เพื่อละ มโนทุจจริต.
    ๒. ควรเจริญเนกขัมมวิตก (ความตรึกในการออกจากกาม) เพื่อละกามวิตก (ความตรึกในกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทวิตก (ความตรึกในการไม่ปองร้ายผู้อื่น) เพื่อละพยาปาทวิตก (ความตรึกในการปองร้ายผู้อื่น)
    ควรเจริญอวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น) เพื่อละวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียนผู้อื่น).
    ๓. ควรเจริญเนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายในการออกจากกาม) เพื่อละกามสัญญา (ความกำหนดหมายในกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่ปองร้าย) เพื่อละพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการปองร้าย)
    ควรเจริญอวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการเบียดเบียน).
    ๔.ควรเจริญเนกขัมมธาตุ (ธาตุคือการออกจากกาม) เพื่อละกามธาตุ (ธาตุคือกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการไม่คิดปองร้าย) เพื่อละพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการคิดปองร้าย)
    ควรเจริญอวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการเบียดเบียน).
    ๕.ควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความพอใจ)
    ควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นว่าตัวตน)
    ควรเจริญสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด).
    ๖. ควรเจริญมุทิตา (ความพลอยยินดีเมือ่ผู้อื่นได้ดี) เพื่อละอรติ (ความไม่ยินดีหรือความคิดริษยา)
    ควรเจริญอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสา (ความเบียดเบียน)
    ควรเจริญธัมมจริยา (การประพฤติธรรม) เพื่อละอธัมมจริยา (การประพฤติไม่เป็นธรรม).
    ๗.ความเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ คือยินดีเฉพาะของของตน) เพื่อละอสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ คือไม่ยินดีเฉพาะของของตน)
    ควรเจริญสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เพื่อละอสัมปชัญญะ (ความไม่รู้ตัว)
    ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา (ความปรารถนามาก).
    ๘.ควรเจริญโสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) เพื่อละโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
    ควรเจริญกัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนดีงาม) เพ่อละปาปมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนชั่ว)
    ควรเจริญอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) เพื่อละเจตโส วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต).
    ๙. ควรเจริญสมถะ (การทำใจให้ตั้งมั่น) เพื่อละอุทธัจจะ (ความคิดฟุ้งซ่าน)
    ควรเจริญสังวระ (ความสำรวมระวัง) เพื่อละอสังวระ (ความไม่สำรวมระวัง)
    ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละปมาทะ (ความประมาท).
    ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๔๙๕-๘
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญ...หน้าตัก๖๐นิ้วปิดทอง-ขณะนี้เหลือ50-ชุด.559915/
     

แชร์หน้านี้

Loading...