ขอเจริญพรร่วมสร้างพระไตรปิฎก ถวายวัดปางมดแดง จ.พะเยา

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย phranutthawout panyateepo, 14 กันยายน 2011.

  1. phranutthawout panyateepo

    phranutthawout panyateepo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +18
    ด้วยทางวัดปางมดแดง ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญ (ห่างจาก จ.พะเยา ๑๑๘ ก.ม.) และเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างมาได้ประมาณ ๗๕ ปีมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาอยู่ปีละไม่ต่ำ ๒๐ รูป ตลอดทั้งมีพุทธศาสนิกชนเข้ามาปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ขาด แต่ทางวัดซึ่งเป็นวัดที่ห่างไกลความเจริญ ยังขาดหนังสือพระไตรปิฎกที่รวบรวมพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณร ตลอดทั้งอุบาสก-อุบาสิกา ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ศึกษาเล่าเรียนและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตลอดไปffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    ดังนั้นอาตมาภาพในนามของคณะสงฆ์ อุบาสก-อุบาสิกา วัดปางมดแดง จึงใคร่ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีเกียรติ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงปกป้องคุ้มครองท่านและครอบครัวให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ ด้วย จตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติทุกประการเทอญ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    เจริญพร<O:p></O:p>
    พระณัฐวุฒิ ปญฺญาทีโป<O:p></O:p>
    14 กันยายน 2554<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ร่วมบริจาคได้ที่<O:p></O:p>
    พระณัฐวุฒิ ปญฺญาทีโป เลขานุการเจ้าอาวาสวัดนครป่าหมาก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กทม.<O:p></O:p>
    โทร.02-8827-960 หรือ 0869789561 แฟ็กซ์. 02-4242816 ทุกวัน<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    หมายเหตุ. สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะขอร่วมบริจาค โปรดแจ้งชื่อ-นามสกุล ของท่านให้ชัดเจนเพื่อการจารึกชื่อท่านไว้ในหนังสือพระไตรปิฏก สำหรับท่านที่ต้องการใบอนุโมทนาบัตรก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วยเช่นกัน ทางวัดขอร่วมบริจาคในครั้งนี้ แค่ ๑ ชุด ๔๕ เล่ม พร้อมตู้พระไตรปิฏก ๑ หลัง เท่านั้น เจริญพร<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>


    <O:p> </O:p>


    <O:p> </O:p>


    ความเป็นมาและความสำคัญของพระไตรปิฎก <O:p></O:p>

    พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง<O:p></O:p>
    ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น<O:p></O:p>
    ๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี<O:p></O:p>
    ๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป<O:p></O:p>
    ๓. พระอภิธัมมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ<O:p></O:p>
    พระไตรปิฎก คือคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนใช้ศึกษา เล่าเรียน เพื่อให้รู้ทั่วถึงพระธรรมวินัย และปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง โดยความ ก็คือ<O:p></O:p>
    ๑. พระปริยัติสัทธรรม คือพระวินัยคำสั่งและพระธรรมคำสอน<O:p></O:p>
    ๒. พระปฏิบัติธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา <O:p></O:p>
    ๓. พระปฏิเวธธรรม ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน<O:p></O:p>
    พระไตรปิฎก ฉบับต่าง ๆ ในประเทศสยาม/ไทย พระไตรปิฎก ในประเทศไทย มีหลายฉบับ จัดทำในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงอาราธนาพระสงฆ์ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต ๓๒ คนให้ชำระพระไตรปิฎก ซึ่งกระจัดกระจายสูญหาย ภายหลังกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลาย การสังคายนาครั้งนี้จัดทำขึ้น ณ วัดศรีสรรเพชญ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารในปัจจุบัน) อักษรที่ใช้จารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นเป็นอักษรขอม <O:p></O:p>
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ทรงให้คัดลอกพระไตรปิฎกอักษรขอมในใบลานเป็นอักษรไทยแล้วชำระแก้ไขและพิมพ์ ขึ้นเป็นเล่ม หนังสือได้ ๓๙ เล่ม นับเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม ที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่มหนังสือด้วยอักษรไทย ฉบับนี้ เรียกว่า "ไตรปิฎก ฉบับตราแผ่นดิน" ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๓๖ <O:p></O:p>
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงให้ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือได้ ๔๕ เล่ม เรียกว่า พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ และพิมพ์ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๓ เป็นลิขสิทธิของมหามกุฏวิทยาลัยอีกด้วย <O:p></O:p>
    เมื่อยี่สิบห้าพุทธศตวรรษที่ผ่านมา ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน คณะสงฆ์ได้ แปลพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และให้จัดพิมพ์เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเล่มหนังสือภาษาไทย ๘๐ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งต่อมาได้รวมเล่มลดจำนวนเหลือ ๔๕ เล่มเท่ากับฉบับภาษาบาลี ฉบับนี้ เรียกว่า “พระไตรปิฎก ฉบับหลวง" <O:p></O:p>
    ต่อมา คณะสงฆ์และรัฐบาลไทย ได้จัดงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับภาษาไทย แล้วจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า พระไตรปิฎก ฉบับสังคีติ หรือฉบับสังคายนา ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ก่อนหน้านั้น (ในการฉลอง๒๕๐๐ปีแห่งพระพุทธศาสนา) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการตรวจชำระสอบทานและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษามคธฉบับมหาจุฬาเต ปิฎก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยให้ยกพระสูตร ตั้งข้อ ย่อหน้า ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้เป็นคัมภีร์สำหรับศึกษาเล่าเรียนสืบไป ดังนี้แล้ว ก็ทรงมีมหากุศลจิต มีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างพระไตรปิฎกภาษามคธฉบับมหา จุฬาเตปิฎก จำนวนหนึ่งนับเป็นทุนเริ่มแรกในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ด้วย ในเรื่องนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ทั้ง ๒ พระองค์ได้ทรงเจริญพระศรัทธา มีพระราชประสงค์บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างพระไตรปิฎกภาษามคธ ฉบับนี้ด้วย นอกจากนี้ พุทธบริษัทที่มีจิตศรัทธาตามรอยพระยุคลบาท ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ร่วมด้วยจนครบเสร็จ ๔๕ เล่มในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ฉบับนี้ เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับ มหาจุฬาเตปิฏกํ" <O:p></O:p>
    และเมื่อมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นภาษาไทย โคยตั้งคณะกรรมการหลายชุดรับิดชอบด้วยกัน โดยใช้เวลาดำเนินการแปลจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือเป็นระยะเวลา ๕ ปี ๒ เดือน ๑๐ วัน จนสำเร็จเป็นเล่มหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และฉบับนี้เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย นับว่าเป็นฉบับล่าสุด และทันสมัย เป็นฉบับที่คนสมัยเก่าก็อ่านได้ คนสมัยใหม่ก็อ่านดี และเป็นฉบับที่นักปราชญ์ราชบัณฑิตยอมรับมากเล่มหนึ่ง ในจำนวนนั้น พระกิตติวุฑโฒภิกขุ ได้กล่าวกับอาจารย์แสวงไว้ตอนหนึ่งอย่างน่าฟังว่า พระไตรปิฎกฉบับนี้ ดีมาก เยี่ยมมาก คงจะไม่มีหน่วยงานใดทำได้อย่างนี้ ที่จะแปลและทำได้ดีขนาดนี้ ถึงจะทำได้ก็คงต้องใช้เวลานาน ถึงจะดีได้เท่านี้ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    อานิสงส์การถวายพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา<O:p></O:p>

