ขันธ์๕ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาเหมือนกัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมวิวัฒน์, 28 พฤษภาคม 2023.

  1. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,012
    ขอน้อมกราบบูชาคุณพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งของลูกตลอดชีวิต กราบบูชาพระธรรมคำสอนหลวงพ่อและน้อมกราบบูชาพระคุณ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุก ๆ พระองค์ ด้วยความเคารพยิ่ง

    ⚜️ #วิปัสสนาญาณสามนัย⚜️
    วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ

    ๑.พิจารณาตามแบบ #วิปัสสนาญาณ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรค ที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาไว้
    ๒.พิจารณาตามนัย #อริยสัจ๔
    ๓.พิจารณา #ขันธ์๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค
    ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เห็นว่า #ขันธ์๕ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลดค่อยเปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาตามแบบรวมในขันธ์ ๕ เพราะเป็นการสะดวก เหมาะแก่อารมณ์ บางท่านก็ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้

    #พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก #ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐมก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ #ให้เห็นอนัตตาในขันธ์๕เหมือนกัน ท่านกล่าวในพระไตรปิฎกว่า #ผู้ใดเห็นขันธ์๕ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ #ผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์๕

    #วิปัสสนาญาณ
    ✴️๑.#ก่อนภาวนาให้พิจารณาขันธ์๕ #ให้เป็นอนิจจัง_ทุกขัง_อนัตตา ให้พิจารณาไปจนเบื่อ เมื่อจิตจะซ่านท่านให้ภาวนาโดยกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นฐานภาวนา เมื่อภาวนาจนใจสบาย มีอารมณ์แจ่มใสเป็นสุข หรือเป็นอุเบกขา แล้วท่านให้พิจารณาตาม ท่านสอนต่อไปถ้าอารมณ์จะซ่านก็ให้ภาวนาใหม่ ทำอย่างนี้สลับกันเป็นลำดับไป

    ✴️๒.เมื่อจะเดิน นั่ง ยืน นอน ท่านแนะว่า #อย่าทำจิตให้คลาดจากการพิจารณาหรือภาวนาทุกอริยบถทุกลมหายใจเข้าออก #อย่าให้ว่างจากการพิจารณาหรือภาวนา

    ✴️๓.#จงคิดว่าชีวิตเราน้อยมีเวลาที่จะทำความดีน้อยเหลือเกิน เมื่อโอกาสมีจงพยายามทำอย่าให้ขาด การพิจารณาก่อน #จนจิตเห็นเหตุเห็นผลว่าการมีชีวิตอยู่ไม่มีอะไรเที่ยงเพราะไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ ไม่ให้เกิด ไม่ให้มีไม่ได้ พิจารณาก่อนอย่างนี้ฌานเกิดง่ายและแจ่มใส ฌานที่เกิดจะไม่เสื่อม

    ✴️๔.การพิจารณาให้ได้รับผลตามอารมณ์ของจิตเป็นขั้นๆ คือ บังคับให้เป็น #เอกัคคตารมณ์มีอารมณ์รู้สึกเป็นอย่างนั้นเป็นปกติ ไม่ดิ้นรนหวั่นไหว เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด หมดเอาดีต่อชาวโลก แต่มีอารมณ์สงเคราะห์เป็นปกติ เฉยเมื่อได้ลาภ เสียผลลาภ #เฉยเมื่อถูกนินทาและได้ยินคำสรรเสริญ สบายใจเมื่อมีทุกข์มาถึง #สลดใจเมื่อความสุขเกิดจากอามิสบังเกิดขึ้น #เพราะรู้ว่าเชื้อของทุกข์มาถึงแล้ว

    ✴️๕.#เห็นว่าโลกนี้เทวโลกไม่ใช่แดนของความสุข จิตมีความเหือดแห้งต่ออารมณ์ความรักเนื่องด้วยกามคุณ และความอยากได้สะสมทรัพย์สินเงินทอง #ไม่มีความโกรธความพยาบาทหมดความอาลัยอาวรณ์ในทุกสิ่ง แม้แต่ร่างกายในเมื่อมันจะพังไป เท่านี้พอเอาตัวรอดได้แล้ว แม้ไม่ถึงอรหันต์ ก็พอเอาตัวรอดได้ #มีหวังพ้นอบายภูมิ

    ============================
    ที่มาข้อธรรมคำสอนจากหนังสือ
    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒,๑๗๔
    พระมหาวีระ ถาวโร ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา

    ✍️ผู้เขียนพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
    Apinya Wongthong
    ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖

    FB_IMG_1685282046800.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...