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี เป็นอารามของอนาถปิณทิกเศรษฐี ครั้งนั้นพระสารีบุตรเถระ ปรารถนาจะให้พระพุทธองค์โปรดประทานซึ่งพระธรรมเทศนาแสดงอานิสงส์ ในการที่บุคคลได้สร้าง-ถวายพระไตรปิฎก ไว้ในบวรพุทธศาสนาให้พิสดารเพื่อยังสาธุชนทั้งปวงให้ถึงซึ่งปสันนาการ เลื่อมใส อุตสาหะ สร้างพระไตรปิฎก อันเป็นรากเหง้าแห่งบวรพุทธศาสนา จึงได้เข้าไปทูลถามปัญหาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลใด ใครผู้หนึ่งมีจิตใจ ประกอบด้วยศรัทธาได้สร้างพระไตรปิฎกถวายไว้ในพระพุทธศาสนาแล้วจักได้รับ ผลานิสงส์เป็นประการใด ขอได้โปรดประทานชี้แจงอานิสงส์แห่งผลบุญของผู้ที่สร้าง-ถวายพระไตรปิฎก ให้แก่หม่อมฉันได้รับฟัง ณ กาลบัดนี้เถิดพระเจ้าข้า<O:p></O:p>
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อันบุคคลผู้ใดสร้าง-ถวายพระไตรปิฎก ไว้ในพุทธศาสนานี้ ย่อมมีอานิสงส์เป็นอันมาก สุดจะนับประมาณได้ ในอานิสงส์ทั้งสิ้นนั้นเล่า เฉพาะอานิสงส์แห่งอักขระตัวเดียว ก็นับประมาณมิได้แล้ว คือ จะเป็นผู้ มีปัญญามาก มีสมบัติมหาศาล จะได้เป็นมหาเศรษฐี คหบดีผู้ใหญ่ และ ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวดี เหล่านี้ ชั้นละ 9 อสงไขย เป็นกำหนด <O:p></O:p>
    ครั้นจุติจากเทวโลกแล้วก็จะลง มาเกิดในมนุษย์อีก จะได้เป็นคนมีทรัพย์นับวิชา มากด้วยสมบัติ บริวารเป็นคนมีศีลสัตย์ ยินดีในการบำเพ็ญกุศล จะได้เป็นคนมีรูปโฉมงดงาม มีน้ำใจโอบอ้อมอารี แก่ชนโดยทั่วไป จะบริบูรณ์พูนเกิดไม่รู้จักบกพร่อง ทั้งนี้เพราะอานิสงส์แห่ง อักขระตัวเดียว ของบุคคลผู้ได้สร้าง-ถวายพระไตรปิฎก ไว้ในพระพุทธศาสนา นั้นเอง<O:p></O:p>
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญ
    สร้างพระไตรปิฏกพร้อมตู้
    ถวายวัดเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา
    และทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างด้วยครับ
    กระผมจะส่งปัจจัยไปร่วมทำบุญด้วยครับ
    อนุโมทนาบุญและทำบุญด้วยกันครับ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...